ปฏิจจสมุปบาท ความสําคัญของปฏิจจสมุปบาท         ปฏิจจสมุปบาทเป็นปรมัตถธรรมกระบวนการธรรมชาติของจิต อันกล่าวถึงกระบวนการของจิตในการเกิดขึ้นของทุกข์และกระบวนการของจิตในการดับไปของทุกข์,  ท่านได้จําแนกออกเป็น       แบบอนุโลม หรือสมุทยวาร-กระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์       แบบปฏิโลม หรือนิโรธวาร-กระบวนการดับไปแห่งทุกข์       องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบและบัญญัติเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นการค้นพบก่อนตรัสรู้อันเป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้, และได้ทรงพิจารณาทบทวนเรียบเรียงปฏิจจสมุปบาทภายหลังตรัสรู้ในขณะเสวยวิมุตติสุขในตลอด ๗ วันแรก จนบังเกิดพุทธปีติอิ่มเอิบพระทัยเปล่ง พุทธอุทาน ขึ้นถึง ๓ ครั้ง ๓ คราในขณะนั้น, จึงบังเกิดเป็น "พุทธอุทานคาถา" ในพระศาสนาทั้ง ๓ ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งนั้นทรงแสดงถึงความปิติพระทัยในสัจจธรรมความลึกซึ้งของปรมัตถธรรม"ปฏิจจสมุปบาท" อันคือกระบวนการจิตของการเกิดขึ้นและการดับไปแห่งทุกข์ จึงเป็นแก่นธรรมที่สมควรศึกษาให้เข้าใจอย่างยิ่งยวดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ(สัมมาญาณ)และนําไปปฏิบัติให้จางคลายจากทุกข์หรือดับทุกข์ตามควรแห่งฐานะตน         ใน พุทธอุทานคาถาที่๑ แสดงถึงพุทธปีติในสัจจธรรมที่ทรงค้นพบว่า "เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ"  อันหมายถึงธรรมหรือธรรมชาติหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนสิ้น ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมเป็นปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์แก่กันและกัน จึงเกิดขึ้น,  อันเป็นสภาวะธรรมหรือกฏธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่และแน่นอนตายตัว, ความทุกข์นั้นก็ล้วนเป็นเฉกเช่นเดียวกัน ประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆเช่นกัน จึงจักเกิดเป็นความทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจขึ้นได้         ใน พุทธอุทานคาถาที่๒ แสดงถึงพุทธปีติในสัจจธรรมที่ทรงพบว่า "เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย" อันหมายถึงการที่ท่านได้ทรงค้นพบว่าเมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอันล้วนต้องเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมกัน แม้กระทั่งความทุกข์  ดังนั้นถ้ากําจัดหรือดับปัจจัยบางสิ่งหรือบางประการเสียได้  สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นแม้กระทั่งความทุกข์ก็ย่อมไม่สามารถประชุมรวมตัวเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันจนเป็นอุปาทานทุกข์หรือความทุกข์ที่เกิดแก่ใจได้ อันย่อมต้องดับสลายหรือถูกทําลายไปเพราะความสิ้นไปแห่งเหตุปัจจัยนั้นเอง         ใน พุทธอุทานคาถาที่๓ แสดงถึงพุทธปีติอิ่มเอิบในสัจจธรรมที่ทรงค้นพบนั้นว่า"ย่อมสามารถกําจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทําอากาศให้สว่างฉนั้น" อันแสดงถึงความปีติพระทัยในการที่ทรงทราบว่า เมื่อรู้ เมื่อเข้าใจในธรรมนี้และนําไปปฏิบัติตามความเข้าใจนั้น  ย่อมมีคุณอันยิ่งใหญ่ในการกําจัดเสียซึ่งบรรดามารและเสนาอันคือกิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งล้วนแต่ยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ออกไปเสียได้  อันจักยังให้จิตหรือชีวิตนั้นสว่างไสว ประดุจดั่งพระอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่ที่ให้ความสว่างเจิดจ้าและความอบอุ่นแก่โลกนี้         ปฏิจจสมุปบาทเป็นการกล่าวถึงกระบวนการทางกายและจิตในอันที่ทํางานเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันจนเป็นผลให้เกิดความทุกข์ และดับทุกข์,  มีปัจจัยใดๆบ้างเป็นเหตุเป็นผลกัน  เมื่อรู้ เมื่อเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเหตุปัจจัยนั้นแล้ว ก็กําจัดเหตุปัจจัยบางปัจจัยนั้นออกไปเสีย ตามกําลังจริต,กําลังสติและปัญญาของผู้ปฏิบัติ  อันย่อมทําให้ความทุกข์นั้นต้องดับหรือขาดความสมดุลย์ ไม่สามารถก่อตัวขึ้นเป็นอุปาทานทุกข์ได้ ประดุจดั่งท่านดึงท่อนฟืนออกจากกองไฟ ไฟนั้นย่อมจักต้องค่อยๆมอดดับลงไปในที่สุด ซึ่งอุปาทานทุกข์นี้แหละที่มนุษย์ทุกผู้นาม"รู้สึกเป็นทุกข์"กันอยู่เป็นมารยาจิต เพียงแต่ไม่รู้แยกแยะไม่ออก เพราะยังไม่มีวิชชา จึงถูกมันครอบงํามาทุกกาลสมัย  จนบังเกิดมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกมนุษย์นี้ ที่ได้เผยความลับของธรรมชาตินี้ให้บันลือไปทั่วทุกโลกธาตุ เพื่อเป็นหลักชัยแก่ชีวิตของผู้ที่รู้ ผู้ที่เข้าใจ และผู้ที่ปฏิบัติที่ต้องการดับทุกข์ ในทุกฐานะเพศไม่ว่าบรรพชิตหรือฆราวาส, ตามกําลังสติ, ปัญญา ความมุ่งมั่น ความปรารถนา และความเพียรของผู้ปฏิบัตินั้นเอง อันได้ผลตั้งแต่จางคลายจากทุกข์ จนถึงดับสนิทแห่งทุกข์, อันเป็นดั่งพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ความเพียรพยายามพวกเธอต้องทําเอง  ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น (ธรรมบท ๒๕/๔๓)         ความทุกข์นั้นเป็น"ปฏิจจสมุปบันธรรม"อันคือธรรมหรือสิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัย อันมาประชุมกันเป็นปัจจัยแก่กันและกันชั่วระยะหนึ่ง  ดังนั้นเมื่อเราต้องการดับทุกข์ เราจึงควรศึกษาให้เกิดปัญญาญาณหรือเรียกง่ายๆว่าความเข้าใจถึงใจ อันจักเกิดขึ้นอย่างมั่นคงได้จากการพิจารณาธรรมโดยละเอียดและแยบคายเท่านั้น,เพื่อจะได้เกิดกําลังของปัญญาญาณในการตัดวงจรหรือวัฏฏะแห่งทุกข์ที่หมุนสืบเนื่องกันอยู่ตลอดกาลนานให้ขาดสะบั้น หรือเคลื่อนช้าลง         เราสามารถกล่าวได้ว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นเหตุปัจจัยให้พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อริยะสัจอันเป็นผลให้เป็นแนวทางคําสอนและแนวทางปฏิบัติ, จริงๆแล้วปฏิจจสมุปาทและอริยสัจ ตลอดจนแก่นธรรมทั้งหลายในพุทธศาสนานั้นต่างล้วนเป็นหลักธรรมเดียวกันทั้งสิ้น เมื่อมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในปฏิจจสมุปบาท ก็จักเกิดปรากฎการณ์ดังที่ท่านได้ตรัสไว้ ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม และเป็นแก่นธรรมอันถูกต้องสมดั่งพุทธประสงค์, จึงจักยังให้มีความเข้าใจใน อริยสัจ ไตรลักษณ์ และแก่นธรรมต่างๆได้อย่างถ่องแท้ เพราะเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้วสมดั่งพุทธดํารัส.   ปฏิจจสมุปบาท ปรมัตถธรรมเพื่อความจางคลายจากทุกข์ และดับทุกข์ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเหตุแห่งทุกข์อันเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)นั้นจะมาเยือนเราเมื่อใด จึงควรใฝ่ใจปฏิบัติ,ศึกษา เมื่อเหตุแห่งทุกข์มาเยือนก็จักไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น หรือจางคลายจากทุกข์นั้นๆ     คติธรรม จิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ผลของจิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา เป็นทุกข์อุปาทาน สติเห็นเวทนาหรือจิตสังขาร เป็นมรรคปฏิบัติ ผลของสติเห็นเวทนาหรือจิตสังขาร เป็นนิโรธอันพ้นทุกข์ (พนมพร คูภิรมย์) คติธรรมนี้รวบรวมแก่นธรรมอันสําคัญยิ่งทางพุทธศาสนา อันมี ปฏิจจสมุปบาท เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา  หรือ  เกิดตัณหาความทะยานอยากหรือความไม่อยากไปปรุงแต่งเวทนานั่นเอง(อ่านรายละเอียดใน ปฏิจจสมุปบาท) อริยสัจ อันมี ทุกข์   สมุทัย   นิโรธ   มรรค สติปัฏฐาน๔ ทางสายเอกในการปฏิบัติ  อันมี สติเห็นเวทนา หรือ เวทนานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔(เห็นเวทนาในเวทนา), อันคือมีสติรู้เท่าทันในเวทนา สติเห็นจิตสังขาร(คิด) หรือ จิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔(เห็นจิตในจิต) อันคือสติรู้เท่าทันจิตสังขาร(ความคิด ความนึก) สติเห็นธรรม หรือ ธรรมานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔ (เห็นธรรมในธรรม) สติเห็นธรรมเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เตือนสติ แล้วเป็นกลางวางเฉย(อุเบกขา)โดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา     พระไตรลักษณ์         สิ่งทั้งหลายทั้งปวง(สังขาร)เป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) ล้วนดั่งต้อง เป็นเช่นนี้เอง อันคือ ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกันชั่วระยะหนึ่ง,        เพราะเกิดแต่เหตุปัจจัย  อันต้องอาศัยปัจจัยหลายๆปัจจัยมาประชุมเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ดูประหนึ่งสิ่งๆเดียว, แต่มิใช่สิ่งๆเดียวกันอย่างแท้จริง        จึงล้วน "อนิจจัง" ไม่เที่ยง  มีอันต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอาการธรรมดา, ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามปรารถนา        จึงล้วน"ทุกขัง"คงทนอยู่ไม่ได้ จึงต้องเสื่อมไปเป็นอาการธรรมดา และดับไปในที่สุด        จึงล้วนเป็น"อนัตตา"ไม่มีตัวไม่มีตน ที่เป็นแก่น เป็นแกน อย่างถาวรแท้จริงได้ตลอดไป (ถึงแม้ว่าในขณะนี้ ท่านจะมีตัวมีตนอยู่) เพราะล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยอันเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)มาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันชั่วขณะหนึ่ง ดุจดั่งแสงแดด แว่นขยาย และเชื้อไฟ(ขยายความ),  และเมื่อเหตุปัจจัยหลากหลายต่างๆอันมาประชุมกันเหล่านั้น มีอันต้องแปรปรวน, เสื่อม และดับด้วยเหตุอันใด, สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นจึงต้องแปรปรวน เสื่อม และดับไปตามเหตุปัจจัยเหล่านั้นด้วย        แม้กระทั่งตัวตน,ของตน ที่หลงยึดมั่นถือมั่นตามความพึงพอใจ ก็ต้องแปรปรวน เสื่อม และดับไปตามเหตุปัจจัยเช่นกัน        เพราะต้องแปรปรวน เสื่อมและดับไปเป็นอาการธรรมดา ทําให้ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริง จึงจักเป็นทุกข์ถ้าไปอยากด้วยตัณหา หรือไปยึดด้วยอุปาทานความพึงพอใจของตน เพราะบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้นั่นเอง ล้วนเป็นไปตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) นี่คือแก่นธรรมของพระไตรลักษณ์ ควรหมั่นพิจารณา(ธรรมะวิจยะโดยการโยนิโสมนสิการ) เพี่อให้เกิดปัญญาญาณว่า สิ่งที่เรายึดมั่นถือมั่นทั้งสิ้นทั้งปวงนั้น ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ตลอดจนตัวตนของเรา ล้วนอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์อันเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)อันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น แก่นของอนัตตานั้นมิได้อยู่ที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตน, แต่หมายถึงขั้นปรมัตถ์ ที่ไม่สามารถคงอยู่เช่นนั้นได้ตลอดไปอย่างถาวร จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากหรือไปยึดด้วยตัณหาหรืออุปาทาน (พนมพร คูภิรมย์)   ดูภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทที่มีเหตุปัจจัยภายนอกเข้ากระทบคลิกที่นี่   ดูภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทแบบขยายความโดยพิศดาร คลิกที่นี่  (ควรมีความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทพอสมควร เพราะใช้วงจรปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ เข้าอธิบายรายละเอียด เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึก)   แก่นธรรม ทุกข์ของขันธ์๕ทั้งใจและกาย(เวทนา) อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ) ยังคงมีอยู่  แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์ กล่าวคือ เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น หรือ เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ทุกข์นั้นทําอะไรใจไม่ได้   จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกๆขณะจิตก็คือ "อุปาทานทุกข์"นี้นั่นเอง เพราะอวิชชาความไม่รู้ จึงจําแนกไม่ออก     สําหรับท่านที่ดาวน์โหลดไม่ได้ และสนใจหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทนี้เพื่อการปฏิบัติ ในรูปแบบCD-Rom  ที่สามารถเล่นกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายๆโดยอัติโนมัติ(ธรรมทาน)   หรือ ต้องการส่ง E-mail แนะนําให้เพื่อนนักปฏิบัติอ่านเพื่อเป็นธรรมทาน,  หรือต้องการDownloadไว้อ่าน คลิกที่ด้านล่างนี้ตามต้องการ สพฺพทานัง  ธมฺมทานํ  ชินาติ การให้ธรรมเป็นทาน  ชนะการให้ทั้งมวล   ขอรับ CD-Rom Download E-mail ถึงเพื่อน ปฏิจจสมุปบาท ๔๖         เนื่องจากมีผู้บ่นกับผู้เขียนเป็นจํานวนมากเกี่ยวกับภาษาบาลี ความจริงแล้วผู้เขียนไม่รู้ภาษาบาลีมาก่อนเช่นกันจนมาศึกษาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทนี้ จึงเข้าใจความรู้สึกนั้นดีจึงได้พยายามแปลทุกบาลีสอดแทรกไว้ตลอดเพื่อให้ท่านได้เข้าใจกระจ่างขึ้น แต่เนื่องจากภาษาของเรานั้น ดีดดิ้นแปลได้หลายความหมายจริงๆ  และเหตุสําคัญที่สุดคือต้องการเทิดพระเกียรติ์ขององค์พระศาสดาว่าเป็นธรรมที่ท่านได้ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง และสิ่งสําคัญอีกประการคือปฏิจจสมุปบาทนั้นกินใจความที่ลึกซึ้งกว้างใหญ่ไพศาลนัก เมื่อเกิดความเข้าใจหรือสงสัยสิ่งใด ก็ทําให้สามารถเชื่อมโยงใยกับธรรมะอื่นๆของพระพุทธองค์ได้กลมกลืนและอย่างแจ่มแจ้งอันล้วนแต่อ้างอิงพระบาลีกันทั้งสิ้น อันจักทําให้เกิดความเข้าใจอย่างหมดจด ทําให้แก้ข้อสงสัยในธรรมอื่นๆได้ดียิ่งขึ้น  แต่เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด ผู้เขียนจะพยายามเขียนสื่อเป็นภาษาไทยในยุคนี้ แต่แน่ละย่อมมีบาลีแทรกบ้างเช่นเคย ซึ่งจักก่อประโยชน์แก่ท่านในภายหลัง  แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเขียนในบทนี้ก็คงจะไม่ง่ายนักที่จะทําความเข้าใจเช่นเคย เพราะเป็นกระบวนการจิตของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์และดับไปแห่งทุกข์ของมวลมนุษยชาติทั้งหลายทั้งปวง ที่ได้ครอบงํามนุษย์มาตลอดกาลนานและอีกตลอดไป จนกว่าเราจะเข้าใจสัจจธรรมของพระพุทธองค์, ผู้เขียนจะทะยอยเขียนลงไปเรื่อยๆในหน้านี้         ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมหรือกฏธรรมชาติที่แสดงความเป็นเหตุเป็นผลและความเนื่องสัมพันธ์กันจนทําให้เกิดความทุกข์หรือทําให้ทุกข์ดับ  จริงๆแล้วก็คือหลักวิทยาศาสตร์ในสมัยนี้นั่นเอง  เพียงแต่สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวนี้เป็นเรื่องของจิตที่ลึกซึ้งอันจับต้องหรือสัมผัสให้เห็นเป็นตัวตนไม่ได้(นามธรรม) จึงไม่สามารถพิสูจน์ผลนั้นออกมาให้เห็นเป็นรูปร่าง(รูปธรรม) จึงบังเกิดผลได้แก่ผู้รู้ผู้เข้าใจด้วยตนเองเท่านั้น(ปัจจัตตัง) จึงเป็นที่กินแหนงแคลงใจอยู่ภายในจิต(วิจิกิจฉา)แก่ปุถุชนทั่วๆไป ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์บางคน หรือคนที่คิดว่าตนเองทันสมัยตามวัตถุนิยม  เห็นเรื่องพุทธศาสนาเป็นเรื่องล้าสมัยหรือเชย  อันจึงทําให้ไม่สามารถรู้ซึ้งถึงสิ่งที่มีค่าที่สุด ที่ตนเองกําลังแสวงหาอยู่ทุกขณะจิตโดยไม่รู้ตัว 6/1/46         กระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์นี้ เป็นไปตามหลักการเช่นเดียวกันกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนี้ที่ต้อง มีเหตุผล คือมีเหตุจึงเกิดผลขึ้น  แต่ทางพุทธศาสนาเรียกหลักการหรือข้อธรรมนี้ตั้งแต่ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วว่า"อิทัปปัจจยตา"อันมีพุทธดํารัสไว้ดังนี้             เมื่อเหตุนี้มี  ผลนี้จึงมี                เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น  ผลนี้จึงเกิดขึ้น             เมื่อเหตุนี้ไม่มี  ผลนี้จึงไม่มี        เพราะเหตุนี้ดับ   ผลนี้จึงดับ กล่าวคือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น เกิดแต่เหตุปัจจัย ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ  ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะมันอยากจะเกิดเอง ในขั้นแรกนี้เราต้องเข้าใจในหลักการนี้อย่างมั่นคงเสียก่อน มิฉนั้นเราจะทําความเข้าใจกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์นี้อย่างไม่แจ่มแจ้ง  ขอให้พิจารณาตรงนี้เป็นพิเศษไม่ใช่เข้าใจแล้วเลยคิดว่าไม่สําคัญ จึงไม่พิจารณาให้เห็นอย่างลึกซึ้ง         กระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์นี้ เกิดขึ้นเป็นวงจรไม่รู้จบ เพราะมันต่อเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลกัน คือเหตุๆนี้เป็นเหตุหรือปัจจัยจึงเกิดสิ่งหรือผลนี้ขึ้น และสิ่งหรือผลที่เกิดขึ้นนี้ก็เป็นเหตุหรือปัจจัยอันยังให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งหรือผลอีกสิ่งหนึ่ง  ดําเนินไปเช่นนี้เรื่อยๆ  วงจรนี้จึงดําเนินเคลื่อนหมุนอยู่ตลอดเวลาแต่ในลักษณะเกิดๆดับๆหมุนเวียน ทะยอยกันเกิดเสมือนหนึ่งลูกคลื่นในท้องสมุทร  เป็นกระแสแห่งเหตุและปัจจัยอันยังให้เกิดความทุกข์ไปทั่วทุกโลกธาตุ   ปฏิจจสมุปบาท 46   อาสวะกิเลส เป็นปัจจัยจึงเกิด อวิชชา หรือ จิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมอง เป็นปัจจัยจึงเกิด การไม่รู้เท่าทันและไม่รู้ตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)         เนื่องจากกระบวนการนี้เป็นวงจรที่หมุนวนเวียนแบบเกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา  จริงๆจึงไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสุดท้าย สามารถเกิดแต่เหตุปัจจัยใดๆในวงจรก็ได้ แต่ ณ.ที่นี้ผู้เขียนจะขอเริ่มที่ความจําที่หมักหมมนอนเนื่องอยู่ในจิต อันทําให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมอง(มิได้หมายความถึงจิตที่ขุ่นมัวเศร้าเพราะอารมณ์เสียแต่เพียงอย่างเดียวแต่หมายถึงความไม่บริสุทธิ์หรือกิเลสอันมีอยู่เล็กๆช่อนเร้นอยู่ในจิตหรือจิตใต้สํานึกและถ้าไม่ศึกษาอย่างละเอียดจะมองไม่เห็น) อันก่อให้เกิดความขุ่นมัว หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน อันแอบซ่อนจดจําอยู่ในจิต(อันคือสัญญาความจําชนิดหนึ่งที่มีกิเลสแอบแฝง หรืออาสวะกิเลสในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง) เราจะเรียกว่าความจําก็ได้ แต่ครอบคลุมไปถึงความจําได้ที่แอบซ่อนอยู่ลึกๆภายในจิตด้วย หรือที่เรียกกันในทุกวันนี้ว่าจิตใต้สํานึกเช่นความจําบางอย่าง เรื่องบางอย่าง โดยทั่วไปนึกไม่ออกจําไม่ได้แต่เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระตุ้นหรือเร่งเร้าจึงจําขึ้นมาได้  ความจํานี้มิได้ครอบคลุมแต่ความทุกข์ที่เคยเกิดเคยเป็นเท่านั้นจึงจะทําให้จิตขุ่นมัวหรือหงุดหงิด แต่รวมถึงความจําที่ทําให้เกิดความสุขในทางโลกๆขึ้นด้วย  เพราะความสุขที่เกิดแบบทางโลกๆนั้นจักทําให้เราเกิดความเศร้าโศรก หรือโหยหาต่อไปในกาลข้างหน้า อันก่อให้เกิดทุกข์ในภายหลังโดยไม่รู้ตัว!         เมื่อมีจิตที่ขุ่นมัว และเรายังไม่มีวิชชาหรือไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์และวิธีการดับทุกข์แล้วตามความเป็นจริง คือไม่รู้สภาวะธรรมหรือธรรมชาติตามความเป็นจริงที่ทําให้เกิดทุกข์และดับทุกข์  หรือมี อวิชชา๘ อันคือไม่รู้ อริยะสัจ๔และปฏิจจสมุปบาทในการดับทุกข์ จึงเป็นเหตุให้วงจรของทุกข์ดําเนินต่อไป   อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร(วิบาก) หรือ เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งสภาวะธรรมชาติ จึงเป็นปัจจัยให้เกิด การกระทําต่างๆทางกาย ทางวาจา ทางใจ ตามที่ได้สั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติมาแต่เก่าก่อน         เพราะเมื่อไม่รู้ทันและไม่เข้าใจสภาวะธรรม(ชาติ)แล้ว จึงทําให้เกิดการกระทําต่างๆตามที่ได้เคยๆสั่งสม อบรมไว้ เช่นการประพฤติ การปฏิบัติ  ฝึกฝน ความเชื่อ ความคิดต่างๆ บุคคลิกต่างๆ   อันจักล้วนเป็นไปตามความเคยชินที่ได้กระทําสั่งสมมา โดยไม่รู้ไม่เข้าใจหรือเท่าทันสภาวะธรรม(ชาติ)อย่างจริงๆแท้ๆ   สังขาร เป็นปัจจัยจึงเกิด วิญญาณ หรือ การกระทําตามที่สั่งสมไว้ เป็นปัจจัยให้  ระบบประสาทรับรู้ ทํางาน         ตรงที่นี่แหละที่นักปฏิบัติชักจะเริ่มมีความสับสน งงงวย เกิดขึ้น  วิญญาณอะไร? ทําไมจึงเกิด? ทําไมวิญญาณจึงไม่เกิดก่อน?  ก็เกิดมาแล้วต้องมีวิญาณอยู่แล้วนี่? ในนามรูปก็มีแล้วนี่? สารพัดสารเพให้งงงวย จนไม่สามารถก้าวต่อไปได้เพราะเกิดความสงสัย(วิจิกิจฉา),  จริงๆแล้วไม่ได้หมายถึงวิญญาณที่ลอยละล่องอย่างที่เราๆเข้าใจกันและยึดติด, วิญญาณตรงนี้นั้นพระพุทธองค์ทรงแจงกระบวนการทํางานของทุกข์ที่สัมพันธ์กับกายและจิตของเราเท่านั้นและต้องการชี้แสดงให้เห็นสภาวะที่เกิดๆ ดับๆ ไม่เที่ยงของวิญญาณที่เกิดขึ้น,   วิญญาณในที่นี้ท่านหมายถึง วิญญาณ๖ อันมี วิญญาณตา(จักขุวิญญาณ), วิญญาณหู(โสตวิญญาณ)...ฯ.ทั้ง๖ที่เกิดขึ้น หรือก็คือระบบประสาทการรับรู้ของร่างกายอันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ  อันเกิดการทํางานขึ้นจากสังขารที่กระทําตามความเคยชินและได้เกิดขึ้นแล้วนั้น   หรือจําเป็นต้องเกิดร่วมกันอันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)นั่นเอง 6/1/46 ระบบประสาทการรับรู้ ทํางาน  เป็นปัจจัยจึงเกิด  ระบบชีวิตทั้งหมดเกิดการทํางานเพราะมีเหตุปัจจัยครบ(ในกิจนั้นๆ) หรือ วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นาม-รูป          เมื่อเกิดการรับรู้(สังเกตุดูด้วยว่าแค่รับรู้เหมือนภาพถ่าย-เพราะมิฉนั้นจะไปสับสนกับเวทนา)ในสิ่งที่มากระทบสัมผัส(ผัสสะ) อันคือระบบประสาทการรับรู้นั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้นามรูปหรือชีวิตครบองค์ประกอบของการทํางานในเรื่องนั้นๆ  ตอนที่ผู้เขียนโยนิโสมนสิการ(การกระทําในใจโดยแยบคาย)ใหม่ๆในปฏิจจสมุปบาทนั้น รู้สึกสงสัยและหงุดหงิดมากในเรื่องนี้ เพราะพอจะรู้ว่าคนเราเกิดแล้ว ต้องมีรูปนามเกิดมาพร้อมอยู่ด้วย เหตุไฉนจึงมีรูปนามหรือนาม-รูปเกิดขึ้นมาอีก  เมื่อพิจารณาไปจึงเข้าใจ ท่านได้แยกการทํางานย่อยลงไปเฉพาะกิจ และเหตุที่ใช้นามนําหน้าก็เพราะเป็นการพูดถึงการทํางาน มิได้หมายถึงรูปนามที่เป็นรูปร่างตัวตน(รูปธรรม)   ตัวตนของเรา(รูปนาม)นั้นมีอยู่จริง(ชั่วขณะมีชีวิตไม่ถาวร)  แต่ถ้าพิจารณาลึกลงไปในกิจหรืองานเฉพาะเรื่องแล้ว จะเห็นได้ว่าวิญญาณในเรื่องหรือกิจนั้นๆเพิ่งจะเกิดขึ้นตามสิ่งแวดล้อมที่มากระทบสัมผัส(ผัสสะ)   อุปมาได้ดั่งรถยนต์  ท่านสังเกตรถยนต์ดู มีอุปกรณ์พร้อมสรรพ เป็นรถยนต์ที่ดูสมบูรณ์(เทียบกับคนที่มีรูปนามพร้อมแล้วเช่นกัน) พร้อมที่จะทํางาน  แต่จะทําให้มันแล่นไปยังที่ที่เราต้องการจะไปหาได้ไม่   เพราะขาดองค์ประกอบคือพลขับอันคือวิญญาณที่จะเป็นผู้พาไปสู่จุดหมาย(กิจนั้นๆ)นั่นเอง  ท่านจึงตรัสไว้ว่า วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นาม-รูป 20/11/46 นามรูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ หรือ ระบบชีวิตทั้งหมดเกิดการทํางานเพราะมีเหตุปัจจัยครบ เป็นปัจจัยจึงทําให้  ระบบอวัยวะรับความรู้สึกทํางานตื่นตัว         เพราะนามรูปที่ครบองค์ประกอบในการทํางานได้เกิดขึ้นแล้ว  อันย่อมทําให้อุปกรณ์หรืออวัยวะส่วนต่างๆคืออวัยวะส่วนรับรู้ความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมอันมากระทบสัมผัสนั้นพร้อมการทํางานอย่างตื่นตัว รับการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)ที่เกิดขึ้นนั้น   อันมี ๖ คือ     ตา - รับรู้การกระทบสัมผัสของรูป     หู - รับรู้การกระทบสัมผัสของเสียง     จมูก - รับรู้การกระทบสัมผัสของกลิ่น     ลิ้น - รับรู้การกระทบสัมผัสของรส     กาย - รับรู้การกระทบสัมผัสของกาย(โผฏฐัพพะ)     ใจ - รับรู้การกระทบสัมผัสของความคิดนึก(ธรรมารมณ์)   สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ หรือ ระบบอวัยวะรับความรู้สึกทํางานตื่นตัว จึงเป็นปัจจัยให้เกิด การกระทบรับรู้         เมื่อกายและบริวารทั้งหลายตื่นตัวหรือทํางานอย่างสมบูรณ์ทั่วพร้อม จึงรับรู้สังขารที่เป็นสิ่งที่มากระทบสัมผัสดังเช่น ความคิด   ดังนั้นจึงเกิดการสื่อสารอย่างครบถ้วนทางกายภาพ    ดังที่ท่านตรัสไว้ว่า ผัสสะ   บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป เกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบกันของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ         อันพอที่จะเขียนเป็นสมการให้ดูเข้าใจง่ายๆ ตา + รูป + จักษุวิญญาณ >> ผัสสะ         ดังนั้นสังขารหรือก็คือความคิดนึกหรือเรียกธรรมารมณ์ชนิดหนึ่ง แต่เป็นความคิดนึกชนิดที่เกิดมาจากสัญญาความจําชนิดที่ทําให้จิตขุ่นมัว(อาสวะกิเลส)อันเมื่อเกิดแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์    จึงเกิดครบองค์ประกอบของการสื่อสารอย่างครบถ้วนทางกายภาพ เช่นกัน อันเขียนเป็นสมการให้พิจารณาได้ง่ายขึ้นดังนี้ คิด(สังขาร) + ใจ + วิญญาณของใจหรือมโนวิญญาณ >> ผัสสะ     หรือ คิด(สังขาร) + ใจ + มโนวิญญาณ >> ผัสสะ นอกจากทางสังขารอันเกิดแต่อาสวะกิเลสนี้แล้ว  สฬายตนะนั้นยังต้องรับการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)การรับรู้ผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(อันมิได้สังขารหรือปรุงแต่งขึ้นเอง แต่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ข้างต้นนั่นแหละ)ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นกระบวนการธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตธรรมดาๆอันเมื่อเกิดการผัสสะกันก็ย่อมมีวิญญาณการรับรู้เกิดขึ้นเป็นธรรมดาด้วย  แต่การผัสสะของสฬายตนะเองนี้อาจก่อทุกข์หรือไม่ก่อทุกข์ก็ได้ ขึ้นกับเราเองเป็นสําคัญ  จึงพอนํามาเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ รูป + ตา +วิญญาณ >> ผัสสะ เสียง + หู +วิญญาณ >> ผัสสะ กลิ่น + จมูก +วิญญาณ >> ผัสสะ รส + ลิ้น +วิญญาณ >> ผัสสะ สัมผัส + กาย +วิญญาณ >> ผัสสะ 23/1/46 ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา การกระทบรับรู้  จึงเป็นปัจจัยทําให้ เกิดความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัสนั้นๆ         เมื่อเกิดการผัสะกระทบกันแล้ว จึงเกิดความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่ผัสสะนั้นพร้อมทั้งความจําได้อันเกิดแต่สัญญาจํา(อาสวะกิเลสที่นอนเนื่องอยู่คือสัญญาจําชนิดแฝงกิเลสนั่นเอง) จึงเกิดเป็นความรู้สึกในการรับรู้ชนิดต่างๆคือ ชอบใจ สบายใจในสิ่งที่มาผัสสะนั้น(สุขเวทนา),  ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจในสิ่งที่มาผัสสะนั้น(ทุกขเวทนา),  หรือเกิดความรู้สึกเฉยๆไม่มีความรู้สึกสบายใจหรือไม่สบายใจแต่อย่างใด(อทุกขมสุข)                    ผู้เขียนถูกจุดประกายมาจากการอ่าน และพบข้อความที่กล่าวแสดงว่า          "ในครั้งตรัสรู้ใหม่ๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยที่จะไม่ประกาศเผยแผ่ธรรมที่ท่านตรัสรู้  เพราะทรงท้อพระทัยว่า หมู่สัตว์ทั้งหลายคงยากที่จะเข้าใจในความลึกซึ้งของปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน"   ตลอดจนการพบพระพุทธพจน์ ที่ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท    ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม    ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท         และจนศึกษาพบว่าเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้เพราะความจริงแล้วอริยสัจและปฏิจสมุปบาทก็ล้วนเป็นธรรมเดียวกันนั่นเอง และภายหลังตรัสรู้แล้วพระองค์ยังทรงพิจารณาโดย อนุโลม และ ปฏิโลม อีกตลอด ๗ วันแรกของการเสวยวิมุติสุขจากการหลุดพ้น  จนบังเกิดพุทธปีติเป็นพุทธอุทานในพระพุทธศาสนา ขึ้นทั้ง ๓ ครั้ง ๓ ครา อันล้วนเกิดจากปรมัตถธรรม"ปฏิจจสมุปบาท"         จึงได้เห็นธรรมความลึกซึ้งของปฏิจจสมุปบาทบ้าง คือเห็นกระบวนการของจิตในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์และการดับไปแห่งทุกข์โดยละเอียดพอสมควรในแนวทางที่ยังไม่มีผู้บันทึกไว้โดยการโยนิโสมนสิการ คือการพิจารณาโดยละเอียด และแยบคาย ตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ, จนพอเข้าใจกระบวนธรรมหรือจิตของการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์อย่างละเอียดโดยใช้ความรู้ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕มาประยุกต์อธิบายในธรรมของพระพุทธองค์โดยพิศดาร, และอาศัยการศึกษาค้นคว้าประกอบกัน เช่นจากหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ ผู้จุดประกายธรรมอันลึกซึ้งให้ปรากฎแก่ชาวโลกได้มาสนใจธรรมอันลึกซึ้งนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องตามพุทธประสงค์ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องข้ามภพข้ามชาติแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่ยึดถือกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานนับพันปี  แต่เป็นเรื่องของการสิ้นภพ สิ้นชาติตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้หรือในปัจจุบันจิตนี้ที่มีการเกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา จากหนังสืออันทรงคุณค่าของท่าน, และจากหนังสือของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ผู้ได้เสริมสร้างความเข้าใจในธรรมให้ก่อกําเนิดเป็นรูปร่างจากหนังสือ"พุทธธรรม"อันทรงคุณค่ายิ่ง, และข้อธรรม ข้อคิดของหลวงปู่ดูลย์  อตุโล จากหนังสือ"อตุโล ไม่มีใดเทียม",  ตลอดจนท่านอาจารย์ถาวร และท่านอาจารย์ณรงศักดิ์ ผู้คอยแนะนําสั่งสอน,เมตตาผู้เขียนตลอดมาโดยเป็นผู้ที่ฝึกสอนให้ผู้เขียนเห็นความคิดในขั้นแรก, ผู้เขียนจึงใคร่ขอกราบขอบพระคุณแด่ปูชนียบุคคลผู้ทรงคุณค่าที่ได้กล่าวถึง  เป็นอนุสรณ์ ณ. ที่นี้  ตลอดจนบิดามารดาผู้มีพระคุณ และครอบครัว  และคุณยุวดี คู่ทุกข์คู่ยากผู้เข้าใจผู้เขียนเป็นอย่างดีและให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลังมาโดยตลอด                ผู้เขียนใคร่ตอบแทนคุณพระศาสนา และเพื่อเป็นประโยชน์สืบไป  จึงได้บังเกิดหนังสือและโฮมเพจบันทึกธรรมเล่มนี้ขึ้นมา ตามความเข้าใจในธรรมที่ได้บังเกิดขึ้นบ้าง เพื่อเทิดพระเกียรติ์แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองในธรรมอันยิ่งใหญ่ และเพื่อบรรดากัลยาณมิตรในทางธรรมทั้งหลายที่ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสแก่นธรรมแท้ๆ จักได้มีโอกาสได้สัมผัสแก่นธรรม อันจักยังประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ผู้เห็นธรรมนั้นสมดั่งพระพุทธพจน์ ที่ได้ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท   ผู้นั้นเห็นธรรม"  (มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘)                                                                                                                     พนมพร                                                                                                                     ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๔   และวิธีปฏิบัติแก้ไข             หมายถึง เกิดการเข้าไปยึดติด ยึดมั่น เสพสุขในสมาธิหรือฌาน กล่าวคือเกิดความพึงพอใจในผลที่บังเกิดขึ้นแก่กายและจิตอันเกิดแต่ผลของสมาธิหรือฌาน อันเป็นมิจฉาสมาธิหรือฌานแบบผิดๆ สาเหตุใหญ่เพราะความไม่รู้ตัว และความไม่รู้ในคุณและโทษ ตลอดจนกิเลส ตัณหา ความพึงพอใจที่บังเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว หรือเกิดจากความความเชื่อ,ความเข้าใจว่าปฏิบัติถูกต้องแล้ว คือคิดว่ายิ่งปฏิบัติมากยิ่งเกิดปัญญาตามที่กล่าวกันว่าสมาธิเป็นบาทฐานให้เกิดปัญญา อันความจริงนั้นหมายถึงเอาผลสมาธิที่เกิดขึ้นนั้นอันทําให้จิตสงบ กายสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และเป็นกําลังแห่งจิต ไปใช้พิจารณาธรรม(ธรรมะวิจยะโดยการโยนิโสมนสิการ) อันจะยังให้เกิดปัญญาหรือสัมมาญาณในอันที่จักยังให้พ้นทุกข์อย่างแท้จริง  กล่าวคือแทนที่จะใช้ประโยชน์จากฌานหรือสมาธิที่บังเกิดขึ้นเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนา คือเมื่อกายและจิตระงับอันเป็นผลมาจากกําลังของสมาธิ อันเป็นกําลังสําคัญของจิตในการปฏิบัติวิปัสสนาเช่นกัน คือนําไปพิจารณาธรรมที่บังเกิดแก่จิตหรือสงสัยให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้  แต่กลับไปยึดติดพึงพอใจในรสชาติความสุขอันรับรู้สัมผัสได้ทั้งจากทางกายและทางจิตของฌาน,หรือมิจฉาสมาธิโดยไม่รู้ตัวหรือเพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง ทําให้คอยเสพรสอยู่ตลอดเวลา ทั้งขณะที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวโดยเลื่อนไหลไปเองตามธรรมชาติของจิตอันเกิดแต่สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) อันจักต้องเป็นเช่นนั้นเอง และจากการกระทําบางอย่างโดยไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของธรรม  อันยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันเป็นผลร้ายต่อผู้ปฏิบัติอย่างรุนแรงในที่สุด         "การบำเพ็ญจิตให้สงบจนเกิดกำลังแล้ว   ก็ไม่ควรที่จะทำความสงบอย่างเดียว   เพราะถ้าทำแต่ความสงบไม่พิจารณาทุกขสัจจ์   ก็จะเป็นเฉพาะฌาน ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ   เป็นสมาธิผิด ไม่พ้นทุกข์   ต้องพิจารณาทุกข์จึงจะพ้นทุกข์" (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)         ในหนังสือ"อตุโล ไม่มีใดเทียม" ได้มีการกล่าวถึงพลังจิตหรือสมาธิไว้ดังนี้"พลังจิตที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงหลังจากเกิดสมาธินั้น หมายถึงว่า จิตนั้นจะยกสภาวะธรรมขึ้นมาพิจารณาไตร่ตรองให้เกิดวิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาแล้วปัญญานั้นก็จะแจ่มแจ้งดีกว่าจิตที่ไม่เกิดสมาธิ หรือจิตที่ไม่มีสมาธิ"  (น. ๒๒๒)              "พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ  จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบไม่ได้  แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น  มันก็ได้แค่นั้นแหละยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค  ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทานได้  ให้ละสุขนั่นเสียก่อน  แล้วพิจารณาขันธ์๕ให้แจ่มแจ้งต่อไป"(น.๔๙๕)             ในหนังสือส่องทางสมถวิปัสสนาของหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี ก็ได้มีกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ทั้ง ๒ ทาง คือแบบสมถะหรือสมาธิล้วนๆ และอีกแบบหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า แนวนี้เดินสมํ่าเสมอกว่าแนวสมถะล้วนๆ คือแนวสมถะวิปัสสนา กล่าวคือใช้สมาธิเป็นบาทฐานของวิปัสสนานั่นเอง ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้"บริกรรมหรือเพ่งอย่างนั้นเหมือนกัน(หมายถึงเหมือนสมถะ) แต่ไม่ให้จิตสงบ คือน้อมจิตให้เข้าไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว เพ่งพิจารณานิมิตนั้นให้เป็นธาตุหรือเป็นอสุภ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์เป็นต้น เมื่อเห็นชัดแล้วจิตจะรวมลงไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว หรือจะเป็นสมาธิ หรือจะเกิดปัญญาให้สลดสังเวชก็ได้ พูดย่อๆ เรียกว่าหัดสมถะเป็นไปพร้อมกันกับวิปัสสนา"         "....จิตที่อยู่ในเอกัคคตารมณ์เป็นของเบาและไวต่ออารมณ์มาก ที่เรียกว่าจิตส่งในเป็นภัยต่อผู้เจริญฌานอย่างยิ่ง บางทีอาจทำให้เสียผู้เสียคนไปก็มี ฌานมีเอกัคคตารมณ์เป็นเครื่องวัดในที่สุด แต่ไม่มีปัญญาจะพิจารณาสังขารให้เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณได้ กิเลสของผู้ได้ฌานก็คือ มานะแข็งกระด้างทิฐิถือรั้นเอาความเห็นของตัวว่าเป็นถูกทั้งหมด คนอื่นสู้ไม่ได้ เรื่องนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของฌานหรือทิฐินิสัยเดิมของแต่ละบุคคลอีกด้วย ผู้ที่ผ่านเรื่องนั้นมาด้วยกันแล้วหรือมีจิตใจสูงกว่าเท่านั้น จึงจะแก้และแสดงให้เขาเห็นจริงตามได้ ถ้าแก้ไม่ตกก็เสียคนไปเลย"จาก โมกขุบายวิธี โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี           ท่านที่ปฎิบัติเน้นหนักไปแต่ด้านสมถะสมาธิอันขาดการวิปัสสนา ทั้งที่ปฏิบัติโดยรู้ตัว  หรือไม่รู้ตัวโดยการเลื่อนไหลไปตามความเคยชินที่สั่งสมอบรมไว้ของจิตก็ดี(สังขารในปฏิจจสมุปบาท) และขณะนี้อยู่ในสภาวะเบาสบายและปลอดจากทุกข์ อ่านแล้วอาจรู้สึกฝืนความรู้สึก ความเชื่อ ความเข้าใจอย่างรุนแรง ผู้เขียนก็เคยเป็นเช่นนั้น, ขอให้อ่านพิจารณาอย่างใจเป็นกลาง ถ้าท่านไม่ยึดในความเชื่อหรือความเข้าใจของตนเองจนปฏิเสธทุกสิ่งที่ไม่เห็นพ้องกับความคิดความเห็นของตนเอง(ทิฏฐุปาทาน), ขอรับรองว่าวันข้างหน้าจักเกิดคุณประโยชน์แก่ท่านในที่สุด         ข้อสังเกตุและแก้ไข สําหรับผู้ปฏิบัติสมาธิและฌานแบบผิดๆ แล้วในที่สุดจะมีอาการอึดอัด,ไม่สบาย  ระยะเวลาที่จะเริ่มเกิดไม่สามารถระบุได้เพราะขึ้นอยู่กับความจริงจังในการการปฏิบัติ แต่มักจะเริ่มอาการต่างๆเมื่อการปฏิบัตินั้นแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ  และปัจจัยอันสําคัญยิ่งอีกอย่างคือเมื่อมีความทุกข์ หรือสิ่งใดมากระทบผัสสะให้ขุ่นข้อง ขัดเคือง หรือจิตใจซัดส่าย หงุดหงิด จนหลุดจากมิจฉาสมาธิหรือฌาน  จะมีอาการไม่สบายต่างๆนาๆ แน่นหน้าอก ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย หมดแรง ขาอ่อน ใจสั่น อ่อนล้ากว่าเมื่อก่อนได้ปฏิบัติ ต้องพิจารณาย้อนระลึกดู ปัญหาใหญ่คือมักไม่รู้ตัวว่าเป็นเพราะจิตที่ปฏิบัติ มัวหาแต่สาเหตุอื่นๆ  ซึ่งผู้เขียนขอยืนยันว่านักปฏิบัติที่ไม่มีครูบาอาจารย์ที่เข้าใจจริงๆแนะนําสั่งสอนอย่างใกล้ชิด เป็นกันแทบทุกคนเนื่องจากความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง   ท่านจึงควรต้องสํารวจ พิจารณาให้ดีจะได้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะต้องใช้ความละเอียดและแยบคายจริงๆในการพิจารณา(โยนิโสมนสิการ)จึงจักรู้และเข้าใจได้ เพราะความเชื่อความยึด(ทิฎฐุปาทาน)จะปิดกั้นไว้ และการไปเข้าใจว่าเกิดแต่กายทั้งๆที่ตามความเป็นจริงแล้วเป็นเหตุมาจากจิตโดยตรง          ก่อนอื่นขอให้ท่านทําใจให้กว้างเปิดรับความคิดเห็นใหม่ๆ เป็นอุเบกขาเป็นกลางๆ ไม่เอาความรู้สึก ความเชื่อ ความเข้าใจส่วนตัวที่มีอยู่เดิมของตนเองมาร่วม เพียงแต่พิจารณาโดยละเอียดและแยบคายจริงๆตามที่ท่านประสบมา,   อย่าให้อุปาทานความเชื่อความยึด, และฤทธ์ของฌาณหรือมิจฉาสมาธินี้อันแสดงผลโดยตรงต่อสมองอันเป็นส่วนหนึ่งของจิตมาครอบงําท่านได้ ตลอดจนอย่าให้ผลประโยชน์ ผลของความสุขความสบายอันเกิดแต่ฌานมาขัดขวางปัญญาตามธรรมชาติของท่าน,  ถ้าท่านพิจารณาและไตร่ตรองโดยละเอียดและแยบคายสักระยะหนึ่งแล้วไม่เป็นดังที่กล่าว ก็ขอให้ลืมไปเสีย ถือเสียว่าผู้เขียนฟุ้งซ่านไปเองก็แล้วกัน  หรือถือได้ว่าท่านได้ปฏิบัติมาถูกต้องแล้ว.          ปีติและสุขในฌาน มักสับสนและแยกกันยาก ในหนังสืออันทรงคุณค่า"พุทธธรรม" โดย ท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ท่านอธิบายไว้ได้ใจความที่ดีมาก ว่าดังนี้         "ปีติ หมายถึงความยินดีที่ได้อารมณ์ที่ต้องการ" เช่น ซาบซ่าน อิ่มเอิบ ขนลุก ขนชัน         "สุข หมายถึงความยินดีที่เสวยรสอารมณ์ที่ต้องการ" เช่นอิ่มใจเบาๆนานๆ อิ่มเย็นแผ่วเบาสบายไปทั่วใจกาย ที่กายบางท่านดุจดั่งมีลมเบาๆลูบไล้กายไปทั่ว ขนลุกฟูเบาๆไปทั่วตามร่างกาย(เบาบางกว่าปีติมาก)         และท่านยกตัวอย่างไว้อย่างน่าสนใจ "เหมือนคนเดินทางในทะเลทรายและแสนจะเหนื่อยอ่อนล้า อาการดีใจเมื่อเห็นหรือได้ยินข่าวว่ามีหมู่ไม้อันร่มรื่นและแอ่งนํ้านั้นเรียกว่าปีติ  อาการชื่นใจเมื่อเข้าพักใต้ร่มไม้และได้ดื่มนํ้าเรียกว่าสุข "  ดังนั้นอาการสุขสบายแผ่วเบาที่เกิดอยู่นานๆคืออาการของสุขนั่นเอง         จากประสบการณ์ของผู้เขียน เมื่อปฏิบัติจนจิตเป็นสมาธิหรือฌานแล้ว(ส่วนใหญ่เป็นโดยไม่รู้ตัว)กล่าวคือมี "ปีติ หรือ สุข"อยู่ได้นานๆ  บางท่านในขณะจิตตื่นก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ปฏิบัติ หรือเป็นโดยไม่รู้ตัว คือในวิถีชีวิตปกติโดยไม่ต้องปฏิบัติในรูปแบบคือ ชนิดต้องนั่งหรือตั้งใจเฉพาะในรูปแบบใดแบบหนึ่ง   เมื่อนานๆเข้าจะมีอาการต่างๆเกิดขึ้น มักเกิดหลังตื่นนอนบ้าง, หลังการอาบนํ้าเย็นๆบ้าง หรือมีอะไรมากระทบใจให้เกิดตึงเครียดบ้าง, เมื่อหงุดหงิดหรือมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาผัสสะกระทบทําให้เคลื่อนออกจากสมาธิบ้าง เช่น อาบนํ้าเย็นๆ หรือการฝัน หรือเคลื่อนออกขณะหลับ หรือมีเรื่องขุ่นข้องมากระทบจิตผ่านตา หู จมูก ฯลฯ. หรือหลังจากเพ่งสนใจหรือจดจ่อสิ่งใดนานๆเช่นงานที่จดจ่อ, อ่านหนังสือ  หรือแม้ในขณะที่ท่านสนใจอ่านหนังสือขณะนี้อยู่  หรือการใช้สมาธิ ฌานในการทํากิจสิ่งใด   แล้วในที่สุดก็จะเกิดอาการต่างๆนาๆ อันมักเกิดขึ้นเป็นประจํา เช่น ทางกายจะมีการแปรปรวนต่างๆนาๆ จนคาดไม่ถึง ตลอดจนมีอาการต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นตามแต่จุดอ่อนของนักปฏิบัตินั้นๆ  ดังเช่น         อึดอัด ครั่นเนื้อครั่นตัว ไม่สบายแบบอธิบายไม่ใคร่ถูก อ่อนแรง อ่อนเปลี้ยไปทั้งตัว อ่อนเพลีย(โดยเฉพาะเมื่อมีความทุกข์มากระทบใจ,หรือหดหู่)         แน่นหน้าอก  แสบๆภายในหน้าอก  เจ็บหน้าอกภายใน  หรือมีความรู้สึกมีมวลหรือก้อน หรือรู้สึกมีมวลประจุละเอียดเล็กๆละเอียดยิบๆ บริเวณใบหน้า  หน้าอก  หรือร่างกาย  แขน  ขา มือ         ปวดร้าวประสาทต่างๆเช่นปวดกราม ปวดฟันแต่ไม่รู้แน่ๆว่าซี่ไหน  รู้แต่ว่าปวดๆร้าวๆแต่ชี้ชัดไม่ได้  เสียวฟัน   ปวดตึงท้ายทอย  ไหล่   หลัง  ฯลฯ.         ปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ  หรือรู้สึกแข็งทื่อ, กล้ามเนื้อเกร็งหรือตะคริว         ปวดตามกระดูกต่างๆ รู้สึกเหมือนปวดอยู่ภายในกระดูก เช่น กระดูกต้นคอ ข้อแขน ขา หลัง ตามข้อต่างๆ         ปวดหัว เวียนหัว, มึนงง ทึบตื้อ, คลื่นไส้, อาเจียร, เรอ ท้องอืดมีลมในท้อง, ท้องเดิน โดยไม่มีสาเหตุบ่อยๆ(ท้องเดินอันมักเกิดเมื่อเสพสุขมากๆจนแปรปรวน)         มีอาการภูมิแพ้ตามผิวหนัง         เป็นมากๆมักจะแช่ หรือเลื่อนลอยอยู่ในปีติและสุขโดยไม่รู้ตัว หมายถึงรับรู้ต่อสิ่งภายนอกลดน้อยลงกว่าที่ควรเป็น(แต่บางครั้งจะรุนแรง) คอยแต่ส่องกายหรือจิตของตนเองอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัวและบางครั้งก็จะเลื่อนไหลไปลึกจนไม่รับรู้สิ่งใด             บางท่านนั้นทํางานอะไรแบบจดจ่อตั้งใจไม่ได้เลย เช่นการอ่านหนังสือ จะปวดหัว หรืออึดอัด มีอาการแน่นหน้าอกทันที หรือเกิดภายหลังจากกิจหรืองานที่ทําอย่างจอจ่อหรือตั้งใจ ที่ทําเป็นระยะเวลาหนึ่ง         และอาการทุรนทุรายต่างๆตลอดจนความกระวนกระวายจากความทรมานและจากการค้นหา"ปีติ และ สุข" ที่หายไป         ในผู้ที่เป็นฌานอยู่ณ.ปัจจุบันจิตนี้ เมื่อพิจารณาข้อเขียนนี้แล้วและมีความคล้อยตามหรือเชื่อบ้างตามข้อเขียนของผู้เขียน อาจจะเกิดอาการคล้ายเมาหรือวิงเวียนขึ้นเล็กน้อย เมื่อเข้าใจหรือจับความจริงได้บ้างโดยตนเองในปัญหาเรื่องวิปัสสนูปกิเลสข้อนี้ เพราะจิตจักชะงักการเสพสุขลงชั่วขณะ        เมื่อเป็นดังนี้มากๆเข้าก็คิดว่าเกิดแต่กายเจ็บป่วย แต่ไม่รู้ว่าเป็นผลอันล้วนมาจากจิตเป็นเหตุปัจจัยทั้งสิ้น        อาการต่างๆเหล่านี้คล้ายๆกับผู้เสพยาเสพติดแล้วขาดยา (แต่รุนแรงน้อยกว่า แต่ยาวนานกว่า และเลิกยากกว่า จนกว่าจะรู้เข้าใจและคลายความอยากภายในจิตลึกๆลงไป)        กรณืผู้เขียนเองที่เด่นชัดคือ ปวดเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง พรัอมทั้งรู้สึกปวดในกระดูกข้อแขนอย่างรุนแรง กล้ามเนื้ออ่อนล้า หมดแรง กระวนกระวาย  มีอาการเปลี้ยอ่อนแรง อันเกิดขึ้นเองเป็นระยะๆ  และเมื่อมีอะไรมากระทบใจให้ฟุ้งซ่านเคลื่อนออกจากฌาน, รู้สึกมีมวลพลังงานรอบๆตัวอย่างหนาแน่น,  เวลาอ่อนเปลี้ยนั้นชนิดที่พูดคุยและทําอะไรไม่ได้เลย เป็นวันหนึ่งหลายๆสิบครั้ง  จนบางครั้งนั้นนั่งนํ้าตาไหลด้วยความท้อใจ เรามาปฏิบัติเพื่อดับทุกข์แท้ๆ ไฉนจึงบังเกิดเป็นเช่นนี้?  แม้แต่ขณะนอนหลับแล้วก็ยังต้องตื่นขึ้นมาเพื่อใช้สมาธิคลายออกหรือขับออกไปชั่วขณะ อันได้ผลสั้นๆแค่ครึ่งชม. หรือ ๒-๓ ชม.เท่านั้นขึ้นอยู่กับการประคองจิตอยู่ในฌานได้นานเท่าใด และมีทุกข์มากระทบผัสสะไหม         อาการต่างๆเหล่านี้ ดูเหมือนผู้เขียนพยายามครอบคลุมทุกๆอาการไว้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ แล้วแต่จุดอ่อนของผู้ปฏิบัตินั้นๆ         อาการต่างๆเหล่านี้ในความเข้าใจและพิจารณาโดยโยนิโสมนสิการ ตามประสบการณ์ของตนเอง แล้วมีความเข้าใจเกิดขึ้นดังนี้ว่า เกิดจากเมื่อเรามี ปีติ สุขจากฌานหรือสมาธิเพราะมีการหลั่งสารชีวเคมีหรือสารสุข หรือสารฮอร์โมนเช่นเอนดอร์ฟิน(ENDORPHIN) ขึ้นในร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดความสดชื่น,แก้เหนื่อยล้าที่ร่างกายหลั่งเมื่อเกิดความสุข ความสบาย หรือภายหลังการกระทําหรือออกกําลังกายอย่างต่อเนื่องและสมํ่าเสมออันเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน  ซึ่งทําให้ร่างกายสดชื่น และแก้ปวด แก้เมื่อยต่างๆของกาย  สารสุขนี้โดยทั่วไปมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจตามกล่าวข้างต้น  แต่ในผู้ที่มีจิตเป็นฌานหรือสมาธิจนสามารถมีปีติหรือสุขได้ตามใจปรารถนาจะสามารถบังคับการหลั่งสารชีวเคมีหรือสารสุขนี้ได้เกือบตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว, ทําให้ร่างกายเบาสบาย และจิตใจเกิดความสดชื่นกระชุ่มกระชวย จิตตื่น ไม่ง่วงนอน เป็นสุข เบาสบายอยู่ตลอดเวลา(บางครั้งเวลาเลื่อนไหลไปนานๆและคอยจดจ่ออยู่จะเย็นฉํ่าภายในจนหนาวสะท้านภายในอันเกิดจากจดจ่อคอยเสพรส)  หรืออาจกล่าวได้ว่าจิตค้นพบวิธีเปิดปิดการบังคับการหลั่งสารสุขในกายได้นั่นเอง และเพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงและเพราะตัณหาความอยาก  บางครั้งผู้เขียนจะร้องบอกไม่ได้อยาก ไม่ได้สนใจ แต่คอยแอบสังเกตุ(ส่องดูกาย ดูจิต)อยู่เสมอๆทําไม? นั่นแหละเป็นการเสพโดยไม่รู้ตัว นั่นละตัวปัญหา เพราะมองไม่เห็นความอยากที่แอบซ่อนเร้นอยู่ลึกๆในจิตอันเกิดขึ้นเนื่องจากความสุข ความพอใจที่ได้รับจากผลของฌานหรือสมาธิ และความไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงประคับประคองหรือแช่อยู่และส่วนใหญ่เลื่อนไหลไปเองตามธรรมชาติของจิต  และการพยายามที่จะให้จิตและกายคงอยู่ในสภาพนั้นนานๆ อันล้วนเป็นการเสพสารสุขทั้งในสภาพรู้ตัวและไม่รู้ตัวแทบทุกขณะจิต  ทําให้สารสุขนี้คงอยู่ในร่างกายในระดับสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน  สารสุขที่หลั่งมาจากผลของการที่จิตมีสมาธิ มีทั้งคุณมหาศาลและโทษมหันต์เหมือนยาทั้งหลาย,  ถ้าใช้ถูกก็เป็นยาเป็นกําลังแห่งจิตและเกิดสมาธิที่ต้องนําไปใช้เป็นประโยชน์ในการพิจารณาธรรมอันยังให้เกิดสัมมาปัญญาในการพ้นทุกข์,  หากใช้ผิดก็จักก่อให้เกิดโทษเป็นดั่งยาพิษ หรือเปรียบได้ดั่งยาเสพติดชนิดหนึ่ง,  ดังนั้นเมื่อจิตกระทบกระเทือนเคลื่อนออกโดยการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)กับสิ่งต่างๆเหตุใดเหตุหนึ่งเช่นความคิด รูป เสียง ฯ หรือเมื่อหลับไปจนจิตเคลื่อนออกจากฌานหรือสมาธิโดยไม่รู้ตัว  จิตจักบังคับกายให้หยุดหรือลดการหลั่งสารสุขต่างๆหรือสารชีวเคมีนี้ กายที่เคยชินได้รับและเสพใช้อยู่ในระดับสูงตลอดเวลาเป็นระยะเวลานานจึงเกิดอาการขาดสารเอนดอร์ฟินหรือสารสุขนี้ขึ้นมา  สังเกตุจากอาการที่เกิดขึ้นจะคล้ายผู้ติดยาเสพติดทั่วๆไป ทําหน้าที่เหมือนมอร์ฟีนอย่างอ่อนๆ-LIGHT MORPHIN         เนื่องจาก ปีติ สุข เอกคตารมณ์(อุเบกขา)อันเป็นผลของสมาธิและฌาน อันท่านยังจัดว่าเป็นจิตสังขารขันธ์(เป็นหนึ่งใน ๕๐ ใน เจตสิก๕๒ ที่จัดเป็นจิตสังขาร) จึงไม่เที่ยง จึงมีการแปรปรวนไปเป็นอาการธรรมดา จึงเกิดๆดับๆ ไม่สามารถควบคุมให้มีให้เป็นได้ตลอดไป  ปัญหาจึงย่อมต้องเกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทําจิตสังขารให้อยู่ในฌานหรือสมาธิได้         ปัญหาเหล่านี้จึงเกิดขึ้นจากการไปยึดติด ปีติ สุข โดยไม่รู้ตัวเพราะความเคยชินของจิต หรือเพราะความเข้าใจผิด คิดว่าช่วยให้บรรลุธรรมเพราะสมาธิ(ความจริงนั้นท่านหมายถึงเอาสมาธิที่มี ที่เกิด ที่เป็นนั้น นําไปเป็นบาทฐานในการปฏิบัติพิจารณาธรรมให้เกิดปัญญาในการดับทุกข์ กล่าวคือจิตสงบ กายสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ตลอดจนเป็นกําลังของจิตที่เกิดขึ้นเพราะสมาธิหรือฌานนั้น ไปปฏิบัติโดยการพิจารณาธรรมให้เกิดปัญญาความเข้าใจที่จักนําให้พ้นทุกข์(สัมมาปัญญา),  ต้องเลิกเสพสุขหรือสารเอนดอร์ฟินนี้เสียโดยการไม่แอบไปเสพทางจิตก่อนคือ การแอบมอง,แอบรับรู้สุขตลอดเวลา(ส่องกาย ส่องจิตภายในของตนอยู่บ่อยๆ) เพราะความพึงพอใจซึ่งซ่อนอยู่ในจิตลึกๆ ลองสํารวจดูดีๆ ว่ามีความชอบใจ ถูกใจ พึงพอใจในความเบาสบายที่เกิดขึ้นใช่ใหม และเพราะไม่รู้ถึงโทษ คิดว่ามีแต่คุณ         การมีปีติ,สุข เป็นเรื่องดีของดี แต่ต้องนําไปใช้ให้ถูกทาง  ไม่ไปยึดติดมิฉนั้นจะเป็นโทษอย่างรุนแรง ผู้ที่เป็นจะทราบเป็นอย่างดีถึงอาการต่างๆที่แสนทรมานเหล่านี้(แต่มักไม่รู้ว่าเป็นมาจากจิตอันเกิดแต่การปฏิบัติผิดพลาด) และไม่ก่อให้เกิดปัญญาในการดับทุกข์ และกลับเป็นการตัดทอนกําลังปัญญาอย่างรุนแรงในภายหลังเสียอีกด้วย         ตลอดจนการใช้ฌานหรือสมาธิใดๆในการทําสิ่งต่างๆ จิตที่เคยชินจากการอบรมสั่งสมบ่มไว้จักตั้งมั่นขึ้นเป็นสมาธิหรือฌานในทันทีโดยอัติโนมัติ ทําให้เกิดสภาวะเสพขึ้นโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน(เช่นการใช้น้อมภาพนิมิต, อุคคหนิมิต, ปฏิภาคนิมิต, การทํางานที่จดจ่ออยู่นานๆ, การนอนแบบปล่อยกายปล่อยใจ, การอ่านหนังสือ, การดูโทรทัศน์ ฯลฯ.)         ผู้ที่ใช้สมาธิหรือฌานไปในทางโลกๆ ขอให้สังเกตุดูเมื่อเวลาใช้สมาธิหรือฌานมากๆ จะมีอาการเหนื่อยเพลีย และบางครั้งรู้สึกภายในร่างกายเต้นสั่นระริกๆอยู่ภายใน(ลองสังเกตุเวลานอนในท่าสบายๆหลังจากใช้ฌานหรือสมาธินั้นแล้ว)         ถ้าคงอยู่ในภาวะสุขได้นานๆ การสร้างและเสพเอนดอร์ฟินไม่มีการสะดุดสักระยะหนึ่งหน้าจักแลดูขาวนวลดูเหมือนผุดผ่องอันมักทําให้ผู้ปฏิบัติหลงเข้าใจผิดคิดว่าดี  และมีอาการจิตตื่น ไม่ง่วง, เมื่อเป็นอยู่นานๆ สังเกตุดูดีๆจะมีความรู้สึกอาจหาญแต่จะกร้าว(แต่ตัวเองนึกว่าอาจหาญใช้ประโยชน์ได้)  จิตกร้าว  จิตแกร่งทําให้คล้ายๆอวดเก่ง แต่ก็มีสภาพคล้ายๆลูกโป่งที่เมื่อเจอเข็มแหลมก็พร้อมจะระเบิดได้ทันทีหรือมีสภาพเหมือนต้นไม้ใหญ่แต่เปราะหักได้ง่าย เนื่องจากสภาพการกดข่มโดยสารสุขนี้ เมื่อเกิดเช่นนี้หลังจากนั้นอาจจะมีอาการเปลี้ยขึ้นทันที คือถ้าหลุดก็หลุดในเรื่องไม่เป็นเรื่อง บางครั้งเรายังฉงน แค่นี้ทําไมถึงโกรธรุนแรงนัก ล้วนแล้วแต่มาจาก"พลังงาน"อันก่อเกิดจากอิทธิพลของปฏิกริยาเคมีของสารสุขหรือเอนดอร์ฟินนี้ มิใช่เป็นจากจิตของผู้นั้นโดยตรง,  ในบางครั้งคล้ายมีประจุไฟฟ้าอ่อนๆ  หรืออณูเล็กๆละเอียดมีความรู้สึกเป็นมวลหรือเป็นก้อน  หรือคล้ายๆเหน็บชาแต่เบาๆละเอียดมากๆ เกิดบริเวณใบหน้า, รอบๆตัว หรืออวัยวะบางส่วนเช่น แขน ขา หน้าอก ล้วนจากภาวะOVERDOSE หรือเกินขนาด โดยเฉพาะเวลาปฎิบัติหรือปล่อยแช่นิ่งในสภาพเต่าในกระดอง อันคือสภาพจิตแช่อยู่แต่ภายใน คอยเสพ คอยจ้อง คอยสังเกตุแต่จิตและกายอยู่ตลอดเวลา จิตไม่อาจส่งออกมาสู่โลกภายนอกได้อย่างสมบูรณ์  อาจจนถึงขนาดเกิดภาพหรือเสียงอันคือนิมิต(ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน)ต่างๆ  หรือ EUPHORIA (มักเกิดในช่วงแรกๆมาก)โดยเฉพาะถ้ามีการน้อมนํา หรือมีการคิดในเรื่องใด จะทําให้เห็นภาพ หรือเสียงต่างๆ อันเช่นภาพสวรรค์ นรก ผี เทวดา หรือภาพดังใจนึก ฯลฯ.,   และภาพหรือนิมิตที่เห็นนั้นก็เป็นไปดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวไว้ในเรื่องนิมิตดังนี้           ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง (หนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม น.๔๕๔)         แต่ถ้าน้อมไปพิจารณาเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกําหนัดและไม่จดจ้องเสพผลสุขอันเกิดแต่สมาธิหรือฌาน เช่นกายานุปัสสนา อันมีเช่นการพิจารณาอสุภกรรมฐาน หรือกายก็สักแต่ว่าธาตุ๔ ฯ. ก็จะเป็นการถูกต้องและได้ประโยชน์อันเป็นการใช้กําลังของสมาธิน้อมนําให้เกิดความหน่ายคลายกําหนัดในกายต่างๆได้อย่างรวดเร็วเชื่อมั่นอย่างมั่นคง  อันทํางานดุจเดียวกับการเกิดภาพนิมิตทั่วไปแต่เป็นอย่างเกิดคุณอนันต์         อาการอีกอย่างที่พบบ่อยๆคือเมื่อจิตถูกกระทบแรงๆจากความคิด รูป เสียง ฯ.ผ่านทางสฬายตนะอันไม่ถูกใจหรือเคลื่อนออกจากฌานจะมีอาการอ่อนเปลี้ย หมดแรงทันที ขาอ่อน         ข้อสําคัญที่สุดมีผลหรือออกฤทธิ์ต่อสติหรือสมองโดยตรงอันเป็นเหตุปัจจัยอันสําคัญของจิต ในสภาพที่เจ้าตัวคิดว่าสติตัวเองสมบูรณ์ ฮึกเหิมแข็งแกร่ง แต่มิได้เป็นเช่นนั้น แต่ตกอยู่ในอิทธิพลของฌานหรือสมาธิหรือสารสุขโดยไม่รู้ตัวเพราะโดยธรรมชาติแล้วจะออกฤทธิ์ต่อสมองโดยตรงก่อนที่จะส่งมาให้รับรู้ทางกายให้สัมผัสรู้สึกความซาบซ่าน อิ่มเอิบได้  ซึ่งจะเหมือนคนเมาแล้วร้องขอเพิ่มเหล้าอีกบอกว่ายังไม่เมา แต่เสียงออกอาการอ้อแอ้โดยไม่รู้ตัว ฉันใดก็ฉันนั้น,  ผู้เขียนแรกๆท้อใจในการชี้แจงให้ฟังโดยเฉพาะผู้ที่กําลังอยู่ในสภาวะสุขสบายอันเกิดแต่ผลของสมาธิหรือฌาน, เมื่อเข้าใจกระบวนการทํางานแล้วจึงวางใจ ไม่ท้อใจ เพราะเข้าใจแล้วว่าถูกครอบงําด้วยทิฎฐุปาทานและผลข้างเคียงของสมาธิหรือฌานอันเกิดแต่การปฏิบัติผิดนั่นเอง จึงได้แต่ทําหน้าที่ให้ดีที่สุดในการคอยช่วยเหลือเท่าที่พอทําได้         นักปฏิบัติที่อ่านแล้วเข้าใจความหมายของคําว่าส่องกายหรือจิตภายใน, แอบดูจิตหรือกายของตนเองที่ผู้เขียนเขียนถึง หมายความว่าท่านมีสมาธิหรือฌานแล้วอย่างแน่นอนนั่นเอง จึงจับความหมายของผู้เขียนได้  แต่ก็มีบางท่านที่ไม่รู้ความหมายแต่ก็เป็นสมาธิหรือฌานเช่นกันเกิดแต่แบบไม่รู้ตัว         วิธีแก้ไขมีได้หลากหลายวิธี ทั้งทางสมาธิเองและวิธีการต่างๆแต่จะแก้ไขได้ชั่วคราวเท่านั้น หรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น         สร้างความรู้สึกให้ความอึดอัดหรือก้อนมวลนั้นให้มันระเหยออกไปประดุจก้อนนํ้าแข็ง         สร้างความรู้สึกสมาธิ ทําให้มันไหลออกตามมือตามเท้าออกไป,         พ่นลมออกจากปากให้ยาวๆ,         จ้องมองปล่อยกายใจไปในที่ไกลๆ           หรือทําจิตบดขยี้ก้อนมวลนั้น(อันเป็นการตั้งฌานขึ้นมา)   ฯลฯ.         เหล่านี้ก็เป็นวิธีการแก้อย่างชั่วคราวหรือเฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะจริงๆแล้วเป็นอาการที่รวมจิตให้ตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย เป็นสมาธิหรือฌานขึ้นเบาๆอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจักหลั่งสารสุขออกมาชดเชย อาการก็จะหายไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าจิตยังกระวนกระวายอยู่อีกหรือหลั่งออกมาได้น้อยก็อาจหายแค่บางส่วน แล้วในที่สุดก็กลับมาเป็นอีกไม่สิ้นสุด เพราะความไม่รู้ว่ามาจากเหตุปัจจัยอันคือการไปยึดเสพปีติและสุข,  กลับไปหลงคิดว่าปฏิบัติผิดวิธีหรือเพียรไม่พอ จึงยิ่งมุมานะหนักยิ่งขึ้น อันกลับยิ่งก่อผลร้ายยิ่งขึ้นไปอีก อาการต่างๆเหล่านี้เพราะไม่รู้ไม่เห็น สามารถอยู่ได้เป็นปีๆหรือหลายๆปีจนกว่าจะทิ้งสุขหรือฌานซึ่งยากมากเพราะธรรมชาติของจิต, ลองคิดดูพระพุทธองค์ทรงจัดว่ารูปฌานและอรูปฌานนั้นเป็นสังโยชน์ขั้นละเอียดอันต้องละ และละได้โดยระดับอรหันต์เจ้าเท่านั้น,  หรือแก้ไขถูกวิธีโดยวิปัสสนาเท่านั้น (ละนี้หมายความว่ายังมีอยู่ไม่ได้หายไปไหน แต่ไม่ยึดติดเสพสุขในฌานหรือสมาธินั้น อันเป็นภพของอุปาทานทุกข์อย่างหนึ่ง)         วิธีแก้ไขอย่างถาวรต้องใช้วิธีวิปัสสนาเท่านั้น ต้องให้เกิดกําลังแห่งปัญญาคือรู้เห็นและเข้าใจตามความเป็นจริงด้วยตนเองทั้งในคุณและโทษ เพื่อให้เกิดความหน่ายเพื่อจะได้วางความเชื่อที่ผิดๆอันได้หลงยึดไว้ และหยุดตัณหาและอุปาทานความพึงพอใจ คือความอยากในสุข และไม่อยาก(ความไม่อยาก เกิดขึ้นขณะกําลังดิ้นรนออกจากทุกขเวทนาอาการอึดอัด,ไม่สบายอันจักเกิดขึ้นชนิดควบคุมไม่ได้) หรือก็คือเป็นอุปาทานความพึงพอใจในการไปยึดความสุขอันเกิดจากผลของสมาธิและฌาน ซึ่งมักจะสังเกตุตัวเองไม่ออก,  ต้องมีสติรู้ และไม่แอบเสพ,  การแอบเสพโดยพึงพอใจอยู่ลึกๆโดยไม่รู้ตัว และการปล่อยไหลไปตามความเคยชินตามธรรมชาติของจิต และความเชื่อนี่แหละสําคัญที่สุด  ซึ่งจิตจะอยู่ในสภาพนิ่งแช่  แอบมองจิตภายในหรือความสบายกาย  หรือเลื่อนไหลไปโดยไม่รู้ตัวอยู่บ่อยๆหรือตลอดเวลา  นี่แหละคือโทษที่กล่าวกันว่าเกิดจากการไปติดสุขในสมาธิหรือฌานทางรูปธรรมให้เห็นกันชัดๆ  เพียงแต่เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจจึงเกิดขึ้น  อันท่านจัดเป็นวิปัสสนูปกิเลส         ผู้ที่ติดปีติ สุขในฌานทุกคน เช่นผู้เขียนจักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ได้ทําอะไร ไม่ได้ตั้งใจทํา ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น กล่าวคือมีการเลื่อนไหลเข้าสมาธิเองโดยไม่ได้ตั้งใจทํา  หลายๆท่านเพียงนั่งหรือนอน อ่านหนังสือก็ไหลเลื่อนไปทันที  ดังนั้นมีหลายๆท่านอยากจะทิ้งฌานทิ้งสมาธิ แต่ไม่สามารถทําได้ เพราะจิตมีความเคยชิน เฉกเช่นธรรมชาติของนํ้าอันย่อมต้องไหลลงสู่ที่ตํ่ากว่าตามแรงดึงดูดของโลก ธรรมชาติของจิตก็เช่นกันย่อมไหลไปตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสม อบรม และกิเลสตลอดจนตัณหาอันคือความสุขใจสุขกายอันเกิดแต่ผลของสมาธิและฌานที่ตามได้สั่งสม หรือฝึกฝนอบรมมา จึงเป็นความเคยชินโดยธรรมชาติ ท่านจึงจัด "สุข"ในณานนี้เป็น"วิปัสสนูปกิเลส" หรืออุปกิเลส ๑๐ ของวิปัสสนา อันคําว่า "อุป "นี้มีความหมายว่าเคยชิน,เป็นประจําสมํ่าเสมอ เหมือนคําว่าอุปนิสัยที่หมายความว่านิสัยเคยชินนั่นแหละ  ดังนั้นผู้ที่ติดสุขในฌานเมื่อเผลอหรือจิตตั้งมั่น แน่วแน่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาจะเป็นอะไรก็ได้ แม้แต่การทํางาน,ดูทีวี, อ่านหนังสือ, แม้แต่ขณะหลับ ฯลฯ. สารพัดจนคาดไม่ถึง จิตจะมีอาการไหลเลื่อนเข้าสุขโดยไม่รู้ตัว สังเกตุให้ดีมีอาการเบาสบายชนิดละเอียดจริงๆแฝงอยู่จากจิตตั้งมั่นชนิดพึงพอใจในกิจหรืองานที่ทํานั้น   อย่างผู้เขียนเองนั้นเมื่อจิตตั้งมั่นเบาๆเท่านั้นกับสิ่งใดๆหรือถูกจริต  แม้การนอนจะมีอาการซาบซ่านไปทั่วกายและใจ และจะคอยเสพและสังเกตุแต่รสชาติอันสัมผัสได้ทั้งทางกายและทางใจที่เกิดขึ้นนั้น โดยเฉพาะที่กายมีอาการเย็นสบาย และตามใบหน้า ที่หลัง หรือไหล่หรือแขนขาดุจดั่งมีขนนกอันอ่อนนุ่มละมุนละไมหรือประจุที่ละเอียดอ่อนมากๆลูบไล้เบาๆไปทั่วกาย แม้แต่ใจก็สดชื่น   เมื่ออยู่ในสิ่งเหล่านี้นานๆเป็นเดือน เป็นปี หรือถูกกระทบด้วยทุกข์ ก็จะทําให้เกิดอาการต่างๆตามที่กล่าวมาแล้วทันที         บางท่านรู้ตัวในอาการนี้ดี ต้องการเลิกหรือกําจัดปีติ,สุขหรือสมาธิ,ฌานออกไป ขอเรียนให้ทราบว่าไม่มีทางเสมือนหนึ่งขี่จักรยานเป็นแล้ว ว่ายนํ้าเป็นแล้ว อ่านหนังสือเป็นแล้ว ย่อมไม่มีวันลืมฉันใด ฌานหรือสมาธิก็ฉันนั้น  แต่อาการต่างๆเราสามารถแก้ไขได้ให้เหลือแต่สัมมาสมาธิหรือฌานอันมีคุณประโยชน์แก่การปฏิบัติอันเป็นสื่งที่พึงกระทําได้         เราสามารถเอามาใช้ประโยชน์ให้ถูกทาง มีอยู่และใช้ให้ถูกให้เป็นประโยชน์ ขณะใช้ขอให้มีสติรู้ จึงเกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน แต่แค่ให้จิตและกายปลอดโปร่ง ตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ไม่วอกแวกออกไปคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นผลดีของสมาธิ อันเป็นกําลังอันสําคัญของจิต เป็นฐานกําลังใหญ่ในการปฏิบัติพิจารณาธรรม  ปล่อยเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติ โดยต้องไม่ไปยึดติด แอบเสพ แอบมอง แอบพึงพอใจยึดไว้เพื่อเสพสุข หรือหวังผลประโยชน์ทางอื่นๆ         หรือ ใช้รักษาผู้อื่นในบางโรค โดยอาศัยพลังงานที่ก่อเกิดขึ้นจากปฏิกริยาเคมีและพลังจิต และการรวมสมาธิของผู้ป่วยเอง (แต่ไม่แนะนําให้ปฏิบัติ เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจจะเกิดผลที่ร้ายแรงกว่าที่ท่านนึกมากทั้งต่อผู้รักษาเองและผู้ถูกรักษา) หรือ        ระงับเวทนาทางกาย เช่นความเจ็บปวด, ป่วยไข้        ระงับเวทนาทางใจที่แรงกล้า ที่บังเกิดอย่างรุนแรง เป็นกําลังของจิต        ระงับกามารมณ์        ใช้ปีติดับความหดหู่หรือเสียใจ ที่บังเกิดแก่จิตดังพุทธพจน์ ที่ตรัสไว้ดังนี้        "สมัยใดจิตหดหู่ สมัยนั้นเป็นกาลเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชน์ฌงค์ ปีติสัมโพชน์ฌงค์.....ส่วนสติ เรากล่าวว่ามีประโยชน์ในทุกกรณี"    (พุทธธรรม น.๘๘๕) หมายถึง เมื่อใดที่จิตหดหู่เศร้าหมอง ให้พิจารณาธรรมหรือสิ่งที่บังเกิดขึ้นในจิต(ธรรมวิจัย), เพียรยกหรือปรับจิต ไม่ให้หดหู่ตกตํ่า(วิริยะ)เช่นเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อบดบังทุกข์ และใช้ปีติอันอิ่มเอิบอันเกิดจากเข้าใจในธรรมนั้นๆ หรือปีติที่เราสามารถตั้งหรือระลึกได้, สําหรับสตินั้นท่านกล่าวว่าเป็นคุณประโยชน์ในทุกกรณี         ใช้ให้เป็นประโยชน์ถูกต้องก็จักเป็นคุณอนันต์ ต้องไม่ไปยึดพึงพอใจกับปีติและสุขที่เกิดขึ้น(ซึ่งปกติสังเกตุไม่ออกเสียด้วย) ให้สังเกตุให้เห็นด้วยตาปัญญา(เข้าใจ) แล้วจักแยกออกว่าเราแอบเสพมันอยู่ทุกขณะจิตที่จิตมีโอกาสโดยไม่รู้ตัว  โดยเฉพาะเมื่อจิตตั้งมั่นกับสิ่งหรืองานที่ชอบโดยไม่รู้ตัว         สุขในทางโลกๆก็เฉกเช่นเดียวกันโดยเฉพาะอุปาทานมีอาการติดที่ลึกซึ้ง ละเอียด แยบคาย เบาบางกว่าไม่อาจสัมผัสได้ชัดเจนเท่า แต่ก็เป็นเฉกเช่นกัน เมื่อติดแล้วก็ต้องพยายามหาเสพอยู่เรื่อยๆเช่นกันและแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่ได้ก็มีอาการทุกข์ต่างๆนานาทางใจและกาย มีโรคจํานวนมากป่วยทางกายแต่สาเหตุมาจากจิต และสุขทางโลกยังมีอาการลึกซึ้งกว่า ร้ายกาจเลือดเย็น อํามหิตยิ่งกว่าติดสุขในฌานเสียอีก ลองพิจารณาดูความร้ายกาจของสุขในวิปัสสนูปกิเลสดู ขนาดเราๆยังหลงขนาดนี้ แล้วทุกข์ตัวจริงที่มองไม่เห็นจักดับยากแค่ไหน         ถึงตอนนี้ เราต้องโยนิโสมนสิการด้วยตัวเราเองว่า สมาธิ หรือฌานที่เราฝึกนี้มีจุดประสงค์เพื่อดับทุกข์ หรือเพื่อเสพหรือมีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝงอยู่ในจิต จักได้รู้วัตถุประสงค์ที่ถูกต้อง และไม่เกิดความไขว้เขว ควรดับทุกข์เสียก่อนแล้วจึงกระทําในสิ่งอื่นๆเช่นใช้เป็นเครื่องอยู่ หรืออภิญญาอันแล้วแต่วาสนาบารมีจึงเป็นเรื่องถูกต้อง         การละการติดสุขในสมาธิหรือฌานนี้ หมายถึงสุขที่เกิดแล้วไปยึดติดยึดเสพ(ไม่ได้หมายถึงองค์สมาธิ หรือฌานที่ดี ที่ถูกต้อง อันคือสัมมาสมาธิ แยกแยะให้ถูกต้องด้วย) ไม่ใช่ของง่ายๆ จัดเป็นทั้งวิปัสสนูปกิเลส และจัดเป็นสังโยชน์ในขั้นละเอียดที่ละได้ในขั้นอรหันต์เท่านั้น(ดูสังโยชน์๑๐) ตลอดจนเป็นรูปภพในภพของปฏิจจสมุปบาทอันถูกครอบงําโดยไม่รู้ตัวด้วยอุปาทานความพึงพอใจ,  จึงทําให้ละยากกว่ากามราคะและความขุ่นข้องหมองใจ(ปฏิฆะ)เสียอีก ดังนั้นจึงควรมีสติเข้าใจถึงคุณและโทษที่จักบังเกิด         ที่กล่าวกันว่านักปฏิบัติมักเกิดวิกลจริตก็เกิดจากสาเหตุนี้เอง มิได้เกิดจากวิญญาณ หรือภูตผี หรือบารมีไม่ถึง หรือจากการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ฯลฯ. แต่เกิดจากการปฏิบัติผิดพลาด คือเมื่อมีอาการเป็นนานๆไม่สามารถถอดถอนออกได้เพราะความไม่รู้หรือปล่อยอยู่ได้นานๆเป็นเดือนๆหรือเป็นปีๆแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้นเหตุเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีสิ่งใดมากระทบจิตกระเทือนใจให้หลุดจากสมาธิ และเสพแต่เพียงเบาบางไปเรื่อยๆ จึงทําให้สามารถอยู่ได้นานๆโดยยังไม่มีอาการ  แต่ในที่สุด ตามธรรมชาติของจิตที่จะไหลเลื่อนเข้าไปเรื่อยๆตามความเคยชินอันท่านได้สั่งสมไว้โดยไม่รู้ตัว(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)  หรือเมื่อมีทุกข์สิ่งใดมากระทบจิตก็จักเกิดขึ้น และจักมีอาการต่างๆตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ในสภาพเกิดๆดับๆ ถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น ถี่ขึ้นไปเป็นลําดับเรื่อยไป จนจิตและกายถูกโจมตีจนอ่อนล้าเนื่องจากความถี่และวิตกจริต ตกอยู่ในสภาพที่รับไม่ไหว หาทางออกไม่พบ ในที่สุดจึงกลายเป็นสภาพวิกลจริต อันเป็นทางออกของจิตชนิดหนึ่ง, หรือมิฉนั้นก็เกิดจากการติดสุขนั้นอย่างรุนแรงนานๆ         ดังนั้นผู้มีอาการมากๆ ควรหยุดการจดจ่อในสิ่งใดๆรวมทั้งการปฏิบัติสมาธิ การสวดมนต์ สักระยะหนึ่ง และมีความเข้าใจทั้งคุณและโทษ อ่านวิปัสสนูปกิเลสประกอบการพิจารณา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ         ผู้ที่มีอาการรุนแรงควรปฏิบัติในเบื้องต้นดังนี้         ฌานหรือสมาธินั้นเป็นจิตสังขารชนิดหนึ่ง เราจึงใช้หลักจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔ จิตเป็นฌาน(มหรคต)เป็นสมาธิอยู่ก็รู้ว่าจิตเป็น แล้วเป็นกลาง(อุเบกขา)คือวางทีเฉยดูโดยไม่ต้องไปยุ่งแค่รู้และไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งฝ่ายดีก็ไม่ ฝ่ายชั่วก็ไม่อันจักยังให้เกิดเวทนา อันจักยังให้เกิดตัณหาและทุกข์เพิ่มขึ้นอีก  แล้วปฏิบัติดังต่อไปนี้ในช่วงแรก         ๑. ในช่วงแรกๆ ให้หลีกเลี่ยงพิธีกรรมหรืองาน การปฏิบัติ รวมทั้งที่ทําให้จิตเกิดการจดจ่อ หรือเกิดสมาธิเช่นการสวดมนต์ การนั่งสมาธิ  การจงกรม  การปฏิบัติต่างๆ  ตลอดจนหยุดใช้ฌานหรือสมาธิในสิ่งต่างๆทุกชนิด         ๒. ในช่วงแรกๆให้หยุดการออกกําลังกายประเภทก่อเป็นสมาธิได้เช่น รํามวยจีน จ๊อคกิ้ง การเดินสบายๆ การเล่นวิดิโอเกมส์(เด็กรุ่นใหม่จึงพากันเกิดปัญหานี้มากที่ทําให้เป็นโรคฮิตในปัจจุบันคือโรคสมาธิสั้น อันมิได้เกิดแต่กรรมพันธ์ วันหน้าผู้เขียนจะเขียนรายละเอียดที่เกิดขึ้นให้อ่าน เนื่องจากเกิดจากกระบวนจิตที่เกี่ยวเนื่องกับสมาธิ เป็นเรื่องที่ซับซ้อน) อันจักก่อให้เกิดอาการได้เช่นกัน  เพราะกีฬาที่ออกกําลังกายชนิดสมํ่าเสมอ หรืองานที่ทําอย่างใช้ความตั้งใจหรือสมาธิแต่ในงานนั้น เป็นสมาธิอย่างหนึ่งเช่นกันอันใช้ถูกทางก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่สําหรับผู้ที่กําลังเป็นปัญหาอยู่,  หมั่นเปลื่ยนอิริยาบถอย่าจดจ่อกับสิ่งใด         ๓. สังเกตุอาการเป็นดังที่ผู้เขียนพูดหรือไม่ เมื่อรู้เมื่อเข้าใจสัมผัสได้ด้วยตนเองว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ  แล้วให้พิจารณาดูโทษ  เพื่อจิตจักได้มีกําลังต่อสู้อันเกิดแต่ปัญญาที่เข้าใจ ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจแอบเสพแอบยึดโดยไม่รู้ตัว         ๔. ผ่อนกาย ใจ ไปทางโลกๆบ้างในเบื้องต้น เพื่อลดอาการต่างๆ  มีฌานอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่ แต่ไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา อันเป็นไปตามหลักจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔         ๕. พิจารณาตนเองว่า มาปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์จริงๆหรือไม่ และที่เกิดขึ้นนี้เพราะความไม่รู้โทษ หรือเพื่อหวังสิ่งใดอันซ่อนเร้นอยู่ในจิต ให้รู้แจ้งประจักษ์แก่ใจตนเองจริงๆ(ลองพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายต้องพบอย่างแน่นอน)จักได้ละวางได้         ๖. หยุดส่องจิต ส่องกายของตนเอง หรือเพ่งจี้กายและจิตตนเอง(แอบมองจิตและกายภายในและนอก)หรือที่ท่านหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เรียกว่า "จิตส่งใน", ว่า สบาย ไม่สบาย, ดี ไม่ดี เพราะเป็นการที่จิตตั้งมั่นขึ้นภายในขณะจิตนั้นเองและเป็นการเสพโดยไม่รู้ตัวโดยการมองกายและจิตภายใน, อันเป็นการเสพหรือยึดติดชนิดหนึ่งโดยไม่รู้ตัว         อาการนี้จักคล้ายเต่าหดหัวหดขาอยู่ในกระดอง คอยแต่แอบเฝ้ามองกายและจิตภายใน         อย่าสับสนกับความหมาย "อย่าส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง"หรือ"อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์(เวทนา)" ของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ตามที่ได้กล่าวไว้เนืองๆ อันเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่งยวด  เพราะถ้าสับสนในธรรมข้อนี้แล้วจะไปเพ่งจี้แช่หรือจิตส่งในไปอยู่ภายในกายหรือจิตของตนเองโดยความเข้าใจผิดอันก่อให้เกิดผลร้ายรุนแรงตามมาภายหลัง         ๗. เมื่อพยายามเลิกส่องจิตส่องกายส่องจิตของตนเองแล้ว มักจะเกิดปัญหาคือไม่รู้ว่าจะให้จิตไปวางหรือไปยึดอยู่กับสิ่งใด  รู้สึกเคว้งคว้างวางจิตไม่ถูก(เหมือนพูดตลกแต่รับรองว่าไม่ตลก) หรือคอยแต่แอบมองจิตมองกายหรือจิตอยู่รํ่าไป  ขอให้ไปอยู่กับสติในสิ่งภายนอกที่ผัสสะ หรือการพิจารณาแก่นธรรม(ธรรมะวิจยะ) ขอให้เป็นแก่นธรรมจริงๆอะไรก็ได้จะเป็นการดีที่สุด หรือแก่นธรรมที่บังเกิดขึ้นแก่จิตหรือถูกจริต เช่น ไตรลักษณ์  อริยสัจ๔  ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ. แต่ต้องเป็นการพิจารณาอย่างสบายใจ ไม่เคร่งเครียดอย่างเด็ดขาด จะนั่ง นอน เดิน ใดๆก็ได้ แต่ในระยะแรกควรหลีกเลี่ยงในรูปการนั่งสมาธิ,หรือก่อให้เกิดสมาธิเพราะจะควบคุมไม่ได้จะกลับไปในลักษณะเดิมๆคือแอบเสพขณะพิจารณาอันทําให้น้อมไปตามที่คิดผิดๆเท่านั้น ไม่ได้เป็นธรรมแท้จริง,  แต่ถ้าทําได้ก็อาจเกิดผลที่ดีอย่างรวดเร็วแต่ผู้เขียนขอแนะว่ายังไม่ควรนอกจากท่านมีความเข้าใจในธรรมดีจริงๆ มิฉนั้นอาจหลงไปอีกหลายสิบปีก็ได้,  ให้ใช้การพิจารณาแบบคิด คือใช้สมอง ต้องไม่ใช่การท่องจําหรือบริกรรม หรือสวดมนต์จนจิตเป็นสมาธิอีก คือให้จิตคิดนึกค้นหาวนเวียนอยู่ในธรรม เพื่อเข้าใจในธรรมนั้นๆ วิธีนี้จิตจักหยุดการหมกมุ่นวนเวียนในจิตในกายของตนเองและในสมาธิ ปีติ สุข เป็นที่วางจิต หันมาสนใจในธรรมที่คิดค้น อันเป็นสัมมาสมาธิในทางวิปัสสนาอย่างถูกต้อง และยังบังเกิดปัญญาญาณขึ้นในที่สุดอีกด้วย  ข้อสําคัญที่สุดขณะพิจารณาอย่าได้ไปสังเกตุหรือส่องจิตหรือจับจิตหรือกายตนเองอย่างเด็ดขาด  นั่นไม่ใช่การพิจารณากาย แต่เป็นการเสพสุข  การพิจารณากายอยู่ภายในกายของตนหมายถึงพิจารณาให้เข้าใจถึงสภาวะธรรมต่างๆของกาย อันไม่เที่ยง เป็นทุกข์....ฯลฯ.จึงถูกต้อง.         ๘. ขณะมีความทุกข์กระทบมากๆ ไม่ควรปล่อยให้เลื่อนไหลเข้าฌานหรือใช้ฌาน เพราะผู้ที่จิตเป็นฌานนั้น โดยปกติธรรมดาจะไหลเลื่อนเข้าไปโดยไม่รู้ตัว         ถ้าท่านเกิดปัญญา สามารถหยุดจิตไม่ให้เลื่อนไหลโดยไม่รู้ตัวไปสู่ฌานหรือมิจฉาสมาธิได้มากพอสมควร ในช่วงระยะแรกๆจะมีอาการคล้ายเมา วิงเวียนช่วงสั้นๆสลับไปมาไม่นานนัก,  และถ้าไม่เลื่อนไหลไปอีกได้นานขึ้น(หลายวัน)จะมีเหงื่อออกมากผิดปกติ ตามตัว ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นเวลาหลายอาทิตย์, ตลอดจนมีอาการเคืองตา,แสบตาเบาๆระยะยาวหลายๆวัน ขึ้นอยู่กับว่าท่านเป็นมากหรือน้อย ไม่ต้องตกใจเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น ไม่ใช่อาการป่วยทางกายใดๆทั้งสิ้น,  แต่อย่าขาดสติหรือประมาทว่าแก้ได้แล้วโดยเด็ดขาด มิฉนั้นก็จักไหลเลื่อนกลับมาที่สภาวะเดิมๆโดยธรรมชาติของจิต         หมายเหตุ ผู้ปฏิบัติสมาธิที่นั่งนานๆ และกดข่มตัดความคิดดื้อๆ กดความโกรธ เก็บกดความไม่พอใจ กล่าวคือใช้กําลังของสมาธิ หรือกําลังของจิตเข้าระงับ ตลอดจนมีความเครียด วิตกกังวล เพราะความเครียดและความวิตกกังวลก็เป็นสมาธิชนิดหนึ่งอันเกิดแต่จิตที่เวียนวนอยู่ในความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลาแต่เป็นมิจฉาสมาธิคือเป็นสมาธิชนิดผิดๆมีแต่โทษแก่ผู้ปฏิบัติ เกิดแต่จิตที่แม้ไม่มีปีติสุขเกิดขึ้นก็อาจเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นได้ เพราะเกิดสารชีวเคมีเช่นกันแต่เป็นสารทุกข์อันให้แต่โทษฝ่ายเดียว,  แม้แต่ผู้ที่ฝึกตามลมอย่างมีอามิส(มีกิเลสตัณหา) อาจมีอาการอึดอัดหายใจไม่เต็มที่และความดันโลหิตขึ้นสูงด้วย อันนี้เป็นประสบการณ์ของผู้เขียนที่ฝึกเองจนต้องเข้าโรงพยาบาลถึง๓วันโดยคิดว่าป่วยแบบทางโลกๆ ซึ่งผู้เขียนก็พึ่งจะเข้าใจในภายหลังเมื่อมองย้อนระลึกขันธ์  อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนประสบเป็นประจํากล่าวได้ว่าเป็นกันทุกคน คือตัวเองจักกล่าวยืนยันอย่างมั่นคงทั้งต่อตนเองและผู้อื่นว่า ตนเองนั้นไม่เป็น, ไม่เคย, ไม่อยาก, ไม่ใช่, ไม่ได้ปฏิบัติ, ปล่อยตามสบายแล้ว แต่ผู้เขียนก็ขอยืนยันตรงนี้เช่นกัน ผู้ที่ปฏิบัติผิดวิธีและเพราะไม่รู้ในโทษเพราะไม่มีใครกล่าวไว้ หรือเข้าใจได้บ้างอย่างผู้เขียน(ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากเข้าใจธรรมบ้างแล้ว)ก็จักเกิดเช่นนี้ขึ้นทุกคนเพราะเป็นกระบวนการธรรม(ชาติ)ของจิตที่เกิดขึ้นเพราะสมาธิและเกิดการยึดติดผลนั้นเพราะกิเลสตัณหา เมื่อเป็นกระบวนการธรรมชาติ"จึงเป็นเช่นนั้นเอง"กันเสียทุกคน  เพราะเกิดจากกิเลส ตัณหาและอุปาทานความพึงพอใจโดยตรงที่แอบแฝงนอนเนื่องอยู่  ตลอดจนการปฏิบัติของลัทธิต่างๆอื่นๆด้วย ก็ประสบปัญหานี้เช่นกันเพียงแต่ไม่มีผู้รู้  ลองโยนิโสมนสิการ อาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดภายหลังจากการเริ่มปฏิบัติแล้วจักค่อยๆรู้แจ้งขึ้น  หรือสังเกตุดูจากการปฏิบัติใดๆที่เราหยุดไป แล้วมักมีอาการต่างๆเกิดขึ้น.         ข้อนี้ประการหนึ่งจักเกิดขึ้น  เมื่อท่านละวิปัสสนูปกิเลสนี้ได้แล้วเสีย ท่านจักทราบความหมายของคําว่า จิตนุ่มนวลควรแก่การใช้งานของพระพุทธองค์ ว่าแตกต่างจากจิตแข็งกร้าว หรือจิตหยาบอันเกิดแต่ผลของฌานที่ไม่มีวิปัสสนาญาณหรือมิจฉาสมาธิอย่างไรได้โดยตัวท่านเอง(ปัจจัตตัง)  อันไม่มีผู้ใดสามารถเขียนบรรยายเป็นตัวหนังสือเพื่อสื่อออกมาได้.  เหตุเพราะท่านเกิดวิปัสสนูปกิเลสอันแสดงว่าท่านนั้นก็มีวิปัสสนาพอสมควร จึงจักเกิดขึ้นได้ แต่มาติดขัดเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงนั่นเอง จึงปฏิบัติผิดพลาด.    วงจรของการทุกข์และติดสุขในฌาน ในแง่รูปธรรมหรือทางโลก           จิต เป็นเหตุเป็นปัจจัยไปกระทบ    กาย จึงเป็นเหตุปัจจัยให้หลั่ง     ชีวเคมี อันเป็นเหตุปัจจัยไปออกฤทธิ์                                                                                                                                                                     จึงเป็นเหตุปัจจัยไปกระทบควบคุม................ ...............ควบคุมกาย...............  ................ควบคุมสมอง     ข้อคิดของติดสุขในฌาน ในแง่มุมปฏิจจสมุปบาท       ขณะมีความทุกข์กระทบมากๆ ไม่ควรปล่อยให้เลื่อนไหลเข้าฌานหรือใช้ฌาน เพราะผู้ที่มีจิตเป็นฌานนั้น โดยปกติธรรมชาตินั้นมักจะกดทุกข์ไว้ได้อยู่แล้ว แต่อุปมาดังหินทับหญ้า เมื่อยกออกก็งอกงามดังเดิม,มิได้เป็นการขุดรากถอนโคนดังวิปัสสนา   แต่ถ้าไม่สามารถกดอยู่ได้จะทําให้เกิดอาการต่างๆมากกว่าปกติธรรมดา ตลอดจนหดหู่และกระวนกระวายกว่าปกติธรรมดาหลายเท่าทวีคูณ  ถ้าพิจารณาจากปฏิจจสมุปบาทกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์แล้วจะพอมองออกได้ว่า เมื่อเราอยู่ในฌานหรือรูปภพ(ภพในปฏิจจสมุปบาทชนิดรูปภพหรือรูปฌาน) อันคือมีการเกิดขึ้นของความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจแห่งตัวตน(อุปาทาน)หรือความเป็นตัวกูของกูเกิดขึ้นก่อนจึงเกิดสถานะหรือบทบาทหรือภพ(ชนิดรูปภพ-ฌาน)ขึ้นตามมานั่นเอง  ดังนั้นเมื่อความทุกข์ที่มากระทบเกิดเข้าแทรกได้เพราะกดข่มไว้ไม่อยู่หรือเพราะความรุนแรงของเหตุแห่งทุกข์ที่มาผัสสะในขณะที่จิตเป็นฌานนั้น  จึงทําให้ความทุกข์นั้นถูกครอบงําด้วยอุปาทานความยึดมั่นในความพึงพอใจของตัวกูหรือตัวกูของกูไปด้วย จึงทําให้สลัดออกได้ยากหรือเกิดอย่างรุนแรงและรวดเร็วขึ้นได้ ดังแง่มุมที่ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เช่นความเก่ง หดหู่ กระวนกระวาย หลุดง่ายๆในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ทุกข์ทับถมทวีคูณเพราะความรุนแรงของความเป็นตัวกูของกูหรือความยึดมั่นในความพึงพอใจของกูในฌานนั้นรุนแรงกว่าปกติธรรมดามากนัก เพราะจิตจะตั้งมั่นอยู่ในสิ่งอื่นๆน้อยลง อยู่กับความเป็นฌานกูของกูมาก จึงเกิดอุปาทานรุนแรง  ดังนั้นผู้ที่เป็นทุกข์อยู่จึงมิควรจะใช้ฌานหรือมิจฉาสมาธิหรือปล่อยให้เลื่อนไหลไปโดยไม่รู้ตัว  แต่ควรใช้วิปัสสนาไปคิดพิจารณาธรรมให้เกิดความเข้าใจเพื่อปลอบจิตและเกิดปัญญาเป็นการแก้ไขจึงจักถูกต้อง   แนะนํา วิธีเจริญจิตภาวนา ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล http://www.geocities.com/pudule/dharma1.htm คลิกที่นี่เพื่อบันทึกWebsite วิธีเจริญจิตภาวนา ไว้ในแฟ้มFavorites หรือ ในหนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม (หน้า๔๑๕) ผู้เขียน-อันเป็นแนวทางเจริญสติและสัมมาสมาธิแนวทางวิปัสสนา ให้เห็นความคิด และคิดนึกปรุงแต่งอย่างถูกต้อง,  สําหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติแก้ไขปัญหาวิปัสสนูปกิเลส ขอให้ปฏิบัติแก้ไขให้เบาบางลงเสียก่อนและเมื่อเริ่มปฏิบัติขอให้ปฏิบัติด้วยสติและด้วยความระมัดระวัง   หรืออ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นแนวทางปฏิบัติ คลิกที่นี่    ธรรมข้อคิดของ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) ดูไม้ท่อนนี้ซิ ... สั้นหรือยาว สมมติว่า คุณอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ ...ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้สั้นกว่านี้ ... ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว หมายความว่า ตัณหา ของคุณต่างหาก ที่ทำให้มีสั้น มียาว มีชั่ว มีทุกข์ มีสุข ขึ้นมา   ปฏิจจสมุปบาท ปรมัตถธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้ อริยสัจ๔         ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้งที่แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงท้อพระทัยในการที่จะสั่งสอนสรรพสัตว์ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ  จนมีพุทธดําริในครั้งแรกว่าจะไม่เผยแผ่ธรรมที่ท่านตรัสรู้ เนื่องจากความยากและลึกซึ้งของ "ปฏิจจสมุปบาท และ นิพพาน" (พระไตรปิฎก-วินัยปิฎก เล่ม๔/ข้อ๗/หน้า๘ ; มัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก เล่ม๑๒/ข้อ๓๒๑/หน้า๓๒๓)   เหตุที่แสดงนี้ เพื่อให้ท่านได้พิจารณาธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายจริงๆ ไม่ประมาทว่าเป็นของง่ายๆ ดังปรากฎแก่พระอานนท์เถระมาแล้ว(ดังความต่อไปนี้) จึงจักเกิดประโยชน์สูงสุด  และควรกระทําการพิจารณา(ธรรมมะวิจยะ)โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่ง เพราะแม้แต่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แล้วว่า"ยากและลึกซึ้ง"  แต่เรามีแนวทางปฏิบัติของท่านแล้ว จึงเป็นสิ่งอันพึงปฏิบัติได้ แต่กระนั้นเราผู้เป็นปุถุชนจึงมิควรประมาทว่าเข้าใจแล้วโดยการอ่านการฟังแต่เพียงอย่างเดียวโดยเด็ดขาด         ปฏิจจสมุปบาท นี้ยึดหลักธรรม  อิทัปปัจจยตา ที่มีพุทธพจน์ ตรัสไว้ว่า         เมื่อเหตุนี้มี  ผลนี้จึงมี              เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น  ผลนี้จึงเกิดขึ้น         เมื่อเหตุนี้ไม่มี  ผลนี้จึงไม่มี       เพราะเหตุนี้ดับ   ผลนี้จึงดับ อันแสดงกฎธรรมชาติขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์)ถึง ปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์ให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง อันเป็นหัวใจสําคัญในพุทธศาสนาที่ยึดในหลักการที่ว่า " สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย " หรือ " ธรรม(สิ่ง)ใดเกิดแต่เหตุ " อันเป็นเฉกเช่นเดียวกับหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน แตกต่างกันแต่ว่าหลักวิทยาศาสตร์นั้นครอบคลุมเพียงแต่ด้านวัตถุธรรมหรือรูปธรรมเพียงด้านเดียว  แต่ธรรมของพระพุทธองค์นั้นครอบคลุมถึงขั้นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุดทั้งฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม         ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมในรูปกฎแห่งธรรมชาติที่กล่าวถึง เหตุปัจจัยชนิดต่างๆ ที่ทําให้เกิดเหตุปัจจัยต่อเนื่องสืบต่อกันอันเป็นผลให้เกิดทุกข์  หรือการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัยเกิดต่อสืบเนื่องกันมา ซึ่งมีองค์ประกอบ ๑๒ ส่วนหรือกองธรรม เป็นปัจจัยแก่กันและกัน หมุนเวียนไปเป็นวงจรเกี่ยวเนื่องกันไปเป็นลําดับ แต่หาต้นหาปลายไม่ได้ เป็นวงจักรหรือวงจรซึ่งปัจจัย(เหตุ)อันหนึ่งเป็นปัจจัยของอีกอันหนึ่ง และปัจจัยอีกอันหนึ่งนี้ก็เป็นปัจจัยของอีกอันอื่นๆสืบต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด......จึงเกิดเป็นสังสารวัฏเวียนว่ายตายเกิดในภพ....ในชาติ.....และเป็นภพ ชาติ ตั้งแต่ปัจจุบันชาตินี้เอง คือเริ่มเป็น ภพ ชาติ ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง         เพราะความลึกซึ้งของปฏิจจสมุปบาทจึงมีการตีความหมายครอบคลุมไปถึงเรื่องข้ามภพ ข้ามชาติ ตลอดจนกําเนิดของโลก แต่พุทธประสงค์แล้วต้องการให้ดับภพ ชาติ เสียตั้งแต่ปัจจุบันชาติ หรือดับทุกข์เสียตั้งแต่ในภพชาตินี้นั่นเอง จึงจะเป็นเรื่องที่ถูกพุทธประสงค์อย่างแท้จริงและถูกต้อง         ก่อนอื่นผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจความหมายอย่างถูกต้องของคําว่า ทุกข์ ในอริยสัจ๔ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียก่อน   มิฉนั้นจะไม่รู้เป้าหมายที่จะกําจัดอย่างแท้จริง  อันคือ "ทุกข์อะไร?" ที่จะดับสนิทไม่ให้เหลือดังพุทธประสงค์ และทุกข์อะไร เป็นทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิตอันเป็นธรรมชาติที่ยังคงต้องเกิดต้องเป็น?  เพราะเมื่อไม่รู้จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติอย่างถ่องแท้  จักทําให้การปฏิบัตินั้นวนเวียนไม่ก้าวหน้าเพราะมัวแต่ปฏิบัติในสิ่งที่ยึดหรือเข้าใจอันเป็นสิ่งที่เหนือกว่าสภาวะธรรม(กฎของธรรมชาติ) ดังเช่น ความไม่เข้าใจว่าเวทนานั้นยังคงมีอยู่ แต่ไม่มีหรือไม่เป็นทุกข์(อุปาทาน)  เพราะไม่เข้าใจและแยกแยะสภาวะธรรม(ชาติ)ของเวทนาอย่างแท้จริงไม่ได้  อันยังให้เกิดการปฏิบัติแบบนอกลู่ผิดทางอันก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลส   อันยังให้ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติสมดั่งวัตถุประสงค์เพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์ หรือพ้นทุกข์,  หรือจางคลายจากทุกข์ตามฐานะแห่งตน         ใน "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" ซึ่งเป็นปฐมเทศนา คือการแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง๕, หรือในบทสวดมนต์ทําวัตรเช้าบท"สังเวคปริกิตตนปาฐะ" และแก่นธรรมทั้งหลาย พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสอธิบายเรื่องทุกข์ไว้ว่า         ทุกข์นี้คือ  ความเกิด,  แก่,  เจ็บ,  ตาย,  การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก,  การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก, ปรารถนาสิ่งอันใดไม่ได้สิ่งนั้น  เหล่านี้เป็นทุกข์ โดยย่อแล้ว อุปาทานขันธ์๕ เป็นทุกข์.         ถ้าเราใช้การ "โยนิโสมนสิการ" คือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงในสภาวะธรรม(สิ่ง)นั้น ไม่ใช้ความคิดเห็นอันคือทิฏฐิ อันมีอคติ หรือศรัทธาใดๆมานําให้เห็นผิดไป,  แล้วจักเห็นได้ว่าทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ทั้ง๗ นั้นครอบคลุมความทุกข์ทุกประการประดามีในโลกนี้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ครอบคลุมทุกข์ของบรรดาสรรพสัตว์ล้วนสิ้นตั้งแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบันและอนาคต และจักยังครอบคลุมทุกกาลสมัยหรืออนันตกาล ตลอดไป,  ถ้าเราใส่ใจสังเกตจักพบคําว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ อันหมายความว่า ความทุกข์ทุกประการประดามีนั้นสามารถย่อหรือ"สรุป"ลงเหลือเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นคืออุปาทานขันธ์๕ หรือ อุปาทานทุกข์  หรือก็คือ " ขันธ์๕หรือกระบวนการของชีวิต ที่เกิดในสภาวะที่มีอุปาทานร่วมหรือครอบงําด้วย " อันเป็นความทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจ   นี้แหละคือความทุกข์แท้ๆ ที่สัตว์โลกทั้งหลายมองไม่เห็นด้วยตาหรือใจธรรมดา   ซึ่งตามปกติมักเต็มไปด้วยกิเลสตัณหาและอุปาทาน   จึงปิดบังดวงตาไม่ให้เห็นสัจจธรรมนี้  จึงต้องพึ่งพาธรรมของพระพุทธองค์ ต้องใช้ดวงตาเห็นธรรมหรือตาแห่งปัญญา หรือความเข้าใจ  จึงจักมองเห็นแทงตลอดได้         ดับทุกข์นั้นไม่ใช่การดับความเกิด,แก่,เจ็บ,ตาย, การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก, การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก, ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น.  เพราะสิ่งเหล่านี้เมื่อเราเกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้วย่อมต้องประสบพบพาน ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงจากสภาวะธรรมหรือกฎธรรมชาตินี้หรือกฎพระไตรลักษณ์ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระองค์ทรงค้นพบวิธีว่า ทุกข์เหล่านั้นเป็นทุกข์ตามธรรมชาติอันยังต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็น มันเป็นเช่นนั้นเอง แต่ทําเยี่ยงไรจึงไม่เกิดเป็นความทุกข์หรืออุปาทานทุกข์ที่เราปุถุชนรู้สึกเป็นทุกข์ที่เกิดแก่ใจกันอยู่ทุกๆขณะจิต         คําสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น   ล้วนเป็นคําสั่งสอนให้ออกหรือดับอุปาทานทุกข์ หรือทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจล้วนสิ้น และ"อุปาทานทุกข์"นี้แหละคือทุกข์จริงๆที่มนุษย์ทั้งหลายกําลังเผชิญกันอยู่ทุกๆขณะจิต เพียงแต่ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเป็นอุปาทานทุกข์,  เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอน  นักปฏิบัติและปุถุชนส่วนใหญ่จึงพยายามปฏิบัติหาทางดับทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์(กระบวนการของชีวิต) อันเป็นสภาวะธรรมชาติแท้ๆที่แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงยอมรับและประสบสภาวะธรรมชาตินี้เช่นกัน,  จนมาก่อกลายเป็นอุปาทานทุกข์อันเป็นทุกข์แท้ๆให้เกิดขึ้นจากความไม่รู้ไม่เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก จึงเกิดการเวียนวนไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติเพราะย่อมไม่สามารถปฏิบัติให้ชนะกฎธรรมชาติได้ ตามความยึด ความเข้าใจผิดนั้นได้    อุปมาดั่งวนเวียนไล่จับเงาตนเองอยู่ตลอดกาลสมัย อุปาทานคืออะไร?    อะไรเป็นเหตุหรือเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิด?    เข้าใจจริงๆหรือไม่? ปฏิจจสมุปบาทสามารถอธิบายได้ว่าอุปาทานคืออะไร?   เกิดขึ้นได้อย่างไร? เมื่อไม่คลุมเครือและเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า อันใดเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์แล้วย่อมสามารถแก้ปัญหาคือดับทุกข์ที่เหตุได้อย่างถูกต้อง  อันจักเป็นไปดั่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ ธรรมใดเกิดแต่เหตุ   เมื่อเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ อันคือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุ  เมื่อเหตุดับ สิ่ง(ผล)นั้นก็ดับ จากปฏิจจสมุปบาทถ้าท่านพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายแล้ว ท่านจะได้ประโยชน์อันสูงลํ้าค่า สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม         อนึ่งเราควรอ่านพิจารณาแยกแยะเวทนา(การเสวยอารมณ์ เป็นสุขเวทนา,ทุกขเวทนา,อทุกขมสุขหรือไม่ทุกข์ไม่สุข)คือทุกข์ธรรมชาติของขันธ์๕ ให้ออกจาก"ความทุกข์แท้ๆ"(อุปาทานทุกข์)ให้ชัดเจนอันจะมีกล่าวไปเป็นลําดับขั้น    คําศัพท์บาลีอาจมีค่อนข้างมากเพื่อเทิดพระเกียรติ์แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และเพื่อให้คงความหมายเดิมของพุทธองค์ไว้ แต่จะมีวงเล็บอธิบายไว้เป็นส่วนใหญ่ และบางคําท่านสามารถคลิกดูความหมายได้ทันที  และกด  ในแถบเครื่องมือด้านบนซ้ายมือสุดเพื่อกลับมาที่หน้าเดิม,  และเป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่ต้องการให้อ่านอย่างพิจารณาโดยละเอียด เพื่อที่จะได้พิจารณาโดยแยบคาย(อย่างชาญฉลาด) และสามารถศึกษาต่อจากแหล่งอื่นๆได้ โปรดละลดความ มานะ และ ทิฏฐุปาทาน (ความถือตัวถือตน และอุปาทานชนิดยึดมั่นถือมั่นในทฤษฎี และความเชื่อของตัวเอง ที่เรากําลังจะศึกษาและปฏิบัติเพื่อนําออกและละเสียให้ได้) ลงชั่วขณะจิต  โดยเฉพาะความคิดที่ว่า "เรารู้แล้ว เข้าใจแล้ว" เพื่อท่านจักได้ประโยชน์อันสูงสุดในการดับทุกข์สมดั่งพุทธประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า         เมล็ดพืชถึงแม้มีอยู่ แต่จักงอกเป็นต้นไม่ได้ เพราะขาดปัจจัยคือดินและนํ้า คือ เมื่อไม่มีดินและนํ้า เมล็ดพืชย่อมไม่สามารถงอกเป็นต้นได้ฉันใด, เหตุแห่งทุกข์ถึงแม้มีอยู่ แต่เมื่อไม่มีปัจจัยต่างๆก็ย่อมไม่สามารถงอกงามหรือกลายเป็นความทุกข์ได้ฉันนั้น         สรรพทุกข์ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเกิดจาก"อุปาทานขันธ์๕ อันเป็นทุกข์" ท่านไม่อยากทราบอุปาทาน "เกิด" และ "ทํางาน" อย่างไร ?   และจะ"ดับ"ได้อย่างไร ?   ทําไมถึงครอบทุกสรรพสัตว์ได้ทุกกาลสมัย ?         ข้อพึงสังวรณ์ การอ่านแล้วเข้าใจจักมีประโยชน์จนเราสัมผัสและรู้สึกด้วยตนเองในระดับหนึ่งจนแปลกใจ   แต่จะยังไม่ใช่คุณประโยชน์อันอนันต์ของปฏิจจสมุปบาท  ท่านจักต้องพึงกระทําโยนิโสมนสิการในธรรมนี้เท่านั้น  คือพิจารณาในธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรเพราะเป็นกระบวนการของจิตอันสลับซับซ้อนละเอียดอ่อน  การอ่านแล้วเข้าใจยังไม่ใช่การพิจารณาธรรม(ธรรมมะวิจยะ),  ควรพยายามพิจารณาแก้ข้อสงสัยต่างๆ เมื่อพบแล้วพึงพิจารณาให้เข้าใจถึงใจ จนวิจิกิจฉาคือความสงสัยใดๆในธรรมนี้หมดสิ้นไปเพราะความเข้าใจ ไม่ใช่เพราะจําได้จากการอ่านการฟังจึงจักเกิดประโยชน์  และนํามาเป็นแนวทางปฏิบัติ อันจักทําให้ท่านหมดความสงสัยที่แอบซ่อนอยู่ลึกๆในหลักธรรมพระพุทธศาสนา แล้วเราจักพบกับคุณอนันต์ของ ปฏิจฺจสมุปฺบาท ปรมัตถธรรม กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์         องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอยู่เนืองๆว่าท่านทรงสอนแต่เรื่องให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์เท่านั้น   ดังนั้นคําสอนทั้งหลายจึงมุ่งหมายอยู่ที่การดับทุกข์ทั้งสิ้น   แต่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเป้าหมาย บุคคล สถานะการณ์ และกิเลสตัณหาอันหลากหลาย คําสอนจึงมีตั้งแต่ขั้นทาน ศีล สติ สมาธิ ปัญญา เป็นลําดับขึ้นไป ขึ้นอยู่กับเพศคือฆราวาสหรือบรรพชิตและภูมิปัญญาและจริตของแต่ละบุคคล   คําสอนจึงมีแตกแขนงและได้ขยายความออกไปถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ตามกาลสมัย  แต่ล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันทั้งสิ้นคือ"ดับทุกข์" หรือ"ดับอุปาทานทุกข์" หรือ"ดับทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจ"นั่นเอง ดังพระพุทธพจน์นี้ ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓) อันล้วนปรากฎอยู่ในหลักธรรม "ปฏิจจสมุทปบาท" นี้ทั้งสิ้น ,  เพียงแต่ได้แยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ตามความเหมาะสมและสถานะการณ์นั้นๆ  หรือตามจริตหรือกิเลสของผู้ที่ท่านสั่งสอนเท่านั้น         ท่านสามารถใช้แก่นธรรมนี้เป็นหลักปฏิบัติ(มรรค-ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ โดยใช้ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาท)จนดับทุกข์ที่เกิดที่เป็นให้ดับลงไป หรือให้จางคลายจากทุกข์ เพื่อให้อยู่ในโลกนี้ได้อย่างเป็นสุขตามฐานะแห่งตน  หรือเพื่อนิโรธอันเป็นการสิ้นภพ สิ้นชาติ ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่หรือในปัจจุบันชาติ  สิ้นอุปาทานทุกข์ตลอดกาล         ปฏิจจสมุปบาท แม้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง สมดั่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้   แต่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงชี้แนวทางไว้แล้ว  จึงไม่เกินความเพียรที่แน่วแน่อย่างแน่นอน แต่ต้องใช้ปัญญา  ปัญญานี้ไม่ใช่ปัญญาในทางโลกๆที่เราท่านทั้งหลายเคยชิน ยึดมั่น, เคยปฏิบัติกันในชีวิต แต่เป็นปัญญาในทางพ้นทุกข์อันเน้นที่ความเข้าใจสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ที่ใจหรือจิตเป็นสําคัญ         แนวทางปฏิบัติในโฮมเพจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาให้สมดังพระพุทธประสงค์ เพื่อดับทุกข์ หรือเพื่อความจางคลายจากทุกข์เท่านั้น  ดังเช่น         ๑. ชี้ให้เห็นอริยสัจ๔ โดยเฉพาะทุกข์  ทุกข์อะไร? ที่เราต้องหมายมั่นกําจัด และสามารถกําจัดหรือดับได้ตามพุทธประสงค์         ๒. ชี้ให้เห็นและเข้าใจจริงๆในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ต่างๆ โดยเฉพาะเวทนาและจิตสังขาร(ความคิด)ที่เป็นเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์,  และอุปาทานอะไร? ทําไมจึงกล้าแกร่งจนสามารถครอบงําสรรพสัตว์ไว้ได้ตลอดมา         ๓. ใช้ความเข้าใจในธรรมนั้นมาปฏิบัติโดยตนเอง เพื่อดับทุกข์จริงๆ (ใช้ความเข้าใจ อันจําเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติ เป็นแนวทางมรรคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผล) กล่าวคือ เพื่อก่อให้เกิดมรรคองค์ที่๙อันคือ สัมมาญาณ (สัมมาปัญญา)อันจักยังให้เกิด มรรคองค์ที่๑๐ สัมมาวิมุตติ(สุขจากการหลุดพ้น)ในที่สุด  (อ่านมรรคมีองค์๑๐)          การอ่านนั้นควรอ่านอย่างช้าๆ พร้อมพิจารณาไปด้วย ไม่ควรอ่านอย่างรวดเร็วเพียงเพื่อให้จบๆไป เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ตามควร สมดั่งเป็นปรมัตถธรรมขั้นสูงสุด   สิ้นภพ สิ้นชาติ ในปัจจุบันชาติ คือสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเพียรพยายามสั่งสอน.     นัตถิ ปัญญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี มีพุทธพจน์ตรัสไว้ดั่งนี้ ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)         พระพุทธองค์ผู้ทรงเลิศซึ่งพระปัญญา ได้ทรงแบ่งขั้นตอนในการดับอุปาทานทุกข์ ตามฐานะเช่นบรรชิตหรือฆราวาส และกําลังสติ ปัญญาและจริต,  โดยการพิจารณาพอสามารถแบ่งออกได้เป็น         ขั้นทาน การรู้จักบริจาคแบ่งปัน เป็นการลด การละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในทรัพย์ของตัวของตน ด้วยการแบ่งปันเจือจานแก่บุคคลอื่น, และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันของฆราวาสในสังคมนั้นๆเป็นไปอย่างสงบสุข         ขั้นศีล เป็นการลด การละความยึดมั่นความพึงพอใจในการกระทําต่างๆ ด้วยข้อวัตรหรือศีลด้วยกฎข้อปฏิบัติ หรือกฏข้อบังคับ เพื่อให้ไม่กระทําทุกอย่างตามความพึงพอใจของตัวของตนแต่ฝ่ายเดียวอันยังให้เกิดทุกข์หรือเบียดเบียนแก่บุคคลอื่นๆ, เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข         ขั้นสติ เป็นขั้นใช้สติ ดังเช่นสติปัฏฐาน๔ ซึ่งใช้สติเป็นประธานในการกําจัดความยึดมั่นในความพึงพอใจในกาย เวทนา จิต และโดยมีธรรมเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ         ขั้นสมาธิ ทรงแจงอยู่ในสังโยชน์๑๐-กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ กล่าวถึงสิ่งที่ต้องละ อันคือรูปฌานและอรูปฌานอันอยู่ในสังโยชน์ขั้นละเอียดหรือขั้นสุดท้าย, ในปฏิจจสมุปบาทกล่าวแสดงในเรื่องภพ  อันมี รูปภพ,อรูปภพ เป็นการต้องละในขั้นละเอียดเพราะยังติดอยู่ในภพ,   การกําจัดซึ่งความยึดมั่นในความพึอใจหรือสุขอันประณีตอันเกิดจากรูปฌานและอรูปฌาน (ละหมายถึงละการติดยึด)         ขั้นปัญญา เป็นการกําจัดความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขทั้งหลายทั้งปวงโดยหลัก "พระไตรลักษณ์" คือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง ล้วนทนอยู่ไม่ได้ ไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง ล้วนต้องดับไปตามเหตุปัจจัย  เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจในสิ่งใดๆอันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์           จุดประสงค์ของแต่ละขั้นนั้นล้วนแล้วแต่ดับหรือลดละ"อุปาทาน"ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวตนเองทั้งสิ้น ตามกําลังสติ, ปัญญา, จริต, ความมุ่งมั่น, และฐานะของแต่ละบุคคล,  เหล่านี้ล้วนแต่เป็นธรรมที่มีรากเหง้ามาจากหลัก"ปฏิจจสมุปบาท"ทั้งสิ้นที่ให้รู้และกําจัดอุปาทาน อันก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์, แก่นธรรมอันสําคัญยิ่งในพุทธศาสนา ดังเช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อุปาทานขันธ์๕ สติปัฏฐาน  พระไตรลักษณ์ ตลอดจนความรู้ในพระนิพพาน อนันตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร ฯลฯ. ล้วนบ่งแจ้งถึงสิ่งที่เราผู้ปฏิบัติต้องกระทําเพื่อให้บรรลุถึงนิโรธหรือจางคลายจากทุกข์ อันคือ"การนําออกและละเสีย ซึ่งอุปาทานความพึงพอใจของตน" อันมีตัณหาเป็นมูลเหตุปัจจัยใหญ่   หมู่พระอรหันต์ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ     สุขิโน  วต  อรหนฺโต, ตณฺหา  เตสํ  น  วิชฺชติ, อสฺมิมาโน  สมุจฺฉินฺโน, โมหชาลํ  ปทาลิตํ. หมู่พระอรหันต์  ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ, เพราะท่านไม่มีตัณหาความอยาก, ท่านตัด  การถือเราถือเขา  ได้ขาด, ท่านทำลาย  ข่ายโมหะพินาศ  เช่นกัน. อเนชนฺเต  อนุปฺปตฺตา, จิตฺตํ  เตสํ  อนาวิลํ, โลเก  อนุปลิตฺตา  เต, พฺรหฺมภูตา  อนาสวา. หมู่พระอรหันต์นั้น  ท่านถึงความไม่หวั่นไหว, ดวงจิตของท่านไซร้  ไม่ขุ่นมัวหมองไหม้, ท่านไม่ถูกตัณหา  มานะ  ทิฏฐิ  ฉาบทาไว้ในโลก, ท่านจึงเป็นพรหม  หมดสิ้นอาสวะ  แท้จริง.  ปญฺจกฺขนฺเธ  ปริญฺาย, สตฺตสทฺธมฺมโคจรา, ปสํสิยา  สปฺปุริสา, ปุตฺตา  พุทฺธสฺส  โอรสา.  หมู่พระอรหันต์นั้น  ท่านกำหนดรู้ขันธ์ทั้ง ๕  โดยทั่วถึง, ท่านมีสัทธรรม ๗  เป็นโคจร, ท่านเป็นสัตบุรุษ  ที่ควรสรรเสริญ, ท่านเป็นพุทธบุตร  พุทธโอรส  แท้จริง. สตฺตรตนสมฺปนฺนา, ตีสุ  สิกฺขาสุ  สิกฺขิตา, อนุวิจรนฺติ  มหาวีรา, ปหีนภยเภรวา.  หมู่พระอรหันต์นั้น  ท่านสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๗, ท่านศึกษา  ในสิกขาทั้ง ๓  อยู่ด้วยดี, ท่านย่อมท่องเที่ยวไปอย่างมหาวีรบุรุษโดยลำดับ, ท่านละความกลัวและความขลาด  ขาดสะบั้นไป. ทสหงฺเคสิ  สมฺปนฺนา, มหานาคา  สมาหิตา, เอเต  โข  เสฏฺ€า  โลกสฺมึ, ตณฺหา  เตสํ  น  วิชฺชติ.  หมู่พระอรหันต์นั้น  ท่านสมบูรณ์ด้วยองค์ธรรม ๑๐ ประการ, ท่านเป็นมหานาค  มีจิตตั้งมั่นด้วยดี, หมู่พระอรหันต์นี้แล  เป็นพระผู้ประเสริฐสุดในโลก, เพราะท่านไม่มีตัณหา  ความอยาก  นั่นเอง. อเสกฺขาณํ  อุปฺปนฺนํ, อนฺติโมยํ  สมุสฺสโย, โย  สาโร  พฺรหฺมจริยสฺส, ตสฺมึ  อปรปจฺจยา. หมู่พระอรหันต์นั้น  ท่านมีอเสขญาณบังเกิดขึ้นแล้ว, ร่างกายนี้  มีเป็นครั้งสุดท้าย, "เนื้อแท้" แห่งพรหมจรรย์อันใด  มีอยู่, ท่านไม่ต้องมีคนอื่น  เป็นปัจจัยจูงใจให้เชื่อในเนื้อแท้อันนั้น. วิธาสุ  น  วิกมฺปนฺติ, วิปฺปมุตฺตา  ปุนพฺภวา, ทนฺตภูมึ  อนุปฺปตฺตา, เต  โลเก  วิชิตาวิโน.  หมู่พระอรหันต์นั้น  ท่านไม่หวั่นไหวในมานะไร ๆ, จึงหลุดพ้นจากภพใหม่, ได้บรรลุถึงซึ่งอรหัตตภูมิแล้ว  โดยลำดับ, หมู่พระอรหันต์นั้น  จึงชื่อว่าชนะเด็ดขาดแล้วในโลก. อุทฺธํ  ติริยํ  อปาจินํ, นนฺทิ  เตสํ  น  วิชฺชติ นทนฺติ  เต  สีหนาทํ, พุทฺธา  โลเก  อนุตฺตรา, อิติ. ทั้งส่วนเบื้องบน  ท่ามกลาง  และเบื้องล่าง, ความเพลิดเพลิน  ย่อมไม่มีแก่หมู่พระอรหันต์เหล่านั้น, หมู่พระอรหันต์นั้น  จึงบันลือสีหนาท, "ว่าเป็นพุทธะ" พระผู้ที่ไม่มีใครยิ่งกว่าในโลก  สมจริงแท้, ด้วยประการฉะนี้แล. "อรหันตสูตร" สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ เล่ม ๑๗ ข้อ ๑๕๓ หน้า ๑๐๑-๑๐๒ พุทธทาสภิกขุ แปล จาก http://www.khonnaruk.com/html/phra.html                     สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน อันคือ ปัจจัยหนึ่งเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัจจัยอีกอันหนึ่ง  และปัจจัยอีกอันหนึ่งนี้ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปัจจัยอีกอันหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปเช่นนี้เป็นวงจักรหรือวงจรที่ไม่รู้จักจบสิ้น   มองในมุมมองนามธรรมอาจจักไม่เห็นชัดแจ้ง  ลองพิจารณาจากวงจรจําลองของวงจรปฏิจจสมุปบาท เพื่ออธิบายนามธรรมอันไม่มีตัวตน ให้เห็นเป็นภาพพจน์หรือรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น  เพื่อความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทในกาลต่อไป         อันไฟนั้นย่อมไม่มีในคน อันไฟนั้นย่อมไม่มีในแสงแดด อันไฟนั้นย่อมไม่มีในแว่นขยาย อันไฟนั้นย่อมไม่มีในเชื้อไฟ  แต่เมื่อเหตุปัจจัยทั้ง๔มาประชุมรวมกันและเป็นปัจจัยแก่กันและกันหรือเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันชั่วขณะ โดยมีเหตุปัจจัยอันมาปรุงแต่งอีกเช่นกันอันคือกรรม(การกระทําที่มีเจตนา) จักทําให้บังเกิดไฟขึ้นได้  จักพิจารณาเห็นได้ว่าไฟนั้นเกิดแต่การเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันของปัจจัยต่างๆข้างต้น อันยังผลให้เป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา "เพราะสิ่งนี้มี ผลนี้จึงมี" จึงทําให้เกิดไฟขึ้น  และยังหมายรวมไปถึงการดับไฟนั้นด้วยเพราะ"เมื่อสิ่งนี้ดับ ผลนี้จึงดับ"         ถ้าเราจักจําลองคําอธิบายให้เป็นวงจร ดั่งวงจรแบบปฏิจจสมุปบาท(ประ-ติด-จะ-สะ-มุป-บาท)เพื่อให้เห็นภาพการทํางานที่ชัดเจนขึ้น เพื่อความเข้าใจในกาลต่อไปอย่างแจ่มแจ้ง เราจักจําลองได้เป็นดั่งนี้         คน เป็นปัจจัยจึงมี กรรม อันหมายความถึง เพราะคนเป็นเหตุปัจจัยจึงเป็นปัจจัยให้มีการกระทําที่มีเจตนาจุดไฟขึ้น         กรรม เป็นปัจจัยจึงมี แสงแดด อันหมายความถึง ไม่ได้หมายถึงการกระทําให้มีแสงแดด แต่หมายถึง การกระทําที่มีเจตนาเป็นเหตุจึงเป็นปัจจัยให้ใช้ประโยชน์จากแสงแดดและแว่นขยายนั้นได้         แสงแดด เป็นปัจจัยจึงมี แว่นขยาย ..อันหมายความถึง แสงแแดดเป็นเหตุ จึงเป็นปัจจัยทําให้แว่นขยายได้ทําหน้าที่ส่วนของตน คือรวมแสงแดดนั้นได้         แว่นขยาย เป็นปัจจัยจึงมี เชื้อไฟ .อันหมายความถึง แว่นขยายเป็นเหตุปัจจัยทําให้เกิดไฟได้ จึงทําให้เกิดการหาเชื้อไฟ            เชื้อไฟ เป็นปัจจัยจึงมี ไฟเกิด ..อันหมายความถึง เชื้อไฟ เป็นปัจจัย ที่ทําให้ไฟเกิด         ไฟเกิด เป็นปัจจัยจึงมี การลุกไหม้ที่แปรปรวนและดับไป อันหมายความถึง ไฟที่เกิดลุกไหม้เป็นปัจจัยให้ไฟที่เกิดนั้นย่อมมีการแปรปรวนลุกไหม้สว่างบ้าง หรื่บ้าง มอดบ้าง สว่างโพลงบ้าง ปะทุบ้าง..ฯลฯ และต้องดับไปในที่สุด         การลุกไหม้ที่แปรปรวนและดับไป เป็นปัจจัยจึงมี คน อันหมายความถึง ไฟที่ได้แปรปรวนและดับไปเป็นเหตุ.ปัจจัยให้คนต้องจุดหรือเริ่มกระบวนการเกิดไฟขึ้นใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากไฟ....อันเป็นการเริ่มวงจรขึ้นมาใหม่ไม่รู้จักจบสิ้น  อันเป็นไปตามวงจรนี้                จากกระบวนการเกิดไฟจากเหตุปัจจัยต่างๆที่มาประชุมกันชั่วขณะ ถ้าเราพิจารณาจักเห็นการเกิดของไฟเกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันเป็นปัจจัยแก่กันและกันเป็นวงจรต่อเนื่องกันได้,  เมื่อพิจารณาวงจรให้ดีจักเห็นได้ว่าถ้าเราต้องการดับไฟ (อันอุปมาดั่งดับอุปาทานทุกข์ในวงจรปฏิจจสมุปบาท)  วงจรจักเป็นเช่นนี้ คนดับ... กรรมดับ... แสงแดดดับ... แว่นขยายดับ... เชื้อไฟดับ...ไฟดับ... ไฟที่ลุกไหม้แปรปรวนดับ...         ความหมายของวงจรดับไฟก็จักเป็นดังนี้         คนดับ อันหมายถึงไม่มีใครหรือบุคคลที่ลงมือกระทํา ไฟนั้นย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน อันคือไฟดับหรือทุกข์ดับลงนั่นเอง เพราะไม่มีคนตัวตนที่กระทํา         กรรมดับ อันหมายถึง ไม่มีการกระทํา ไฟนั้นหรือทุกข์นั้นย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน         แสงแดดดับ อันหมายถึง ไม่มีแสงแดดหรือดับแสงแดดโดยใช้วิธีการต่างๆ ไฟย่อมเกิดไม่ได้         แว่นขยายดับ อันหมายถึง แว่นขยายไม่ทําหน้าที่หรือไม่มีแว่นขยาย ไฟนั้นหรือทุกข์นั้นย่อมเกิดไม่ได้เช่นกัน         เชื้อไฟดับ อันหมายถึง ไม่มีเชื้อไฟเช่นกระดาษ,ไม้นั่นเอง ไฟย่อมไม่สามารถติดได้แน่นอน         จากกระบวนธรรมต่างๆเหล่านี้ถ้าขาดหรือดับไปล้วนสามารถดับไฟไม่ให้เกิดได้ทั้งสิ้น อันอุปมาดั่งเช่นเดียวกันกับการดับหรือตัดวงจรการเกิดขึ้นของทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)นั่นเอง แต่มีข้อสังเกตุที่ควรพิจารณา คือแสงแดดซึ่งเป็นกระบวนธรรม อันเป็นธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมบังคับได้โดยคน เป็นกระบวนธรรมที่เราควรละเว้นไว้เช่นไม่มีแดดไฟย่อมไม่เกิดและจักบังคับให้มีให้เป็นก็มิได้ ดังนั้นปัจจัยนี้เราจึงควรหลีกเลี่ยงในการที่จะดับไฟเพราะแสงแดดเป็นเหตุเป็นปัจจัย เพราะเป็นสภาวะธรรมหรือกระบวนการธรรมชาติอันยิ่งใหญ่อันควบคุมบังคับโดยตรงไม่ได้  และแสงแดดดับในวงจรจําลองการเกิดแห่งไฟนี้จึงมีความหมายถึงแสงแดดไม่สามารถทํางานหรือทําหน้าที่ได้นั่นเอง  มิได้ไปควบคุมบังคับแสงแดดนั้นให้ดับ ถ้าทําก็ต้องโดยทางอ้อมและยุ่งยากดังเช่นต้องหาอุปกรณ์มากั้นมากางเป็นต้น และเวลากลางคืนย่อมไม่มีแสงแดดอันจะบังคับให้มีแสงแดดย่อมไม่ได้เช่นกัน เหตุที่กล่าวนี้เพราะว่าในวงจรของปฏิจจสมุปบาท ก็มีกองธรรมหลายๆกองที่แสดงไว้ให้เห็นถึงปัจจัยอันเนื่องให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งแต่ไม่สามารถควบคุมบังคับได้ดั่งแสงแดดนี้ หรือควบคุมบังคับได้ยาก ดังถ้าเราเข้าไปยุ่งหรือพยายามปฏิบัติย่อมเสียเวลาและเสียกําลังและเกิดผลร้ายขึ้นได้และย่อมไม่บังเกิดผลอย่างถาวร ดังเช่นแสงแดดนี้  และทุกข์ทั้งหลายอันคืออุปาทานขันธ์๕ อันเกิดเนื่องจากอุปาทานเป็นมูลเหตุปัจจัยสําคัญที่สุดและโดยตรง แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ดับอุปาทานนั้นโดยตรง เหตุเนื่องจากกําลังอันแก่กล้า ยากแก่การควบคุมบังคับโดยตรง ด้วยพระปรีชา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงใช้วิธีตัดทอนกําลังอันแรงกล้าของอุปาทานนี้ โดยการลดละ หรือนําออกซึ่งกิเลส ตัณหา, หรือทําให้อ่อนกําลังลงเช่นในเวทนาด้วยปัญญา เพื่อทอนกําลังของอุปาทานอันแกร่งกล้าลงก่อนนั่นเอง ในขณะเดียวกันนั้นก็ให้พัฒนาสติ, สมาธิ อันยังให้เกิด"ปัญญา"ในการดับทุกข์เป็นที่สุด  เพื่อทําลายอุปาทานให้สิ้นไปจากจิตอันหมายถึงนิโรธหรือพระนิพพาน   บางครั้งพระองค์ท่านทรงทอนกําลังของอุปาทานโดยขั้นตอนการปฏิบัติในขั้นทาน ศีล สติ สมาธิ ปัญญา หรือตามเพศ(บรรพชิต, นักบวช) ตามกิเลสตัณหาอันหลากหลาย และตามกําลังสติ ปัญญา หรือสถานะการณ์นั้นๆ อันล้วนแล้วแต่เพื่อตัดทอนกําลังของอุปาทานหรือความทุกข์เพื่อให้เหมาะแก่สถานะภาพนั้นๆของผู้ที่ท่านสั่งสอนนั่นเอง คําสั่งสอนของท่านจึงแตกแขนงออกไปถึง๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์แต่ล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันทั่งสิ้นคือดับทุกข์หรือดับอุปาทานทุกข์         จากวงจรจําลองปฏิจจสมุปบาทนี้ควรสังเกตุพิจารณาดังต่อไปนี้         ๑. พิจารณาความเป็นเหตุปัจจัยอันมาประชุมรวมกันชั่วขณะ(ระยะเวลาหนึ่ง มิใช่อย่างถาวรแท้จริง) จึงทําให้เกิดไฟหรืออุปมาดั่งความทุกข์  หรือสิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุอันคือ "ธรรมใด เกิดแต่เหตุ" ในพุทธอุทานคาถาที่๑ นั่นเอง         ๒. พิจารณาให้เห็นความเป็นปัจจัยอันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน คือปัจจัยอันหนึ่งยังให้เกิดหรือเป็นเหตุ ทําให้เกิดปัจจัยอีกอันหนึ่งหรือผล  และปัจจัยนี้ก็ไปยังให้เกิดปัจจัยอื่นๆต่อเนื่องไป เป็นความสัมพันธ์อันสืบเนื่องต่อกันเป็นวงจร  อันยังให้เกิดแรงหมุนเวียนอย่างสืบเนื่องขับดันวงจรอย่างไม่รู้จักจบสิ้น         ๓. พิจารณาให้เห็น เมื่อปัจจัยอันหนึ่งซึ่งเป็นเหตุเกิด ทําให้ปัจจัยอันต่อไปหรือผลก็ต้องเกิดเป็นธรรมดาเป็นปัจจัยต่อเนื่องเป็นลูกโซ่หรือวงจร   และเมื่อปัจจัยอันหนึ่งดับ ปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์กันนั้นก็ต้องดับตามๆกันไปด้วยเป็นวงจร (ดับนั้นไม่ได้หมายถึง ดับสูญ แตกดับไป แต่เป็นภาษาธรรม ซึ่งในบางครั้งหมายความถึงไม่สามารถทําหน้าที่นั้นๆได้) อันจักเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา         วงจักรหรือวงจรปฏิจจสมุปบาท ก็คล้ายๆกับการทํางานของวงจรจําลองนี้ เพียงแต่ไม่ใช่วงจรง่ายๆดังนี้ เป็นวงจรกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ที่เป็นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงถึงแก่นแท้หรือขั้นสูงสุด         คงพอจะเห็นได้ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุปัจจัยอันเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ไม่ใช่เฉพาะแต่รูปธรรมข้างต้นเท่านั้น  แต่หมายถึงทุกสรรพสิ่งทั้งนามธรรมและรูปธรรม ดังเช่น         นํ้าก็ประกอบด้วย 2H+O เป็น  H2O หรือ นํ้า            โมเลกุลก็ประกอบหรือเป็นเหตุปัจจัยจากอะตอมหลายๆอะตอมรวมตัวกัน          แม้แต่อะตอมเพียงอะตอมเดียวก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยของโปรตอน และอิเลคตรอนที่เคลื่อนไหวแสดงความแปรปรวน(อนิจจัง)อยู่ตลอดเวลา ฯลฯ         กายก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยมากมาย ดังเช่น ธาตุดิน อันหมายถึงแร่ธาตุต่างๆ  และธาตุนํ้า ธาตุลม ธาตุไฟ ช่องว่าง วิญญาณธาตุ         เซล เซลเดียวก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมากหลายมาประชุมกัน เช่นสารประกอบ แร่ธาตุมากมาย นํ้า อากาศ อาหาร ฯลฯ         เป็นเช่นนี้ในทุกสรรพสิ่ง แม้แต่จักรวาลอันใหญ่โตก็ล้วนแล้วแต่ประกอบด้วยธาตุต่างๆ ดาวต่างๆ พลังงานต่างๆ แรงดึงดูด สิ่งต่างๆทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน เป็นเหตุเป็นปัจจัยในการเกิดจักรวาลขึ้นเช่นกัน อันล้วนเป็นรูปธรรม         ในทางนามธรรมก็เช่นเดียวกัน ทุกๆสรรพสิ่ง(ยกเว้นเพียงสิ่งเดียวคือนิพพาน ซึ่งมีอธิบายขยายความในภายหลัง)ก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน เช่น จิตหรือใจจริงๆแล้วก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยดังเช่นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งสี่หรือที่เรียกกันว่านาม จึงเป็นสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจ และจิตนี้ก็ยังต้องมีกายหรือตัวตนเป็นเหตุปัจจัยร่วมอีกด้วย         แม้แต่ส่วนย่อยๆของจิตเองก็เกิดแต่เหตุปัจจัย ดังเช่นเวทนาก็เกิดแต่เหตุปัจจัยอันหลากหลายมาประชุมปรุงแต่งกันชั่วขณะ อันคือเกิดมาแต่เหตุปัจจัยต่างๆ ดังเช่น ตา+รูป+วิญญาณ >> ผัสสะ(การกระทบรับรู้ของทั้ง๓สิ่งนั้น) >> พร้อมความจําได้ >> จึงเกิดเวทนาความรู้สึกรับรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นชอบ, ไม่ชอบ หรือเฉยๆ(สุขเวทนา,ทุกขเวทนา,อทุกขมสุข)         ธรรมหรือสิ่งต่างๆก็เช่นกัน แม้ว่าสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ต่างๆนั้นจะเป็นจริงเช่นนั้น เป็นของแท้เช่นนั้น เป็นของคู่โลกเช่นนั้น อันยิ่งใหญ่ปานนั้น ไม่มีอะไรหรือสิ่งใดๆหรือใครมาเปลี่ยนแปลงได้ก็จริงอยู่เช่น ธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือธรรมะของพระพุทธองค์ต่างๆ เหล่านี้ที่เป็นสภาวะธรรมแท้ๆ ก็ล้วนต้องเกิดแต่เหตุปัจจัย กล่าวคือ ต้องมีตัวตนผู้ปฏิบัติหรือสิ่งที่ให้สภาวะธรรมนั้นอาศัยเกิดขึ้น จึงจักบังเกิดธรรมหรือสิ่งๆนั้นขึ้นได้ (ต้องโยนิโสมนสิการ)         แม้แต่ความทุกข์ที่ครอบสรรพสัตว์ไว้ ก็ล้วนแล้วต้องเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆเช่นกัน ดังที่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงค้นพบและบัญญัติเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ใน ปฏิจจสมุปบาท กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ ดังนั้นถ้าเราต้องการดับทุกข์ เราจึงควรรู้แจ้งว่าความทุกข์นั้นเกิดมาแต่เหตุปัจจัยใดบ้าง  เราก็ย่อมมีโอกาสดับทุกข์เสียแต่ต้นมือได้ง่าย อุปมาดั่งดับไฟที่ต้นเพลิงนั่นเอง                      การปฏิบัติในหนังสือเล่มนี้ เป็นการปฏิบัติที่จิต โดยใช้สติและปัญญาเป็นสําคัญ และปัญญานี้ไม่ใช่ปัญญาอย่างความหมายในทางโลก แต่หมายถึงวิชาหรือปัญญาความรู้ความเข้าใจในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์และการดับทุกข์  ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติหรือปฏิบัติในแนวอื่น ในการอ่านแรกๆอาจจะงุนงงหรือรู้สึกขัดแย้งกับความเชื่อบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้ามีความเพียรโดยเฉพาะการหมั่นพิจารณาด้วยใจที่สงบ สบายๆ ถ้าใช้สมาธิก็แค่ระดับขณิกกะคือแค่ใจไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน และวางจากความเชื่อ ความยึดมั่นชั่วขณะ แล้วพิจารณาตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ) ผู้เขียนเชื่อว่าจักเกิดคุณอนันต์ต่อผู้ปฏิบัติในที่สุด  ตลอดจนสามารถหลีกเลี่ยงและแก้ไขผลร้ายต่างๆ อันจักอาจบังเกิดขึ้นหรือได้บังเกิดขึ้นแล้วเพราะวิปัสสนูปกิเลส  อันเกิดขึ้นเป็นธรรมดากับนักปฏิบัติเพราะแม้ว่าท่านได้กระทําประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ประเสริฐสูงสุดที่มนุษย์ทั้งหลายพึงปฎิบัติ แต่อย่าลืมสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ตามความเป็นจริงที่ว่า สิ่งที่ยิ่งสูงนั้นถ้าตกก็ยิ่งเจ็บหรือยิ่งอันตรายเช่นกัน จึงไม่ควรประมาทควรปฏิบัติด้วยสติและปัญญาจึงจักสัมฤทธิ์ผลตามที่ตั้งใจไว้             อนึ่งหนังสือเล่มนี้และโฮมเพจนี้ ผู้เขียนไม่ได้มีความตั้งใจเขียนเพื่อขัดแย้งกับผู้ใด หรือหลักธรรมใดๆที่ได้ยึดปฏิบัติกันอย่างหลากหลาย  เป็นเพียงข้อเขียนของผู้เขียนที่เขียนขึ้นตามความเข้าใจในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บังเกิดขื้นแก่ผู้เขียน และต้องการเผยแผ่หลักธรรมที่เข้าใจได้บ้างนั้นเป็นธรรมทานแด่เหล่ากัลยาณมิตรนักปฏิบัติที่ต้องการดับทุกข์หรือต้องการจางคลายจากทุกข์เท่านั้น  กัลยาณมิตรทั้งหลายมีหน้าที่ต้องใช้ธรรมะวิจยะ(การพิจารณาในธรรม) อันเป็นโพชฌงค์องค์ประกอบอันสําคัญยิ่งแห่งการตรัสรู้หรือพ้นทุกข์, อันคือการพิจารณาในธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคาย(โยนิโสมนสิการ) เพื่อให้ทราบประจักษ์แก่ตัวท่านเองว่า ถูกต้องหรือผิดประการใด อันเป็นไปตามหลักกาลามาสูตร   แล้วใช้สัมมาญาณ ความเข้าใจหรือปัญญาอันจักเป็นฐานกําลังแห่งจิตนั้นปฏิบัติจึงจะเกิดคุณอนันต์สมดังพุทธประสงค์ จึงจะเกิดสัมมาวิมุตติสุขจากการหลุดพ้น, อันจําเป็นต้องมีสัมมาญาณจึงจะเกิดสัมมาวิมุตติขึ้นได้ จากมรรคองค์๘แห่งการปฏิบัติเป็นมรรคมีองค์๑๐ของพระอริยะเจ้า ที่บางท่านอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน (มีพุทธพจน์ตรัสไว้ในเรื่องนี้ในบท๑๑ อริยสัจ หรือ คลิกที่นี่) นัตถิ ปัญญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี         หมายถึง สภาวะที่ทุกข์ยังเกิดขึ้นได้ ใช้แนวทางปฏิบัติดังนี้  หมายถึงทันข้อไหนก็ปฏิบัติข้อนั้น อันล้วนอยู่ในแนวทางปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ทั้งสิ้น         ๑.ให้ยกจิตอย่าให้ขุ่นมัว เพราะจิตที่ขุ่นมัว เศร้าหมองอันเกิดจากอาสวะกิเลส ยังให้เกิดสังขารความคิดอันเป็นทุกข์,  ปรับจิต ยกจิตให้สดใส, เราปุถุชนเมื่อยังปฏิบัติไม่ได้หมด ดังนั้นส่วนหนึ่งที่เหลือก็จักยังให้เกิดสังขารความคิดชนิดที่ก่อให้เกิดทุกข์ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา         ๒.ให้เข้าใจเวทนา สักแต่ว่าเวทนาการรับรู้ความรู้สึกของสิ่งที่กระทบสัมผัสให้ชัดเจน ส่วนหนึ่งจะเบาบางหรือหยุดที่เวทนานี้ด้วยปัญญาความเข้าใจอันจักไม่ก่อให้เกิดตัณหา,  ส่วนที่เหลือก็จักเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา           ๓.ให้"ละ"ที่ตัณหา ที่สรุปแล้วคือ "อยาก" และ "ไม่อยาก" นั่นเองเพราะตัณหาร้อยแปดพันเก้าในทุกๆรูปแบบ ถ้าสังเกตุโดยโยนิโสมนสิการจักเห็นผลสรุปออกมาดังที่กล่าวคือความอยากหรือไม่อยากใน สิ่งใดๆ เพราะตัณหาเป็นเหตุจึงเป็นปัจจัยให้เกิด "อุปาทาน" อันก่อให้เกิดความทุกข์          ตัณหา มี                   ๑. กามตัณหา - อยาก, ไม่อยากในรูป;  อยาก, ไม่อยากในเสียง; อยาก, ไม่อยากในกลิ่น;  อยาก, ไม่อยาก ในรส;  อยาก, ไม่อยาก ในสัมผัส               ๒. ภวตัณหา ความอยากที่เกิดแต่จิต(ธรรมารมณ์หรือความคิด)               ๓. วิภวตัณหา ความไม่อยากที่เกิดแต่จิต(ธรรมารมณ์หรือความคิด)          ข้อสังเกตุ รู้เท่าทัน(อันคือมีสติ)จิตขุ่นมัวเศร้าหมองอันเกิดมาจากอาสวะกิเลสและตัณหาที่คือความอยากและไม่อยาก แล้วไม่ต้องไปกดข่มใดๆ, ถ้ารู้ว่ามีอยากและไม่อยากเกิด ให้หยุดคิดนึกปรุงแต่งต่อจากนี้ทันทีที่มีสติ เพราะการปรุงแต่งต่อจากที่นี้ใดๆเข้าไป  ล้วนจักก่อให้เกิดตัณหาได้ทั้งสิ้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว         เราแค่ทํากิจของสมุทัย(ดูอริยสัจ๔)คือ "สมุทัยให้ละ" หรือให้ละ อาสวะกิเลส และตัณหานั่นเอง ตัณหาร้อยแปดพันเก้าสรุปลงเหลือ "อยาก" และ "ไม่อยาก" เพราะไม่ว่าปรุงแต่งประการใด จะมีผลสรุปจริงๆอยู่สองอย่างนี้เท่านั้น(ต้องโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง)           ๔.หยุดคิดนึกปรุงแต่ง ส่วนที่เหลือหลุดจากตัณหาไป ก็เกิดเป็นอุปาทานอันแข็งแกร่งและถอดถอนได้ยาก และยังให้เกิดจิตสังขารขันธ์หรือความคิดที่เป็นทุกข์ ต้องใช้สติรู้เท่าทันความคิดนั้น(จิตตานุปัสสนา-สติรู้เท่าทันจิต) แล้วเป็นกลางวางเฉยไม่ปรุงแต่ง(คิดนึกปรุงแต่ง)ใดๆในความคิดที่เป็นทุกข์นั้น  เพราะคิดนึกปรุงแต่งนั้นก็คือขันธ์๕อันยังให้เกิดเวทนา อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เป็นวงจรหมุนเวียนเกิดตามข้อ๒ อีกนั่นเอง         อุปาทาน แข็งแกร่งและถอดถอนได้ยาก ใช้ปัญญาในไตรลักษณ์ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า"นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา(อย่างแท้จริง)"         ถ้าหลุดจากอุปาทานนี้ ก็จักเกิด "อุปาทานขันธ์๕"ใน ชาติ-ชรามรณะ อันเป็นทุกข์ทันที ก็ต้องใช้วิธีรู้เท่าทันคิดแล้วหยุดคิดนึกปรุงแต่ง ทันทีที่สติรู้เท่าทันดังเช่นเหมือนข้างต้น  แต่จักเป็นการปฏิบัติในอุปาทานขันธ์อันเป็นทุกข์แล้ว( คลิกดูวงจร  วงจรเล็กๆที่กําลังเคลื่อนไหวคือวงจรของอุปาทานขันธ์๕ที่เกิดๆดับๆต่อเนื่องกันจนเป็นความทุกข์คือตําแหน่งที่เกิดในข้อนี้), ข้อเสียอันควรเข้าใจคือจักปฏิบัติยากขึ้นเพราะถูกครอบงําแล้วด้วยอํานาจของตัณหาอุปาทาน ต้องใช้สติและกําลังปัญญามากขึ้น จึงจักสลัดหลุดได้,  การหยุดคิดนึกปรุงแต่งนั้นก็คือการตัดหรือทําลายวงจรเล็กของอุปาทานขันธ์๕ที่เกิดๆดับๆวนเวียนอยู่นั้นให้หยุดหรือขาดลงนั่นเอง          ลองสังเกตุสภาวะที่ถูกอุปาทานครอบงําโดยไม่รู้ตัวให้เห็นง่ายๆก็ได้ เช่นความเป็นพ่อ แม่ ลุก นั่นแหละก็เป็นสภาวะที่ถูกครอบงําโดยอุปาทานไว้แล้วจนเกิดภพหรือสถานะ หรือภาวะความเป็นพ่อแม่ลูก อันสลัดออกไม่ได้ง่ายๆ  ลูกจะดี จะเลวอย่างไรก็ยังรักและหวังดีต่อกันและกันเสมอจนบางครั้งขาดเหตุผล  ยกเว้นแต่องค์อรหันต์เท่านั้นจึงสลัดออกจากภพเช่นนี้ได้,  มีความทุกข์เช่นนี้อยู่เป็นจํานวนมากเช่นกัน คือถูกครอบงําโดยอุปาทานจนเกิดภพแล้วแต่ในสภาพที่ไม่รู้ตัว เมื่อเกิดคิดและมีตัณหาขึ้นมากระตุ้นก็จะเกิดสภาพของทุกข์ขึ้นแทบทันที จนบางครั้งสังเกตุไม่ออก จนฉงนว่าเหตุไฉนจึงไม่เป็นไปตามกระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์-ปฏิจจสมุปบาท จริงๆแล้วมันเคยเกิดแล้วพอมีตัณหาความอยากหรือไม่อยากเกิดขึ้นก็จักดําเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทไปยังวงจรเล็กเล็กที่กําลังเคลื่อนไหวอยู่อย่างรวดเร็ว จนสังเกตุแทบไม่เห็น (คลิกดูวงจรเล็ก อันคือวงจรของอุปาทานขันธ์๕ที่กําลังเคลื่อนไหวเกิดๆดับๆ), เมื่อเกิดขึ้นดังนี้ก็ต้องปฏิบัติตามขั้นต้นเช่นกัน และหยุดหรือตัดความคิดนึกปรุงแต่งให้ได้ แต่ต้องรับผลของทุกข์บ้าง          พระอานนท์ ____________ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ก็จะควรเรียกว่า   ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทด้วยเหตุอันใด ฯ พระพุทธเจ้า ____________ ดูกรอานนท์   ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ทรงแสดงธรรมอิทัปปัจจยตา เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี   เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น   เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี   เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบอนุโลม เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร (การพิจารณาการเกิดของทุกข์เป็นลําดับขั้น) เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ   เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป   เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ   เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ   เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา   เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา   เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน   เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ   เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ   เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส   อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบปฎิโลม แต่เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือ จึงดับสังขารได้ (พิจารณาการดับของทุกข์เป็นลําดับขั้น) เพราะสังขารดับ จึงดับวิญญาณได้   เพราะวิญญาณดับ จึงดับนามรูปได้   เพราะนามรูปดับ จึงดับสฬายตนะได้   เพราะสฬายตนะดับ จึงดับผัสสะได้   เพราะผัสสะดับ จึงดับเวทนาได้   เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้   เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปาทานได้   เพราะอุปาทานดับ จึงดับภพได้   เพราะภพดับ จึงดับชาติได้   เพราะชาติดับ จึงดับชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ได้   อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้   ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล   จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท   (พระสุตตันตปิฎก เล่ม๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อ๒๔๔ หน้า๑๖๔)    มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้       มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ว่าเป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่าย  เพราะมีเรื่องที่พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระองค์  และพระองค์ได้ตรัสตอบ มีความดังนี้       "น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลยพระเจ้าข้า  หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง  แต่ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ"       "อย่ากล่าวอย่างนั้น  อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์  ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง  เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง..........ฯลฯ." (ที่มา สํ.นิ. ๑๖/๒๒๔-๕/๑๑๐-๑) (พุทธธรรม หน้า๘๐ )     ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม ปฏิจจสมุปบาท และ นิพพาน (บาลี ม.ม. ๑๓/๔๖๑/๕๐๙  แก่โพธิราชกุมาร) จากหนังสือ "พุทธประวัติจากพระโอษฐ์"   หน้าที่ ๑๙๐ แปลโดย ท่านพุทธทาสภิกขุ          ราชกุมาร !   ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า    ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมอันลึก   สัตว์อื่นเห็นได้ยาก   ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม, เป็นธรรมระงับและประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายๆแห่งความตรึก    เป็นของละเอียด   เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต,    ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี   ยินดีแล้วในอาลัย   เพลิดเพลินแล้วในอาลัย,       สําหรับสัตว์ผู้มีอาลัยแล้วเป็นที่ยินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น. ยากนักที่จะเห็นปฏิจจสมุปบาท(คือมีอาลัย)อันมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย, ยากนักที่จะเห็นธรรม(อัน)เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง(นี้), คือธรรมอันถอนอุปธิทั้งสิ้น  ความสิ้นตัณหา ความคลายกําหนัด   ความดับไม่เหลือ และนิพพาน. หากเราพึงแสดงธรรมแล้ว สัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง(ไม่เข้าใจ)    ข้อนั้นจักเป็นการเหนื่อยเปล่าแก่เรา.          โอ,   ราชกุมาร !  คาถาอันอัศจรรย์เหล่านี้ ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน   ได้ปรากฎแจ่มแจ้งแก่เราว่า          "กาลนี้   ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก. ธรรมนี้สัตว์ที่ถูกราคะโทสะรวบรัดแล้ว   ไม่รู้ได้โดยง่ายเลย. สัตว์ที่กําหนัดด้วยราคะ   ถูกกลุ่มมืดห่อหุ้มแล้ว   จักไม่เห็นธรรมอันให้ถึงที่ทวนกระแส อันเป็นธรรมละเอียดลึกซึ้งเห็นได้ยากเป็นอณู."  ดังนี้.          ราชกุมาร !  เมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้,   จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม. จบ แล้วต่อด้วยบท พรหมอาราธนา อันกล่าวถึงพระพรหมได้อาราธนาให้แสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์ ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า ทรงพิจารณาสรรพสัตว์ทั้งหลายดุจดอกบัว อันมีบางเหล่าสามารถงอกงามบานสะพรั่งได้ จึงได้ตัดสินพระทัยแสดงธรรมที่ทรงตรัสรู้ หาอ่านได้ในหนังสือ "พุทธประวัติจากพระโอษฐ์" แปลโดยท่าน พุทธทาสภิกขุ         วิปัสสนูปกิเลส หรืออุปกิเลส๑๐แห่งวิปัสสนา(สิ่งที่ทําให้ใจขุ่นมัวทําให้รับคุณธรรมได้ยาก) คือกิเลสที่เกิดขึ้นจากการวิปัสสนา ถือว่าเป็นกิเลสชนิดเคยชิน(เหมือนดังอุปนิสัย-นิสัยที่เคยชิน) ทําให้ติดได้อย่างเหนียวแน่น และยาวนานชนิดข้ามภพข้ามชาติ ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงญาณหรือความเข้าใจยังไม่พร้อมบริบูรณ์ แต่ถ้าไม่รู้หรือไม่แก้ไขแล้วก็จักติดอยู่ที่นี่ทําให้ไม่สามารถเข้าไปถึงขั้นปัญญา(สัมมาญาณ)อย่างแท้จริงได้ ตลอดจนอาจส่งผลร้ายทางด้านอื่นๆ ทั้งทางจิตและทางกายตามมา มีกล่าวถึงวิปัสสนูปกิเลสในหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม" บันทึกโดยพระโพธินันทะมุนี หน้า๑๑๙ ความว่า         "เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้ มีอิทธิและอํานาจ จะทําให้เกิดความน้อมใจเชื่ออย่างรุนแรงโดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสําคัญผิด ซึ่งเป็นการสําคัญผิดอย่างสนิทสนมแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตนเองอยู่เงียบๆ บางคนถึงสําคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซํ้า บางรายสําคัญผิดอย่างมีจิตกําเริบยโสโอหัง หรือถึงขนาดที่เรียกกันว่าเป็นบ้าวิกลจริตก็มี "                  วิปัสสนูปกิเลส หรือ อุปกิเลส๑๐ นี้  ดูหัวข้อ ดูสภาพดูชื่อ ดูน่าชื่นชม  แต่หมายถึงการปฏิบัติแบบผิดๆ ที่เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทําให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า ตนประสพความสําเร็จ หรือบรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว จึงเกิดการหลงผิด   จึงไม่ดําเนินก้าวหน้าต่อไปใน "วิปัสสนาญาณ"         อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา อันมี ๑๐  มีดั่งนี้         ๑. โอภาส หรือแสงสว่างต่างๆ เห็นแสงสว่างรอบๆสิ่งหนึ่งสิ่งใดเช่นพระพุทธรูปที่เป็นกสิณ หรือเห็นเจิดจ้าสว่างไสวไปทั่ว หรือแสงออกจากร่างกายตน หรือภาพนิมิตต่างๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มักเกิดเป็นอาการปกติธรรมชาติของจิตในการปฏิบัติ แต่ทําให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ ตื่นตา ตื่นใจ ไม่เคยประสบมาก่อน เลยไปยึดมั่นพึงพอใจ ทําให้ติดอยู่ในวังวนของความตื่นตาตื่นใจ และความคิดนึกปรุงแต่งไปทางอิทธิฤทธิ์โดยไม่รู้ตัว         ๒. ปิติ ความอิ่มเอิบซาบซ่านใจอันได้จากการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ ปีติมีอยู่หลายประเภทซึ่งก่อให้เกิดความพิศวง พึงพอใจ หรือลุ่มหลง แปลกใจ ทําให้หลงใหลอยู่ในอาการสังขารขันธ์นี้ว่าเป็นของดีของวิเศษ โดยลืมหรือไม่รู้ว่าเป็นธรรมชาติธรรมดาๆอันพึงเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกต้องทั่วๆไปเหมือนกันหมด,  อย่าไปยึดไปอยาก เป็นแค่ทางผ่านของสมาธิ  (ดู ติดปิติ,สุข ในฌาน)         ๓. ญาณ ความรู้ มีความรู้สึกว่าตนเองเข้าใจสิ่งต่างๆหรือข้อธรรมดีแล้ว ถูกต้องแล้ว ทําให้หยุดการพิจารณาที่พาไปสู่จุดหมาย ตลอดจนทําให้เกิดทิฏฐิไม่รับฟังผู้อื่นที่อาจแนะนําข้อผิดพลาดได้เพราะคิดและเข้าใจว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้ว, ทําให้การพัฒนาในธรรมต้องหยุดชงักโดยไม่รู้ตัว หรือผิดแนวทางและจุดมุ่งหมายอันคือนิโรธ         ๔. ปัสสัทธิ มีความรู้สึกสงบกาย สงบใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย ทําให้หยุดการพัฒนาเพราะคิดว่า สงบกาย สงบใจดีแล้ว พอใจแล้ว พอพ้นทุกข์แล้ว มีปัญญาแค่นี้ ทําให้ตัดทอนโอกาสอันดีงามในการก้าวต่อไปข้างหน้า เกิดการหยุดชงักงัน ไม่พัฒนาต่อไป จมแช่อยู่ในความสงบ ซึ่งในบางครั้งเกิดจากการจดจ้อง จดจ่อ หรือหมกมุ่นในกายของตนเองจนไม่สังเกตุรู้สภาวะรอบข้างใดๆอย่างขาดสติ หรือเกิดจากผลของสมาธิอันไม่เที่ยง ซึ่งมีการแปรปรวนเป็นธรรมดา กดข่มหรือครอบงําโดยไม่รู้ตัว         ๕. สุข มีความรู้สึกเป็นสุข ทั้งทางใจและทางกาย อิ่มเอิบซาบซ่าน เช่นอิ่มใจ เย็นซ่านเบาๆไปทั่วร่างล้วนแต่เป็นผลจากสมถะสมาธิ และสารคัดหลั่ง แต่ไปยึดความพึงพอใจในสุขจากณานนี้ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเพราะความไม่รู้ ทําให้ก่อเกิดโทษต่างๆตามมา อันเป็นผลเสีย ทําให้การปฏิบัติธรรมต้องหยุดชงักงันเพราะหลงติดโดยไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้   (ติดปิติ,สุข ในฌาน)         ๖. อธิโมกข์ ศรัทธา หรือน้อมใจเชื่อ เนื่องจากประสบผลสําเร็จบางส่วนในการปฏิบัติทําให้เลื่อมใสในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และครูบาอาจารย์อย่างแรงกล้า แต่อย่างผิดๆคืออย่างงมงาย เช่น อยากสร้างโบสถ์วิหารใหญ่เกินตัว อยากให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติบ้างเหมือนตน  อยากทําบุญทําทานต่างๆเกินฐานะ ทําบุญสะเดาะเคราะห์กรรมต่างๆ  น้อมเชื่อโดยขาดการพิจารณา  ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในลักษณะของสีลัพพตุปาทานคืออุปาทานชนิดยึดมั่นพึงพอใจในความคิดความเชื่อของตน แบบผิดๆหรืองมงาย         ๗. ปัคคาหะ ความเพียร เพียรมากจนเกินเหตุชนิดมุทะลุ เกินพอดีจนตึงเครียดต่อการปฏิบัติเนื่องจากปฏิบัติผิดวิธี หรือมีความเข้าใจแล้วต้องการให้บรรลุหรือสมประสงค์โดยไวโดยอาศัยความเพียรทําให้เกินพอดีหรือสายกลาง ทําให้เกิดอาการต่างๆทั้งทางจิต และกาย         ๘. อุปัฏฐานะ สติ  สติมากเกินไปเนื่องจากการจดจ้อง หรือต่อเนื่อง ทําให้สติล้าหรือตึงเครียดมักเกิดจากการพิจารณาหรือวิปัสสนา หรือ ฝึกสติอย่างเคร่งเครียดและผิดวิธี         ๙. อุเบกขา การวางเฉย รู้สึกเฉยๆ แต่ลักษณะเฉื่อยชา ใจลอย ไม่ยินดียินร้าย ไม่นิ่มนวลควรแก่การใช้งาน ขาดความเป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน   แล้วไปเข้าใจว่าเป็นอุเบกขาใจเป็นกลาง ที่ถูกต้องคือรู้เห็นตามความเป็นจริงในคุณโทษของสภาวะธรรมนั้นๆ แล้ววางใจเป็นกลางอุเบกขา โดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย,ดีหรือชั่ว  แต่เป็นอุเบกขาที่เกิดจากการกดข่มในสภาพไม่รู้ตัวและผลของการปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนาผิดวิธี         ๑๐. นิกันติ ความใคร่ความพอใจในการปฏิบัติต่างๆที่ผ่านมา พอใจในปีติ สุข ในผลในความเบาสบายและความสว่าง แสงสีต่างๆ บุญกุศล ตลอดจนพอใจในนิมิตหรือปาฏิหาริย์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือคิดขึ้นภายใต้อํานาจของสมถะที่ปฏิบัติและสารคัดหลั่งบางตัวเช่น เอนดอร์ฟินที่มากเกินขนาดจากการไปติดแช่อยู่ในสุขเป็นระยะเวลานานๆโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี  ทําให้เกิดผลร้ายต่อการปฏิบัติอย่างรุนแรง         นักปฏิบัติใหม่ ที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติจึงควรมีความเข้าใจในสมาธิอย่างถูกต้อง ต้องรู้ว่าเมื่อปฏิบัติไปถูกต้องแล้วจักมีอาการขององค์ฌาน หรือสมาธิเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ต้องมีความเข้าใจอย่างแน่วแน่ว่านั่น เป็นอาการของจิตตามธรรมชาติธรรมดาๆ อันต้องเป็นเช่นนั้นเอง อย่าได้ไปหลงแสง สี เสียง ตลอดจนความรู้สึกใดๆ เป็นเพียงทางผ่านเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าในวิปัสสนาญาณเท่านั้น         วิปัสสนูปกิเลสนี้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา แต่เกิดติดขัดไม่ก้าวหน้าต่อไปจนเกิดผลร้ายแรงได้ก็เพราะอุปกิเลสทั้ง๑๐แห่งวิปัสสนานี้ เอง         วิปัสสนูปกิเลสนี้ จึงจักไม่บังเกิดแก่บุคคล ๔ จําพวก อันมี         ๑. ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาผิดวิธี (ที่เกิดขึ้นแสดงว่าปฏิบัติมาได้บ้างแล้ว แต่เจออุปสรรคไม่สามารถก้าวต่อไปได้และอาจให้โทษร้ายแรง)         ๒. ผู้ปฏิบัติที่เกียจคร้าน         ๓. ผู้ปฏิบัติที่ทอดทิ้งการปฏิบัติ (บางคนคิดว่าทอดทิ้งแล้วเพื่อแก้ไข แต่มักไม่รู้ว่าเลื่อนไหลไปเองตามธรรมชาติของจิตอันคือสังขารในปฏิจจสมุปบาท)         ๔. พระอริยบุคคล                      (วิสุทธิมรรค มัคคามัคคญาณทัศนวิสุทธินิเทศ)         ผลของอุปกิเลสนี้อาจเป็นข้อใดข้อหนึ่ง แต่มักเกิดหลายๆข้อ และบางข้อเมื่อเป็นแล้วก็ส่งผลให้เกิดอุปกิเลสในข้ออื่นๆด้วย อย่างผู้เขียนเคยเป็นครบทุกข้อ หมั่นตรวจสอบตนเองเป็นครั้งคราวโดยต้องเห็นตามความเป็นจริง ยอมรับตามความเป็นจริงเพราะโดยปกตินั้นเราโกหกหรือหลอกลวงไม่ยอมรับตามความเป็นจริงแม้กระทั่งตัวตนเอง(ทิฎฐุปาทาน) โดยการเลี่ยงไปไม่คิดให้เห็นตามความเป็นจริงบ้าง เพราะสติยังไม่แก่กล้าพอบ้าง   หมั่นสังเกตุว่ามีวิปัสสนูปกิเลสใดเกิดขึ้น และเพียรพยายามแก้ไขเสียแต่ต้นๆมือ หรือปรึกษาผู้รู้ ก่อนที่จะสายเกินแก้หรือติดปลักอยู่กับสิ่งไร้สาระนี้ เป็นเวลานานๆ อันทําใจให้เศร้าหมองในที่สุด และทําให้รับคุณธรรมได้ยาก ตลอดจนส่งผลร้ายอย่างรุนแรงต่อกายและจิตของผู้ปฏิบัติเอง ตลอดจนบุคคลรอบข้างอันเป็นที่รัก         ผู้เขียนขอเน้นวิปัสสนูปกิเลสนี้ ในหัวข้อทั้ง๑๐ ชื่อฟังดูเป็นหลักธรรมสําคัญยิ่ง อันน่าปฏิบัติแต่เป็นไปอย่างผิดหรือผิดวิธี ผู้เขียนมีความรู้จากการอ่านในเรื่องนี้มาเป็นปีก่อนเข้าใจในธรรมบ้าง และก็ได้พิจารณาตนเองในอุปกิเลส๑๐นี้ แต่กลับมองไม่พบ หรือคิดว่าน้อยมากจนไม่ต้องใส่ใจ เพราะไม่ได้วางใจเป็นกลาง กาลต่อมาเมื่อเข้าใจในธรรมดีขึ้น แล้วย้อนมองระลึกขันธ์ที่เคยเกิดเคยเป็น จึงรู้ตัวว่าผู้เขียนหลงอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสอย่างโง่งม          ต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้รู้จักแล้ว ยังต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและที่สําคัญที่สุดคือใจเป็นกลางตามความเป็นจริง(อุเบกขาในสัมโพชน์ฌงค์๗, ไม่ใช่อุเบกขาในวิปัสสนูปกิเลส) โดยไม่ถูกครอบงําโดย "ทิฏฐุปาทาน" ในความเชื่อ, ความเข้าใจ หรือทฤษฎีของตน  แล้วพิจารณา เพื่อจักได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติ อันส่งผลร้ายแรงแก่นักปฏิบัติเอง   ผู้เขียนขอกราบอารธนาคําสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ในเรื่องอุปกิเลส๑๐  จากหนังสือโมกขุบายวิธี โทษของอุปกิเลส ๑๐          ลักษณะอาการและการละกิเลส เป็นต้น ของฌานและสมาธิ ผิดกันดังแสดงมา ฌานมีความน้อมเชื่อมาก วิริยะและปีติแรง กำลังใจกล้า โลดโผนทุกๆ อย่าง สรุปแล้ว เมื่อจิตน้อมไปตามอารมณ์ของฌาน ถ้าผู้ติดฌานหลงฌานอย่างหนักหน่วงแล้ว จิตของตนแทบจะไม่เป็นตัวของตัวเองเสียเลยก็ว่าได้ ที่จริงฌานเมื่อเกิดขึ้นเป็นของน่าตื่นเต้น ผู้ฝึกหัดใหม่จึงชอบนัก แต่ฌานเป็นของได้ง่ายพลันหาย เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของโลกธรรม๘ ส่วนสมาธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นไปอย่างเรียบๆ เพราะมีสติรอบคอบตามภูมิของตน และยึดเอาไตรลักษณะเป็นอารมณ์ ไม่หลงลืมตัว ค่อยได้ค่อยเป็นไปละเอียดลงโดยลำดับ ได้แล้วไม่ค่อยเสื่อมเป็นโลกุตตรธรรม บางคนจะไม่รู้สึกตื่นเต้นในเมื่อตนได้สมาธิ เพราะไม่ได้คำนึงถึงอาการที่ตนได้มี แต่ตั้งหน้าจะทำสมาธินั้นให้มั่นและละเอียดถ่ายเดียว ฌานเป็นของน่าสนุกสนาน มีเครื่องเล่นมาก มีเรื่องแปลกๆ ทำให้ผู้ไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงหลงติดจมอยู่ในฌาน อาการที่จิตหลงติดจมอยู่นั้นคือโทษ ของอุปกิเลส ๑๐ พึงสังเกตต่อไป          โอภาส แสงสว่างย่อมปรากฏในมโนทวารวิถี ขณะเมื่อจิตเข้าถึงฌาน (ภวังค์) เมื่อจิตน้อมเชื่อไปตามแสงสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ขยายวงกว้างออกไป มีอาการแปลกๆ ต่างๆ เหลือที่จะพรรณา          ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ บางทีจนกำหนดตามไม่ทัน ไม่ทราบว่ารู้อะไรบ้าง ทั้งสิ่งที่เคยรู้เคยเห็น ทั้งสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น มิใช่รู้อยู่กับสิ่งที่รู้ ยังสอดส่ายไปตามอาการตลอดถึงคนอื่น สัตว์อื่น ทีแรกจริงบ้างไม่จริงบ้าง นานๆ เข้าก็เหลว          ปีติ ทำให้อิ่มใจจนลืมตัว          ปัสสัทธิ ทำให้สงบจากอารมณ์ภายนอก กลับเข้ามายุ่งอยู่กับอารมณ์ภายในจนไม่เป็นอันกินอันนอน เมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า ธาตุย่อมกำเริบ จิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ          สุข ทำให้สบายอยู่ด้วยอาการทั้งหลายดังกล่าวมา ถึงกับไม่ต้องรับประทานข้าวน้ำก็มี          อธิโมกข์ ทำให้เกิดจิตน้อมเชื่อไปในนิมิตและแสงสว่าง ความรู้มีมากเท่าไร อุปกิเลสทั้ง ๑๐ ก็ยิ่งมีกำลังรุนแรงทวีขึ้น          ปัคคาหะ ทำให้เพียรกล้าไม่หยุดหย่อนท้อถอย มีญาณความรู้คอยกระซิบตักเตือนให้ทำอยู่เสมอ          อุปัฏฐาน ช่วยให้สติแข็งแกร่งอยู่เฉพาะในอารมณ์นั้น แต่ขาดสัมปชัญญะ ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร          ถ้าอุปกิเลสทั้ง ๘ ตัวดังกล่าวมาหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งยังเกิดมีอยู่ อุเบกขาก็จะไม่เกิด ถ้าทั้ง ๘ นั้นสงบลงแม้ชั่วขณะหนึ่ง อุเบกขา และ นิกันติ จึงจะเกิดขึ้น          อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ มุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้วก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก เมื่อมีเรื่องวิปลาสเกิดขึ้นเช่นนั้น ผู้รู้เท่าและเคยผ่านมาแล้วจึงจะแก้ได้ วิธีแก้วิปลาส          อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้นสำหรับนิสัยของบางคน แต่บางคนก็ไม่มีเลย ถ้ามันเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติดังต่อไปนี้          ๑. เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่เป็นอุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา และอุปกิเลสนี้เกิดจากฌานหาใช่อริยมรรคไม่ ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ แปดข้อเบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตามด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน ฌานก็เป็นโลกิยะ อุปกิเลสก็เป็นโลกิยะ โลกิยะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าแก้อย่างนั้นด้วยตนเองไม่ได้ผล คนอื่นช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้เป็นหลงเข้าไปยึดมั่นสำคัญเอาเป็นจริงเป็นจังเสียแล้ว บางทีจนทำให้ซึมเซ่อมึนงงไปหมดก็ดี จึงควรใช้วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย          ๒. เมื่อรู้เท่าทันและเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว จงคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์ หรือไม่เคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้ว ก็ยากที่จะแก้เขาได้ ฉะนั้น จึงควรใช้ ...          วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย คือใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดเอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำความเข้าใจกันใหม่ วิธีสุดท้ายนี้ โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ          ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก............ .........ผู้ปฏิบัติพึงระลึกเสมอว่า ภพกายหลงง่ายละยาก ภพจิตหลงยากละยาก นิมิตและญาณที่เกิดแต่ฌานก็หลงง่ายละยาก แต่ที่เกิดแต่สมาธิหลงยากละง่าย เพราะเกิดแต่สมาธิเป็นอุบายของปัญญาเพื่อให้ละถอนอุปธิเข้าถึงสารธรรมโดยตรง.   ข้อคิด "ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ นั้นเป็นสภาวะธรรมยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี "อุปาทานทุกข์" จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ "อุปาทานทุกข์ "นี้นั่นเอง แต่ไม่รู้จึงจําแนกไม่ออก                            ไปอ่านติดสุขในฌานและวิธีแก้ไข   แนะนํา วิธีเจริญจิตภาวนา ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่ Website: http://www.geocities.com/pudule/dharma1.htm คลิกที่นี่เพื่อบันทึกหน้าวิธีเจริญจิตภาวนา ไว้ใน แฟ้มFavorites หรือ ในหนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม (หน้า๔๑๕)  ผู้เขียน-อันเป็นแนวทางเจริญสติและสัมมาสมาธิ ให้เห็นความคิดนึกปรุงแต่งอย่างถูกต้อง     มีพุทธพจน์ ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท   ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม  ผู้ใดเห็นธรรม   ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท" มชฺฌิมนิกาย มูลปณฺณาสก ๑๒/๓๔๖/๓๕๙                                                                                                         ไป ปฏิจจสมุปบาท๒ กระบวนการดับไปแห่งทุกข์   มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้  ว่าเป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่าย   เพราะมีเรื่องที่พระอานนท์   เข้าไปกราบทูลพระองค์   และพระองค์ได้ตรัสตอบ  มีความดังนี้ "น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลย  พระเจ้าข้า, หลักปฏิจจสมุปบาทนี้   ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง  แต่ก็ยังปรากฏแก่ ข้าพระองค์ เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ" "อย่ากล่าวอย่างนั้น   อย่ากล่าวอย่างนั้น  อานนท์,  ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมอันลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง    เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้น ด้ายที่ขอดกันยุ่ง.....ฯลฯ." (ที่มา สํ.นิ. ๑๖/๒๒๔-๕/๑๑๐-๑) (พุทธธรรม หน้า๘๐ ) ปฏิจฺจสมุปฺบาท  กระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์    อันเกิดแต่ "เหตุปัจจัย" อันเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน สืบต่อกันเป็นวงจรของทุกข์    เมื่อเหตุปัจจัยอันใดอันหนึ่งนั้นดับ, ผลอันคือทุกข์ก็ต้องดับไปด้วย  ตามหลัก"อิทัปปัจจยตา"    ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมอันลึกซึ้งที่เปิดเผยกระบวนการจิตของมวลมนุษย์, คุณประโยชน์    มิใช่อยู่ที่การจดจําวงจรที่เป็นเหตุปัจจัยได้    แต่จักต้องพิจารณาให้เข้าใจถึงใจ    ถึงกระบวนการทํางานของจิตอันยังผลให้เกิดทุกข์     จึงจักเกิดประโยชน์    อันสูงสุด  เห็นการเกิด-ดับของทุกข์จากเหตุปัจจัยใดๆชัดแจ้ง, เห็น    อริยสัจ อันมีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค,  เข้าใจพระไตรลักษณ์    สติปัฎฐาน ๔ ได้จริงๆ   เพราะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว      ตลอดจนใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความทุกข์      ได้อย่างมหาศาล เกินความคาดคิด,  บางครั้ง      บางทีจึงมีการเรียกขานกันว่า อริยสัจใหญ่    วงจรปฏิจจสมุปบาท   อวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงของธรรม,ไม่รู้แจ้ง ในอริยะสัจ๔ และ ปฏิจจสมุปบาท เป็นปัจจัยจึงมี  สังขาร สังขารการกระทําทาง กาย,วาจา,ใจ(คิด) ตามที่ได้เคยสั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติไว้แต่อดีต เป็นปัจจัยจึงมี  วิญญาณ วิญญาณ กระบวนการรับรู้สังขารที่เกิดขึ้นนั้น เป็นปัจจัยจึงมี  นาม-รูป นาม-รูป เมื่อวิญญาณเกิด,ทำให้นาม-รูปที่มีอยู่แล้ว ครบองค์ เกิดการเริ่มทำงานตามหน้าที่แห่งตน เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ สฬายตนะ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ ทำงานตามนาม-รูปที่ครบองค์ประกอบและตื่นตัว เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ ผัสสะ การประจวบกันของสฬายตนะ(อายตนะภายใน) & สังขาร(อายตนะภายใน) & วิญญาณ ทั้ง๓ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา เวทนา การเสวยอารมณ์หรือความรู้สึก- สุขเวทนา,ทุกขเวทนา, อทุกขมสุข เช่นสบาย ไม่สบาย เฉยๆ เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา ตัณหา กามตัณหาในรูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส, ภวตัณหา-ความอยาก, วิภวตัณหา-ความไม่อยาก เป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตน,ของตน เป็นหลักสูงสุด เป็นปัจจัยจึงมี ภพ ภพ สภาวะ,บทบาทที่ตกลงใจเลือกแสดงตามอิทธิพลของการได้รับการตอบสนองเยี่ยงไรจากอุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมี ชาติ ชาติอันคือความเกิดขึ้นของอุปาทานทุกข์ ตามภพหรือสภาวะ,บทบาทที่ตกลงใจเลือกนั้น  เป็นปัจจัยจึงมี  ชรา-มรณะ พร้อมทั้งอาสวะกิเลส, ชราความเสื่อมแปรปรวน และมรณะการดับไปของทุกข์นั้น และย่อมเกิดอาสวะกิเลสอันมี            โสกะ-ความเศร้าใจ, แห้งใจ            ปริเทวะ-ครํ่าครวญ รํ่าไร รําพัน อาลัย            ทุกข์-ทุกข์กาย ทุกข์อันเกิดแต่กาย            โทมนัส-ทุกข์ใจ, ไม่ได้ดังใจ ทุกอันเกิดแต่ใจ            อุปายาส-ขุ่นข้อง คับแค้น เคืองใจ อันจักต้องเกิดร่วมด้วยทุกครั้งทุกที  >>>  อันไปเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาขึ้นใหม่อีก เป็นวงจักรแห่งสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดในภพชาติตั้งแต่ปัจจุบันชาติ.             เหล่านี้คืออาสวะกิเลสหรือกิเลสหมักหมมที่นอนเนื่องซึมซ่าน ย้อมจิต ซึ่งเกิดร่วมมาด้วยกับชรา-มรณะทุกครั้ง ซึ่งจักทำให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมอง ไปเป็นปัจจัยที่ กระตุ้น เร่งเร้า เป็นรากเหง้า หรือเชื้อทุกข์ให้เกิด อวิชชา >>> สังขาร คิด,พูด,กระทำ ตามที่ได้เคยสั่งสม อบรมไว้ขึ้นใหม่ >>> ......เป็นวงจรใหม่ของทุกข์ เกิดหมุนเวียนต่อเนื่อง   ลักษณะอาการเช่นบางขณะอารมณ์โกรธเกิดขึ้นรุนแรงพักหนึ่งเรื่องที่โกรธ(เหตุ)ก็เกือบดับไปแล้ว  แต่อารมณ์ยังขุ่นมัว กรุ่นๆ หงุดหงิด ฟุ้งซ่านรำคาญใจกินเวลาอีกนาน (ยังมีอาการออกมาใหัรู้เพราะทุกข์ยังไม่ดับสนิทคือ ยังเกิดทุกข์อุปาทานขันธ์๕ เกิดๆดับๆใน ชาติ-ชรามรณะอยู่อย่างแปรปรวน)   เวลาผ่านไปจนทุกข์นั้นดับแล้ว จิตราบเรียบไม่ทุกข์ในเรื่องนั้นแล้ว แต่เมื่อมีใครพูดถึงคือเข้าทางสฬายตนะ(หู)   หรือเกิดสังขารคิดคือนึกตามที่สั่งสมไว้ขึ้นมาในเรื่องดังกล่าว ทุกข์เรื่องนั้นเกิดขึ้นใหม่อีกทันที เหตุเพราะอาสวะกิเลสที่นอนเนื่องในจิตอันคือ โสกะ-หดหู่ใจ เสียใจ, ปริเทวะ-คร่ำครวญ โหยหา อาลัย, ทุกข์-ทุกข์ทางกาย, โทมนัส- ทุกข์ใจ ทุกข์อันเกิดแก่ใจ, อุปายาส - ขุ่นข้อง คับแค้นใจ จักกระตุ้นให้อวิชชาทำงานทันทีเป็นวงจรใหม่ของทุกข์,   อาสวะกิเลสเป็นกิเลสที่ละเอียดมากแทบไม่รู้ตัวว่ามีอยู่ กำจัดได้ยากต้องใช้ อาสวักขยญาณเป็นญาณหรือปัญญาญาณหรือความรู้ความเข้าใจที่เกิดในขั้นสุดท้ายเท่านั้น ที่จักกำจัดอาสวะกิเลสเป็นการสิ้นไปอย่างถาวร         ข้อสังเกต จากปฏิจจสมุปบาทนี้ จะเห็นได้ว่า ทุกครั้งทุกทีที่มีทุกข์และสุขทางโลกๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จะมีอาสวะกิเลสเกิดขึ้นร่วมด้วยทุกครั้ง หมายความว่าในทุกขณะจิตที่ยังมีทุกข์เกิดๆดับๆอยู่   อาสวะกิเลสมีแต่สะสม หมักดอง นอนเนื่อง ซึมซ่าน ย้อมจิต เพิ่มขึ้นตลอดเวลา   คําอธิบาย วัฏฏะหรือวงจรปฏิจฺจสมุปฺบาท          ปฏิจจสมุปบาทเป็น"ปฎิจจสมุปบันธรรม" อันคือธรรมหรือสิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมเป็นปัจจัยแก่กันและกัน(จึงเกิดขึ้นชั่วระยะหนึ่ง),  ปัจจัยในปฏิจจสมุปบาทหมายถึง เหตุสิ่งจําเป็นที่ต้องมีเพื่อยังให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง,  อุปมาดั่งเมล็ดพืชจําเป็นต้องมีดินและนํ้าเป็นปัจจัยในการงอกขึ้นเป็นต้นฉันใด   เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายเปรียบได้ดั่งเมล็ดพืช อันจําต้องอาศัยปัจจัยต่างๆในปฏิจจสมุปบาทซึ่งเปรียบได้ดังดินและนํ้าเป็นปัจจัยให้เติบโตเป็นความทุกข์ จึงจะเกิดขึ้นได้ ฉันนั้น,   เมื่อเมล็ดพืชขาดปัจจัยคือดินและนํ้าย่อมงอกเป็นต้นไม่ได้  เหตุแห่งทุกข์ก็เช่นกัน ทําให้เหตุแห่งทุกข์นั้นแม้มีอยู่ แต่ไม่สามารถเติบโตเป็นความทุกข์จริงๆได้(อุปาทานทุกข์)  เป็นไปดังคํากล่าวของพระอริยะเจ้า เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์ หรือ เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ทําอะไรใจไม่ได้ ขณะอ่าน ต้องการดูวงจรปฏิจจสมุปบาทประกอบการพิจารณาให้คลิ๊กที่     อันมีอยู่เป็นระยะๆ กรุณาอ่านแบบพิจารณาหลายๆสิบครั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และคิดพิจารณาไล่ลําดับกระบวนจิตไปด้วย จึงจักเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง การอ่านของปุถุชนครั้งเดียวแล้วเข้าใจ เป็นไปได้แบบทางโลกๆเท่านั้น อันจักมิสามารถจักหยั่งลงสู่แก่นของธรรมได้จริงๆ. การทํางานของจิตตามวงจรปฏิจจสมุปบาทมีดังนี้         ๑. อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขาร - เนื่องเพราะอาสวะกิเลสที่หมักหมมและนอนเนื่องอยู่ในจิตอันเกิดมาจากความทุกข์อันทําให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมอง  และเพราะอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งเหตุปัจจัยอันเป็นสภาวะธรรมหรือธรรมชาติของทุกข์และการดับทุกข์ อันครอบคลุมถึงความไม่รู้เท่าทันอาสวะกิเลสด้วย,  อันเป็นความไม่รู้แจ้ง ไม่แทงตลอดใน อวิชชา๘ อันมี อริยสัจ๔ และ ปฏิจจสมุปบาท  จึงเกิดมีสังขารอันคือสิ่งปรุงแต่งต่างๆนาๆขึ้น อวิชชา๘ อันมี         ๑.ทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้รู้ และให้ดับสนิทหมายถึงทุกข์อุปาทานหรืออุปาทานขันธ์๕, และสติรู้เท่าทันทุกข์อุปาทานที่เกิดนั้น         ๒.สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มาจาก ตัณหา ๓ (กามตัณหา-อยากในกามหรือในทางโลกๆ, ภวตัณหา-ความอยาก, วิภวตัณหา-ความไม่อยาก,อยากดับสูญ) อันจักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์         ๓.นิโรธ เป็นเช่นใด ไม่เคยสัมผัส หรือไม่เข้าใจสภาวะนิโรธอันว่างจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อันล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กันอันยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ ทําให้ไม่ทราบว่าดับทุกข์ได้แล้ว จักเป็นสุขสงบ หรือสงบเย็น เยี่ยงใด?   คุ้มค่าให้ปฏิบัติไหม?   มีจริงหรือเปล่า?   เข้าใจผิดจับสภาวะผลของสมาธิหรือฌานเป็นสภาวะนิโรธ?  ทําให้จริงๆแล้วยังคงมีความสงสัยอยู่ลึกๆในจิต(วิจิกิจฉา)         ๔.มรรค ควรปฏิบัติอย่างไร?   ศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจ ปฏิบัติไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน?   วิธีใด?  ของใครถูกแน่?         ๕.ความไม่รู้อดีต การไม่รู้ระลึกที่เคยเกิดเคยเป็น กล่าวคือไม่รู้ไม่เข้าใจขันธ์๕ที่เคยเกิดๆดับๆ อันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์นั้นเกิดจากอะไร?         ๖.ความไม่รู้อนาคต ไม่รู้การจุติ อุบัติ(การดับและเกิด)ของขันธ์ทั้ง๕ว่าเป็นไปตามกรรมคือตามการกระทําที่มีเจตนาทั้งสิ้น และความทุกข์ในภายหน้านั้นก็จะเกิดแต่กรรมการกระทําอันจักยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕เช่นเดิม  หรือเกิดความทุกข์ขึ้นเฉกเช่นเดียวกับอดีตเพราะความไม่รู้จึงมิได้แก้ไข         ๗.ความไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต         ๘.ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท  ไม่ทราบ, ไม่รู้กระบวนการเกิดและการดับของทุกข์  และการเกิดอาสวะกิเลส  ตลอดจนตัณหาและอุปาทานที่แอบซ่อนนอนเนื่องอยู่ในจิตหรือในอวิชชา  เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจจึงไม่สามารถดับทุกข์ได้อย่างเข้าใจและถูกต้องตามจริง         เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น และไม่เข้าใจ(อวิชชา) จึงไม่มีการแก้ไข จิตย่อมถูกครอบงําโดยอาสวะกิเลส จึงเป็นปัจจัยไป กระตุ้น เร่งเร้า ส่งเสริมให้เกิดสังขารอันหมายถึงสิ่งปรุงแต่ง อันคือการกระทําทางมโนสังขาร(จิตสังขารหรือคิด), วจีสังขาร(ทางวาจา), กายสังขาร(ทางการกระทําทางกาย)ทั้ง๓ ตามความเคยชินที่ได้เคยสั่งสม อบรม หรือเคยประพฤติ, ปฏิบัติไว้แล้วแต่อดีต จึงเกิดเป็นการกระทํา(กรรม)ต่างๆขึ้น เช่น การกระทําทางใจ-ความคิดต่างๆ, การกระทําทางวาจา-พูดจาต่างๆ, กระทําทางกาย-การกระทําต่างๆทางกาย ขึ้นมา ในที่นี้ เราจะเน้นที่มโนสังขารอันยังให้เกิดมโนกรรมการกระทําทางใจหรือจิตอันคือความคิดนึก ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหลักให้เกิดทุกข์และพ้นทุกข์โดยตรง ตลอดทั้งยังเป็นต้นกําเนิดหรือเหตุปัจจัยหลักของ กายสังขารอันยังให้เกิดกายกรรม-การกระทําทางกาย  และ วจีสังขารอันยังให้เกิดวจีกรรม-การกระทําทางวาจา ผ่านทางสัญเจตนาหรือเจตนาอันเกิดแต่จิตหรือใจนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าจิตเป็นประธานทั้งต่อฝ่ายกายและฝ่ายใจ         บรรพบุรุษย่อมถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมไปสู่ลูก หลาน เหลน...ฉันใด, อวิชชาเปรียบเสมือนบรรพบุรุษของความทุกข์ และเพราะไม่แทงตลอดในอริยสัจ  ดั่งนั้นต้องรู้ต้องเข้าใจว่ากองธรรมต่างๆที่เกิดสืบเนื่องต่อๆไป ย่อมนอนเนื่องไปด้วยอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม คือยังไม่มีสติและความรู้ในเรื่องสภาวะธรรมของทุกข์และการดับทุกข์, ดั่งนั้นจึงควรไม่ประมาทเพราะในทุกๆกองธรรมที่จักเกิดสืบเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันและกันต่อไปนั้น ก็ย่อมต้องมีตัณหาและอุปาทานแฝงไปด้วย (คือพร้อมที่จะทํางานให้เกิดเป็นทุกข์ทันทีที่มีปัจจัยตัณหาอันเกิดจากเวทนา) ดั่งนั้น อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร คือการกระทําทางกาย,วาจา,ใจ(เช่นคิดที่ก่อทุกข์)ตามความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้ หรือ เคยประพฤติ ปฏิบัติ หรือก็คือกรรม(การกระทําที่มีเจตนา)ตามที่ได้เคยสั่งสมอบรมไว้ในอดีต ซึ่งล้วนเป็นสังขารที่จักไปก่อให้เป็นความทุกข์  อันเป็นสังขารวิบาก (วิบาก-ผลที่ได้รับ, สังขาร-การกระทําที่มีเจตนา,  สังขารวิบากจึงหมายถึง ผลที่ได้รับอันพึงเกิดขึ้นจากการกระทําที่ผ่านมา หรืออดีต)         ข้อสังเกตุที่จะกล่าวในภายหน้า - สังขารคิดที่สั่งสมไว้เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเท่านั้นที่ก่อทุกข์,   สังขาร(คิด)หรือมโนสังขารอันเป็นสังขารขันธ์ในขันธ์๕อันเป็นปกติธรรมชาติของผู้มีชีวิต  เป็นสิ่งจําเป็นต้องมีเพื่อการยังชีวิตให้สมบูรณ์ทั้งในปุถุชนและองค์อรหันต์ เพราะชีวิตประกอบด้วยขันธ์๕ และต้องดําเนินชีวิตไปโดยการทํางานประสานกลมกลืนอย่างสมดุลย์กันของขันธ์ทั้ง๕ด้วย (มีรายละเอียดอยู่ในเรื่องขันธ์๕ด้วย)         ๒. สังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ - เมื่อมีสังขารหรือเจตนาทางกาย ทางวาจา ทางใจ(ความคิด)ขั้นต้นตามที่สั่งสมอบรมไว้เกิดขึ้นแล้ว  ในกระบวนการทางจิตจักมี วิญญาณเกิดขึ้นทันทีพร้อมกันในการรับรู้สังขารนั้น(วิญญาณหมายถึงการรับรู้ในสิ่งที่มากระทบสัมผัส อันคือระบบประสาทรับรู้ของร่างกาย ไม่ได้หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณ พวกผี วิญญาณ ที่ลอยละล่องตามความเข้าใจทั่วๆไป) วิญญาณท่านจึงได้จําแนกออกเป็น ๖   อันมีวิญญาณของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ         จักษุวิญญาณ  ความรับรู้ในรูปที่มากระทบทางตา หรือระบบประสาทตานั่นเอง         โสตวิญญาณ  ความรับรู้ในเสียงที่มากระทบทางหู หรือระบบประสาทหู         ฆานวิญญาณ  ความรับรู้ในกลิ่นที่มากระทบทางจมูก หรือระบบประสาทจมูก         ชิวหาวิญญาณ  ความรับรู้ในรสที่มากระทบทางลิ้น  ระบบประสาทลิ้น         กายวิญญาณ  ความรับรู้ทางกายอันเกิดแต่สัมผัสทางกายทั้งภายนอกและภายในเช่นความเจ็บปวด,ปวดหัว,ปวดท้อง,สัมผัสทางเพศ อันคือระบบประสาทสัมผัสทางกายต่างๆนั่นเอง         มโนวิญญาณ  ความรับรู้ทางใจ รู้ความรู้สึกนึกคิด โดยจิตหรือใจ (อันมีสมองเป็นเหตุปัจจัยอันหนึ่งของจิต, แต่จิตไม่ใช่สมอง ) ระบบประสาทความนึกคิดต่างๆ         ซึ่งก็คือระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ต่อสิ่งที่กระทบสัมผัสในวิทยาการปัจจุบัน เป็นตัวเชื่อมต่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกาย, จิต และสิ่งแวดล้อม(อายตนะภายนอกทั้ง๖ อันมี-รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์หรือความคิด)ที่กระทบสัมผัส,   ท่านจึงตรัสว่า สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ  อันคือวิญญาณหรือระบบประสาทสัมผัสใน สังขารที่เกิดขึ้นนั้น,  เป็นการเริ่มทํางานตามหน้าที่ของวิญญาณแห่งตน          ๓. วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป - วิญญาณนั้น ความจริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของนามอยู่แล้ว (นามหรือจิต มี ๔ ประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เมื่อวิญญาณเกิดขึ้นมาแล้วจึงมีปัจจัยร่วมเกิดขึ้นมาด้วยคือเวทนา สัญญา สังขาร เพราะวิญญาณจักอยู่แต่โดดเดี่ยวไม่ได้ นามอื่นๆจึงเกิดขึ้นครบองค์ประกอบเช่นเดียวกัน, และเมื่อมีนาม(จิต)ก็ต้องมีรูปร่วมเกิดเพื่อเป็นที่อาศัยของนามด้วยจึงครบองค์ของชีวิตหรือรูปนาม  เพราะรูปนามนั้นก็เกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันของธาตุ๔ และนาม๔ ซึ่งต้องทํางานประสานกันอย่างสอดคล้อง    ดังนั้นวิญญาณ จึงเป็นปัจจัยให้มี นาม-รูป         ถ้ามองในแง่ปรมัตถธรรมคือตามความเป็นจริงสูงสุดแล้ว   สำหรับผู้ที่เข้าใจขบวนการทํางานของขันธ์๕  โดยปกตินาม-รูป หรือรูปนามนั้นมีอยู่แล้วครบองค์ของชีวิต แต่ยังไม่ทํางานหรือยังไม่ทําหน้าที่ซึ่งชอบเรียกกันว่า"ดับ" ทําให้บางท่านหรือบางทีเกิดความสับสนกันโดยภาษาสมมุติว่าไม่มีรูปนาม ดับๆเกิดๆ  เดี๋ยวเกิด แล้วก็ดับ เพราะเป็นอนัตตา จริงๆแล้วมีรูปนาม มิฉนั้นท่านจะมาอ่านและฉงนอยู่ได้หรือ แต่ว่าเป็นอนัตตาที่หมายความว่าไม่มีตัวตนที่เป็น "แก่นสาร" คงทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีสาระให้ถือมั่น ซึ่งมักเข้าใจกันผิดเป็นไม่มีตัวไม่มีตน พยายามกําจัดตัวตน, หรือจะกล่าวว่ามีตัวตนก็ได้แต่ไม่แท้จริงคงทนอยู่ไม่ได้ตลอดไป,ไร้สาระคุณค่าให้ยึดถือเป็นเพียงการประชุมกันชั่วระยะหนึ่งของเหตุปัจจัยตามธรรมชาติจึงไม่มีแก่นสารให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะเมื่อเหตุปัจจัยนั้นแปรปรวนหรือดับ ตัวตนก็ต้องแปรปรวนและดับไปตามสภาวะของเหตุปัจจัยนั้น ไม่สามารถคงอยู่ได้ถาวรตลอดไปจึงก่อให้เกิดทุกข์ถ้าไปอยากหรือยึดไว้เพราะต้องแตกดับไปในที่สุด,  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไม่มีตัวตน หรือมีตัวตนก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาวะขณะใดแต่ที่เป็นแก่นแท้คือไม่ถาวรคงทนอยู่ไม่ได้,  ในกรณีของนาม-รูปในที่นี้ของวงจรปฏิจจสมุปบาท   ดับนั้นเป็นภาษาธรรมหมายความว่าเพียงแต่ขณะจิตนั้นยังไม่ทํางานหรือยังไม่ทําหน้าที่โดยสมบูรณ์  และเมื่อใดที่นาม-รูปทํางานหรือทําหน้าที่ครบองค์ก็เรียกว่า "เกิด"   ดังนั้นเมื่อมีปัจจัยคือวิญญาณที่มารับรู้สังขารที่เกิดหรือผุดขึ้นมาหรือเจตนาขึ้นมา ก็จักทําให้นาม-รูปครบองค์ประกอบ จึงเรียกว่าเกิดนาม-รูป คือหรือมีนาม-รูปขึ้น   เสมือนดั่งรถยนต์ที่ครบบริบูรณ์ทั้งคัน(เปรียบเสมือนดั่ง นาม-รูป)จอดอยู่กับที่ ยังไม่ทําหน้าที่ คือออกไปโลดแล่นเพราะขาดพลขับ(วิญญาณ)   อันเปรียบเสมือนหนึ่งนาม-รูปที่ยังไม่มีวิญญาณที่ตื่นตัวครบองค์นั่นเอง อุปมาดั่งพลขับหรือวิญญาณยังนั่งหลับไหลอยู่ในรถ เมื่อใดที่พลขับหรือวิญญาณถูกกระตุ้นตื่นขึ้นมา, รถยนต์นั้นก็พร้อมทํางานตามหน้าที่ครบองค์ธรรมของยานพาหนะ คือไว้ใช้เพื่อการการขนส่งไปสู่จุดหมาย หรือทําหน้าที่โดยบริบูรณ์ ตามฐานะของรถ          ดังนั้นอย่าได้พยายามหาทางดับ รูป-นาม โดยความเข้าใจทางรูปธรรม  ซึ่งเป็นการเข้าใจกันผิดๆ  เพราะสมมุติทางภาษาว่า ดับคือไม่มี, สูญ  และเพราะความไม่เข้าใจในอนัตตาโดยถ่องแท้                 ดับ ในที่นี้เป็นนามธรรม หมายถึงไม่ได้ทําหน้าที่ หรือยังไม่ได้ทํากิจตามหน้าที่ตน                 เกิด หมายถึงทําหน้าที่หรือทํางานตามหน้าที่ ทํางานตามกิจอันควรของตน         นาม-รูป จึงอยู่ในสภาวะเกิดๆดับๆ (ทําๆ หยุดๆ นั่นเอง)  ไม่ใช่หมายถึงไม่มีตัวไม่มีตนชนิดรูปธรรม         จากขันธ์๕ที่จะกล่าวถึงในภายหน้า ให้ท่านสังเกตุเพื่อที่จะเห็นได้ว่าวิญญาณมีหน้าที่สื่อสาร  แลกเปลี่ยน  รับรู้ข้อมูลต่างๆ  เมื่อวิญญาณทํางาน นามรูปจึงครบองค์ประกอบของการทําหน้าที่แห่งตนได้   หรือเกิดการทํางานของนาม-รูปเต็มตัว ท่านจึงตรัสแสดงว่า วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นาม-รูป หรือทําให้นาม-รูปครบองค์ของการทํางานตามหน้าที่หรือกิจแห่งชีวิตตน          ๔. นาม-รูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ - เมื่อมีนาม-รูปครบองค์ของชีวิตคือทําหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนแล้วย่อมทําให้สฬายตนะอันเป็นอวัยวะส่วนต่างๆของนาม-รูปที่ใช้ในการสื่อติดต่อสัมผัสกับสิ่งต่างๆ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง๖ หรือบางทีเรียกอายตนะภายใน อันเกิดร่วมมาด้วยแต่กําเนิดโดยธรรมชาติ  ได้ถูกปลุกเร้าให้เริ่มทําหน้าที่ของตนเช่นกัน ท่านจึงกล่าวว่า นาม-รูปเป็นปัจจัยให้เกิดหรือมีสฬายตนะ อันหมายถึง ความมีอยู่แล้วตามธรรมชาติแต่เริ่มทํางานตามหน้าที่คือใช้สื่อกับสิ่งที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ)ต่างๆเช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(คิด) โดยมีวิญญาณหรือระบบประสาทสัมผัสร่วมรับรู้การกระทบสัมผัสนั้น          ถ้าจะมองให้เห็นเป็นรูปธรรมหรือเป็นภาพพจน์ได้ชัดเจนขึ้น ก็อุปมาดั่งรถยนต์ที่ย่อมมีอุปกรณ์จําเป็นพร้อม ดังเช่น เบรค  คันเร่ง  พวงมาลัย  เกียร์  อันเป็นอุปกรณ์เทียบดั่งสฬายตนะ หรือตา หู จมูก  ฯ. นั่นเอง,  เวลารถยนต์ดับหรือยังไม่เกิดครบองค์ธรรมของมันที่ออกไปขับขี่โลดแล่น อุปกรณ์เหล่านี้หรือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีตัวตนนั้นก็มีอยู่ แต่นอนเนื่องไม่มีสาระหน้าที่อะไรเป็นแก่นเป็นแกนจริงๆ  แต่เมื่อใดที่รถยนต์นั้นเกิดครบองค์ธรรมแห่งตนออกไปขับโลดแล่น อุปกรณ์เหล่านี้ย่อมเกิดตื่นตัวทํางานตามหน้าที่ของตัวของตนอย่างสมบูรณ์ เช่นเบรค เหยียบเบรคก็ทําหน้าที่หยุดรถของมันอย่างถูกต้อง  ดังเช่นรถยนต์ที่ครบองค์ธรรมแห่งตนนั่นเอง          ๕. สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ - เมื่อมีสฬายตนะ อวัยวะแห่งการรับรู้การสัมผัสของกายตนทํางานตามหน้าที่อย่างสมบูรณ์  จึงย่อมต้องมีการผัสสะ คือการประจวบกระทบกันกับอายตนะภายนอก(หรือสิ่งแวดล้อมหรือเรียกว่าสิ่งที่ถูกรู้ หรืออารมณ์ อันคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ทั้ง๖)  และมีการรับรู้การกระทบสัมผัสนั้น(วิญญาณ)เกิดขึ้น  กล่าวได้ว่าเป็นการเกิดกระบวนธรรมของการสัมผัสตามธรรมชาติอย่างสมบูณ์  หรือเขียนเป็นกระบวนธรรมได้ดังนี้         อายตนะภายนอก + สฬายตนะ(อายตนะภายใน) + วิญญาณ  ท่านเรียกว่าเกิดการกระทบสัมผัสกันหรือ >>>  ผัสสะ ดังตัวอย่าง         คิด,นึก(อันคือธรรมารมณ์) + ใจหรือจิต + วิญญาณ  เกิดการกระทบกัน >>>  ผัสสะ       ตา + รูป + วิญญาณ  >>>  ผัสสะ        หู + เสียง + วิญญาณ  >>>  ผัสสะ         บางครั้งการอธิบายในที่นี้อาจเขียนสลับตําแหน่งกันบ้าง เพื่อให้พิจารณาเห็นได้ชัดเจนขึ้นในแต่ละเรื่อง,  แต่ความหมายเหมือนกันคือเกิดแต่เหตุปัจจัยทั้ง๓เช่นกันอันมี อายตนะภายนอก(อันหมายรวมถึงสังขารคิดที่สั่งสมไว้ในปฏิจจสมุปบาทด้วยก็ได้) + สฬายตนะ(อายตนะภายใน) + วิญญาณ  ทั้ง๓ กองธรรมมาประจวบเป็นเหตุปัจจัยกันท่านเรียกว่าเกิดผัสสะ      ดังนั้นการเกิดขึ้นแห่ง ผัสสะ ณ.ที่นี้ในวงจรปฏิจจสมุปบาท จึงเกิดได้จาก ๒ เหตุปัจจัยใหญ่ คือ        ที่กองธรรมสังขาร กองธรรมที่ ๒ ในวงจรปฏิจจสมุปบาท อันคือธรรมารมณ์หรือคิดชนิดหนึ่งแต่แฝงกิเลส  ดังกระบวนธรรม สังขาร(กองที่ ๒) + วิญญาณ(กองที่ ๓) + สฬายตนะ(กองธรรมที่ ๕) >>> ผัสสะ   ดูวงจร  ประกอบถ้ายังจําไม่ได้      และที่กองธรรม สฬายตนะ กองธรรมที่ ๕ เป็นอีกเหตุปัจจัยหนึ่ง   ดังกระบวนธรรม อายตนะภายนอกอันมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ จากภายนอกอันจรมากระทบกับ + สฬายตนะ(กองธรรมที่ ๕) +วิญญาณอันย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของผู้มีชีวิต  >>>  ผัสสะ      สังเกตุให้ดี ว่าเป็นขบวนการธรรมชาติ ธรรมดาๆ ที่เมื่อ ตากระทบรูป  หูกระทบเสียง  จมูกกระทบกลิ่น  ลิ้นกระทบรส  กายกระทบสัมผัส  ความคิดกระทบใจ ย่อมเกิดวิญญาณการรับรู้(ระบบประสาทสัมผัสรับรู้)ในสิ่งที่สัมผัสหรือกระทบนั้นเป็นอาการธรรมดาหรือเป็นสภาวะธรรม  มันเป็นเช่นนั้นเอง  เป็นการทํางานของระบบร่างกายตามปกติธรรมชาติที่สมบูรณ์ถูกต้องด้วยประการทั้งปวงนั่นเอง!  แต่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้เนื่องจากความไม่รู้ในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ หรืออวิชชา !!!         ข้อพิจารณา ที่กองธรรมผัสสะนี้ เหตุที่ทําให้เกิดนอกจากสังขารแล้ว ยังมีอายตนะภายนอกคือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,ธรรมารมณ์สามารถที่จะจรมากระทบโดยตรงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง๖ (สฬายตนะ) ซึ่งล้วนมีอาสวะกิเลสและอวิชชาแฝงอยู่ในทีอยู่แล้ว  ดังนั้นในชีวิตประจําวัน การงาน ขับรถ การสังสรรค์....ฯลฯ   จึงควรมีความสํารวม สังวร ระวัง ไม่ประมาท เพราะเมื่อกระทบเมื่อใดย่อมต้องมีผัสสะเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นขบวนการธรรมชาติหรือสภาวะธรรมแท้ๆ   อย่างในการออกบวชเป็นบรรพชิตจะมีพระวินัย กฏข้อบังคับต่างๆเป็นเครื่องสํารวม สังวร ระวัง อันเป็นเครื่องป้องกันขั้นต้นเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์อย่างรวดเร็ว  ดังนั้นในปุถุชนนักปฏิบัติเพื่อดับทุกข์หรือจางคลายจากทุกข์ จึงยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากย่อมมีการกระทบผัสสะอันเกิดจากกิจในชีวิตประจําวันมากมายนั่นเอง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน จึงต้องมีสติรู้เท่าทัน, เพราะเป็นสภาวะธรรมที่ ต้องมี  ต้องเกิด อันไม่สามารถห้ามได้ อันสามารถยังให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ทุกขณะที่กระทบถ้าไม่มีสติรู้เท่าทัน. ตัวอย่างของขันธ์๕ หรือปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดในชีวิตทุกๆขณะ เช่น         ตา + รูป + จักขุ(ตา)วิญญาณ   กระทบกัน>>>  ผัสสะ         หู + เสียง + โสต(หู)วิญญาณ    กระทบกัน>>>  ผัสสะ         ใจ + คิด + มโน(ใจ)วิญญาณ   กระทบกัน>>>  ผัสสะ           ท่านจึงกล่าวไว้ว่า สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ  และมักเป็นผัสสะชนิดอวิชชาผัสสะ คือผัสสะที่มีอวิชชาแฝงอยู่ในที  คือหมายถึงเกิดการผัสสะที่ยังไม่มีวิชชาในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์  จึงไม่รู้และไม่มีสติรู้เท่าทันว่ามีสัญญาจําอันแฝงไว้ด้วยกิเลสหรืออาสวะกิเลสนั่นเอง แอบแฝงมาด้วยเป็นธรรมดา  จึงเป็นการยอมอยู่ในทีให้อาสวะกิเลสนั้นแฝงติดมากับการกระทบผัสสะนั้น  อันพร้อมที่จะทํางานทุกขณะเมื่อถูกกระตุ้นเร่งเร้าจาก???          ๖. ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา - เมื่อมีการผัสสะกันเกิดขึ้น  อันคือการกระทบกันของอายตนะภายในและภายนอก  และมีระบบประสาทสัมผัสรับรู้อันคือวิญญาณ, ย่อมบังเกิดเป็น "เวทนา" คือการเสวยอารมณ์ (อารมณ์-ในทางพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวหรือสัมผัสอันหมายถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส(โผฐฐัพพะ) และธรรมารมณ์(ความคิดนึก)ที่มากระทบ  ซึ่งมีความหมายต่างกับทางโลกๆอันเช่นอารมณ์ดี อารมณ์เสีย)          หรือ เวทนาคือการเสพรสอารมณ์          หรือ ความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบทั้งทางกายและใจ อันเนื่องมาจากการผัสสะกับสิ่งที่กระทบสัมผัสนั้นอันคือ รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  และธรรมารมณ์ โดยมีความจํา(สัญญา)มาจําแนกการรับรู้นั้นเป็น ชอบใจ สบายใจ, ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ, หรือเฉยๆ,  จึงจัดเป็น สุขเวทนา, ทุกขเวทนา, อทุกขมสุขหรือเฉยๆ ตามมาเป็นธรรมชาติ         หรือกล่าวสั้นๆว่า เวทนา คือรับรู้ความรู้สึกในสิ่งที่มากระทบสัมผัส(ผัสสะ) พร้อมความจําได้และเข้าใจในสิ่งที่กระทบสัมผัสนั้น          หรือเวทนาคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)อันพร้อมด้วยความจําได้หรือมีประสบการณ์ในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆ ขอให้สังเกตุหรือโยนิโสมนสิการด้วยว่า เวทนาเป็นสภาวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติแท้ๆ ที่ต้องเกิด ต้องมีเป็นธรรมดา มันเป็นกระบวนการธรรมชาติ ที่มันเป็นเช่นนี้เอง ใช่ไหม?       หรือเรียกสั้นๆง่ายๆว่า ความรู้แจ้งในอารมณ์  (ในบางที บางท่าน "รู้แจ้งในอารมณ์" หมายถึงวิญญาณ )       ขบวนการเกิดเวทนานี้ จําเป็นต้องมีสัญญา(ความจําได้ในอารมณ์เช่นรูป,เสียง)ร่วมด้วยกับวิญญาณ(ระบบประสาทการรับรู้) คือมีความจําได้ในสิ่งที่มากระทบหรือสัมผัส(ผัสสะ) จึงจะทําให้จําแนกเวทนาได้เป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุข,  แต่ท่านละไว้เพราะหมายถึงอาสวะกิเลสอันคือเป็นสัญญา-ความจํานั่นเอง แต่ณ.ที่นี้เป็นกระบวนการของการเกิดทุกข์ อาสวะกิเลสนี้จึงเป็นสัญญาจําชนิดที่แฝงกิเลสอันทําให้จิตหมองขุ่นมัวอันก่อให้เกิดทุกข์  จึงพอเขียนเป็นกระบวนธรรมได้ดังนี้ คิด + ใจ + วิญญาณ  >>>  ผัสสะ  >>>  สัญญาจํา(จากอาสวะกิเลส)  >>>  เวทนา (ลองไล่ลําดับจิตดู)           เราควรมีความเข้าใจด้วยว่ามีสัญญาจําในอารมณ์-รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์(ความคิด)หรือสัญญาจําของอาสวะกิเลสมาเกี่ยวเนื่องด้วย  เพราะจักไปช่วยให้เข้าใจขบวนการขันธ์๕ อันเป็นสิ่งที่จําเป็นยิ่งในการเข้าใจสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ในภายหลัง,   ท่านจึงตรัสว่า ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา          ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สําคัญเพราะเป็นขั้นตอนเกิดเวทนาซึ่งเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆเกิดอย่างไรเป็นอย่างนั้น และปุถุชนมักจะติดบ่วงของเวทนานี้   ซึ่งเมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องจักนําไปใช้ในการระงับหรือดับความทุกข์ที่จักเกิดขึ้นทั้งจากเวทนาทางกายและทางใจ เพราะความเข้าใจในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)   เพราะการรับรู้แจ้งในอารมณ์ หรือเสพเสวยอารมณ์ในสิ่งที่กระทบสัมผัสในขั้นแรกเกิดขึ้น ณ.ที่นี้ ไม่ว่าจักเพราะสังขารที่สั่งสมไว้(สังขารในปฏิจจสมุปบาท) หรือเพราะสฬายตนะที่ต้องกระทบในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แม้แต่ธรรมารมณ์อันเกิดมาจากเหตุปัจจัยแวดล้อมภายนอก,  ล้วนแล้วแต่ต้องเกิดเวทนานี้ทั้งสิ้น  เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์เรานั้น เมื่อรับรู้ความรู้สึกของสิ่งที่มากระทบสัมผัสแล้ว ถ้าชอบใจ, ถูกใจ หรือสบาย ก็จะไปอยาก หรือติดเพลิน หรือพยายามยึดไว้  หรือถ้ารู้สึกไม่ชอบ ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ ก็จะพยายามผลักไส ครํ่าครวญ พิรี้พิไร หรือไม่อยากในความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ)นั้น  จึงต้องใช้ สติรู้เท่าทันเวทนา(อันครอบคลุมทั้ง รู้เท่าทันและเข้าใจ) มีความเข้าใจในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ของเวทนาที่เกิดอย่างไรเป็นอย่างนั้น(ไม่ใช่ต้องเฉยๆในทุกสิ่ง ดังที่นักปฏิบัติพยายามปฏิบัติกันมาก) จึงจักไม่เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หรือทําให้ตัณหาเกิดน้อยลง อันเป็นปัจจัยให้อุปาทานอันก่อเป็นทุกข์ดับหรือน้อยลงไปด้วย (อ่านการแยกแยะเวทนาช่วยในการเข้าใจเวทนาให้ถูกต้อง)  อันซึ่งเมื่อเวทนาเกิดขึ้นเป็นขบวนการธรรมชาติที่บังเกิดเป็นแม้แต่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่  เราจึงต้องเข้าใจเวทนาให้ถูกต้อง จิตจักได้เลิกดิ้นรนการกําจัดเวทนาอย่างโง่งมและไร้เหตุผล เช่นมีอะไรมากระทบใจ จักให้ไม่รู้สึกใดๆเลย  อันจักยังให้เกิดทุกข์ขึ้นจริงๆจากเวทนานั้นๆ   หรือวนเวียนปฏิบัติเพราะการพยายามดับเวทนานี้โดยตรงตามความหมายทางโลกคือให้ดับสูญ อันมีผู้นิยมปฏิบัติกันมากเพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งสภาวะธรรม(ชาติ)ว่าแท้จริงแล้วเป็นการกด การข่มชั่วขณะเท่านั้น ไม่มีผู้ใดดับได้อย่างถาวรนอกจากความตาย                เมื่อมีความเข้าใจว่าต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว, สิ่งหรือกิจอันพึงกระทําต่อเวทนา จึงมีดังนี้  ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้           ดูกรภิกษุทั้งหลาย   บุคคลอาศัยจักษุ(ตา) และรูป เกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบกันของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ  และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา)  เป็นสุขบ้าง  เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง (อันต้องเป็นไปเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาตามสภาวะธรรม)             เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูดถึง  ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่(นิสัยอันนอนเนื่องหรือแอบแฝงด้วยความโลภ,ความอยาก)             อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เศร้าโศก  ไม่ลำบาก  ไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลง(โมหะ)พร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่(นิสัยอันนอนเนื่องด้วยความขุ่นเคือง,ขัดข้อง)             อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป  คุณ  โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่(นิสัยอันนอนเนื่องด้วยความไม่รู้)             ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา,  ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาบรรเทา,  ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา,  ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ                ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู,   กลิ่น-จมูก,   รส-ลิ้น,   สัมผัส-กาย,    ธรรมารมณ์(คิดนึก)-ใจ                (ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)          ๗. เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา - เมื่อเกิดเวทนาขึ้นมาแล้ว อันคือรับรู้ความรู้สึกในสิ่งที่กระทบสัมผัส  จิตย่อมบังเกิดความรู้สึกภายในที่เป็นตัณหาอันคือความทะยานอยาก อันจําแนกให้เห็นได้ชัดๆง่ายๆเป็น  ความอยาก(ภวตัณหา) หรือ ไม่อยาก(วิภวตัณหา) หรือเฉยๆในเวทนานั้น  อันเกิดขึ้นใน ณ.ขณะจิตนั้นเอง  ต้องทําการโยนิโสมนสิการถึงจักมองเห็นด้วยตาปัญญาหรือญาณคือความเข้าใจ          โปรดเข้าใจด้วยว่า ไม่สามารถคอยไปไล่ตามจิตได้ทัน  ต้องใช้ปัญญานําก่อน, เพราะเกิดรวดเร็วกว่าสายฟ้าแลบเสียอีก ต้องใช้ธรรมะวิจยะอันคือการพิจารณาในธรรมนั้นโดยการโยนิโสมนสิการอย่างแยบคายคือการพิจารณาในใจด้วยความละเอียดและแยบคายหรือชาญฉลาดนั่นเอง.          ถ้าเวทนานั้นเป็นเวทนาที่เป็นสุข(สุขเวทนา-ไม่ใช่สุขจริงๆเป็นแค่เวทนาหรือความรู้สึกรับรู้ในอารมณ์ที่ถูกใจอันมากระทบสัมผัส อันเกิดแต่อาสวะกิเลสหรือสัญญาจําร่วมด้วยเท่านั้นอันเกิดแค่ชั่วขณะ ก็มีความทะยานอยากจะได้,  อยากให้เกิด,  อยากให้เป็นไปตามสุขเวทนานั้นนานๆหรือตลอดไป จึงเกิดอาการอยากพยายามยึดไว้(แต่ทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจังไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไป จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยาก),          และถ้าเวทนานั้นเป็นเวทนาที่รู้สึกเป็นทุกข์(คือทุกขเวทนา-ไม่ใช่ทุกข์จริงๆเช่นกัน เป็นแค่อาการตามธรรมชาติของเวทนาหรือความรู้สึกรับรู้อันไม่ถูกใจหรือไม่ชอบใจอันเกิดแต่อาสวะกิเลสหรือสัญญาจําร่วมด้วย )โดยเฉพาะทุกขเวทนาอันแรงกล้าทั้งทางกายหรือทางใจ   ก็ไม่อยากให้เกิด,  ไม่อยากให้เป็น,  ไม่อยากให้มี จะเกิดอาการผลักไสหรือไม่อยากขึ้นในจิตทันที(แต่ก็ผลักไสไม่ได้เพราะเกิดแต่ความจําอันเป็นตามกลไกธรรมชาติหรือสภาวะธรรม)  ท่านจึงตรัสไว้ว่า เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา  อันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์   ขั้นตอนเวทนา และ ตัณหา นี้สําคัญ อ่านทบทวนช้าๆพร้อมการพิจารณาลําดับในใจให้เข้าใจถึงใจ         ความคิดนึก แต่ละความคิดนั้นล้วนเป็นขันธ์๕(ภายหน้ามีอธิบายขันธ์๕)  อันรวมถึงความคิดนึกปรุงแต่งด้วย ดังนั้นเมื่อคิดนึกปรุงแต่งมากๆ หรือหลายๆความคิดปรุงแต่งนั่นเอง อันก็คือการเกิดขันธ์๕ขึ้นหลายๆครั้งอันย่อมต้องเกิดเวทนาร่วมด้วยทุกครั้งในแต่ละความคิด  เมื่อเกิดเวทนามากๆครั้งตามความคิด จึงย่อมเปิดโอกาสให้เวทนาตัวใดตัวหนึ่งมีโอกาสเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา  ผู้เขียนจึงกล่าวว่า ความคิดนึกปรุงแต่ง(มักเป็นความคิดที่ปรุงแต่งขึ้นต่อจากความคิดแรกๆ หรือจากสังขารที่สั่งสมไว้อันต้องมีเกิดบ้างเป็นธรรมดา แต่มักจะเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็น,ไม่มีหน้าที่จริงๆ, ฟุ่มเฟือย อันมักแอบแฝงด้วยตัณหา  ดังตัวอย่างกระบวนการขันธ์๕ ที่เกิดถึงเวทนานี้ คิดนึกปรุงแต่ง + ใจ + วิญญาณ  >>>  ผัสสะ  >>>  สัญญาจํา(จากอาสวะกิเลส)  >>>  เวทนา        เพราะความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆทุกชนิดร้อยแปดพันเก้าจะเกิดเวทนาแล้วจะลงมาสรุปอยู่ที่ตัณหาความ"อยากอะไร"และ "ไม่อยากอะไร"   ลองตรวจสอบว่าความคิดปรุงแต่งต่างๆสรุปลงเป็นดังนี้หรือไม่   ต่างกับความคิดที่กอง"สังขาร"ในปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นความคิดนึกที่ผุดขึ้นมาจากความจําที่สั่งสมหรืออบรมไว้จากประสบการณ์ในอดีตอันแฝงด้วยอาสวะกิเลสเป็นปกติ(ถ้าไม่มีอวิชชา ก็เป็นเพียงสังขารที่สั่งสมตามปกติธรรมดาอันไม่ยังให้เกิดทุกข์ เช่นสัญญาความจําทั่วๆไปต่างๆในขันธ์๕,  และในพระอรหันต์เจ้าท่านจึงมีแต่สังขารอันไม่มีอวิชชาหรือสัญญาจํานี้เป็นปกติธรรมดาหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวขบวนของวงจรการดับไปแห่งทุกข์) โดยถูกกระตุ้นเร่งเร้าขึ้นมาจากอวิชชาเพราะยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เท่าทันตามความเป็นจริงในสภาวะธรรมนั้น แล้วเกิดตัณหาต่อเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่ง จนเกิดอุปาทานขึ้น จนเป็นทุกข์ ในที่สุดนั่นเอง         ตัณหาเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการรู้แจ้งในอารมณ์(เวทนา) นี่คือจุดสําคัญที่สุด  ไม่ได้เกิดหรือทําโดยตรงต่อความคิดอันเป็นสังขารขันธ์(มโนสังขารขันธ์) เช่น สวย อร่อย โลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ.  ลองพยายามโยนิโสมนสิการ จุดนี้เป็นพิเศษ แล้วจักเข้าใจเวทนา เพราะในความเป็นจริงแล้วตัณหาเกิด หรือกระทําโดยตรงและรุนแรงต่อเวทนา กล่าวคือมีความอยากหรือไม่อยากในความรู้สึกที่รับรู้อันเกิดแต่การผัสสะนั้น   หรือเกิดการอยากหรือยึดในความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้น(เวทนา)นั้นนั่นเองว่าเป็นของเรา เป็นเรา.(บางท่านอาจพิจารณาว่าตัณหาเกิดแต่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิด อันไม่ใช่เหตุจริงๆ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนเป็นเหตุปัจจัยของเวทนาอยู่แล้ว จึงเกี่ยวเนื่องเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันโดยทางอ้อม)          ๘. ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน - มีตัณหาความอยาก - ไม่อยากในสิ่งใดๆเกิดขึ้นแล้ว   จิตย่อมต้องพยายามสนองตอบตัณหาที่เกิดขึ้นนั้นอันเป็นกลไกธรรมชาติของจิตหรือสภาวะธรรมนั่นเอง จึงเกิดอุปาทาน อันคือความเชื่อ ความคิดที่มุ่งตอบสนองต่อตัณหาที่เกิดขึ้น ภายใต้อิทธิพลของจิตใต้สํานึกหรือความยึดมั่นถือมั่นว่าความเชื่อและความคิดที่เกิดขึ้นนั้นล้วนเป็นส่วนหนึ่งของตัวตน หรือเป็นของตัวของตนจริงๆ   ในแง่จิตวิทยาก็คือเพื่อตอบสนองให้ความคงอยู่ หรือความมีคุณค่าของตัวตนนั้นมีความมั่นคง จิตจึงต้องมีการปฏิกริยาตอบสนองต่อความต้องการของตัณหานั้น ที่นักจิตวิทยาสมัยนี้เขาเรียกกันว่าอีโก้(Ego)  หรือพอจะกล่าวสั้นๆให้ได้ใจความชัดเจนที่สุดว่าจากความเข้าใจของผู้เขียน          "อุปาทาน คืออาการของจิตที่สนองตอบต่อตัณหาตนเองโดยมีหลักการที่ ยึดมั่นถือมั่น หรือยึดติดยึดถือในความพึงพอใจ,หรือสุขของตัวของตน เป็นตัวกําหนดหรือเป็นหลักสําคัญสูงสุด" หรือกล่าวอีกนัย          "อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่นในคุณค่าความเป็นตัวตน,ของตน หรือตัวกู ของกูจึงยึดมั่นแต่สิ่งที่จะสร้างความพึงพอใจมาสนองตัณหาเพื่อตัวตนของตนเอง"          "อุปาทานคือ ความมุ่งมั่นที่จะให้เป็นไปตามตัณหาหรือความปรารถนาของตัวของตน"           หรือที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้บัญญัติไว้สั้นๆและได้ใจความว่า ความเป็นตัวกู-ของกู ลองพิจารณาดูว่าความหมายใดถูกจริตแห่งท่าน          ซึ่งตามปกตินั้น อุปาทานนี้ก็มีอยู่ในจิตอันมีอวิชชาอยู่แล้วตามธรรมชาติของปุถุชน  แต่อยู่ในสภาวะที่นอนเนื่อง หรือยังไม่ทํางาน หรือเปรียบเสมือนงูพิษที่ยังหลับไหลอยู่  แต่เมื่อมีปัจจัยคือตัณหามากระตุ้นจึงเกิดการทํางานเต็มกําลัง อันยังให้อุปาทานเกิดการทํางานขึ้นอย่างสมบูรณ์เต็มตัว  ท่านจึงกล่าวว่า ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตัวของตน   ซึ่งเป็นสุขทุกข์ชนิดละเอียดแยบคายที่สุด จนอธิบายแยกแยะออกมาเกือบไม่ได้ถ้าไม่มีธรรมของพระพุทธองค์ทรงชี้แนะนํา  ด้วยเหตุนี้แหละจึงสามารถครอบทุกสรรพสัตว์มาตลอดทุกกาลสมัย  เว้นแต่องค์อรหันต์         พึงเข้าใจและระลึกอยู่เสมอว่า อุปาทาน นี้มีอยู่เกือบตลอดเวลาและกล้าแข็งอย่างที่สุด ชนิดที่มนุษย์ปุถุชนไม่สามารถต้านทานอํานาจอันยิ่งใหญ่นั้นตรงๆได้  นอกจากกล้าแข็งที่สุดแล้วยังมีความละเอียดอ่อนเป็นที่สุดอีกด้วย อันไม่สามารถสังเกตุเห็นได้ นอกจากใช้ตาแห่งปัญญาเท่านั้น  เพราะอุปมาดั่งล่องหนหายตัวได้ หรือเป็นขนตาของเราเองนั่นเอง         ขอให้สังเกตุดูความละเอียดอ่อนแยบยลและชั่วร้ายแต่กล้าแข็งที่สุดของอุปาทานเพื่อความเข้าใจ  แล้วจักเข้าใจว่าเหตุใดมันจึงครอบสรรพสัตว์ไว้ได้ถ้วนหน้าทุกยุคทุกสมัย,  อุปาทานการสนองตอบต่อตัณหาตนเองภายใต้การยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตนเองเป็นหลักสําคัญสูงสุด เป็นความพึงพอใจที่อยู่ลึกๆแอบซ่อนอยู่ในจิตเป็นการเสพสุขที่ละเอียดอ่อนที่สุด   สิ่งใดที่ยิ่งใกล้ชิดกับตัวตนหรือของตนก็ยิ่งมีการตอบสนองรุนแรงขึ้นเป็นลําดับเช่น(จากมากไปหาน้อย)ตนเอง บุตร ภรรยา ญาติ สิ่งของๆตน สิ่งของๆคนอื่น คนรู้จัก คนอื่นๆ,  พูดมาดังนี้บางคนอาจจะแย้งว่าบุตรซิ ต้องมาก่อน ยอมตายแทนลูกยังได้เลย!  ซึ่งก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ,  แต่เหตุเกิดที่เป็นจริงนั้น ท่านลองโยนิโสมนสิการด้วยความละเอียดและแยบคายแล้ว ท่านอาจจะพบสัจจธรรม ว่ากลับกลายเป็นเพราะปุถุชนนั้นมีความยึดมั่นในความพึงพอใจของตัวตนเองอย่างรุนแรงด้วยอํานาจของอุปาทานมากกว่า!          ในกรณีเช่นนี้ เช่นในเรื่องของบุตร เราลองมาโยนิโสมนสิการกันดู  พ่อแม่ทุกท่านอยากให้บุตรประสบความสําเร็จ เรียนดี  พ่อแม่แทบทุกคนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ต้องการอะไรจากลูกแค่ให้ลูกมีความสุขความเจริญก็พอใจ   ลองพิจารณามองดูลึกๆในจิตหรือความคิด(เห็นจิตในจิตตามความเป็นจริง)ท่านอาจจะพบเห็นความจริงว่า จริงๆแล้วปุถุชนนั้นต้องการเสพความพึงพอใจหรือสุขอย่างละเอียดให้ตัวตนเองเป็นหลักสําคัญสูงสุด เพราะตัวตนเรานั่นเองจะรู้สึกเป็นสุขหรือพึงพอใจ อยู่ลึกๆในใจ หรืออยู่ในที ว่าลูกประสบความสําเร็จ ทั้งๆที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้หวังจะรับอะไรโดยตรงจากลูกของตน ได้รับแต่ความพึงพอใจหรือความสุขอย่างละเอียดอ่อนไหวเป็นที่สุดโดยไม่รู้ตัว จะเห็นว่าเป็นการสนองตอบที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนที่สุด  มองเห็นไม่ชัดแจ้ง ถ้าไม่โยนิโสมนสิการแล้วจะมองไม่เห็นเลย,  ไม่เหมือนกับตัณหาหรือกองธรรมอื่นๆที่บางครั้งสังเกตุเห็นได้ง่ายๆ         เมื่อครู่เราคุยกันว่า บางคนนั้นกล่าวเลย ว่ายอมตายแทนลูกได้ และก็ทําจริงๆได้เสียด้วย  เช่นเราจําต้องเลือกว่าให้ใครตายระหว่างเรากับลูก(หรือพ่อแม่,คนรัก,หรือชาติ) ส่วนใหญ่จักยอมตายแทนลูกกันทั้งนั้น ทั้งๆที่กลัวความตายกันเป็นที่สุด ทําไม?  เพราะเรามีความพึงพอใจของตัวของตน ที่จะให้ลูกมีชีวิตอยู่ต่อไปซึ่งครอบงําด้วยอิทธิพลที่รุนแรงเหนือกว่าความตาย  ดังนั้นความรุนแรงของอุปาทานจึงมีอานุภาพที่ครอบคลุมฟ้าดินตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันและอนาคต  ความละเอียดอ่อนและซับซ้อน ทําให้แม้คนที่ตายแทนนั้นก็ยังไม่รู้สึกตัว เพราะถ้าถามว่า เพราะอะไรจึงยอมตายแทน?   แทบทุกคนจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเพราะความรัก   ลองโยนิโสมนสิการสังเกตุลึกๆในจิตของเราเองดูว่าเพราะความรักลูก หรือเพราะความพึงพอใจที่ตนได้รับในการที่ลูกมีชีวิตอยู่?  แล้วเราจะเห็นความยิ่งใหญ่อันชั่วร้ายของอุปาทานแล้วยังไม่รู้จักตัวตนของมันเลย,  แม้แต่บุคคลที่เลือกให้ลูกตาย แต่เราอยู่  ความพึงพอใจของใคร? ทุกสิ่งลงมาที่อุปาทานการตอบสนองความพึงพอใจในตนของตน หรือของเราทั้งสิ้น          ๙. อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ - เมื่อมีอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตัวของตน อันเป็นหลักสําคัญในสิ่งใดๆทุกๆสิ่ง  อันท่านกล่าวว่าอุปาทาน มี ๔                 ๑ กามุปาทาน คือการยึดมั่นพึงพอใจติดพันในกาม ในสิ่งที่อยากได้ในกามหรือทางโลกๆ เช่น ใน รูป รส  กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์(คิด)                 ๒ ทิฏฐุปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจใน "ทฤษฎี และความเชื่อ ความเข้าใจ(ทิฏฐิ)"   อยากให้เป็น หรือ ไม่อยากให้เป็น ไปตามที่ตนเชื่อ, ตามที่ตนยึดถือ, ยึดมั่น                 ๓ สีลัพพตุปาทาน คือการยึดมั่นยินดียินร้ายในศีลและพรต(ข้อปฏิบัติ)ด้วยกิเลสหรือตัณหาอย่างผิดๆ หรืออย่างงมงาย เช่นการทรมานกายเพื่อให้บรรลุธรรม, ถือคีลอย่างเดียวแล้วบรรลุธรรม, เชื่อว่าขลังว่าศักสิทธิ์, เชื่อว่าปฏิบัติสมาธิอย่างเดียวจนแก่กล้าแล้วปัญญาบรรลุมรรคผลจักเกิดขึ้นเองจึงไม่ปฏิบัติวิปัสสนาหรือการพิจารณาธรรมจนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง(สัมมาญาณ)                 ๔ อัตตวาทุปาทาน คือความยึดมั่นในวาทุ หรือวาทะ(ถ้อยคํา,คําพูด)ที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อแสดงความเป็นตัวตนของตน หรือของบุคคลอื่น อันเป็นความหลงผิดขั้นพื้นฐานที่เกิดในชีวิตประจําวันอย่างเป็นประจําบ่อยๆอยู่แล้ว เพราะความจําเป็นต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นๆโดยทางวาจาหรือถ้อยคํา และยังมีการช่วยเสริมด้วยถ้อยคําภาษาสมมุติเพื่อใช้สื่อสารกัน,เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกันและกันในชีวิตประจําวัน  อันก่อให้เกิดการหลง  การสั่งสม ความเคยชิน (สังขารในปฏิจจสมุปบาท) เกิดการมองเห็นสิ่งต่างๆแยกออกจากกันและกันตามคําพูดนั้นๆโดยไม่รู้ตัว  ทําให้เกิดความเป็นของตัว ของตน ของบุคคลอื่นเด่นชัดขึ้นในจิตเป็นประจําทุกขณะจิตที่สื่อสารพูดคุยกันโดยไม่รู้ตัว อันก่อให้เกิดความหลงผิดยึดถือโดยไม่รู้ตัว เช่น ของๆผม, ของๆคุณ, บ้านผม, รถฉัน, ลูกฉัน, เงินฉัน, สมบัติฉัน, นั่นของคุณ, นี่ของผม จนไปยึดถือยินดียินร้ายหรือพึงพอใจโดยไม่รู้ตัวตลอดเวลาในทุกขณะจิตในชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง         อุปาทานต่างๆเหล่านี้นี่เองที่เป็นปัจจัยให้เกิดภพ อันคือสถานะหรือสภาวะบทบาทของชีวิตที่จิตได้ตกลงใจเลือกเพื่อที่จะกระทําการตอบสนองต่ออุปาทานที่เกิดนั้นในรูปแบบต่างๆ  หรือกล่าวได้ว่าสถานะหรือสภาวะที่จะกระทําภายใต้อิทธิพลจากการที่ได้รับการตอบสนองเยี่ยงไรของอุปาทานความพึงพอใจ เช่นถ้าอุปาทานความพึงพอใจของตนนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง  ภพที่อุบัติขึ้น ก็จักเป็นสภาวะหรือบทบาทที่แสดงในรูปแบบต่างๆที่แสดงความเป็นปฏิปักษ์ หรือปฏิฆะ(ขุ่นข้อง,ขัดเคือง) คือ แสดงในรูปที่มีโลภะ, โทสะ, โมหะ (ความโลภ โกรธ หลง)   หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า           ภพ คือการเลือกบทบาท หรือสภาวะของชีวิตที่ตกลงใจแสดงออกหรือจะกระทําทางกาย ทางใจ ทางวาจา ภายใต้การครอบงําหรืออิทธิพลของการได้รับการตอบสนองของอุปาทานที่ครอบงําอยู่         ถ้าอุปาทานได้รับการตอบสนอง ภพที่เกิดก็เป็นลักษณะพึงพอใจหรือเป็นสุข(ในทางโลกๆ อันไม่เที่ยงและเป็นปริเทวะอันจักครํ่ครวญ โหยไห้ อาลัยหา ถวิลถึง คิดถึง อันก่อทุกข์ในภายหลัง),         ถ้าอุปาทานนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง ภพที่เกิดก็เป็นลักษณะไม่พึงพอใจหรือเป็นทุกข์นั่นเอง ขุ่นเคือง ขัดข้องใจ ท่านจึงตรัสว่าเพราะ อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมี ภพ,  นี่แหละคือ"ภพ"ที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งพุทธอุทานว่า "ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกต่อไป"         ภพ ท่านแบ่งออกเป็น ๓ มี         กามภพ สภาวะหรือบทบาทต่างๆในแบบทางโลกๆทั้งหลายทั้งปวงที่มนุษย์พึงมี อันเนื่องมาจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์  อันล้วนก่อให้เกิดปฏิฆะ-ความขุ่นเคือง ขัดข้อง, ราคะ(ความรัก, โลภ), โมหะ(ความหลง,ความไม่เข้าใจ) ฯลฯ. ดังเช่น ภพของความเป็นพ่อเป็นแม่  ภพความเป็นเจ้าของ ภพของความโลภ(ราคะ)  ภพของความขุ่นเคือง(ปฏิฆะ)  ภพของความหลง(โมหะ)...ฯลฯ.        รูปภพ สภาวะหรือสถานะในรูปฌาน(สังเกตุด้วยสําหรับนักปฏิบัติที่ยึดติดเน้นในการปฏิบัติในรูปแบบสมาธิหรือฌานอันเป็นสุข)        อรูปภพ สภาวะหรือสถานะในอรูปฌาน (เช่นเดียวกับรูปภพ)        ลองสังเกตุความแยบยลของอุปาทานที่ทําให้เกิดภพความเป็นพ่อแม่  โดยปกติเราจะไม่รู้สึกถึงภพหรือสภาวะบทบาทความเป็นพ่อเป็นแม่ แต่ถ้าลูกป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้น ภพอันเกิดแต่อุปาทานนั้นจะเสนอตัวเองที่แอบแฝงออกมาให้เห็นทันที  แสดงความกังวล ห่วงใย ต่างๆนาๆ  ต้องการชี้ให้เห็นสภาพที่ถูกครอบงําแล้วโดยไม่รู้ตัวด้วยอํานาจของอุปาทานอันยังให้เกิดภพว่านอกจากอํานาจอันยิ่งใหญ่แล้วยังล่องหนแอบแฝงอยู่ในจิต          ๑๐. ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ - ชาติคือความ "เกิด" นั่นเอง ในปฏิจจสมุปบาทนั้นจึงหมายถึง"ความเกิดขึ้นของกองทุกข์" คือเริ่มการกระทําใดๆ จะเป็นการลงมือกระทําทางกาย  ทางวาจา หรือทางใจ ใดๆตามภพที่ตกลงใจไว้ คือเกิดขันธ์๕ขึ้นนั่นเอง   แต่การกระทําใดๆที่เกิดจักเป็น อุปาทานขันธ์๕ เพราะมีความพึงพอใจหรือยินดียินร้ายเพื่อตัวตนของตนเป็นหลักแฝงอยู่ในขันธ์ต่างๆเหล่านั้นด้วย เช่น คือแฝงความพึงพอใจของตนเป็นหลักใหญ่อยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่เกิดขึ้น        ภพที่เกิดขึ้นถ้าเลือกสวมบทบาทเป็นปฏิปักษ์หรือเกลียดต่อสิ่งใดแล้ว ชาติหรือความเกิดของทุกข์นั้นจักกระทําหรือแสดงอาการไปตามนั้น คือแสดงหรือกระทําออกมาทางกาย,ทางวาจา,ทางใจ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งนั้น เช่นเราเกลียดใคร นั่นคือภพหรือบทบาทหรือสถานะแบบปฏิฆะหรือความเกลียด,ขุ่นเคือง ที่มีต่อบุคคลนั้น,  เมื่อเจอหรือพบปะกัน จะมีอาการไม่พอใจ ความเกลียด ความกลัว อันอาจแสดงออกมาได้ทั้งทางกาย(แสดงอาการฮึดฮัด,ทําร้าย,กลัว), วาจา(ด่าทอ, ว่าเสียดสี), และใจ(คิดต่อว่า, คิดไม่พอใจ,ด่าว่าในใจ)  เราจักเห็นหรือระลึกจากประสบการณ์(ย้อนระลึกขันธ์)ได้ว่าภพที่เลือกเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งใดๆนี้จักอยู่ในสภาวะหรือบทบาทต่อไปได้นานๆ และยังเก็บสะสมไว้ในรูปอาสวะกิเลสอีกด้วยซึ่งเมื่อเกิดสังขารคิดที่สั่งสมไว้เกิดขึ้นมาอีก และถูกกระตุ้นด้วยตัณหาอีกเมื่อใด ก็จักเกิดเป็นทุกข์จากอุปาทานขันธ์๕ในเรื่องเดิมๆอีกได้ง่าย ดุจดั่งฟืนที่เคยไฟ         ถ้ารัก(ราคะ)ใครแล้ว ก็จักกระทําอาการในรูปแบบต่างๆเช่นกันทั้งทางกาย,ทางวาจา,ทางใจ ซึ่งล้วนแล้วจะเป็นการแสดงออกถึงความรัก,ความหวง,ความห่วงใยต่างๆ ตามภพหรือบทบาทที่เลือกไว้         จักเห็นได้ว่าเมื่อมีอุปาทานมาครอบงําแล้ว จึงเกิดภพอันคือสภาวะหรือบทบาทที่ตกลงใจจะกระทําการใดๆตามอิทธิพลของอุปาทานที่ครอบงํา เช่นคิดที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในขณะจิต(หมายถึงชั่วขณะ กริยาอาการดับคล้ายๆกองไฟที่ค่อยๆมอดลง มอดลงไป ไม่ใช่ชนิดเปิดปุ๊บติดปั๊บ หรือปิดปุ๊บดับปั๊บ)เหมือนดังขันธ์๕ปกติโดยปกติทั่วไป  แต่เหตุที่เป็นทุกข์คงอยู่ได้นานๆเพราะอุปาทานได้ครอบงําแล้ว จึงเกิดความคิดนึกปรุงแต่งอย่างต่อเนื่อง เกิดมีการ เกิดดับๆ อย่างต่อเนื่อง(คิดนึกปรุงแต่งในเรื่องทุกข์ๆนั้น วนเวียนอยู่ตลอดเวลาเป็นวงจร  หรือคล้ายลูกโซ่ที่นํามาต่อกันเป็นโซ่  ฉันใดก็ฉันนั้น) จนกว่าจักเบี่ยงเบน หรือบดบังด้วยสิ่งอื่นๆเช่น สติ ความเหนื่อย ความหิว กิจธุระอื่นๆ หรือเรื่องอื่นๆเช่น ดูทีวี ฟังเพลง การสังสรร กินเหล้า เมายา มากระทบทําให้บดบังหรือเบี่ยงเบนออกจากทุกข์นั้นชั่วขณะ  แต่ก็ยังเก็บจําไว้เป็นในรูปของอาสวะกิเลส อันพร้อมที่จะกลับมาก่อเป็นทุกข์ใหม่ได้ทุกขณะ เมื่อสังขารคิดขึ้นมาและมีตัณหาเกิดขึ้น         สําหรับผู้ที่เข้าใจขันธ์๕จะมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น (มีอธิบายละเอียดในเรื่องขันธ์๕), กล่าวคือ ขันธ์ต่างๆที่เกิดต่อเนื่องจากเวทนาขันธ์ จักไปเกิดต่อใน"ชาติ" ไปถึง"ชรา-มรณะ"อันกลายเป็นขันธ์ชนิดอุปาทานขันธ์ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของอํานาจอุปาทาน ดังนั้นการกระทําทั้งทางกาย, วาจา, ใจ และขันธ์๕ที่จักเกิดขึ้นอีกต่อไปในทุกๆขันธ์ในเรื่องนั้นๆทั้งหมด ไม่ว่าจะต่อเนื่องยาวนานแค่ไหน(ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอุปาทานนั้นๆ) จักถูกครอบโคตรหรือครอบงําไว้ด้วยอุปาทาน คือเป็น อุปาทานขันธ์๕ไปด้วยทั้งสิ้น กล่าวคือก่อให้เกิดเป็นทุกข์ทุกๆขณะที่เกิดการกระทํา, พูด, หรือคิดในเรื่องนั้นๆจนกว่าจะดับ(มรณะ)ไป และเก็บสะสมเป็นอาสวะกิเลสอันพร้อมเป็นเชื้อทุกข์ได้อีก    ดังวงจรต่อไปนี้ (รายละเอียดแจงอยู่ในบทขันธ์๕)        ตามปกตินั้นจะเกิดขันธ์๕ อันเป็นกระบวนการชีวิต อันเกิดอยู่ทุกขณะจิตในผู้มีชีวิตทุกคน แม้แต่พระอรหันต์เจ้าดังนี้        (ตัวอย่างแบบย่อ  ผู้เขียนได้ละสัญญาจําอันแสดงมาก่อนหน้านี้ไว้เพื่อให้ดูสอดคล้องกับวงจรปฏิจจสมุปบาทที่ละไว้เช่นกันเพราะสัญญาจํานั้นมาจากอาสวะกิเลสแล้วนั่นเอง เพื่อความสะดวกในการพิจารณา   จะไปกล่าวแบบละเอียดในขันธ์๕ ในภายหน้า) รูป + ตา + วิญญาณ ผัสสะ  เวทนา + สัญญา(หมายรู้) + สังขารขันธ์          แต่เมื่อมีเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาเกิดขึ้น จะทําให้ขันธ์๕นั้น แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระบวนการการเกิดขึ้นแห่งทุกข์  ปฏิจจสมุปบาท   ดังนี้ รูป + ตา + วิญญาณ ผัสสะ  เวทนา + ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติเกิดคืออุปาทานสัญญา+อุปาทานสังขาร        เพื่อให้มองเห็นเปรียบเทียบกับวงจรปฏิจจสมุปบาทได้ชัดเจน  ผู้เขียนจะใช้ความคิด(สังขาร)แทนรูป และจัดลําดับการกระทบผัสสะใหม่ให้เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท  เพื่อความสะดวกและง่ายในการพิจารณา คิด(สังขาร)+วิญญาณ+ใจ(สฬายตนะ) ผัสสะ  เวทนา+ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติเกิดคืออุปาทานสัญญา+อุปาทานสังขาร        อุปาทานสัญญา หรือ สัญญูปาทานขันธ์ คือสัญญาชนิดหมายรู้ คิด คิดค้น เปรียบเทียบ ค้นคว้า ในสิ่งที่กระทบสัมผัสนั้น แต่ความหมายรู้หรือความคิดในสิ่งที่กระทบสัมผัสนั้น มีอุปาทานความยึดถือในความพึงพอใจแห่งตนแฝงอยู่เป็นหลักเป้าหมายสําคัญเสียแล้วโดยไม่รู้ตัว  ความหมายรู้หรือความคิดนั้นจึงถูกชักนําไปหรือถูกครอบงําให้ไม่เห็นตามความเป็นจริง หรือเห็นผิดๆคล้อยตามไปตามอํานาจของอุปาทานความพึงพอใจของตัวของตนที่เกิดขึ้น      หรือกล่าวได้ว่าอุปาทานสัญญา หรือสัญญูปาทานขันธ์นี้  เป็นต้นขบวนของอุปาทานขันธ์อันเป็นทุกข์ที่เกิดในกองชาติอันคือการเริ่มเกิดขึ้นของกองทุกข์ ดูรูปประกอบ        อุปาทานสังขาร หรือ สังขารูปาทานขันธ์ คือสังขารขันธ์ เช่น ความคิด, การกระทําทางกาย, การกระทําทางวาจาที่เกิดขึ้นก็จะถูกครอบงําโดยอิทธิพลของอุปาทานสัญญานั้น อันยึดถือในความพึงพอใจแห่งตนนั้นแฝงอยู่ อันรวมทั้งความเชื่อ(ทิฎฐุปาทาน-อันเป็นอุปาทานอยู่แล้ว) จึงทําให้การกระทําใดๆทั้งทางกาย วาจา ใจ ล้วนเป็นไปตามอิทธิพลของอุปาทานที่ได้ก่อกําเนิดสภาวะบทบาทหรือภพไว้แล้วทั้งสิ้น        และความคิดนึกต่างๆโดยเฉพาะความคิดนึกปรุงแต่ง อันล้วนเป็นขันธ์๕ ทั้งหลายที่เกิดต่อสืบเนื่องต่อไปอีกอันเป็นวิสัยปกติของปุถุชนนั้น ก็จะถูกครอบงํากลายเป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ทั้งสิ้น   ดังกระบวนการอุปาทานขันธ์๕ ดังต่อไปนี้ ความคิดที่เกิดขึ้นเดิมที่เป็นอุปาทานสังขารหรือความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดใหม่ต่อเนื่อง(อุปาทานรูป) + อุปาทานวิญญาณ + ใจ(สฬายตนะ) อุปาทานสัญญา(จํา) อุปาทานเวทนา อุปาทานสัญญา(หมายรู้)  อุปาทานสังขาร         อันล้วนแต่ถูกครอบงําโดยอุปาทานทั้งสิ้น   หรือเขียนใหม่เป็นแบบอุปาทานขันธ์๕ ได้ดังนี้ รูปูปาทานขันธ์+ใจ+วิญญาณูปาทานขันธ์  สัญญูปาทานขันธ์(จํา)   เวทนูปาทานขันธ์  สัญญูปาทานขันธ์  สังขารูปาทานขันธ์ อันจักทํางานต่อเนื่องแบบ เกิดดับๆ ดังภาพขยายวงจรของอุปาทานขันธ์๕นี้ด้านล่าง   อันต้องการแสดงการทํางานของอุปาทานขันธ์๕ข้างบน แต่เป็นแบบที่เกิดดับๆ ต่อสืบเนื่องกันในชรา(ชรา-มรณะ)ที่เกิดขึ้นเพราะชาติเป็นปัจจัย (ผู้เขียนจะตัดหรือละสัญญูปาทานขันธ์ชนิดความจําไว้  เพื่อให้คล้องจองกับหลักปฏิจจสมุปบาทอันไม่ได้แสดงสัญญาจําไว้ เพราะสัญญาส่วนจํานี้ได้แฝงอยู่ในส่วนของอาสวะกิเลสหรือสัญญาจําชนิดมีกิเลสนอนเนื่อง ดังที่ได้กล่างมาแล้ว) รูปูปาทานขันธ์ + ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์    เวทนูปาทานขันธ์                ภาพขยายวงจรของอุปาทานขันธ์ ๕                 อุปาทานขันธ์๕อันเกิดวนเวียนอยู่ในชรา                                         ที่จักเกิดใน ชรา(ชรา-มรณะ)ต่อไป    สังขารูปาทานขันธ์ เช่นคิดที่เป็นทุกข์         สัญญูปาทานขันธ์                                        ดูภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทอย่างละเอียดทั้งวงจรใหญ่ เพื่อประกอบการพิจารณา คลิกที่นี่          ท่านจึงตรัสแสดงไว้ว่า ภพ เป็นปัจจัยจึงมี ชาติ หรือการเกิดของกองทุกข์ได้เริ่มขึ้นแล้ว         ๑๑. ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรา-มรณะ ร่วมกับอาสวะกิเลส อันมี  โสกะ(ความโศก ความเศร้า), ปริเทวะ(ครํ่าครวญ รําพัน อาลัย), ทุกข์(ทุกข์ต่างๆทางกาย), โทมนัส(ความทุกข์อันเกิดแต่ใจ), อุปายาส(ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ)  เมื่อทุกข์นั้นเริ่มเกิดขึ้นแล้วก็จะเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์(อนิจจัง)เช่นกัน กล่าวคือมีการเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไป(ชราหรืออนิจจัง)ไปตามสภาวะทุกข์นั้นๆ ตามภาพขยายวงจรของอุปาทานขันธ์๕ข้างบน  คือเกิดอุปาทานขันธ์๕ที่ปรุงแต่งหลายๆครั้งในเรื่องนั้น เกิดๆ ดับๆ แปรปรวนตลอดเวลา  และในที่สุดก็ดับไป(มรณะหรือทุกขัง)ตามกฎพระไตรลักษณ์(ทุกขัง-คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปเป็นอาการธรรมดา)  แต่ถึงแม้ทุกข์นั้นดับไปแล้ว แต่ก็จะเก็บสะสมเป็นสัญญาความจําที่แฝงกิเลสต่างๆ(สิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวอันรวมทั้งความสุขและความทุกข์ที่ได้ดับไปแล้ว)ตามที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้น หรือที่เรียกกันว่าอาสวะกิเลส เก็บไว้ภายในจิตหรือใจ(รอวันที่จะกําเริบเกิดขึ้นใหม่)   หรือก็คือเก็บไว้ในรูปสัญญา(ความจํา)ชนิดมีกิเลสแอบแฝงในจิตใต้สํานึกนั่นเอง  อันถือว่าเป็นสิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมอง  ที่ยังคงค้างคา นอนเนื่อง หมักหมม อยู่ในจิตต่อไปอีกนานแสนนานโดยไม่รู้ตัวเพราะความละเอียดลึกซึ้งของอาสวะกิเลสดังที่กล่าวข้างต้นไว้แล้ว ดูภาพอุปาทานขันธ์๕ ในชราขณะทํางาน คลิกที่นี่            ๑๒. ชรามรณะและอาสวะกิเลส เป็นปัจจัยให้เกิด อวิชชา - วงจรจักย้อนกลับมาสู่ที่เดิม จึงทําให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ (เวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติ) เพราะความทุกข์ และอาสวะกิเลสที่นอนเนื่องหมักหมม ซึมซ่าน ย้อมจิต อยู่ในจิตอันทําให้จิตหมองหรือขุ่นมัวหรือเศร้าหมองอันเป็นปัจจัยทําให้ไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ชาติ) ซึ่งจะไปกระตุ้น เร่งเร้า เป็นพลังขับดัน และเพราะอวิชชาคือไม่มีวิชชาความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์  จึงยังให้เกิด  >>> สังขารขึ้นใหม่........ฯลฯ  วนเวียนเป็นวงจรหรือ วัฏฏะ หรือภวจักรของทุกข์ขึ้นใหม่  อันรวมถึงอาจไปก่อทุกข์อื่นๆเพิ่มอีกด้วยจากจิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมอง จึงไม่รู้จักจบสิ้นโดยไม่รู้ตัว จนกว่าจะมีสติมารู้ มาเข้าใจ หรือถูกเบี่ยงเบนหรือบดบังโดยเหตุอื่นๆก็ได้  แล้วก็เกิดใหม่อีก          ชรามรณะ+อาสวะกิเลส(โสกะ + ปริเทวะ + ทุกข์ + โทมนัส + อุปายาส)นั้น พระพุทธองค์ทรงรวมเรียกว่าทุกขสมุทัยเช่นกันกับ"ทุกขสมุทัยในอริยสัจ๔"(สมุทัย-เหตุที่ทําให้เกิดทุกข์) เพราะเป็นตัวกระตุ้นเร่งเร้า และเพราะอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงในการดับทุกข์ จึงก่อให้เกิดปัจจัยอื่นๆเป็นวงจรต่อเนื่อง ขับดันให้วงจรแห่งความทุกข์นี้ขับเคลื่อนเป็นวงจร หรือภวจักร ไปตลอดกาลนาน ดูภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทอย่างละเอียดประกอบการพิจารณา คลิกที่นี่            อวิชชาความไม่รู้ในความเป็นจริงในสภาวะธรรมการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับทุกข์ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารความคิดนึกที่สั่งสมอบรมไว้แต่เก่าก่อนอันเป็นทุกข์ อันมาจากอาสวะกิเลสอันเก็บจําไว้  จึงเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณการรับรู้ในสังขารนั้นตามหน้าที่ตน  อันเป็นปัจจัยให้นาม-รูปเกิดครบองค์ชีวิตในการประกอบการงานหรือหน้าที่ เป็นปัจจัยให้สฬายตนะอวัยวะรับสัมผัสทํางานตามหน้าที่ตนรับรู้ในสิ่งที่มากระทบสัมผัส  เป็นปัจจัยจึงเกิดการผัสสะอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาการรับรู้ความรู้สึกและจําได้ในสิ่งที่กระทบนั้น  อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาความทะยานอยากหรือไม่อยากในสิ่งใดๆ เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันยึดมั่นอยู่ในความพึงพอใจแห่งตน  เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภาวะบทบาทที่จะกระทําไปตามอุปาทานที่เกิดขึ้นนั้น  เป็นปัจจัยให้เกิดชาติความเกิดขึ้นแห่งทุกข์โดยสัญญาจําที่ถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทาน  แล้วจึงเป็นปัจจัยให้เกิดชราอันแปรปรวน เกิดดับ เกิดดับ อันล้วนเป็นอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นทุกข์ เป็นไปตามกําลังของอุปาทานที่ครอบงํานั้น จนมรณะดับไปในที่สุด และเก็บความทุกข์สุขทางโลกต่างๆนั้นไว้เป็นอาสวะกิเลสหรือสัญญาจําที่แฝงด้วยกิเลสนั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาความไม่รู้ในความเป็นจริงขึ้นอีก จึงเป็นปัจจัยให้วงจักร หรือวงจรแห่งความทุกข์นี้หมุนหนุนเนื่องอย่างไม่ขาดสาย เป็นวงจรอุบาท ที่ทําให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดในภพชาติไปตลอดกาลนาน    ข้อคิด         ผลของอาสวะกิเลสและอวิชชา ที่เห็นชัดแจ้งในยุคเทคโนโลยีได้แก่อาการที่แสดงหรือเป็นปัจจัยให้เกิดการป่วยทางจิตและทางกาย(ที่มีสาเหตุมาจากจิต มีมากมายจนคาดไม่ถึงจริงๆ) เหล่านี้ล้วนมีผลมาจากอาสวะกิเลสที่ทําให้ขุ่นข้องคับแค้นใจ(อุปายาส), เศร้าใจ (โทมนัส), ใจหดหู่เศร้าโศก (โสกะ)..ฯลฯ. สะสมพอกพูนจนไม่สามารถทนรับได้อีกจนแสดงผลทางกายออกมาเช่นป่วยเป็นโรคนั้น โรคนี้ โดยไม่ทราบหรือไม่มีสาเหตุทางกายโดยตรงหรือเชื้อโรค   หรือขุ่นมัวกราดเกรี้ยวด่าว่าไปทั่วโดยไม่มีเหตุอันควร(เป็นทางวจีสังขาร) หรือแสดงผลทางจิต เช่น อาการฟุ้งซ่าน หดหู่ใจ ใจเหี่ยวแห้งอยู่ลึกๆในใจโดยไม่ทราบเหตุชัดเจนหรือแน่ชัดเป็นเวลานานๆ   หรือเป็นโรคจิต(โรคทางมโนสังขาร)ก็เพราะอาสวะและอวิชชานี้เอง  เพราะทั้งจิตและกายต่างเป็นปัจจัยแก่กันและกันประกอบกันเป็นตัวตนหรือขันธ์๕  ซึ่งกายก็ต้องอาศัยจิต และจิตก็ต้องอาศัยกาย ดังนั้นบางครั้งจักเห็นอาการกายบังคับจิต และบางครั้งก็เห็นจิตบังคับกาย           มีพุทธพจน์กล่าวถึงความรู้สึกหดหู่ใจ เศร้าใจ ทรงแนะให้แก้ไขโดยใช้ธรรม ๔ ข้อใน โพชฌงค์๗ (ธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้)อันมี         ๑ สติ สัมโพชฌงค์ (ข้อ๑) สติ ความระลึกได้กํากับใจ, กาย มีสติ รู้ตัวว่าหดหู่ เหี่ยวแห้ง,เศร้าใจ,เสียใจ,อาลัย จากการเสื่อมหรือดับทั้งหลายเช่นเสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมยศ         ๒ ธรรมวิจยะ สัมโพชฌงค์ (ข้อ๒) โดยการโยนิโสมนสิการ พิจารณาธรรมที่บังเกิดแก่ใจ, หรือเฟ้นธรรมที่ถูกจริต หรือสงสัยไม่เข้าใจ ขึ้นมาไตร่ตรองให้เข้าใจ  หรือมองเห็นสิ่งที่พิจารณานั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป(ไตรลักษณ์),  ปัญญามองเห็นอริยสัจ         ๓ วิริยะ สัมโพชฌงค์ (ข้อ๓) ความเพียร, ความพยายาม  เข้มแข็ง  และอันหมายรวมถึงการเพียรยกจิตไม่ให้หดหู่ถดถอย ซึ่งผู้ปฏิบัติโดยทั่วไปมักนึกไม่ถึง         ๔ ปิติ สัมโพชฌงค์ (ข้อ๔)ความอิ่มใจ ซาบซ่านใจ ใจฟู เพื่อนําออกและละเสียซึ่งความหดหู่ใจ         และอยู่กับปัจจุบันจิต อย่าคิดนึกปรุงแต่งถึงอดีตที่ผ่านมาแล้ว และอนาคตที่ยังไม่ถึงและไม่แน่นอน  หมายถึงทําสิ่งในปัจจุบันที่เกิดที่เป็น หรือทําหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยไม่มีตัณหาความอยากหรือไม่อยากไปปรุงแต่งใดๆ         และยังทรงกล่าวถึงวิธีระงับความฟุ้งซ่าน,หงุดหงิด โดยใช้ ธรรม ๔ ข้อของสัมโพชฌงค์ อันมี         ๑ สติ สัมโพชฌงค์ มีสติ รู้ตัวว่าฟุ้งซ่าน หงุดหงิด จากความไม่ได้ดังใจ, ขุ่นข้อง คับแค้นใจ         ๒ ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ (ข้อ๕)สงบกายใจ คือผ่อนคลายกาย ใจ         ๓ สมาธิ สัมโพชฌงค์ (ข้อ๖)จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กําหนด ไม่วอกแวก อยู่กับกิจหรืองานที่ทํา หรืออยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กําหนดเช่นลมหายใจ หรือบริกรรมพุทธโธ อันเป็นอุบายวิธีเพื่อละความฟุ้งซ่านซัดส่ายไปคิดนึกปรุงแต่งให้ก่อทุกข์ต่อเนื่องไปอีก         ๔ อุเบกขา สัมโพชฌงค์ (ข้อ๗)รู้ตามความเป็นจริงในสิ่ง(ธรรม)นั้น แล้ววางใจเป็นกลางวางเฉย, วางเฉยโดยการไม่เอนเอียงแทรกแซงไปคิดนึกปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือชั่วคือไม่ไปปรุงแต่งให้ยึดมั่นถือมั่นใน ดีก็ไม่ ชั่วก็ไม่  / บุญก็ไม่ บาปก็ไม่  / สุขก็ไม่ ทุกข์ก็ไม่  คือไม่ปรุงแต่งยึดถือนั่นเอง เช่น ยึดว่าเราถูกก็ไม่ / ยึดว่าเราผิดก็ไม่    ข้อคิด          ท่านเคยโยนิโสมนสิการไหมว่า เหตุใดพระพุทธองค์จึงทรงตรัสไว้ว่า จะบังเกิดพระพุทธเจ้าสักกี่พระองค์ก็ตาม  ห่างกันกี่กัป กี่แสนกัลป์ก็ตาม  พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่มาบังเกิดนั้นก็ตรัสรู้ธรรม ธรรมเดียวกันนั่นเอง  อันจักเป็นไปได้อย่างไร?         เหตุเพราะธรรมนั้นเป็นสิ่งๆเดียวกันนั่นเอง คือสภาวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติ ของทุกข์และการดับทุกข์อันเป็นปรมัตถ์ตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงเป็นการตรัสรู้ในสภาวะธรรมอันเป็นไปตามกฏธรรมชาติอันสูงสุดจึงเป็นธรรมเดียวกันทั้งสิ้น   หยุดคิดนึกปรุงแต่ง       หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวอยู่เนืองๆว่า อย่าส่งจิตออกนอก  ด้วยเหตุเพราะตัณหาที่เกิดนั้นอาจไม่ได้เกิดจากเวทนาของความคิดหรือสังขารแรกแต่ฝ่ายเดียว  แต่เกิดจากเวทนาของความคิด(นึกปรุงแต่ง)ที่เกิดขึ้นตามหลังมาเรื่อยๆก็ได้  หลวงปู่จึงมักกล่าวสอนอยู่เนืองๆว่าอย่าส่งจิตออกนอก(ไปคิดนึกปรุงแต่ง) เพราะจะยังให้เกิดทุกข์ขึ้นตามมาในที่สุดนั่นเอง  หลวงปู่จึงให้ตัดไฟเสียแต่ต้นลมเพราะที่เวทนานั้นเป็นกระบวนการธรรมชาติ เกิดอย่างไรก็เป็นเช่นนั้นเอง จึงหยุดที่เหตุปัจจัยโดยตรงที่ทําให้เกิดเวทนาคือหยุดคิดนึกปรุงแต่ง อันเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท   คติธรรม       ท่านผู้ที่หายจากโรคอันเกิดจากใจได้แก่ผู้สิ้นกิเลสแล้ว ถึงแม้โรคในกายของท่าน จะยังปรากฎอยู่ ก็เป็นแต่อาการความรู้สึก หาได้ทำใจของท่านให้กำเริบไม่ เพราะโรคใจของท่านไม่มีแล้ว สมุฏฐานคืออุปาทานของท่านได้ถอนหมดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงมีความสุขและได้ลาภอย่างยิ่งในความไม่มีโรค ธรรมเทศนาเรื่องโรค หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี   คติธรรม เราทุกข์เพราะความคิดนึกปรุงแต่งของเราเอง (คิดนึกปรุงแต่ง-ตัณหา) เราขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะเสวยอารมณ์ของเราเอง (เสวยอารมณ์-เวทนา) ทั้งความคิดนึกปรุงแต่งและอารมณ์ทุกชนิดเป็นเพียงสภาวะเกิดๆดับๆ   พอรู้ทันมันหายไป (รู้ทัน-สติ) ท่านอาจารย์ถาวร คงปาน   คติธรรม จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิตส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์   จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค   ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ หลวงปู่ ดูลย์  อตุโล จิตส่งออกนอก-ส่งจิตไปคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ รับสนองอารมณ์-เสวยอารมณ์, เวทนา หวั่นไหว-คิดนึกปรุงแต่งแล้วเกิดตัณหา จิตเห็นจิต-สติเห็นจิตสังขาร หรือ จิตตานุปัสสนา          คติธรรม คําสอนของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ข้อนี้ในความเห็นของผู้เขียน ล้วนแฝงไว้ด้วยแก่นธรรมอันสําคัญยิ่ง   อันน่าจดจําเป็นเครื่องเตือนสติ  มีหลักธรรม         ๑. อริยสัจ๔ อันแสดงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค         ๒. ปฏิจจสมุปบาท อันแสดงให้เห็นถึงกระบวนการเกิดของทุกข์ อันเนื่องจากเวทนาหรือเสวยอารมณ์ และตัณหา         ๓. สติปัฏฐาน๔ อันแสดงถึงจิตตานุปัสสนาให้ เห็นจิตในจิต หรือจิตเห็นจิต  หรือจิตเห็นจิตสังขาร  หรือสติเห็นจิตสังขารในขันธ์๕ นั่นเองเช่นโลภะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน   ธรรมข้อคิดของ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) ดูไม้ท่อนนี้ซิ ... สั้นหรือยาว สมมติว่า คุณอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ ...ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้สั้นกว่านี้ ... ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว หมายความว่า ตัณหา ของคุณต่างหาก ที่ทำให้มีสั้น มียาว มีชั่ว มีทุกข์ มีสุข ขึ้นมา    ต้องการบันทึกเฉพาะหน้า"ปฏิจจสมุปบาทการเกิดทุกข์"นี้ไว้ในแฟ้มFavorite คลิกที่นี่ ท่านจะซ่อมเครื่องยนต์ ต้องมีความรู้เรื่องเครื่องยนต์ก่อน,  ฉันใดก็ฉันนั้น จะดับทุกข์จึงต้องรู้เรื่องทุกข์อย่างแจ่มแจ้งก่อน  ไป "ปฎิจจสมุปบาท ๒" กระบวนการดับไปแห่งทุกข์ และการปฏิบัติ ควรอ่านขันธ์๕  ในหัวข้อที่ ๖ ก่อน เพราะเมื่อวงจรแห่งการเกิดทุกข์ถูกตัดขาดแล้วก็คือ เกิดกระบวนการการดับไปแห่งทุกข์ แท้ที่จริงก็คือกระบวนการขันธ์๕แห่งชีวิต อันเป็นกระแสสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)นั่นเอง    ผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติ แล้วเกิด ดวงตาเห็นธรรม หรือได้รับความสงบเย็นจากคําสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดช่วยกันเผยแผ่หลักธรรมในขั้นปัญญาเป็นธรรมทาน เพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์ของพระพุทธองค์ ตามกําลังแห่งตน เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาให้ดําเนินไปตามพระพุทธประสงค์ ก่อนที่จะสายเกินไป จนเหลือแต่การปฏิบัติในขั้นทาน ศีล มิจฉาสมาธิ และสีลัพพตปรามาส  อันเป็นโทษมัวหมองต่อพระศาสนา และผู้ปฏิบัติที่เป็นอนุชนรุ่นหลังโดยไม่รู้ตัว       พุทธพจน์   โพชฌงค์๗ (ธรรมแห่งเครื่องตรัสรู้) และพระสูตรจากพระไตรปิฎก ธัมมจักกัปปวัตนสูตร (ปฐมเทศนา แสดงอริยสัจ๔) มหาสติปัฏฐานสูตร (แสดงการใช้สติในการปฏิบัติ) อนัตตลักขณสูตร (แสดงอนัตตลักษณะ) อาทิตตปริยายสูตร (แสดงสิ่งที่เป็นของร้อน) อานาปานสติสูตร  (แสดงการฝึกสติโดยการพิจารณาลมหายใจ) กายคตาสติสูตร (แสดงการใช้สติพิจารณากาย) โลกวิปัตติสูตร (แสดงโลกธรรม๘ - ธรรมชาติของโลก อันเป็นของคู่โลก) มรณัฐสติสูตร (แสดงมรณานุสติ และความเพียร)                    พุทธพจน์ ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท    (มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘)                    ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม    (วักกลิสูตร๑๗/๑๒๙)                                                  ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน    (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)   ผู้มีธรรม  ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งซึ่งล่วงไปแล้ว อีกทั้งยังไม่เพ้อฝันถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดํารงอยู่ด้วยปัจจุบันธรรม  ผิวพรรณจึงผ่องใส    (อรัญญสูตร ๑๕/๖)                                          "อารมณ์(ในทางพุทธศาสนาหมายถึงสิ่งที่จิตยึดเหนี่ยว คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์)อันวิจิตรทั้งหลายในโลกหาใช่(ทําให้เกิด)กามไม่,  ราคะ(ตัณหา)ที่เกิดจากความคิดของคนต่างหากที่เป็นกาม,   อารมณ์ทั้งหลายอันวิจิตรย่อมดํารงอยู่ตามสภาพของมัน อย่างนั้นเอง ดังนั้นชนอันประกอบด้วยธรรมทั้งหลายจึงขจัดแต่เพียงตัวความอยาก(ตัณหาฉันทะ)ในอารมณ์วิจิตรเหล่านั้น (กล่าวคือมิได้กําจัดอารมณ์อันวิจิตร) "  (อฺงคุตฺตรนิกาย ฉกฺกนิปาต ๒๒/๓๓๔/๔๖๐)       กามทั้งหลายมีรสอันน่ายินดีน้อย    มีทุกข์มาก    มีความคับแค้นมาก    โทษอันร้ายแรงมีอยู่ในกามนั้นอย่างยิ่ง   (จูฬทุกขักขันธสูตร ๑๒/๑๔๓)                                                                               กามทั้งปวงให้ความยินดีน้อย แต่มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ความจริงเช่นนี้แล้ว  จึงไม่ควรจะยินดีในกามแม้ที่เป็นของทิพย์   (ธรรมบท ๒๕/๓๔)   โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่นไปสู่ "กามคุณเป็นอดีต"นั้น,  น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต   ความไม่ประมาทและสติเป็นเครื่องป้องกันจิตจากกามคุณ๕ อันเป็นอดีตที่เคยสัมผัสมา และดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น    (พุทธประวัติจากพระโอษฐ์-ท่านพุทธทาส)                                                                                   อะไรหนอ เป็นรสอร่อยของรูป ?         -สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้น สุขและโสมนัสนั้นแลเป็นรสอร่อยของรูป         อะไรเป็นโทษของรูป ?         -รูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด อาการนั้นเป็นโทษของรูป         อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากรูป ?         -การนําออกและละเสีย ซึ่งความกําหนัดด้วยอํานาจความพึงพอใจในรูปเสียได้นั้น  เป็นอุบายเครื่องพ้นจากรูปได้         โดยนัยเดียวกันกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และ ธาตุ ๔ และ อายตนะ๖ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์)                        รูปไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา, สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วย "สัมมาปัญญา"ตามที่มันเป็นอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา, มิใช่เราเป็นนั่น, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (โดยนัยเดียวกันกับ เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ)   กามทุกชนิด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์(คงทนอยู่ไม่ได้) มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา ภพทุกภพ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์(คงทนอยู่ไม่ได้) มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา   ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว  ไม่ถืออุกกาบาต  ไม่ถือความฝัน  ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว  ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว ครอบงํากิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพ อันประดุจคูกั้นเสียได้ ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก   (ขุ.ชา. ๒๗/๘๗/๒๘  หรือ พุทธธรรม น.๒๑๕)     ถ้าแม้นบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบนํ้า(ชําระบาป)  กบ เต่า นาค จรเข้ และสัตว์เหล่าอื่นที่เที่ยวไปในแม่นํ้า ก็จะพากันไปสู่สวรรค์แน่นอน.......(และท่านตรัสในมุมมองอีกมุมหนึ่งว่า)ถ้าแม่นํ้าเหล่านี้พึงนําบาปที่ท่านทําไว้แล้วในกาลก่อนไปได้ไซร้ แม่นํ้าเหล่านี้ก็พึงนําบุญของท่านไปได้ด้วย     (ขุ.เถรี.๒๖/๔๖๖/๔๗๓ หรือ พุทธธรรม น.๒๑๕)   ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลา ผู้คอยนับฤกษ์อยู่   ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ของประโยชน์เอง  ดวงดาวจักทําอะไรได้    (ขุ.ชา ๒๗/๔๙/๑๖ หรือ พุทธธรรม น.๒๑๕)   บุคคลประพฤติชอบเวลาใด  เวลานั้นได้ชื่อว่า  เป็นฤกษ์ดี  เป็นมงคลดี  เป็นเช้าดี  อรุณดี  เป็นขณะดี  ยามดี  และ(นับได้ว่า)เป็นอันได้ทําบูชาดีแล้วในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย  แม้กายกรรมของเขา(นั้น)ก็เป็นสิทธิโชค  วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค  มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค  ประณิธานของเขาก็(ย่อมต้อง)เป็นสิทธิโชค  ครั้นกระทํากรรม(การกระทําใดๆ)ทั้งหลายที่เป็นสิทธิโชคแล้ว เขาย่อมได้ประสบแต่ผลที่มุ่งหมายอันเป็นสิทธิโชค    (องฺ.ติก. ๒๐/๕๙๕/๓๗๙ หรือพุทธธรรม น. ๒๑๕)       [๘๒๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย   บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป เกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบกันของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ  และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา)  เป็นสุขบ้าง  เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง       เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้อง(กระทบ)แล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูดถึง  ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่       อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เศร้าโศก  ไม่ลำบาก  ไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลง(โมหะ)พร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่       อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป  คุณ  โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัย  นอนเนื่องอยู่       ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา,  ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา,  ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา,  ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ       ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู,   กลิ่น-จมูก,   รส-ลิ้น,   สัมผัส-กาย,    ธรรมารมณ์-ใจ        (ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)   (พุทธพจน์  ข้อธรรมสั้นๆ  คัดลอกจากหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสุภาสิต โดยธรรมรักษา) ตัณหาเป็นบ่อเกิดของความทุกข์    (ตัณหาสูตร ๒๑/๑๐)                     ความอยาก(ความไม่อยาก)ทําให้คนต้องเกิด    (ตัณหาสูตร ๒๑/๑๐)   โลกถูกความอยาก(และความไม่อยาก)นําไป    (ตัณหาสูตร ๑๕/๕๓)   ความโศรกย่อมเกิดมาจากความอยาก(และความไม่อยาก)    (ธรรมบท ๒๕/๓๗)   เมื่อละความอยาก(ความไม่อยาก)ได้ขาด  จึงจะตัดเครื่องผูกได้หมด   (อิจฉาสูตร ๑๕/๕๖)   คนส่วนมากติดอยู่ในความอยาก(และความไม่อยาก)  เหมือนนกติดบ่วง     (ปาเถยยสูตร ๑๕/๖๑)   ความอยาก(ความไม่อยาก)ละได้ยากในโลก    (ปาเถยยสูตร ๑๕/๖๑)    แม่นํ้าเสมอด้วยความอยาก(ความไม่อยาก)ไม่มี    (ธรรมบท ๒๕/๔๐)   โลกทั้งมวล เป็นไปตามอํานาจของสิ่งเดียวคือตัณหา(ความอยากและไม่อยาก)   (ตัณหาสูตร ๑๕/๕๓)    โลกถูกตัณหาความอยาก(และความไม่อยาก)ผูกเอาไว้   (อิจฉาสูตร ๑๕/๕๕)   ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง   (ธรรมบท ๒๕/๕๓)   จงอาศัยตัณหาละตัณหาเสีย(ตัณหาอยากพ้นทุกข์ไปดับตัณหา)    (จตุกกนิบาต ๒๑/๑๗๐)   ภัยย่อมเกิดมาจากความอยาก(และความไม่อยาก)    (ธรรมบท ๒๕/๓๗)    เพราะตัดตัณหาได้  จึงตัดเครื่องผูกได้หมด    (พันธนสูตร ๑๕/๕๔)   ทุกคนย่อมเป็นไปตามการกระทํา(กรรม)     (อัยยิกาสูตร ๑๕/๑๓๗)   ความเพียรพยายามพวกเธอต้องทําเอง  ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น    (ธรรมบท ๒๕/๔๓)   คนจะพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร     (อาฬวกสูตร ๑๕/๒๙๘)   แสวงหาที่ไม่ฉลาดในธรรม  ย่อมไม่เห็นแจ้งนิพพานที่อยู่ใกล้ตัว    (ปัคคัยหสูตร ๑๘/๑๔๒)   จิตมีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก    (ธรรมบท ๒๕/๑๗)   ธรรมชาติของจิตย่อมผุดผ่อง  แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสจรมา    (เอกนิบาต ๒๐/๙)   สิ่งทั้งหลายมีใจนําหน้า    (ธรรมบท ๒๕/๑๓)   จิตนั้นเห็นได้แสนยาก  ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่    (ธรรมบท ๒๕/๑๗)   จิตหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)    ( กถาวัตถุสูตร ๒๐/๒๒๕)   อย่ายอมตกอยู่ในอํานาจของจิต   (คุตตาเถรีคาถา ๒๖/๔๖๖)   จิตที่ฝึกหัดดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่    (เอกนิบาต ๒๐/๕)   เราไม่เล็งเห็นสื่งอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง  ที่จะเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิตเลย   (เอกนิบาต ๒๐/๙)   คนย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา   (อาฬวกสูตร ๒๕/๓๓๐)   ผู้มีปัญญาย่อมตามรักษาจิต    (ธรรมบถ ๒๕/๑๗)   จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนําความสุขมาให้    (ธรรมบถ๒๕/๑๗)   ปัญญาไม่เกิดแก่ผู้ไม่พิจารณา   (ธรรมบท ๒๕/๕๔)   แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี    (นัตถิปุตตสมสูตร ๑๕/๙)   ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก   (ปัชโชตสูตร ๑๕/๖๒)   ราคะมีโทษน้อยแต่คลายช้า    โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว    โมหะ(ความหลง)มีโทษมากด้วย และคลายช้าด้วย           (ติตถิยสูตร ๒๐/๒๒๖)   คนทั้งปวงเศร้าโศก  เพราะสิ่งที่ยึดมั่นว่าของกู   (ชราสูตร ๒๕/๔๓๘)   ผู้ใดสําคัญตนว่าเราเสมอเขา  เราดีกว่าเขา  เราเลวกว่าเขา  ผู้นั้นจะต้องทะเลาะกับเขา  (สมิทธิสูตร ๑๕/๑๖)   ความเพลิดเพลิน(นันทิ-ทําหน้าที่เป็นตัณหา)เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์    (มูลปริยายสูตร ๑๒/๑๑)   ความยินดีเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์    (คันธภกสูตร ๑๘/๓๕๗)   ผู้ไม่ระวังผัสสะทั้งหกแม้ประตูหนึ่ง  ย่อมประสพความทุกข์    (สังคัยหสูตร๑๘/๗๖)   เราบัญญัติสอนเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ ทั้งในกาลก่อนและกาลบัดนี้    (อลคัททูปมสูตร ๑๒/๒๒๗)   เป็นผู้รักษาอย่างเดียว คืออะไร? คือเธอเป็นผู้มีใจที่รักษาไว้ด้วยสติ    (อริยวสสูตร ๒๔/๓๕)   คนมีสติย่อมดีขึ้นทุกวัน    (มณิภัททสูตร ๑๕/๒๘๙)   เรากล่าวว่าสติมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง    (อัคคิสูตร ๑๙/๑๕๗)   ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ  ไม่สําคัญตนว่าเสมอเขา  ว่าวิเศษกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขาในโลก   กิเลสของผู้นั้นไม่มีทางฟูขึ้น    (ปุราเภทสูตร  ๒๕/๔๔๗)   สติเป็นเตรื่องยึดเหนี่ยวของใจ   (อุณณาภพราหมณสูตร ๑๙/๒๗๒)   สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม  (กรรมอันหมายถึงการกระทําที่มีเจตนา มิใช่กรรมเก่า-ผู้เขียน)   (วาเสฏฐสูตร ๒๕/๔๐๙)   ไม่ควรคิดถึงสื่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง     (ภัทเทกรัตตสูตร ๑๔/๒๙๗)     กลับไปพุทธพจน์                            มหาสติปัฏฐานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร             สติปัฏฐาน๔ เป็นการฝึกสติและใช้สตินั้นในการปฏิบัติ อันท่านได้กล่าวไว้ว่าเป็นทางปฏิบัติสายเอก   แบ่งออกเป็น ๔ หมวด              กายานุปัสนา              เวทนานุปัสสนา              จิตตานุปัสสนา              ธัมมานุปัสสนา             มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้          ๑.กายานุปัสสนา คือมีทั้งการฝึกสติ และให้ใช้สตินั้นมาพิจารณากาย หรือตามดูรู้ทันกาย  ตลอดจนพิจารณา เวทนา จิต และธรรมในภายหลัง, จุดประสงค์คือเป็นการฝึกสติในขั้นแรกแล้วใช้สตินั้นพิจารณากาย เพื่อให้หน่ายคลายกําหนัดและความหลงไหลในกายสังขาร  อันท่านได้กล่าวไว้ดังนี้                     ๑.๑ อานาปานสติ เป็นการฝึกสติ ตั้งสติกําหนดตามลมหายใจเข้าออก แบบต่างๆ  อันท่านกล่าวไว้ว่าลมหายใจนั้นก็เป็นกายสังขารชนิดหนึ่ง(การกระทําทางกาย) เช่นเดียวกับการยืน นอน เดิน นั่ง                     ๑.๒ กําหนดรู้เท่าทันอิริยาบถ เป็นการฝึกสติให้รู้เท่าทันอิริยาบถต่างๆ  เช่น ยืน นอน เดิน นั่ง ฯลฯ.                     ๑.๓ สัมปชัญญะ เป็นการฝึกสติให้ระลึกรู้อยู่ในการกระทําอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหว เช่น การดื่ม การกิน การเดิน การเคี้ยว ปัสสาวะ อุจจาระ ฯลฯ.                     ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ เป็นการใช้สติที่ฝึกนั้น มาพิจารณากายของตนว่าล้วนประกอบด้วยสิ่งที่ไม่สะอาด สิ่งปฏิกูลต่างๆทั้งสิ้น เพื่อให้คลายความรัก ความหลงใหล ความลุ่มหลง ความยึดถือ ทั้งในกายของตน และกายของบุคคลอื่นๆด้วย                      ๑.๕ ธาตุมนสิการ เป็นการใช้สติในการพิจารณาให้เห็นว่ากายเรานั้นตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์) หรือแก่นแท้แล้วล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยของธาตุทั้ง๔  หรือสักแต่ว่าธาตุ๔มาประชุมรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนอยู่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่คงทนไปตลอดกาล                      ๑.๖ นวสีวถิกา พิจารณาศพในสภาพต่างๆอันมี ๙ ระยะ เพื่อให้คลายความยึดมั่น ความหลงใหล ลุ่มหลงในกาย ว่ากายเราหรือบุคคลอื่นๆ ต่างก็ล้วนเป็นเช่นนี้ในที่สุด   ในปัจจุบันนี้คงต้องใช้การน้อมคิดนึกให้เข้าใจ            ๒. เวทนานุปัสนา การมีสติรู้เท่าทันเวทนา กล่าวคือเมื่อเกิด สุขเวทนา ทุกขเวทนา เฉยๆหรืออทุกขมสุขก็ดี ทั้งที่มีอามิส(เจือด้วยกิเลสตัณหา), หรือไม่มีอามิส(เป็นธรรมชาติไม่มีอามิส)ก็รู้ชัดตามที่เป็น (สังเกตุสักนิดตรง รู้ชัดตามที่เป็น ไม่ใช่พยายามไม่ให้เกิดไม่ให้มี)  สติรู้เท่าทันนั้นครอบคลุมถึงรู้แล้วเป็นกลางอุเบกขา วางทีเฉยดูโดยไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในทางดีหรือทางร้าย เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้นอีก         ลองสังเกตุดูความหมายข้างต้น กล่าวคือเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง และให้มีสติรู้ทันเวทนานั้นตามความเป็นจริง         ๓. จิตตานุปัสสนา การมีสติรู้ทันจิต หรือจิตสังขาร หรือความคิด ว่าจิตในขณะนั้น มีราคะ ไม่มีราคะ,  มีโทสะ ไม่มีโทสะ,  มีโมหะ ไม่มีโมหะ,  คิดฟุ้งซ่าน,  เป็นสมาธิ,  หลุดพ้น ไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นในขณะนั้น(สังเกตุสักนิดตรง รู้ชัดตามที่เป็น  ไม่ใช่พยายามไม่ให้เกิดไม่ให้มี และที่สําคัญคือเป็นกลางอุเบกขาวางทีเฉยดูโดยไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในทางดีหรือทางร้าย ต่อจากสติรู้เท่าทันนั้น เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้นอีก)         หรือ คือรู้เท่าทันความคิดหรือจิตสังขาร อันเกิดเนื่องมาจากเวทนาความรู้สึกรับรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ)         ๔. ธัมมานุปัสสนา การมีสติรู้ทันธรรม อันหมายถึงมีธรรมเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องพิจารณา เครื่องเตือนสติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือปัญญาญาณ อันนําไปใช้ประกอบการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์         ข้อสังเกตุ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน๔ เป็นการปฏิบัติในชีวิตประจําวันทุกขณะจิต ไม่ใช่การนั่งพิจารณาในรูปแบบสมาธิหรือเฉพาะเวลาแต่อย่างเดียว         ถ้านั่งปฏิบัติในรูปแแบบ ให้มีสติอย่าปล่อยให้เลื่อนไหล ผ่อนคลายกายและใจ เมื่อดูลมหายใจ ก็จะเกิดอาการต่างๆทางวิปัสสนามาให้เห็น แต่นักปฏิบัติมักจะไม่ชอบ คิดว่าผิด อันไปคิดกันว่าไม่ดี ไม่ถูก จิตไม่สงบ เพราะไม่รู้จึงไม่แยกแยะว่านี่เป็นการฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกสมาธิไม่ได้ลิ้มรสของสมาธิหรือฌานตามที่เข้าใจหรือเคยประสบ,  โดยธรรมชาติของจิตนั้น จิตจะส่งออกไปเห็นนั่น เห็นนี่ คิดนั่น คิดนี่ เป็นปกติธรรมดาตามสภาวะธรรมชาติ เพียงให้มีสติรู้ว่านั่นแหละจิตสังขารหรือความคิดความนึกหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นโลภ โกรธ หลง หดหู่ สมาธิ ฌาน ฯ.ก็ให้มีสติรู้ตามความเป็นจริง อย่าไปกดข่ม แค่ต้องรับรู้ตามจริง แล้วเป็นอุเบกขาเป็นกลาง เป็นกลางอย่างไร? เป็นกลางโดยการวางเฉยไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในทางใดๆทั้งสิ้น อันเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาที่ถูกต้อง,  หรือเมื่อปวดเมื่อยหรือรับรู้ความรู้สึกใดๆที่กระทบทางกายหรือใจ ก็ให้รู้ว่านั่นแหละเวทนา ให้มีสติรู้ว่าเป็นความรู้สึกรับรู้ต่อกายหรือใจเยี่ยงไร มีกิเลสแฝงด้วยไหม แล้วอุเบกขาเป็นกลางวางเฉยไม่คิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในด้านใด รู้สึกอย่างไรก็รู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าอาการนั้นๆต้องหายไป แต่ต้องไม่ใส่ใจวางใจเป็นอุเบกขาไม่ปรุงแต่ง อันเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนา,  หรือธรรมใดบังเกิดต่อจิตหรือหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ก็ให้พิจารณาธรรมนั้นๆเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอันมีกําลังของสติที่ไม่ซัดส่ายมีกําลัง เป็นเครื่องช่วย อันเป็นการปฏิบัติธรรมานุปัสสนา,  หรือใช้สตินั้นพิจารณากายว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย สักแต่ว่าธาตุ๔มาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง หรืออันล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูล ฯ. เป็นการคลายลดละความยึดถือยึดมั่นในกายแห่งตน อันเป็นการปฏิบัติแบบกายานุปัสสนา         พุทธประสงค์ของสติปัฏฐาน๔นั้นก็คือต้องการให้ฝึกสติและใช้สตินั้นพิจารณาอยู่ในธรรมทั้ง๔  คือพิจารณาธรรมใดหรือสิ่งใดที่บังเกิดแก่จิตในขณะนั้น  หรือตามจริตของผู้ปฏิบัติ ซึ่งนอกจากจะส่งเสริมให้เกิดปัญญาญาณ(สัมมาญาณ)อันเป็นมรรคองค์ที่๙แล้ว ยังเป็นการให้จิตวนเวียนเฝ้าปฏิบัติและพิจารณาอยู่ในธรรมเหล่านั้น อันเมื่อปฏิบัติหรือพิจารณาอย่างมีความเพียรไม่ย่อท้อ แทบทุกขณะจิตในชีวิตประจําวัน ย่อมส่งผลให้ไม่ส่งจิตออกนอกไปปรุงแต่ง(คิดนึกปรุงแต่ง) อันเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้ไม่เกิดทุกข์  และเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องอันเนื่องมาจากการปฏิบัติและพิจารณา และเกิดกําลังแห่งจิตอันเกิดขึ้นจากสภาวะปลอดทุกข์ชั่วขณะ เนื่องจากจิตไม่ส่งออกไปคิดนึกปรุงแต่งภายนอกใดๆ เหล่านี้อันเป็นปัจจัยสําคัญให้เกิดสัมมาวิมุตติหรือสุขจากการหลุดพ้น อันเป็นมรรคองค์ที่๑๐         การปฏิบัติหรือพิจารณานั้น หลายท่านมีความสงสัยว่า ไม่ต้องตั้ง "กายให้ตรง ดํารงจิตเฉพาะหน้า"ตามพระสูตรหรือ?         การ"ตั้งกายตรง ดํารงสติเฉพาะหน้า"นั้นใช้ขณะฝึกสติโดยใช้ลมหายใจ อันเป็นของละเอียดทางด้านกาย เพื่อให้การหายใจสะดวก และช่วยให้สติสังเกตุลมหายใจได้ดีขึ้น  ส่วนการปฏิบัติอื่นๆนั้นเราสามารถทําได้ในชีวิตประจําวันทุกโอกาส หรือทันทีที่สติรู้เท่าทัน หรือตามธรรมใดๆที่บังเกิดขึ้นแก่จิต         พิจารณาธรรมทําอย่างไร?  ต้องคิดอย่างไร.  ทําไม่เป็น.   ปัญญาไม่ดี.  หัวไม่ดี.  เริ่มไม่ถูก ....ฯลฯ.  เหล่านี้เป็นปัญหาข้อสงสัย(วิจิกิจฉา)ของนักปฏิบัติโดยทั่วไป  จริงๆแล้วคือให้คิดในข้อธรรมนั้นๆเหมือนความคิดทั่วไป แต่อย่างมีสติไม่ซัดส่ายไปในความคิดอื่นๆ  เพราะเมื่อพิจารณาธรรมไปเรื่อยๆดูราวกับว่าซํ้าๆซากๆ ดูราวกับว่าไม่มีอะไรให้เกิดประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงนั้นเมื่อพิจารณาไปเรื่อย บ่อยๆ นานๆ(ไม่ใช่วันเดียวนะครับ) จิตเองจะเกิดข้อสงสัยต่างๆขึ้น เช่น ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น?  อย่างนี้ถูกหรือเปล่า?  จริงอย่างที่ท่านกล่าวไว้ไหม?  เป็นไปได้หรือ?  สารพัดสารเพในข้อธรรมเหล่านั้น  ทําให้จิตหยุดการส่งออกไปคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องอื่นๆอันอาจก่อให้เกิดทุกข์อันทําให้เกิดกําลังแก่จิตโดยไม่รู้ตัว และจิตเองเริ่มพิจารณาหาคําตอบที่สงสัยโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน จนเกิดความรู้ความเข้าใจทีละน้อยๆ อันทําให้เป็นกําลังแก่จิตมากยิ่งขึ้น  จนในที่สุดจักเกิดอาการ อ๋อ มันเป็นเช่นนี้เอง ในธรรมนั้นขึ้นมา อันเป็นสัมมาญาณที่จําเป็นในการดับทุกข์  หรือก็คือการปฏิบัติให้เกิดสังขารอันสั่งสมอบรมไว้(ในปฏิจจสมุปบาท)ที่ไม่เกิดแต่อวิชชา เป็นความเคยชินที่สั่งสมอบรมเพื่อการพ้นทุกข์นั่นเอง         ข้อสังเกตุในหมวดเวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนาก็คือ ให้มีสติรู้เท่าทัน และรู้ตามความเป็นจริง(โดยการศึกษาจากปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕) หมายความว่ายังมีการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านั้นอยู่ ไม่ใช่ไม่เกิด เช่นจิตมีโมหะ โทสะ โลภะ ก็รู้ว่าจิตมี, หรือมีเวทนาใดก็รู้ว่ามี เพราะเมื่อปฏิบัติไปสักระยะหรือเมื่อขาดสติ หรือเมื่อเกิดเวทนาหรือจิตสังขาร(คิด)ขึ้นมาแล้วรู้(แต่ไม่เท่าทันแต่แรก)เลยมักหงุดหงิด มันยังคงต้องมีต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะเมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ เมื่อลืมตัวขาดสติ พอเห็นมันเกิดขึ้นชักเกิดความหงุดหงิดลืมตัวว่าทําไมยังเกิด? ทําไมยังมี?  ท่านขอให้แค่มีสติรู้เท่าทัน เพราะขณะจิตที่เห็นเวทนาหรือจิต(คิด)นั้น จิตจะหยุดทุกข์นั้นชั่วขณะเพราะสติ ตลอดจนเห็นคุณโทษค่อยๆชัดแจ้งขึ้น และข้อสําคัญ....             สติรู้เท่าทันนั้น ครอบคลุมถึงสติวางใจเป็นกลางหรืออุเบกขา ไม่คิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนาอันอาจยังให้เกิดตัณหา ไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในทางดีหรือชั่ว เช่น คิดว่าเราถูก คิดว่าเขาผิด, คิดว่านี่บุญ คิดว่านั่นบาป ด้วยจึงจะถูกต้องจริงๆ และนี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ต้องการให้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ คือเกิดสังขารที่สั่งสมอบรม(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)ใหม่ขึ้น ที่เกิดแต่ความเข้าใจแล้วเป็นอุเบกขาเป็นกลาง วางเฉยโดยไม่ปรุงแต่ง อย่าไปหงุดหงิดกับการที่ยังมีเกิดขึ้นของเวทนาและจิตสังขารในระยะแรกๆ มันเป็นเช่นนั้นเอง จนกว่าท่านจะปฏิบัติจนเป็นสังขารที่สั่งสมไว้อันมิได้เกิดแต่อวิชชา         เมื่อเกิดเวทนาหรือจิตสังขารขึ้นแล้ว มีสติรู้เท่าทันสภาวะธรรม(ชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นนั้น และมันเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดา ไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา  เพียงแต่มีสติ แล้วถืออุเบกขาเป็นกลางวางทีเฉยดู, หรือวางเฉยโดยไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งทางดีและร้ายอันจักยังให้เกิดเวทนา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ตามวงจรปฏิจจสมุปบาท          ข้อสังเกตุและความคิดเห็นของผู้เขียน. ในหมวดธรรมานุปัสสนา อันกล่าวถึงธรรมต่างๆเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ อันเป็นจุดมุ่งหมายของพระองค์ท่านเพื่อให้พิจารณาให้เกิดปัญญาญาณ, และมีกล่าวถึงสมาธิหรือองค์ฌานไว้ในหมวดของมรรค๘ ว่าเป็นสัมมาสมาธิหรือหมายถึงสมาธิที่ถูกต้อง ที่ถูกที่ควร,  ถูกต้องจริงแต่หมายถึงในแง่สมาธิเท่านั้น อันไว้เป็นกําลังแห่งจิตหรือพักผ่อนกายและจิตเป็นแค่เครื่องอยู่, ไม่ใช่ในแง่การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นการใช้สติปฏิบัติวิปัสสนาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงแห่งธรรม, จึงมีผู้สับสนเป็นจํานวนมาก เพราะมีการอาศัยอุบายวิธีหรือสื่อเดียวกันคือลมหายใจ จึงเกิดความเข้าใจว่าปฏิบัติสมาธิหรือฌานแล้ว เป็นสติปัฏฐาน๔ที่ถูกต้อง เป็นคนละเรื่องกัน,  แม้แต่เกิดองค์ฌานตามพระสูตรอันเป็นสัมมาสมาธิก็ต้องไม่ไปยึดติดยึดมั่นในองค์ฌาน ปีติ สุข อุเบกขา นั้นด้วยจึงจะถูกต้อง มิฉนั้นก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันยังผลร้ายแก่นักปฏิบัติ         การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ จึงต้องให้เกิดและมีสติเห็นเวทนาหรือจิตสังขารคิดที่ไม่สงบนั้น แล้วถืออุเบกขา เพื่อให้เห็นว่าทุกข์นั้นเกิดแต่ใด? อะไรเป็นเหตุ ? เหตุใดจึงดับไปได้? แสดงพระไตรลักษณ์  ตลอดจนธรรมต่างๆเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ให้เกิดปัญญา   มหาสติปัฏฐานสูตร (พระไตรปิฎก ฉบับสมาคมศิษเก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)         [๒๗๓] ข้าพเจ้า(หมายถึงพระอานนท์เถระ)ได้สดับมาอย่างนี้         สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า         ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์         เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ         เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส         เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง         เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน  หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ,         ๔ ประการ เป็นไฉน   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้     พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑,(อภิชฌา-ความยินดี, ความโลภ ;  โทมนัส-ความเสียใจ, ความทุกข์)     พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑     พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑     พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ จบอุทเทสวารกถา กายานุปัสนา         [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า     เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า     เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว     เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว     เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น     เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า         ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักยาว   เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น   แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน     เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว     เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว     เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น     เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น     ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก     ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า     ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า         ดังพรรณนามาฉะนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง(หมายถึงเห็นกายของตนเองอย่างแท้จริง,อย่างถูกต้องขั้นสูงสุด หรือตามความเป็นจริงขั้นปรมัตถ์)         พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง(หมายถึงเห็นกายของบุคคลอื่น)         พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง         พิจารณาเห็นธรรม(สิ่งนี้)คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง         พิจารณาเห็นธรรม(สิ่งนี้)คือความเสื่อมในกายบ้าง         พิจารณาเห็นธรรม(สิ่งนี้)คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง         ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น   เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่นอันเป็นอุปาทาน)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า  พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอานาปานบรรพ           [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน   เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน   เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง   เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ         ดังพรรณนามาฉะนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง         พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง         พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง         พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง         พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง         พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง         ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย   อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบอิริยาปถบรรพ           [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก  ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง         ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น  กายในกาย ภายในบ้าง         พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง         พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง         พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง         พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง         พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง         ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบสัมปชัญญบรรพ           [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ  แต่พื้นเท้าขึ้นไป  แต่ปลายผมลงมา  มีหนังเป็นที่สุดรอบ  เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้   ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง  งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี  นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน         ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร             ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง             พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง             ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น  เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบปฏิกูลมนสิการบรรพ           [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้   ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม         คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด(เพื่อให้ขายโคนั้นได้หมดเร็ว)         ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้ง(เช่นทาง๔แพร่ง)อยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม         ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ จบธาตุมนสิการบรรพ           [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า   ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง  สองวันบ้าง  สามวันบ้าง  ที่ขึ้นพอง  มีสีเขียวน่าเกลียด  มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด   เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้         ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง ฯลฯ   อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ         [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง  ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง  ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง   หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง  หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง  หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง  เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า  ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้             ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง             พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง               พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง             พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง             ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา  และทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ               [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ         [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก  ปราศจากเนื้อ  แต่ยังเปื้อนเลือด  ยังมีเส้นเอ็น  ผูกรัดอยู่ ฯลฯ         [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก  ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว  ยังมีเส้นเอ็น  ผูกรัดอยู่ ฯลฯ         [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก  ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว  เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย คือกระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง  กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง  กระดูกขาไปทางหนึ่ง   กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง  กระดูกหลังไปทางหนึ่ง  กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง  กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง  กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง  กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง  กระดูกแขนไปทางหนึ่ง  กระดูกคอไปทางหนึ่ง  กระดูกคางไปทางหนึ่ง  กระดูกฟันไปทางหนึ่ง  กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง  เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา  คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้             ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา  เห็นกายในกาย ภายในบ้าง             พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง               พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น  ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง             ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น  เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว  และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก  ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ           [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ         [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ         [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้             ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง             พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง                 ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้   เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ ฯ  จบนวสีวถิกาบรรพ จบกายานุปัสสนา --------------------------  เวทนานุปัสสนา         [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้     เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา   หรือ     เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา   หรือ     เสวยอทุกขมสุขเวทนา  ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา   หรือ     เสวยสุขเวทนามีอามิส(เจือกิเลส) ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส   หรือ     เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส   หรือ     เสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส   หรือ     เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส   หรือ     เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส   หรือ     เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส                    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ภายในบ้าง(เห็นและเข้าใจเวทนาอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ในเวทนาของตนเอง)                       พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ภายนอกบ้าง(ของผู้อื่น)                    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง(ทั้งตนเองและผู้อื่น)                    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง(เห็นธรรมชาติในการเกิดของเวทนา)                    พิจารณาเห็น  ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง(เห็นธรรมชาติในการเสื่อมและดับไปของเวทนา)                    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง                    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น  เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่นอันเป็นอุปาทาน)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า   พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ       จบเวทนานุปัสสนา ---------------------- จิตตานุปัสนา          [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้       จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ  หรือ     จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ        จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ  หรือ     จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ        จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ    หรือ     จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ        จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่        จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน        จิตเป็นมหรคต(เป็นฌาณ) ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต   หรือ     จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต        จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า   หรือ     จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า        จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ   หรือ     จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ        จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น   หรือ     จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น                    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ภายในบ้าง                   พิจารณาเห็นจิตในจิต ภายนอกบ้าง                 พิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง                 พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ)คือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง                   พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง                 พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง                 ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย   ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ     จบจิตตานุปัสสนา ------------------------  ธัมมานุปัสสนา         [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ นิวรณ์ ๕  ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า   ภิกษุในธรรมวินัยนี้     เมื่อกามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา   หรือ     เมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง      กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย         กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย        กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย  อีกอย่างหนึ่ง         เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ     เมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา   อนึ่ง     พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด  ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย         พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย        พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย   อีกอย่างหนึ่ง         เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา   หรือ     เมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา   อนึ่ง     ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย         ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย        ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย   อีกอย่างหนึ่ง         เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ณ ภายใน จิตของเรา  หรือ     เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา  อนึ่ง     อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิด ขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย         อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย         อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา  หรือ     เมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา  อนึ่ง     วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย        วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย           วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย               ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง                  พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง             ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย  ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม  คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ    จบนิวรณบรรพ --------------------         [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า            อย่างนี้(คือ)รูป   อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป    อย่างนี้ความดับแห่งรูป            อย่างนี้เวทนา   อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา   อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา            อย่างนี้สัญญา  อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา   อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา            อย่างนี้สังขาร   อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร   อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร             อย่างนี้วิญญาณ   อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ   อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ                ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง                พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง             ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ  ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ จบขันธบรรพ           [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม   คืออายตนะภายในและภายนอก ๖   ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้         ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป, และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์  อนึ่ง     สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย         สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย         สังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย              ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง ...  ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ...  ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ...  ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ...        ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์  และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์   อนึ่ง     สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย        สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย         สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย                ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง                  พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง               พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง                ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก  ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อยู่ ฯ    จบอายตบรรพ --------------------           [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม  คือโพชฌงค์ ๗  ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า    ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้         เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา   หรือ     เมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา    อนึ่ง     สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย        สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง         เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต... ฯลฯ    อีกอย่างหนึ่ง         เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต... ฯลฯ    อีกอย่างหนึ่ง         เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต... ฯลฯ    อีกอย่างหนึ่ง         เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต... ฯลฯ    อีกอย่างหนึ่ง         เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ    อีกอย่างหนึ่ง         เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ     เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา  อนึ่ง     อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย     อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย             ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอก บ้าง                พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง                 พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง                พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง                พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรมบ้าง             ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ  ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ   จบโพชฌงคบรรพ จบภาณวารที่หนึ่ง           [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า  นี้ทุกข์   นี้ทุกขสมุทัย    นี้ทุกขนิโรธ    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง    ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์     ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ                    [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิดความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ        ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง   เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ  ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ          ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้  ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ        ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ  ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ  พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้  เรียกว่าโสกะ ฯ      ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ   กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ          ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ    เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ     ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ      ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง      ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ        ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ   ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ      อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก   ก็เป็นทุกข์ ฯ      ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ     ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส  โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ         ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์  ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ  ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา  ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย  ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้   สมความปรารถนา  แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์   ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ  ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส  เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ฯ      ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน   อุปาทานขันธ์ คือรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕  เป็นทุกข์ ฯ         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ              [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด  อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ             [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รัก  ที่เจริญใจในโลก ฯ          ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด   ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ        รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ      จักขุวิญญาณ  โสตวิญญาณ  ฆานวิญญาณ  ชิวหาวิญญาณ  กายวิญญาณ  มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้    เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ          จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ          จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา  ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ          รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ          รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพ  สัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ           รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม   ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ  ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ      รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก     เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ            รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร      เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ               [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก      และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน    เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้      อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ      ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ   ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ      จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ        จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้  เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ      จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา  ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก    ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ          รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา  ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสีย   ได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ        รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา   โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อ    บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ         รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม    ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้   เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ      รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ  ย่อมดับในที่นี้ ฯ          รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร   เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อ   จะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ         [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(มรรค)เป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ            ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ        สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน ความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ            สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า    สัมมาวาจา ฯ         สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ    เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา    กัมมันตะ ฯ          สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด  เสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ         สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม   ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่   เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง    ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ          สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่     มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา   เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ           สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่     เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขเธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ(มรรค) ฯ                    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง               พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง             พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง               ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ  ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ      จบสัจจบรรพ    จบธัมมานุปัสสนา    ------------------------           [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ     พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑  หรือ     เมื่อยังมีอุปาทิ(อุปาทาน)เหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑         ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ     พระอรหัตผลใน ปัจจุบัน ๑   หรือ     เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑         ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้ หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ     พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือ     เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑         ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ     พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑  หรือ     เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑            กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ     พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือ     เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ          ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล   คำที่เรากล่าวดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ                 จบมหาสติปัฏฐานสูตร         ควรอ่านปฏิจจสมุปบาทก่อน ปรับปรุง 19/1/46         ขันธ์ ๕ หมายถึงตัวตนของเราอันประกอบด้วยรูปและนาม หรือแยกแบบละเอียดมี๕ หมวดย่อย อันประชุมรวมกันเป็นตัวตนชีวิต และหมายถึงกระบวนการธรรมชาติของกายและจิตที่เนื่องสัมพันธ์กันเป็นเหตุปัจจัยกัน ที่เกิดขึ้นเป็นปกติตามธรรมชาติของตัวตนในการดํารงชีวิต เป็นขบวนการอันเกิดแต่เหตุปัจจัยเฉกเช่นเดียวกัน เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างกายกับจิตและอายตนะภายนอก(สิ่งแวดล้อม)ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต,  ขันธ์๕เองไม่ได้เป็นตัวก่อโทษก่อทุกข์ใดๆอีกทั้งยังเป็นสิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิต  นอกจากจะมีอุปาทานมาร่วมด้วย  อันทําให้เกิดเป็นอุปาทานขันธ์๕ อันมีตัณหาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด, ซึ่งก็คือขันธ์๕ที่เกิดในชาติ-ชรามรณะในปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีอุปาทานร่วมหรือครอบงําแล้วนั่นเองซึ่งพอจะจําแนกขันธ์๕ ที่เกิดได้ ๔ แบบ เพื่อให้เข้าใจการทํางานของขันธ์๕ (ท่านที่ยังไม่เข้าใจขันธ์๕ อ่านช่วงแรกอาจจะไม่ค่อยเข้าใจเป็นธรรมดา ในภายหลังจะมีลําดับโดยละเอียด หรือข้ามไปอ่านข้างล่างนี้ก่อน    อ่านช้าๆอย่างพิจารณา ไล่ลําดับกระบวนจิตตามไปด้วย)         ๑. ขันธ์๕ ที่เกิดปกติธรรมชาติของผู้มีชีวิต เกิดทุกขณะในชีวิต ไม่เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัณหาความอยากหรือไม่อยาก จึงไม่มีเหตุปัจจัยให้ "อุปาทาน"เกิด  ผลก็คือไม่มีความทุกข์อันเกิดจาก "อุปาทานขันธ์๕" โดยเฉพาะถ้าเข้าใจในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ของเวทนาอย่างถูกต้อง เพราะเวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงมีสังขารขันธ์เช่นกันอันต้องเกิดต้องมีตามธรรมชาติเช่นเดียวกับเวทนา แต่ก็จักกลายไปเป็นความทุกข์ไม่ได้         ขันธ์๕ชนิดนี้เกิดทั้งในองค์อรหันต์และปุถุชน แต่ในองค์อรหันต์นั้นไม่ยึดมั่นถือมั่นในเวทนา เข้าใจเวทนา(เข้าใจสภาวะธรรมชาติ)อย่างหมดจดและจากการฝึกฝนปฏิบัติ, เวทนาที่เกิดจึงไม่รุนแรงย่อมเบาบางกว่า ดังนั้นสังขารขันธ์ที่คิดอ่านเจตนาตอบสนองต่อเวทนานั้นก็เบาบางไปด้วย ตามกฎอิทัปปัจจยตา เช่นกัน ขันธ์๕ ตามปกติธรรมชาติ (แบบย่อ)  ลองไล่ลําดับกระบวนจิตตามไปด้วยว่าเป็นดังนี้หรือไม่ ตา+รูป+วิญญาณ ผัสสะ เวทนา   สัญญา  สังขารขันธ์ทางกาย,วาจา,ใจ หรือขยายให้เห็นการทํางานของขันธ์ทั้ง๕ให้ชัดเจนขึ้น   จะเขียนได้ดังนี้ ตา+รูป+วิญญาณ ผัสสะ สัญญา(จํา)  เวทนา  สัญญา(หมายรู้) มโนวิญญาน  สังขารขันธ์         ๒.ขันธ์๕ที่ขันธ์ต่างๆที่เกิดในตอนแรกเป็นปกติจนถึงเวทนา แต่ขันธ์หลังๆที่เกิดต่อจากเวทนาเช่น สัญญาหมายรู้  มโนวิญญาณ และสังขารขันธ์ ได้กลับกลายเป็นอุปาทานขันธ์อันเนื่องมาจากการที่เวทนาหรือความรู้สึกรับรู้สิ่งที่มากระทบสัมผัสนั้นก่อให้เกิดตัณหาหรือตัณหากระทําต่อเวทนานั้น  ดังนั้นขันธ์ที่เหลือในท้ายขบวน จึงแปรปรวนไปเป็นอุปาทานขันธ์เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท อันทําให้สังขารขันธ์คือการกระทํา,วาจา,ใจคิดนึก ที่เกิดขึ้นเป็น"อุปาทานสังขารขันธ์(สังขารูปาทานขันธ์)" หรือสังขารขันธ์ที่ถูกครอบงําแล้วด้วยอุปาทานอันเป็นทุกข์  หรือผู้เขียนเรียกว่าขันธ์๕ชนิดหัวมงกุฎ แต่ท้ายเป็นมังกร  (รายละเอียดใน การปฏิบัติในชีวิตประจําวัน) ดังขบวนการที่เกิดดังนี้         ขันธ์๕ ตามปกติธรรมชาติ (แบบย่อ) รูป+ตา+วิญญาณ ผัสสะ เวทนา   สัญญา  สังขารขันธ์  ทางกาย,วาจา,ใจ         ขันธ์๕ อันมีตัณหา  อันก่อให้เกิดทุกข์ จะทําให้กระบวนการขันธ์๕แปรปรวนไปเป็นดังนี้ รูป+ตา+วิญญาณ ผัสสะ เวทนา + ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติเกิดอุปาทานสัญญา+อุปาทานสังขารอันเป็นทุกข์         อันหมายถึงว่าเราเริ่มกระบวนการของการเกิดทุกข์แล้ว โดยเริ่มตั้งแต่อุปาทานสัญญาเป็นต้นไป         ๓. ขันธ์๕ที่เคยเกิดๆดับๆมาแล้ว และเก็บไว้ในรูป "อาสวะกิเลส" อันยังให้เกิดอวิชชา  สังขาร .. ฯลฯ...อันดําเนินต่อไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท         สังขาร-ความคิดที่สั่งสมที่เกิดขึ้นจากอวิชชาเป็นเหตุปัจจัย จึงแฝงด้วยตัณหาอุปาทานที่นอนเนื่องมาแต่ต้นในสภาพยังไม่ทํางานตามหน้าที่ ถ้าได้รับการกระตุ้นจากตัณหาอีกก็ทําให้เกิดเป็นทุกข์อีกครั้ง  กล่าวคือเข้าวงจรปฏิจจสมุปบาทอีกรอบหนึ่ง  จึงเป็นอุปาทานขันธ์ในตอนท้าย(หัวมงกุฎ ท้ายมังกร) อันเป็นดังเช่นข้อ๒  แต่เกิดได้ง่ายกว่าแบบข้อสอง  มีสภาพคล้ายฟืนเคยไฟที่ง่ายต่อการลุกไหม้อีกครั้ง         ข้อสังเกตุ ถึงแม้จักเป็นทุกข์เก่า แต่ต้องมีตัณหาเกิดขึ้นใหม่ในเรื่องนั้นจึงจักเกิดเป็นทุกข์อีกครั้งได้ ลองสังเกตุดูจิตตนเองในบางครั้งคิดในเรื่องเดียวกัน แต่บางครั้งเป็นทุกข์ บางครั้งไม่เป็นทุกข์ ความแตกต่างอยู่ที่ความทะยานอยาก หรือความไม่อยากในขณะจิตนั้นหรือปัจจุบันจิตนั้น         ๔. อุปาทานขันธ์๕ เป็นอุปาทานขันธ์ล้วนตั้งแต่รูปหรือตั้งแต่ต้นขบวน เป็นอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ขันธ์คือทั้งขบวนที่เกิดต่อจากข้อ๒ และข้อ๓, ถ้าพิจารณาจากปฏิจจสมุปบาทก็คืออุปาทานขันธ์๕ที่เกิดใน"ชาติ-ชรามรณะ"นั่นเอง จักเกิดกี่ร้อยกี่พันครั้ง สั้นหรือยาวอยู่ที่ความรุนแรงของอุปาทาน, สติ กําลังปัญญาเรานั่นเอง ตลอดจนการเบี่ยงเบน บดบังด้วยเหตุอื่นๆ จนกว่าจะดับไปเป็นอาสวะกิเลส  (คลิกเพื่อดูภาพประกอบ ขันธ์๕ แบบที่๔ คือวงจรอันเล็กสีแดงที่เคลื่อนไหวอันเหมือนดังวงจรข้างล่างนี้) อุปาทานรูป+ตา+อุปาทานวิญญาณ  อุปาทานเวทนา  อุปาทานสัญญา  อุปาทานสังขาร         ไม่ว่าจักเป็นขันธ์๕แบบใด ความสําคัญคืออย่าให้มีตัณหาอันมักมาในรูปของขาดสติ(ไม่รู้เท่าทัน) หรือคิดนึกปรุงแต่งหรือไหลเลื่อนไปกับความคิดหรือความคิดเรื่อยเปื่อย อันทําให้เกิดเวทนา แล้วมีตัณหาเข้าไปร่วมกับเวทนานั้น..เพราะจักยังให้เกิดอุปาทาน..อันก่อภพ..ก่อชาติอันเป็นทุกข์เป็นอุปาทานขันธ์๕ ทันที         เหตุที่จําแนกให้เห็นการเกิดขันธ์แบบต่างๆนั้น เพราะบางคนถนัดในการพิจารณาขันธ์๕ แต่ทําไมบางครั้งมีความสับสนว่าทําไมขันธ์๕ธรรมดาจึงรู้สึกเป็นทุกข์หรือตัดไม่ขาด? หยุดไม่ได้ ทั้งที่รู้ทั้งที่เห็น ผู้เขียนเองเป็นเช่นนี้ เพราะจริงๆแล้วมันไม่ใช่ขันธ์๕ แต่เป็นอุปาทานขันธ์๕ในชาติ-ชรามรณะ อันแข็งแกร่ง อันถูกครอบงําด้วยอุปาทานแล้วแต่ไม่รู้และไม่รู้เท่าทันแต่แรก เพราะยังไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทจึงมองไม่เห็นตัณหา,อุปาทาน,ภพที่เกิดขึ้นแล้ว และจักเกิดเป็นทุกข์ขึ้นอีกทุกครั้งเมื่อมีตัณหา ทําให้วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏนั้นๆ (คือยังผลให้เกิดทุกข์อุปาทานขันธ์๕อีกอันเนื่องมาจากอดีตเมื่อมีตัณหา) ถ้าไม่มีตัณหาปรุงแต่งเข้าไปใหม่ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แม้จักเป็นอดีตทุกข์เก่าๆอันเคยเกิดมาแล้ว จริงๆแล้วทุกข์ของเราๆก็เป็นอดีตทุกข์เสียส่วนใหญ่   อาสวะกิเลสและสังขารในปฏิจจสมุปบาทก็คือล้วนเป็นอดีตทุกข์และสุข(สุขคือทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง)ที่ได้สั่งสม อบรม บ่มเก็บไว้ทั้งสิ้น  ดังพุทธพจน์ โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่นไปสู่"กามคุณเป็นอดีต"นั้น         ขันธ์๕คือตัวตนทั้งฝ่ายกายและจิต อันประกอบด้วยรูปหรือกาย และจิตอันมีเวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เป็นเรื่องที่พุทธองค์ทรงจําแนกตัวตนที่เรายึดมั่น ถือมั่น หลงใหล และพึงพอใจให้เห็นว่าเป็นเพียงเกิดแต่เหตุปัจจัยของสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นดุจดั่งไฟอันกําเนิดจากแสงแดด แว่นขยาย เชื้อไฟ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ไม่ได้มีความเป็นตัวตนที่เป็นแก่นแท้ๆอย่างถาวร เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจกระบวนการทํางานอย่างละเอียดเพราะเป็นปัจจัยให้เข้าใจในธรรมเรื่องอื่นๆ เช่น ความเป็นเหตุเป็นปัจจัย และเข้าใจขบวนการต่างๆของจิตเช่น เวทนาว่าเป็นสักแต่ว่าสภาวะธรรม(ชาติ)ธรรมดาๆ เพื่อให้ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจว่าเป็นของตัวตนหรือตัวกูของกูในเวทนาหรือในขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้น         ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่แยกทุกขเวทนา(ทุกข์ไม่จริง แค่เสวยหรือเสพรสอารมณ์ในสิ่งที่ถูกรู้หรือกระทบสัมผัส แล้วแค่รู้สึกไม่ชอบไม่ถูกใจแต่ไม่ใช่ความทุกข์จริงๆ) กับอุปาทานทุกข์(ความทุกข์จริงๆอันเกิดแก่ใจ)ไม่ออกจึงเกิดปัญหาไม่ก้าวหน้า ไม่เข้าใจในธรรม, ในการปฏิบัติจึงมัวสาระวนอยู่กับเวทนาหรือการดับให้สูญของทุกขเวทนาหรือทุกข์เทียม ซึ่งแม้แต่พระพุทธองค์และพระอรหันต์ทุกรูปก็ดับไม่ได้เช่นกัน(มีพุทธพจน์ประกอบในตอนข้างหน้า) ไม่ใช่ความทุกข์แท้ๆที่เกิดจากขันธ์๕อันมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงทําให้เกิดอุปาทานมาร่วมด้วย,  ขณะอ่านขันธ์๕นี้ ขอให้พิจารณาเปรียบเทียบด้วยความละเอียดและแยบคาย และเปรียบเทียบไปกับจิตของท่านจริงๆเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะเราจักรู้และเข้าใจได้ด้วยปัญญาอันเกิดจากการพิจารณาเท่านั้น เพราะเราไม่สามารถไปไล่ทันจิตที่เกิดขึ้นรวดเร็วยิ่งกว่าสายฟ้าแลบได้ทัน นอกจากเกิดปัญญานําจึงสามารถรู้เห็นได้(สัมมาญาณ)         ขันธ์๕ ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และทํางานประสานร่วมกันเพื่อการดํารงชีวิตอย่างเป็นไปตามปกติธรรมชาติ         ๑. รูป หมายถึงกาย, ตัวตน (ในบางครั้งหรือบางบทหมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลายโดยอายตนะภายในของเราอันมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์-สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยใจหรือความคิดทั้งหลายทั้งปวง)         ๒. เวทนา การเสวยอารมณ์, การรับรู้ความรู้สึกอารมณ์(อารมณ์ทั้ง๖ คือสิ่งที่จิตยึดเหนี่ยว อันคืออายตนะภายนอกมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ อันทําหน้าที่เป็นอารมณ์)อันเกิดจากผัสสะการกระทบสัมผัสจากทั้งทางกายและทางใจ นั่นเอง(ไม่ใช่อารมณ์ที่หมายๆกันทางโลกๆเช่นอารมณ์ดี อารมณ์เสีย)เป็นขันธ์ที่เกิดจากการรับรู้ความรู้สึกตามหน้าที่เท่านั้น  ดังเช่นตากระทบดอกไม้, ดอกไม้ทําหน้าที่เป็นอารมณ์คือสิ่งที่จิตยึดเหนี่ยว เกิดเวทนาคือจิตรับรู้ยึดเหนี่ยวดอกไม้นั้นเป็นเป้าหมาย ร่วมกับสัญญาความจําในรูปหรือสิ่งที่ถูกรู้ที่เก็บบันทึกจดจําไว้ แล้วเกิดเวทนา คือ ถูกใจ ชอบใจ, ไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ, เฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์ หรือ อทุกขมสุข)  อาจกล่าวได้ว่า เวทนาคือความรู้สึกการรับรู้อารมณ์(ดอกไม้)อันเกิดร่วมกับความจํา(สัญญา)         ๓. สัญญา แบ่งหน้าที่ทําเป็นหลายส่วน เช่นความจําได้อารมณ์ และหมายรู้อารมณ์นั้นอันมีหลากหลายเช่นเปรียบเทียบ แยกแยะในสิ่งที่จําได้  ตลอดจนสัญชาตญาณ ความรู้ สติและปัญญา  บางคราทําหน้าที่นอกจากความจําที่จําเป็นใช้ในการดําเนินชีวิตแล้ว  ยังมีความจําชนิดมีกิเลสตัณหาอุปาทานเจืออันคือความจําอาสวะกิเลสในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง         สัญญานี้เกิดในกระบวนการขันธ์๕หลายครั้งถ้าแยกแยะอย่างละเอียด(จะมีกล่าวในภายหน้า) แต่ละครั้งทําหน้าที่ต่างๆกัน แต่ก็ล้วนแล้วคือสัญญา ความจํา ความเข้าใจต่างๆ  อันมีส่วนสัมพันธ์กับสมองอันเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของจิต(แต่จิตไม่ใช่สมอง!)         ๔. สังขาร เป็นผลของกระบวนการขันธ์๕ หรือ ความคิดอ่านที่จงใจหรือเจตนาที่แสดงหรือกระทําต่อเวทนาหรืออารมณ์ หรือเจตจํานงค์,เจตนา,จงใจต่ออารมณ์ที่มากระทบ  เป็นปฏิกริยาตอบสนองที่จิตริเริ่มเองได้ (เวทนาเป็นการรับรู้เท่านั้น) ซึ่งจักแสดงออกทางกาย(การกระทํา) หรือวาจา(การพูด) หรือใจ(คิดนึก) กล่าวคือกายสังขาร,วจีสังขาร,มโนสังขาร(จิตสังขารหรือมโนสังขารเช่นความคิดนึก เมตตา  กรุณา โลภ โกรธ หลง สติ ปัญญา หดหู่ใจ ฟุ้งซ่านใจ รําคาญใจ อารมณ์สมาธิ มานะ อารมณ์ฌาน อารมณ์ดีอารมณ์เสียต่างๆ(อารมณ์ดี อารมณ์เสียนี้หมายถึงอารมณ์ในทางโลกๆ ไม่ใช่อารมณ์ในทางธรรมตามที่ได้เคยกล่าวมาแล้ว)         สติ และ ปัญญา ก็เกิดมาแต่สัญญา แต่ก็จัดเป็นสังขารขันธ์ด้วย เพราะเป็นความจงใจเจตนาที่ตั้งใจขึ้นได้ เป็นการริเริ่มได้ด้วยจิตเอง ไม่เป็นเพียงแค่ความจําที่เกิดขึ้นเองจากการรับรู้ และเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวดในการดําเนินชีวิต และการปฏิบัติธรรม เป้นสิ่งที่ควรเจริญให้เกิดให้มีขึ้น         ๕. วิญญาณ การเชื่อมโยงสื่อสารการทํางานของกายและจิตกับสิ่งแวดล้อม(อายตนะภายนอก) หรืออุปมาดั่ง ระบบประสาทของมนุษย์ในวงการแพทย์ปัจจุบัน   วิญญาณทางพุทธศาสนาจึงมี๖เช่นกันคือ วิญญาณตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระบวนการทํางานของขันธ์๕ โดยทั่วๆไป         ตา + รูป + วิญญาณ >> ผัสสะ >> เวทนา >> สัญญา >> สังขารขันธ์ หรือขันธ์๕แบบละเอียดให้เห็นการทํางานขันธ์ทั้ง๕ได้แยบคายขึ้นเพื่อความเข้าใจลึกซึ้งในกาลต่อไป         ตา(อายตนะภายใน)+รูป(อายตนะภายนอก)>> กระทบกันเกิด >>(จักษุ)วิญญาณ>> ผัสสะ >>สัญญา(ความจําได้ในสิ่งที่กระทบ) >> เวทนา >> สัญญา(หมายรู้) >> (มโน-ใจ)วิญญาณ >> สังขารขันธ์(คิดอ่านเจตนากระทําทางกาย, วาจา, ใจ) เขียนแบบย่อ ตา+รูป+วิญญาณ เรียกว่าผัสสะ   สัญญา(จํา) เวทนา สัญญา(หมายรู้) มโนวิญญาณ สังขารขันธ์ ใจ+คิด+วิญญาณ ผัสสะ สัญญา(จํา) เวทนา สัญญา(หมายรู้) มโนวิญญาณ สังขารขันธ์         ข้อสังเกตุ ถ้าจะดับทุกข์โดยมองในแง่มุมมองของขันธ์๕ สังขารทางใจหรือมโนสังขารที่เป็นความคิดนึกต่างๆในการดํารงชีวิตอันปกติที่ยังไม่ปรุงแต่งด้วยกิเลสตัณหา เหมือนผู้เขียนในขณะนี้ใช้สังขารทางใจหรือมโนสังขารหรือจิตสังขารคือความคิดนึกต่างๆในการเขียนร่วมกับสังขารกายในการเขียน เป็นขันธ์๕ตามธรรมชาติ และไม่เป็นทุกข์เพราะไม่มีกิเลสตัณหามาเจือ  ดังนั้นจะดับทุกข์ไม่ให้ทุกข์เกิดขึ้นต้องรู้เท่าทันเวทนาหรือความคิด(จิต)แล้วเป็นอุเบกขาเป็นกลางวางเฉย วางเฉย(ไม่ใช่รู้สึกเฉยๆ)อันหมายถึงไม่คิดนึกปรุงแต่งอันจะก่อให้เกิดเวทนาขึ้นใหม่อีก..อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาความอยากหรือไม่อยาก ที่จะร่วมเข้าไปปรุงแต่งหรือกระทําต่อเวทนาอีกครั้งหรือหลายๆครั้ง, ขันธ์๕ก็จักทํางานตามธรรมชาติ ไม่เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ อธิบายการทํางานของขันธ์๕ ตา + รูป  กระทบกันเกิด >> (จักษุ-ตา)วิญญาณมารับรู้แค่ผลการกระทบกันของตากับอารมณ์คือรูป และทําหน้าที่เป็นสื่อเชื่อมระหว่างกายกับใจเท่านั้น >> สัญญา ขั้นรวบรวมข้อมูลความจําเดิมที่สั่งสมไว้,ที่เกิดในขณะปัจจุบันจิตนั้น >> เวทนา ชนิดสบาย, ไม่สบาย, เฉยๆ >> สัญญาหมายรู้หรือขั้นประเมินผล เกิดความจําหมายรู้ใหม่ขึ้น >> มโนวิญญาณ-จิตมารับรู้สัญญาหมายรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นคือจิตรับรู้สรุปข้อมูลต่างๆครบถ้วนแล้ว >> สังขาร โดยการคิดสั่งการหรือเจตนา(สัญเจตนา)ผ่านทางสังขารทั้ง๓ อันมี ๑. กายสังขาร, ๒.วจีสังขาร, ๓. มโนสังขาร คือ แสดงออกทางกาย-การกระทําต่างๆเช่น สะดุ้ง ใจสั่น เดิน เขียน, ทางวาจาการพูดจาต่างๆ อุทาน ด่าทอ, ทางใจ-การนึก คิด แก้ไขปัญหา สติ ปัญญา โลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน เมตตา กรุณา หรืออาการต่างๆของจิตในเจตสิก ๕๒ อันยกเว้นเพียงเวทนาและสัญญา         อธิบายคําศัพท์         รูป กายตัวตน หรือสิ่งที่ถูกรู้ได้ทุกชนิดโดยอายตนะทั้ง๖ อันมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(สิ่งที่ถูกรู้ด้วยใจหรือความคิด)         เวทนา การเสวยอารมณ์ หรือ รู้จําอารมณ์ หรือ ความเสพรส การรับรู้ความรู้สึกและจําได้ในอารมณ์(รูป เสียง กลิ่น ฯ.)ทั้งทางใจและทางกาย อันเกิดจากผลของการกระทบ(ผัสสะ)กันของอายตนะภายใน(เช่นตา)กับอายตนะภายนอก(รูป) โดยมีความจํา (สัญญาเดิม-อดีต)ในอารมณ์(รูป เสียง กลิ่น ฯ.)ร่วมมาด้วย  เกิดเป็นเวทนาสบาย ไม่สบาย เฉยๆ สังเกตุตรงนี้ให้เข้าใจจริงๆว่าเวทนานี้ยังไม่ใช่ความทุกข์แท้ๆจริงๆ เป็นการรับรู้แค่ชั่วขณะ ยังไม่มีตัณหา และอุปาทานมาร่วม เป็นเพียงเวทนาบริสุทธิ์ขั้นแรกในการเสวยอารมณ์ ที่แม้แต่องค์อรหันต์ก็มีเหมือนปุถุชน มิฉนั้นจะสับสนเพราะดูว่าเข้าใจง่ายๆแต่เข้าใจจริงๆยาก ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติให้พิจารณาเวทนา ในเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔ เฟื่อให้เข้าใจโดยถ่องแท้ในเวทนา แล้วให้เห็นเวทนาในเวทนา หรือเวทนาสักแต่ว่าเวทนาและขณะนี้เรากําลังใช้ปัญญาในการทะลุทะลวงเวทนาให้เข้าใจในขณะจิตจึงพึงตั้งใจพิจารณาโดยละเอียด  เปรียบเทียบถกเถียงกับจิตตัวเอง จนต้องใช้คําว่าเข้าใจไปถึงใจ(เข้าใจจริงไม่ใช่คิดว่าเข้าใจ) เพราะถ้าท่านเข้าใจแล้วจะรู้ว่า ส่วนใหญ่นั้นเราเอาเวทนาซึ่งเป็นขบวนการธรรมชาติธรรมดาๆอันเป็นปกติ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้มาก่อให้เป็นความทุกข์จริงๆ เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจความจริง โดยเริ่มเกิดก่อตัณหาความอยาก,ไม่อยากให้มีให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานโดยไม่รู้ตัว อันเป็นเหตุทําให้ขันธ์๕ปกติธรรมชาติที่จักเกิดต่อไป(กระทํา,คิด)ในเรื่องนั้น กลายเป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์         เวทนาจําแนกตามความรู้สึกได้เป็น ๓ คือ         ๑ สุขเวทนา ถูกใจ, สบายใจ, ชอบ เช่น ความสบายกาย, ความสบายใจ, ความชอบใจ, ความถูกใจ, ถูกอารมณ์, ความสนุก คือความรู้สึกที่ชอบใจสบายใจทั้งทางกายและทางใจ         ๒ ทุกขเวทนา ไม่สบาย,ไม่ชอบ เช่นความไม่สบายกาย, ความเจ็บปวด, ความไม่สบายใจ, ความไม่ชอบใจ,ไม่สบอารมณ์,ไม่ถูกใจ,ความเบื่อ คือความรู้สึกไม่ชอบใจ,ไม่สบายใจทั้งทางกายและทางใจ         ๓ อทุขมสุข ไม่สุขไม่ทุกข์ ความรู้สึกเฉยๆ, เฉยๆตัวนี้สังเกตุให้ดีมักจะไปเข้าใจผิดว่าไม่มีกิเลสตัณหาทําให้เข้าใจเวทนาผิดๆคิดว่าเป็น"อุเบกขาสัมโพชน์ฌงค์-รู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วอุเบกขาวางใจไม่คิดนึกปรุงแต่ง เป็นกลางวางเฉย", ตรงนี้เป็นประเด็นสําคัญ เฉยๆในเวทนาตัวนี้ไม่ใช่อุเบกขา เฉยๆเป็นเพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง หรือสัญญาในเรื่องนั้นเป็นเช่นนั้น หรือในขณะจิตนั้นเรื่องนั้นไม่เด่นชัดขึ้นมา หรือจะว่า ลืม หรือวาง หรือกดข่ม หรือไม่มีสนใจสิ่งนั้นในขณะจิตนั้นๆก็ได้ หรือเบี่ยงเบนเพราะสิ่งอื่นมาบดบังเช่นด้วยอํานาจของสมาธิหรือฌาน  หรือเช่นอาหารของโปรด ถ้าเอามาให้หรือเห็นตอนอิ่มแล้ว, ความอยากหรือตัณหาที่อยากทาน จะถูกบดบังหรือเบี่ยงเบนด้วยความอิ่มนั้นชั่วขณะ  ต้องระวังให้ดี การยึดว่าต้อง เฉยๆ(อทุกขมสุข) ด้วยเข้าใจว่าเป็นอุเบกขา         ตัวอย่าง เวทนา ตา+รูป+ผัสสะ    จักขุวิญญาณ     สัญญา(จําเดิม,จําอารมณ์คือรูป)    เวทนา คือเกิดเวทนาเห็นว่า สบาย-สุขเวทนา, ไม่สบาย-ทุกขเวทนา, เฉยๆ-อทุกขมสุข.....ก็ได้แล้วแต่ความจํา,รสนิยมเดิมที่มีหรือปลูกฝังสั่งสมไว้ เพราะฉนั้นเวทนาของแต่ละบุคคลจึงไม่เหมือนกัน  ขึ้นอยู่กับสัญญาที่มีอยู่ ตรงนี้ต้องการแค่ชี้ให้เห็นว่ามีสัญญาในอดีตหรือสัญญาเดิมเป็นเหตุปัจจัยร่วมให้เกิดเวทนาด้วย และเป็นปัจจัยให้เกิดการแยกแยะเป็นความรู้สึกชนิดต่างๆ ดังเช่น         ใจ + ธรรมารมณ์(เรื่องทุกข์ทางใจในอดีต) + ผัสสะ มโนวิญญาณ(ใจ) >> สัญญา(ความจําอารมณ์เดิมเกี่ยวกับทุกข์นั้น) >> ทุกขเวทนา รับรู้และจําได้ว่าเป็นความรู้สึกไม่ชอบ ไม่ถูกใจ......และเพราะเวทนาเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารขันธ์ในที่สุด จึงมีอาการออกมาทางกาย เช่น กายสั่น มือสั่น, ทางใจมีอาการว้าวุ่นวิตกกังวล โกรธ กล่าวคือเกิดขันธ์๕ครบถึงสังขารขันธ์ อาการทางสังขารนี้เป็นเพราะเวทนาเป็นเหตุปัจจัย อันยังผลให้เกิดสังขารซึ่งจะเกิดแค่ขณะจิตหนึ่งหรือชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วดับไป ยังไม่ใช่ความทุกข์แท้ๆที่พระพุทธเจ้าทรงหมายมั่นให้ดับ เป็นแค่สภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ที่มันต้องเกิดต้องเป็น ต้องยอมรับอย่างเข้าใจตามความเป็นจริงของสภาวะธรรมนั้น เพราะเกิดจากความจําเก่า(สัญญา)อันยังมีกิเลส(อาสวะกิเลส),   เมื่อเข้าใจเวทนา เวทนานั้นก็จะเบาบางลง แต่ถ้าเรามีตัณหาใส่เข้าไปเพิ่มอีกเช่นไม่น่าเกิด ไม่น่าจะเป็น อยากให้เป็นอย่างโน้น อยากให้เป็นอย่างนี้ ให้เป็นไปตามใจปรารถนา ตอนนี้แหละที่ความทุกข์จักเกิดขึ้นและเป็นทุกข์ที่เราท่านประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โดยรู้ตัวบ้างก็ดี ไม่รู้ตัวบ้างก็ดี.(ศึกษาต่อในวงจรปฏิจจสมุปบาทกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์)         จริงๆแล้วขันธ์๕อันนี้ไม่ใช่ขันธ์๕บริสุทธิ์แท้ๆ แต่มีเชื้ออุปาทานขันธ์๕ เพราะเคยเกิดในกระบวนการของทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาทมาก่อนครบวงจรแล้ว เคยเป็นขันธ์๕ที่เกิดในชาติ-ชรามรณะจนเป็นทุกข์อยู่แล้วในเรื่องนั้นหรือมีเชื้อแห่งทุกข์ หรือเป็นอาสวะกิเลสที่หมักหมมอยู่แล้วนั่นเอง เมื่อเกิดตัณหาอีกในเรื่องเดิม ก็จักเกิดความทุกข์ขึ้นอีกครั้งในเรื่องเดิม  แต่ถ้าไม่เกิดตัณหาความอยากหรือความไม่อยากก็ไม่เป็นทุกข์  ลองสังเกตุดูให้เห็นด้วยจิตตนเอง         สัญญา ความจําและหมายรู้ในอารมณ์ ความจําอันเกิดจากประสบการณ์ต่างๆในชีวิตที่จําไว้ รสนิยม ที่เกิดในปัจจุบันจิตนั้น อันหมายรวมถึงอาสวะกิเลสที่แอบแฝงอยู่ในจิตลึกๆเช่นความหดหู่กังวลใจ คับแค้นใจ ตลอดจนสัญชาตญาณ เช่น ความหิว, อิ่ม, ความเจ็บปวด...ฯลฯเป็นญาณหรือความรู้หรือทุกข์ที่มีมาพร้อมกับการเกิด และเก็บจําในจิต, สัญญาหมายรู้ สรุปข้อมูล เรียนรู้เปรียบเทียบแล้วสรุปผลก็อยู่ในสัญญาเช่นกัน         สังขาร เกิดจากผลสรุปของเวทนาร่วมกับสัญญาหมายรู้ สรุปผลออกมาชัดเจนให้จิต แล้วเป็นความคิดอ่านที่เจตจํานงค์หรือเจตนาในการกระทําต่อเวทนาหรือการรับรู้อารมณ์(ในรูป,เสียง กลิ่น ฯลฯ.)ที่เกิดขึ้น สังขารมีการริเริ่มเองได้และเกิดแต่การรับรู้ความรู้สึกและจําอารมณ์(เวทนา)         สังขารขันธ์ในขันธ์๕ดังเช่นคิด สติ ปัญญา เมตตา กรุณา ศรัทธา และความโลภ โกรธ หลง ซึ่งในทางอภิธรรมท่านจําแนกได้เป็นเจตสิก๕๐ จากเจตสิก๕๒ (เจตสิกคืออาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต แบ่งเป็น๕๒ อันยกเว้นแต่เวทนา,สัญญาแล้ว อีกทั้ง ๕๐ ล้วนจัดเป็นสังขารขันธ์)         บางท่านอาจจักสับสนตรง โลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่านเป็นสังขารขันธ์ก็เป็นทุกข์แล้วนี่ ไม่ต้องมีอุปาทานเกิดร่วมด้วยเลย? จริงๆแล้วมันเป็นแค่สังขารขันธ์อันเป็นขบวนการธรรมชาติในการยังชีวิตตามปกติ อริยเจ้าทั้งหลายจึงมักกล่าวกันอยู่เนืองๆว่า "ทุกข์ของขันธ์๕ นั้นมีอยู่" ซึ่งเป็นความจริงอันถูกต้อง แต่ท่านไม่เป็นทุกข์จริงๆเพราะไม่มีอุปาทานร่วมด้วย มันเกิดจริงแต่ตามธรรมชาติ ถ้ารู้เท่าทันเวทนา(การเสวยอารมณ์)หรือตัณหาหรือสังขารขันธ์(หมายถึงเข้าใจ ตัวใดก็ได้ แต่ถ้ายิ่งแต่ต้น ก็ยิ่งดีเท่านั้น)ที่เกิดมันก็จักค่อยๆมอดดับไปเองเสมือนหนึ่งกองไฟที่เราชักฟืนออก   ถ้าไม่มีความคิดนึกปรุงแต่ง(ตัณหา)เข้าไปร่วมด้วย(ดังแสดงในวงจรปฏิจจสมุปบาท) อันอุปมาดั่งสตาร์ทรถที่ไม่มีนํ้ามันอันคือไม่มีตัณหานั่นเอง ย่อมแค่สั่นสะเทือนแต่ไม่มีวันที่จะวิ่งไปหาทุกข์ได้ หรือดังมีผู้มาปรารภการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แล้วเรียนถามท่านว่า "หลวงปู่ครับ ทําอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้" หลวงปู่ตอบว่า "ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน....เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง"(จากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม"หน้า๔๖๒)ดังนั้นจากความนี้จักเห็นได้ว่าตัณหาเข้ากระทําต่อเวทนา(หรือเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา)ได้ตั้งแต่เกิดเวทนาครั้งแรกเป็นต้นไปจนถึงสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นแล้วเอาไปเป็นคิดนึกปรุงแต่งใหม่อันต้องเกิดเวทนาใหม่ๆขึ้นอีกอันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อีก  ดังนั้นถ้ามีสติรู้เท่าทันและเข้าใจสภาวะธรรมของเวทนาดังแสดงในปฏิจจสมุปบาทย่อมดีกว่า เพราะสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นก็เนื่องมาจากเวทนาเช่นกัน ย่อมบรรเทา เบาบางลงไปด้วย (ดูขยายความในข้อคิดท้ายบทในภายหน้า)         สังขารขันธ์แบ่งออกเป็น ๓ คือ         ๑ กายสังขาร อันได้แก่เจตนากระทําทั้งหลายทางกาย และ/หรืออาจจะร่วมด้วย         ๒ วจีสังขาร อันได้แก่เจตนากระทําทั้งหลายทางวาจา และ/หรืออาจจะร่วมด้วย         ๓ มโนสังขาร อันได้แก่เจตนากระทําทั้งหลายทางจิตเช่นความคิดนึก(ตริ) พิจารณา(การตรอง) สติ ปัญญา โลภ โกรธ หลง เมตตา กรุณา ฯลฯ. (ไม่รวมความคิดนึกปรุงแต่งเพราะเป็น "ปปัญจสัญญา" คือสัญญาที่ซับซ้อนเจือกิเลส อันจัดเป็น"ตัณหา"นั่นเอง อันก่อให้เกิดทุกข์)         ขบวนการทํางานของสังขารขันธ์ อันคือเป็น "ผลของขันธ์๕" คือการกระทํา(กรรม)ทางกาย, วาจา, ใจ(คิด,นึก) เป็นปฏิกริยาเพื่อสนองหรือตอบโต้ต่อเวทนาหรือความรู้สึกรับรู้อารมณ์ที่กระทบสัมผัสที่เกิดขึ้น  กายสังขาร = กายสังขาร         กายทวาร    กายกรรม  สภาพปรุงแต่งการกระทําทางกาย = ความคิดที่จงใจแสดงออกทางกาย  ทางกาย  การกระทําทางกาย                                     วจีสังขาร = วจีสัญเจตนา             วจีทวาร     วจีกรรม  สภาพปรุงแต่งการกระทําทางวาจา = ความคิดที่จงใจแสดงออกทางวาจา  ทางวาจา  การกระทําทางวาจา                                 มโนสังขาร,จิตสังขาร,คิด = มโนสัญเจตนา         มโนทวาร  มโนกรรม  สภาพปรุงแต่งการกระทําทางใจ = ความคิดที่จงใจแสดงออกทางใจ(คิด)  ทางใจ  การกระทําทางใจ การกระทําทางใจ(มโนสังขาร) เช่นความคิดเรื่องนั้นๆ โลภ โกรธ หลง ความคิดฟุ้งซ่านฯลฯ. อันเป็นสังขารขันธ์ก็เป็นสาเหตุช่วยให้เกิดทุกข์ ถ้ามีตัณหาเข้าร่วมปรุงด้วยก็ทําให้เกิดทุกข์เช่นเวทนาได้เหมือนกัน กล่าวคือสังขารขันธ์หรือความคิดที่เป็นทุกข์ก็จักทําหน้าที่เป็น"รูป"หรือสิ่งที่ถูกรู้ในขันธ์๕ ชึ่งย่อมยังให้เกิดขันธ์๕ขึ้นอีก อันย่อมต้องมีเวทนาเกิดอีกเช่นกัน อันเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาจากเวทนานั้นได้ด้วยเช่นกัน   เกิดเป็นวงจรหรือวัฏฏะของทุกข์วนเวียนอยู่เช่นนั้น ในบางครั้งจึงมีการกล่าวถึงตัณหาอันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปในสังขารขันธ์เช่นกันดังในปิยรูป สาตรูป๑๐   หรือเกิดได้ดังในวงจรเล็กที่เคลื่อนไหว อันเกิดเนื่องจากมโนสังขารนั้นถูกครอบด้วยอุปาทานแล้ว คลิกเพื่อดูภาพประกอบ)        สัญเจตนาคือความคิดอ่านที่จงใจหรือเจตนานั่นเองที่แสดงออกทางกาย หรือวาจา หรือใจ เป็นความคิดที่มองไม่ค่อยเห็น คล้ายๆทํางานโดยอัตโนมัติ คล้ายการทํางานของหัวใจที่ทํางานไปตามหน้าที่ตน  หรือก็คือความคิดที่เกิดจากสมองส่วนสั่งการนั่นเอง อันเกิดต่อจากสัญญาหมายรู้หรือความคิดนึกที่สรุปหมายรู้เรียบร้อยแล้ว        วิญญาณ การรับรู้ สื่อสาร(รับรู้แบบเปล่าๆ เป็นการนําส่งข้อมูลสิ่งที่กระทบสัมผัสไปให้สัญญาหรือสมองส่วนความจํา) ไม่ใช่ปฏิสนธิวิญญาณอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป(หมายถึง ผี หรือ วิญญาณที่ลอยละล่อง) วิญญาณทําหน้าที่คล้ายรูปถ่าย ส่วน ตา ทําหน้าที่คล้ายเลนส์กล้อง รูปถ่ายแค่บันทึกไว้ในกระดาษแต่ตัวรูปถ่ายเองไม่รู้อะไร คนดูรูปถ่ายทําหน้าที่เป็นสัญญา สรุปคือวิญญาณทําหน้าที่สื่อเชื่อมระหว่างกาย ใจ และรูป เสียง กลิ่น ฯลฯที่มาผัสสะ หรือเป็นระบบประสาทนั่นเอง อันจําเป็นต้องส่งให้สมอง(สัญญาจํา)รับรู้   เวทนา         ก่อนจะกล่าวเรื่องเวทนาขอกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบหรือความเข้าใจชอบ)ฝ่ายโลกุตตระหรือโลกุตตรสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบระดับเหนือโลกหรือรู้เข้าใจตามสภาวะเป็นจริงของธรรมชาติ(ธรรม) สัมมาทิฏฐิประเภทนี้จักเกิดจากโยนิโสมนสิการคือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงเท่านั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการอ่าน การฟัง การเชื่อโดยศรัทธาแต่เพียงฝ่ายเดียว ต้องเอาธรรม(ชาติ)เป็นข้อพิจารณาโดยตรงจนเกิดความเข้าใจจึงเชื่อมั่นถึงใจหมดวิจิกิจฉาความสงสัยใดๆ จึงสามารถเปลี่ยนทัศนะคติ ความเชื่อ ความยึดถือเดิมๆ จึงจะกําจัดกิเลสได้ มิใช่กดข่ม หรือทับไว้ จึงจะเกิดความมั่นคงดุจหินผาในคุณธรรม         เวทนาคือการรับรู้ความรู้สึกและจําได้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส หรือการเสพรสอารมณ์ หรือกล่าวคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)อันพร้อมด้วยความจําได้หรือมีประสบการณ์ในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆเช่นในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส(โผฏฐัพพะ) และธรรมารมณ์(ความคิด) อันแบ่งเป็น ๓ ชนิด ตามความรู้สึก         ๑ สุขเวทนา ทางตา-สบายใจ ชอบ, ทางหู-สบายใจ ชอบ, ทางจมูก-สบายใจ ชอบ, ทางลิ้น-สบายใจ ชอบ, ทางกาย-สบาย ชอบ, ทางใจ-รู้สึกสบายใจ ชอบ สนุก เพลิดเพลิน         ๒ ทุกขเวทนา ทางตา-ไม่สบายใจ ไม่ชอบ, ทางหู-ไม่สบายใจ ไม่ชอบ, ทางจมูก-ไม่สบายใจ ไม่ชอบ, ทางลิ้น-ไม่สบายใจ ไม่ชอบ, ทางกาย-ไม่สบาย ไม่ชอบ, ทางใจ-ไม่ สบายใจ ไม่ชอบ เบื่อ         ๓ อทุกขมสุข ความรู้สึกเฉยๆ ไม่มีอะไร         กระบวนการทํางานของขันธ์๕ (แค่เวทนา) ตา >> กระทบ>> รูป >> จักขุวิญญาณ ผัสสะ>> + สัญญา(จํา) เวทนา ....ไปตามขบวนการขันธ์๕.....                                                  หรือ ตา + รูป + วิญญาณ ผัสสะ>> สัญญาจําในรูป เวทนา .....ไปตามขบวนการขันธ์๕....... พิจารณาให้ดี ในทุกขบวนที่เกิดขึ้นนี้ มีกองธรรมใดที่เราจะดับหรือระงับได้ไหม?         อธิบายตามหลักพุทธศาสตร์ประยุกติ์กับหลักวิทยาศาสตร์         ตากระทบกับรูปหรือภาพที่เห็น ประสาทตา(ทางพุทธศาสตร์คือ"จักขุวิญญาณ")จะทําการรับภาพที่เห็นอันประกอบด้วยอารมณ์ส่งไปให้สมองส่วนความจํา(หรือ"สัญญา"ในทางพุทธศาสตร์) ซึ่งจะตีความภาพที่เห็นว่าเป็นสิ่งใดมีความรู้ในสิ่งนั้นๆอย่างไร แล้วสรุปลงมาเป็นการรับรู้ความรู้สึกที่พร้อมความจําในรูปด้วย(เวทนา)ในขั้นแรกๆที่เรียกกันว่า สบาย(ชอบ), ไม่สบาย(ไม่ชอบ), เฉยๆ หรือก็คือสุขเวทนา, ทุกขเวทนา, อทุกขมสุขในทางพุทธศาสตร์นั่นเอง         ตามหลักวิปัสสนา ต้องเห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ                 ตา-เป็นอวัยวะประจํากาย เราทิ้งตาไปได้ไหม?         รูป-สิ่งที่ถูกรู้หรือของที่เห็น จะไม่ให้มี ให้หายไป ไม่ให้เห็นได้ไหม?             กระทบกัน-ผัสสะ-ห้ามไม่ให้มีการกระทบคือการเห็น, การรู้ได้ไหม?         วิญญาณ-หรือประสาทรับรู้-ห้ามไม่ให้ทําหน้าที่ได้ไหม?         สัญญา-ความจําทั้งหลายทิ้งไปได้ไหม ถ้าทิ้งได้จะเป็นเช่นไร? ความรู้ก็เป็นสัญญาจํา         ดังนั้นจักเห็นว่าเวทนาย่อมต้องเกิดตามเหตุปัจจัยข้างต้น ไม่สามารถไปห้ามหรือหยุดได้เป็นกระบวนการธรรมชาติแท้ๆธรรมดาๆแต่สูงสุด ที่ต้องยอมรับตามความเป็นจริง อย่าไปหลงหวังพึ่งสิ่งใดๆหรือปฏิบัติแบบใดๆเพื่อดับเวทนาให้ดับสูญจริงๆ  ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ประชุมกันชั่วระยะหนึ่งนั่นเอง         ต้องหมั่นพิจารณาและรู้ทันเวทนาเป็นประจําสมํ่าเสมอ ว่าสักแต่ว่าเป็นกระบวนการธรรมชาติ มันเป็นเช่นนั้นเอง เพียงแค่รับรู้แล้วไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา         ตัวอย่างเช่น ตา+เงิน(ของชอบ)+กระทบกัน เห็นเงิน + จําได้หรือหมายรู้ว่าเงินมีความหมายใช้ซื้ออะไรก็ได้ตามใจปรารถนา >>> เวทนาชนิดสบายใจ(สุขเวทนา) >>> ฯลฯ >>> เกิดสังขารใจ โลภ-คิดไปซื้อโน่น, ซื้อนี่ หรือเกิดกายสังขาร คิดอ่านแล้วออกไปหาซื้อของถูกใจ ตา+คนที่ไม่ชอบ+กระทบกัน เห็นคนนั้น + จําได้ว่าเป็นศตรูหรือไม่ชอบ >>> เวทนาชนิดไม่ชอบ(ทุกขเวทนา ไม่สบายใจ).....ฯลฯ.....เกิดสังขารทางใจโกรธคิดไม่พอใจ หรือเกิดสังขารกายโดดเข้าทําร้าย คนที่ไม่ชอบ  แสดงว่าคือคนๆนี้เคยถูกครอบงําด้วยอุปาทานของเรามาแล้ว และเก็บเป็นอาสวะกิเลสอยู่ในจิตหรือเคยเป็นอุปาทานขันธ์๕ที่จะเข้าวงจรการเกิดทุกข์อีกครั้งหรือพูดง่ายๆก็คือความทุกข์เก่าในรูปอาสวะกิเลสที่อาจก่อให้เกิดความทุกข์ใจใหม่ได้ ถ้ามีตัณหาความอยากหรือไม่อยากปรุงแต่งเข้าไปอีก ขันธ์๕ชนิดนี้เกิดในชีวิตประจําวันอยู่ตลอดเวลา ตา+คน+กระทบกัน เห็นคน + ไม่มีความจําอะไรพิเศษ >>> เวทนา ชนิดอทุกขมสุขคือรู้สึกเฉย...ฯลฯ เกิดสังขารใจชนิดเฉยๆไม่มีอะไร ไม่คิด ไม่ทํา ไม่พูด ไม่รู้สึกอันใด (ในชีวิตประจําวันที่ตากระทบรูปทั่วๆไป) ตา+อาหาร+กระทบกัน เห็นอาหาร + จําได้ว่าของโปรด >>> เวทนา ชนิดสุขเวทนาคือชอบ...เกิดสังขารใจชนิดโลภคิดอยากกิน, น่ากิน หรือสังขารกายคิดอ่านขวยขวายและลงมือกินเลย ขันธ์๕นี้ไม่เป็นขันธ์๕บริสุทธ์ จริงๆแล้วเป็นอุปาทานขันธ์เก่าที่เป็นอาสวะกิเลส คืออาหารนั้นเคยอุปาทานรูปอันคือรูปที่มีเคยมีอุปาทานครอบงํามาแล้ว, และเช่นกันในสัญญาหรือความจําได้ว่าเป็นของโปรด เพราะฉนั้นเวทนาอันนี้จริงๆแล้วเป็น "เวทนูปาทานขันธ์" หรืออุปาทานเวทนาในอดีต หรือพูดได้ว่าอาหารนี้เป็นทุกข์เก่า(ของชอบ)ชนิดที่ก่อให้เกิดทุกข์ใหม่ถ้ามีตัณหาปรุงแต่งเกิดขึ้น ตา+อาหาร+กระทบกัน เห็นอาหาร + จําได้หมายรู้ว่าอิ่มแล้ว อทุกขมสุข เฉยๆ.......ฯลฯ กาย+ลูบไล้+กระทบกัน รู้สัมผัส + จําสัมผัสชนิดนี้ได้ว่าชอบ สุขเวทนา ชอบ,สบายใจ......ฯลฯ กาย+ตีแรงๆ+กระทบกัน รู้สัมผัส + จําสัมผัสชนิดนี้ได้ว่าไม่ชอบ ทุกขเวทนา ไม่ชอบ......ฯลฯ กาย+แตะ+กระทบกัน รู้สัมผัส + จําสัมผัสชนิดนี้ได้ อทุกขมสุข เฉยๆ.......ฯลฯ ใจ+เรื่องทุกข์+กระทบกัน ใจรับรู้ + จําได้ว่าเรื่องทุกข์ๆ ทุกขเวทนา ไม่ชอบไม่สบาย.....ฯลฯ ใจ+เรื่องสุขๆ+กระทบกัน ใจรับรู้ + จําได้ว่าเป็นเรื่องชอบ สุขเวทนา ชอบ......ฯลฯ. กาย + มีด + กระทบกัน(บาดมือ) ประสาทกายรับรู้ + จําความรู้สึกจากสัญชาตญาณได้ เป็นความรู้สึกสัมผัสทางกายที่ไม่ปรารถนา >>>ทุกขเวทนา รับรู้เจ็บปวด...เกิดสังขารกายมีอาการสะดุ้ง,หรือจิตสังขารทางใจเกิดโมหะหลง มีดบาดนิ้วกู,กูไม่ยอม,ไม่อยาก อันมาจากสัญญาหมายรู้ชนิดสัญชาตญาณ         จักเห็นได้ว่าเวทนานั้นรวมถึงผลของความจําได้ ตลอดจนรสนิยม ประสบการณ์ต่างๆตลอดชีวิตแต่ในขณะปัจจุบันจิตนั้น  ตัวอย่างเช่น ให้เงินเด็กอายุ ๖ เดือนกับผู้ใหญ่และ ผู้ใหญ่รวยมากๆ คนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ซึ่งต่างก็เห็นในรูป(คือเงิน)เหมือนๆกันแต่ผลต่างกัน อันเนื่องจากสัญญาจํา         เด็ก ๖ เดือน ตา(ใจก็ได้)+เงิน+กระทบกัน เห็นเงิน+ไม่มีสัญญาหรือความจําความรู้เกี่ยวกับเงิน อทุกขมสุข.....ฯลฯ. เด็กมีความรู้สึกเฉยๆ จะโยนทิ้งก็ได้ ฉีกเล่นก็ได้ ไม่สนใจ ไม่มีค่าในสายตา เพราะไม่มีสัญญาจําได้ในรูป(เงิน)         ผู้ใหญ่ ตา+เงิน+กระทบกัน เห็นเงิน+จําได้ รู้ ว่ามีค่าใช้แลกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนา สุขเวทนา.....ฯลฯ เกิดสังขารใจโมหะความหลง คิดเป็นสุขจักเอาเงินไปทําโน่นทํานี่, โอ้โห..บุญหล่นทับ, หรือเกิดสังขารกาย ตื่นเต้นใจสั่น, มือสั่น, ออกไปใช้เงินซื้อข้าวของ         ผู้ใหญ่รวยมากๆ ตา+เงิน+กระทบกัน เห็นเงิน+จําได้ รู้ว่ามีค่า แต่น้อย กระจอกเหลือเกิน อทุกขมสุข.....ฯลฯ เป็นสังขารทางใจชนิดเฉยๆไม่รู้สึกตื่นเต้น เพราะสัญญาของเขามันมีความหมายถึงเงินน้อย    หรืออาจเกิดทุกขเวทนาใจคือไม่พอใจก็ได้ว่า น้อยเกินไป ดูถูกกันนี่ เกิดสังขารใจมีความโกรธ มีสังขารกายมือไม้สั่น ใจสั่นด้วยความโกรธไม่พอใจ        จากตัวอย่างเรื่องเงินนี้จักเห็นได้ว่าขบวนการที่เกิดรวดเร็วมากแทบจะขณะจิตเดียวกับที่เห็นหรือกระทบ ผลหรือเวทนาจะสรุปออกมาเลยแต่มีผลแตกต่างกันเพราะความจํา(สัญญา)ในอารมณ์(เงิน)ที่มีในจิตไม่เหมือนกัน  เวทนาแต่ละบุคคลจึงอาจไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสัญญาจําในอดีต ทั้งๆที่เป็นสิ่งๆเดียวกัน, เวทนาเป็นกฏของธรรมชาติ เราไม่สามารถไปหยุดหรือหลีกเลี่ยงได้ถือได้ว่ายิ่งใหญ่กว่าเทพไท้เทวาองค์ใดๆเสียอีก เพราะเป็นกระบวนการทางธรรม(ชาติ)แท้ๆ  แต่เราสามารถที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยินดียินร้ายในเวทนานี้ได้โดยปัญญาที่เข้าใจ และเห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นสภาวะธรรมหรือกฎธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ เป็นกระบวนการในการยังชีวิตอยู่อันหลีกเลี่ยงมิได้เป็นกฎทางธรรมอันสูงสุด และเป็นแค่การรับรู้ความรู้สึกที่เกิดในสิ่งที่กระทบสัมผัสเท่านั้น  แต่เราไปยึดว่าเวทนาหรือการรับรู้ความรู้สึกนั่นว่าเป็นเรา เวทนานั่นเป็นของเรา แต่เมื่อจิตรับรู้จริงๆ(ปัญญาที่เข้าใจจริง) จิตจักเลิกดิ้นสอดส่ายหาวิธีทางออกอย่างไร้เหตุผลอันหมายถึงหยุดการคิดปรุงแต่งดิ้นรนเพื่อหาทางออกอย่างสิ้นหวัง อันมักมีตัณหาแอบแฝงไหลเลื่อนมากับคิดปรุงแต่งนั้นทีละน้อยโดยไม่รู้ตัวอยู่เสมอๆ เมื่อตัณหาหยุดแล้วตามกฎธรรมชาติอันสูงสุดเช่นกันคือกฎอิทัปปัจจยตาคือเมื่อเหตุปัจจัยของสิ่งนี้ดับ ผลนี้ก็ดับ หรือเมื่อสิ่งนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี ดังนั้นเมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นในเวทนาอุปมาดั่งดับลงไป ผลทําให้ตัณหาดับ เป็นปัจจัยให้ อุปาทานดับ,เพราะอุปาทานดับ....ภพดับ....ชาติคือความเกิดของทุกข์ในรูปอุปาทานขันธ์๕จึงดับด้วย...ชรา-มรณะจึงดับ...อาสวะกิเลสจึงดับไปด้วย ทุกข์อุปาทานจึงดับ         พยายามพิจารณาให้เห็นว่าเวทนานั้นเป็นกระบวนการธรรมชาติ ให้เห็นได้ด้วยใจที่เข้าใจ เพราะถ้าไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดในเวทนาแล้ว เมื่อเกิดเวทนาขึ้นเช่น         สุขเวทนา ก็จักเพลินเพลิน ยึดติด ทะยานอยากต่อสุขเวทนานั้น อันคือภวตัณหาอันก่อเป็นทุกข์ในที่สุด  มิจฉาสมาธิและฌานอันยึดติดสุขก็เช่นเตียวกัน         ถ้าเป็นทุกขเวทนา ก็จักเกิด ความไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เป็น หรือเกิดอาการผลักไสในจิต ต่อต้าน ครํ่าครวญ  พิรี้พิไรรําพันต่อทุกขเวทนานั้น  อันคือสภาวะของวิภวตัณหา อันยังให้เข้าวงจรทุกข์อยู่รํ่าไป         ถ้าเป็นอทุกขมสุข ไม่ทุกข์ไม่สุขก็จักคิดว่าไม่เป็นไรเพราะไม่รู้สึกรู้สาอะไร จึงปล่อยปละละเลยแต่ไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆขึ้นอันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา, แต่ไปคิดว่า ถูกต้องแล้ว อันยังให้เกิดความไม่รู้ หรือความเข้าใจผิด อันเป็นอวิชชานุสัยนอนเนื่อง             อนึ่ง บางครั้งอาจจะสับสนระหว่างเวทนาและสังขารในขันธ์๕ มักมีการเรียกสับกันไปมาระหว่างเวทนาและสังขาร เพราะเวทนานั้นเป็น"เหตุปัจจัย"หนี่ง สังขารเป็น"ผล"เป็นปัจจัยที่เนื่องสัมพันธ์กัน ที่แตกต่างคือในขั้นเวทนาเป็นกระบวนการการรับรู้แต่ในสังขารขันธ์เป็นความจงใจ,เจตนากระทําทางกาย, วาจา,ใจ ต่อเวทนาหรือรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น(ปฏิกริยาตอบสนองต่อเวทนา) บางครั้งจึงอธิบายเป็นภาษาพูดเพื่อสื่อให้เข้าใจได้ลําบากจริงๆ ดังตัวอย่างการเห็นสิ่งของที่ถูกใจเช่น เห็นหญิงหรือชายที่ถูกใจ คือการที่         ตากระทบรูป เกิดวิญญาณรับรู้เกิดผัสสะ ความจําและรสนิยมเกิดขึ้น เกิดเวทนารับรู้ว่าเป็นชนิดชอบใจหรือถูกใจ(สุขเวทนานั่นเอง)   เกิดสัญญาหมายรู้ข้อมูลในภาพที่เห็น   ใจ(มโนวิญญาณ)รับรู้ทุกสิ่งแล้ว   ตัดสินใจ(เจตนา)ให้เกิดจิตสังขารคือจงใจคิดนึกสรุปออกมาว่าสวยหรือหล่อ อันเป็นกระบวนการตามปกติและเป็นธรรมชาติเป็นที่สุด   จะเห็นได้ว่าแยกแยะความชอบใจหรือถูกใจกับความสวยที่จงใจสรุปแล้ว ไม่ออกชัดเจนในตัวอย่างอันนี้  บางคนอาจบอกว่าก็เรื่องเดียวกันนั่นแหละ   ดังนั้นเวลาพิจารณาลองตัวอย่างที่พิจารณาให้เห็นชัดเจน เช่น การกระหายนํ้าในท้ายบทนี้ หรือลองหาอะไรทานพยายามเคี้ยวให้ได้รสชาติอาหารนั้นเต็มที่ รสชาติที่รู้สึกและจําได้ว่าชอบหรือไม่ชอบ นั่นแหละเวทนาหรือเสวยอารมณ์ ส่วนความคิดว่าอร่อยหรือไม่อร่อยนั้นเป็นมโนสังขารในขันธ์๕แล้ว ลองโยนิโสมนสิการดูว่าตัณหาความอยากเกิดจากความรู้สึกในรสชาติที่รับรู้ หรือเกิดจากความคิดอันเป็นสังขารขันธ์ว่าอร่อย, ไม่อร่อย???         ท่านจึงให้สังวร สํารวม ระวังก็คือหลีกเลี่ยงการปะทะอย่างตรงๆต่อ  รูป   เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส และธรรมารมณ์ก็เพื่อป้องกันเวทนาอันยังให้เกิดตัณหาในระยะแรกๆ อันคือการออกบวชโดยมีพระวินัยเป็นสิ่งควบคุมบังคับนั่นเอง ตลอดจนการปลีกวิเวก   เราปุถุชนจึงควรระวังสังวรให้มากกว่าปกติธรรมดาเพราะโอกาสเปิดช่องให้ผัสสะคือสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้โดยตรงจากกิจที่ต้องกระทําในชีวิตประจําวันโดยไม่มีวินัยใดๆมาควบคุมบังคับนอกจากสติ         เพื่อการแยกแยะให้เห็นภาพการทํางานเป็นขั้นตอน จึงแสดงสัญญาที่เกิดในขันธ์๕ เป็น ๒ ครั้ง ครั้งแรกเกิดก่อนเวทนา,  สัญญาจะอยู่ในลักษณะสัญชาตญาณและการจําข้อมูลและเข้าใจในสิ่งที่มากระทบ เช่นอารมณ์ในรูป,  ครั้งที่๒ สัญญาจะอยู่ในลักษณะวิเคราะห์,ประเมินผล,เปรียบเทียบ คิดค้น คิดแก้ไขและสรุปอันคือ"หมายรู้"ในสิ่งที่บังเกิดขึ้นนั่นเอง ดังตัวอย่างเช่น เมื่อมีใครมาตีเราแรงๆ         สัญญาขั้นแรกจักรับรู้เกิดอารมณ์จากสัมผัส ความเจ็บ ความไม่พอใจต่างๆ   เป็นการรับรู้จากสัญชาตญาณและการจําได้ในข้อมูลหรืออารมณ์อันเกิดจากการกระทบ เกิดเป็นเวทนาชนิดทุกขเวทนาทางกายหรืออาจทางใจด้วย แล้วจึงเกิดสัญญาขั้นที่๒ที่มีรายละเอียดเพื่อการหมายรู้เพิ่มขึ้น         สัญญาครั้งที่๒ จักวิเคราะห์ละเอียดขึ้นเช่นเกิดอะไรขึ้น ใครตี ตีทําไม ไปทําอะไรเขาก่อนหรือเปล่า หรือเขาแกล้งเรา แล้วประเมินผลออกมาเช่นเขาแกล้งเรา แล้วหมายรู้นั้นสรุป เป็นสัญญาใหม่ที่เกิดขึ้นณ.ขณะจิตนั้น >>> ใจ(มโนวิญญาณ)ก็มารับรู้สัญญาที่เกิดใหม่นั้น >>> เกิดเป็นสังขารที่จงใจหรือเจตนาทางกาย, วาจา, หรือใจต่างๆ โดยอาศัยสัญเจตนา(ความคิดอ่านของสังขาร)เป็นเครื่องมือของสังขารแสดงความไม่พอใจนั้นออกมาในรูปแบบต่างๆเช่นทางกายก็สั่นระรัวหรือตีตอบโต้, ทางวาจาก็ด่าทอ, ทางใจก็โกรธ ขุ่นเคืองไม่พอใจ หรือคิดต่อว่า คิดตอบโต้,  ถ้าสัญญาในขั้นแรกที่ทําให้เกิดเวทนาแล้ว รู้และเข้าใจเวทนาอย่างถ่องแท้จริงๆ   สัญญาหมายรู้ที่เกิดก็จะหมายรู้ในสิ่งที่ถูกต้องเพราะไม่ถูกครอบงําใดๆ  ดังนั้นสังขารขันธ์ที่เกิดต่อเนื่องก็จักเบาบางลงเช่นกัน นี่คือข้อแตกต่างในขันธ์๕ของปุถุชนและองค์อรหันต์ คือเกิดเหมือนกันเพราะเป็นสภาวะธรรมชาติแต่บางเบานุ่มนวลกว่ากัน  ดังในกรณีหลวงปู่ดูลย์ อตุโลกล่าวว่ามี "โกรธ"หมายถึงท่านมีจริงๆเป็นสังขารขันธ์ธรรมชาติ แต่เบาบางนุ่มนวลดับมอดลงเร็วกว่าปุถุชนทั่วไปมากนัก เพราะเวทนาอันเบาบางซึ่งเกิดเพราะความเข้าใจอันหมดจด และยังให้สัญญาหมายรู้ไม่มีกิเลสร้อยรัด  จึงไม่ยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตนเหมือนปุถุชน  เนื่องจากท่านเห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรมของเวทนานั้น         แม้พระพุทธองค์ ตลอดจนพระอรหันต์ทุกๆพระองค์ก็ต้องเกิด, ต้องเสวยเวทนาไม่สามารถเลี่ยงเวทนานี้ได้ แต่ธรรมเหล่าใดที่ทําให้ทุกๆพระองค์ไม่เป็นทุกข์ เสวยแต่ผลของเวทนาทางกายอันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)เท่านั้น ดังพุทธพจน์                 "ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนา(ทั้งทางกายหรือทางใจ)กระทบเข้าแล้ว         ย่อมเศร้าโศก ครํ่าครวญฯลฯ เขาย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ อย่างคือ         เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ         "เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศรดอกหนึ่ง แล้วยิงซํ้าด้วยลูก         ศรดอกที่ ๒ อีก เมื่อเป็นเช่นนี้บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรทั้ง ๒ ดอก         คือทั้งทางกาย(ดอกที่๑) ทั้งทางใจ(ดอกที่๒) ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น.......         ย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ ทาง คือ ทั้งทางกายและทางใจ"                 "ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ครํ่าครวญ ฯลฯ......         เธอย่อมเสวย(ผลของ)เวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวย(ผลของ)เวทนาทางใจ"         "เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วยิงซํ้าด้วยลูกศรดอกที่ ๒         ผิดไป เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษนั้นย่อมเสวย(ผลของ)เวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว         ฉันใด อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น.....ย่อมเสวย(ผลของ)เวทนาทางกายอย่างเดียว         ไม่ได้เสวย (ผลของ)เวทนาทางใจ"         ข้อแนะนําในการพิจารณาพุทธพจน์นี้คือ         ปุถุชนเมื่อเป็นทุกขเวทนาทางกายนั้น ย่อมเกิดทุกขเวทนาทางใจด้วยควบคู่กันเสมอ เมื่อเกิดเจ็บป่วยหรือทรมานทางกายใดๆ ใจย่อมวิตกกังวล เครียด หงุดหงิด ทรมาน ไปตามนั้น ทําให้เกิดตัณหาคือ การคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆเพี่อหาทางออกจากเวทนาทางกายนั้น แต่กลับเป็นการก่อเวทนาทางใจขึ้นมาอีก อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อุปาทาน..ภพ..ชาติอันเป็นทุกข์ อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นในที่สุดอีกด้วย         ปุถุชนเมื่อเป็นทุกขเวทนาทางใจนั้น ย่อมเกิดทุกขเวทนาทางกายด้วย ควบคู่กันเสมอ เมื่อเกิดทุกข์ใจขึ้นมา ย่อมส่งผลมาที่กายเช่นใจสั่น มือไม้สั่น เหงื่อแตก ความดันขึ้น ปวดหัว กาย(ผิวพรรณ)หมองคลํ้าที่เรียกกันว่าไร้ราศี อันเป็นเหตุให้เกิดโรคทางกายสารพัด เช่นไมเกรน โรคกระเพาะ หอบแน่นหน้าอก โรคหัวใจ โรคประสาท(จิตป่วนกาย)...มากเกินคาด...ฯลฯ. ล้วนเกิดจากระบบการทํางานของร่างกายแปรปรวนไม่เป็นสมดุลย์ตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากจิต         ดังนั้นองค์อรหันต์ มีทุกขเวทนาทางกายแต่ไม่เสวยผลทุกขเวทนาทางใจ(ลูกศรเพียง ๑ดอก)         ดังนั้นองค์อรหันต์ มีทุกขเวทนาทางใจแต่ไม่เสวยทุกขเวทนานั้นหมายถึงเกิดเวทนาใจแต่ไม่มีตัณหาอุปาทาน ดังนั้นอุปาทานขันธ์๕หรือทุกข์ใจแท้ๆจึงเกิดไม่ได้ จึงไม่มีความทุกข์ใจเกิดจึงหมายถึงถูกลูกศรอันเจ็บปวดเพียงดอกเดียว   หรือก็คือไม่เสวยผลของทุกขเวทนาทางใจนั่นเอง หรือที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลกล่าวไว้เรื่องความโกรธ หรือในเรื่องเวทนาว่า "มี แต่ไม่เอา" จะอธิบายได้ดี อันหมายถึงมีสังขารขันธ์อันเป็นความโกรธ อันเนื่องจากเวทนานั่นเอง แต่ไม่เอาตัณหาไปปรุงแต่งเวทนาให้เกิดทุกข์อุปาทาน  หรือหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้ไม่เกิดเวทนาใหม่ขึ้น อันยังให้ไม่เกิดตัณหาจากเวทนาใหม่ อันยังให้ไม่เกิดทุกข์เป็นที่สุด         และยังมีข้อความบางประการที่กล่าวถึงเวทนาต่างๆ ที่องค์อรหันต์ยังคงมีเช่นปุถุชน อันแสดงถึงความเป็นสภาวะธรรมชาติ แต่ท่านเสวยผลเพียงเวทนาทางกายไม่เสวยผลของเวทนาทางใจเพราะขาดกิเลสตัณหามาร้อยรัดให้เกิดอุปาทาน ดังความจากหนังสืออันทรงคุณค่า "พุทธธรรม" ของท่านพระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตตฺโต) หน้า๒๔๘ มีความดังนี้         "......เมื่อรับรู้อารมณ์ต่างๆจากภายนอก ทางตา ทางหู ทางจมูก เป็นต้น พระอรหันต์ยังคงเสวยเวทนาที่เนื่องจากอารมณ์(สิ่งที่กระทบ)เหล่านั้น ทั้งที่เป็นสุข เป็นทุกข์ เช่นเดียวกับคนทั่วไป    แต่มีข้อพิเศษตรงที่ท่านเสวยเวทนาอย่างไม่มีกิเลสร้อยรัดไม่ติดเพลินหรือข้องขัดอยู่กับเวทนานั้น  เวทนานั้นไม่เป็นเหตุให้เกิดตัณหาเป็นการเสวยเวทนาชั้นเดียว เรียกสั้นๆว่าเสวยแต่เวทนาทางกาย  ไม่เสวยเวทนาทางจิต ไม่ทําให้เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวายภายใน  เรียกว่าเวทนานั้นเป็นของเย็นแล้ว การเสวยเวทนาของท่านเป็นแบบไม่มีอนุสัยตกค้าง ต่าง  จากปุถุชนเมื่อเสวยสุขก็จะมีราคานุสัยตกค้าง เสวยทุกข์ก็จะมีปฏิฆานุสัยตกค้าง เสวยอารมณ์เฉยๆ   ก็มีอวิชชานุสัยตกค้าง เพิ่มความเคยชินและแก่กล้าให้แก่กิเลสเหล่านั้นมากยิ่งๆขึ้น.........ฯลฯ.         เพลิดเพลิน หรือติดเพลิน หมายถึงนันทิหรือตัณหานั่นเอง         นี้คือจุดประสงค์ที่ต้องการชี้ให้เห็นเวทนาและขันธ์ทั้ง๕ เป็นขบวนการธรรมชาติที่ต้องเกิด ต้องมี, ต้องเป็นและต้องดับไปทั้งปุถุชนและองค์อรหันต์ เป็นสภาวะธรรม(ชาติ)  ดังนั้นไปห้าม ไปหยุดย่อมไม่ได้ อันย่อมหมายถึงความไม่สมดุลย์ของธรรมชาติ เพียงแต่เราต้องทํากิจคือหยุดตัณหา คิดนึกปรุงแต่ง หรือความคิดเรื่อยเปื่อย หรือความเพลิดเพลิน(นันทิ-อันทําหน้าที่เป็นตัณหา) ต่อจากเวทนา หรือสังขารขันธ์(ความคิดต่างๆ)ในขันธ์๕ เหตุเพราะความคิดนึกปรุงแต่งหรือคิดนึกเรื่อยเปื่อยหรือความเพลิดเพลิน มักแฝงหรือดึงดูดกิเลสและตัณหา ให้แอบแฝงไหลเลื่อนมากับเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งนั้น  ขอเน้นว่าไม่รวมความคิดของสังขารขันธ์อันจําเป็นในการดํารงชีวิตและการงานอันไม่ใช่ความคิดนึกปรุงแต่ง         หรือดังคําสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ในเรื่อง "ทุกข์" ในหนังสือเทสกานุสรณ์ หน้า๓๕ อันมีความดังนี้         "ทุกข์มันมีอยู่ตลอดเวลา ทุกข์เพราะหิวกระหาย ทุกข์เพราะเจ็บป่วย ทุกข์เพราะความทะเยอทะยานดิ้นรน อยากได้นั่นอยากได้นี่ ทุกข์เพราะความกังวลเกี่ยวข้องพัวพัน กลุ้มอกกลุ้มใจ ทุกข์ที่เป็นนามธรรม ทุกข์ที่เป็นรูป ก็ทุกข์เพราะหิวกระหาย กระทบเย็นร้อนอ่อนแข็งทุกอย่างที่มากระทบ เพราะสัมผัสมันมีอยู่ประสาทยังไม่ทันดับยังไม่ทันตาย สิ่งทั้งหลายต้องมากระทบอยู่ตลอดเวลา จะหนีทุกข์พ้นที่ไหนได้ ไปไม่พ้นหรอก จึงว่าใครทิ้งทุกข์ก็ทิ้งไม่ได้ มีชีวิตอยู่ตราบใดก็ยังมีทุกข์อยู่ตราบนั้น พระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน พระอริยสงฆ์สาวกก็เหมือนกันถึงแม้ท่านจะพิจารณาเห็นทุกข์แล้ว ทุกข์ก็ยังอยู่ตามเดิม ท่านก็ไม่ได้ทิ้งไปไหน แต่ว่าทุกข์มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้ ด้วยเหตุที่ท่านเห็นชัดตามเป็นจริง"         จากคําสอนดังกล่าวถ้าท่านโยนิโสมนสิการ จักพบว่าที่หลวงปู่ตั้งใจสั่งสอนนั้นก็คือ พระอริยเจ้าล้วนมีทุกขเวทนา,สุขเวทนา,อทุกขมสุข  แต่ท่านเหล่านั้นไม่มีอุปาทานทุกข์ หรือ เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น(อันหมายถึงอุปาทานทุกข์) หรือ ทุกข์ของขันธ์๕หรือทุกข์ประจําชีวิตนั้นมีอยู่ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์ และตามที่หลวงปู่กล่าวไว้นั้น "ใครทิ้งทุกข์(ทุกขเวทนา)ก็ทิ้งไม่ได้มีชีวิตอยู่ตราบใดก็ยังมีทุกข์อยู่ตราบนั้น" หมายถึงทุกข์(ทุกขเวทนา)ทั้งทางกายและใจ อันเกิดในสังขารขันธ์ในขันธ์๕ อันเนื่องมาจากเวทนาล้วนเป็นสภาวะธรรมชาติ, ทุกข์(ทุกขเวทนา)ก็ยังอยู่ตามเดิม หมายถึงเหตุที่ทําให้เกิดทุกขเวทนานั้นยังคงมีอยู่เช่นนั้นเองไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ เป็นไปตามสภาวะธรรมชาติของมันเช่นนั้นแหละ จะเสื่อมจะดับก็ตามสภาวะธรรมของมัน  และท่านกล่าวต่อไปในที่สุดว่า "แต่ว่าทุกข์(ทุกขเวทนา)มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้" อันหมายถึงไม่มีตัณหาอุปาทานอันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์จริงๆที่เกิดแก่ใจ อันคือเกิดสภาวะธรรมที่ว่า "เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น"หรือจักกล่าวอีกอย่างได้ว่า "ทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์๕ทั้งทางใจและกายนั้นมีเป็นปกติอันเป็นสภาวะธรรมชาติ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์"         นักปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่เข้าใจสภาวะธรรม จึงจักมักพยายามปฏิบัติให้เหนือกว่าสภาวะธรรม หรือกฎแห่งธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทําได้ดุจดั่งพยายามไล่จับเงาหรือพยายามไขว่คว้าดวงดาว  กล่าวคือเข้าใจสภาพเวทนาผิดๆ ดังนั้นเมื่อมีเวทนาใดๆเกิดขึ้นอันเป็นไปตามกฎธรรมชาติแม้แต่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและในอริยเจ้าทุกพระองค์  ก็จะไม่ยอมพยายามดิ้นรนทุรนทุรายเพื่อจะไม่ให้เกิดคือต้องการเป็นสุขที่ราบรื่นอะไรกระทบก็ไม่เกิดทุกขเวทนาทั้งสิ้น         ปุถุชนโดยทั่วๆไป เมื่อเกิดสุขเวทนา(ชอบใจ-สบายใจ)เกิดขึ้นเราจะคว้าหรืองับไว้ทันทีเป็นปกตินิสัยดุจดั่งสุนัขโดดงับก้อนเนื้อทันทีที่เห็น เป็นตัณหาชนิดอยาก(ภวตัณหา) และสุขเวทนานั้นก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่มีแก่นสารสาระอย่างถาวรเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมกันชั่วขณะแล้วต้องดับไปในที่สุด เหมือนดั่งก้อนเนื้อก็ต้องแปรปรวนและหมดไปในที่สุด สุขเวทนาใดๆก็เฉกเช่นกัน         เมื่อเกิดทุกขเวทนา(ไม่ชอบใจ-ไม่สบายใจ)จะรีบผลักไสรีบล้างประดุจดั่งโดนสิ่งปฏิกูลเปื้อนหน้าหรือหมาบ้ากัด หารู้ไม่ว่าอาการผลักไสนั้นเป็นตัณหาในสภาพที่ไม่อยาก(วิภวตัณหา)คือไม่อยากให้เกิด ไม่น่าจะเป็นอย่างนี้ น่าจะเป็นอย่างโน้น(อยากอีกสิ่งหนึ่งก็อาจเกิดควบด้วยอันยังให้เกิดเป็นโมหะความหลง) และเมื่อทุกขเวทนามากระทบย่อมต้องมีอาการบ้างก็ไม่ยอมรับรู้เพราะไม่เข้าใจสภาวะธรรม(ชาติ)ตามความเป็นจริง อยากแต่จะผลักไสเป็นวิภวตัณหาไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้เป็นทันที ต้องพยายามยอมรับและเข้าใจในกฏแห่งธรรม(ชาติ)นี้  ดังอุปมาท่านสตาร์ทรถยนต์เปรียบได้ดั่งท่านเสวยเวทนา รถย่อมมีอาการสั่นสะเทือนขึ้นบ้าง แรงค่อยขึ้นอยู่กับรถดีหรือไม่ดี(เข้าใจธรรมดีหรือไม่ดี)จะไม่ให้สั่นไม่ให้สะเทือนเลยย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าท่านไม่เติมนํ้ามัน(หรือตัณหานั่นเอง)ให้รถ  รถนั้นจะสามารถวิ่งไปถึงจุดหมายหรือเปรียบประดุจความทุกข์(อุปาทานทุกข์)ได้ไหม?  รถนั้นถึงจะสตาร์ทสั่นหวั่นไหวบ้างแต่เครื่องย่อมไม่มีวันติดได้  ย่อมไม่สามารถวิ่งไปหาจุดหมายปลายทางหรือความทุกข์ได้ ขอเน้นเป็นพิเศษตรงตอนสตาร์ทรถนั้นย่อมมีอาการสั่นสะเทือนหวั่นไหวหรือคือเมื่อกระทบย่อมมีอาการเวทนาเป็นธรรมดา อันยังให้เกิดกายสังขารหรือจิตสังขารตามธรรมชาติเช่นกายสั่น ใจสั่น แต่ท่านเคยสตาร์ทรถแช่ได้นานๆไหม? โดยไม่มีนํ้ามัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องดับต้องเลิกไปในที่สุด และไม่มีทางถึงจุดหมายปลายทางได้ อันคือไม่สามารถไปถึงอุปาทานทุกข์เพราะขาดตัณหา(อุปมาดั่งรถขาดนํ้ามัน)         ข้อสังเกตุ เวทนาขันธ์ กับ สังขารขันธ์ มีความสัมพันธ์กันเป็นเหตุปัจจัยกันเหมือนกฎวิทยาศาสตร์เรื่องแรงกริยาและแรงปฏิกริยา อุปมาดั่งปาลูกบอลใส่กําแพง ปาแรงเท่าใดก็คือเวทนาที่เกิดขึ้น, กระเด้งออกมาแรงเท่าใดขึ้นอยู่กับการปาหรือเวทนานั้น นั่นก็คือสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นแรงเท่านั้น เพราะสังขารขันธ์นั้นเป็นการเจตนาคิดอ่านกระทําต่างๆเพื่อตอบสนองเวทนาอันเป็นปัจจัยนั้น และเวทนาแรงหรือค่อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยสัญญาเช่นกัน,  ดังนั้นจึงควรเข้าใจเวทนาให้ถูกต้องชัดเจนจนไม่ยึดมั่นถือมั่นในเวทนานั้น ว่าสักแต่ขบวนการธรรมชาติ ที่ต้องเกิดต้องมี ไม่ว่าจักเป็นสุขเวทนา, ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข ล้วนไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดาจึงทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากไปยึดเพราะตัณหาและอุปาทาน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันแค่ชั่วขณะ เมื่อเหตุปัจจัยแปรปรวนหรือดับไป ตัวตนนั้นย่อมต้องดับไปตามเหตุปัจจัยนั้นเช่นกัน, จึงไร้ค่าให้ไปยึดมั่นถือมั่นทั้งสุขเวทนา,ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเหมือนกันทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อเข้าใจถูกต้องเวทนาก็เบาบางลง สังขารขันธ์อันเกิดจากปัจจัยอันคือเวทนาก็จักเบาบางลง ดังเช่น โลภ โกรธ หลง ก็เบาบางลงไปด้วยเป็นธรรมดา ดังนั้นเมื่อเกิดทุกขเวทนาชนิดไม่สบาย,ไม่ชอบอย่างรุนแรง ความโกรธอันเป็นมโนสังขารขันธ์ที่ตอบสนองก็ย่อมรุนแรงด้วย         ในกรณีเวทนาเป็นปัจจัยให้มีตัณหา(ปฏิจจ.)ก็เช่นกัน ยิ่งเสวยเสพรสอารมณ์รุนแรงเท่าใดตัณหาก็จักรุนแรงเท่านั้นเป็นปัจจัยที่เนื่องสัมพันธ์กัน.         เวทนาที่หมดจด ไม่เป็นอุปาทานเวทนาอันถูกครอบงําไว้ด้วยอุปาทานความยึดในพึงพอใจของตัวตนเป็นหลัก ย่อมยังผลให้สัญญาหมายรู้ที่เกิดนั้นเป็นสัญญาหมายรู้ที่หมดจดด้วย คิด+ใจ+วิญญาณ >> เวทนาที่หมดจด >> สัญญาที่หมดจด >> สังขารที่หมดจด         ในพระอริยะเจ้านั้น ทั้งเวทนาและสัญญาของท่านอยู่ในรูปที่หมดจด คือไม่มีสัญญาประเภทเจือกิเลสดังปุถุชนอันคืออาสวะกิเลสที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอวิชชานั่นเอง อันจักดับได้ต่อเมื่อเราได้ปฏิบัติด้วยความเพียรจนบังเกิดความรู้ความเข้าใจจนเกิดญาณขั้นสุดท้ายหรือภูมิปัญญาขั้นสูงสุดขึ้นในการดับทุกข์คืออาสวักขยญาณ   พุทธพจน์       [๘๒๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย   บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป  เกิดจักษุวิญญาณความประจวบของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ(การกระทบสัมผัส),  เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา)  เป็นสุขบ้าง  เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง       เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูดถึง  ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่       อันทุกขเวทนาถูก ต้องแล้ว  ย่อมไม่เศร้าโศก  ไม่ลำบาก  ไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลงพร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่       อันอทุกขมสุขเวทนาถูก ต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป คุณ  โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น  ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัย  นอนเนื่องอยู่       ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา,  ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา,  ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา,  ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ฯ       ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู,   กลิ่น-จมูก,   รส-ลิ้น,   สัมผัส-กาย,    ธรรมารมณ์-ใจ      (ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓) อันจักได้มรรคปฏิบัติ ตามแนวทางขันธ์๕ ดังนี้ เมื่อมีสุขเวทนาเกิดขึ้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่คิดนึกปรุงแต่งหรือพูดถึง ไม่ติดใจ(ความสุขอันเป็นแค่สุขเวทนานั้น) อันมักจะยังให้เเกิดความอยาก หรือภวตัณหา เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น ไม่ร่วมไปปรุงความเศร้าโศรก ไม่รู้สึก(คิดนึกปรุงแต่ง)ว่าลําบาก,ไม่ชอบ ไม่รํ่าไห้,ไม่ครํ่าครวญ ไม่หลง(โมหะ) อันมักจะยังให้เเกิดความไม่อยากหรือผลักไส หรือวิภวตัณหา เมื่อมีอทุกขมสุขหรือเฉยๆเกิดขึ้น มีสติรู้ว่า เกิดขึ้น ดับไป คุณ โทษ และการสลัดออกเพราะรู้ตามความเป็นจริงสภาวะธรรม เหตุเพราะที่อทุกขมสุข ไม่สุขไม่ทุกข์ จึงมักไม่รู้สึกเพราะจับความรู้สึกรับรู้ไม่ได้ชัดเจน จึงมักปล่อยกายและใจ ไม่สังวรระวัง จึงเป็นเหตุให้ปล่อยใจไปคิดนึกปรุงแต่งจนเกิดทุกข์ในที่สุด อันมักจะยังให้เกิดได้ทั้งความอยากและความไม่อยาก อันใดก็ได้ตามคิดนึกปรุงแต่งนั้นๆ  และเราปุถุชนมักประพฤติปฏิบัติตรงข้ามกับคําสอนของท่าน เมื่อมีสุขเวทนาก็ติดเพลิน อยากยึดไว้ เมื่อมีทุกขเวทนาก็ครํ่าครวญ อาลัย มีโมหะ มีอทุกขมสุข ก็ปล่อยกายปล่อยใจ ไม่รู้ตามความเป็นจริง ข้อคิด ข้อคิดในตอนท้ายบทปฏิจจสมุปบาท(๒) ได้กล่าวถึงเรื่องตัณหาที่เกิดเข้ากระทําต่อเวทนา หรือเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหาในเรื่องกระหายนํ้า ซึ่งจะขยายความให้เห็นชัดเจนขึ้นอีกในรายละเอียดโดยอาศัยขบวนการขันธ์๕ มาอธิบาย         กายหรือใจกระหายนํ้าเป็นผลให้เกิดทุกขเวทนา เกิดสังขารขันธ์ทางกายขึ้นคือ คิดอ่านที่จะไปกินนํ้า การคิดกินนํ้า การลุกขึ้นไปกินนํ้า โดยประกอบด้วยอิริยาบถต่างๆเช่นเดินไปหานํ้ากิน หาแก้ว เทนํ้า ยกแก้วนํ้า ดื่มนํ้า ฯลฯ. ต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสังขารขันธ์ในขันธ์๕ทั้งสิ้น อันเป็นความคิดอ่านเจตนากระทําทางกายสังขารต่อทุกขเวทนา อันเป็นผลจากเวทนาของความกระหายนํ้า แต่ถ้ามีความคิดปรุงแต่งขึ้นมาเช่นถ้าเป็นนํ้าส้มเย็นๆหรือนํ้ามะนาวเย็นเจี๊ยบแก้วโตๆคงจะเย็นชื่นใจดีแน่ ความคิดนึกปรุงแต่งอันนี้แหละที่ก่อให้เกิดเวทนาขึ้นอีกเวทนาหนึ่งอันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหามีความอยากเกิดขึ้น  ตัณหาที่เกิดนี้อาจจะเกิดในขณะที่เกิดเวทนาของความคิดแรก หรือเกิดในช่วงสังขารขันธ์อันเป็นความคิดนึกปรุงแต่งแล้วตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ หรืออาจเกิดภายหลังก็ได้ สังเกตุขบวนการให้ดีจะเห็นว่า กระหายนํ้าแล้วหานํ้าดื่มเป็นขบวนการขันธ์๕ปกติ แต่มีตัณหาความอยากมากระทําต่อเวทนาก่อน  ไม่ได้กระทําต่อสังขารขันธ์การไปกินนํ้าแต่อย่างใด ดังขบวนขันธ์๕นี้ กระหายนํ้า + ใจ + วิญญาณรับรู้ >>> สัญญาจําได้กระหายนํ้าเป็นเยี่ยงไร, ต้องทําอะไรดับความกระหาย >>> เกิดทุกขเวทนาไม่สบาย,กระหายนํ้า จากนี้ไปตัณหาเกิดแทรกได้  >>>  สัญญาหมายรู้เกิดการรวบรวมข้อมูลนํ้าดื่มอยู่ที่ไหน แก้ววางไว้ตรงไหน ฯลฯ. >>> มโนวิญญาณคือใจรับรู้ข้อมูลครบแล้วตัดสินใจ >>> เกิดสังขารกายหรือใจ หรือวาจา แล้วกระทําตามเจตนานั้นๆ(สัญเจตนา)อันเป็นขบวนการของสังขารขันธ์ ดังเช่นเกิดสัญเจตนาทางกายคือคิดอ่านเจตนาที่จะกระทําทางกาย(กายทวาร)โดยการกระทําลงไป(กายกรรม)โดยเดินไปหานํ้ากิน หาแก้ว เทนํ้า ยกแก้วนํ้า ดื่มนํ้า ล้วนแต่เป็นขบวนการย่อยๆของสังขารขันธ์ทั้งสิ้น         เมื่อเกิดเวทนาคือกระหายนํ้าแล้ว ตัณหาจักเกิดจากเวทนาหรือเริ่มกระทําต่อเวทนาเป็นต้นไปและแทรกเข้ากระทําขณะไหนก็ได้ทั้งสิ้น แม้แต่เมื่อการดื่มนํ้าแก้กระหายเสร็จ(สังขารขันธ์แรกได้ดับหรือจบไปเรียบร้อยแล้ว) เพราะการที่เกิดความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นขันธ์๕อันใหม่ขึ้น ดังนั้นจึงเกิดเวทนาขึ้นอีก อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาใหม่ขึ้น,  ดังนั้นจากความรู้ความเข้าใจในขันธ์๕ และปฏิจจสมุปบาท จักเห็นได้ว่าตั้งแต่ เวทนาซึ่งเป็นมูลเหตุปัจจัยสําคัญที่สุดเป็นต้นไปจนถึงผลคือสังขารขันธ์อันคือความคิด การกระทํา วาจา  ล้วนอาจเกิดตัณหาเข้ากระทําต่อเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดตามมาได้ทั้งนั้น         ดังนั้นจักเห็นได้ว่าเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเล็งเห็นอย่างกระจ่างแจ้งทุกขั้นตอน และได้นํามาสั่งสอนสรรพสัตว์ หลายท่านสงสัยวงจรปฏิจจสมุปบาท เช่นที่ถ้าดับที่กองธรรมเวทนาอันเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา แล้วเกิดแค่เวทนาเท่านั้นหรือ?  เพราะบางท่านจักฉงนว่ากระบวนการธรรมชาติแล้วไหงหยุดดื้อๆ ไหนบอกว่าต้องเกิดต้องมีอย่างสมดุลย์ ทําไมไม่มีสังขารขันธ์เกิดขึ้น?  ถ้าเข้าใจและตัดเวทนาได้วงจรจะหยุดณ.ที่เวทนานั้น, เวทนานั้นก็แปรเป็นเวทนาตามธรรมชาติหรือเวทนาไม่มีอามิส(กิเลส)แล้วเกิดสัญญาหมายรู้ ...สังขารขันธ์ขึ้น แล้วเป็นอันจบแค่นั้นเอง คือเกิดตามปกติของขันธ์๕ครบกระบวน,   ตัณหาไม่ได้กระทําต่อสังขารขันธ์หรือ ? (กระทําต่อเวทนาก่อน ตามแสดงในปฏิจจ. แล้วอาจจะกระทําต่อสังขารขันธ์ อันเปลี่ยนรูปหรือหน้าที่มาเป็นธรรมารมณ์หรือรูปชนิดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้ต้องเกิดเวทนาใหม่ขึ้นอีกเช่นกัน จึงล้วนเนื่องมาจากเวทนาทั้งสิ้น  ดูบทวงจรให้เข้าใจแล้วจักตอบปัญหานี้ได้) ทําให้บางคนเกิดวิจิกิจฉาข้อสงสัยในธรรมนั้นอยู่ลึกๆ ไม่เห็นเป็นไปตามที่เข้าใจเอาเสียเลย ทําให้หยุดความก้าวหน้าในการปฏิบัติโดยไม่รู้ตัว         อีกข้อที่เรามักจะสงสัยในระหว่างขันธ์๕และปฏิจจสมุปบาทในเรื่อง มีสัญญาเป็นตัวชี้ตัวนําให้"เวทนา"ในขันธ์๕ ทําไมในปฏิจจสมุปบาทจึงไม่มี ? เหตุเพราะในปฏิจจสมุปบาทนั้นสัญญานั้นอยู่ในรูปของอาสวะกิเลสหรือสัญญาจําที่มีกิเลสนอนเนื่องอยู่อันเป็นปัจจัยจึงเกิดอวิชชา ซึ่งแฝงตัวอยู่ในทุกๆกองธรรมอยู่แล้วการที่ถ้าเพิ่มสัญญาเข้าไปก็จักเป็นการซํ้าซ้อน         เวทนาหรือการเสวยอารมณ์เกิดแต่เหตุปัจจัยอันไม่เที่ยงมาประชุมกัน จึงยิ่งไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก เป็นอนัตตา แล้วก็ดับไปตามเหตุปัจจัยอันแปรปรวนนั้น         หน้าที่อันพึงกระทําต่อเวทนาคือรู้ตามความเป็นจริงในสภาวะนั้นๆแล้วไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นสักแต่ว่าเวทนาอารมณ์ อันเป็นสภาวะธรรมชาติที่เกิดๆดับๆ ไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากไปยึดด้วยตัณหาและอุปาทาน เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริงเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมรวมกันชั่วขณะ และอุเบกขามีสติหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา         จิตเห็นจิต(จิตตานุปัสสนา) หมายถึง สติเห็นจิตสังขารเช่นโลภะ โทสะ โมหะ ความคิด หดหู่ ฟุ้งซ่าน......ฯลฯ (สติจัดเป็นจิต จัดอยู่ในเจตสิก๕๒ซึ่งคืออาการของจิตต่างๆที่ท่านจําแนกออกเป็น ๕๒ ชนิด และ ๕๐ ชนิดนอกจากสัญญาและเวทนาแล้ว ก็ล้วนจัดเป็นจิตสังขารในขันธ์๕ด้วยเช่นโลภะ โทสะ โมหะ สติ ตลอดจนปัญญา เพราะสังขารขันธ์มีการริเริ่มจงใจขึ้น ต่างกับเวทนาที่เป็นเพียงขบวนการรับรู้         เห็นจิตในจิต ก็ความหมายเดียวกันหมายถึง เห็นจิตสังขาร(ในขันธ์๕)โดยสติ(จิต), หรือมีสติเห็นมโนสังขาร(หรือจิตสังขาร)ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง หรือพิจารณาจากคําสอนในสติปัฏฐาน๔ในเรื่องจิตที่มีใจความให้มีสติ(จิต)เห็น โลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ. อันล้วนเป็นจิตสังขารที่เกิดขึ้น แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่นอันคืออุปาทาน หรือการไม่มีตัณหาปรุงแต่งเพื่อตัดทอนอุปาทานไม่ให้เกิดนั่นเอง  และอุเบกขามีสติหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา    ข้อคิดจากขันธ์๕ หยุดคิดนึกปรุงแต่ง       หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวอยู่เนืองๆว่า อย่าส่งจิตออกนอก  ด้วยเหตุเพราะตัณหานั้นอาจไม่ได้เกิดจากเวทนาของความคิดหรือสังขารขันธ์แรกแต่ฝ่ายเดียว, แต่ตัณหา ที่เกิดนั้น อาจเกิดจากเวทนาของความคิด(นึกปรุงแต่ง)อันเป็นขันธ์๕ชนิดหนึ่งเช่นกันที่เกิดขึ้นตามหลัง(วนเวียน)มาเรื่อยๆก็ได้  หลวงปู่จึงมักกล่าวอยู่เสมอๆว่าอย่าส่งจิตออกนอก(ไปเสวยเวทนา,ไปสนองเวทนา,ไปคิดนึกปรุงแต่ง) เพราะจะยังให้เกิดทุกข์ขึ้นตามมาในที่สุดนั่นเอง.            ท่านผู้ที่หายจากโรคอันเกิดจากใจได้แก่ผู้สิ้นกิเลสแล้ว ถึงแม้โรคในกายของท่าน จะยังปรากฎอยู่ ก็เป็นแต่อาการความรู้สึก หาได้ทำใจของท่านให้กำเริบไม่ เพราะโรคใจของท่านไม่มีแล้ว สมุฏฐานคืออุปาทานของท่านได้ถอนหมดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงมีความสุขและได้ลาภอย่างยิ่งในความไม่มีโรค ธรรมเทศนาเรื่อง โรค  หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี    พระอริยเจ้าล้วนมีทุกขเวทนา,สุขเวทนา,อทุกขมสุข  แต่ท่านเหล่านั้นไม่มีอุปาทานทุกข์ หรือก็คือ ทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์๕ทั้งใจและกาย(เวทนา)นั้น มีเป็นปกติอันเป็นสภาวะธรรมชาติ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์   ทั้งชั่วทั้งดี ล้วนแต่"อัปรีย์" ทั้งชั่วทั้งดี ล้วนแต่อัปรีย์ คือไม่น่ารัก ล้วนแต่ทําให้วิ่งแจ้นไปในความวนเวียน ด้วยอํานาจการผลักดันของความชั่วและความดีนั้น มาแสวงหา และอยู่กับความสงบที่ไม่ชั่วไม่ดีกันดีกว่า ไม่ต้องวิ่งวุ่นวาย ทําหน้าที่เพื่อหน้าที่ แล้วอยู่ด้วยความสงบเย็น พุทธทาสภิกขุ     จิตส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ๑ ครั้ง,  คือการเกิดของขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้ง เกิดขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑ ครั้ง ดังนั้นคิดนึกปรุงแต่ง ๑๐๐ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน เวทนาเกิดขึ้น ๑๐๐ ครั้ง  ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาได้ ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน ตัณหาเกิดขึ้นเมื่อใด  ทุกข์อุปาทานเกิดขึ้นเมื่อนั้น ดังนั้นจงมีแต่คิดนึกของขันธ์๕,  แต่ไม่มีคิดนึกปรุงแต่ง.  (ดูภาพประกอบ คลิ๊กที่นี่     คิดนึกปรุงแต่งคือ 22, รวมทั้ง 14 อันเป็นอุปาทานทุกข์ )   ไปอ่านเพิ่มเติม รายละเอียดการทํางานของขันธ์๕ ที่เปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบัน   ต้องการบันทึกหน้าขันธ์๕ ไว้ที่Favorite คลิกที่นี่                                                      คิดนึกปรุงแต่ง ๑ ครั้ง,  คือการเกิดของขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้ง เกิดขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑ ครั้ง ดังนั้นคิดนึกปรุงแต่ง ๑๐๐ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน เวทนาเกิดขึ้น ๑๐๐ ครั้ง  ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาได้ ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน ตัณหาเกิดขึ้นเมื่อใด  ทุกข์อุปาทานเกิดขึ้นเมื่อนั้น ดังนั้นจงมีแต่คิดในขันธ์๕,  แต่ไม่มีคิดนึกปรุงแต่ง. (แม้ว่าตัณหานั้นจักได้รับการตอบสนองให้เกิดเป็นสุขชั่วขณะ แต่จักเก็บไว้ในรูปความจํา"อาสวะกิเลส"อันก่อเป็นทุกข์ในภายหน้า) (ดูภาพประกอบ คลิ๊กที่นี่    หมายเลข 22 และ14 คือคิดนึกปรุงแต่ง) คิดนึก กับ ความคิดนึกปรุงแต่ง จักแยกจากกันได้ต้องใช้ปัญญาพิจารณา โดยใช้หลักธรรม                การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้าไปตามควร ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่เข้าใจสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) จึงมักปฏิบัติกันเหนือสภาวะธรรม(เหนือกฎของธรรมชาติ)ด้วยความไม่รู้สภาวะธรรม(ชาติ), จึงไม่ประสบผลสําเร็จ ดังเช่นไม่เข้าใจเวทนา การปฏิบัติจึงเป็นในลักษณะเหนือธรรมชาติของเวทนา คือทุกขเวทนาก็ไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้มี, แยกไม่ออกและไม่รู้ว่าเป็นกระบวนการรับรู้ความรู้สึกต่อสิ่งที่กระทบสัมผัสเท่านั้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ระยะหนึ่ง(ถ้าเข้าใจมันแล้วไม่ไปคิดนึกปรุงแต่ง เวทนาจะอยู่แค่สั้นๆ) แล้วต้องดับไป,  และยังไม่ใช่ความทุกข์จริงๆ,  เป็นแต่ทุกขเวทนาอันเป็นสภาวะธรรมตามธรรมชาติอันจําเป็นสําหรับผู้มีชีวิต   สมการทางเคมีเปรียบเทียบกับสมการทางพุทธศาตร์ จักเห็นได้ว่าทั้งสองต่างล้วนเกิดมาแต่เหตุปัจจัยอันมาประชุมกันชั่วขณะ นํ้า = 2H + O  >>> มี ไฟ เป็นคาตาลิสท์ หรือตัวเร่งปฏิกริยา      >>> = H2O (ชื่อทางวิทยาศาสตร์) ความทุกข์ = อุปาทาน >>> มี เวทนาและตัณหา เป็นตัวเร่งปฏิกริยา >>> = อุปาทานขันธ์5 อันเป็นทุกข์ (ชื่อทางพุทธศาสตร์) หลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสั่งสอนนั้นล้วนแล้วแต่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์โดยแท้ถึงขั้นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม  จึงไม่ควรงมงาย   ธรรมชาติของจิตและนํ้า (พิจารณาเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น)         จิตนั้นเปรียบประดุจดั่งนํ้า,         นํ้านั้นไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ,  จิตนั้นก็ไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมทุกชนิดที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ),         นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งเช่น H และ O,  จิตก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันมากหลายมาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง         นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก,  จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่าแต่ตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสมหรือกิเลสตัณหาแลอุปาทานนั่นเอง,         นํ้าไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูงได้เองฉันใด,  จิตก็ไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูงได้เองฉันนั้น         ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด,  จิตจักสูงขึ้นได้ ก็ย่อมต้องการ การพยายามปฏิบัติฉันนั้น,         การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องเช่นเครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง ย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด,  จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น,         ธรรมชาติของนํ้าเดือดพล่านเพราะไฟอันเป้นของร้อนฉันใด,  จิตย่อมเดือดพล่านเพราะไฟอันเป้นของร้อนของกิเลสตัณหาอุปาทานฉันนั้น         นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน,  จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง  หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน         ข้อสังเกตุ นักปฏิบัติที่เจริญก้าวหน้าแล้วหยุดหรือพอใจแค่นั้น จึงถูกธรรมชาติของจิตเล่นงาน ไหลกลับลงสู่ความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)หรือตามแรงดึงดูดของกิเลสตัณหาอุปาทาน,  กลับคืนสู่สภาพเดิมๆในไม่ช้า         ลองโยนิโสมนสิการแบบสนุกๆดู,  บุคคลใดมีทรัพย์สมบัติมากมาย ไม่มีการงานให้ต้องทําหรือรับผิดชอบ มีความสุขทางโลกเต็มที่ ทําบุญครั้งละมากๆ  แต่มิได้ปฏิบัติ  ท่านว่าบุคคลนี้จักถูกธรรมชาติของจิตดึงดูดลงสู่ที่ตํ่าหรือไม่?         สังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ในชีวิตประจําวันนั้น ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากความเคยชิน คิดสั่งการใดแล้ว ก็จักกระทําไปตามความเคยชินหรือการเรียนรู้ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว แต่แยกไม่ออก จึงไม่รู้ว่าความเคยชินนี้แหละหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาทมีอิทธิพลเยี่ยงไร  ดังจะไปกินข้าว เพียงคิดขึ้นมาจะเกิดสังขารขันธ์ต่างๆหลายอย่างเช่นลุกขึ้น, เดิน, หาจาน ช้อน,ทานอาหาร อันเป็นการประพฤติปฏิบัติโดยอัติโนมัติไม่รู้ตัว เพราะอิทธิพลของความเคยชิน ที่ได้ประพฤติปฏิบัติ เรียนรู้ อันได้สั่งสมไว้ อันทํางานอยู่เบื้องหลังโดยไม่รู้ตัว ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติหลายๆท่านที่ปฏิบัติก้าวหน้าดีแล้ว จนจางคลายจากทุกข์ได้ผลตามควรแก่ตนแล้ว แต่หยุดปฏิบัติเพราะความพอใจแล้ว หรือหยุดเพราะฤทธิ์ของความเคยชินแล้ว จึงเกิดสภาพไหลลงสู่ที่ตํ่า กล่าวคือกลับสู่สภาพเดิมๆอันได้สั่งสมอบรมไว้เป็นเวลานาน  นี้แหละคือธรรมชาติของจิต   ดังนั้นความเพียรจนเกิดเป็นความเคยชินดังเช่นการปฏิบัติให้เห็นเวทนาและความคิด(จิต) จึงเป็นสิ่งจําเป็นควบคู่ไปกับความเข้าใจในสภาวะธรรม          ดับทุกข์อย่างง่ายที่สุดจากปฏิจจสมุปบาท คือปรับจิตให้สดใส และรู้,เข้าใจสภาวะธรรมชาติของเวทนาอย่างถูกต้องและรู้ว่าเกิดสุขเวทนา, ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข แล้วมีสติหยุดตัณหาปรุงแต่งชูรสคือหยุดคิดนึกปรุงแต่งชูรสเกี่ยวกับความอยากและความไม่อยากในเวทนานั้นๆ อันมักแอบแฝงมากับความคิดที่ไหลเลื่อนไปทีละน้อยหรือความคิดเรื่อยเปื่อยอันมักจะไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้นเมื่อรู้ตัวแล้ว ไม่ควรเออออ คล้อยตามหรือผลักไส ให้จิตมีโอกาสปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป ซึ่งทําให้ตัณหายิ่งมีโอกาสไหลเลื่อนเข้ามากยิ่งขึ้น จึงควรหยุดแต่เพียงแค่นี้เอง ทุกข์ก็จักเกิดไม่ได้         ต้องมีสติอย่างต่อเนื่องในการหยุดตัณหา โดยการมีสติหยุดคิดนึกปรุงแต่งชูรส เพราะตัณหามักแอบแฝงเลื่อนไหลเนื่องมากับความปรุงแต่งชูรสต่างๆเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว         อยากหรือไม่อยากที่เกิดจากขันธ์๕ เป็นเรื่องปกติในทุกๆเรื่อง เช่นอยากทานอาหาร ทานนํ้า ซื้อของ ทํางาน ฯลฯ. ทุกชนิดในชีวิต แต่ถ้าปรุงแต่งชูรสใดๆเข้าไปก็จักเป็นตัณหาอันก่อเป็นอุปาทานทุกข์ในที่สุด         อุปาทานเป็นธรรมที่บังเกิดแก่จิตที่ลึกซึ้ง สลับซับซ้อนและละเอีอดและกล้าแข็งที่สุด จนเรามองไม่ออกนอกจากใช้ตาปัญญาเท่านั้น จึงเป็นต้นเหตุของสรรพทุกข์ทั้งหลายทั่วสากลโลกตราบชั่วฟ้าดินสลาย         โกรธ, เกลียด ในสิ่งใดให้สังเกตุดูว่าเป็นเพราะความพึงพอใจของตนอันแอบยึดถือว่าสําคัญที่สุดสําหรับตน เหนืออื่นใดโดยไม่รู้ตัวนั้น ถูกขัดขวางหรือรบกวนใช่หรือไม่ อยากได้ในสิ่งใดมากๆแล้วไม่ได้ดังใจ(ไม่ได้รับการตอบสนอง) ความพึงพอใจของตนไม่ได้รับการสนองตอบดังใจ เกิดความโลภ(ภพ)อาการที่ความพึงพอใจถูกขัดขวางโดยวิธีการใดๆ ต่างกับความอยากในตัณหาที่เกิดจากความทะยานอยากที่เกิดขึ้น โยนิโสมนสิการดู         เชื่อมั่น ยึดมั่นในสิ่งใด(ทิฏฐุปาทาน)แล้วมีสิ่งใดมาขัดหรือไม่เห็นด้วย ความพึงพอใจถูกขัดขวางใช่ไหม? เกิดขึ้นเพราะอยากให้เป็นไปตามความเชื่อ หรือไม่อยากให้ขัดกับความเชื่อมั่นเดิมนั้นนั่นเอง                เมื่อเกิดเวทนาทางใจขึ้นมา แล้วมีตัณหาอยากหรือไม่อยากเกิดขึ้น จักได้หรือประสบตามความอยากหรือไม่อยากไหม? ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย แล้วไปอยาก,ไม่อยากให้เสียเวลาและเป็นทุกข์ทําไม  ต้องทําเหตุปัจจัยให้ถูกหรือดีที่สุดเท่าที่ทําได้ แล้วไม่ต้องอยากหรือไม่อยากให้เป็นทุกข์ รู้เท่าทันเวทนาตัณหาที่ทําให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมอง เท่ากับลดปริมาณการเกิดสังขารลง  สังขารคิดมีน้อย เวทนาก็มีน้อย  เวทนามีน้อยแล้วรู้เท่าทัน ตัณหาก็เกิดน้อยเรื่อง  รู้เท่าทันตัณหาที่น้อยลงแล้ว อุปาทานที่จักเกิดก็น้อยลงไปอีก  รู้เท่าทันอุปาทานความยึดมั่นในความพึงพอใจของตนที่มีอยู่น้อยแล้ว ทุกข์ก็จักน้อยลง        ถ้าผ่าน ๔ ด่านนี้อันมี ๑. จิตที่ขุ่นมัว (กิเลส) ๒.เวทนา ๓.ตัณหา ความอยาก, ไม่อยาก และ ๔.อุปาทานพึงพอใจของตนไปได้ย่อมเป็นอุปาทานทุกข์แน่นอน อันจักต้องดับเสียเช่นกันโดยหยุดตัณหาคิดนึกปรุงแต่งในอุปาทานทุกข์ลงเสีย(ดูรูปประกอบ หยุดคิดนึกปรุงแต่งหรืออุปาทานขันธ์ที่14 และคิดนึกปรุงแต่ง22)         อุปาทาน คือการสนองตอบต่อตัณหาตนเอง ภายใต้การยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตนเองเป็นหลักสําคัญสูงสุด เป็นสุขที่อยู่ลึกๆแอบซ่อนอยู่ในจิตเป็นการเสพสุขที่ละเอียดอ่อนที่สุด สิ่งใดที่ยิ่งใกล้ชิดกับตัวตนหรือของตนก็ยิ่งมีการตอบสนองรุนแรงขึ้นเป็นลําดับเช่น(เรียงลําดับจากมากไปหาน้อย)อันมี ตนเอง บุตร ภรรยา สิ่งของ ของตน คนรู้จัก คนอื่น ดังเช่น บุตร เราอยากให้เขาประสบความสําเร็จ เรียนดี พ่อแม่แทบทุกคนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ต้องการอะไรจากลูกแค่อยากให้ลูกมีความสุขความเจริญก็พอใจแล้วลองมองดูลึกๆ(จิตในจิต)จะเห็น ความจริงว่าเรานั้นต้องการเสพสุขให้ตัวเราเองเป็นหลักสําคัญสูงสุด เพราะเราจะรู้สึกเป็นสุขหรือ "พึงพอใจอยู่ลึกๆในใจ"เพราะลูกประสบความสําเร็จ จะเห็นได้ว่าเป็นการสนองตอบที่ละเอียดซับซ้อนที่สุด แม้แต่สิ่งที่ดูไม่มีความสําคัญอุปาทานก็ยังแอบแฝงทํางานตลอดเวลาเช่น สังเกตุง่ายๆเวลาไปไกลบ้านพบคนที่มาจากบ้านเดียวกันกับพบคนที่มาจากคนละพื้นที่ ความรู้สึกใกล้ชิดอบอุ่นใจในขั้นแรกที่พบจะต่างกันมาก เพราะคนบ้านเดียวกันใกล้ชิดกับตัวตนมากกว่าทําให้เกิดความพึงพอใจหรือสุขเพราะรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยกว่าสิ่งที่ไม่คุ้นเคยใกล้ตัว อันนี้ก็เป็นผลของอุปาทาน         เมื่อโยนิโสมนสิการให้กระจ่างจักค้นพบความเห็นแก่ตัวตนหรือยึดมั่นในตัวตนคือสุขหรือความพึงพอใจของตนเองในรูปแบบที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยทราบมาก่อนอยู่ในก้นลึกของใจหรืออวิชชา ตามหลักอนัตตา ตัวตนเป็นเพียงการรวมตัวของเหตุปัจจัยต่างๆชั่วขณะของชีวิตที่คงอยู่อันอุปมาดั่งแสงแดด แว่นขยาย เชื้อไฟ เมื่อเหตุปัจจัยดับหรือแยกตัวออกจากกัน ตัวตนที่เรายึดมั่นถือมั่นเฝ้าทะนุถนอมอยู่ลึกๆอยู่ในจิตตลอดเวลาก็ต้องดับไปด้วย ไม่มีแก่นสาร ไร้สาระไร้ค่าให้ยึดถือ เป็นเพียงธาตุ๔และนาม๔(รูป-นาม)ที่มาประชุมรวมกันตามเหตุปัจจัย เมื่อเหตุปัจจัยนั้นดับลง ธาตุ๔ และนาม๔นั้นก็แยกสลายไปตามสภาวะของมัน ไม่จีรังยั่งยืนไป ตลอดกาล เป็นไปเพื่ออาพาธ(แปรปรวน-เจ็บ,ป่วย,ดับ)         ทุกข์ คือ อาการต่างๆของจิตที่เกิดขึ้นเมื่อมีตัณหาอุปาทานร่วมด้วย และไม่สามารถตอบสนองตัณหาอุปาทานนั้นได้         สุข คือ อาการต่างๆของจิตที่เกิดขึ้น เมื่อทุกข์อันเกิดจากตัณหาอุปาทานได้รับการตอบสนองทางใดทางหนึ่ง เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ชาติ ชรามรณะในภาวะที่จิตจะมีอาการพึงพอใจ หรือเป็นสุขในภาวะนั้น, เมื่อทุกข์ได้รับการตอบสนองที่เราๆเรียกว่าสุข แล้วก็ต้องดับไป  เพราะสุขนี้เป็นอนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา เมื่อดับไปแล้วปุถุชนทั่วไปจึงแสวงหาทุกข์ใหม่เพื่อดับมันให้เกิดสุขขึ้นใหม่ที่ยิ่งแก่กล้าขึ้นอีกอยู่เรื่อยๆเป็นวงจรอุบาทที่ไม่มีสิ้นสุด เพราะเกิดจากตัวเองเป็นผู้สร้างตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัวว่าตัวเองต้องสร้างทุกข์ขึ้นก่อนจึงจักมีสุขเกิดขึ้นได้ และสุขนี้เมื่อได้เสพก็ประดุจดั่งยาเสพติดจึงแสวงหาอยู่ตลอดเวลา และเพิ่มปริมาณความอยากขึ้นเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณขึ้นตามแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน จนในที่สุดไม่สามารถสนองตอบความต้องการนั้นได้ก็กลายเป็นทุกข์อีก จึงกล่าวได้ว่า "สุขนั้นไม่มี มีแต่ทุกข์ และดับทุกข์เท่านั้น" (พนมพร คูภิรมย์ ) หรือสุขก็คือทุกข์อย่างละเอียด สังเกตุให้ดี จะมีสุขต้องมีทุกข์ทางใจเกิดขึ้นก่อนเสมอ คือความอยาก,ไม่อยาก(ตัณหา)  หรือความพึงพอใจของตน(อุปาทาน)ในสิ่งใดต้องเกิดขึ้นก่อน แล้วต้องดับทุกข์คือได้รับการตอบสนองความอยากหรือความไม่อยากหรือความพึงพอใจของตนเสียก่อน และปกติจะดับตัณหาไม่ได้ทันที จะเกิดๆดับๆ คือจะลืมไปชั่วขณะแล้วเกิดใหม่ แต่ค้างคาเป็นอาสวะกิเลสอยู่ภายใน เมื่อคิดขึ้นมาก็เกิดทุกข์ต่อ แล้วก็ลืมอีกเป็นวงจรดั่งนี้ไปเรื่อยๆ แล้วอย่างนี้เมื่อไรจะจบสิ้น? จะจบลงต่อเมี่อได้รับการตอบสนองเท่านั้นเป็นสุขขึ้นมา แต่ก็เป็นเวลาไม่นานก็ต้องดับไป คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ ?   ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น  ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่  ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป         ดังนั้นทางพุทธศาสนาจึงสอนให้เดินสายกลาง คือ สุขก็ไม่ ทุกข์ก็ไม่, ดีก็ไม่ ชั่วก็ไม่ บุญก็ไม่ บาปก็ไม่, ยึดว่าถูกก็ไม่ ยึดว่าผิดก็ไม่,  ดําเนินชีวิตอยู่ในทางสายกลางเป็นสุขในทางโลกุตระหรือเหนือโลกคือไม่ถูกครอบงําโดยสภาวะทางโลก ไม่ไปอยากหรือยึด อยู่กับสิ่งใดเหมือนกับสุขทางโลกซึ่งต้องก่อทุกข์อันคือความอยาก ความยึด ขึ้นมาก่อนจึงจักเกิดสุขได้           ระวังเมื่อมีผัสสะรุนแรงเข้ากระทบอันเข้ามาทางสฬายตนะ, หรือบางครั้งในเวลาแวบคิดขึ้นมา(สังขารคิด)กระทบโดยตรง เวทนาที่เกิดเป็นทุกขเวทนาอย่างรุนแรงจนทําให้สติใม่ทันว่าเป็น"แค่เวทนาเท่านั้น" เกิดอาการผลักไสคือ ไม่อยากให้เกิด, ไม่อยากให้มี ขึ้นทันที ซึ่งเป็นวิภวตัณหาความไม่อยากอันก่ออุปาทานขึ้นแล้วเป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์จริงๆขึ้นทันที           ตัณหาเป็นปฏิกริยาจิตตอบสนองต่อเวทนา มักอยู่ในรูปคิดปรุงแต่งหรือปปัญจสัญญาคือความคิดที่สลับซับซ้อนเจือด้วยกิเลสตัณหา เหตุที่อยู่ในรูปคิดนึกปรุงแต่งเพราะจักยังให้เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหานั่นเอง, อุปาทานมักรุนแรงและยาวนานกว่าเพราะไปสัมผัสตัวตน ตัวกูของกู ความพึงพอใจของตัวตนโดยตรง           สุขเวทนา อารมณ์สุขก่อให้เกิดความพึงพอใจ และอยากยึดไว้ ทําให้เกิดราคานุสัยความปรารถนาความอยากทางโลก         ทุกขเวทนา อารมณ์ทุกข์ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ และ ไม่อยากยึด พยายามผลักไสทําให้เกิด ปฏิฆานุสัย ขุ่นข้อง ขัดเคือง         อทุกขมสุข เกิดเฉยๆหรือ ไม่มี-ความพึงพอใจหรือไม่พอใจในสิ่งนั้น ทําให้เกิดอวิชชานุสัย(ไม่รู้ตามความเป็นจริง) อันอาจกลายเป็นทุกข์ขึ้นได้ และมักจักไหลเลื่อนไปเป็นทุกข์ เพราะความที่รู้สึกไม่มีอะไร จึงปล่อยกายปล่อยใจกับคิดนึกหรือตัณหาปรุงแต่ง         ในปฏิจจสมุปบาท จักแนะนําให้รู้เท่าทันที่เวทนา ถ้าไม่เห็นหรือไม่ทันให้สังเกตุจากสังขารขันธ์เช่นใจสั่น กายสั่น อันเป็นกายสังขารอันสังเกตุได้ง่าย และทางกายก็จะเห็นที่เวทนา เช่น เจ็บปวดต่างๆ พอรู้เท่าทันแล้วใช้ไม่ยึดมั่นในเวทนาคือไม่สนใจไม่ให้ค่า และไม่ปรุงคิดนึกปรุงแต่งตัณหาใดๆต่อความรู้สึกหรืออารมณ์ที่ผัสสะนั้น           นิพพาน - สุญญตา - ว่าง - ว่างจากทุกข์ - ว่างจากทุกข์อุปาทาน - ว่างจากกิเลส,ตัณหาแลอุปาทาน - ว่างจากจิตขุ่นมัว,ความอยาก,ไม่อยากแลความพึงพอใจ,ยินดียินร้าย           ความทุกข์ เกิดจากอุปาทาน หรือจิตที่มีความพึงพอใจ,ยินดียินร้ายเกิดร่วม และไม่สามารถตอบสนองความพึงพอใจนั้นได้ อุปาทานมีปัจจัยทําให้เกิดโดยตัณหา ตัณหามีปัจจัยทําให้เกิดโดยเวทนา เพราะไม่รู้เห็นเวทนาตามความเป็นจริงของสภาวะเวทนานั้น           อุปาทาน เป็นปัจจัยให้มีภพคือการตกลงใจในขณะจิตที่จะเลือกบทบาทหรือภาวะที่จะแสดงออกหรือกระทําหลังจากรับรู้ว่าอุปาทานได้รับการตอบสนองแบบใด ภพแบ่งเป็น         กามภพ คือการกระทําในทางโลกๆชนิดต่างๆเช่นภพของขุ่นเคือง ราคะ โกรธ หลง         หรือกามภพ เป็นการตัดสินใจแสดงหรือกระทําตามบทบาทหรือภาวะที่เลือกเช่นโทโสะก็ลงมือทําร้าย โลภก็ขโมย โมหะความหลงเพราะไม่รู้ตัดสินใจไม่ได้แน่นอนเพราะตัณหาแบบนั้นบ้าง แบบนี้บ้าง เช่นความรู้สึกในทางดีกับความรู้สึกในทางชั่ว ขณะไหนมีกําลังแรงกว่าก็ไปทางนั้น เป็นสุขก็เฉกเช่นเดียวกัน         รูปภพ หมายถึงสังขารขันธ์ที่เกิดในรูปฌาน เช่นภาวะต่างๆของสมาธิ และฌานเช่นปีติ สุข         อรูปภพ หมายถึงสังขารขันธ์ที่เกิดในอรูปฌาน ภาวะต่างๆของอรูปฌาน           เวทนาเป็นขบวนการรับรู้ขั้นพื้นฐานของชีวิต เป็นการรับรู้สื่อสารระหว่างกาย,จิต,สิ่งแวดล้อมที่กระทบสัมผัสกัน อาจกล่าวได้ว่า รับรู้แล้วจําแนกโดยความจําได้หมายรู้(สัญญา)ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์และสัญชาติญาณเท่านั้น เป็นขบวนการที่ไม่เกี่ยวกับการปรุงแต่งใดๆ จึงควบคุมบังคับไม่ได้ จึงควรทําความรู้จักเวทนาให้กระจ่างในจิตแล้วจะหมดความยึดมั่นหรือยึดความพึงพอใจในเวทนา(ลดละอุปาทานในเวทนาคือหมดความยึดมั่นพึงพอใจในเวทนา)         หลังจากเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีขึ้นแล้ว ให้สังเกตุความยินดียินร้ายหรือความพึงพอใจที่เกิดในทุกกองธรรมของปฏิจจสมุปบาทหรือจะเรียกว่าอุปาทานที่นอนเนื่องและแอบแฝงอยู่(หมายอยู่ในอวิชชา)อุปาทานในวงจรปฏิจจสมุปบาทอาจจะเรียกว่าอุปาทานเฉพาะกิจหรือเฉพาะเรื่อง แต่ตัณหาและอุปาทานหลักที่นอนเนื่องก็คงมีอยู่เช่นกันในอาสวะและอวิชชา(ทําหน้าที่เหมือนสัญญูปาทานขันธ์คือความจําที่มีอุปาทานแฝงในอุปาทานขันธ์๕) คือจะมีรู้สึกยินดียินร้ายหรือพึงพอใจ,ไม่พึงพอใจอยู่ในกองธรรมทุกกอง แฝงมาโดยไม่รู้ไม่เห็น แต่ยังไม่ทํางานหรือหน้าที่ ต้องทําการโยนิโสมนสิการ จึงรู้, จึงจักเข้าใจ จักเห็นความยินดียินร้ายหรือความพึงพอใจเกิดขึ้นแต่แรก อุปาทานในอวิชชาหรือตัวอุปาทานหลักที่แฝงในตัวตนแสดงออกมาเป็นอุปาทานอย่างอ่อนๆทําให้เกิดสังขารคิดที่มีอุปาทานความยินดียินร้ายนั้นแฝงติดมาด้วย วิญญาณความรับรู้ที่เกิดย่อมนําอุปาทานความยินดียินร้ายนั้นติดมาด้วย นามรูปที่เกิดขึ้นย่อมมีอุปาทานความยินดียินร้ายเกิดขึ้นคือทํางานพร้อมด้วย สฬายตนะที่เป็นส่วนหนึ่งของนามรูปย่อมมีอุปาทานนั้นร่วมด้วย ผัสสะที่เกิดขึ้นย่อมแฝงอุปาทานความยินดียินร้ายมาด้วยที่บางทีเรียกว่า อวิชชา-ผัสสะ เวทนาที่เกิดขึ้นย่อมมีอุปาทานความยินดียินร้ายเกิดขึ้นแอบแฝงตั้งแต่ต้น ถ้าเราไปยินดียินร้ายพึงพอ ใจใดๆในเวทนานั้นซํ้าเข้าไปอีก ก็เป็นการกระตุ้นให้เกิดตัณหาและ อุปาทานเฉพาะในเรื่องนั้นขึ้นมาเข้าวงจรปฏิจจ.ในส่วนที่ทําให้เป็นทุกข์เต็มรูปแบบหรือ อุปาทานขันธ์๕ ไม่เป็นในรูปแอบแฝงซึ่งเนื่องมาจากอวิชชาอีกต่อไป กล่าวคือเมื่อมีตัณหาเกิดอีก อุปาทานก็จักทํางานตามหน้าที่อย่างเต็มที่ ก็เป็นทุกข์อุปาทานอีกทันที         วิญญาณ และ สัญญาทั่วไปเป็น "ปริญเญยธรรม" ควรกําหนดรู้ ทําความรู้จักเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ที่ จะต้องทําอะไรต่อมันอีก เพราะมันก็ทําหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้นตามสภาวะธรรมของมัน         สัญญาเจือกิเลส หรือปปัญจสัญญา เป็น "ปหาตัพพธรรม" คือเป็นสิ่งที่ควรละหรือกําจัดทิ้ง สัญญาที่ส่งเสริมพัฒนาความรู้หรือกุศลธรรมเป็น "ภาเวตัพพธรรม "คือสิ่งที่ควรเจริญ ควรทําให้เกิดให้มี และให้เพิ่มพูนจนใช้ประโยชน์ให้บริบูรณ์ เช่นสติและปัญญา         ปัญญาเป็นสัญญาเช่นกันแต่เป็น "ภาเวตัพพธรรม "เช่นกัน ควรอบรมให้เกิดให้มีและเจริญยิ่งจนทําลายโมหะหรืออวิชชาจนหมดสิ้น         สติและปัญญา เป็นสัญญาแต่ก็ทําหน้าที่เป็นสังขารขันธ์ ตามที่เคยกล่าวมาแล้ว           ตันหา๑๐๘ ที่กล่าวๆกันว่าตัณหามีร้อยแปดอย่างนั้นมาจาก         ตัณหาอันมี ๓ กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา = ๓         ตัณหาอันมี ๖ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ = ๓ * ๖ อย่าง         ตัณหาอันมี ๖ ใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ = ๓*๖ อย่าง         รวมเป็น ๑๘+๑๘ = ๓๖ * กาล๓ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต = ๑๐๘ อย่าง         ดังนั้นตัณหามี๑๐๘อย่างมากมายเหลือเกิน ผู้เขียนจึงสรุปออกมาเป็นอยากและไม่อยาก           ข้อควรระวัง "ตัณหาซ้อนตัณหา "ในหมู่นักปฏิบัติ คือการสร้างตัณหาในทางธรรมหรือตัณหาในการปฏิบัติ หรือกุศลตัณหา ขึ้นซ้อนตัณหาทั่วๆไปหรือตัณหาในทางโลกๆ คือสร้างตัณหาความไม่อยาก ขึ้นซ้อน ตัณหาความอยาก ซึ่งก็เป็นตัณหาทั้งสิ้น ตัณหาดีก็ไม่เอา ตัณหาชั่วก็ไม่เอา ล้วนก่อทุกข์ทั้งสิ้น แต่ถ้าจักต้องกระทําตัณหาฝ่ายดีคือกุศลจิต หรือกุศลตัณหา เพื่อเกื้อกูล ก็จักต้องมีสติรู้เท่าทันจริงๆ มิเช่นนั้นก็จักกลายเป็นทุกข์เช่นกัน   ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ อาฆาต หดหู่ ฟุ้งซ่าน เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสังขารขันธ์ชนิดจิตสังขารหรือมโนสังขาร อันก่อเป็นทุกข์อุปาทานเมื่อเกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้แล้วละทันที ให้มีสติรู้ในสังขารขันธ์นั้นหรือ จิตเห็นจิต คือจิตหรือสติเห็นความโลภ โกรธ หลงแต่ต้องละเหตุโดยเด็ดขาดอันคือกิเลสหรือตัณหาอันมักมากับความคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆอันยังให้เกิดเวทนาอันนี้ต้องละอย่างเด็ดขาด ให้มีสติรู้อยู่แต่จิต(สังขาร) ที่มีโลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ. ว่าเกิด ว่ามี เห็นการเกิด การดับซึ่งเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติ ไม่ใช่ไม่ดี แต่ถ้าปรุงแต่งเหตุอีกจักหยุดไม่ได้ จะไหลเลื่อนไปในขบวนการเกิดทุกข์หรือเกิดตัณหาซ้อนตัณหา   ปฏิจฺจสมุปฺบาท    ปฏิจฺจสมุปฺบาท เป็นกระบวนธรรมทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงสุดทางนามธรรม(จิต) ที่โลกนี้จักพึงบังเกิด, พึงมี ควรศึกษาใคร่ครวญให้ละเอียดลึกซึ้ง เพราะเป็นวิทยาศาสตร์ขั้นสูงสุดแต่พึงพิสูจน์ได้ด้วยตนเองเท่านั้น สมดังคํากล่าว ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (ธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน)   คติธรรม จิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ผลของจิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา เป็นทุกข์อุปาทาน สติเห็นเวทนาหรือจิตสังขาร เป็นมรรคปฏิบัติ ผลของสติเห็นเวทนาหรือจิตสังขาร เป็นนิโรธอันพ้นทุกข์ (พนมพร คูภิรมย์) คติธรรมนี้รวบรวมแก่นธรรมอันสําคัญยิ่งทางพุทธศาสนา อันมี ปฏิจจสมุปบาท เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา  หรือ  เกิดตัณหาความทะยานอยากหรือความไม่อยากไปปรุงแต่งเวทนานั่นเอง อริยสัจ อันมี ทุกข์   สมุทัย   นิโรธ   มรรค สติปัฏฐาน๔ ทางสายเอกในการปฏิบัติ อันมี สติเห็นเวทนา หรือ เวทนานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔(เห็นเวทนาในเวทนา), อันคือมีสติรู้เท่าทันในเวทนา สติเห็นจิตสังขาร หรือ จิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔(เห็นจิตในจิต) อันคือสติรู้เท่าทันจิตสังขาร(ความคิด ความนึก)   สติเห็นธรรม หรือ ธรรมานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔ (เห็นธรรมในธรรม) สติเห็นธรรมเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เตือนสติ แล้วเป็นกลางวางเฉย(อุเบกขา) ไม่คิดนึกปรุงแต่ง(อันมักทําให้เกิดตัณหา)ใดๆ          "ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ นั้นเป็นสภาวะธรรมยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี "อุปาทานทุกข์ " จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ "อุปาทานทุกข์ "นี้นั่นเอง แต่ไม่รู้จึงจําแนกไม่ออก   มองทุกข์ที่เกิดในแง่มุมของอุปาทานขันธ์ ๕         อุปาทานขันธ์๕ มองในมุมของปฏิจจสมุปบาทคือ ขบวนการขันธ์๕ที่ถูกครอบงําหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลของอุปาทาน, เกิดในกองธรรม"ชาติ-ชรามรณะ"         หรือ อุปาทานขันธ์๕คือ ขันธ์๕ ที่มีอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตนของตน, คือในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แฝงอยู่ด้วยในขันธ์ต่างๆของขันธ์๕ ตามภพที่ได้เลือกไว้โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดีเช่นกามภพชนิดขุ่นเคืองคับแค้นเกิดจากอุปาทานไม่ได้รับการตอบสนองความพึงพอใจตามที่ตัวตนคาดหวัง   กามภพชนิดสุขใจก็เกิดจากอุปาทานได้รับการตอบสนองเป็นไปตามความพึงพอใจของตัวตน ดั่งเช่น ถ้าพูดถึงหรือคิดถึงหรือกระทําอะไรให้บุคคลบางคนเช่น ลูก พ่อแม่ คนรัก ซึ่งจะเป็น " รูป " คือสิ่งที่ถูกรู้ชนิดที่แฝงอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความยินดียินร้ายหรือความพึงพอใจของตัวตนเองอยู่ในที คือมีอุปาทานยึดมั่นพึงพอใจในรูปนั้นติดมาด้วยแบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี อันถ้ามีตัณหากระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็จักเกิดอุปาทานขันธ์๕ ตามวงจรปฏิจจสมุปบาททันทีคือ เป็นรูปที่ก่อเป็นสุขหรือทุกข์ก็ได้แทบทันที  เพราะความคุ้นเคยหรือดุจดั่งฟืนที่คุ้นไฟ  และท่านเรียกรูปที่เกิดโดยมีอุปาทานที่ทํางานตามหน้าที่แล้วว่า"รูปูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานรูป"         พอจําแนกการเกิดอุปาทานขันธ์๕ เป็นได้๒จําพวก         ๑. เกิดจากขันธ์๕ปกติ แล้วมีเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หรือตัณหามากระทําต่อเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดอุปาทานขึ้น ตามกระบวนการเกิดทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)  ดังนั้นขันธ์ที่เหลือที่เกิดต่อไปในขบวนก็กลับกลายเป็นขันธ์ที่มีอุปาทานร่วมหรือครอบงําด้วย หรือก็คือขบวนของขันธ์ที่ยังเหลืออยู่ไปเกิดในชาติ-ชรามรณะอันเป็นทุกข์เสียแล้ว  อันเมื่อแสดงเป็นแผนภูมิร่วมระหว่างขันธ์๕และปฏิจจสมุปบาท เพื่อขยายให้เกิดความเข้าใจพอแสดงได้ดังนี้   ตา+รูป+วิญญาณ >> เวทนา+ตัณหา >> อุปาทาน >> ภพ >> ชาติเกิดอันคืออุปาทานสัญญา >> อุปาทานสังขาร หรือแบบมีรายละเอียด ตา+รูป+วิญญาณ >> สัญญาจํา >> เวทนา+ตัณหา >> อุปาทาน >> ภพ >> ชาติเกิดคือขันธ์ที่เหลือเกิดต่อไปเป็นอุปาทานสัญญา(หมายรู้) >> อุปาทาน(มโน)วิญญาณ >> อุปาทานสังขารขันธ์         แล้วเกิดอุปาทานขันธ์๕ แบบข้อ๒ อีกได้หลายๆครั้ง จนกว่าจะดับไป(มรณะ)         ๒. เมื่อเกิดอุปาทานขันธ์ ดังข้อที่๑ แล้วก็จักเกิดอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ อันเกิดจากความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นอีกในเรื่องนั้นๆ คือเกิดๆ ดับๆอีกหลายๆครั้งหลายๆหนอยู่ใน"ชาติ-ชรามรณะ"จนกว่าจะดับไป  กล่าวคือขันธ์๕ที่เกิดขึ้นใหม่นั้นๆตั้งแต่ต้นขบวนคือ เริ่ม ตั้งแต่รูปก็เป็นอุปาทานขันธ์ คือ เป็น รูปูปาทานขันธ์ หรือเป็นอุปาทานรูปอันถูกครอบงําอย่างเรียบร้อยบริบูรณ์ตั้งแต่ต้นขบวนจนครบทุกๆขันธ์ จนกว่าจะดับไป  ดังวงจร     รูปูปาทานขันธ์ + ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์                                                                                                                  สังขารูปาทานขันธ์ เช่นคิดที่เป็นทุกข์      สัญญูปาทานขันธ์         หรือคือขันธ์๕ที่ดําเนินไปตามภพอันคือสภาวะที่เป็นหรือถูกครอบงําภายใต้อิทธิพลของอุปาทานนั่นเอง         ตัวอย่าง อุปาทานขันธ์ในแบบ ข้อ ๒         มีภพขัดข้องขุ่นเคือง มีความกลุ้มใจอยากได้เงินและเป็นทุกข์ใน"ชาติ-ชรามรณะ"แล้ว เนื่องจากความอยากหรือความจําเป็นต้องใช้เงิน ดังนั้นเมื่อเกิดขันธ์๕ ก็จักเป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ เนื่องจากไม่ได้รับความพึงพอใจตามปรารถนา         ๑.ใจ + ๒.อยากได้เงิน... ๓.(มโน)วิญญาณ... ๔.สัญญา... ๕.เวทนา... ๖.สัญญา... ๗.(มโน)วิญญาณ........๘.สังขาร         ๑.ใจ คือสฬายตนะหรืออายตนะภายในเหมือนตา หู จมูก ลิ้น กาย อันรวมเป็น ๖ อันปกติมีอวิชชาแฝงตัวอยู่แล้ว         ๒.อยากได้เงิน  เงินเป็น"รูป" คือสิ่งที่ถูกรู้ แต่เป็นชนิดที่มีตัณหาอันก่ออุปาทานติดมาด้วยแล้ว เป็น "อุปาทานรูป"(รูปูปาทานขันธ์) มีอุปาทานแฝงอยู่แล้วในเงินนั้นคือยึดมั่นพึงพอใจในเงินนั้นร่วมอยู่ในจิตมา แต่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจึงเป็นทุกข์         ๓.(มโน)วิญญาณที่เป็นสื่อนํา ย่อมนําความพึงพอใจที่ไม่ได้รับการสนองที่มีนั้นไปด้วย กลายเป็นวิญญาณที่มีแฝงความขุ่นเคืองขัดข้องตามภพที่เลือกร่วมติดไปด้วย จึงเกิดเป็นวิญญาณูปาทานขันธ์ หรืออุปาทานวิญญาณ         ๔.สัญญา จําที่เกิดขึ้นย่อมนึกถึง คุณค่าของเงิน และจํารู้ว่าใช้จ่ายเพื่อสิ่งใดๆได้ ร่วมมาพร้อมการไม่ได้รับการตอบสนองของอุปาทานความยินดีพึงพอใจในเงิน เป็นสัญญูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสัญญา         ๕.เวทนาที่เกิดเป็น "ทุกขเวทนา" เพราะอยากได้เงินนั้นแต่ยังไม่ได้จึงเป็นเวทนูปาทานขันธ์ อันมีภพขัดข้องขุ่นเคืองเพราะอุปทานความพึงพอใจยินดีไม่ได้รับการสนองดังใจตน ตามตัณหาความอยาก         ๖.สัญญาเกิดอีกครั้ง รวบรวมข้อมูลต่างๆทั้งเวทนา, ทั้งอุปาทานความพึงพอใจที่มีอยู่จึงยังคงเป็นสัญญูปาทานขันธ์ เพื่อหมายรู้สรุปโดยมีอุปาทานร่วมในขบวนการหมายรู้นี้เช่นกัน         ๗.(มโน)วิญญาณเกิดอีกครั้ง มารับรู้   นําข้อมูลทั้งหมดอันล้วนแต่มีอุปาทานแฝงอยู่ทั้งสิ้น นําส่ง"สังขารขันธ์" เพื่อตอบโต้หรือสนองข้อมูลอันเกิดจากเวทนาและสัญญา         ๘.สังขาร ก็คิดอ่านเจตนาขึ้นว่า(สัญเจตนา)  จะทําอย่างไรภายใต้อิทธิพลของอุปาทานนั้น เกิดเป็นสังขารูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสังขาร คือเกิดเจตนาคิดอ่านเพื่อกระทํา, พูด , คิด(อันคือการกระทําทาง กาย, วจีสังขาร, มโนสังขาร) เพื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือหลายอย่างก็ได้ ซึ่งล้วนถูกครอบอยู่ในอิทธิพลของอุปาทานที่ไม่ได้รับการสนองทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เป็นทุกข์         กายสังขาร-ออกไปทํางานหาเงินตามเจตนา หรือเล่นการพนัน ซื้อสลากกินแบ่ง         หรือ เกิดวจีสังขาร บ่นอยากได้เงิน บ่นถึงความจน ความจําเป็นต่างๆนาๆ         หรือ เกิดมโนสังขาร คิดฟุ้งซ่านหาเงิน หรือวางแผนหาเงิน วางแผนใช้เงิน อิจฉาคนมีเงิน ปล้น...ฯลฯ. ล้วนก่อทุกข์ใจทั้งสิ้น ทําให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมองในเรื่องอื่นๆบานปลายออกไปอีก         ถ้ามีสังขารคิดใดๆเกิดอีก ก็จักเป็นอุปาทานขันธ์๕ใหม่เพิ่มขึ้นอีก เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในทุกข์ คือความคิดที่อยากจะได้เงิน, หาเงินอย่างไร ซึ่งเป็นไปตามวงจรในช่วง "ชาติ-ชรามรณะ" ในสภาพชราหรือความแปรปรวนต่างๆนาๆ แล้วก็ดับไปและเก็บสะสมเป็นอาสวะกิเลส(สีแดงที่กําลังกระพริบ)         เห็นได้ว่าอุปาทานเริ่มมาตั้งแต่หัวขบวนของขันธ์๕คือรูป จนจบสังขาร         ตัวอย่างอุปาทานขันธ์๕ มองแบบขันธ์๕ ใจคิดถึงคนที่เกลียดหรือทําให้เราโกรธหรือเรื่องที่เกลียด         ใจ + ธรรมารมณ์(คิดในเรื่องคนที่เกลียดนั้นเป็นอุปาทานรูป) + มโนวิญญาณหรือวิญญาณของใจรับรู้.....เกิดสัญญาขั้นแรกจําได้ถึงความเกลียดโกรธนั้น ทําให้เกิดทุกขเวทนาขึ้นทันทีเพราะเป็นทุกขเวทนาที่จําได้อยู่แล้ว สัญญาหมายรู้ทั้งหลายรวบรวมสรุปภายใต้อิทธิพลของความจําเดิมๆ..... มโนวิญญาณใจรับรู้ข้อมูลทั้งหมด..... สังขารขันธ์อันมีอิทธิพลของความจําเดิมๆครอบทําให้ความคิดอ่านในการกระทําใดๆเกิดทางกาย ทางวาจา-พูดอะไร ใจ-คิดอันใดล้วนแต่เป็นสิ่งที่กระทําตอบโต้หรือตอบสนองต่อทุกขเวทนาที่เกิดนั้นทั้งสิ้น เช่น ทางกาย-มีอาการหัวใจและกายอาจจะสั่นระรัวขึ้นมา ทางใจมีอาการโกรธแต่เป็นชั่วขณะตามสภาวะธรรม(ชาติ)แล้วก็ดับไปเพราะไม่มีตัณหามาปรุงให้เกิดทุกข์   ต้องยอมรับและเข้าใจเวทนาที่เกิด,ก็จักไม่เป็นทุกข์   นี้เป็นขันธ์๕ปกติธรรมดายังไม่ใช่อุปาทานขันธ์๕ขันธ์๕แท้ๆ เป็นแค่ขันธ์๕ในความทุกข์เดิมๆ ดับได้ง่ายถ้ารู้เท่าทัน         แต่ถ้าเกิดตัณหาความอยาก,ไม่อยากในเวทนาที่เกิดขึ้น ก็เป็นอันเข้าไปในกระบวนการเกิดทุกข์อีกทันที อันยังให้ทุกขเวทนานั้นกลายเป็นอุปาทานทุกข์จริงๆขึ้นใหม่ และขยายต่อเติมไปเรื่อยๆหรือไปยังเรื่องอื่นๆอีกอันเนื่องมาจากทุกข์ที่เกิดและจิตขุ่นมัวที่บังเกิดขึ้นแล้ว         ข้อสังเกตุ สังขารคิดที่เกิดขึ้นในปฏิจจสมุปบาทความจริงแล้วแฝงด้วยทุกข์ หรือเป็นอุปาทานขันธ์๕อยู่ในทีอยู่แล้วคือนอนเนื่องยังไม่ทํางานเพราะเกิดแต่อาสวะกิเลสหรือสัญญาชนิดมีกิเลส  แต่ถ้ามีตัณหาปรุงแต่งเข้าไปขึ้นมาก็จะเกิดทุกข์ซํ้าขึ้นอีก อันเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท   อย่าเกิดตัณหาอยาก,ไม่อยากเข้าไปอีกจักเป็นทุกข์จริงๆ  อันรวมทั้งหยุดคิดนึกปรุงแต่งด้วยเพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้นใหม่อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อเวทนาที่เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย           ส่วนสังขารขันธ์คิดหรือจิตสังขารในขันธ์๕ เป็นสังขารคิดที่เป็นปกติธรรมชาติในการดําเนินชีวิตให้เป็นปกติ อย่าใส่ตัณหาความอยากและไม่อยากและหยุดคิดนึกปรุงแต่งด้วยเช่นกัน เท่านั้นก็ไม่เกิดทุกข์   ข้อคิด         ตัณหา ที่เกิดขึ้นในบางครั้งเราสามารถสังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนเช่นความทะยานอยากหรือไม่อยากในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุนแรง แต่เดิมเรามีอวิชชาความไม่รู้ว่าเป็นโทษจึงมักปล่อยปละละเลย หรือสนองตอบตัณหาความต้องการนั้น  อันทําให้กิเลสตัณหานั้นกล้าแข็งเติบโต จนในที่สุดก็ไม่สามารถสนองตามตัณหานั้นได้ในที่สุด         และในความเป็นจริงนั้นส่วนใหญ่ตัณหามักแอบแฝงเข้ามาในรูปของความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆ,ความเพลิดเพลิน(นันทิ)ตลอดจนคิดเรื่อยเปื่อย สารพัดรูปแบบ อันมักทําให้ผู้ปฏิบัติตามไม่ทันเล่เหลี่ยมของจิตตนเอง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือเมื่อสังขารขันธ์ในขันธ์๕ทํางานเรียบร้อยตามหน้าที่ของตัวแล้ว ออกมาเป็นสังขารขันธ์ใดๆก็ตามแม้แต่ความโกรธก็ไม่เป็นไร เขาเพียงแต่ทําหน้าที่ของเขาอย่างถูกต้องตามข้อมูลที่มี, หน้าที่อันพึงกระทําของเราคือละตัณหาที่มักแอบแฝงมากับความคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา โดยการหยุดนึกคิดปรุงแต่งนั่นเองอย่าให้จิตมีโอกาสหลอกล่อปรุงแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อันคือการเกิดของขันธ์๕ขึ้นอีกครั้งหรือหลายๆครั้ง อันย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้นด้วยอย่างแน่นอน อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ขึ้นมา, อันนี้แหละที่จักเป็นโอกาสอันดีงามของตัณหาในอันที่จักคืบคลานแอบแฝงเข้ามากับความนึกคิดปรุงแต่งนั้นๆ   ปรับปรุง 24/1/46 เมื่อมีความเข้าใจในนิพพานอย่างถูกต้อง จักยังผลให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องด้วย ตามกฎพระไตรลักษณ์ จากพุทธพจน์ ที่ตรัสว่า "สังขารทั้งปวง        ไม่เที่ยง          ( อนิจจตา )    สังขารทั้งปวง        เป็นทุกข์         ( ทุกขตา )            ธรรมทั้งปวง         เป็นอนัตตา"    ( อนัตตตา )               สังขาร สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ในไตรลักษณ์จึงหมายรวมถึงทุกสรรพสิ่ง ทั้งรูปธรรม, นามธรรม, กุศลธรรม, อกุศลธรรม, ทั้งโลกียธรรม และโลกุตรธรรม ขันธ์๕ ฯลฯ. อันล้วนแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น ยกเว้นเพียง"นิพพาน"อันเป็นอสังขตธรรมคือสิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง         ธรรมในพระไตรลักษณ์หมายถึงธรรมชาติอันครอบคลุมทุกสรรพสิ่ง อันหมายรวมพระนิพพานด้วย ขยายความพระไตรลักษณ์ เพื่อความเข้าใจในพระนิพพาน         ๑. อนิจจตา ความไม่เที่ยง แปรปรวน ผันแปร ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดแล้วต้องเสื่อมและสลายไป         ดังนั้นสังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง จึงหมายถึง สังขารอันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย จึงล้วนไม่เที่ยง มีการผันแปร ปรวนแปรเป็นอาการธรรมดาไปตามเหตุปัจจัยที่มาประชุมรวมกันนั้น ไม่สามารถควบคุมบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้         ๒. ทุกขตา ความทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์, เป็นภาวะที่เกิดจากการถูกบีบคั้นจํายอมจากภาวะอนิจจตาแปรปรวนที่เกิดขึ้น จึงต้องสลายตัวดับไปในที่สุด           ความแปรปรวนและการดับไปนั้นจึงทำให้เป็นทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากด้วยตัณหา,ไปยึดด้วยอุปาทานความพึงพอใจ         ดังนั้นสังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ จึงหมายถึง สังขารอันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยจึงไม่เที่ยงจึงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปในที่สุด ไม่สามารถบังคับบัญชาได้,  สังขารทั้งหลายจึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากหรือไปยึดเพราะความไม่สมปรารถถนา         ๓. อนัตตตา ธรรมทั้งหลายไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริง คงอยู่ไม่ได้ตลอดไป เกิดแต่เหตุปัจจัยจึงต้องแปรปรวนและดับไปตามเหล่าเหตุปัจจัยนั้น ตัวตนนั้นจึงดับไปในที่สุด, ธรรมจึงต้องแปรปรวน,ดับไปด้วยตามหลักอิทัปปัจจยตา-เมื่อสิ่งนี้มี ผลนี้จึงมี, เมื่อสิ่งนี้ดับ ผลนี้จึงดับ         ดังนั้นธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตตา จึงหมายถึง ธรรมหรือธรรมชาติหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงซึ่งหมายครอบคลุมทุกๆสรรพสิ่งโดยไม่มีข้อยกเว้น ว่าโดยจริงแล้วไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นแท้ๆ ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย(อันยกเว้นเพียงนิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งแต่ก็เป็นอนัตตา), เมื่อเหตุปัจจัยดับ ธรรม(สิ่ง)นั้นก็ดับ, ดังนั้นจึงมีตัวตนขณะมีเหตุปัจจัย หรือไม่มีตัวตนเมื่อเหตุปัจจัยดับ  อาจกล่าวได้ว่ามีตัวตนอยู่แค่ชั่วขณะระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองในขณะใด แต่ที่สุดเมื่อเหตุปัจจัยดับ ธรรมหรือสิ่งนั้นก็ต้องดับไปด้วย  ท่านจึงกล่าวว่าไม่มีแก่นสารหรือไม่มีแก่นแกนแท้ๆ ไม่มีค่าให้ไปยึดไปอยาก กล่าวคือเพราะไม่สามารถคงทนอยู่ได้อย่างถาวร จึงไม่สามารถควบคุมบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ตลอดไป         ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา จึงหมายครอบคลุมถึงทุกสรรพสิ่งในอนันตจักรวาลล้วนเป็นอนัตตาโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น         ดังนั้นจากพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น ท่านกล่าวว่า"นิพพาน" เป็นอสังขตธรรมหรือสภาวะธรรมชาติเท่านั้นที่ไม่เป็นอนิจจตาและไม่เป็นทุกขตา(เพราะท่านหมายเฉพาะสังขาร) แต่เป็นอนัตตา(เพราะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง),  และท่านก็ตรัสไว้อย่างชัดเจนดังคํากล่าวที่ได้ยินกันเสมอๆว่า นิพพานเป็นอนัตตา                  จากคำจำกัดความดังกล่าวมาเรามากระทําธรรมะวิจยะโดยการ โยนิโสมนสิการ พิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ         ในเมื่อนิพพานไม่เป็นอนิจจังเพราะไม่ใช่สังขาร-จึงแสดงได้ว่านิพพาน(ธรรม)นั้นย่อมเที่ยงหรือก็คือไม่มีความปรวนแปรเป็นธรรมดาเหมือนสังขารที่เป็นไปตามกฎอนิจจังที่ว่า"สังขารหรือสิ่งใดเกิดแต่เหตุปัจจัยสิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ล้วนมีความปรวนแปรเป็นธรรมดา"   ดังนั้นเราจักได้ข้อมูลแสดงว่า         ๑.นิพพาน(ธรรม)ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย สังขารเท่านั้นที่เกิดแต่ปัจจัยปรุงแต่ง         ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง         ๒.นิพพาน(ธรรม)จึงไม่เป็นอนิจจังด้วย จึงไม่แปรปรวนเพราะไม่ใช่สังขารที่มีการปรุงแต่ง         ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด แล้วจะมีการแปรปรวนได้อย่างไร? จึงไม่มีการแปรปรวน.             ๓.นิพพาน(ธรรม) จึงไม่เป็นทุกขัง จึงไม่ดับ เพราะไม่ใช่สังขารสิ่งที่เกิดแต่ปัจจัยปรุงแต่งเช่นเดียวกันกับอนิจจัง         ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด ไม่มีการแปรปรวน แล้วจะมีการดับได้อย่างไร? จึงไม่มีการดับ.         ตามกฎทุกขัง(ทุกขตา) "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ จึงดับไปในที่สุด จึงเป็นทุกข์" ดังนั้นแสดงว่า         ๔.นิพพาน(ธรรม)เมื่อไม่มีการดับ จึงไม่เป็นทุกข์ จึงทนอยู่ได้ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาเช่นสังขาร อันแสดงว่าไม่เป็นทุกขตาคือไม่มีความคงทนอยู่ไม่ได้  ดังนั้นเมื่อไม่มีความดับจึงไม่เป็นทุกข์         ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด ไม่มีการแปรปรวน ไม่มีการดับ แล้วจะเกิดทุกข์ได้อย่างไร? จึงไม่เป็นทุกข์.         ๕.นิพพาน(ธรรม)เป็นอนัตตา หมายถึงไม่มีตัวตนที่เป็นแก่น เป็นแกนถาวรแท้จริง เพราะนิพพานหรือนิพพาน(ธรรม)นั้นจักบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีบุคคลที่เราเรียกกันว่าพระอริยเจ้าอันเป็นผู้รู้ผู้เข้าใจ หรือผู้ที่อยู่ในสภาวะนิพพานนั้น  นิพพานจึงครบองค์ประกอบ         นิพพาน(สอุปาทิเสสะนิพพาน อันหมายถึงองค์อรหันต์ที่ยังมีขันธ์๕ดำเนินชีวิตไปตามปกติคือยังมีชีวิตอยู่) จึงเกิดแต่เหตุปัจจัยดังนี้ ตัวตนหรือกาย(ตัวตนหรือรูปของผู้เข้าถึงนิพพาน หรือพระอริยะเจ้า) + นิพพาน(ธรรม) หรือ อรหันต์ หรือพระนิพพาน = ตัวตนหรือกาย(ตัวตนผู้เข้าถึงนิพพาน) + นิพพาน(ธรรม)นั่นเอง ดังนั้นเมื่อ "ตัวตนผู้เข้าถึงนิพพาน" ถึงกาละคือตาย,   อรหันต์ หรือตัวตนหรือกายนั้นก็ต้องดับไปด้วยเพราะเหตุปัจจัยทั้ง๒อันยังให้เกิดนิพพานนั้น ประกอบด้วยปัจจัย"ตัวตนผู้เข้าถึงนิพพาน" ได้มีการปรวนแปรและดับไป(ตาย)  ดังนั้นเมื่อเหตุปัจจัยต่างๆไม่ครบองค์ จึงเหลือแต่นิพพานธรรมอันเป็นอนัตตาไม่มีตัวมีตนเป็นสภาวะธรรมหรือธรรมชาติที่มีอยู่จริง จึงเป็นการยืนยันคำสอนที่กล่าวไว้ว่านิพพานเป็นอนัตตา             ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด ไม่มีการแปรปรวน ไม่มีการดับ ไม่เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา           จากการ"โยนิโสมนสิการ" ทําความเข้าใจข้อธรรมแล้ว ได้ความเข้าใจมาดังนี้         ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัยจึงไม่มีการเกิด, ไม่ปรวนแปร, ไม่ดับ, ไม่เป็นทุกข์,  เป็นอนัตตา         เมื่อ ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ จึงไม่ปรวนแปร ดังกล่าวแล้ว ถ้าเราทําใจเป็นอุเบกขาเป็นกลางไม่เอนเอียงไปตามความเชื่อ ความยึดถือ จะตีความได้ ๒ นัย คือ         ๑. "ไม่มีนิพพาน" เพราะไม่มีการเกิด         ๒. "นิพพานนั้นต้องมีอยู่แล้ว เป็นสภาวะธรรมหรือธรรมชาติของจิต จึงไม่มีการเกิด การดับ                  ตามข้อ๑ ไม่มีนิพพาน ซึ่งไม่ตรงกับหลักพุทธศาสนา ไม่น่าจะถูกต้อง ถ้าไม่มีจริงแสดงว่าพุทธศาสนานั้นไม่ถูกต้อง  ต้องสอนหรือบันทึกกันมาอย่างผิดๆ อย่างแน่นอน   เพราะนิพพานถือว่าเป็นหัวใจหรือผลอันสูงสุดของพุทธศาสนาทีเดียว   จึงเหลืออีกกรณีหนึ่งให้พิจารณาคือ         ตามข้อ๒ นิพพานนั้นมีอยู่แล้ว ในตัวของตน อันทำให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่กล่าวไว้ว่าที่ ธรรมชาติของจิตย่อมผุดผ่อง  แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสจรมา    (เอกนิบาต ๒๐/๙) หรือ  "จิตนั้นประภัสสร แต่หมองหม่นเพราะอุปกิเลสที่จรมา"   และคําของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโลที่กล่าวไว้ว่า จิตคือพุทธะ  ซึ่งหมายความว่า จิตเอง หรือจิตเดิมแท้ๆ นั่นละที่คือสภาพจิตพุทธะ หรือนิพพาน   หรือที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้กล่าวไว้ จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลสออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิท จิตฺต   ดังนั้นจึงมีพุทธดํารัสที่ตรัสไว้ว่า แสวงหาที่ไม่ฉลาดในธรรม  ย่อมไม่เห็นแจ้งนิพพานที่อยู่ใกล้ตัว (ปัคคัยหสูตร ๑๘/๑๔๒)         หรือนิพพานก็คือ จิตที่ไม่มีสิ่งปัจจัยปรุงแต่งของกิเลสอันเกิดแต่อุปาทานอันเกิดแต่ตัณหา อันเป็นธรรมชาติจิตเดิมแท้ อันหมายความว่านิพพานหรือจิตเดิมแท้นั้นมีอยู่ในจิตตลอดเวลา ในขณะที่เรามัวแสวงหา สาระวนปฏิบัติค้นหาจากเหตุปัจจัยภายนอก, โดยการพยายามหา ทําให้เกิด ให้มี ให้เป็น จากการปฏิบัติต่างๆชนิดก่อให้เกิด ให้เป็นจากปัจจัยภายนอกต่างๆ การก่อให้เกิดจากเหตุภายนอกเช่นการค้นหาและปฏิบัติแต่ทางสมาธิ, ฌาน, วัตถุ, บุคคล หรือการทรมานกายใดๆ, ถือแต่ศีล ทําแต่บุญ ฟังแต่ธรรม อันล้วนแล้วแต่เป็นการพยายามทําให้เกิด ให้มี ให้เป็นทั้งสิ้น แต่ขาดการปฏิบัติในแนวทางเพื่อที่จะนําสิ่งที่บดบังหรือครอบงํานั้นๆออกไป, ดังนั้นจึงพยายามหาหรือพยายามทําให้เกิดเท่าไรก็ไม่ประสบผลสําเร็จ  อันอุปมาดั่งไล่จับเงา ที่ไม่มีวันประสบผลสําเร็จตลอดกาล,  เพราะสภาวะนิพพานที่เรามีนั้น เราไม่เห็น ไม่เข้าใจ จึงปฏิบัติไม่ถูกต้อง จึงหมองหม่นอับแสงเพราะปัจจัยเครื่องปรุงแต่งต่างๆ อันได้แก่ กิเลส ตัณหา และอุปาทาน อันต่างล้วนเป็นเหตุปัจจัยอันเนื่องให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นความทุกข์ ในเบื้องปลายที่สุด         หรือที่หลวงปู่ดูลย์ได้กล่าวไว้ว่าในเรื่อง จิต คือ พุทธะ "เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็ปรากฎตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง  และพุทธะ คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง  และสิ่งๆนี้ เมื่อปรากฎอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่  และเมื่อปรากฎอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่"             การหยุดคิดหรือหยุดส่งจิตออกนอกของหลวงปู่นั้นก็เพื่อเป็นการปฏิบัติไม่ให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน..อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส(เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง),  หมดความกระวนกระวายเพราะความแสวงหา         นิพพานจึงไม่ต้องทําให้เกิดขึ้น หรือสร้างขึ้นแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัย  เพียงแต่เป็นการนําเหตุปัจจัยอันทําให้จิตหม่นหมองนั้นออกไป หมายถึงจิตเดิมแท้ๆนั้นบริสุทธิ์อยู่แล้ว การนําออกและละเสียซึ่งกิเลสตัณหาไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดนิพพาน เป็นเพียงคําอธิบายแนวทางปฏิบัติให้พบจิตเดิมแท้อันขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะเหตุปัจจัยจากภายนอก เช่นการความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นเหตุปัจจัยภายนอก,อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา,อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อุปาทาน..ภพ..อุปาทานทุกข์..และกิเลสตามลําดับ ตามวงจรปฏิจจสมุปบาท อันต่างล้วนจริงๆแล้วเป็นเหตุปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบสัมผัสกับจิตเดิมแท้ที่ปภัสสร         การปฏิบัติใดๆที่เป็นการก่อ หรือสร้างสมสิ่งหนึ่งสิ่งใดเช่นสมาธิ ฌาน ถือศีล หรือทําบุญ อิทธิฤทธิ์ ทรมานกาย จึงยังไม่ใช่หนทางการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง บางข้อเป็นเพียงบาทฐานหรือขุมกําลังในการสนับสนุนการปฏิบัติในขั้นปัญญาเท่านั้น, อันควรจักต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วย         จักต้องเป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญาเท่านั้น อันมีบาทฐานของศีล สติ สมาธิเป็นเครื่องส่งเสริม เพื่อนําออกและละเสียซึ่งกิเลส ตัณหา อันเป็นปัจจัยที่ยังให้เกิดอุปาทาน, อันล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสิ่งปรุงแต่งต่อจิตพุทธะเดิมทั้งสิ้น  จึงเป็นหนทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริงและถาวร         ดังนั้นเมื่อ นําออก และ ละเสีย ซึ่ง กิเลส, ตัณหา และอุปาทาน  ซึ่งย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ดับความทุกข์หรืออุปาทานขันธ์๕ ตามมา  เมื่อนั้น "นิพพานอันเป็นสุข ที่ถูกบดบังซ่อนเร้นอยู่ในจิตเดิม ก็จักปรากฏขึ้น" อันล้วนเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท อวิชชาดับ >>> สังขารดับ >>> วิญญาณดับ >>> นาม-รูปดับ >>> สฬายตนะดับ >>> เวทนาดับ >>> ตัณหาดับ >>> อุปาทานดับ >>> ภพดับ >>> ชาติดับ(ความเกิดแห่งทุกข์ในรูปอุปาทานขันธ์๕ก็ดับ) -ชรามรณะดับ+อาสวะกิเลสดับ >>> ดับวัฏฏะหรือวัฎจักรของการเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์         หลักการปฏิบัติเพื่อสู่ "นิพพาน" หรือ "นิโรธ" จากความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทและนิพพานคือ มีชีวิตดำเนินเป็นปกติตามขันธ์๕ อันเป็นขบวนการปกติธรรมชาติในการดําเนินชีวิต จักไม่เป็นทุกข์ ไม่ให้เกิดอุปาทานขันธ์๕  (สอุปาทิเสสนิพพาน - นิพพานขององค์อรหันต์ผู้ดับกิเลส คือโลภะ,โทสะ,โมหะ ในอุปาทานทุกข์แล้ว  แต่ยังมีขันธ์๕-เบญจขันธ์เป็นปกติในการดำเนินชีวิต)   เปรียบเทียบเป็นรูปธรรม เพื่อความแจ่มแจ้ง         นิพพานมีอยู่แล้วแต่ไม่สามารถเห็นหรือสัมผัสได้ เพราะอุปมาดั่งมีบรรดากองขยะทั้งหลายอันมี กิเลส, ตัณหา อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ ได้ปกปิดบดบัง ไม่ให้มองเห็นนิพพานบนเส้นทาง  หน้าที่เราอันควรพึงปฏิบัติคือ อย่าเพิ่มขยะ(กิเลส,ตัณหา)ใหม่เข้าไปอีก  และมั่นตักขยะเก่าๆคือกิเลส, ตัณหา, อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นเก่าๆ ออกจากเส้นทาง(หมายถึงจิต)โดยการปฏิบัติ  เมื่อนั้นนิพพานก็จักประจักษ์แก่สายตาหรือใจของเรา จึงควรปฏิบัติดังนี้ ๔ประการ เพื่อให้แสงแห่งนิพพานได้ทอแสงขึ้นในดวงจิต         ๑.โดยการไม่เพิ่มขยะ คือ"ไม่ก่อทุกข์ หรือยึดสุข" อันยังให้เกิดอาสวะกิเลสใหม่ๆขึ้นอีกนั่นเอง         ๒.โดยการ การนำออกและละเสียซึ่ง"กิเลส"สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมอง อันได้แก่กิเลสหรืออาสวะกิเลส อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด"ตัณหา"ทางอ้อม         ๓.โดยการ การนำออกและละเสียซึ่ง "ตัณหา" ความรู้สึกทะยานอยาก, ความใคร่, ความให้ได้สมปรารถนาในสิ่งใด ซึ่งสรุปได้เป็นความอยาก,ไม่อยาก อันเป็นมูลเหตุปัจจัยโดยตรงให้เกิดอุปาทานตามหลักปฏิจจสมุปบาท   โดยต้องมีความเข้าใจในเวทนาโดยถ่องแท้เพื่อไม่ให้ตัณหาเกิด (เพราะความเข้าใจสภาวะธรรมหรือขาดความยึดมั่นถือมั่นในเวทนานั้นหรือเวทนานั้นหมดจด)         ๔.โดยการ การนำออกและละเสียซึ่ง"อุปาทาน" ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวของตนเป็นหลักใหญ่  อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์         ดังนั้นในทางปฏิบัติ         จิตไม่ขุ่นมัวเศร้าหมองโดยนำออกและละเสียซึ่ง"กิเลส" และ "อาสวะกิเลส" หรือขุ่นมัวแล้วก็ต้องพยายามปรับจิตให้สดชื่นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสังขารคิด(ในปฏิจจ.)อันยังให้เกิดเวทนาซึ่งในทางปฏิบัติในช่วงแรก เราไม่อาจนำออกและละเสียได้ทั้งหมด   ดังนั้นส่วนหนึ่งจะไปเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดเวทนา,   เพราะรู้ทันเวทนา  ดังนั้นเวทนาส่วนหนึ่งจักดับที่นี่,    ส่วนที่เหลืออันยังให้เกิด"ตัณหา" ถ้าเราไม่อาจนำออกและละเสียซึ่งตัณหาได้ทั้งหมด   อีกส่วนหนึ่งจะไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด"อุปาทาน" เราต้องนำออกและละเสียให้ได้ มิฉนั้นก็จักเกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ อันเมื่อเกิดแล้วต้องหยุดคิดนึกปรุงแต่งต่อจากนั้น เพราะคิดนึกปรุงแต่งย่อมยังให้เกิดเวทนาขึ้นอีก และเป็นเวทนาชนิดที่ถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทานเสียด้วย จึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกองทุกข์นั้น         การนำออกและละเสียโดยใช้สติปัฏฐาน๔ มรรคองค์๘เป็นหลักในการปฏิบัติ ตลอดจนสัมโพชฌงค์๗ อันเป็นธรรมให้ตรัสรู้ ตลอดจนใช้ความรู้ในหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ลึกซึ้ง "ปฏิจจสมุปบาท" อันมีความโดยย่อดั่งนี้         จิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมองจากทุกข์และอาสวะกิเลส         ไปกระตุ้นตัณหาและอุปาทานที่นอนเนื่องในอวิชชา         ไปกระตุ้นสังขารคิดที่สั่งสมไว้         ไปกระตุ้นให้เกิดวิญญาณให้เกิดการรับรู้         ไปกระตุ้นให้ นาม-รูป ให้ครบองค์ประกอบ เกิดตื่นตัวทํางาน         ไปกระตุ้นให้ สฬายตนะทำงานตามหน้าที่สื่อสารรับรู้สัมผัสอายตนะต่างๆ         ไปกระตุ้นให้เกิดอวิชชาผัสสะ การกระทบประจวบกัน         ไปกระตุ้นให้ เกิดเวทนารับรู้ความรู้สึกในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่มากระทบ         ไปกระตุ้นให้ เกิดตัณหาอยาก,ไม่อยาก         ไปกระตุ้นให้ เกิดอุปาทาน ยึดในความพึงพอใจในตน ของตน เป็นหลัก         ไปกระตุ้นให้เกิดภพบทบาทที่จักแสดง         ไปกระตุ้นให้ กาย, วาจา, ใจ คือขันธ์๕ทุกชนิดที่เกิด(ชาติ)ถูกครอบงำโดยอุปาทาน เกิดเป็นอุปาทานขันธ์๕ ทุกชนิดอันเป็นทุกข์ พร้อมจิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมอง >>> เริ่มต้นวงจรใหม่ >>> ฯลฯ...         เป็นวงจรแห่งทุกข์ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบสิ้น ก่อให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ    ธรรมชาติของจิตและนํ้า (พิจารณาเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น)       จิตนั้นเปรียบประดุจดั่งนํ้าอันไร้รูปร่างแปรปรวนไปตามภาชนะ จิตนั้นก็แปรปรวนไปตามจิตเองและสิ่งแวดล้อม(อายตนะภายนอก)ที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ),       นํ้าประกอบด้วยปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่ง  จิตก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันมากหลายมาประชุมกัน,       นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่ากว่าคือตามแรงดึงดูดของความเคยชินและกิเลสตัณหาแลอุปาทานที่ได้สั่งสมไว้(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)         ถ้าเราต้องการนํ้าให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด  จิตก็ย่อมต้องการ การเพียรพยายามปฏิบัติฉันนั้น,       การยกระดับนํ้าโดยใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้องย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด  จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงยกระดับจิตให้สูงขึ้นเร็วฉันนั้น,       ธรรมชาติของนํ้าเดือดพล่านเพราะไฟฉันใด,  จิตย่อมเดือดพล่านเพราะไฟของกิเลสตัณหาอุปาทานฉันนั้น       นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน,  จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง  หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน    ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ(เวทนา) นั้นเป็นสภาวะธรรมยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี"อุปาทานทุกข์" จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ"อุปาทานทุกข์"นี้นั่นเอง แต่ไม่รู้จึงจําแนกไม่ออก         เมื่อเกิดเวทนาหรือจิตสังขารขึ้นแล้ว มีสติรู้เท่าทันสภาวะธรรม(ชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นนั้น และมันเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา อย่าจดจ้องพิรี้พิไร ให้มีแต่สติเป็นกลางวางเฉย(อุเบกขา)ไม่คิดนึกปรุงแต่งที่จะเกิดสืบต่อไปอีกเท่านั้น.         หลักปฏิบัติในชีวิตประจําวันก็คือการปฏิบัติตามความเข้าใจในหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจําวัน หรือก็คือการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน๔ หรือ อริยสัจ นั่นเองแต่ด้วยความรู้ความเข้าใจตามสภาวะธรรม เพราะแท้จริงก็คือแก่นหรือแกนแห่งธรรมเดียวกันนั่นเอง         ถึงตอนนี้เราทราบวงจรปฏิจจสมุปบาท, ขันธ์๕ และอุปาทานขันธ์๕ พอสมควรแล้ว จึงขอแสดงผังขบวนการทํางานของขันธ์๕แบบต่างๆอีกครั้งดังที่กล่าวไว้ในเรื่องขันธ์๕ แต่เป็นแบบย่อรายละเอียดลง เพื่อให้พิจารณาเห็นขันธ์แบบต่างๆและการที่ตัณหาเข้ากระทําหรือเกิดจากเวทนา หรือ "เวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา" ให้เกิดภาพชัดเจนขึ้น         แบบข้อ๑ ขันธ์๕ เกิดแบบปกติทั่วๆไปในชีวิตประจําวัน อันไม่ก่อทุกข์ใดๆ เป็นขันธ์๕อันจําเป็นในการยังชีวิต ตา + รูป + วิญญาณ   เวทนา   สัญญา   สังขารขันธ์ (กาย, วาจา, ใจคิด)         แบบข้อ๒ ขันธ์๕ที่เคยเกิดแบบปกติข้างบน และแบบข้อ๓ คือเคยเกิดเคยเป็นทุกข์หรืออุปาทานขันธ์(อุปาทานทุกข์)มาแล้วและได้ดับไปแล้ว, แต่เมื่อเกิดคิดนึกปรุงแต่งขึ้นมาใหม่(ถ้ามองในมุมมองปฏิจจสมุปบาทก็คือ สังขารที่สั่งสมไว้) แต่คราวนี้มีตัณหาไปกระทําเวทนาที่เกิดขึ้นใหม่ทําให้ขันธ์ที่เหลือแปรปรวนไปเป็นอุปาทานขันธ์ต่างๆในตอนท้าย หรือเรียกว่าแบบ หัวมงกุฎ ท้ายมังกร อันเป็นการเริ่มต้นกระบวนการแห่งการเกิดทุกข์ ตา+รูป+วิญญาณ เวทนา+ตัณหา อุปาทาน ภพ  ชาติเกิดคืออุปาทานสัญญา อุปาทานสังขารขันธ์         สังเกต รูป วิญญาณ เวทนา เป็นขันธ์ปกติ แต่สัญญาหมายรู้และสังขารขันธ์แปรปรวนไปเป็นอุปาทานสัญญาและอุปาทานสังขารขันธ์ อันถูกครอบงําด้วยอุปาทานแล้ว         แบบข้อ๔ อุปาทานขันธ์๕ล้วนๆ คือขันธ์ต่างๆในขันธ์๕ ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ คือเกิดต่อจากขันธ์ในข้อ๒หรือ๓อันเป็นหัวมงกุฏ ท้ายมังกร, อันจักเป็นอุปาทานขันธ์๕ต่างๆนาๆหรือความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆที่เกิดๆดับๆ  อันคือความแปรปรวน(ชรา)ไป จนกว่าจะดับ(มรณะ)ไปในที่สุด และเก็บไว้เป็นอาสวะกิเลส ใจ+อุปาทานรูป(คิด)+อุปาทานวิญญาณ อุปาทานเวทนา อุปาทานสัญญา อุปาทานสังขาร หรือ ใจ+รูปูปาทาน(คิด)+วิญญาณูปาทาน เวทนูปาทาน สัญญูปาทาน สังขารูปาทาน         ดังนั้นถ้าเราประมวลความรู้ความเข้าใจจากปฏิจจสมุปบาท ขันธ์๕ และอุปาทานขันธ์๕ มาเขียนขยายวงจรปฏิจจสมุปบาทเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น คงจักได้ดังนี้ .........อวิชชา สังขารต่างๆที่สั่งสม วิญญาณ นาม-รูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติอันคือสัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์๕ต่างๆนาๆครั้งแล้วครั้งเล่า อันคือชราหรือความแปรปรวน จนในที่สุด มรณะ คือดับไป อาสวะกิเลส เป็นปัจจัยจึงเกิดวงจรใหม่ของทุกข์อีกไม่สิ้นสุด......          อุปาทานขันธ์๕ ที่เกิดในชรา-มรณะอันเป็นทุกข์นั้น ก็จักเกิดๆดับๆ วนเวียนไปในชาติ ชรา-มรณะ จนกว่าจะดับไป  ดังวงจรนี้     รูปูปาทานขันธ์ + ใจ + วิญญาณูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์                  (ขันธ์๕= รูป+ใจ+วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร)                                                                                             สังขารูปาทานขันธ์ เช่นคิดที่เป็นทุกข์         สัญญูปาทานขันธ์    จักเห็นได้ว่าสังขารูปาทานขันธ์ที่เกิดขึ้นนั้นจักทําหน้าที่เปลื่ยนเป็นรูปชนิดรูปูปาทานขันธ์อีกคือเป็นธรรมารมณ์ชนิดที่มีอุปาทานครอบงําแล้วของอุปาทานขันธ์๕ที่เกิดใหม่วนๆเวียนๆ  เกิดๆดับๆจนกว่าจะมีสติรู้ทัน หรือถูกเบี่ยงเบน บดบังด้วยเหตุอื่นๆ สรุปวงจรการทํางานของจิตที่ทําให้เกิดทุกข์ โดยปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕   หรือเขียนขยายวงจรลึกลงไปอีกได้เป็นดังนี้         วงกลมเล็กสีแดงคืออุปาทานขันธ์๕หรือชราที่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาก็คือความคิดที่เป็นทุกข์แล้ว ที่แว๊บๆไปๆมาๆ ที่เกิดๆดับๆ อยู่ตลอดเวลาแต่โดยตามปกติไม่มีสติมองเห็น จึงเกิดความคิดที่เป็นทุกข์อย่างต่อเนื่อง,  แต่ในความเป็นจริง เกิดจากความคิดชั่วสายฟ้าแลบแล้วมีผลออกมา ผลนั้นยังไม่ทันจางลงก็เกิดความคิดที่อุปาทานครอบแล้ว(อุปาทานรูป)ขึ้นใหม่อีก เป็นเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง จนถ้าไม่สังเกตุด้วยการโยนิโสมนสิการแล้วจักไม่พบความจริงนี้ ดังนั้นปุถุชนผู้ถูกครอบแล้วด้วยทุกข์นั้น เมื่อมีสติรู้ทันและต้องเข้าใจทุกข์นั้นแล้วจึงต้องหยุดความคิดนึกปรุงแต่งที่ทําหน้าที่เป็นอุปาทานรูปนี้เสีย ทุกข์ก็จักขาดเหตุปัจจัยไม่สามารถคงทนอยู่ต่อไปได้ หรืออาจเบี่ยงเบนไปต่างๆเช่นพิจารณาธรรมเช่นพิจารณาถึงตัณหาที่ทําให้เกิดก็ได้(บางท่านบอกไม่มีตัณหาความอยากอะไรเลย ท่านเหล่านี้ต้องพิจารณาความไม่อยากให้เกิด,ไม่อยากให้เป็นที่แอบซ่อนในจิตลึกๆให้เห็นแล้วจักเข้าใจ)  ได้ทั้งเห็นโทษของตัณหาความอยากและความไม่อยาก ตลอดจนตัดความคิดนึกปรุงแต่ง(หมายถึงความคิดที่เป็นอุปาทานขันธ์๕เดิมๆนั่นแหละ)ในอุปาทานขันธ์ให้หยุด เป็นการดับทุกข์อย่างก่อปัญญาด้วย และเป็นการปฏิบัติในหลักสติปัฏฐาน ๔ นั่นเองคือเห็นเวทนาความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นอันเป็นเวทนานุปัสสนา หรือเห็นจิตหรือความคิดอันเป็นจิตตานุปัสสนา        ให้สังเกตุอุปาทานสังขารและอุปาทานขันธ์๕ อันคือ  ความคิด วาจา การกระทําใดๆ นั้นก็คือผลของขบวนการขันธ์๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์แล้วนั่นเอง  ดังนั้นในบางครั้งรู้เท่าทันคิดหรือ จิตสังขารแล้ว จึงตัดหรือหยุดไม่ได้ง่ายๆเพราะอุปาทานอันแข็งแกร่งที่สามารถครอบสรรพสัตว์มาตลอดกาลนานได้ครอบงําแล้ว         ถึงตอนนี้พอแยกออกได้ว่าในการตัดวงจรของทุกข์นั้น ขึ้นอยู่กับสติ จริตและปัญญาของผู้ปฏิบัติ แต่ทั่วๆไปเน้นอยู่ที่๓กองธรรมในกระบวนการปฎิจจสมุปบาทเป็นพิเศษ อันได้แก่ เวทนา,ตัณหา และจิตสังขาร(คิด)อันเป็นอุปาทานสังขารแล้วในกองธรรมชาติ-ชรา         ๑ เวทนา เป็นกองธรรมที่ดีที่สุด ในการตัดวัฏฏะของทุกข์ ก่อนจะเข้าไปในกระบวนการให้เกิดทุกข์ เพราะที่เวทนานี้ถ้ารับรู้โดยเท่าทันคือดับโดยความเข้าใจในสภาวะธรรมชาติของเวทนาอย่างหมดจดว่าเวทนานั้นย่อมต้องเกิดเป็นธรรมดา  เวทนาในปฏิจจสมุปบาทนั้นมีอยู่ ๒ ลักษณะ         ๑ เวทนาในกองธรรมเวทนา อันจะตัดวงจรของทุกข์ขาด เนื่องจากขาดเหตุปัจจัยที่ทําให้เกิดอุปาทานทุกข์ ตั้งแต่ขันธ์๕ตัวแรกๆ  หรือตั้งแต่เวทนาในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง จึงไม่เกิดทุกข์อุปาทานใดๆเลย, จะเกิดสัญญาหมายรู้ตามธรรมชาติ >> สังขารขันธ์ อันเป็นขันธ์๕ธรรมชาติขึ้นต่อจากเวทนานั้น          ๒ อุปาทานเวทนาในกองธรรมชรา อันเป็นที่เกิดของอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ อันต้องเกิดอุปาทานเวทนาเป็นธรรมดา ตามที่กล่าวมาในบทก่อนๆ  ที่อุปาทานเวทนานี้ต้องยอมรับและเข้าใจ และต้องใช้กําลังของจิต เพราะถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทาน ถ้าสติรู้เท่าทันทําให้ทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วดับหรือสั้นลง         ในข้อที่๑ นั้น ขันธ์๕ในชีวิตทั่วๆไปที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อสติรู้เท่าทันเวทนา อันมีผลลัพธ์คือสังขารขันธ์-ความคิด อันจักเกิดขึ้นเบาบางไม่รุนแรงหรือนุ่มนวลขึ้นด้วย  เพราะเวทนาเป็นเหตุเป็นปัจจัยของทั้งตัณหา(ของปฏิจจสมุปบาท)และสังขารขันธ์(ของขันธ์๕)เช่นกัน จึงมีผลโดยตรงต่อสังขารขันธ์ด้วย ตามหลักอิทัปปัจจยตา "เมื่อสิ่งนี้มี ผลนี้จึงมี" เช่นกัน  ดังขบวนการของขันธ์๕โดยย่อ ตา+รูป+วิญญาณ >>> เวทนาเกิด,มีสติรู้และมีความรู้ความเข้าใจที่หมดจด+สัญญาหมายรู้หมดจด >>> สังขารขันธ์ที่เกิดเบาบางหมดจดเช่นกัน ดังเช่นความโลภ โกรธ หลง ฯลฯ. ที่เกิดขึ้นก็ได้รับผลอานิสงส์มีความนุ่มนวลขึ้น เป็นขันธ์๕ ธรรมชาติควรค่าแก่การใช้งานเช่นกัน(สังเกตุให้ดีว่ายังคงมีอยู่แต่ไม่ใช่อุปาทานทุกข์ เป็นขันธ์๕ ตามธรรมชาติอันจักเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป)          ๒ ตัณหา โดยปกติแล้วตัณหาเข้ากระทําโดยตรงหรือเกิดจากเวทนาดังที่เราทราบจากวงจรของทุกข์ปฏิจจสมุปบาทว่าเป็นมูลเหตุเบื้องต้นและโดยตรงที่สุด แต่ถ้าไม่รู้ทันและไม่เข้าใจเวทนา  ก็จะเกิดตัณหาต่อเวทนานั้น ในครั้งแรกอาจไม่เกิดตัณหาแต่ถ้าคิดนึกปรุงแต่งต่อไปคือเกิดขันธ์๕ปรุงแต่งใหม่เช่นความคิดต่างๆก็เป็นเหตุให้ตัณหาสามารถเข้าไปกระทําต่อเวทนาของสังขารขันธ์คิดนึกปรุงแต่งต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ได้เช่นกัน ตา+รูป+วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร ดังเช่น "ความคิดนึกต่างๆ" ......(ตัวอย่าง ก.) แล้วเกิดการนําเอาความคิดนึกต่างๆ( ก.)ที่เกิดขึ้นนั้นมาเป็นธรรมารมณ์หรือรูปของขบวนขันธ์๕ อันใหม่ดังนี้ ใจ+ความคิดนึกต่างๆ(ก.)ทําหน้าที่เป็นรูปคือสิ่งที่ถูกรู้+วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขารคิด เป็นเช่นนี้ได้หลายๆครั้ง  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเกิดความคิด(หรือสังขารขันธ์คิด)อย่างนี้ขึ้นหลายๆครั้ง ย่อมเปิดโอกาสให้ตัณหามีทางหลากหลายเข้ากระทําต่อเวทนาที่เกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลาของความคิดนึกต่างๆที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา ดังนั้นการหยุดตัณหาอาจต้องกระทําหลายๆครั้ง ตามการเกิดของขันธ์๕หรือความคิด นี่แหละจึงเป็นจุดประสงค์ที่ให้หยุดความคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านหรือความคิดเรื่อยเปื่อยที่ไม่มีประโยชน์สาระ อันเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาเข้าแทรกได้         ถ้ามีตัณหากระทําต่อเวทนา ดังในตัวอย่าง ก. ความรุนแรงของผลหรือสังขารขันธ์ย่อมมากกว่าสังขารขันธ์ปกติ เพราะผลที่ออกมาย่อมเป็นอุปาทานสังขารขันธ์ ซึ่งย่อมทําให้ขันธ์๕ ที่เกิดต่อเนื่องต่อๆไปแบบเกิดๆดับๆมีสภาพเป็นอุปาทานขันธ์ทั้งขบวน  ซึ่งย่อมทวีความทุกข์ขึ้นเรื่อยๆ ลองย้อนระลึกขันธ์๕ในอดีตดู ถ้ากลุ้มหรือโกรธเรื่องอันใด ถ้ายิ่งคิด,ทุกข์ยิ่งทวีขึ้นตลอดเวลาไม่มีเบาบาง(นอกจากผู้มีสติใช้ธรรมเข้าปลอบหรือข่ม) นี่แหละจึงเป็นเหตุให้ต้องหยุดคิด(ปรุงแต่ง), หยุดนึก(ปรุงแต่ง) และนี่คือเหตุผลที่ทําไมเรารู้ทัน, มีสติเห็นสังขารขันธ์คือคิดอันเป็นผลแล้ว แต่ในบางครั้งไม่ดับเพราะความรุนแรงและเข้มแข็งของอุปาทานนั่นเองและเป็นการดับที่ผลไม่ใช่ที่เหตุ จึงไม่ดับสนิทจริงๆ เพราะต้นเหตุจริงๆอยู่ในเวทนา ดังนั้นการดับเวทนาด้วยความเข้าใจในตัวอย่าง ก. จึงตรงตามหลักธรรมที่กล่าวว่า "ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ ธรรรมนั้นก็ดับ"    และที่สฬายตนะทั้ง๖ นั้น เหตุปัจจัยภายนอก(รูป เสียง กลิ่น ฯ.)เราควบคุมบังคับไม่ได้ ย่อมต้องกระทบสัมผัสเป็นธรรมชาติห้ามไม่ได้อย่างแน่นอน(นอกจากสังวรระวัง) ซึ่งเมื่อเกิดเป็นอุปาทานสังขารคิดแล้วย่อมดับไม่ค่อยได้ผล ดังนั้นจึงแนะนําให้รู้ทันและเข้าใจธรรมชาติของเวทนา   เพราะป้องกันทั้งสังขารคิดที่สั่งสมที่จะมากระทบใจ และการเข้าโดยตรงทางสฬายตนะทั้งหมด อันคือทางเข้าของเหตุทั้งหมด         ๓ จิตสังขารหรือความคิด มีสติรู้เท่าทันความคิด อันจะมีอยู่ใน ๒ ลักษณะคือ         ความคิดของขันธ์๕(สังขารขันธ์)ของขันธ์๕ อันเป็นธรรมชาติ มีสติรู้เท่าทันว่าโลภ โกรธ หลง(โมหะ โทสะ โลภะ) แล้วเป็นกลางวางเฉยเป็นอุเบกขา ไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งด้านดีหรือชั่ว         ความคิดชนิดที่เป็นอุปาทานสังขารขันธ์เกิดอยู่ในกองธรรมชาติ-ชรา ดับที่อุปาทานสังขารหรือความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นที่กองธรรมชาติ-ชรา อันเป็นทุกข์แล้ว โดยเป็นกลางวางเฉย(อุเบกขา)ไม่คิดนึกปรุงแต่ง..อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันทําให้ทุกข์นั้นสั้นหรือหยุดลง  ที่อุปาทานสังขารคิดนี้ต้องยอมรับและเข้าใจ และต้องใช้กําลังของจิต เพราะถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทาน   เมื่อประมวลความรู้ความเข้าใจแล้ว แก่นของการปฏิบัติในชีวิตประจําวัน มีดังนี้ สติรู้เท่าทันอันใด ปฏิบัติอันนั้น ตามกําลังสติ จริต แห่งตน         สติรู้ทันและเข้าใจเวทนา ว่าเวทนาสักแต่ว่าเวทนาและรู้ด้วยว่าเกิดขึ้นตามสภาวะธรรมอันห้ามไม่ได้ แล้วเป็นกลางวางเฉย(อุเบกขา)แค่รับรู้ ไม่ติดเพลินในสุขเวทนา ไม่ครํ่าครวญพิรื้พิไรในทุกขเวทนา ระวังอทุกขมสุขเพราะความรู้สึกไม่มีอะไรจึงมักปล่อยกายปล่อยใจจนเป็นทุกข์ (เวทนานุปัสสนา) แล้วใช้อุเบกขา         สติรู้ทันตัณหา และละตัณหา แล้วใช้อุเบกขา         สติรู้ทันความคิด แล้วเป็นกลางวางเฉยไม่คิดนึกปรุงแต่งต่อทั้งด้านดีและชั่ว(อุเบกขา)  อันเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสนาคือสติรู้ทันว่ามีโมหะ โทสะ โลภะ ฯลฯ. แล้วเป็นอุเบกขาเป็นกลาง,วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งเพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ (สังเกตุนะว่ามีเกิดขึ้น ไม่ใช่กดข่ม หรือพอเกิดแล้วหาว่าจิตไม่ดี ยังคงมีอยู่แล้วก็จะดับไปเอง)  อุเบกขาเป็นกลาง วางเฉย  วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่ง..อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา           สติรู้ทันเวทนา จุดประสงค์คือตัดวงจรทุกข์ และทําให้ขันธ์๕ที่เกิดนุ่มนวลหรือเบาบางขึ้น (นุ่มนวลไม่ใช่หมายถึงเรียบร้อยอ่อนช้อยขึ้น แต่หมายถึงสังขารขันธ์ต่างๆ)         สติรู้ทันตัณหา คือเมื่อจิตเห็นจิต หรือสติเห็นคิดหรือสังขารขันธ์แล้ว ยังต้องรู้ทันหยุดตัณหาความทะยานอยากด้วย กล่าวคือถ้าหลุดจากสติรู้ทันเวทนาในข้อ๑, สติรู้ทันตัณหาในข้อ๒จะทําหน้าที่แทนในการดับทุกข์         สติรู้ทันความคิดหรือจิตสังขาร ความคิดนึกที่เป็นลักษณะฟุ้งซ่านควรหยุดเสียเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ตัณหาเข้ากระทําต่อเวทนาของความคิดนึกฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นนั้น  กล่าวคือถ้าหลุดจากสติรู้ทันตัณหาอันต้องก่อเป็นอุปาทานทุกข์แล้ว สติรู้ทันความคิดนึกหรือ"เห็นจิตในจิต"อันคือสติเห็นจิตสังขารขันธ์ จักทําหน้าที่แทน                 ข้อควรระวัง คิดนึกปรุงแต่ง, ตัณหา, ตัณหาปรุงแต่ง, ตัณหาคิดนึกปรุงแต่ง หมายเป็นตัณหาหรือทําให้เกิดตัณหาอันเดียวกันทั้งสิ้น อันปกติเกิดเพราะเวทนาหรือเข้ากระทําต่อเวทนาเป็นมูลเหตุสําคัญโดยตรงแล้ว,  จะเห็นว่าตัณหายังสามารถกระทําหรือเกิดจากสิ่งต่างๆ,ขันธ์ต่างๆ อันเนื่องสัมพันธ์กับเวทนาได้ดังเช่นทําต่อความคิดนึกปรุงแต่งดังที่กล่าวมา, จึงควรมีความระวังสังวรไว้,         ดังที่มีการแจกแจงรายละเอียดแยกแยะเพื่อศึกษาตัณหา อันหมายถึงตัณหาสามารถเกิดขึ้นได้จากเหตุปัจจัยที่จะกล่าวนี้แต่ไม่ใช่อยู่ที่หรือเกิดที่ปัจจัยที่จะกล่าวนี้โดยตรง  อันท่านได้จําแนกแจกแจงอยู่ใน"ปิยรูป สาตรูป ๑๐" ถึงสิ่งอันเป็นปัจจัยให้เกิด,เป็นปัจจัยให้ตั้งอยู่และเป็นปัจจัยให้ดับไปของตัณหาอันมี ๑๐ หมวดๆละ ๖ อันมี         ๑. สฬายตนะทั้ง๖   ตา   หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ    นั่นเอง         ๒. อายตนะภายนอกทั้ง๖  รูป  รส  กลิ่น เสียง  สัมผัส(โผฏฐัพพะ)  ธรรมารมณ์         ๓. วิญญาณ ๖ ของ   ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ         ๔. ผัสสะ ๖ ที่เกิดจาก   ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ         ๕. เวทนา ๖ อันเกิดจาก  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ         ๖. สัญญา ๖ ใน  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ         ๗. สัญเจตนา ๖ ในความคิดอ่านหรือเจตนาของสังขารขันธ์อันมีใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ เช่นกัน         ๘. ตัณหา ๖ ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์         ๙. ตรึก (วิตก๖) คิดใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์         ๑๐.ตรอง (วิจารณ์๖) คือพิจารณาไตร่ตรองในธรรมารมณ์,รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส             เมื่อเกิดเวทนาหรือจิตสังขารขึ้นแล้ว มีสติรู้เท่าทันสภาวะธรรม(ชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นนั้นและมันเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา พระไตรลักษณ์จะทําหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม ทําให้ผลที่เกิดขึ้นนั้นย่อมดับไปในไม่ช้า   เพียงแต่มีสติและเป็นกลางวางเฉย(อุเบกขา)ไม่คิดนึกปรุงแต่งในเรื่องทุกข์ที่จะเกิดสืบต่อไปอีกเท่านั้น  อันเป็นเหตุปัจจัยไม่ให้มีเหตุเกิดอีก อันเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตาผลที่จะเกิดสืบเนื่องต่อจากนั้นก็จักเกิดอีกไม่ได้   และการหมั่นปฏิบัติเช่นนี้ จะยังให้เกิดสังขาร(ปฏิจจสมุปบาท)ที่สั่งสมอบรมขึ้นใหม่ อันไม่มีอวิชชา   ข้อคิดคํานึง ความคิดเป็นธรรมชาติของขันธ์๕หรือชีวิต, แต่ความคิดนึกปรุงแต่งไม่จําเป็น เพราะคิดนึกปรุงแต่ง ๑ ครั้ง,  คือการเกิดของขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้งเช่นกัน เกิดขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑ ครั้งเช่นกัน ดังนั้นคิดนึกปรุงแต่ง ๑๐๐ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน เวทนาเกิดขึ้น ๑๐๐ ครั้ง  ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาได้ ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน ตัณหาเกิดขึ้นเมื่อใด  ทุกข์อุปาทานเกิดขึ้นเมื่อนั้น ดังนั้นจงมีแต่คิด,  แต่ไม่มีคิดนึกปรุงแต่ง.    ไปมหาสติปัฏฐานสูตร ในพุทธพจน์ เพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดในการปฏิบัติ         สังโยชน์๑๐ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ หรือธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ สิ่งที่ผูกมัด ร้อยรัดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ผูกติดอยู่กับความทุกข์ทําให้ไม่สามารถสลัดหลุดออกมาได้ มี ๑๐ ประการ         สังโยชน์เบื้องตํ่า อันมี๕         ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตนหรือของตนอย่างขั้นหยาบ คือยังไม่มีความเข้าใจในความเป็นเหตุปัจจัย ไม่รู้ไม่เคยระลึกว่าตัวตนของตนนั้นเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันเพียงชั่วขณะหนึ่ง ดังเช่นขันธ์ทั้ง๕นั่นเอง ดังนั้น จึงมีความคิดเห็นอย่างยึดมั่นในรูป(กาย) ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ว่าเป็นตัวตนของตนอย่างรุนแรง หรือไม่รู้ว่าตัวตนหรือกายก็คือประกอบด้วยเหตุปัจจัยของธาตุทั้ง๔ เป็นต้น  จึงเป็นบ่อเกิดของอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตัวตนของตนในขั้นแรก         ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในธรรมต่างๆอันเกิดเป็นธรรมดา เนื่องจากความไม่เข้าใจในธรรมอย่างถ่องแท้ เมื่อปฏิบัติไปเกิดการติดขัดเป็นธรรมดาก็เกิดความสงสัยไม่เชื่อถือ,ค้นหาวิธีใหม่,หาอาจารย์ใหม่,หาที่ยึดใหม่, ถ้าไม่มีวิจิกิจฉามีความเข้าใจที่ถูกต้องเมื่อเกิดอุปสรรคก็จะคิดค้นคว้าแก้ไขให้เกิดความรู้เข้าใจที่สว่างไสวขึ้นไปเป็นลําดับ วิจิกิจฉาจึงเป็นอุปสรรคสําคัญที่บั่นทอนสัมมาปัญญาไม่ให้เกิด         ๓. สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นในศีลและพรตข้อปฏิบัติแบบผิดๆ ความถือมั่นศีลและข้อปฏิบัติโดยสักแต่ว่าทําตามๆกันไปอย่างงมงาย เช่น เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตรข้อปฏิบัติ, การทำบุญเพื่อไปสวรรค์หรือนิพพานในภพหน้า, การถือศีลอย่างเคร่งครัดแล้วจะบรรลุมรรคผล, คล้องพระเพื่อให้เกิดโชคลาภ คงกระพันปลอดภัย, การอ้อนวอน บนบาน เทวดา ฟ้า ดิน, การปฏิบัติแต่สมถะสมาธิอย่างเดียวแล้วจะเกิดปัญญาเข้าใจธรรมได้มรรคผลขึ้นมาเอง ฯลฯ.         ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณทั้ง๕ (หมายถึงไม่มีในขั้นก่อเป็นทุกข์อุปาทานขันธ์๕ แต่คงมีในระดับขันธ์๕อันเป็นธรรมชาติ-ผู้เขียน)         สําหรับฆราวาสปุถุชนนั้นการมีผัวเดียวเมียเดียวก็นับว่าเป็นพรหมจรรย์ตามฐานะแห่งตน แต่ไม่ถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์เท่านั้น แต่ก็สามารถจางคลายจากทุกข์ได้เป็นลําดับขั้น         ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิด ขัดเคือง ความขุ่นมัว ขุ่นข้องใจ (หมายถึงไม่มีในขั้นก่อเป็นทุกข์อุปาทานขันธ์๕ แต่คงมีในระดับขันธ์๕อันเป็นธรรมชาติ-ผู้เขียน  อันเป็นดังที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลได้กล่าวไว้เรื่องความโกรธ "มี แต่ไม่เอา" แล้วมันก็ดับไปเอง         สังโยชน์เบื้องสูง มี๕         ๖. รูปฌาน หรือรูปราคะ ติดใจในรสประณีตของรูปฌาน อันไปยึดมั่นถือมั่นไว้ มิได้หมายถึงการทิ้งหรือไม่มี แต่แค่เป็นเครื่องอยู่         ๗. อรูปฌาน หรืออรูปราคะ ติดใจในรสประณีตของอรูปฌาน เฉกเช่นเดียวกับรูปฌาน         ๘. มานะ ความถือตัวถือตน ดั่งว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ดีกว่าเขา เหนือกว่าเขา เสมอเขา         ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในเรื่องต่างๆ (คือยังคงมีคิดนึกปรุงแต่ง22ในวงจร เป็นส่วนใหญ่อยู่บ้างและไม่ถึงระดับก่อทุกข์ก่อโทษรุนแรง ส่วนปุถุชนนั้นความคิดนึกปรุงแต่งเกิดที่14เป็นส่วนใหญ่และรวม 22ด้วย )         ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ตลอดจนสติรู้เท่าทัน ตามความเป็นจริงในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ของการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์   โลกุตรธรรม โลกุตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยทางโลกๆ, สภาวะพ้นจากทางโลกๆ อันมี๙ ดังนี้ (พระอริยบุคคลมี๘ คือผู้ปฏิบัติได้ในข้อ๑-๘)         ๑.โสดาปัตติมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลความเป็นพระโสดาบัน, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้อันเป็นเหตุให้ละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้         ๒.โสดาปัตติผล ผลคือการถึงกระแสนิพพาน จากการละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกด้วยโสดาปัตติมรรค ทําให้เป็นบุคลผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน         ๓.สกิทาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลความเป็นพระสกิทาคามี, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณรู้คือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ ๓ ข้อแรก และเบาบางลงในข้อ ๔ และ ๕ คือ กามราคะ และ ปฏิฆะ         ๔.สกิทาคามิผล ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติอันสืบเนื่องจากสกิทาคามิมรรคในข้อ๓ ทําให้เป็น พระสกิทาคามี         ๕.อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลคือความเป็นพระอนาคามี, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ทั้ง๕ข้อแรกได้         ๖.อนาคามิผล ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติอันสืบเนื่องจากอนาคามิมรรคในข้อ๕ ทําให้เป็นพระอนาคามี         ๗.อรหัตตมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลเป็นพระอรหันต์, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ทั้ง๑๐         ๘.อรหันตผล ผลคือความสําเร็จเป็นพระอรหันต์ ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมด         ๙.นิพพาน ผลการดับกิเลสและกองทุกข์เป็นโลกุตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพุทธศาสนา    สัจจธรรม ทุกข์ของขันธ์๕ทั้งใจและกายอันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)ยังคงมีอยู่ เราปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดอุปาทานทุกข์     หมายถึง นอกจากไม่ให้อุปาทานทุกข์เกิดแล้ว ยังต้องยอมรับในสภาวะธรรมของทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์๕ทั้งใจและกายอย่างเข้าใจ การไม่ยอมรับอย่างเข้าใจก่อให้เกิดการดิ้นรนจนกลายเป็นอุปาทานทุกข์เช่นกัน   ความพึงพอใจเกิดจากเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง สิ่งใดปรุงแต่ง สิ่งนั้นไม่เที่ยง ล้วนต้องแปรปรวนด้วยอาการใด สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ เป็นทุกข์ถ้าเข้าไปอยากไปยึด สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้สิ่งนั้นไม่มีแก่นถาวร(ไม่มีค่า) ให้ยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยเท่านั้น นิพพานขาดเสียแล้ว ซึ่งเหตุปัจจัยอันมาปรุงแต่งด้วยตนเอง นิพพานคือภาวะดับสูญเสียแล้วซึ่งทุกข์ คือภาวะดับสูญอุปาทาน คือภาวะดับเสียแล้วซึ่งความพึงพอใจยินดีแห่งตัวตน คือภาวะซึ่งดับเสียแล้วซึ่งการเกิด "ภพ" และ "ชาติ"   "เหนือโลก" มิใช่ "หนีโลก"       ธรรมะ มีไว้ช่วยให้อยู่ในโลกอย่าง"ชนะโลก" หรือ "เหนือโลก" มิใช่ให้"หนีโลก" แต่อยู่เหนืออิทธิพลใดๆของโลก ไม่ใช่จมอยู่ในโลก มักสอนให้เข้าใจกันผิดๆว่า ต้องหนีโลก ทิ้งโลก สละโลก อย่างที่ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใครเลย (พุทธทาสภิกขุ)              แสดงกระบวนจิตของมวลมนุษย์ โดยวงจรปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ กระบวนจิตหรือชีวิตควรดําเนินไปตามขันธ์๕ = อายตนะภายนอก+สฬายตนะ+วิญญาณ ผัสสะ เวทนา  สัญญา  สังขารขันธ์ ทางกาย วาจา ใจ อันเป็นธรรมชาติ กล่าวคือคงมีแค่ทุกข์ของขันธ์๕ทั้งทางกายและใจ  แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์หรือทุกข์อันเกิดแก่ใจ ดําเนินจิตไปตามเส้นสีนํ้าเงิน     1            2            3             4               5             6           7           8             9          10       11        12                  13 อวิชชา    สังขาร   วิญญาณ    นาม-รูป    สฬายตนะ    ผัสสะ    เวทนา    ตัณหา    อุปาทาน    ภพ    ชาติ -- สัญญูปาทาน    สังขารูปาทาน      :                                                                              +                                                                                                                                                                                                                 15   วิญญาณ                              I                                                                                                   ชราอันแปรปรวน      :                                                          16            +                                                   17       18   19   20                                                      14             :                   ขันธ์๕ ธรรมชาติ  =   ธรรมารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส       สัญญา   สังขารทาง  กาย วาจา   ใจ  อันเป็นธรรมชาติ                 เกิดอุปาทานขันธ์๕      :                                                                                                                                                                                                                           14                                                                 I................ คิดนึกปรุงแต่ง( อันเกิดเวทนา อาจเกิดตัณหา).....................I                                                เกิดดับ เกิดดับ      :                                                                                                                                                                                                                                 14      :                                                                                                                                                                                                                       วนเวียนเป็นวงจร      :                                                                                                                                                                                                                                       .......................................... ......................................โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาส .............. .............. อาสวะกิเลส.............. ............มรณะ ขยายความ         ชีวิตหรือกระบวนจิตควรดําเนินไปตามขันธ์๕ อันเป็นสภาวะธรรม(หรือธรรมชาติแท้ๆ)อันไม่ก่ออุปาทานทุกข์หรือทุกข์ทางใจใดๆ  ขันธ์๕เป็นเพียงกระบวนการของกายและจิตในการดําเนินชีวิตอันเป็นปกติธรรมชาติของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกหมู่เหล่า ดังขบวนการนี้ อายตนะภานนอก+สฬายตนะ(อายตนะภายใน)+วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขารขันธ์    ขบวนการของขันธ์๕ตามปกติ......แบบย่อ. หรือ แบบขยายความโดยละเอียดขึ้นมาอีกขั้น อายตนะภานนอก+สฬายตนะ(อายตนะภายใน)+วิญญาณ สัญญา(จํา) เวทนา สัญญา(หมายรู้) สังขารขันธ์   แยกสัญญาออกเป็นสัญญาจําและหมายรู้ เพื่อแสดงให้เห็นการเกิดของการจําแนกเวทนาออกเป็นทุกข์ สุข เฉยๆ ได้ชัดเจนขึ้น         ขันธ์๕นี้ก็คือขบวนการทํางานของจิตในการรับรู้,คิดค้น แล้วสั่งการให้ทั้งจิตและกายทํางานนั่นเอง,  ขันธ์๕แบบนี้เป็นขันธ์๕ ตามปกติธรรมชาติและไม่เป็นทุกข์ เป็นขันธ์ธรรมดาๆที่ต้องเกิดขึ้นทุกขณะจิตในการดํารงชีวิต,  แต่เกิดเป็นทุกข์เพราะมีตัณหาและอุปาทานมาร่วมด้วย ดังกระบวนการดังนี้ อายตนะภานนอก+สฬายตนะ+วิญญาณ เวทนา+ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติเกิดอันคืออุปาทานสัญญา อุปาทานสังขารขันธ์(x)อันเป็นทุกข์ ภาพ กระบวนการที่ (1) อันยังผลให้ขันธ์๕หรือความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นใหม่สืบเนื่องต่อไป ถูกครอบงําหรือถูกลากพาไปเป็นอุปาทานขันธ์๕ กล่าวคืออุปาทานสังขารขันธ์[x]ที่เกิดขึ้นในกระบวนการที่[1]จะทําหน้าที่เป็นรูปชนิดที่เป็นอุปาทานรูป ในกระบวนการที่[2] นี้ อุปาทานรูป(x)+สฬายตนะ(ใจ)+อุปาทานวิญญาณ อุปาทานเวทนา อุปาทานสัญญา อุปาทานสังขาร อันล้วนเป็นอุปาทานขันธ์อันเป็นทุกข์ (2) หรือเขียนตามบาลีดังนี้     รูปูปาทานขันธ์+สฬายตนะ+วิญญาณูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์            ขันธ์๕ช่วงแรกก่อนเกิดทุกข์เป็นขันธ์ตามปกติธรรมชาติอันมีธรรมารมณ์ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส มากระทบเป็นสภาวะธรรมชาติ แต่ถ้าไม่มีสติก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันทําให้ขันธ์ส่วนที่เหลือซึ่งเกิดในชาติ....ชรา-มรณะของวงจรปฏิจจสมุปบาท ล้วนกลับกลายเป็นอุปาทานขันธ์อันถูกครอบงําหรือมีอิทธิพลของอุปาทานครอบงําแล้ว ดังกระบวนการที่ (1)   และจักเกิดอุปาทานขันธ์๕ทั้งขบวนแบบกระบวนการที่ (2) อีกกี่ครั้งกี่หนก็ได้ จนกว่าจะมีสติ หรือหยุดไปเพราะสาเหตุอื่นมาเบี่ยงเบนหรือบดบัง จนดับไปในที่สุด แต่เก็บนอนเนื่องเป็นอาสวะกิเลสหมักหมมนอนเนื่องอยู่ในจิต         ซึ่งต่อมาเมื่อระลึกขึ้นมาใหม่อันคือสังขารในปฏิจจสมุปบาทซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หรืออันคือมีตัณหาปรุงแต่งเข้าไปอีกครั้ง ก็จักไปเข้าวงจรของทุกข์ใหม่อีก เกิดความทุกข์นั้นๆขึ้นอีก เป็นวงจรอุบาทไม่รู้จักจบสิ้นเช่นนี้ไปตลอดกาลนาน........ แสดงวงจรความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ หรือ กระบวนจิตพื้นฐานของมวลมนุษย์ ขยายความรายละเอียด ภาพขยาย วงจร 14 (อุปาทานขันธ์๕) ข้างบน วงจรปฏิจจ...>>สังขารูปาทานขันธ์13  >>  รูปูปาทานขันธ์24 + ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์25 เวทนูปาทานขันธ์26 >> มรณะ(ดับไป) >>อาสวะกิเลส23>>.....                                                                            อุปาทานขันธ์๕(14 )อันเกิดวนเวียนอยู่ในชราอันเป็นทุกข์                                                             สังขารูปาทานขันธ์ เช่นคิดที่เป็นทุกข์ 28        สัญญูปาทานขันธ์27 ( 24, 25, 26, 27, 28  ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ทั้งสิ้น เพราะเกิดจากอุปาทานสังขารขันธ์13 อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว ) ถ้าต้องการดูให้เห็นภาพการทํางานโดยละเอียดของอุปาทานขันธ์๕ หมายเลข14 ในชราอย่างละเอียด คลิก จากวงจรแสดงรายละเอียด ระบุหมายเลขของปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕นี้ ขณะอ่านต้องการดูวงจรเพื่อประกอบการพิจารณาให้คลิก     อันมีอยู่เป็นระยะๆ          ขอให้สังเกตุว่า 22 อันเป็นความคิดนึกปรุงแต่ง เช่นคิดนึกฟุ้งซ่าน, คิดนึกเรื่อยเปื่อย(อันจะทําหน้าที่เป็นธรรมารมณ์ 16 หรือความคิด)เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้อย่างไร สังเกตุว่าทุกความคิดปรุงแต่งย่อมเป็นไปตามกระบวนจิตของขันธ์๕จนเกิดเวทนา(7)ทุกครั้ง   อันย่อมอาจยังให้เกิดตัณหา(8) จากเวทนา(7)นั้นๆได้  ถ้าจะเขียนให้เข้าใจชัดเจนขึ้น อาจจะเขียนในรูปสมการดังนี้             ความคิดนึกปรุงแต่ง(ใจ)ที่แค่แว๊บมาหนึ่งครั้ง    คือ    ขันธ์๕ที่เกิดหนึ่งครั้ง             ขันธ์๕ที่เกิดหนึ่งครั้ง                                       คือ    ต้องเกิดเวทนาขึ้นหนึ่งครั้งเช่นกัน             เวทนาที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง                                  คือ    หนึ่งโอกาสที่เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้นหนึ่งครั้ง             ตัณหาที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง                                   คือ    เป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดอุปาทานทุกข์             ดังนั้นคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดแว๊บๆ 100 ครั้ง        คือ    โอกาสที่ทําให้เกิดอุปาทานทุกข์หรือความทุกข์ได้ 100 ครั้งเช่นกัน             ดังนั้นความคิดนึกปรุงแต่งจึงเป็นสิ่งที่ต้องนําออกและละเสีย(ตัด, ดับ, เปลี่ยนอิริยาบถ,ใช้กําลังของจิตอันเกิดแต่สมาธิเข้าช่วยตัดช่วยดับ, อย่าไปใช้วิธีคิดจะดับจะตัดอย่างไรอันเป็นการเปิดโอกาสให้จิตคิดนึกปรุงแต่งออกไปนอกลู่นอกทางได้,  ใช้กําลังของจิตตัด,ดับ,หยุดคิดนึกปรุงแต่งจักได้ผลดีกว่า,  ตัด ดับ นี้เป็นภาษาธรรมอันหมายถึงทําเยี่ยงไรจึงหยุดการทํางาน โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย มิได้หมายถึง การกดข่ม หรือการทําให้ดับให้สูญ)          ข้อควรระวัง จําเป็นต้องใช้ปัญญา(ความเข้าใจ)ในการแยกแยะความคิดนึกขันธ์๕อันเป็นประโยชน์ในการดําเนินชีวิตและก่อให้เกิดสติปัญญา กับความคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดทุกข์ให้ได้   เพราะการตัด ดับ กดข่มทุกๆความคิดนึกก็ก่อให้เกิดโทษอย่างรุนแรงเช่นกัน          (เป็นเช่นเดียวกันใน ตา หู จมูก ลิ้น และกาย, เป็นเฉกเช่นเดียวกับใจ   ท่านจึงกล่าวอยู่เนืองๆให้ สํารวม สังวร ระวังในอายตนะภายในทั้ง๖ - เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดทุกข์)         ขอให้สังเกตุ 8 ตัณหาความรู้สึกทะยานอยากหรือไม่อยากในสิ่งใดๆ ความนึก ความคิด ที่อยากให้เป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนี้, ไม่อยากอย่างนั้น ไม่อยากอย่างนี้ ผลักไสความรู้สึกที่ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ,   อันล้วนเป็นตัณหาที่ถ้าไม่เข้าใจแล้วจะสังเกตไม่ออก         ขอให้สังเกตุ 14 อุปาทานขันธ์๕ อันเป็นทุกข์แล้ว มันทํางาน วนเวียน เกิดๆ ดับๆ อยู่ทุกขณะจิต  การดับนั้นเป็นการดับแบบค่อยจางคลายหายไป แต่ยังไม่ทันจางคลายหายไปก็เกิดความคิดปรุงแต่งอื่นแทรกต่อเนื่อง เช่น เกิดความคิดอันเป็นอุปาทานขันธ์๕ ขึ้นหลายๆความคิดในเรื่องทุกข์นั้นๆ คือจริงๆแล้วอาจคิดถึง ๑๐... ๒๐...๓๐...๑๐๐... ครั้งวนๆเวียนๆอยู่ในชราอันเป็นทุกข์  คือผลหรือความคิดหนึ่งยังไม่ทันจางคลายหายไป ก็เกิดความคิดปรุงแต่งอีกความคิดหนึ่งขึ้นมาเรื่อยๆ จนกว่าจะดับไปเป็นอาสวะกิเลส(23) เพราะสติรู้เท่าทัน  หรือดับไปเองตามธรรมชาติโดยการถูกเบี่ยงเบน บดบังโดยสิ่งอื่นๆเช่นความเพลีย  ความเหนื่อย  ความหิว  ความง่วง  ความอยากในสิ่งอื่นๆ  กิจอื่นๆ ฯลฯ.           ดังภาพขยายวงจรหมายเลข 14 ที่แสดงไว้แล้ว  จะเห็นได้ว่าเป็นวงจรเล็กซ้อนอยู่ภายในวงจรปฏิจจสมุปบาทอีกทีหนึ่ง  อันเป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์และแข็งแกร่งเพราะถูกครอบงําอยู่ภายใต้อิทธิพลของอุปาทาน 9แล้ว. ถ้าต้องการดูรายละเอียดวงจรปฏิจจสมุปบาทพร้อมทั้งรายละเอียดการทํางานของอุปาทานขันธ์๕แบบเต็มรูปแบบ คลิก           เวทนานุปัสสนา (หรือจิตเห็นเวทนา หรือสติเห็นเวทนา) ก็คือการที่มีสติรู้เท่าทันและเข้าใจสภาวะธรรมของเวทนา7  หรือสติเห็นอุปาทานเวทนา26ที่ถูกอุปาทานครอบงําแล้วใน14 อุปาทานขันธ์๕ (อยู่ในภาพขยาย 14)   มีสติรู้เท่าทันทั้ง2 นี้ล้วนเป็นเวทนานุปัสสนา         จิตตานุปัสสนา (หรือจิตเห็นจิต หรือสติเห็นจิต หรือสติเห็นจิตสังขาร หรือสติเห็นคิด) คือการที่สติรู้เท่าทันใจ หรือจิต 21(ความคิดอันเป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์18)   หรือการเห็นจิตหรือคิดที่ถูกครอบงําโดยอุปาทานหรือเป็นทุกข์แล้ว หรืออุปาทานสังขาร27 (ในชราหรืออุปาทานขันธ์14, อยู่ในภาพขยาย14)  สติรู้เท่าทันทั้งสองนี้ล้วนเป็นจิตตานุปัสสนา      ทั้งเวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนา มีสติรู้เท่าทันตามความเป็นจริง แล้วเป็นอุเบกขาวางเฉย,  วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือชั่ว(ด้านร้าย) อันล้วนยังให้เกิดเวทนา7 อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา8ขึ้นได้         รู้เท่าทันตัณหาและหยุด(นําออกและละเสีย)ตัณหาเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อสมุทัยเหตุแห่งทุกข์  เป็นการปฏิบัติที่กระทําต่อ ตัณหา 8 โดยตรง                      ดังนั้นพอสรุปได้ว่า         รู้เท่าทัน(สติ)และเข้าใจสภาวะธรรม(ชาติ)ของเวทนา(อันคือ เวทนานุปัสสนา)  เป็นการปฏิบัติที่กระทําต่อ  เวทนา 7 เป็นตําแหน่งที่ดีที่สุดในเวทนานุปัสสนา ในวงจรการเกิดทุกข์         รู้เท่าทันสังขารหรือจิตสังขารหรือความคิด  เป็นการปฏิบัติที่กระทําต่อจิตสังขารหรือใจหรือความคิดที่ 21 เป็นตําแหน่งที่ดีที่สุดในจิตตานุปัสสนา         แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้ว ใช้รู้เท่าทันสิ่งใดก็ปฏิบัติสิ่งนั้น ตามสติ จริต ปัญญา.         ถ้าเป็นทุกข์แล้ว ต้องเข้าใจและยอมรับสภาวะธรรม(ชาติ)นั้น แล้วหยุดคิด หยุดนึกอันคือการหยุดคิดหยุดนึกปรุงแต่ง22 อันทําหน้าที่เป็นธรรมารมณ์(16)หรือ"รูป-สิ่งที่ถูกรู้นั่นเอง",  และหยุดอุปาทานรูป 24 (อยู่ในภาพขยาย 14)อันคืออุปาทานรูปหรือความคิดที่ถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้วคือเป็นความคิดที่เป็นทุกข์แล้วนั่นเอง,     ที่ 22 เป็นความคิดปรุงแต่ง ฟุ้งซ่านต่างๆนาๆอันมักเกิดเมื่อจิตสังขาร21ออกมาเป็นความพึงพอใจ,ความไม่พึงพอใจ   ซึ่งเมื่อคิดต่อความยาวสาวความยืดแล้วจักนําไปสู่วงจรทุกข์ในที่สุด เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาอันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา,   ที่อุปาทานรูป24 นั้นล้วนแต่เป็นความคิดอันเป็นทุกข์แล้วทั้งสิ้น อันล้วนแล้วแต่ถ้าปล่อยจิตให้ไปคิดยิ่งเป็นทุกข์วนเวียนหนักขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีเรื่องกระทบใจให้ขุ่นเคืองไม่พอใจในแค่ระดับขันธ์๕อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)ปกติต้องหยุดคิดปรุงแต่ง22,  ผู้เป็นทุกข์อยู่แล้วต้องหยุดคิดปรุงแต่ง24 ,   ในตําแหน่ง 24 นี้มีความแข็งแกร่งมากเพราะถูกครอบงําโดยอุปาทาน9มาโดยไม่รู้ตัวแล้ว(สติไม่ทัน)  ผู้ปฏิบัติใหม่อาจมีความรู้สึกว่าหยุดไม่ได้ "ฉันหยุดไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ ก็มันเป็นทุกข์อยู่นี่"  แต่การพิจารณาและความเพียรจักทําให้เห็นจิตและอารมณ์ในปฏิจจสมุปบาทอันก่อให้เกิดทุกข์ ตลอดจนความเข้าใจในสภาวะธรรมจะทําให้ท่านเห็นและหยุดทุกข์ได้ในที่สุด         การเห็นความคิดที่13และ14 อันมีอุปาทานครอบงําจนเป็นทุกข์แล้วในบางครั้งจึงตัดหรือดับได้ยาก อาจต้องใช้การพิจารณาดับตัณหา8 หรืออุปาทาน9เข้าช่วยเช่นพิจารณาให้รู้ว่าเพราะอยากหรือไม่อยากในอะไรหรือสิ่งใดในทุกข์นั้นหรือเปล่า   และต้องหยุดความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นทุกข์คือตัว13และอุปาทานรูปใน14 (อันคือหมายเลข24 ในวงจรขยายอุปาทานขันธ์๕ในชรา) นั่นเอง         7 อันคือเวทนา  ให้สังเกตุในวงจรและที่จิต(คิดพิจารณาตาม) จะเห็นได้ว่าเป็นจุดสําคัญที่จะไปเป็นขันธ์๕ปกติตามธรรมชาติถ้ามีสติรู้เท่าทัน    หรือจะหักเหไปเข้ากระบวนการเกิดทุกข์,  และขอให้สังเกตุว่าเวทนา 7 เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทั้งอุปาทาน9 และสังขารขันธ์ 18         สังขาร 2 คือสังขารการกระทําตามที่ได้อบรมสั่งสมประพฤติปฏิบัติไว้ในอดีตไว้ทั้งทางกายการกระทํา,วาจาทางการพูด,หรือใจ  ทางใจนั้นก็คือความคิดหรือธรรมารมณ์ชนิดที่มีอาสวะและอวิชชาแฝงอยู่  หรืออาจกล่าวได้ว่าสังขาร 2 ในปฏิจจสมุปบาทก็คือทําหน้าที่คล้ายกันกับธรรมารมณ์ 16 แต่เป็นชนิดเกิดจากจิตอันมีอาสวะกิเลสและอวิชชาเป็นเหตุปัจจัยโดยตรง   หรือ จิตปรุงกิเลส นั่นเอง         สฬายตนะ5 คือตําแหน่งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ภายนอกมากระทบโดยตรง อันทําให้เกิดอาการ กิเลสปรุงจิต         สังเกตุ 2+3+5 ความจริงก็คือ16+15+5  หรืออายตนะภานนอก(16 หรือ 2)+สฬายตนะ 5+วิญญาณ (3 หรือ15)อันยังให้เกิดผัสสะ 6 นั่นเอง         อุปาทานสังขารขันธ์ 13 และอุปาทานสังขารขันธ์ที่เกิดใน14 อันคือ28 ก็คืออุปาทานสังขารขันธ์ทางกายการกระทํา,ทางวาจาการพูดจา,ทางใจความนึกคิด อันล้วนเป็นทุกข์ เป็นไปตามภพ 14อันคือสภาวะหรือบทบาทที่จิตได้ตกลงเลือกในชั่วขณะจิต อันเนื่องหรือมีอิทธิพลมาจากผลของอุปาทาน 9 ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตน ของตน         สังขารขันธ์ 18 หรือสังขารทางใจ 21(สิ่งเดียวกันแค่แยกให้เห็นรายละเอียด) เป็นขันธ์ปกติตามสภาวะธรรม(ชาติ) อันไม่เป็นอุปาทานทุกข์   แต่ก็มีทุกข์ของขันธ์๕หรือทุกข์ประจําชีวิตอันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)ของผู้ที่มีชีวิตอยู่   อันหมายรวมถึงพระอรหันต์ทุกพระองค์ด้วย         สังขารขันธ์ทางใจ 21 อันคือความคิดนึกต่างๆในขันธ์๕ อันจําเป็นอย่างยิ่ง ใช้ประโยชน์ในการดํารงชีวิตทุกขณะจิตอันไม่เป็นอุปาทานทุกข์เพราะขาดปัจจัยอันคือตัณหา8 >> อุปาทาน9  ยังคงมีแค่ทุกข์ของขันธ์๕ตามธรรมชาติ  ดังนั้นการหยุดคิดหยุดนึกโดยขาดความเข้าใจในธรรม หรือการหยุดคิดหยุดนึกภายใต้สมาธิแต่เพียงอย่างเดียวจึงปฏิบัติไม่ได้ผล ได้เพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น,  เพราะความคิดนึกต่างๆหรือสังขารขันธ์นั้นยังคงจําเป็นในการดํารงชีวิต         อุปาทานสังขาร 13 และ อุปาทานสังขารที่ทําหน้าที่เป็นอุปาทานรูปคือ24 ใน14 คือตําแหน่งที่เกิดการกระทําและความนึกคิดต่างๆที่ก่อให้เป็นอุปาทานทุกข์ การเห็นหรือรู้เท่าทันที่นี่(จิตตานุปัสสนา) มักมีปัญหาตรงที่ตัดหรือหยุดความคิดหรือการกระทํานั้นไม่ได้ง่ายๆเนื่องจากผ่านการถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทาน9อันแข็งแกร่งไปแล้ว  ดังนั้นถ้ารู้เท่าทันแล้วแต่หยุดทุกข์ไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีย้อนไปพิจารณาเวทนา7 และตัณหา8 และอุปาทาน9 อันเป็นเหตุ   อันจะทําให้ดับความคิดที่เป็นทุกข์ได้ง่ายขึ้น   ณ.ตําแหน่งนี้นักปฏิบัติมีปัญหาสงสัยมาก ว่าทําไมมีสติรู้เท่าทันความคิดแล้ว(แต่ไม่ทันเวทนา7และตัณหา8ที่เกิดมาก่อนแล้ว)แต่ทําไมยังรู้สึกเป็นทุกข์อยู่? ตัดหรือหยุดไม่ได้ง่าย         22 อันคือความคิดนึกปรุงแต่ง คิดฟุ้งซ่าน คิดเรื่อยเปื่อย เป็นสิ่งที่ควรนําออกและละเสีย เพราะสิ่งเหล่านี้ทําหน้าที่เป็นธรรมารมณ์16 (อันทําหน้าที่เป็นรูปในขันธ์๕)อันย่อมยังให้เกิดขันธ์๕ขึ้นอีกซึ่งย่อมต้องมีเวทนา7 เกิดขึ้นทุกครั้งทุกทีอีกด้วยเช่นกัน อันเป็นการเปิดโอกาสให้เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา8อีกเช่นกัน ดังนั้นการปล่อยให้จิตคิดนึกปรุงแต่ง, คิดฟุ้งซ่าน หรือคิดเรื่อยเปื่อย จึงเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสหรือเชิญชวนให้เกิดตัณหา อันนําให้เกิดทุกข์ในที่สุด         ตัณหา8 นอกจากความทะยานอยาก และไม่อยากแล้ว ก็อาจเป็นตัณหาที่เกิดเนื่องมาจากความคิดนึกปรุงแต่งในรูปของขันธ์๕ก็ได้อันหมายถึง 22 นั่นเอง         สัญญูปาทานขันธ์ 12 เป็นความหมายรู้ในสิ่งต่างๆแต่ถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทาน9 จึงหมายรู้หรือแปลความจําความนึกคิดต่างๆแต่ในสิ่งที่จักทําให้ตัวตนหรือของตน มีความพึงพอใจเป็นหลักสําคัญ         สังขาร 2 เป็นที่นักปฏิบัติโดยทั่วไปมองว่าเป็นตําแหน่งกองธรรมที่น่ากําจัดหรือดับ เป็นการดับแต่ต้นๆขบวน แต่ในความเป็นจริงนั้นขึ้นอยู่กับอวิชชา1และอาสวะกิเลส23โดยตรง  การที่เราเห็นหรือสังเกตุเห็น สังขาร 2 หรือความคิดที่เป็นทุกข์เก่าๆที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการเห็นที่ต้องเกิดการผัสสะ6 กับใจอันคือสฬายตนะ5แล้วเกิดวิญญาณ3และเวทนา7การรับรู้สิ่งที่มากระทบ(อารมณ์อันหมายถึง รูป เสียง ฯ.)ขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นที่กองธรรมนี้จึงเป็นสิ่งที่ไปดับโดยตรงไม่ได้, ขึ้นอยู่กับอวิชชาและอาสวะกิเลสที่ลดน้อยลง  จึงเป็นการเปล่าประโยชน์ที่จักพยายามกระทําโดยตรงต่อกองธรรมนี้         หมั่นพิจารณาเวทนา7ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง สิ่งใดเกิดแต่เหตุปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา         ข้อสําคัญการปฏิบัติในหลักพระพุทธศาสนานั้นต้องยอมรับในสภาวะธรรม(ชาติ)ว่า ทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์๕นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์หรือทุกข์อันบังเกิดแก่ใจอันเป็นทุกข์จริงๆ หรือ เหตุแห่งทุกข์นั้นยังคงมีอยู่แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น ซึ่งนักปฏิบัติใหม่ๆหรือผู้ที่ปฎิบัติแต่ทางสมถะจักไม่เข้าใจแก่นพุทธอันนี้ดีนัก และทําใจให้ยอมรับเข้าใจไม่ได้ว่า "เหตุแห่งทุกข์ยังคงมีอยู่"  หวังแต่ในทางปาฎิหาริย์ชนิดเป็นสุขดังเขาว่า เหนือกว่าเทวดา เหนือกว่าพรหม จนคิดว่าไม่มีสิ่งใดมากระทบได้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีโศรก ไม่มีโรคภัยใดๆมากราย  แต่ในความเป็นจริงแล้วมีครบหมดทุกอย่างแต่ไม่เป็นทุกข์ใดๆอันเกิดแก่ใจกับสิ่งต่างๆเหล่านั้น        * (สัญญา) 1 ก็คือ ความจําอันมาจากอาสวะกิเลสนั่นเอง (เป็นสัญญาจําชนิดที่มีกิเลสนอนเนื่อง)         พระอริยบุคคล ที่เป็นอรหันต์ยังคงดําเนินชีวิตอยู่ในขันธ์๕ อันมีสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง ทั้งทางกายทางใจตามขบวนการขันธ์๕ อันเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติแท้)ที่ทุกคนต้องมี  แต่ท่านจักไม่มีอุปาทานทุกข์อย่างปุถุชน  และความทุกข์ที่เราๆ ทั้งหลายกําลังประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน  โดยไม่รู้ตัวว่าเป็นอุปาทานทุกข์แต่ไปนึกกันเอาเองว่าเป็นทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์  เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในอุปาทานทุกข์หรือความทุกข์ในปฏิจสมุปบาท        ข้อสังเกตุ สังขาร = ธรรมารมณ์  อันล้วนต้องมีกระทบกับสฬายตนะเสียก่อน จึงเกิดเวทนาหรือสังขารขันธ์ขึ้นได้   จิตเดิมที่ปภัสสร แต่หมองเพราะกิเลสที่จรมา จิตที่หมองหม่น, หดหู่, ขุ่นมัว, หรือเศร้าหมองเพราะอาสวะกิเลสความจําอันเจือด้วยกิเลสเป็นปัจจัย  อันล้วนเกิดมาแต่ความเศร้าใจ(โสกะ), ครํ่าครวญ อาลัย รําพันในสุข(ปริเทวะ), ทุกข์ทางกาย(ทุกข์), ทุกข์อันเกิดแต่ใจ(โทมนัส), ความคับแค้นขุ่นข้องใจ(อุปายาส) อันเกิดมาจากความทุกข์และสุขทางโลกๆตามที่ได้เคยสั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติมา,  จึงได้ครอบงํา หมักหมม เป็น ตัณหา และ อุปาทาน ที่นอนเนื่องอยู่ในจิต ที่ท่านกล่าวว่าเป็น" อาสวะกิเลส"  อันเป็นปัจจัยซึ่งไปครอบงําจิตทําให้เกิด   การไม่รู้ตามความเป็นจริง, สติไม่รู้เท่าทัน ตามที่มันเกิด ตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ธรรมชาติ) อันคือ อวิชชา ความไม่รู้, ความไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริงแห่งธรรมในการดับทุกข์  อันเป็นปัจจัยที่ยังให้เกิด   สังขาร การกระทําทางกาย, วาจา หรือใจ(ความคิดนึก)ต่างๆ ตามที่ได้เคยสั่งสม อบรม เคยประพฤติ ปฏิบัติ เคยชิน มาแต่อดีต  อันเมื่อเกิดสังขารแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิด   วิญญาณ การรับรู้ใน "สังขาร" ดังกล่าว ที่ได้เกิดขึ้นมานั้นๆ   อันเป็นปัจจัยให้   นาม-รูป ครบองค์ประกอบของขันธ์๕ หรือชีวิต อันตื่นตัวพร้อมทํางานตามหน้าที่ของตน   อันย่อมเป็นปัจจัยทําให้   สฬายตนะ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนต่างๆของนาม-รูปตามธรรมชาติจึงตื่นตัวทํางานตามหน้าที่แห่งตน รับการกระทบสัมผัสใน รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส, ธรรมารมณ์(คิด,นึก) ที่กระทบนั้นๆ  อันย่อมเป็นปัจจัยให้เกิด   ผัสสะ การประจวบรวม(กระทบ)กันของปัจจัย ๓ อย่างอันมี  สังขารอันมีทางกาย,วาจา,ใจ + วิญญาณ + สฬายตนะ  ดังกล่าวข้างต้น อันล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วและพร้อมทําหน้าที่แห่งตน  จึงย่อมเป็นปัจจัยให้เกิด   เวทนา การเสวยอารมณ์(ความรู้สึกรับรู้สิ่งที่มากระทบสัมผัสเช่น ความคิด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พร้อมทั้งจําและเข้าใจขั้นพื้นฐานในสิ่งที่มากระทบนั้น)  อันเป็นสาเหตุปัจจัยหลักให้เกิด   ตัณหา ความรู้สึกทะยานอยาก,หรือไม่อยาก ต่อความรู้สึกรับรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสนั้นๆ(เวทนา)    ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิด   อุปาทาน ที่นอนเนื่องนั้น เกิดการทํางาน ในความยึดมั่น ถือมั่นที่จะสนองต่อความรู้สึกตัณหานั้น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในตน,ของตนเป็นหลัก  อันเป็นปัจจัยให้ต้องเลือก   ภพ การเลือกบทบาทหรือสภาวะ หรือการตกลงใจ(ในขณะจิต)ที่จะกระทําใดๆ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจแห่งตนนั้น จะได้รับการตอบสนองเยี่ยงใด  จึงเป็นปัจจัยให้เกิด   ชาติ การเกิดขึ้นของทุกข์ หรือการเริ่มกระทําทางกาย หรือทางวาจา หรือทางใจ ตามภพอันคือสภาวะหรือบทบาทที่ได้ตกลงใจเลือกโดยขาดสติเพราะถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทาน  ซึ่งย่อมเป็นปัจจัยให้มี   ชรา-มรณะ อันคือการแปรปรวน เปลี่ยนแปลง ไปๆมาๆ ของทุกข์ตามกฎอนิจจัง และการดับไปของทุกข์ในที่สุดตามกฎทุกขัง, แต่ก็ยังให้เกิด อาสวะกิเลส ตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิตใต้สํานึกอีกด้วย อันเป็นสิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมอง และนอนเนื่องหมักหมมอยู่ในจิต(ใต้สํานึก)สืบต่อไป   ชึ่งย่อมเป็นปัจจัยที่จักไปกระตุ้นให้เกิด   อวิชชา ความไม่รู้, ความไม่รุ้เท่าทัน ตามที่มันเกิด ตามความเป็นจริงของธรรม(ชาติ) ทําให้ตัณหา แล อุปาทานที่นอนเนื่องหมักหมมอยู่ในจิต กําเริบ เกิดทํางานขึ้นใหม่อีก    ชึ่งย่อมเป็นปัจจัยให้เกิด    สังขาร   วิญญาณ.......  เป็นวงจร วงจักรอุบาทที่ไม่วันจบสิ้น เวียนว่าย ตายเกิด อยู่ในสังสารวัฏ...........   อ่านรายละเอียดใน ปฏิจจสมุปบาท กระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์   ธรรมชาติของจิตและนํ้า (พิจารณาเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น)         จิตนั้นเปรียบประดุจดั่งนํ้า,         นํ้านั้นไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ,  จิตนั้นก็ไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมทุกชนิดที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ),         นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งเช่น H และ O,  จิตก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันมากหลายมาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง         นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก,  จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่าแต่ตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสมหรือกิเลสตัณหาแลอุปาทานนั่นเอง,         นํ้าไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูงได้เองฉันใด,  จิตก็ไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูงได้เองฉันนั้น         ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด,  จิตจักสูงขึ้นได้ ก็ย่อมต้องการ การพยายามปฏิบัติฉันนั้น,         การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องเช่นเครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง ย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด,  จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น,         ธรรมชาติของนํ้าเดือดพล่านเพราะไฟฉันใด,  จิตย่อมเดือดพล่านเพราะไฟของกิเลสตัณหาอุปาทานฉันนั้น         นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน,  จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง  หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน         ข้อสังเกตุ นักปฏิบัติที่เจริญก้าวหน้าแล้วหยุดหรือพอใจแค่นั้น จึงถูกธรรมชาติของจิตเล่นงาน ไหลลงตํ่ากลับลงสู่ความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้หรือตามแรงดึงดูดของกิเลสตัณหาอุปาทาน,  กลับคืนสู่สภาพเดิมๆในไม่ช้า         ลองโยนิโสมนสิการแบบสนุกๆดู,  บุคคลใดมีทรัพย์สมบัติมากมาย ไม่มีการงานให้ต้องทําหรือรับผิดชอบ มีความสุขทางโลกเต็มที่ ทําบุญครั้งละมากๆ  แต่มิได้ปฏิบัติ  ท่านว่าบุคคลนี้จักถูกธรรมชาติของจิตดึงดูดลงสู่ที่ตํ่าหรือไม่?         สังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ในชีวิตประจําวันนั้น ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากความเคยชิน คิดสั่งการใดแล้ว ก็จักกระทําไปตามความเคยชินหรือการเรียนรู้ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว แต่แยกไม่ออก จึงไม่รู้ว่าความเคยชินนี้แหละหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาทมีอิทธิพลเยี่ยงไร  ดังจะไปกินข้าว เพียงคิดขึ้นมาจะเกิดสังขารขันธ์ต่างๆหลายอย่างเช่นลุกขึ้น, เดิน, หาจาน ช้อน,ทานอาหาร อันเป็นการประพฤติปฏิบัติโดยอัติโนมัติไม่รู้ตัว เพราะอิทธิพลของความเคยชิน ที่ได้ประพฤติปฏิบัติ เรียนรู้ อันได้สั่งสมไว้ อันทํางานอยู่เบื้องหลังโดยไม่รู้ตัว ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติหลายๆท่านที่ปฏิบัติก้าวหน้าดีแล้ว จนจางคลายจากทุกข์ได้ผลตามควรแก่ตนแล้ว แต่หยุดปฏิบัติเพราะความพอใจแล้ว หรือหยุดเพราะฤทธิ์ของความเคยชินแล้ว จึงเกิดสภาพไหลลงสู่ที่ตํ่า กล่าวคือกลับสู่สภาพเดิมๆอันได้สั่งสมอบรมไว้เป็นเวลานาน  นี้แหละคือธรรมชาติของจิต   ดังนั้นความเพียรจนเกิดเป็นความเคยชินดังเช่นการปฏิบัติให้เห็นเวทนาและความคิด(จิต) จึงเป็นสิ่งจําเป็นควบคู่ไปกับความเข้าใจในสภาวะธรรม    ข้อคิดให้เห็นเป็นรูปธรรมในปกิจจสมุปบาท       จิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะอาสวะกิเลส  เปรียบประดุจดั่ง กองไฟ ตัณหาแลอุปาทานที่นอนเนื่อง(ยังคงมีในจิตแต่ยังไม่ทํางาน)ในอวิชชา  เปรียบประดุจดั่ง นํ้ามัน สังขาร(คิด)ที่สั่งสม อันเป็นทุกข์  เปรียบประดุจดั่ง สะเก็ดนํ้ามันที่เดือดพล่านกระเด็นออกมา     ถ้าเราพึงโหมไฟ(อาสวะกิเลส)ให้แรงขึ้น นํ้ามัน(อวิชชา)อันปกติราบเรียบสงบ จักมีการเดือดพล่าน แล้วกระเด็นออกมาเป็นสะเก็ดนํ้ามัน(สังขารคิด)อันเป็นของร้อน ซึ่งย่อมก่อทุกข์ กล่าวคือ ถูกที่ไหน สะดุ้งที่นั่น, ถูกที่ไหน ร้อนที่นั่น, ถูกที่ไหน พองที่นั่น.     จิตขุ่นมัวเศร้าหมองไปโหมกระพือให้ อวิชชาที่มีตัณหาแลอุปาทานที่นอนเนื่องกลายเป็นของร้อนเดือดพล่านขึ้นมาเป็นสังขาร(คิด)ที่สั่งสมไว้ อันเป็นของร้อนเช่นกัน แล้วย่อมเป็นไปตามวงจรแห่งทุกข์ " ปฏิจจสมุปบาท "....ฯลฯ.   ธรรมข้อคิด บางประการของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม" บันทึกโดย พระโพธินันทะมุนี (สมศักดิ์ ปฺณฑิโต) รวบรวมและเรียบเรียงโดย รศ. ดร.ปฐม นิคมานนท์         ผู้เขียนเห็นว่าธรรมข้อคิดของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระอริยสงฆ์ ได้แฝงไว้ด้วยแก่นธรรมที่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะแก่นธรรมปฏิจจสมุปบาท, อริยสัจ และขันธ์๕ มีคุณประโยชน์มากแก่ผู้ที่มีพื้นฐานทางธรรมอย่างแท้จริง แต่อาจจะยากเกินเข้าใจสําหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานในธรรม เพราะผู้เขียนเองใช้เวลาเกือบ๒ปีเพราะในครั้งแรกคิดว่าเข้าใจดีแล้ว, จึงจักพอเข้าใจในธรรมที่ท่านได้สั่งสอน จึงได้พยายามอธิบายความหมายตามความเห็นตามเข้าใจของผู้เขียน เพื่อยังประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย จึงอาจมีความผิดพลาดบางประการ ก็ต้องกราบขออภัยต่อท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล, ท่านผู้บันทึก และท่านผู้รวบรวมเรียบเรียงหนังสือนี้ด้วย, เพราะผู้เขียนกระทําด้วยกุศลจิต และเรานักปฏิบัติต้องโยนิโสมนสิการด้วยตัวเองอีก จึงจักเกิดประโยชน์บริบูรณ์ ในคําสอนของท่านที่ได้บันทึกไว้เป็นประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง   "คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้"  (น.๔๕๖) ผู้เขียน-คําอธิบายที่ปรากฏต่อจากข้อธรรมทั้งหลายคือคําอธิบายของผู้เขียน เป็นความเข้าใจของผู้เขียนต่อข้อธรรมของท่าน ท่านต้องพิจารณาโยนิโสมนสิการเองว่าถูกต้องหรือไม่ อย่าได้เชื่องมงาย ควรใช้หลักกาลามสูตร หลวงปู่หมายถึง คิดนึกปรุงแต่งเท่าไรๆก็ไม่รู้นิโรธ ต่อเมื่อหยุดคิดนึกปรุงแต่งได้จึงรู้จักสภาวะนิโรธ  แต่ก็ต้องอาศัยคิดในขันธ์๕ไปคิดพิจารณาในธรรม(ธัมมะวิจยะในสัมโพชฌงค์๗, หรือ ธรรมานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔)นั่นแหละ จึงจะรู้จึงจะเข้าใจ (เพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง พิจารณาเปรียบเทียบกับวงจรปฏิจจสมุปบาท คิดนึกปรุงแต่งคือหมายเลข 22 และรวมถึงหมายเลข 24 ในภาพขยายด้านล่าง)   เกี่ยวกับนิมิต "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง"  (น.๔๕๔) ผู้เขียน-เขาเห็นนิมิตในความรู้สึกรับรู้ของเขาจริงๆ ไม่ได้โกหกหรือหลอกลวง, เพียงแต่สิ่งที่เห็นไม่ได้เป็นความจริง จึงอย่าไปอยาก อย่าไปยึด, แต่ในบางครั้งเป็นจริงได้ตามสภาวะธรรมชาติเหมือนความคิดของเราที่ถูกบ้างผิดบ้าง เพราะตามจริงแล้วสิ่งที่เห็นนั้นก็คือความคิดของเราที่ถูกฝึก ปฏิบัติจนสามารถบังคับหรือปั้นเป็นจินตภาพ(ภาพ)ตามความคิดหรือความรู้สึกของเราเป็นส่วนใหญ่, ดังนั้นจึงอย่าไปยึดไปอยาก เพราะจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสอันนําไปสู่ทุกข์ในที่สุด   "ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕, แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท, หยุดการปรุงแต่ง, หยุดการแสวงหา, หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล"  (น.๕๐๖) ผู้เขียน-หยุดการปรุงแต่งคือหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันทําให้เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้มีตัณหา(รายละเอียดคิดนึกปรุงแต่งหมายเลข22และ14ในบทวงจร), หยุดการแสวงหาคือหยุดอยากหรือหยุดตัณหา, หยุดกริยาจิตคือหยุดอาการของจิตคือหยุดจิตสังขารหรือคิดนึกปรุงแต่ง อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕นั่นเอง   "เวทนากับร่างกายนั้นมีอยู่ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย"   (น.๕๐๔) ผู้เขียน-เวทนาทางกายเจ็บปวดเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดไปห้ามได้ดังพุทธพจน์ที่ได้กล่าวไปแล้วในบทก่อนๆ แต่ไม่เสวย(ผลอันเนื่องจาก)เวทนาทางใจ คือไม่เอาเวทนาทางใจที่เกิดร่วมด้วยไปคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดตัณหาในเรื่องเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นนั้น จึงไม่เป็นทุกข์อุปาทานขันธ์๕(ทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจ) หรือก็คือไม่ไปยึด,ไม่ไปอยากหรือไม่อยากในเวทนาที่เกิดขึ้นนั่นเอง   "การฝึกจิต การพิจารณาจิตเป็นวิธีลัดที่สุด"   (น.๕๐๕)   มีผู้เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า "ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม?" หลวงปู่ตอบสั้นๆว่า "มี แต่ไม่เอา"   (น.๔๖๑) ผู้เขียน- หลวงปู่ตอบตามความสัตย์ว่า มี แต่หมายถึงมีตามธรรมชาติของขันธ์๕ไปถึงเวทนาความรู้สึกไม่สบาย,ไม่ชอบ  มาสิ้นสุดที่สังขารขันธ์เป็นความคิดโทสะ-ความโกรธ ครบขันธ์๕ตามธรรมชาติหรือตามสภาวะธรรม, มีความโกรธ,ไม่พอใจ, ไม่ถูกใจอันเป็นสังขารขันธ์สภาวะธรรม(ชาติ)ปกติธรรมดาที่เกิดขึ้น อันเป็นเรื่องของสังขารขันธ์อันไปรับรู้และตอบสนองเวทนาอันเป็นขบวนการธรรมชาติธรรมดาๆ  อันพึงมีทั้งองค์อรหันต์และปุถุชน,  แต่ไม่เอา ท่านหมายถึงไม่เอามาคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดตัณหาอีก มันก็จบลงเพียงเท่านั้น คือเกิดชั่วขณะในขบวนการขันธ์๕แล้วดับไป อุปมาดั่งท่านตีแขนตัวเองแรงๆ แล้วสังเกตุดูให้ดีดังนี้  ความรู้สึกรับรู้ความเจ็บเกิดขึ้น  ความรู้สึกรับรู้ความเจ็บตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ความรู้สึกรับรู้ความเจ็บดับไป,  ดังนั้นการคิดนึกปรุงแต่งอันมักจะเกิดอย่างต่อเนื่อง(หลายๆความคิดนึกปรุงแต่งนั่นเอง) และแต่ละคิดนึกปรุงแต่งเป็นขันธ์๕กระบวนการหนึ่ง อันย่อมยังให้เกิดเวทนาตามความคิดนึกปรุงแต่งแต่ละครั้ง อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นนั้นได้ อันยังให้เกิดอุปาทาน, อันจักยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์,  เมื่อไม่เอาไปคิดนึกปรุงแต่ง จึงไม่เกิดอุปาทานทุกข์ใดๆตามหลักปฏิจจสมุปบาท,  ดังนั้นถ้าขยายคําตอบของหลวงปู่ออกมาน่าจะเป็นดังนี้ "มีโกรธ แต่ไม่เอาไปคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดตัณหาให้ยืดยาวจนเป็นทุกข์จากอุปาทานขันธ์๕"(ดูในบท วงจร หมายเลข 22 อันคือคิดนึกปรุงแต่งอันไปยังให้เกิดขันธ์๕ขึ้นอีก จนอาจเกิดตัณหาขึ้นได้จากเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งนั้น)     ท่านลองโยนิโสมนสิการอย่างแยบคายจริงๆในการตีแขนแรงๆ,  การตีแขนเป็นอาการขันธ์๕ ชนิดหนึ่ง คือ กายนอกที่ตี+กระทบผัสสะกับ+กายในอันรับรู้ความรู้สึก  อันทํางานเช่นเดียวกับ คิดหรือธรรมารมณ์(ใจ)+กระทบผัสสะกับ+ใจที่รับรู้     เมื่อเราตีลงไป ความรู้สึกเจ็บเกิดขึ้น  และยังตั้งอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่งเป็นธรรมชาติ ถ้าเราหยุดตีเสีย ก็จะดับไปในไม่ช้าถ้าเราไม่ไปตีอีกโดยเฉพาะถ้าตีซํ้าๆกัน  ซึ่งเป็นอาการเดียวกันกับความทุกข์อันเกิดแต่ความคิดนึกปรุงแต่งที่ต่อเนื่องกันจนดูเหมือนเป็นสายธารแห่งความทุกข์อันรุนแรงและยาวนาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตามปรมัตถธรรมมันเกิดดับๆๆ แต่เพราะความไม่รู้จึงปล่อยให้มันเกิดดับๆๆ...อย่างต่อเนื่องจนแยกไม่ออกดูประหนึ่งว่าเป็นชิ้นหรือมวลเดียวกัน จึงไม่รู้ว่ามันอยู่ใต้อํานาจของธรรม(ชาติ)ของพระไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตนเป็นแก่นแกนอย่างแท้จริงตลอดไป   อีกครั้งหนึ่ง มีผู้เรียนถามหลวงปู่เรื่องการละกิเลส "หลวงปู่ครับทําอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้"     หลวงปู่ตอบว่า     "ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน......     เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง."    (น.๔๖๒) ผู้เขียน-คือมีโกรธตามขันธ์๕ อันเป็นสภาวะธรรมชาติเพราะเกิดเวทนาแล้วเกิดสังขารขันธ์ทางใจหรือจิตสังขารเป็นความโกรธ(โทสะ)ซึ่งเป็นเจตนาทางมโนสังขารหรือจิตสังขารที่ตอบสนองต่อเวทนาที่เกิด, มี แต่รู้ทัน(มีสติ) แล้วไม่คิดนึกปรุงแต่ง(หมายเลข22)อันเปิดโอกาสให้เกิดตัณหา, มันก็จักเป็นทุกข์อุปาทานไม่ได้ แล้วมันก็ดับไปเองตามธรรม(ชาติ)"   อย่างที่พูดในหลักวิชาการเรียนทางศาสนาว่า ศีล สมาธิ ปํญญา  ที่ว่าศีลทําให้เกิดอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ฉนั้น พลังจิตที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงหลังจากเกิดสมาธินั้น หมายถึงว่า จิตนั้นจะยกสภาวะธรรมขึ้นมาพิจารณาไตร่ตรองให้เกิดวิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาแล้ว ปัญญานั้นก็จะแจ่มแจ้งดีกว่าจิตที่ไม่เกิดสมาธิ หรือจิตที่ไม่มีสมาธิ    (น.๒๒๒)   มีผู้กราบเรียนถามหลวงปู่เรื่องการไว้ทุกข์ หลวงปู่ตอบว่า "ทุกข์ ต้องกําหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปไว้มันทําไม"   (น.๔๖๔) ผู้เขียน-หลวงปู่อธิบายกิจญาณหรือกิจอันควรกระทําต่ออริยสัจ๔ คือ ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรธทําให้แจ้ง มรรคให้ปฏิบัติ, คือเมื่อรู้ทุกข์แล้ว ก็ให้ละเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย(ไม่ใช่ละทุกข์หรือผลอันเกิดขึ้นแล้ว อันเพียงทําได้แค่รู้)   มีผู้อวดอ้างของวิเศษจากสัตว์ต่างๆนาๆ แล้วเรียนถามหลวงปู่ว่าอันไหนวิเศษกว่ากัน หลวงปู่ตอบว่า "ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน"   (น.๔๖๕) ผู้เขียน-หลวงปู่กล่าวตามความเป็นจริงแห่งธรรม ไม่สนับสนุนเพราะเป็นสีลัพพตุปรามาส คือยึดมั่นในศีลและข้อวัตรปฏิบัติอย่างผิดๆ งมงาย   "เมื่อตาเห็นรูปแล้ว รู้ว่าสวยงาม หรือน่ารังเกียจอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้ เมื่อหูได้ยินเสียง รู้ว่าไพเราะ หรือน่ารําคาญอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้ เมื่อลิ้นได้ลิ้มรส รู้ว่าอร่อย หรือไม่อร่อย เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้ เมื่อจมูกได้กลิ่น หอมหรือเหม็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้ เมื่อกายสัมผัสโผฎฐัพพะ รู้ว่าอ่อนแข็งเป็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้"   (น.๒๑๘) ผู้เขียน-หลวงปู่ท่านพูดเกี่ยวกับขันธ์๕ เช่นเมื่อตากระทบรูปย่อมเกิดเวทนาขึ้น เป็นสุขเวทนาหรือทุกข์เวทนาคือชอบหรือไม่ชอบหรือเฉยๆ แล้วเกิดขบวนการสรุปในที่สุดเป็นสังขารทางใจหรือมโนสังขารคือความคิดว่ารูปนั้น สวยงามหรือน่ารังเกียจ เป็นผลของขบวนการขันธ์๕ออกมาแล้วหลวงปู่กล่าวสอนต่อว่า"แล้วก็หยุดเพียงเท่านี้" หมายถึงหยุดคิดนึกปรุงแต่งนั่นเอง(คิดปรุงแต่งนั่นแหละจะก่อให้เกิดตัณหา)มันก็จะไม่เป็นทุกข์ เป็นแค่ขันธ์๕ไว้ใช้งานธรรมดาๆ หรือเป็นการปฏิบัติตามคําที่กล่าวว่า "เห็นสักแต่ว่าเห็น หรือ ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน" ไม่ใช่เห็นหรือได้ยินแล้วต้องเฉยๆไม่มีความรู้สึกรู้สา ซึ่งเป็นการกดข่ม  เห็น,ได้ยินแล้วรับรู้ตามความเป็นจริงแล้วไม่คิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดตัณหา จึงเป็นการถูกต้อง(หมายเลข22ในวงจรคือ คิดนึกปรุงแต่งนี้หรือตัวที่จะทําให้เกิดตัณหา)     กล่าวได้ว่า ตัณหาที่เกิดนั้นไม่ได้เกิดจากความคิดหรือสังขารขันธ์แรก แต่เกิดจากเวทนาของความคิด(นึกปรุงแต่ง)ที่เกิดขึ้นตามหลังมาเรื่อยๆ  หลวงปู่จึงมักกล่าวอยู่เสมอๆว่าอย่าส่งจิตออกนอก(ไปคิดนึกปรุงแต่ง) หรือก็คือวางใจเป็นอุเบกขาเป็นกลางวางเฉย,วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งฝ่ายดีหรือชั่ว(ไม่ดี) เพราะล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เพราะจะยังให้เกิดทุกข์ขึ้นได้   อันเกิดขึ้นดังรายระเอียดต่อไปนี้     ลองดูขบวนการของขันธ์๕ ที่เกิดขึ้นตามที่หลวงปู่กล่าว  จะแสดงการเกิดตัณหาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย  ดังนี้ (ถ้าต้องการดูรูปประกอบ ให้คลิกดูที่หมายเลข8ในวงจร) ตา + รูป + วิญญาณตา ผัสสะ >>> สัญญาจํา >>> เวทนา(ชอบ,ไม่ชอบ) >>> สัญญาหมายรู้ >>> วิญญาณ-ใจรับรู้ >>> สังขารทางใจ ออกมาว่า "สวย"หรือ "น่ารังเกียจ" และ + หยุดการคิด(นึกปรุงแต่ง)ที่จักเกิดขึ้นต่อจากนั้น   เพราะถ้ามีการคิด(นึกปรุงแต่ง)ดําเนินต่อไปอีก ก็คือความคิดที่เป็นขันธ์๕ ที่เกิดขึ้นใหม่อีก อันย่อมบังเกิดเวทนาควบคู่มาด้วยเป็นธรรมชาติ และบางเวทนาจากความคิดนึกปรุงแต่งนี้แหละที่อาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา  นี่คือสิ่งที่ท่านหลวงปู่ดูลย์แนะนําให้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทและความเข้าใจขันธ์๕,  ตรงนี้สําคัญมากเพราะมักมองไม่ออกว่าเพราะเวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดตัณหาขึ้น  ไม่ใช่จากสังขารขันธ์เช่นความสวยหรือความคิดโดยตรงๆ แต่จากเวทนาความรับรู้ความรู้สึกและความจําได้อันร่วมกันเป็นเวทนา  ลองสังเกตุวงจรแบบไม่ขยายรายละเอียด จะเห็นตัณหาที่เกิดจากเวทนาหรือเข้ากระทําต่อเวทนาที่เกิดจากความคิด(นึกปรุงแต่ง)ชัดแจ้งขึ้น ใจ+คิดนึกปรุงแต่ง+วิญญาณ ผัสสะ >>>เวทนา + ตัณหา >>> อุปาทาน >>> ภพ >>> ชาติอันคืออุปาทานสัญญา >>>อุปาทานสังขารคิดที่เป็นทุกข์ และแม้แต่เป็นทุกข์แล้วแบบนี้ก็ต้องหยุดคิด(นึกปรุงแต่ง)เช่นกัน คือคิดนึกปรุงแต่งแต่ที่หมายเลข14 ( ภาพขยายของ 14 )ในวงจร อันเป็นอุปาทานขันธ์๕ที่เกิดๆดับๆ วนเวียนอยู่นั่นเอง   หลักธรรมที่หลวงปู่ใช้พิจารณาคือ "สัพเพสังขารา สัพพะสัญญา อนัตตา" ซึ่งมีคําขยายความในหนังสือหน้า๔๔ ดังนี้ "เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว ความเป็นตัวตนจักไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดไป สภาพแห่งการเป็นตัวตนไม่มี ความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร"   (น.๔๓) ผู้เขียน-เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ คือเมื่อเกิดเวทนาแล้ว ย่อมต้องเกิดสังขารขันธ์อันเป็นผลออกมาในที่สุด  แล้วไม่คิดปรุงแต่งจึงยังให้ไม่เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้ไม่เกิดตัณหา จึงไม่เกิดอุปาทานความเป็นตัวตนหรือตัวกูของกู ตัวตนหรืออุปาทานก็จักเกิดไม่ได้นั่นเอง, ดังนั้นความเป็นตัวตนจักไม่มี คือไม่มีความเป็นตัวกู,ของกูหรือตัวตนของอุปาทาน "เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง"คือไม่ปรุงแต่งตัณหาหรือคิดนึกปรุงแต่งนั่นแล ตัวตนอุปาทานจึงไม่เกิดหรือดับ ทุกข์จึงบังเกิดขึ้นไม่ได้(อุปาทานขันธ์๕ที่เกิดในชาติ-ชรามรณะนั่นเอง)   มีผู้เรียนถามหลวงปู่ "พระอรหันต์ท่านเคยนอนหลับฝันเหมือนคนธรรมดาด้วยหรือเปล่าครับ " ท่านตอบว่า "การหลับแล้วเกิดฝัน เป็นเรื่องของสังขารขันธ์ไม่ใช่หรือ"    (น.๕๐๒) ผู้เขียน-ในเมื่อเป็นเรื่องสังขารขันธ์ ก็เป็นปรากฎการณ์ตามธรรมชาติปกติของขันธ์๕ คือ"ฝัน" เพราะขันธ์๕ ประกอบกันเป็นชีวิตและทํางานประสานกันในการดําเนินชีวิตอันปกติ มีในอริยะบุคคลและปุถุชนเช่นกัน แค่เวทนาและสังขารขันธ์ที่เกิดหนักเบาหมดจดต่างกัน   "เรื่องพิธีกรรม หรือบุญกริยาวัตถุต่างๆทั้งหลาย ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยังให้เกิดกุศลได้อยู่   หากแต่ว่าสําหรับนักปฏิบัติแล้ว อาจถือได้ว่าเป็นไปเพื่อกุศลเพียงนิดหน่อยเท่านั้นเอง. (น.๕๐๐)   หลวงปู่อาพาธหนักอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ มีผู้เข้าเยี่ยมแล้วเรียนถามหลวงปู่ "หลวงปู่ยังมีเวทนาอยู่หรือ" หลวงปู่ตอบว่า "เวทนากับร่างกาย มีอยู่ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย"    (น.๕๐๔)  ผู้เขียน-หลวงปู่หมายถึงเวทนาที่เกิดกับกายนั้น จริงๆแล้วก็เป็นสภาวะธรรม(ชาติ)นั่นเอง รับรู้ความรู้สึกหรือเวทนาเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติเหมือนปุถุชน เพียงแต่ท่านไม่เสวย(ผลอันเนื่องจาก)เวทนา กล่าวคือไม่ไปยึดเวทนาหรือความรู้สึกนั้น หรือไม่มีความอยาก หรือไม่อยากในเวทนานั้น อันเป็นผลให้ไม่เกิดทุกข์แก่ใจ หรือไม่เสวยผลของเวทนานั้นทางใจนั่นเอง กล่าวคือเจ็บนั้นเจ็บอยู่แต่ไม่เป็นทุกข์ ไม่กระวนกระวาย ซึ่งปุถุชนทั่วไปฟังแล้วอาจรู้สึกประหลาดหรือไม่เข้าใจ   เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไร ก็ให้หยุดอยู่แค่นั้น, อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง, อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงามให้จิตได้โอกาสก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป อย่าไปใส่ใจอีกต่อไป พอกันเพียงรู้อารมณ์เท่านี้เอง หยุดกันเพียงเท่านี้"  (น.๒๒๐) ผู้เขียน-คือเกิดขันธ์๕เป็นปกติ คือจิตเกิดเวทนา(กระทบกับอารมณ์ภายนอก)อย่างไรก็ตาม ให้หยุดตัณหา อันมักไหลเลื่อนมากับนึกคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆ ยิ่งคิดปรุงแต่งยืดยาวเท่าไร ตัณหาก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้น(หมายเลข22 และ14ในวงจร ซึ่งยิ่งคิดปรุงแต่งมากเท่าใดอันล้วนเป็นขันธ์๕ทั้งสิ้น โดยเฉพาะใน14 เป็นอุปาทานขันธ์๕แล้ว คิดวนเวียนเกิดๆดับๆในทุกข์นั้น ให้ยิ่งมากขึ้นไปอืก) อันย่อมต้องเกิดเวทนาร่วมด้วยทุกครั้งทุกที อันหมายถึงเป็นการเปิดโอกาสให้อาจจะมีตัณหาเกิดขึ้นได้ทุกครั้งเช่นกันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทในข้อธรรมที่ว่า "เวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา"   จิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ กระทําสิ่งภายนอก ให้มี ให้เป็น ให้เลว ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา,  กิเลสปรุงจิต คือการที่สิ่งภายนอกเข้ามาทําให้จิตเป็นไปตามอํานาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่  สําคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป     (น. ๔๘๒) ผู้เขียน-จิตปรุงกิเลส หลวงปู่หมายถึงการที่กิเลสตัณหาเกิดขึ้นเพราะจิตเกิด "สังขารคิด"(ที่สั่งสมไว้ตามหลักปฏิจจสมุปบาท.)อันยังให้เกิดทุกข์หรือจิตนึกคิดขึ้นมาเป็นมูลเหตุเบื้องต้น,  และกิเลสปรุงจิตคือกิเลสทุกข์ที่มีเหตุเกิดทาง "สฬายตนะ"เป็นมูลเหตุ อันคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันไปกระทบผัสสะกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์โดยตรง   อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน (ในวงจรปฏิจจสมุปบาท, จิตปรุงกิเลส-เกิดจากหมายเลข 2, กิเลสปรุงจิต-เกิดจากหมายเลข 5 )   .......แท้จริงแล้วความทุกข์ร้อนวุ่นวายใจ มักเกิดจากสิ่งภายในใจเราทั้งสิ้น คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน มันก่อขึ้นภายในใจ จนต้องดิ้นรนอย่างน่าเวทนายิ่ง   (น.๕๖) ผู้เขียน-นี่แหละคืออาการ"จิตปรุงกิเลส"วุ่นวายใจก็คือสังขารคิดในปฏิจจสมุปบาท แล้วเกิดตัณหาอุปาทานไปตามธรรม   มีไฟไหม้ใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ผลคือความทุกข์ยากสูญเสีย บางคนเสียใจจนเสียสติ บางรายก็มาลําเลิกให้หลวงปู่ฟังว่า อุตส่าห์ทําบุญเข้าวัด ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ทําไมบุญกุศลจึงไม่ช่วยคุ้มครอง และหลายรายเลิกเข้าวัดทําบุญ เพราะธรรมะไม่ช่วยให้เขาพ้นจากไฟไหม้ หลวงปู่ได้กล่าวว่า"ไฟมันทําตามหน้าที่ของมัน  ธรรมะไม่ได้ช่วยใครในลักษณะนั้น หมายความว่า ความอันตรธาน ความวิบัติ ความเสื่อมสลาย ความพลัดพรากจากกัน สิ่งเหล่านี้มันมีประจําโลกอยู่แล้ว ทีนี้ผู้มีธรรมะ ผู้ปฏิบัติธรรมะเมื่อประสบกับภาวะเช่นนั้นแล้ว จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้ต่างหาก ไม่ใช่ธรรมะช่วยไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย ไม่ให้หิว ไม่ให้ไฟไหม้ ไม่ใช่อย่างนั้น."   (น.๔๙๘) ผู้เขียน-นี่แหละสีลัพพตปรามาสคือยึดมั่นในศีลและข้อปฏิบัติแบบผิดๆ ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติแม้ตัวผู้เขียนเองก็เคยมีความรู้สึกเยี่ยงนี้อย่างรุนแรงในความหวังแบบ "สีลัพพตปรามาส"แบบนี้มาโดยตลอด โดยหวังว่าบุญกุศลใดๆที่กระทําจักมาช่วยในการแก้เหตุแห่งทุกข์ในทางโลกๆนั้นโดยตรงๆ เช่นยากจนก็ขอให้รวย,เจ็บป่วยก็ขอให้หาย,ให้สุขสบายด้วยทรัพย์สินเงินทอง, ไม่มีทุกข์, ไม่มีโศก, หายโรค, ไม่มีภัย ไม่มีเคราะห์ อันล้วนเป็นความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)และยอมรับความเป็นจริงในไตรลักษณ์ ในความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากไปยึด เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนเป็นแก่นสารสาระเพราะล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย, เราต้องปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง "เหตุของทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น "คือเหตุที่ทําให้เกิดทุกข์มีอยู่จริงเพราะเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ), แต่จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ คือดับทุกข์ที่เกิดแต่ใจหรือก็คืออุปาทานทุกข์นั่นเองตามที่พระพุทธองค์ทรงพรํ่าสั่งสอน จึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงจักก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม และก็อย่าลืม "เหตุของทุกข์ "หรือเหตุปัจจัยที่ทําให้เกิดนั้น ก็อยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์เช่นกัน มีความไม่เที่ยงแปรปรวนและก็ต้องดับไปเช่นกันในที่สุด และต้องมีความเข้าใจสภาวะธรรม(ชาติ)ว่า ทุกข์จากขันธ์๕(เวทนา)อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)ยังคงมีอยู่ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์ ลองพิจารณา "ไฟก็ทําตามหน้าที่ของมัน" ที่หลวงปู่กล่าวนั้น เป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆ   ส่วนผู้ที่ประสบภัยพิบัติ หรือผู้ที่ตกในสภาวะอับจน ก็ไม่ควรหมดอาลัยตายอยากควรทําจิตใจให้สงบระงับตั้งมั่นอยู่ ก็จะค่อยๆหาทางออกให้แก่ตนได้ เพราะปัญหาทุกอย่างที่ไม่มีทางออกทางแก้ย่อมไม่มีในโลก ดูเอาเถอะว่า แม้แต่ปัญหาเรื่องความทุกข์ อันเกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธองค์ก็ยังหาคําตอบไว้ให้ได้ สําหรับปัญหาอื่นๆ อันเล็กน้อยจะไม่มีคําตอบได้อย่างไร   (น.๑๔๑) ผู้เขียน-เมื่อเป็นทุกข์ เรามักลืมว่าเหตุแห่งทุกข์ เช่น ภัยพิบัติ สภาวะอับจน สภาวะหมดหวังก็อยู่ภายใต้อํานาจพระไตรลักษณ์ จึงควรทําความสงบระงับตั้งมั่นไว้ดั่งหลวงปู่สั่งสอนแล้วก็จักค่อยๆคลี่คลายไปในที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์เผาลนใจ   ดังคําของพระอริยะเจ้าที่กล่าวไว้ว่า ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น  ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่  ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป   ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา  เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ (น.๔๖๙) ผู้เขียน-สติ ตัวรู้ คือสิ่งเดียวกัน และให้มันต่อเนื่อง อันคือสัมมาสมาธินั่นเอง   ดังนั้นตัวรู้นั้นท่านหมายถึงสติ  และให้เป็นสัมมาสมาธิคือให้มันมีความต่อเนื่องกันไปตลอด,  และผู้เขียนขอให้ระวัง "ผู้รู้ ตัวรู้ หรือ ธาตุรู้ " ที่จักเกิดเป็นตัวตน อันเกิดจากการอุปโลกของจิต คือเกิดจากการไปยึดไปหลงสติหรือตัวรู้ ธาตุรู้หรือการเห็นคิดซ้อนคิด หรือสติเห็นคิด นั้น  ทําให้เกิดภาวะเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา อันเป็นการยึดมั่นถือมั่นในตัวในตนหนักเข้าไปอีก  อันผิดหลักในการปฏิบัติที่ให้ "นําออก และ ละ เสียซึ่งความเป็นตัวเป็นตน" กลับไปสร้างตัวตนให้ยึดมั่น ถือมั่น เชื่อมั่น ขึ้นมาอีกตัวตนหนึ่งซึ่งมีอํานาจมากในอันที่จะชักจูงจิตให้ออกนอกลู่ผิดทาง อันยังให้ง่ายต่อการเกิดสีลัพพตุปาทาน และวิปัสสนูปกิเลส   อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์(สนองอารมณ์) ผู้เขียน- เป็นคําสอนและคติธรรมของหลวงปู่ที่กล่าวกันอยู่เนืองๆ และเป็นแก่นหลักสําคัญในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ แต่ควรมีความเข้าใจทึ่ถูกต้องจึงจักสําเร็จผลสมดั่งคําสอนของหลวงปู่, อันท่านหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์ หรือก็คือไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง  เพราะทุกๆความคิดนึกปรุงแต่งอันคือความคิดที่ฟุ่มเฟือยเกินจําเป็น, อันเป็นขันธ์๕อย่างหนึ่งซึ่งย่อมต้องเกิดเวทนาหรือการเสวยอารมณ์ร่วมด้วยทุกๆความคิดที่ปรุงแต่ง  อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท, จึงทําให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวจากความคิดนึกปรุงแต่งนั้นๆ,  จิตไม่ส่งออกนอกในความหมายของท่านจึงหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกเพื่อไม่ไปกระทบในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมมารมณ์หรือความคิด อันล้วนแต่ให้เกิดคิดนึกปรุงแต่ง  หรือก็คือหยุดคิดนึกปรุงแต่ง, หรือให้อยู่ที่สติหรือการฝึกสติ ดังเช่นกายานุปัสสนา(พิจารณากาย,ลมหายใจ), เวทนานุปัสสนา(เห็นเวทนา), จิตตานุปัสสนา(จิตเห็นจิตหรือความคิด) หรือธรรมานุปัสสนาหรือธรรมะวิจยะ(การพิจารณาธรรม)ก็ได้ อันล้วนเป็นการปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน๔ในชีวิตประจําวันนั่นเอง,  การพิจารณาธรรมไม่ใช่ความคิดที่ส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง, เป็นความคิดที่มีคุณประโยชน์จําเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดสัมมาญาณ อันยังให้เกิดสัมมาวิมุติ-สุขจากการหลุดพ้น,   ต้องไม่ใช่ไปอยู่กับผลของสมาธิคือจิตไม่ส่งออกนอกแต่ไปคอยจดจ้องหรือยึดความเบากาย เบาใจ ภายในกายหรือจิตของตนเองอันเกิดจากผลของสมาธิ อันเป็นการเข้าใจผิด, แยกแยะให้ดีด้วย เพราะมีความฉิวเฉียดต่างกันเพียงน้อยนิด แต่ผลออกมาต่างกันราวฟ้ากับดิน อันแรกก่อให้เกิดสัมมาญาณอันจักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ, แต่อันหลังก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษอย่างรุนแรงในภายหลัง          หรืออาจกล่าวได้ว่า อย่าส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะคิดนึกปรุงแต่งคือเกิดขันธ์๕ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์ นั่นเอง   มีผู้ไปกราบเรียนกับหลวงปู่เรื่องงานที่มีการจัดกันบ่อยๆใกล้วัดว่ารบกวนการปฏิบัติ ท่านได้ตอบดังนี้"มัวสนใจอะไรกับสิ่งเหล่านั้น  ธรรมดาแสงย่อมสว่าง  ธรรมดาเสียงย่อมดัง  หน้าที่ของมันเป็นเช่นนั้นเอง  เราไม่ใส่ใจฟังเสียก็หมดเรื่อง  จงทําตัวเราไม่ให้เป็นปฏิปักษ์กับสิ่งแวดล้อม  เพราะมันมีอยู่อย่างนี้  เป็นอยู่อย่างนี้เอง  เพียงแต่ทําความเข้าใจกับมันให้ถ่องแท้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งเท่านั้นเอง"    (น. ๔๙๓)   "คําสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั่น  เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง  คําสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย  แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน  การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก  หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจักหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้  แล้วเราจะหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน  เพื่อที่จะพบธรรมอันเดียวกันนี้  ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้พ้นทุกข์เสีย  มิฉนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป  เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงําปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน"  (น.๔๗๙) ผู้เขียน-เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหนก็ตาม ล้วนเป็นธรรมเดียวกันทั้งสิ้น เพราะตั้งอยู่ตามความเป็นจริงของกฎธรรมชาติขั้นปรมัตถ์คือสูงสุดแล้วนั่นเอง   มีผู้ไปกราบเรียนหลวงปู่เรื่องสมาธิว่าปฏิบัติได้ดีอย่างยิ่ง  เหลือแต่ความสุข สุขอย่างยิ่ง เย็นสบาย แม้จะให้อยู่อย่างนี้นานเท่าไรก็ได้     หลวงปู่ยิ้มแล้วพูด     "เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล  พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ  จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้  แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น  มันก็ได้แค่นั้นแหละยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน  ให้ละสุขนั้นเสียก่อน  แล้วพิจารณาขันธ์๕ให้แจ่มแจ้งต่อไป"    (น. ๔๙๕)   มีผู้เรียนถามถึงเรื่องหยุดคิด หยุดนึก     หลวงปู่บอกว่า     "ก็แสดงถึงความผิดพลาดอยู่แล้ว  เพราะบอกให้หยุดคิดหยุดนึก  ก็กลับไปคิดที่จะหยุดคิดนั่นเสียอีกเล่า  แล้วอาการหยุดจักอุบัติขึ้นได้อย่างไร  จงกําจัดอวิชชาแห่งการหยุดคิดหยุดนึกเสียให้สิ้นเลิกล้มความคิดที่จะหยุดคิดเสียก็สิ้นเรื่อง" ผู้เขียน - รู้เท่าทันตามความเป็นจริงแห่งธรรมแล้วหยุดคิดหยุดนึกปรุงแต่งดื้อๆนี่แหละคือสิ่งที่หลวงปู่หมายถึง คือไม่ต้องหาเหตุมาปลอบจิต ไม่เออออ ไม่คล้อยตาม ไม่ผลักไส แม้กระทั่งไม่คิดไปยึดว่าถูกหรือผิด  ดีหรือชั่ว บุญหรือบาป เพราะล้วนแล้วแต่เป็นคิดนึกปรุงแต่งได้ทั้งสิ้น,  แต่ขอเน้นสักนิดว่าหยุดคิดหยุดนึกหลวงปู่หมายถึงหยุดคิดนึกปรุงแต่ง..เพราะเป็นการเกิดขันธ์๕..อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์นั่นเอง    (น. ๔๘๘)   "พระธรรมทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น  ออกไปจากจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหมด  ทุกสิ่งทุกอย่างออกจากจิต อยากรู้อะไรค้นได้ที่จิต"    (น. ๔๘๙)   "การปฏิบัติ  ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสํารวม  เพื่อความละ  เพื่อคลายความกําหนัดยินดี  เพื่อความดับทุกข์  ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์วิมาน หรือแม้พระนิพพานก็ไม่ต้องตั้งเป้าเพื่อจะเห็นทั้งนั้น  ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆไม่ต้องอยากเห็นอะไร  เพราะนิพพานมันเป็นของว่างไม่มีตัวไม่มีตน  หาที่ตั้งไม่มี  หาที่เปรียบไม่ได้  ปฏิบัติไปจึงรู้เอง"     (น. ๔๙๔)   "........การฟังจากคนอื่น  การค้นคว้าจากตํารานั้น  ไม่อาจแก้ข้อสงสัยได้  ต้องเพียรปฏิบัติทําวิปัสสนาญาณให้แจ้ง ความสงสัยก็หมดไปโดยสิ้นเชิง"    (น. ๔๙๙)   มีผู้อยากฟังความคิดความเห็นเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของหลวงปู่ และยกบุคคลมาอ้างว่าท่านผู้นั้น ท่านผู้นี้ระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ     หลวงปู่ว่า     "เราไม่เคยสนใจเรื่องอย่างนี้  แค่อุปจารสมาธิก็เป็นไปได้แล้วทุกอย่างมันออกไปจากจิตทั้งหมด  อยากรู้อยากเห็นอะไร จิตมันบันดาลให้รู้ให้เห็นได้ทั้งนั้น และรู้ได้เร็วเสียด้วย หากพอใจเพียงแค่นี้ ผลที่ได้ก็คือ ทําให้กลัวการเวียนว่ายตายเกิดในภพที่ตํ่า แล้วก็ตั้งใจทําดี บริจาคทาน รักษาศีล แล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน พากันกระหยิ่มยิ้มย่องในผลบุญของตัว,   ส่วนการที่จะขจัดกิเลสเพื่อทําลาย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงนั้น อีกอย่างหนึ่งต่างหาก"     (น.๔๙๙)   "ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรปล่อยให้มันออกไปไกล  ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้  ดูให้เห็น  อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้  เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกําหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน"    (น. ๔๗๖)    คติธรรมคําสอน ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย (สนองอารมณ์-เวทนา) ผลอันเกิดจากจิตส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์ (หวั่นไหว-คิดปรุงแต่ง,ตัณหา) จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค (สติเห็นจิตสังขารในขันธ์๕) ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ   หลวงปู่ ดูลย์  อตุโล   ข้อคิด อันเนื่องมาจากปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ และ จิตส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ๑ ครั้ง,  คือการเกิดของขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้ง เกิดขันธ์๕ขึ้น ๑ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑ ครั้ง ดังนั้นคิดนึกปรุงแต่ง ๑๐๐ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน เวทนาเกิดขึ้น ๑๐๐ ครั้ง  ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาได้ ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน ตัณหาเกิดขึ้นเมื่อใด  ทุกข์อุปาทานเกิดขึ้นเมื่อนั้น ดังนั้นจงมีแต่คิดนึก,  แต่ไม่มีคิดนึกปรุงแต่ง.  (ดูภาพประกอบ คลิ๊กที่นี่     คิดนึกปรุงแต่งคือ 22, รวมทั้ง 14 อันเป็นอุปาทานขันธ์๕)   หยุดคิดนึกปรุงแต่ง       หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวอยู่เนืองๆว่า อย่าส่งจิตออกนอก  ด้วยเหตุเพราะตัณหานั้นอาจไม่ได้เกิดจากเวทนาของความคิดหรือสังขารขันธ์แรกแต่ฝ่ายเดียว, แต่ตัณหา ที่เกิดนั้น อาจเกิดจากเวทนาของความคิด(นึกปรุงแต่ง)อันเป็นขันธ์๕ชนิดหนึ่งเช่นกันที่เกิดขึ้นตามหลัง(วนเวียน)มาเรื่อยๆก็ได้  หลวงปู่จึงมักกล่าวอยู่เสมอๆว่าอย่าส่งจิตออกนอก(ไปคิดนึกปรุงแต่ง) เพราะจะยังให้เกิดทุกข์ขึ้นตามมาในที่สุดนั่นเอง   พุทธพจน์     ดูกรภิกษุทั้งหลาย   บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป เกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบกันของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ  และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา)  เป็นสุขบ้าง  เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง     เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้อง(กระทบ)แล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูดถึง  ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่     อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เศร้าโศก  ไม่ลำบาก  ไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลง(โมหะ)พร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่     อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป  คุณ  โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัย  นอนเนื่องอยู่     ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา,  ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา,  ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา,  ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ     ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู,   กลิ่น-จมูก,   รส-ลิ้น,   สัมผัส-กาย,   ธรรมารมณ์-ใจ        (ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)   ประวัติและธรรมคําสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล  ท่านสามารถLink ได้ใน หัวข้อที่๓๐(เชื่อมเว็บธรรมะอื่นๆ) มี ๒ เว็บไซด์   แนะนํา วิธีเจริญจิตภาวนา ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่ Website: http://www.geocities.com/pudule/dharma1.htm คลิกที่นี่เพื่อบันทึกหน้าวิธีเจริญจิตภาวนา ไว้ใน แฟ้มFavorites หรือ ในหนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม (หน้า๔๑๕)  ผู้เขียน-อันเป็นแนวทางเจริญสติและสัมมาสมาธิ ให้เห็นความคิดและความคิดนึกปรุงแต่งอย่างถูกต้อง "ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอนัตตา หากรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณเป็นอัตตา(มีตัวตน)แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ(ความขุ่นข้อง ทนอยู่ไม่ได้ เจ็บป่วย-ความทุกข์) ทั้งยังจะได้ตามใจปรารถนาในรูป...ในเสียง...ในกลิ่น...ในรส...ในสัมผัส(โผฐฐัพพะ)...ในวิญญาณ ว่า "ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย" แต่เพราะเหตุที่รูป....เวทนา....สัญญา....สังขาร....วิญญาณเป็นอนัตตา ดังนั้น รูป...เวทนา........ฯลฯ........วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆก็ไม่อาจได้ตามความปรารถนาในรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ว่า "ขอรูป....ขอเวทนา....ขอสัญญา....ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย"     "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน?"     "รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?" (ตรัสถามทีละอย่างในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)     "ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า" (ภิกษุทั้งหลายตอบ)     "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข?"     "เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า"     "ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่า      นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ?"     "ไม่ควรเห็นเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"     "ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป....เวทนา....สัญญา....สังขาร....วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง     ทั้งที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต     ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามที่มันเป็นว่า     "นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา"    (สํ.ข. ๑๗/๑๒๗-๑๒๙/๘๒-๘๔ , พุทธธรรม น.๖๙)   ธรรมข้อคิดของพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) ลงท้ายแล้ว แนวทางการทำสมาธิภาวนาทุกแบบ ต้องเป็นไปเพื่อการปล่อยวาง ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่น .. แม้ในตัวอาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง         ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ นั้นเป็นสภาวะธรรมยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี "อุปาทานทุกข์" จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ"อุปาทานทุกข์"นี้นั่นเอง แต่เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง(อวิชชา)  จึงจําแนกไม่ออก ปรับปรุง 18/1/46         ปัญหาใหญ่ของผู้ปฏิบัติที่เข้าใจ"ปฏิจจสมุปบาท"แล้ว คือการแยกแยะเวทนาไม่ออกชัดเจนอันถือเป็นหัวใจในการใช้ปฏิจจสมุปบาทในการปฏิบัติ จักมองเห็นแต่ จิต หรือ คิด(จิตสังขาร หรือมโนสังขารของขันธ์๕ )อันเป็น"ผล"แล้ว หรืออาจ"เป็นผลที่ตัณหาได้กระทำลงไปแล้วคือเป็นอุปาทานสังขารขันธ์" อันเกิดแต่สฬายตนะ หรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ,  ทั้งๆที่รู้ว่าเพราะ "เวทนา เป็นเหตุปัจจัย จึงมี ตัณหา" แต่เพราะการที่ไม่"โยนิโสมนสิการ" จึงแยกแยะ เวทนากับจิตหรือความคิด(สังขาร)ซึ่งเป็นคนละขันธ์กันไม่ออกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ไม่ใช่จิตสังขารหรือความคิดเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา ซึ่งเป็นการแยกแยะโดยปัญญาหรือความเข้าใจ(ไม่ใช่การไปเห็นหรือรู้สภาพจิตกำลังทำงานเป็นขั้นๆเป็นตอนๆทุกขณะจิตในชีวิตประจำวัน) เมื่อไม่เข้าใจจึงทำให้มองเห็นเวทนาและสังขารขันธ์คิด คลุกเคล้ากลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันหรือสิ่งเดียวกันไป ทำให้การปฏิบัติสับสนไม่ก้าวหน้าเพราะปฏิบัติไม่ถูกเป้าหมาย อันคือ“ธรรมใดเกิดแต่เหตุ   เหตุดับธรรมนั้นก็ดับ”      พิจารณาขบวนการขันธ์๕ ที่เกิดแต่สฬายตนะ  และ สังขาร(ปฏิจจสมุปบาท)  อย่างย่อ     รูป+ตา+วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขารขันธ์,กระทำทางกาย,วาจา,ใจคิดนึก      นี้คือขันธ์๕อันเกิดแต่สฬายตนะ(ตา)+รูป(รูปในอายตนะภายนอก)เป็นเหตุจึงมีเวทนา และเวทนาเป็นเหตุจึงมีผลเป็นสังขารคิด     สังขารที่สั่งสม(คิด)+ใจ+วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขารขันธ์,กระทำทางกาย,วาจา,ใจคิดนึก      นี้คือขันธ์๕ อันเกิดแต่สฬายตนะ(ใจ)+สังขารที่สั่งสมอบรมไว้(ในวงจรปฏิจจสมุปบาท) คือ คิดนึกจากทุกข์เก่าๆอันเนื่องมาจากอาสวะกิเลส(อันเป็นเช่นธรรมารมณ์หรือคิดในอายตนะภายนอกเช่นกัน) เป็นเหตุจึงมีเวทนา, และเวทนาเป็นเหตุจึงมีสังขารคิดเป็นผลเช่นกันกับขบวนการแรก         หมายเหตุ สังขารที่สั่งสมถึงแม้เป็นทุกข์เก่าๆอันเนื่องมาจากอาสวะกิเลส แต่ยังไม่ก่อเป็นทุกข์อีกเพราะยังไม่เกิดตัณหาขึ้นอีกครั้งถึงจะเกิดเป็นทุกข์อีก(ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาท)                  จากขันธ์๕ ทั้ง ๒ แบบนี้ จักแยกให้เห็นได้ชัดเจนว่า เพราะเวทนา เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดสังขารขันธ์อันรวมทั้งความคิดต่างๆด้วย          ถ้าเราหยุดหรือผ่าขันธ์๕ ออกเป็น ๒ ส่วน ตรงเวทนาที่เกิดขึ้น,   แล้วขณะเกิดเวทนานั้น ได้เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้นมา  เป็นดังนี้.......... เกิดตัณหา อุปาทานจึงเกิดตาม และเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ และเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ  อันคือการเริ่มของทุกข์ แล้วขันธ์๕ก็ดำเนินต่อไป แต่ขันธ์ที่เกิดต่อไปนั้น มีการแปรปรวนไปเป็นอุปาทานขันธ์   ดังตัวอย่าง รูป + ตา + วิญญาณ เวทนา + ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติอันคืออุปาทานสัญญา อุปาทานสังขารขันธ์         นี้คือขันธ์๕อันเริ่มต้นเป็นอุปาทานทุกข์จริงๆ อันมีเวทนาเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงให้เกิดต้นขบวนของทุกข์อันคือตัณหา อันยังให้เกิดอุปาทานตามมา  (รูป ตา วิญญาณ ก็เป็นเหตุแต่แก้ไขไม่ได้ เป็นสภาวะธรรม ต่างก็ทําหน้าที่แห่งตน)         เวทนา คือการเสวยอารมณ์ นั้นเป็น"เพียงการรับรู้" ตามธรรมชาติ และเป็นเพียงการรับรู้*ความรู้สึก*ที่ถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือเฉยๆที่มีต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(คิด)ที่กระทบ (รูป เสียง....อายตนะภายนอกทำหน้าที่เป็นอารมณ์คือสิ่งที่จิตยึดเหนี่ยว)ดังตัวอย่างเวทนาต่างๆ   ณ.ที่นี้เราเพิ่มสัญญาจําขยายรายละเอียดขันธ์๕เพิ่มขึ้นเข้าไปด้วยเพื่อให้เห็นรายละเอียดในการเกิดของเวทนาได้ชัดขึ้น รูป+ตา+วิญญาณ สัญญาจำ เวทนา รับรู้อารมณ์รูป หรือ ความรู้สึก ที่รับรู้รูปที่มากระทบ เสียง+หู+วิญญาณ สัญญาจำ เวทนา รับรู้อารมณ์เสียง, ความรู้สึก ที่รับรู้เสียงที่มากระทบ กลิ่น+จมูก+วิญญาณ สัญญาจำ เวทนา รับรู้อารมณ์กลิ่น, ความรู้สึก ที่รับรู้กลิ่นที่มากระทบ รส+ลิ้น+วิญญาณ สัญญาจำ เวทนา รับรู้อารมณ์รสชาติ, ความรู้สึก ที่รับรู้รสที่มากระทบ สัมผัส+กาย+วิญญาณ สัญญาจำ เวทนา รับรู้อารมณ์สัมผัส, ความรู้สึก ที่รับรู้สัมผัสที่มากระทบ คิด+ใจ+วิญญาณ สัญญาจำ เวทนา รับรู้อารมณ์คิด, ความรู้สึก ที่รับรู้ความคิดที่มากระทบ         จะเห็นได้ว่าเมื่อมีผัสสะคือการประจวบกันทั้ง ๓ ของอายตนะภายนอก,อายตนะภายในและวิญญาณแล้ว มีสัญญาจำได้ในเรื่องนั้นแล้วจึงเกิดการรับรู้ “ความรู้สึก” ที่ถูกใจ, ไม่ถูกใจ, หรือไม่ทุกข์ไม่สุข-เฉยๆ (สุขเวทนา, ทุกขเวทนา,อทุกขมสุข)            เราลองมาแยกแยะเวทนากันดู         ให้ทดลองเอาอาหารที่ชอบ หรือไม่ชอบก็ได้ แต่ให้มีรสชาติที่สัมผัสได้ชัดเจน มาลองเคี้ยวให้ละเอียด อย่ารีบกลืน พยายามชิมแต่“รส”ของอาหารนั้น อย่าใส่ความคิดใดๆทั้งสิ้นว่าอร่อย,ไม่อร่อย, เปรี้ยว, หวาน, มัน,เค็ม ฯลฯ. ให้ปลอดจาก “คิด” ชั่วขณะจริงๆ แล้ว  ให้ลิ้นนั้น ทำหน้าที่ลิ้ม“รสชาติ”ของอาหารนั้น และเฝ้าสังเกตุแต่“รสชาติ”นั้นเท่านั้น โดยไม่สนใจความคิดใดๆ พยายามจับ“การรับรู้รสชาติ อันเป็นเพียงความรู้สึก”ที่ถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือเฉยๆ นั้นให้ได้ นั่นแหละ“เวทนา”ที่เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาโดยตรง ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหลักตามวงจรเกิดทุกข์“ปฏิจจสมุปบาท” หรือสังเกตจากรูปกระทบตา หรือเสียงที่มากระทบหู แต่ต้องเป็นชนิดที่กระทบแล้วมีความรู้สึกแว๊บขึ้นทันที เพื่อให้สังเกตได้ง่ายๆในขั้นแรกๆ ดังเช่นเห็น หรือได้ยินเสียงคนที่โกรธหรือเกลียด หรือไม่ชอบค่อนข้างรุนแรง พอจําได้เท่านั้นความรู้สึกแว๊บไม่ถูกใจ เกิดขึ้นทันทีอันเกิดจากรูปคือเห็นคนๆนั้นหรือเสียงที่กระทบ นั่นแหละคือ"เวทนา" ที่เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาแต่เป็นอย่างชนิดหยาบสุดๆ พิจารณาให้ดีจักเห็นได้ว่าเกิดขึ้นเพราะการรับรู้ความรู้สึกและจําได้(สัญญาจํา)เท่านั้น เกิดก่อนสัญญาหมายรู้ หรือสังขารความคิดใดๆ   หรือในกรณีที่ปวดหัวหรือเจ็บปวดใดๆสังเกตที่ความรู้สึกล้วนๆ.(ขอเน้นว่าที่ความรู้สึกล้วนๆจริงๆ)ที่ไม่ถูกใจ นั่นแหละการรับรู้ความรู้สึกหรือเวทนา (อาการจิตสังขารทุรนทุรายกระวนกระวายไม่เกี่ยวนั่นเป็นอาการของตัณหาเข้าร่วมเรียบร้อยแล้ว)         ตัวอย่างจาก “ปฏิจจสมุปบาท” ในบทขันธ์๕ ข้อคิดท้ายบท         กายหรือใจกระหายนํ้าเป็นผลให้เกิดทุกขเวทนา เกิดสังขารขันธ์ทางกายขึ้นคือ คิดอ่านที่จะไปกินนํ้า- การคิดกินนํ้า การลุกขึ้นไปกินนํ้า โดยประกอบด้วยอิริยาบถต่างๆเช่นเดินไปหานํ้ากิน, หาแก้ว, เทนํ้า, ยกแก้วนํ้า, ดื่มนํ้า ฯลฯ.ต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสังขารขันธ์ในขันธ์๕ทั้งสิ้น อันเป็นความคิดอ่านเจตนา(สัญเจตนา)กระทําทางกายสังขารต่อทุกขเวทนาอันเป็นผลจากเวทนาความรู้สึกกระหายนํ้า แต่ถ้ามีตัณหาความอยากหรือตัณหาความอยากนํ้าส้มอาจเกิดจากเวทนา อันเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เกิดต่อเนื่องจากความคิดกระหายนํ้าครั้งแรกขึ้นมา เช่นปรุงแต่งว่า ถ้าเป็นนํ้าส้มเย็นๆหรือนํ้ามะนาวเย็นเจี๊ยบแก้วโตๆคงจะเย็นชื่นใจดีแน่   ตัณหาที่เกิดโดยตรงต่อเวทนาความรู้สึกกระหายนํ้าครั้งแรกหรือตัณหาที่เกิดจากเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งนี้แหละที่เป็นตัณหามีความอยากแฝงอยู่,            พิจารณาดีๆ สังเกตุว่าต่างล้วนมาจากเวทนาทั้งสิ้น แต่อาจจะเกิดจากเวทนาของความคิดครั้งแรกหรือเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดหลายๆครั้ง         ตัณหาที่เกิดนี้อาจจะเกิดในขณะเดียวกับที่เกิดเวทนา หรือเกิดในช่วงเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ หรืออาจเกิดภายหลังอีกเพราะความคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆก็ได้         สังเกตุขบวนการให้ดีจะเห็นว่ากระหายนํ้าแล้วหานํ้าดื่มเป็นขบวนการขันธ์๕ปกติ, แต่มีตัณหาความอยากนํ้าส้มเกิดมาจากเวทนาความกระหายนํ้า(ไม่ได้เกิดจากสังขารขันธ์กาย วาจา ใจ)   หรืออาจเกิดจากเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่ง  ความคิดนึกปรุงแต่งถึงไม่ใช่เหตุโดยตรงแต่ก็เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา...เกิดตัณหา เช่นกัน         เพราะเหตุนี้แหละ การปฏิบัติจึงต้องถืออุเบกขาเป็นกลางวางเฉย วางเฉยอันหมายถึงไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย ควบไปกับการปฏิบัติอื่นๆ คือมีสติรู้เท่าทันเวทนาและจิตสังขาร  เพราะความคิดนึกปรุงแต่งนั้นยังให้เกิดเวทนา..อันอาจยังให้เกิดตัณหาขึ้นได้เช่นกัน   จึงเป็นการปฏิบัติโดยการตัดไฟแต่ต้นลมนั่นเอง (ขอเน้นสักนิด หยุดคิดนึกปรุงแต่ง ไม่ใช่หยุดคิดหรือไปบังคับไม่ให้คิดอะไร แล้วไปคิดว่าเป็นความว่างที่ท่านพุทธทาสภิกขุมักกล่าวอยู่เนืองๆ)         ดังขบวนขันธ์๕นี้        กระหายนํ้า + ใจ + วิญญาณรับรู้ >> สัญญาจําได้และเข้าใจ กระหายนํ้าเป็นเยี่ยงไร, ต้องทําอะไรดับความกระหาย >> เกิดทุกขเวทนาไม่สบายเพราะกระหายนํ้านั้น  จากนี้ไปตัณหาเกิดแทรกได้ >> สัญญาหมายรู้เกิดการรวบรวมข้อมูล นํ้าดื่มอยู่ที่ไหนแก้ววางไว้ตรงไหนฯลฯ >> มโนวิญญาณคือใจรับรู้ข้อมูลครบแล้วตัดสินใจ >> เกิดสังขารกาย หรือใจ หรือวาจา แล้วกระทําตามเจตนานั้นๆ(สัญเจตนา) เป็นขบวนการของสังขารขันธ์  ดังเช่น เกิดสัญเจตนาทางกายคือคิดอ่านเจตนาที่จะกระทําทางกาย(กายทวาร)โดยการกระทําลงไป(กายกรรม)โดย เดินไปหานํ้ากิน หาแก้ว เทนํ้า ยกแก้วนํ้า ดื่มนํ้าล้วนแต่เป็นขบวนการย่อยๆของสังขารขันธ์ทั้งสิ้น         จักเห็นได้ว่าตัณหานั้นเกิดขึ้นจากความรู้สึกกระหายนํ้าอันเป็นเวทนา ชนิดทุกขเวทนาดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า "เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา"  หลักการปฏิบัติ             ดู ขบวนจิตตอนเริ่มจะก่อตัวเป็นอุปาทานทุกข์ ตา+รูป+วิญญาณ เวทนา+ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติอันคือ อุปาทานสัญญา อุปาทานสังขารขันธ์                                                                                                                                                    สติรู้ทัน ตาม   ข้อ๑      ข้อ๒                                                                                         ข้อ๓         ๑. สติเข้าใจและรู้ทันเวทนา  นอกจากรู้เท่าทันเวทนาแล้วจักต้องมีความเข้าใจในสภาวะธรรมอย่างถ่องแท้ว่า เวทนานั้น“ต้องเกิดต้องเป็น”เช่นนั้นเอง เป็นสภาวะธรรม(ชาติ)  ต้องไม่ใช่โดยการท่องจำแต่ด้วยความเข้าใจ ให้พิจารณาจากขบวนการเกิดเวทนาว่าหลีกเลี่ยงหรือดับที่ใดได้บ้างหรือเปล่า?   สภาวะธรรมชาติของแต่ละขันธ์เป็นเช่นนั้นหรือไม่ ? เมื่อเข้าใจเวทนาได้หมดจด ความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจในเวทนานั้นจักน้อยหรือเบาบางเพราะความเข้าใจและการยอมรับสภาวะธรรม(ชาติ) จิตจักเลิกดิ้นรนหาทางออกที่ไม่มีนั้นเสียเพราะรู้ถึงกฎธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ เปรียบเสมือนดั่งสภาพนักโทษประหารกำลังขึ้นแท่นประหารที่รู้ตัวดีว่าดิ้นไปต่อสู้ไปก็ไม่รอดอย่างแน่นอน จึงมีแต่มืออ่อนตีนอ่อนยอมแต่โดยดี,  ไม่เป็นสภาพหนูติดจั่นที่ดิ้นรนหนีพล่านไปพล่านมาเพื่อพยายามมองหาทางออกที่สิ้นหวังให้เกิดให้มีขึ้นให้ได้ (อันเปรียบประดุจดั่งจิตที่ดิ้นรนซัดส่ายหาช่องทางออกจากความทุกข์ ที่ไม่มีทางออก),   ถ้ามีความเข้าใจเวทนา คือมันยังต้องเกิด,ยังต้องมีเพราะเป็นสภาวะธรรมชาติแท้ของขันธ์๕ เมื่อ เข้าใจ และ ไม่ยึด จิตจักอยู่ในสภาพ “ตถตา” คือมันเป็นเช่นนั้นเอง  ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้เรื่องเวทนาดังนี้      [๘๒๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บุคคลอาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง  ๓  เป็นผัสสะ  เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา)  เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา)   เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา)  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุข)       เขา อันสุขเวทนากระทบถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูดถึง  ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่       เขา อันทุกขเวทนากระทบถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เศร้าโศก  ไม่ลำบากไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลงพร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่       เขา อันอทุกขมสุขเวทนากระทบถูกต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป คุณ  โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น  ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่       ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา,  ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา  ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา  ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ฯ (ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)     และถ้าเวทนายังไม่ดับหรือยังไม่หมดจด ก็ให้ปฏิบัติหรือดับในข้อที่ ๒ ที่จักเกิดต่อเนื่องไปตามวงจรของทุกข์คือ "วงจรปฏิจจสมุปบาท" อานิสงส์ของการเข้าใจและรู้ทันเวทนา มี ๓ ประการ         ๑.๑ นับว่าดีที่สุดสำหรับปุถุชนนักปฏิบัติเป็นการดับเหตุของทุกข์แต่ต้นๆที่เป็นไปได้ และถ้าไม่รู้ทันเวทนา ยังมีข้อที่๒ และข้อที่๓ ไว้คอยแก้คอยกัน"อุปาทานทุกข์"ไม่ให้เกิด         ๑.๒ เป็นการตัดวงจรทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)ให้ขาดหรือดับที่เวทนาทำให้ไม่เกิดอุปาทานทุกข์อันเป็นทุกข์จริงๆ หรือทุกข์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเลยมีแต่เวทนาอันเป็นสภาวะธรรมชาติ         ๑.๓ ทำให้สังขารขันธ์ ที่เกิดนั้นนุ่มนวลขึ้นเพราะเวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงมีสังขารขันธ์เช่นกัน(เหมือน"เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา"ในปฏิจจสมุปบาท) ให้พิจารณาดูจากขบวนการของขันธ์๕ ซึ่งมีผลลัพธ์เหมือนดั่งการปาลูกบอลใส่กำแพงตามกฏเรื่องแรงและแรงปฏิกริยา การปาแรง-ย่อมเด้งแรง, ปาเบาๆย่อมเด้งเบาๆ, ไม่ปา-ย่อมไม่เด้ง. การปาลูกบอลเปรียบดั่งเวทนา, การเด้งเปรียบดั่งสังขารขันธ์  ดูวงจรแบบย่อเพื่อประกอบการพิจารณา รูป + ตา + วิญญาณ เวทนา สัญญาหมายรู้ สังขารขันธ์-กระทำทาง-กาย, วาจา, ใจคิดนึก จากขบวนขันธ์๕ นี้ เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้วจักเห็นว่าเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขารขันธ์เช่นกัน, หรือ"เพราะเวทนาเช่นนี้มี สังขารขันธ์เช่นนี้จึงมี" ตามหลักอิทัปปัจจยตา และจักเห็นได้ชัดสิ่งหนึ่งคือ "เพราะเวทนาเป็นเหตุ สังขารขันธ์เป็นผล" และจักเป็นไปตามครรลองธรรมของหลัก"ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ"         ๒. สติรู้ทันตัณหา อันเป็นสมุทัยโดยตรง เมื่อเห็นและเข้าใจเวทนาชัดเจนแล้ว จิตจักเริ่มการมองเห็นตัณหาที่เกิดขึ้นมาจาก"เวทนา"นั้นๆ ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งถ้าเวทนานั้นรุนแรง จักเห็น“ตัณหา”คือความรู้สึกทะยานอยากหรือไม่อยาก หรือตัณหาจากคิดนึกปรุงแต่งอย่างชัดแจ้งที่เกิดขึ้นเพราะเวทนานั้นๆ และให้"หยุดตัณหา"นั้น ทั้งในรูปความทะยานอยาก, ไม่อยาก และจากความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆ  และถ้าไม่สามารถดับหรือหยุดตัณหาได้ ให้ดับในข้อที่๓ ที่จักต้องเกิดสืบเนื่องไปตามวงจร"ปฏิจจสมุปบาท"เช่นกัน         ๓. สติรู้ทันจิต(จิตสังขาร) หรือ "เห็นจิตในจิต" จิตนี้ก็คือจิตสังขารในขันธ์๕ อันคือความคิดนึกหรืออาการของจิตตามจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเองเช่นราคะ โทสะ โมหะ หดหู่  ฟุ้งซ่าน เป็นฌาน.....ฯลฯ เมื่อสติเห็น หรือรู้ทันจิตดังกล่าว ซึ่งเป็นสังขารขันธ์หรืออาจเป็นอุปาทานสังขารขันธ์(สังขารูปาทานขันธ์)ใน"ชาติ—ชรามรณะ"อันถูกครอบงำโดยอุปาทานอันแข็งแกร่งแล้ว เพราะตัณหาได้เกิดขึ้นแล้วตามข้อ๒,  ให้อุเบกขาเป็นกลาง"หยุดตัณหา"อันมักมาในรูปของความนึกคิดปรุงแต่งอีกอย่างเดิม ดังนั้นให้"หยุดนึกคิดปรุงแต่ง อันทำให้วนๆเวียนๆ เกิดๆ ดับๆ อยู่ในวังวนของกองธรรมชรา อันล้วนเป็นอุปาทานทุกข์ที่ถูกครอบงําแล้ว   (วงจรหมายเลข14)  ที่ข้อ๓ นี้อาจจะเกิดความทุกข์หรือมีผลเกิดขึ้นแล้วอันถูกครอบงําด้วยอุปาทานการหยุดจึงลําบากกว่าการปฏิบัติแบบอื่น แต่การเห็นจิตจะทําให้หยุดได้เร็วขึ้น และต้องถืออุเบกขาเป็นกลางวางเฉย วางเฉยคือไม่หยุดคิดนึกปรุงแต่งไปทั้งด้านดีหรือชั่ว  ต้องมีสติไม่ไหลไปตามสังขารขันธ์หรืออุปาทานทุกข์นั้น    สรุปการปฏิบัติ หรือ มรรคปฏิบัติจากปฏิจจสมุปบาท         ๑. มีสติรู้เท่าทัน และเข้าใจสภาวะธรรมของเวทนา (ว่าเวทนาเป็นเช่นนั้นเองต้องเกิด แต่ดับโดยไม่ให้ทําหน้าที่เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา, ไม่ใช่ทําเวทนาให้ดับสูญโดยการดับ กดข่ม อันจักทําให้กายและจิตแปรปรวน)         ๒. มีสติรู้ทันตัณหา และหยุดตัณหา อันคือ นําออก หรือ ละ ความทะยานอยาก หรือความไม่อยากในสิ่งใดๆ         ๓. มีสติรู้ทันคิดที่เป็นทุกข์(ทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว) และหยุดตัณหา หยุดคิดนึกปรุงแต่ง (คิด-อันคือจิตสังขาร,มโนสังขารในขันธ์๕หรือเป็นอุปาทานสังขารขันธ์หรือสังขารูปาทานขันธ์แล้ว-ดูรายละเอียดวงจรอุปาทานขันธ์๕ในบทวงจร)         ๔.รู้เท่าทันแบบใด ปฏิบัติตามที่สติรู้เท่าทัน อันถูกจริตแห่งเรานั่นเอง  และอุเบกขาเป็นกลางไม่คิดนึกปรุงแต่งในทุกๆข้อ,  และในขณะที่ยังไม่เกิดทุกข์ ก็ควรหลีกเลี่ยงความคิดนึกปรุงแต่ง(ดูวงจรปฏิจจสมุปบาท หมายเลขที่22) เป็นการป้องกันการการเกิดเวทนาอันยังให้เกิดตัณหา สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท         คงมีผู้สงสัยว่าทำไมผู้เขียนถึงไม่พูดเรื่องสังขาร(ความคิดที่สั่งสม หรือทุกข์เก่าๆเคยเกิด, เคยเป็น)ในปฏิจจสมุปบาท ว่าเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์  ทั้งๆที่เกิดอยู่ในต้นๆกระบวนการเกิดของทุกข์ จริงๆแล้วไม่มีจุดเริ่มต้นไม่มีจุดสิ้นสุดในวงจรปฏิจจสมุปบาท เป็นวงจรที่หมุนเวียนด้วยแรงแห่งกรรมอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพ ชาติ และอย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า ในการดับสังขารนั้น สติ และปัญญาต้องสมบูรณ์, การตัดหรือดับหรือกดข่มความคิดอย่างรวดเร็วขาดความรู้ความเข้าใจในธรรมอย่างถ่องแท้ จะตัดความคิดอื่นๆที่ดีมีประโยชน์ไปด้วยความเคยชิน เช่นความคิดในขันธ์๕นั้นมีอยู่และจำเป็นสำหรับชีวิต ตลอดจนสติและปัญญาล้วนเกิดจากความคิดและคิดนึกที่สั่งสมทั้งนั้น อันไม่ใช่เป็นความคิดนึกปรุงแต่ง           และการตัดความคิดอันมีเหตุปัจจัยมาจากอาสวะและอวิชชานั้นไม่สามารถตัดได้จริงๆเพราะการเห็นหรือมีสติรู้ความคิดที่สั่งสม(สังขาร)ที่เกิดขึ้นนั้นหมายความว่าจริงๆแล้ว กระบวนการทางจิตคือใจหรือสฬายตนะได้เกิดผัสสะกับความคิดที่สั่งสมนั้นแล้ว จนอย่างสังเกตุได้เร็วที่สุดที่เวทนาการรับรู้ความรู้สึกคิดหรือเสวยอารมณ์คิดแล้ว เฉกเช่นเดียวกับธรรมารมณ์ทั้งหลาย(สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจเช่นความคิดนึกทั่วๆไป)  และปุถุชนส่วนใหญ่แล้วมักมีสติรู้เมื่อเกิดไปถึงสังขารขันธ์หรืออุปาทานสังขารขันธ์แล้ว   การไปตัดหรือกดข่มด้วยกำลังที่กองสังขารนี้ จึงเกิดปัญหาต่างๆตามมา  ดังนั้นจริงๆแล้วการดับสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั้น น่าจักบังเกิดแต่องค์อรหันต์ผู้ไม่มีอวิชชาแล้วเท่านั้น ปุถุชนสามารถลดสังขารที่สั่งสมได้แค่บางส่วนตามกําลังอวิชชาที่ลดน้อยลง, และอย่าลืมสฬายตนะตัวอื่นๆอันก่อให้เกิดทุกข์เฉกเช่นเดียวกัน         ดับกองสังขารที่สั่งสมนี้ ไม่ใช่หมายถึงการดับสูญ แต่หมายถึงไม่มีอวิชชามาเป็นเหตุปัจจัยร่วมด้วย เพราะสังขารที่สั่งสมอบรมปฏิบัตินี้ เป็นสิ่งจําเป็นในการยังชีวิตเพราะเป็นสัญญาความจําอันไม่มีกิเลสและอวิชชานั่นเอง       ดังนั้นพระอรหันต์เจ้าท่านจึงมีสังขารนี้เช่นกัน แต่ปราศจากกิเลสและอวิชชาเสียแล้ว ท่านจึงมีความนึกคิดที่บริสุทธิ์บริบูรณ์.  ทุกขณะจิตที่         ตากระทบรูป ที่เห็นทุกเมื่อเชื่อวัน จักเกิดเวทนา การรับรู้ความรู้สึกในรูปที่กระทบ ถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือเฉยๆ เกิดขึ้นทุกครั้งทุกที จึงควรสังวรระวัง เพียงแต่ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปอทุกขมสุขคือเฉยๆ อันคือไม่รู้สึกยินดียินร้ายเป็นพิเศษใดๆกับการรับรู้ความรู้สึกนั้นๆหรือเคยชิน  แต่ต้องระวังอทุกขมสุขหรือเฉยๆชนิดมีอามิสคือมีกิเลสตัณหาแอบแฝงอยู่ด้วย             หูกระทบเสียง ที่ได้ยินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จักมีเวทนาเกิดขึ้นทุกครั้งทุกทีเช่นกัน         จมูกกระทบกลิ่น ที่ได้กลิ่นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จักมีเวทนาเกิดขึ้นทุกครั้งทุกทีเช่นกัน         ลิ้นกระทบรส(อาหาร) ที่ได้กินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จักมีเวทนาเกิดขึ้นทุกครั้งทุกทีเช่นกัน         กายกระทบสัมผัส ที่สัมผัสอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จักมีเวทนาเกิดขึ้นทุกครั้งทุกทีเช่นกัน         ใจกระทบคิด ที่คิดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จักมีเวทนาเกิดขึ้นทุกครั้งทุกทีเช่นกัน   สัญญาในขันธ์๕         สัญญาโดยเฉพาะสัญญาหมายรู้ เป็นสิ่งกำหนดและควบคุมพฤติกรรมโดยไม่รู้ตัว  ลองโยนิโสมนสิการ ระลึกดูขันธ์๕อันเกิดแต่อดีต ดังเช่น สมัยเรียนหนังสือเราต้องทดลองผ่ากบ ผ่าแมลงสาบเป็นๆ จักเห็นได้ว่าเกิดทุกขเวทนาชนิดไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ เกิดขึ้นเกือบทุกๆคน หรือจักเรียกว่าทุกคนก็คงได้ แต่สัญญาหมายรู้ที่มีจะแจ้งว่าจำเป็นนะ เพื่อการเรียน ไม่ผ่าก็สอบตก ใครๆก็ผ่ากัน แล้วจึงเกิดสังขารขันธ์ทางกายและใจ ตกลงใจผ่ากบนั้น คิด+ใจ+วิญญาณ....เวทนาชนิดไม่ชอบใจ....สัญญาหมายรู้ทำงาน....สังขารขันธ์ ลงมือผ่ากบ บางคนอาจมีตัณหาไม่อยากผ่ากบรุนแรง สัญญาหมายรู้นั้นจะกลายเป็นอุปาทานสัญญาที่หมายรู้แต่สิ่งที่ตนพึงพอใจเช่นกลัวบาป หรือขยะแขยง จึงหมายรู้แต่บาป บุญ คุณโทษ ของการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือความขยะแขยง กลายเป็นสังขารคิดที่เป็นอุปาทานทุกข์   หรือสังขารทางกายที่เป็นอุปาทานอันเป็นทุกข์ยังไงๆก็ไม่ยอมผ่า ให้เพื่อนผ่าแทน ตกเป็นตก  หรือเป็นลมเสียเลย ดังขบวนการต่อไปนี้ คิด + ใจ + วิญญาณ เวทนาไม่ถูกใจ+ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติอันคืออุปาทานสัญญา อุปาทานสังขารขันธ์   หัวเด็ดตีนขาดไม่ยอมผ่าตามอุปาทานและภพที่ได้เลือกไว้แล้วดังนั้นเราจักเริ่มสังเกตุเห็นได้ว่าสัญญาหมายรู้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการตัดสินใจเช่นกัน ฉนั้นในการปฏิบัติธรรมก็เฉกเช่นกันต้องมีปัญญาหรือสัญญาหมายรู้ในสิ่งที่ถูกต้องก่อน ดังเช่น สติรู้เท่าทันเวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว  สัญญาหมายรู้ย่อมเป็นไปอย่างถูกต้องหมดจด ย่อมไม่ถูกครอบงําด้วยอํานาจอุปาทานความพึงพอใจของตัวตนจนเป็นอุปาทานสัญญา เป็นเพียงสัญญาหมายรู้ตามความคิดเข้าใจอันถูกต้องตามความเป็นจริง,  อันย่อมทำให้สังขารขันธ์ที่เกิดตามมานั้นหมดจดด้วยเช่นกัน,  สัญญาหมายรู้อันเป็นสัญญาเป็นสิ่งจำเป็นของชีวิต,  เวทนาที่เข้าใจหมดจด สัญญาหมายรู้ที่ถูกต้องหมดจด   ย่อมหมายถึงสังขารขันธ์อันหมดจด(ไม่ใช่ไม่มีไม่เกิด, เกิดแต่นุ่มนวล) ตา + รูป + วิญญาณ เวทนาที่เข้าใจหมดจด + สัญญาที่ถูกต้องหมดจด สังขารขันธ์อันหมดจด ดังที่กล่าวอยู่เสมอให้พิจารณาชนิดโยนิโสมนสิการในเวทนาว่าเป็นสภาวะธรรมล้วนๆเพื่อให้ปัญญาหรือสัญญาหมายรู้นั้นเกิดขึ้น เพื่อเกิดสังขารขันธ์อันหมดจด    ดังนั้นการปฏิบัติตามคำสอนแต่อย่างเดียวโดยไม่เข้าใจอย่างถูกต้อง กับการปฏิบัติโดยปัญญาอันเกิดแต่สัญญาที่ดี ความเข้าใจจึงมีผลแตกต่างกันอย่างมาก   วิธีภาวนาพระไตรลักษณ์               สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ล้วนเป็นเช่นนั้นเอง  อันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยหลากหลายมาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกันชั่วระยะหนึ่ง            จึงล้วนเป็น "อนิจจัง" ไม่เที่ยง  มีอันต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอาการธรรมดา, จึงไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ตลอดไป            จึงล้วนเป็น"ทุกขัง"คงทนอยู่ไม่ได้ จึงต้องเสื่อมไปเป็นอาการธรรมดา และดับไปในที่สุด            จึงล้วนเป็น"อนัตตา"ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่น เป็นแกน เป็นสาระอย่างแท้จริงได้ตลอดไป ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยหลากหลายอันเป็นสภาวะธรรม มาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันชั่วระยะหนึ่ง ดุจดั่งแสงแดด แว่นขยาย และเชื้อไฟ(ขยายความ),   เมื่อเหตุปัจจัยหลากหลายต่างๆเหล่านั้น มีอันต้องแปรปรวน เสื่อม และดับไป    ตัวตน,ของตนที่หลงยึดมั่น ถือมั่น พึงพอใจทั้งในสุขและในทุกข์ ก็ต้องแปรปรวน เสื่อม และดับไปตามเหตุปัจจัยเหล่านั้นในที่สุด            ด้วยเหตุเพราะอนิจจังความไม่เที่ยง, ทุกขังความทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมและดับไป, และอนัตตาไม่มีตัวตนเป็นแก่นแกนอย่างถาวรแท้จริง จึงจักเป็นทุกข์ถ้าไปอยากด้วยตัณหา  หรือไปยึดด้วยอุปาทานพึงพอใจ  เพราะความไม่สมปรารถนาในที่สุดนั่นเอง     พระไตรลักษณ์         เป็นกฏธรรมชาติ กล่าวถึงสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย ต่างอยู่ภายใต้อํานาจของ อนิจจัง ทุกขัง  และ อนัตตา,  เป็นธรรมที่ใช้ดับคือนําออกและละเสียซึ่งอุปาทานในขั้นปัญญา  ดังมีพุทธพจน์ตรัสสอนไว้ดังนี้ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง (อนิจจัง-อนิจจตา) สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ (ทุกขัง-ทุกขตา) ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา (อนัตตา-อนัตตตา)        ก่อนอื่นเราควรทําความเข้าใจในคําว่าสังขาร และธรรมเสียก่อน         สังขาร แปลว่า สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง,  สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัย  อันครอบคลุมทั้งฝ่ายรูปธรรม และนามธรรม  อันหมายถึงสิ่งที่ต้องประกอบด้วยสิ่งต่างๆหรือหลายๆสิ่ง มาประชุมหรือรวมตัวกันเพื่อเกิดอีกสิ่งหนึ่ง,  อันเมื่อรวมตัวหรือประชุมกันอยู่นั้น โดยทั่วไปดูเสมือนหนึ่งดั่งเป็นสิ่งๆเดียวหรือชิ้นเดียวกัน  แต่ในความเป็นจริงแท้ขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์)แล้วยังคงมีสภาพเกิดจากการประกอบหรือประชุมรวมกันอยู่จึงไม่สามารถเชื่อมจนเป็นสภาวะสิ่งๆเดียวหรือเนื้อเดียวกันอย่างแท้จริงได้  มันจึงยังมีสภาวะที่ไม่เสถียรหรือแปรปรวน หรือก็คือมันจึงไม่สามารถรวมตัวกันอยู่ได้อย่างถาวรตลอดไป         สังขารในไตรลักษณ์จึงหมายถึง สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งกัน อันหมายถึงทุกสรรพสิ่งนั่นเอง ทั้งรูปธรรม และนามธรรม(คือทั้งวัตถุ ทั้งจิต), โลกียธรรม โลกุตรธรรม กาย จิต ขันธ์๕ ทุกๆสิ่ง...ฯลฯ. อันยกเว้นแต่เพียงสิ่งเดียวคือนิพพานเท่านั้นอันเป็น "อสังขตธรรม" คือธรรมอันไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่งเท่านั้น  (ควรเข้าใจความหมายของสังขารในปฏิจจสมุปบาท,ขันธ์๕และไตรลักษณ์ให้ชัดเจน  มิฉนั้นเมื่อเวลาพิจารณาธรรมจะเกิดความสับสนและงุนงงจนเกิดวิจิกิจฉา-ลังเลสงสัยขึ้นได้  คลิ๊กดูคําอธิบายได้ที่นี่ )         ธรรมในไตรลักษณ์หมายถึง ครอบคลุมทุกๆสรรพสิ่ง ทั้งสากลจักรวาล  กล่าวคือตั้งแต่เล็กที่สุดจนใหญ่ที่สุด ทั้งรูปธรรม นามธรรม โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้นรวมแม้พระนิพพาน  หรือหมายถึงธรรมชาติทั้งปวงนั่นเอง         สรุปความพระไตรลักษณ์ ได้ดังนี้ "สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนไปเป็นอาการธรรมดา, จึงทนอยู่ไม่ได้จึงต้องเสื่อมไปเป็นอาการธรรมดาและดับไปในที่สุด (จึงจักเป็นทุกข์ถ้าไปอยากไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน),   เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน(ตัวตน-หมายถึงสิ่งต่างๆทั้งหลายทุกชนิด รวมทั้งตัวตนของเราด้วย)ที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมปรุงแต่งกันชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อเหตุปัจจัยเหล่านั้นมีอันแปรปรวน เสื่อม และดับไปตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ), ตัวตนนั้นก็ต้องแปรปรวน เสื่อม และดับไปตามเหล่าเหตุปัจจัยนั้นในที่สุด"         ไตรลักษณ์ อันมี ๓ ลักษณะ         ๑ อนิจจัง  สังขารหรือสิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยไม่เที่ยง   มีอันแปรปรวนไปเป็นธรรมดาตามสภาพของมัน  ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ตลอดไปในที่สุด   ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วต้องแปรปรวนไปเป็นธรรมดา         อนิจจัง มักถูกปิดบังซ่อนเร้นไว้ ทําให้ไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรมเพราะ สันตติ-ความสืบต่อ หรือความเป็นไปอย่างต่อเนื่องปิดบังไว้  ดังเช่น คนที่อยู่ใกล้ชิดกันทุกวันหรือตัวเราเองจะสังเกตุไม่ค่อยเห็น ความแปรปรวนไป ความไม่เที่ยงในกายว่ามีความแก่ ความเสื่อมอยู่ตลอดเวลาทุกขณะ   แต่คนคุ้ยเคยที่ไม่พบกันนานๆ(ขาดความสืบต่อ)จะสังเกตุเห็นได้ง่ายๆว่า โตขึ้น แก่ขึ้น เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งกายและจิต,   ตัวตนเราตามความเป็นจริงแล้วมีความเสื่อมไม่เที่ยงเกิดอยู่ทุกๆขณะ ทุกๆโมเลกุลในเซลมีการเปลี่ยนแปลงแปรปรวนเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา, แม้แต่อะตอม อันจัดว่าเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดที่ประกอบกันเป็นโมเลกุลก็ยังคงมีอิเลคตรอนวิ่งวนเวียนรอบโปรตอนอยู่มิรู้จักหยุด(แปรปรวนอยู่ทุกขณะ),  เซลของร่างกายมีความเสื่อมสลายและสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลาเช่นผิวเราเสื่อมหลุดลอกทุกๆขณะทุกๆเสี้ยวของวินาที และสร้างเสริมใหม่ตลอดเวลาเช่นกันแต่เราไม่เคยสังเกตุเห็นเพราะมันทํางานอย่างต่อเนื่องจนปิดบังการเกิดและดับและความเสื่อมไป จนมองด้วยตาธรรมดาไม่เห็น ต้องใช้ตาปัญญาที่มาจากการศึกษา (จากอาจารย์, สนธนาธรรม,หนังสือ,ธรรมะวิจยะ) แล้วต้องตริตรอง คิดค้น พิจารณาโดยละเอียดแยบคาย(โยนิโสมนสิการ)      ตัวอย่างอีกอันหนึ่ง เช่น ธูปเวลาเราจุดไฟแล้วแกว่งโดยเร็วจะสังเกตุเห็นไฟที่ปลายธูปเป็นเส้นไฟสายเดียวต่อเนื่องกันไปเพราะความเป็นไปอย่างต่อเนี่องจนมองไม่เห็นความจริงว่าเป็นแค่จุดเปลวไฟเล็กๆจากปลายธูป และมองไม่สังเกตุเห็นความเสื่อมมอดไหม้ไปทุกขณะของธูป  เห็นแต่ความรุ่งโรจน์เรืองรองของเส้นไฟจากปลายธูป  ใม่สนใจ,ลืมสังเกตุ(สติ)ความไม่เที่ยงอันแปรปรวนของธูป         ดูเอาเถอะ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ยังคงต้องอยู่ภายใต้อนิจจังของพระไตรลักษณ์         ชีวิตของเราก็เช่นกัน มองหา สนใจแต่ความปรารถนา(สุข) จนลืมสังเกตุ มองไม่เห็นความไม่เที่ยงของกายและจิต(รูป-นาม)ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่างๆก็เพราะ สันตติความสืบเนื่อง อันนี้ที่เป็นปัจจัย         ๒ ทุกขัง สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยคงทนอยู่ไม่ได้, ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยความไม่เที่ยง เกิดและดับ, ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องซ่อนเร้นอยู่ในตัว, ตัวเหตุปัจจัยหลายๆอย่างอันประกอบกันขึ้น แต่ละตัวก็ล้วนแปรปรวน ชึ่งเมื่อเหตุปัจจัยมีการแปรปรวน ผลก็ย่อมแปรปรวนไปด้วย  ทําให้ไม่มีความสมใจ,ไม่สมอยาก,และไม่พอใจ อันก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้ที่ไปอยากด้วยตัณหาหรือไปยึดไว้ด้วยอุปาทานในที่สุด       คําว่า"ในที่สุด" นี้ต้องการชี้ให้เห็นชัดๆว่า เพราะบางครั้งนั้นความสมใจสมอยากบ่อยๆคือได้ตามปรารถนา จนลืมตัวว่าในที่สุดก็ต้องเป็นทุกข์อย่างแน่นอน เพราะความกล้าแข็งขึ้นของตัณหาและอุปาทานตามที่ได้รับการตอบสนอง จนเกินกําลังที่จะสนองได้ในที่สุด, ตลอดจนเพราะความไม่เที่ยง         ทุกขัง หรือความทนอยู่ไม่ได้ มักถูกปิดบังด้วยอริยาบถ-ความเคลื่อนไหว, การยักย้าย จนไม่สังเกตุเห็นทุกข์ที่เกิด เช่นผู้ฝึกสมาธิ เมื่อปฏิบัติจะเห็นความคิด(ทุกข์ทางใจ)แทรกเข้ามาตลอดเวลา ตลอดจนสังเกตุเห็นทุกข์ทางกายจากความปวดเมื่อยต่างๆรุมประเดประดังเข้ามาจนสังเกตุได้ชัด(เคยสังเกตุ?)เพราะเราอยู่ในความสงบนิ่ง, ไม่มีอิริยาบถที่เคลื่อนไหวทุกข์ต่างๆจึงปรากฏให้เห็นชัด บางคนอาจจะอ้างว่าท่านั้นไม่สบายไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย ลองนอนท่าสบายที่สุดดูก็ได้ เพียงแค่รอให้แรงบีบคั้น ความกดดันจนถึงระดับปรากฏแก่สายตาหรือความรู้สึกของเรา มันจะกินเวลาเพิ่มขึ้นระยะหนึ่งเท่านั้น การนอนแค่ต้องการใช้เวลามากขึ้นเท่านั้นเอง,  หรือการที่รูป(สิ่งที่ถูกรู้)ถูกแยกพรากออกจากนาม(ผู้รู้)ก่อนสังเกตุเห็นภาวะบีบคั้นกดดันขัดแย้งนั้น เช่นสิ่งที่เราเห็นนั้นถูกแยกหรือหายไปจากสายตาของเรา,  หรือการที่นาม(ผู้รู้หรือผู้สังเกตุ)ถูกแยกพรากจากรูป(สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกสังเกตุ) เป็นสาเหตุอันสําคัญประการหนึ่งที่ทําให้ไม่เห็นทุกข์ชัดแจ้งแก่ใจ ถ้าเราเห็นจักทําให้เราไม่อยากเป็นทาสของมัน ควรใช้ประโยชน์จากโทษนี้ คือเมื่อนั่งสมาธิถ้าใจเราสงบเป็นสมาธิก็ปล่อยให้เป็นสมาธิ เพื่อจิตจักได้ไม่ซัดส่าย อันก่อเกิดเป็นกําลังของจิตในการพิจารณาธรรม  และชิมรสอร่อยของความสงบ ปิติ สุข อุเบกขา (อย่าไปอยากหรือยึดจนติดเป็นวิปัสสนูปกิเลส จมติดอยู่กับ "สุข", เผลอตัวเมื่อไรเสพทันที จะทําให้ไม่พัฒนาให้เกิดขั้นปัญญาในการดับทุกข์ตลอดจนเกิดโทษในภายหลัง)    แต่เมื่อใดที่เป็นทุกข์ ใจไม่สามารถสงบได้เพราะไม่มีอิริยาบถความเคลื่อนไหวมาปิดบังทุกข์ จนทุกข์นั้นเด่นชัดขึ้นมาในจิต ทําฟุ้งไปในเรื่องต่างๆแม้แต่ในเรื่องการปฏิบัติ  ก็ให้ดูความคิด หรือเวทนากายที่เกิดขึ้นนั้นด้วยใจที่สงบ ให้สังเกตุให้เห็นความคิด,นึก, ปรุงแต่ง ต่างๆที่ผุดขึ้น,ที่เกิดขึ้น(อย่าไปไหลเลื่อนตามความคิดนั้นๆแค่สังเกตุเห็น) นี้แหละคือสังขารที่เคยสั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติมาไว้แล้วแต่ในอดีต ตามวงจรปฏิจจสมุปบาทอันเกิดแต่อวิชชาและอาสวะกิเลส อันนี้เป็นจักประโยชน์อย่างสูงสุด เป็นตาแห่งปัญญาที่จะนําพาให้พ้นทุกข์(วิปัสสนาญาณ)จักได้เริ่มบังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว   เริ่มเห็นความคิดหรือจิตตามที่ได้สั่งสมอบรมไว้(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)ว่าเป็นอย่างไร ก่อทุกข์ ขึ้นมาใช่ไหม เริ่มเข้าใจและเห็นสังขารความคิดอันก่อทุกข์ได้ด้วยตนเองอย่างแจ่มแจ้ง         ๓ อนัตตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่เป็นแก่นสาร(หรือในความหมายเดียวกัน หมายถึง มีตัวตนแต่ไม่เป็นแก่นสาร, ไร้คุณค่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วดับไป) เป็นเพียงการประชุมกันของเหตุปัจจัยในรูปของกระแสที่ไหลเลื่อนไปตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) อันมีเหตุปัจจัยเกิดๆดับๆและแปรปรวน   เมื่อเหตุปัจจัยเหล่านั้นแปรปรวนและดับลง ความเป็นตัวตนที่เป็นกลุ่มก้อนมายาตามสภาวะของสิ่งนั้นก็ต้องดับตามไปด้วย เป็นจริงเช่นนี้ตลอดกาล         อนัตตาถูกปิดบังด้วย ฆนะ-ความเป็นกลุ่มก้อน เป็นชิ้น เป็นมวล เป็นหน่วยรวม เป็นตัว เป็นตน ช่วยกันปิดบังไว้ อนันตลักษณะหรือลักษณะของความไม่มีตัวตนอย่างแท้จริงจึงไม่ปรากฏให้เห็น(อนันตลักษณะ-ความไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นสารเป็นเพียงการรวมตัวของเหตุปัจจัยที่มาประชุมกัน เมื่อเหตุปัจจัยนั้นดับตัวตนนั้นก็จักดับไปด้วย)ดังเช่นก้อนหินเมื่อแตกสลายเป็นฝุ่นหรือชิ้นเล็กๆความรู้สึกของเราจะไม่เห็นเป็นก้อนหินแล้ว ใจอันถูกยึดไว้แล้วนั้นไม่ยอมรับว่าเป็นก้อนหินทั้งๆที่มาจากก้อนหินก้อนนั้นแท้ๆ   หรือเมื่อเราเห็นเสื้อ เราก็รู้สึกว่าเป็นเสื้อ มองไม่เห็นลึกลงไปเห็นความจริงว่าเป็นผ้าที่เกิดจากการมาปรุงแต่ง ถัก ทอ ตัด เย็บเป็นรูปเสื้อ  ถ้ามองลึกลงไปอีกจะเห็นว่าผ้านั้นก็เกิดแต่เหตุปัจจัยอันมีแต่เส้นด้ายมาประชุมปรุงแต่งรวมกันเป็นระเบียบ  เมื่อแยกด้ายออกจากกัน(เหตุปัจจัยดับ) ความเป็นผ้านั้นก็ไม่มี เพราะฆนะความเป็นกลุ่มก้อนได้ถูกทําลายไป  เพราะฆนะจึงไปบดบังความเป็นอนัตตาอันเป็นธรรมสูงสุดในพุทธศาสนา ทําให้ไม่เห็นถ่องแท้ในอนัตตลักษณะความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอย่างแท้จริง แต่เกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันแค่ชั่วระยะหนึ่ง         ตัวเราก็เช่นกันเราพากันยึดในตัวในตนของเราเองเพราะไม่เห็น,ไม่รู้แจ้งแทงตลอด(เข้าถึงใจ) ว่าตัวเราก็แค่ประกอบด้วย รูป+นาม หรือกาย+จิต หรือขันธ์ทั้ง๕(ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน)   ตัวเราก็คือสภาวะธรรม(สิ่งต่างๆ)ที่เป็นขันธ์ทั้ง๕ อันเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน มาอยู่ร่วมกันและทํางานประสานสอดคล้องกันชั่วชีวิตหนึ่ง(ระยะหนึ่ง)         รูปหรือกาย แยกย่อยลงไปประกอบด้วย ธาตุ ๔ - ดิน, นํ้า, ลม, ไฟ อันต้องมี หน้าที่ทํางานของตนเองอย่างผสมกลมกลืนซึ่งกันและกันตามธรรมชาติหรือสภาวะธรรม ตลอดจนทํางานประสานกับจิต         นามหรือจิต ประกอบด้วย เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ อันต้องทํางานประสานซึ่งกันและกันอย่างกลมกลืนสอดคล้องตามธรรมชาติเช่นกัน  ตลอดจนทํางานประสานกับกาย         รูปอันประกอบด้วยเหตุปัจจัยของธาตุ ๔ อันมี         ธาตุดิน คือ ธาตุต่างๆทุกชนิด(มีอยู่ในดิน)นั่นเอง ท่านเรียกรวมๆว่าธาตุดิน เช่นคาบอนร์-C, ไฮโดรเจน-H , อ๊อกซิเจน-O, เหล็ก-Fe, ไนโตรเจน-N , แคลเซี่ยม-Ca, สังกะสี- Zn.........ฯลฯ.อันล้วนมีต้นกําเนิดมาจากดินทั้งสิ้น มารวมกันเป็นสารประกอบต่างๆเช่น เซลในตัวทุกเซล, เนี้อเยื่อ, อวัยวะต่างๆ, โปรตีน, ผม, สมอง, ตับ,ม้าม, ผิวหนัง.............ฯลฯ. กล่าวคือทุกๆส่วนที่เป็นของข้นแข็ง  เริ่มแรกสุดนั้นธาตุดินเราได้มาจากพ่อแม่คือแรกสุดได้ไข่จากแม่และสเปิร์มจากพ่ออันล้วนแต่มีธาตุดินประกอบอยู่ทั้งสิ้น (พ่อแม่ก็ได้จากธาตุต่างๆในอาหาร)  เมื่อเกิดขึ้นมาก็กินจากพืชซึ่งก็ได้ธาตุต่างๆจากธาตุดิน  หรือกินสัตว์ซึ่งบ่วงโซ่สุดท้ายของอาหารในสัตว์ก็คือพืชซึ่งก็มาจากธาตุดินในที่สุด  ดังนั้นจักเห็นได้ว่าแม้แต่กายเราแม้บัดนี้ทุกๆส่วนคงประกอบและต้องการธาตุต่างๆหรือธาตุดินอยู่ทุกๆวันผ่านทางอาหารต่างๆที่กินอยู่ทุกวัน แล้วทําการย่อยสันดาปได้พลังงานและสารประกอบต่างๆ อันประกอบมาแต่ธาตุต่างๆ ตามที่ร่างกายต้องการ   เมื่อกําจัดฆนะความเป็นกลุ่มก้อนมายาที่เห็นคือกายเราออกไป เราจักยอมรับได้ว่า ตัวกายเรานั้นส่วนหนึ่งประกอบด้วยธาตุดินหรือธาตุต่างๆซึ่งมีรวมในธาตุดินนั่นเอง หรือมีธาตุดินเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของกาย         ธาตุนํ้า เราประกอบไปด้วยธาตุนํ้าที่มาจากการดื่มและในอาหารอยู่ทุกๆวัน แม้ในขณะเป็นทารกก็ได้ธาตุนํ้าจากนํ้านม อีกส่วนหนึ่งของนํ้านมนั้นก็ให้ธาตุดินเช่นกัน   ธาตุนํ้ากล่าวคือส่วนของเหลวต่างๆในร่างกาย ทั้งในเซลทุกๆเซล และในระบบร่างกายทุกๆส่วน เลือด นํ้าเหลือง นํ้ามูก นํ้าย่อย นํ้าดี..... ฯลฯ. ไม่มีการสร้างเองล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ต้องนําเติมมาจากการดื่มการกินทั้งสิ้น  ถ้าเราพิจารณาให้ดีก็จักยอมรับได้ว่า ตัวกายเรานั้นส่วนหนึ่งประกอบด้วยธาตุนํ้า หรือมีนํ้านั้นเป็นเหตุปัจจัยของกาย         ธาตุลม เราได้จากการหายใจอยู่ทุกๆขณะ เป็นปัจจัยที่จําเป็นในการคงชีวิต และบางส่วนจากส่วนเกินของขบวนการย่อยสันดาปของอาหารเช่นลมในท้องจากการย่อยอาหาร ฯลฯ.   ธาตุลมคงมีอยู่ในทุกเซลของร่างกายเช่นกัน โดยการนําพาออกซิเจนหรือลมโดยกระแสโลหิตอันจําเป็นอย่างยิ่งในการยังชีวิตของทุกๆเซลที่มีชีวิตในร่างกาย  ถ้าเราโยนิโสมนสิการ เราจักยอมรับได้ว่า ตัวกายเรานั้นส่วนหนึ่งประกอบด้วยธาตุลม หรือลมนั้นเป็นเหตุปัจจัยของกาย         ธาตุไฟ เราได้ความร้อนหรือธาตุไฟมาจากการย่อยสันดาปของอาหารในร่างกาย อันทําให้เรามีอุณหภูมิภายในร่างกายคงที่ในการคงดํารงชีพเป็นปกติ อันเกิดจากการย่อยสลายและผสมผสานของปัจจัยอันเป็นธาตุต่างๆเช่นธาตุดินจากอาหาร,ธาตุนํ้า แม้แต่ธาตุลม เพื่อการสันดาปให้เกิดพลังงาน(ธาตุไฟชนิดหนึ่ง)และความร้อนอันคือธาตุไฟนั่นเอง ตลอดจนความร้อนจากภายนอกเช่น พระอาทิตย์ จากไฟ ฯลฯ. ถ้าเราโยนิโสมนสิการ  เราจักยอมรับได้ว่า ตัวกายเรานั้นส่วนหนึ่งประกอบด้วยธาตุไฟ หรือไฟนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งให้เกิดกายนั่นเอง         เห็นได้ว่า,เข้าใจได้ว่ารูปหรือกายนี้เกิดแต่ "เหตุปัจจัย."มาประชุมรวมกันระยะหนึ่งของธาตุทั้ง ๔ เป็นรูปร่างขึ้น และด้วยเหตุปัจจัยปรุงแต่งอันสําคัญอีกเช่นกันอันคือนามหรือจิต  ( อันก่อให้เกิดกรรมอันคือการกระทําที่มีเจตนา อันทําให้ชีวิตเป็นไปตามกรรมคือกระทํานั้นนั่นเอง)          ส่วน นาม หรือ จิต นั้นก็เกิดแต่เหตุปัจจัยอันประกอบด้วย เวทนา   สัญญา  สังขาร  วิญญาณ          เวทนา เป็นเพียง การเสวย หรือ รับรู้อารมณ์ที่กระทบสัมผัส คือสุขเวทนา, ทุกขเวทนา, หรือเฉยๆ เป็นแค่ขบวนการการรับรู้อารมณ์(สิ่งที่กระทบสัมผัสเช่นรูป เสียง ฯ.) พร้อมความจําได้เท่านั้น   ไม่ใช่ สุขหรือทุกข์ในมุมมองของพุทธศาสนา แต่ก็เป็นขบวนการสําคัญที่ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะมักไปสับสนกับความทุกข์ความสุขเพราะไปยึดไปอยากในเวทนานั้นอันเป็นกระบวนการธรรมชาติธรรมดาๆ จนทําให้การปฏิบัติไม่ได้ผล วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ(ความเวียนว่ายตายเกิดในภพ)ไม่รู้จักจบ ความสําคัญนี้พระพุทธองค์จึงได้บัญญัติเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔ ให้เห็นเวทนาในเวทนา,หรือสติตามดูเวทนา หรือการรับรู้อารมณ์(สิ่งที่มากระทบนั่นเองแต่มีสัญญาเกี่ยวข้องด้วย) คือมีสติตามดูและเข้าใจเวทนาหรือความรู้สึกในอารมณ์(หมายถึง รูป เสียง ฯ.) อันมีสุข,ทุกข์,ไม่สุขไม่ทุกข์-เฉยๆ เป็นอารมณ์  โดยเพื่อให้รู้เท่าทันว่า เวทนานี้ก็สักแต่ว่าเวทนา เป็นแค่กระบวนการรับรู้ เกิดๆดับๆเป็นสภาวะธรรมชาติตามปกติ ไม่ควรไปอยาก หรือไปยึดมั่นถือมั่นให้เป็นทุกข์ขึ้นมาจริงๆ         สัญญา ความจําได้ในอารมณ์, หมายรู้ในอารมณ์ที่กระทบสัมผัส(รูป เสียง.. ฯ.), ตลอดจนสัญชาตญาณ  สรุปรวบรวมความคิดประสบการณ์ต่างๆ(จากอดีต)เป็นความทรงจํา,  สติและปัญญาก็เป็นสัญญาชนิดหนึ่งแต่ก็จัดเป็นสังขารขันธ์ด้วย เพราะมีการริเริ่มกระทําหรือแสดงออกมาได้ และก็เป็นสัญญาชนิดที่ควรเจริญให้เกิดให้มียิ่งๆขึ้นไป  จักเห็นได้อย่างหนึ่งว่าสมองก็จักต้องเป็นเหตุปัจจัยส่วนหนึ่งของจิตด้วย  แต่จิตไม่ใช่สมองแต่อย่างเดียว         สังขารขันธ์ ความคิดอ่านเจตนาที่จะกระทําทางกายสังขาร, วจีสังขาร, มโนสังขาร ทั้ง๓  ความคิดอ่านอันนี้ไม่เหมือนใน "สัญญา" ซึ่งเป็นความคิดที่เกิดจากความจําหรือการเปรียบเทียบตัดสินใจเพื่อหมายรู้อารมณ์หรือสิ่งที่สัมผัสหรือกระทบโดยอาศัยประสบการณ์จําอดีต,  ส่วนความคิดอ่านหรือเจตนาในสังขารขันธ์นั้นมีการริเริ่มหรือเจตนาด้วยตนเองหรือสั่งการ ในการคิดอ่าน แสดงเจตจํานงค์ที่ต้องการได้ ดังเช่นความโกรธ โลภ หลง เมตตา กรุณา สติ ปัญญา อารมณ์สมาธิ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ. อันเกิดแต่จิตเป็นผู้สั่ง         วิญญาณ การรับรู้ เช่น ตา กระทบ รูป จะเกิดการรับรู้(จักขุวิญญาณ-ระบบประสาทตา)เห็นภาพนั้น แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นอะไรแค่ภาพเฉยๆ ไม่ทราบความหมายใดๆ(สัญญาจะทําหน้าที่จําและแปลสัญญาณภาพนั้น)เช่นเด็กทารกเห็นปืน ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร เพราะไม่มีสัญญาในอารมณ์(สิ่งที่กระทบสัมผัสคือปืน)เกี่ยวกับปืนมาก่อน แต่เห็นปืนนั้น แต่ถ้าเห็นนมเด็กจะรู้ทันทีว่านี่ของกินของฉันเพราะมีสัญญาในอารมณ์(นม)นั้นอยู่แล้ว(จําได้ว่าของกิน)  ต้องการชี้ให้เห็นว่าทารกนั้นมีจักขุวิญญาณเห็นปืนแต่ไม่มีสัญญาจําใดๆกับปืนนั้น  เมื่อเห็นนมจึงมีเวทนา เกิดความอยาก  แต่เห็นปืนก็สักแต่ว่าเห็นไม่รู้ไม่เข้าใจเพราะเกิดเวทนาประเภทเฉยๆ         ทั้ง๔นี้ต่างทํางานประสานร่วมกัน เป็นเหตุปัจจัยกันเกิดเป็นจิต สิ่งที่เราเฝ้าเพียรค้นหาว่าอยู่ที่ใด  มันจึงหาไม่พบ เพราะมันไม่มีขนาด รูปร่าง หรือที่อยู่อย่างแท้จริง เกิดแต่เหตุปัจจัยอันหลากหลายมาประชุมกันจึงเกิดขึ้นได้   และแต่ละเหตุปัจจัยเหล่านี้ก็ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยของตนเองย่อยลงไปอีก         รูปทํางานร่วมกับนามโดยอาศัยซึ่งกันและกัน ผ่านการเชื่อมโยงของวิญญาณ(ในแง่วิทยาศาสตร์ อุปมาดั่งระบบประสาท) โดยอาศัยผ่านอายตนะทั้ง ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย )ที่มีอยู่ในรูปหรือกาย         ตัวเราหรือชีวิตจึงเป็นเหตุปัจจัยต่างๆที่มาประชุมกันของรูป(ธาตุ๔)และนาม(ทั้ง๔)อันมาประชุมกันชั่วขณะชีวิตอย่างประสานผสมกลมกลืนเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน ทั้งหมดคือชีวิต  อุปมาดั่งการเกิดไฟ         ไฟที่เกิดจากแว่นขยายหรือเลนส์นูนที่ส่องกลางแดด  ไฟที่เกิดนั้น  ไฟนั้นก็ไม่ได้อยู่ในแว่นขยาย  ไฟนั้นก็ไม่ได้อยู่ในแสงแดด  ไฟนั้นก็ไม่ได้อยู่ในสิ่งที่เป็นเชื้อไฟ   แต่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้ง๓มาประชุมรวมเป็นปัจจัยแก่กันและกัน ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้  และอย่างผสมกลมกลืน ดุจดั่งแว่นขยายที่ส่องไปยังเชื้อไฟก็ต้องถูกต้องสอดคล้องได้ระยะกันด้วย ถึงจักเกิดไฟขึ้นได้  ชีวิตเราก็เฉกเช่นกัน เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมกันดังกล่าวแล้ว มาเป็นชีวิต และยังมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งหลัก อันคือกรรม(การกระทํา) อันทําให้ชีวิตเป็นไปตามกรรม(การกระทํา)นั้นๆ         หรือดังที่พระบาลีกล่าวไว้ว่า  "อาศัยไม้ เถาเชือก ดินฉาบ และหญ้ามุง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่าเรือนฉันใด(บ้านในสมัยพุทธกาล) อาศัยกระดูก เส้นเอ็น เนื้อ หนัง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่าคน(รูป)ฉันนั้น"   อันแสดงถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดรูปหรือกายในอีกมุมมองหนึ่ง         และเมื่อเหตุปัจจัยเหล่านี้บางตัวนั้นแปรปรวนไปหรือเหตุปัจจัยบางปัจจัยดับไป เหตุปัจจัยต่างๆไม่ครบองค์ประกอบของชีวิต ตัวตนก็จักต้องแตกสลายแยกไปตามสภาวะธรรม(ชาติ)ของมัน ดังเช่นอุบัติเหตุ เจ็บไข้ได้ป่วย แม้แต่สังขารที่แก่ชรา ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยของรูปหรือกายที่แปรปรวนจากการถูกกระทําหรือแปรปรวนเสื่อมไปตามธรรม(ชาติ) เมื่อรูปหรือกายไม่มีความสมดุลย์ในองค์ประกอบของชีวิตแล้ว ธาตุ๔ต่างๆที่รวมตัวกันเป็นรูปหรือกายก็เกิดการเสื่อมแตกสลายไปเช่นกันเช่นธาตุลมดับไป ธาตุไฟก็ดับตาม ธาตุดินก็กลับคืนสู่ดิน ธาตุนํ้าก็กลับสู่ดินและระเหยไปตามธรรมชาติ เมื่อรูปหรือกายแตกดับไปแล้วทําให้ไม่ครบองค์ประกอบของชีวิต  นามหรือจิตก็ต้องดับตามไปด้วย ในที่สุดก็ไม่มีสิ่งใดที่แสดงความเป็นตัวตนอีกต่อไป ท่านจึงตรัสว่าไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นสารที่คงทนตลอดไป จนไปยึดมั่น ถือมั่น เพราะในที่สุดก็ต้องดับไป, หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งในความหมายเดียวกันแต่ในอีกแง่มุมมอง(ที่มักถกเถียงกันอยู่เนืองๆ)คือ มีตัวตนแต่ไม่มีแก่นสารสาระให้ยึดมั่น เพราะอยู่แค่ชั่วขณะระยะหนึ่ง แล้วในที่สุดก็ต้องดับไปตามเหตุปัจจัยต่างๆที่เกิดการแปรปรวนและแตกสลายดับไป แต่มักถูกปิดบังและซ่อนเร้นอยู่ด้วยความเป็นกลุ่มก้อน(ฆนะ)ของรูปและนามที่มาประชุมกันคือตัวตนทางโลกของเรา ตลอดจนเหตุปัจจัยที่ประกอบกันในรูปกระแสธรรมชาติที่ไหลเลื่อน เกิดๆ ดับๆ ตลอดเวลา(อนิจจัง,ทุกขัง)  จนไม่สามารถสังเกตุเห็นด้วยตาธรรมดานอกจากใช้ปัญญามาไตร่ตรองพิจารณา(ธรรมะวิจยะโดยการโยนิโสมนสิการ)เท่านั้น         ดังนั้นสาระสําคัญของอนัตตา มิได้อยู่ที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตน  แก่นสารสาระสําคัญกลับไปอยู่ที่ไม่สามารถคงทนอยู่ได้ตลอดไปเพราะอนิจจังและทุกขัง         ดังนั้นจะเห็นได้ชัดเจนถึงจุดมุ่งหมายของพระไตรลักษณ์ ที่ใช้ปัญญาเข้าถึง "ความไม่เที่ยงมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงมีความคงทนอยู่ไม่ได้ จึงจักเป็นทุกข์ถ้าไปอยากด้วยตัณหาหรือไปยึดด้วยอุปาทาน,  ตัวตนก็่ไม่มีแก่นสารเป็นเพียงสภาวะธรรม(ชาติ)ในรูปกระแสเหตุปัจจัย ที่ไหลเลื่อนเป็นปัจจัยแก่กันและกันหรือเนื่องสัมพันธ์กันอยู่ระยะหนึ่ง  เพื่อให้ลดละความยึดมั่นถือมั่นความพึงพอใจในตัวตน,ของตนและในสิ่งใดๆหรือ"อุปาทาน"นั่นเอง         พระพุทธองค์ทรงแสดงพระไตรลักษณ์ หรืออนันตลักษณะ, อนิจจลักษณะ, ทุกขลักษณะอยู่เนืองๆ ดังเช่น         "รูป (เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ) ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์(คงทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากหรือไปยึด)  สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา, สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วย "สัมมาปัญญา"(ญาณ-ความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง)ตามที่มันเป็น อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา(อย่างแท้จริง) , มิใช่เราเป็นนั่น(อย่างแท้จริง), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา(อย่างแท้จริง)"         ตัวเราอันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละสิ่งล้วนไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ ทําให้เป็นทุกข์ถ้าไปอยากด้วยตัณหา หรือไปยึดด้วยอุปาทานความพึงพอใจในตน,ของตน และเป็นอนัตตาทั้งสิ้น  แต่ละเหตุปัจจัยก็ล้วนอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ดังนั้นตัวตนเราคือมวลรวมทั้งหมดของแต่ละเหตุปัจจัยของทั้งกายและจิต จึงยิ่งมีความไม่เที่ยงแปรปรวน ทนอยู่ไม่ได้ และอนัตตายิ่งกว่าเพราะประกอบมาจากเหตุปัจจัยหลายๆชนิดที่ล้วนแต่แปรปรวนเป็นทุกข์และทนอยู่ไม่ได้ และเมื่อเหตุปัจจัยใดๆดับก็เกิดสภาพอนัตตาขึ้นทันที         นั่นไม่ใช่ของเรา, มิใช่เราเป็นนั่น, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา คือสภาพที่ไม่มีตัวไม่มีตนของ "อุปาทาน"นั่นเอง และต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยคือดําเนินชีวิตไปตามขันธ์๕ ปกติ ไม่ใช่ไม่เอาอะไรสักอย่าง เลยไม่ทําอะไรเป็นความเข้าใจผิด ต้องดําเนินชีวิตไปตามปกติตามหน้าที่ หรือ กิจอันพึงกระทํา แต่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตัวตนอันเป็น"อุปาทาน"เท่านั้น คือไม่มีความทุกข์นั่นเอง ขันธ์๕ดําเนินเป็นปกติคือทําทุกอย่างได้ แต่ต้องไม่ก่อตัณหาอุปาทานให้เกิดเป็นทุกข์อุปาทานอันบังเกิดขึ้นแก่ใจ   ข้อคิด         ถ้าไม่เข้าใจพระไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาทโดยถ่องแท้ ในบางขณะจะเกิดวิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในพระไตรลักษณ์ขึ้นมา หรือเกิดมิจฉาทิฏฐิอันคือความเห็นผิดในพระไตรลักษณ์ คือเห็นว่าในเมื่อทุกสิ่งไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตาแล้วต้องไปกังวลสนใจไปทําไม มีอะไรก็อ้างพระไตรลักษณ์  และทําทุกสิ่งดีชั่วตามปรารถนามิดีกว่าหรือ? ในเมื่อมันเกิดๆดับๆ เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับก็จบกัน  นี้เพราะความไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่าชีวิตยังคงอยู่ และไม่เคยลิ้มชิมรส รสแห่งความสุขสงบ และไม่เข้าใจวงจักรที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาของปฏิจจสมุปบาทโดยแรงขับดันของอาสวะกิเลสอันเกิดแต่กรรม(การกระทําที่มีเจตนา)นั่นเอง  ดังนั้นในบางครั้งเห็นคนทําชั่วมีความรุ่งเรือง ได้ดีมีเงินทอง สิ่งที่เห็นนั้นเป็นการเห็นแต่สิ่งภายนอกเท่านั้น ถ้าท่านเข้าใจปฏิจจสมุปบาทพึงจักเข้าใจได้ว่าผลกรรมการกระทําของเขานั้น ในที่สุดการกระทําหรือกรรมนั้นก็จักก่อให้เกิดเป็นสังขารตามที่สั่งสมประพฤติปฏิบัติไว้ อันเป็นตัวขับเคลื่อน ขับดันให้บุคคลผู้นั้นเข้าสู่กระบวนการของทุกข์อันมนุษย์ปุถุชนไม่สามารถเลี่ยงได้  ในขณะหลับ ขณะก่อนตาย ขณะไม่มีอิริยบถใดๆมาปิดบัง ขณะความทุกข์บางเรื่องเข้าแทรก เกิดเป็นความทุกข์ ความวิตกกังวล ระแวง เป็นห่วง ขุ่นข้อง ฯลฯ. เกิดขึ้นภายในจิตแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา  ชึ่งคราวนี้ไม่มีหนทางที่จะคดโกงหรือหลบเลี่ยงได้ตั้งแต่ปัจจุบันชาตินี้แล้ว  โดยมิต้องกล่าวอ้างถึงวิบากกรรม(ผลของการกระทํา)ในชาติหน้า         สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุปัจจัยอันแปรปรวนมาประชุมกัน จึงยิ่งไม่เที่ยง จึงทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไปจึงเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก ไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นสารสาระอย่างแท้จริง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป         หรือ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยย่อยๆอันไม่เที่ยงแปรปรวนมาประชุมรวมกันจึงยิ่งไม่เที่ยงแปรปรวน จึงยิ่งทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไปในที่สุดจึงเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก ไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริงเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วขณะแล้วต้องดับไป         ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่ได้เกิดแต่ เทพ ไท้ เทวา องค์ใดมาดลบันดาลทั้งสิ้น ซึ่งล้วนอันยังให้เกิดสีลัพพตุปาทาน-ความยึดมั่นในศีลและพรต(ข้อปฏิบัติ)อย่างผิดๆงมงาย เพราะขาดความเชื่อมั่นและความไม่เข้าใจในธรรม(ชาติ)ตามความเป็นจริง เพราะความอยากให้ได้ดังใจจึงไปยึดถือเพื่อเป็นหลักใจ, เป็นกําลังใจ อย่างผิดๆและงมงาย เพราะความไม่เข้าใจในกฎแห่งเหตุปัจจัย(อิทัปปัจจยตา)และปฏิจจสมุปบาท         สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันตามความเป็นจริงของธรรมชาตินั้นๆแค่ชั่วขณะ ไม่ได้เกิดแต่เทพ ไท้ เทวา, แต่เกิดตามหลักอิทัปปัจจยตา(เพราะสิ่งนี้มี ผลนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ผลนี้จึงเกิดขึ้น อันเป็นหลักการเดียวกับหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั่นเอง เพียงแต่วิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปธรรมอันหยาบกว่าและเห็นหรือจับต้องได้)  ดังนั้นจึงมีความไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนไปเป็นธรรมดาไม่มีใครหรือสิ่งใดบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ตลอดไป(บางครั้งบางคราอาจได้ตามเหตุปัจจัยอันตนเองไม่รู้ เลยเข้าใจผิดไปยึดทําให้จิตหลงหรือความหลง) เมื่อไม่เที่ยงจึงทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไปเป็นธรรมดา ดังนั้นถ้าไปยึดไปอยากด้วยตัณหาและอุปาทานจึงต้องเป็นทุกข์จากความไม่สมปรารถนาในที่สุด  ไม่มีตัวตนเป็นแก่นสารสาระให้ไปยึดมั่นถือมั่นเพราะเมื่อเหตุปัจจัยอันไม่เที่ยงแปรปรวนและดับไป ตัวตนที่ไม่มีแก่นไม่มีแกนหรือไร้คุณค่าที่แท้จริง ก็ต้องแปรปรวนและดับไปด้วย ตามหลักอิทัปปัจจยตาเช่นกันคือ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ ผลนี้จึงดับ         เวทนา-ก็เกิดแต่เหตุปัจจัยอันไม่เที่ยง(เกิดแต่ อายตนะภายนอกกระทบสัมผัสกับ+อายตนะภายใน+ มีวิญญาณรับรู้ +และจําได้ในอายตนะภายนอกนั้น) จึงไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไป จึงเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่เป็นแก่นสาระ เมื่อเหตุปัจจัยดับ เวทนานั้นก็ดับไป(ถ้าเข้าใจขันธ์๕ ลองพิจารณาดู)         สัญญา-เกิดแต่เหตุปัจจัยอันไม่เที่ยง จึงไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไป จึงเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่เป็นแก่นสาระ เมื่อเหตุปัจจัยดับ สัญญานั้นก็ดับไป         สังขาร-เกิดแต่เหตุปัจจัยอันไม่เที่ยง จึงไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไป จึงเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่เป็นแก่นสาระเมื่อเหตุปัจจัยดับ สังขารนั้นก็ดับไป         วิญญาณ-เกิดแต่เหตุปัจจัยอันไม่เที่ยง จึงไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไปจึงเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่เป็นแก่นสาระ เมื่อเหตุปัจจัยดับ วิญญาณนั้นก็ดับไป         ดังนั้นนามหรือจิต-ยิ่งไม่เที่ยง ยิ่งทนอยู่ไม่ได้เป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก ยิ่งเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่เป็นแก่นสาระ ยิ่งเกิดแต่เหตุปัจจัยอันยิ่งมากหลาย(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)อันแปรปรวนและต้องดับไป         เช่นเดียวกันในธาตุดิน, นํ้า, ลม, ไฟ-เกิดแต่เหตุปัจจัยจึงไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ เป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่เป็นแก่นสาระ ในที่สุดก็ต้องดับไป         ดังนั้นรูปหรือกาย-ยิ่งไม่เที่ยง ยิ่งทนอยู่ไม่ได้เป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก ยิ่งเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนที่เป็นแก่นสาระ ยิ่งเกิดแต่เหตุปัจจัยมากหลาย อันล้วนแปรปรวนและต้องดับไป         เมื่อรูปและนามประกอบกันเป็นตัวตนชั่วขณะไม่ถาวร จึงยิ่งไม่เที่ยง จึงยิ่งทนอยู่ไม่ได้ จึงยิ่งเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก จึงยิ่งเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนที่เป็นแก่นสาระ จึงยิ่งเกิดแต่ปัจจัยมากหลายที่ยิ่งล้วนแปรปรวนมาประชุมกันทั้งสิ้น ยิ่งอยากด้วยตัณหา หรือยิ่งยึดด้วยอุปาทานก็ยิ่งเป็นทุกข์มากเท่านั้น ในที่สุดก็ต้องดับไปตามเหตุปัจจัยที่แปรปรวนและต้องเสื่อมและต้องดับไปในที่สุด     พระไตรลักษณ์                  สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)  ล้วนเป็นเช่นนั้นเอง  อันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยหลากหลายมาประชุมปรุงแต่งกันชั่วระยะหนึ่ง              จึงล้วนเป็น "อนิจจัง" ไม่เที่ยง  มีอันต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอาการธรรมดา, ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ตลอดไป              จึงล้วนเป็น"ทุกขัง"คงทนอยู่ไม่ได้ จึงต้องเสื่อมไปเป็นอาการธรรมดา และดับไปในที่สุด              จึงล้วนเป็น"อนัตตา"ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่น เป็นแกน เป็นสาระอย่างแท้จริงได้ตลอดไป ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยหลากหลายอันเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) มาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันชั่วแค่ระยะหนึ่ง ดุจดั่งแสงแดด แว่นขยาย และเชื้อไฟ(ขยายความ),   เมื่อเหตุปัจจัยต่างๆเหล่านั้น มีอันต้องแปรปรวน เสื่อม และดับไป    ตัวตน,หรือของของตนที่หลงยึดมั่น ถือมั่น พึงพอใจทั้งในสุขและในทุกข์  ก็ต้องแปรปรวน เสื่อม และดับไปตามเหตุปัจจัยเหล่านั้นในที่สุด               ด้วยเหตุเพราะอนิจจังความไม่เที่ยง, ทุกขังความคงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมและดับไป, และอนัตตาไม่มีตัวตนเป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง จึงจักเป็นทุกข์ถ้าไปอยากด้วยตัณหา  หรือไปยึดด้วยอุปาทานความพึงพอใจ  เพราะความไม่สมปรารถนาในที่สุดนั่นเอง หรือกล่าวอีกนัยได้ว่า               สิ่งใดเกิดแต่เหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง  ล้วนไม่เที่ยง               สิ่งใดไม่เที่ยง  ล้วนทุกขังคงทนอยู่ไม่ได้               สิ่งใดคงทนอยู่ไม่ได้ สิ่งนั้นเป็นอนัตตาไม่มีตัว,ไม่มีตนที่เป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริง                      เพราะไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนถาวรอย่างแท้จริง จึงจักเป็นทุกข์ถ้าไปอยากด้วยตัณหา หรือไปยึดด้วยอุปาทานความพึงพอใจ เนื่องจากความไม่คงที่(ความไม่เสถียร,ความที่ต้องแปรปรวน)ของมัน อันย่อมต้องประสบกับความไม่สมปรารถนาในที่สุด     ปฏิบัติภาวนา         สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย            สิ่งใดเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันจึงมิใช่สิ่งๆเดียวกันอย่างแท้จริง         จึงมีความไม่เที่ยง  จึงคงทนอยู่ไม่ได้         จึงเป็นอนัตตาไม่มีตัวตนเป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริง         จึงเป็นทุกข์ ถ้าไปอยากด้วยตัณหา  หรือ         ไปยึด ด้วยอุปาทานความพึงพอใจ เพราะความไม่สมปรารถนา         จึงควรรู้ด้วยสัมมาปัญญาว่า  นั่นก็มิใช่เรา  เราก็มิใช่นั่น  นั่นก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา.           พิจารณาตัวตน ขันธ์๕ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ว่าเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์         ทําการภาวนาอย่างสมํ่าเสมอ อย่างมีสติ ในทุกอิริยาบถสัก 7 วัน เท่าที่โอกาสอํานวย(ยิ่งมากยิ่งดี) ใหม่ๆใช้ท่องจําเอา  แล้วภาวนาท่องบ่น ได้ทั้งออกเสียงและในใจ ขณะภาวนานั้นความคิดอาจแตกฉาน เข้าใจ เห็นในธรรมนี้มากขึ้นเองเป็นธรรมดา  แต่ห้ามไปฟุ้งในเรื่องอื่นๆ ขอให้มีสติอยู่ในแนวธรรมก็แล้วกัน  เหตุที่ปฏิบัติดังนี้ เพราะเป็นการเปลี่ยนสมมติทางโลกอันเราได้ยึดถือมาแต่กําเนิด โดยอาศัยสังขารในปฏิจจสมุปบาท ซี่งเมื่อทําไปจะบังเกิดผลเป็นธรรมดาอย่างน่าอัศจรรย์.         หมายเหตุ สําหรับท่านที่เป็นฌานหรือสมาธิ(โปรดระวังเพราะบางท่านไม่รู้ว่าเป็น) ขณะที่ท่านพิจารณากายภายในต่างๆนั้นว่าเป็นไตรลักษณ์   อย่าได้ไปคอยส่องหรือจับหรือพิจารณากายหรือจิตอันมีความสุขอันเกิดแต่ผลของสมาธิโดยเด็ดขาด ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านที่เป็นฌานหรือสมาธิคงเข้าใจที่ผู้เขียนหมาย.   ข้อคิด         เมื่อเกิดเวทนาหรือจิตสังขารขึ้นแล้ว มีสติรู้เท่าทันสภาวะธรรม(ชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นนั้นและมันเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดา ไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา เพียงแต่มีสติหยุดคิดนึกปรุงแต่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปอีกเท่านั้น.       อทุกขมสุข หรือ อุเบกขาเวทนา และอวิชชานุสัย                      อทุกขมสุขหรืออุเบกขาเวทนา ถ้าสังเกตุจากชื่อดูจักเป็นของดีที่น่าปฏิบัติหรือน่าให้เกิดให้เป็น แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาจมักจะเป็นอวิชชานุสัย ไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงในคุณในโทษของสภาวะธรรมนั้นๆ  ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า         บุคคลอัน อทุกขมสุขเวทนากระทบถูกต้องแล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป คุณ โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น  ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่           ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา,  ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา  ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้,  แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้  ฯ   (ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)         อุเบกขาเวทนา หรือ อทุกขมสุข ดูแล้วไม่น่าจะมีโทษมีคุณ แต่จัดว่าเป็นปัจจัยอันหนึ่งอันยังให้เกิดโทษอันเนื่องมาจากอวิชชานุสัย อันก่อให้เกิดการประพฤติ, การปฏิบัติ อันอาจก่อโทษได้ในภายหลังเนื่องจากความไม่รู้ตามความเป็นจริงในสภาวะธรรมหรือสิ่งนั้นๆ ดังเช่นตัวอย่างที่เห็นง่ายๆในกรณีเด็กๆผู้ใหญ่จะตักเตือนเด็กๆเรื่องเล่นไฟ,อาวุธปืน หรือมีดว่าอันตราย เด็กก็รับทราบเฉยๆโดยไม่รู้ตามความเป็นจริงว่ามีอันตราย สังเกตุได้จากเด็กจะเล่นแบบหลบๆซ่อนๆ แต่ความที่ไม่รู้ไม่เข้าใจในโทษตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นอย่างแท้จริง เด็กแทบทุกคนจะแอบเล่นทันที ที่มีโอกาสอํานวย จนถ้าเกิดอุบัติเหตุหรือเห็นโทษในสิ่งนั้นเช่นถูกไฟลวก เด็กจะเรียนรู้และระมัดระวังในสิ่งนั้นๆทันที  เป็นสัญญาจําและรู้ในโทษของสิ่งนั้นตามความเป็นจริง และจะเกิดความระมัดระวังในสิ่งนั้นในคราวต่อๆไป อันนี้เป็นผลของอวิชชานุสัยที่เมื่อแยกแยะแล้วจักเห็นโทษได้ชัดเจนขึ้น         ถ้าเราพิจารณาโดยละเอียดตามความเป็นจริงหรือโยนิโสมนสิการจักเห็นได้ว่าอทุกขมสุข หรืออุเบกขาเวทนา หรือเฉยๆ เป็นตัวการก่อความทุกข์ด้วย เพราะความที่เฉยๆหรือไม่รู้ไม่สนใจ ไม่เห็นชัดเจนเหมือนสุขเวทนาและทุกขเวทนา จึงมักปล่อยใจปล่อยกาย ไปคิดนึกปรุงแต่งโดยไม่รู้ตัวเพราะเห็นว่าไม่เป็นโทษจึงปล่อยใจกาย  จึงเป็นปัจจัยให้กิเลสและตัณหาซึ่งมักแอบแฝงซ่อนเร้นตัวมากับเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งนั้น ก่อตัวขึ้นโดยไม่รู้ตัว โดยตัณหานั้นอาจเกิดเพราะเวทนาของการคิดปรุงแต่งเรื่อยเปื่อยตัวใดตัวหนึ่ง จึงควรมีสติระมัดระวัง ตลอดจนปัญญาให้เห็นโทษในตัณหาปรุงแต่ง         ในกรณีอทุกขมสุขหรืออุเบกขาเวทนา ขันธ์๕ที่เกิดจักอยู่ในรูปขันธ์๕ธรรมชาติแต่ตัณหาอาจกระทําต่อเวทนาอันเกิดจากสังขารขันธ์ในรูปคิดนึกปรุงแต่ง อย่างค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งไม่รู้ตัว จนกลายเป็นอุปาทานขันธ์ หรือก็คือกระทําต่อคิดนึกปรุงแต่งที่เป็นขันธ์๕นั่นแหละ และไม่ทันต่อเวทนาของคิดนึกปรุงแต่งนั้น จนกลายเป็นอุปาทานทุกข์เสีย อวิชชานุสัย          อย่างในนักปฏิบัติก็เช่นเดียวกันมักเกิดอวิชชานุสัย อันยังให้เกิดกิเลสตัณหาเนื่องจากความไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งมองไม่ค่อยเห็น เช่นเห็นของสวยพยายามกดข่มว่าไม่สวย อยากในสิ่งใดก็สร้างตัณหาความไม่อยากมาต่อสู้, กดข่ม ดังตัวอย่างเรื่องอาหารที่ได้กล่าวไปแล้วในบทท้ายอริยสัจ ซึ่งเป็นเพราะความไม่รู้แจ้งว่าก่อตัณหาอีกตัวหนึ่งขึ้นมา       มีอาหารของโปรดอันโอชะมาวางตรงหน้า เกิดเหตุปัจจัยอันมี อาหารนั้นเกิดอวิชชาสัมผัสอันเนื่องมาจากตา, จมูก และใจ ที่ไปสัมผัสรู้ เกิดเวทนาอันยังให้เกิดตัณหา ความอยากในอาหารนั้น ถ้าเราไม่รีบ " ละ"โดยเบี่ยงเบนหรือโดยจิต อย่างฉับไวเช่นลุกเดินออกไป หรือเบี่ยงเบนไปในสิ่งอื่น แต่กลับนั่งดู, นั่งจ้อง, นั่งพิจารณา เพื่อต่อสู้กับตัณหาความอยากในทางโลกๆนั้นเป็นการผิด เพราะจักต้องก่อตัณหาอีกตัวหนึ่งเป็นตัณหาในทางธรรมคือความไม่อยากในความอยากทานอาหารนั้น เป็นตัณหาซ้อนตัณหา ซึ่งเราในที่สุดเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าตัณหาแรกคือความอยากในอาหารชนะลงมือกิน เราก็แพ้แก่ตัณหาความอยากอาหารนั้นในที่สุด  ถ้าตัณหาในธรรมคือความไม่อยากเป็นฝ่ายชนะ ไม่กินอาหารนั้น เราก็พ่ายแพ้แก่ตัณหาในทางธรรม(ใจ)นั้นเช่นกัน เราจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แน่นอนแก่ตัณหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อตัณหาเกิดทุกข์อุปาทานย่อมบังเกิดอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงต้องรู้ตามความเป็นจริง และให้ " ละ"โดยเร็วเท่าที่สติรู้ทันทันที อย่าไปคิดสู้รบปรบมือไม่ว่ากับตัณหาฝ่ายใด ให้ "นําออก"และ " ละ" เสียโดยเร็ว  ตลอดจนให้มีสติระมัดระวังตัณหาในทางธรรม หรือ "กุศลตัณหา" ที่จักบังเกิดขึ้นในทุกกรณี   นี้เป็นเพียงตัวอย่างง่ายๆเพื่อแจงให้เห็นการทํางานของตัณหา จักได้ระมัดระวังป้องกันตัณหาอันยังให้เกิดทุกข์ในชีวิตจริงๆ         ในกรณีของ กิจอันพึงกระทําในอริยสัจ๔ คือทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ ก็เฉกเช่นกัน ทุกข์ให้รู้นั้นให้รู้ตามความเป็นจริงในคุณโทษของสภาวะของสิ่งนั้นๆ  ไม่ละโดยสร้างตัณหามาซ้อนตัณหาอันคือความหลงหรือโมหะนั่นเอง, ไม่กดข่มไว้ หรือการละทันทีโดยไม่รู้ไม่เข้าใจอันเป็นอวิชชานุสัยเช่นกัน   ดังนั้นจึงจักต้องรู้ในทุกข์นั้นอย่างถูกต้อง อย่าปล่อยให้เป็นอวิชชานุสัย แล้วจากนั้นให้ละทันทีและฉับไวที่สุดเท่าที่กําลังของสติและปัญญาของเราจักทําได้หรือรู้ทัน จึงจักถูกต้อง         ละนั้นก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องเช่นกันคือละตัณหาความอยากหรือไม่อยากในเรื่องนั้นๆคือละเหตุแห่งทุกข์คือตัณหา ไม่ใช่ละกิจอันพึงกระทํา เช่นการแก้ไขปัญหานั้นๆ เพียงแต่พยายามละตัณหาอันมักแอบแฝงมากับเวทนาของความคิดแก้ปัญหานั้นๆโดยใช้สติ รู้เท่าทันเวทนาหรือตัณหา ดังเช่นถ้าเราทั้งหิวข้าวอยากทานข้าวเป็นขันธ์๕ปกติเป็นทุกขเวทนาทางกายตามธรรมชาติ แต่ก็อาจมีตัณหาความอยากทานอะไรเป็นพิเศษแฝงมาด้วยเมื่อเราจะทานข้าวปรากฏว่ามีอาหารของโปรดด้วยเราจะทํากิจของสมุทัยคือละ ไม่กินอาหารนั้นเลยหรือ เพราะรู้ว่ามีความอยาก ไม่ใช่แน่นอน เราต้องรู้ตามความเป็นจริงในคุณโทษของสิ่งนั้นๆ เราต้องกินอาหารนั้นอันเป็นกิจที่พึงกระทํา เนื่องจากร่างกายมีความหิวต้องการอาหารนั้น สิ่งที่เราควรละคือตัณหาความอยากในอาหารนั้นโดยสติ จึงจักควรกินอาหารนั้นโดยมีสติรู้เท่าทัน อร่อยก็อร่อยตามรสชาติของอาหารและสัญญาจําของเราเองตามความเป็นจริง ไม่ไปฝืนว่ามันไม่อร่อย แต่อย่าอยากหรือยึดติดหรือเพลินกับความอร่อยจนลืมความพอดีหรือขาดสติ         ตัวอย่างในทางโลกๆเช่น         เราโกรธเพื่อนหรือลูกน้อง เราเคยสังเกตุหรือไม่ว่าเขาเจตนาหรือมีเหตุผลเยี่ยงไร เราจะโกรธทันทีที่เขากระทบความพึงพอใจในตนของตน ความเชื่อ หรือศรัทธาของตน โดยไม่เคยสังเกตุหรือ "รู้" ตามความเป็นจริงอันสําคัญยิ่ง ต่อจากนั้นเราจักคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นอุปาทานขันธ์ทั้งสิ้น ลูกน้องหรือเพื่อนเตือนอาจมีเหตุผลหรือเจตนาดีแฝงอยู่ก็ได้ แต่เราโกรธเสียแล้ว ย่อมปิดกั้นการรับรู้ตามความเป็นจริงเสีย เช่นใช้ลูกน้องไปทําอะไรสักอย่าง หายไปนานมากๆเราจะมีความโกรธกรุ่นขึ้นมาก่อนที่ลูกน้องจะกลับมารายงานเสียแล้ว เขาอาจมีเหตุผลที่สมควรก็ได้เช่นเกิดอุบัติเหตุ แต่พอกลับมาเรามักจะต่อว่าก่อนแล้วค่อยรับฟังแต่เป็นการรับฟังภายใต้อิทธิพลของอุปาทานเราเองที่ครอบงําอยู่เสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นกิจอันพึงกระทําในอริยสัจเรื่องทุกข์ให้รู้ ต้องรู้ว่าเป็นอุปาทานขันธ์และรู้ตามความเป็นจริง จึงจักถูกต้อง ไม่ใช่รู้จากการปรุงแต่ง, ฟุ้งซ่านของเราเอง อันเป็นอวิชชา         ทุกข์ เกิดแต่เหตุปัจจัยจากความไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงในคุณโทษของสภาวะนั้นๆ และเกิดแต่สิ่งที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว(สังขารวิบาก)อันไม่สามารถกลับกลายเปลี่ยนแปลงได้อีกแล้ว เมื่อมาปฏิบัติเพื่อดับทุกข์มักจะเกิดความรู้สึกอยากให้ทุกข์นั้นมันหมดสิ้นไปดังใจหวัง เมื่อไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะขาดความรู้ความเข้าใจในตอนแรกๆ ก็หมดกําลังใจหรือความหวัง เลิกศึกษาปฏิบัติไปเลยเหตุเพราะตั้งความหวังไว้สูง และไม่มีความเพียรหรือสัมมา-วายามะเพียงพอ โลภ โกรธ หลง ในมุมมองแบบปฏิจจสมุปบาท อาการโลภ โกรธ หลง ถ้าเรามองจากกระบวนการปฏิจจสมุปบาท เราจักมองเห็นได้ว่าเกิดขึ้นจากตัณหาคือ ความอยาก, ความไม่อยาก เพียง๒อย่างนี้ แต่ทําให้เกิดได้๓อาการ                 โลภ-โลภะเกิดจากตัณหาความทะยานอยากในสิ่งใดๆ ตามเวทนาหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นอันมักเป็นสุขเวทนาแล้วจิตจักมีอาการทะยานออกไปยึดไปอยาก อยากให้ได้ อยากให้มี อยากให้เป็น อยากให้เกิด ตามเวทนาหรืออารมณ์นั้นๆ จิตจักเกิดอุปาทานความพึงพอใจที่จะให้ได้สิ่งนั้นๆตาม ตัณหาทะยานอยาก เมื่อไม่ได้สนองอุปาทานดังใจภพหรือสภาวะที่เกิดก็จักเกิดเป็นความโลภ หรือราคะ ถ้าได้สมปรารถนาอุปาทานได้รับการตอบสนองก็จักเกิดความสุขแบบโลกๆอันยังให้เกิดทุกข์ในภายหลัง         โกรธ-โทสะ มักเกิดจากตัณหาความไม่อยากในสิ่งใดๆ ตามเวทนาหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นอันมักเป็นทุกขเวทนา ไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เป็น จิตจักมีอาการทะยานออกไปผลักไสต่อต้าน รวมถึงต่อสู้ ต่อสิ่งนั้นๆหรืออารมณ์นั้นๆ จิตจักเกิดอุปาทานชนิดที่ความพึงพอใจไม่ได้รับการตอบสนองตามความพึงพอใจของตน ภพหรือสภาวะที่เกิดจึงเป็นความขัดข้อง, ขุ่นเคือง หรือปฏิฆะ อันยังให้เกิดอาการไม่พอใจต่างๆนาๆ(อุปาทานขันธ์๕) เช่นตั้งแต่ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ไปจนโกรธ เกรี้ยวกราด ทําร้ายอันแสดงออกถึงความไม่ชอบ ไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้เป็น ไม่อยากให้มี                     หลง-โมหะ เป็นอาการที่ละเอียดซับซ้อนที่สุดใน ๓ อาการนี้ และมักเกิดอยู่เสมอๆโดยไม่รู้ตัว เป็นขบวนการที่มีต้นกําเนิดพอที่จะจําแนกออกเป็น ๒ ลักษณะ           ๑. เกิดจากอวิชชา คือความไม่รู้ตามความเป็นจริงในสภาวะธรรมหรือสิ่งนั้น หรือเกิดจากอวิชชานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานเพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง)นั่นเอง อันทําให้เกิดความหลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ครอบคลุมทั้งโลภะและโทสะ อันล้วนเป็นสังขารขันธ์ในขันธ์๕         ๒. เกิดจากตัณหาเองโดยตรง มีเกิดซํ้าๆซ้อนๆกัน ดังเช่น         ๒.๑ เกิดภวตัณหาซ้อนภวตัณหา หรือความอยากซ้อนอยาก ดังเช่นอยากได้รถไว้ใช้งานสักคัน จะมีตัณหาซ้อนเพิ่มขึ้นอีก ว่าน่าจะเป็นรถดีๆแพงๆจะได้โก้ๆหน่อยกลายเป็นความหลง ตัดสินใจไม่ถูก ต้องซื้อรถดีๆ ถูกใจ สวยๆ หรือเอาประโยชน์สูงสุดไว้ใช้งาน         ๒.๒ เกิดจาก วิภวตัณหา ซ้อนวิภวตัณหา หรือความไม่อยากซ้อนความไม่อยาก         ๒.๓ และอาจเกิดทั้ง๒ คือทั้งความอยากและความไม่อยากก็ได้ อันมีทั้งตัณหาความไม่อยาก ซ้อนตัณหาความอยากตามที่ได้กล่าวมาแล้วหลายๆครั้ง         ตลอดจนตัณหาความไม่อยาก ซ้อน ตัณหาความอยาก ก็เป็นเฉกเช่นกันดังตัวอย่างเมื่อมีทุกขเวทนาหรือความทุกข์ ในสิ่งใดๆขึ้นมาในขั้นแรกจักเกิดตัณหาความไม่อยากให้เกิด, ให้เป็น จิตจักทะยานออกไปผลักไส ต่อต้านหรือ ต่อสู้ ต่อทุกขเวทนาหรือความทุกข์นั้นๆทันทีเป็นปกติวิสัย ขณะที่ผลักไสต่อสู้อยู่นั้น จักมีจิตหนึ่งที่แวบออกไปคิดปรุงแต่งสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นความอยากที่จักไปใช้ดับหรือแก้ไขอันเนื่องกับทุกขเวทนาหรือทุกข์นั้นๆ เช่น เป็นทุกข์จากการขาดทรัพย์ ขาดเงิน ขณะที่เป็นทุกข์อยู่ในเรื่องขาดเงินไม่อยากให้มันเกิด ไม่อยากให้มันเป็นกับเรา  อีกขณะจิตหนึ่งจักไปคิดนึกปรุงแต่งความอยากได้เงินมาแก้ทุกข์นั้น เช่น ถูกหวยซักงวดจะได้แก้จน แก้ปัญหา หมดทุกข์ หมดโศก ถ้าสังเกตุดีๆจักเห็นอาการเหล่านี้สลับซับซ้อนกันในจิตเป็นอาการที่จิตมีตัณหาเกิดขึ้นซํ้าซ้อนกันจนแยกแทบไม่ออก มีทั้งความไม่อยาก มีทั้งความอยากในสิ่งที่เนื่องเกี่ยวพันกัน อันยังให้อุปาทานมีทั้งความพึงพอใจและไม่พึงพอใจแปรปรวน ไปตามตัณหาที่แปรปรวน เกิดเป็นภพซึ่งเรียกกันว่าความหลงหรือโมหะนั่นเอง ทําให้ผู้ติดอยู่ในบ่วงจักจําแนกแยกทุกข์นั้นไม่เห็นชัดเจนอันทําให้เกิดความหลง ไม่รู้ตามความเป็นจริง อันยังให้เกิดราคะความอยากทางโลกๆหรือปฏิฆะความขุ่นข้อง,ขัดเคือง แบบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับตัณหานั้นๆปนเปแปรปรวนไปมา ข้อคิด         เราพึงทราบกันแล้วว่าขันธ์ทั้ง๕ที่ประกอบเป็นตัวเป็นตนของมนุษย์นั้น นอกจากประกอบกันแล้วยังต้องทํางานประสานสอดคล้องกันด้วยจึงยังความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง         ตลอดจนทราบปฏิจจสมุปบาท ว่าตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน อันทําให้เกิดอุปาทานทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงหมายถึง         ดังนั้นในการดําเนินชีวิต ขันธ์๕ก็จักต้องดําเนินไปตามปกติของมนุษย์ เพียงแต่เพียรพยายามมีสติ หรือรู้เท่าทันเวทนา อันจักทําให้สังขารขันธ์(จิตสังขาร-มโนสังขาร)อันจักเกิดขึ้นเบาบางลง         และมีสติรู้เท่าทันจิตหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นแล้ว อันคือจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐานอันได้แก่ ความคิดหรือจิตในรูปแบบต่างๆอันได้แก่โลภ โกรธหลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน รําคาญใจ เมตตา กรุณา มุทิตา ปีติ ฯลฯ. คืออาการของจิตทั้งหลายตัวอย่างเช่นใน เจตสิก๕๒ ยกเว้นเพียงเวทนาและสัญญาทั้ง ๕๐ ที่เหลือล้วนจัดเป็นสังขารขันธ์ทั้งสิ้น,  อันจักยังต้องเกิดในเราผู้เป็นปุถุชน มากบ้าง น้อยบ้าง เป็นปกติวิสัย อย่าไปได้ฟุ้งซ่านรําคาญใจกับจิตสังขารคิดที่เกิดขึ้น  เพียงแต่ต้อง อย่าเกิดตัณหาจากเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่ง  ความอยากหรือไม่อยากใดๆไปในเวทนาของสังขารปรุงแต่งหรือความคิดปรุงแต่งหรือจิตนั้นๆ   จิตนั้นก็จักสงบเงียบลงไป เพราะความคิดนึกปรุงแต่งมักมีกิเลสตัณหาแฝงมากับเวทนาด้วยอย่างไม่รู้ตัว  ซึ่งมักแอบแฝงมาในรูปความคิดเห็นต่างๆอันย่อมมีเวทนาเกิดขึ้นแต่ไม่แสดงอย่างชัดเจนว่าเกิดกิเลสตัณหาในตอนแรกๆ เมื่อรู้ตัวอีกครั้งก็ตกอยู่ในทะเลทุกข์แล้ว ข้อคิดข้อปฏิบัติ         สติหรือจิต(สติเป็นสังขารขันธ์ชนิดหนึ่งอันเป็นส่วนหนึ่งของนามหรือจิต)รู้เท่าทันกายสักแต่ว่ากาย รับรู้ตามความเป็นจริง ไม่เอาสมมติและความยึดมั่นต่างๆเข้าไปร่วมว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา         สติ(หรือจิต) รู้เท่าทันเวทนาหรือการเสวยอารมณ์ว่าสักแต่ว่าเป็นเช่นนั้นเอง  ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ใดๆ ให้เข้าใจความเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)อันพึงบังเกิด พึงมีตามธรรมชาติตามหน้าที่ของเวทนา แล้วหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา         สติรู้เท่าทันตัณหา  แล้วหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา         สติ รู้เท่าทันจิตคือมโนสังขารหรือจิตสังขารต่างๆ เช่น ความคิดที่เกิด, โลภ, โกรธ, หลง, หดหู่, ฟุ้งซ่าน, จิตหลุดพ้น, จิตเป็นฌาน เป็นสมาธิ  แล้วหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา         สติ รู้เท่าทันหรือรู้ในธรรมที่บังเกิดขึ้นแก่จิต เป็นเครื่องระลึกรู้ เตือนสติ           สติปัฏฐาน๔ เป็น ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, หรือข้อปฏิบัติที่มีสติเป็นประธานหรือหลักในการกําหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรม(ชาติ)นั้นๆ ไม่ถูกครอบงําด้วยความยินดียินร้ายที่ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงตามอํานาจของกิเลสตัณหาทําให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นหรือกล่าวได้ว่าสติปัฏฐาน๔เป็นธรรมที่ตั้งแห่งสติ เพื่อฝึกสติ และใช้สติเพื่อลดละ,กําจัดอุปาทาน คือความยึดมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวตนที่มีในสันดานอันก่อให้เกิดความทุกข์ แบ่งออกเป็น ๔ หมวดคือ         ๑ กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน สติกําหนดพิจารณากาย ให้เห็นกายในกาย เห็นตามความเป็นจริงของกายนั้นๆ เช่น "เป็นเพียงการประชุมตามเหตุปัจจัยของธาตุ๔ อันมี ดิน นํ้า ลม ไฟ" (อ่านในไตรลักษณ์) หรือเป็นของสกปรกปฏิกูลโสโครกโดยการพิจารณาส่วนต่างๆของร่างกาย            ในขั้นแรกนั้น เป็นการฝึกให้มีสติเสียก่อน ฝึกดูลมหายใจ, อริยาบถของกาย แล้วใช้สตินั้นในการพิจารณากายในแบบต่างๆ ตลอดจนการเกิดดับต่างๆของกาย ฯลฯ. จนจิตลดละความยินดียินร้ายในกายแห่งตนเมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของกายนั้น จิตจะได้ไม่ยึดมั่นในความพึงพอใจหรือหลงใหลในกายหรือตัวตนของตนเองและบุคคลอื่น ซึ่งท่านแบ่งเป็น ๖ กอง         ๑.๑ อานาปานสติ ฝึกสติกําหนดลมหายใจเข้าออกแบบต่างๆ ตลอดจนสติสังเกตุเห็นการเกิด ดับของลมหายใจ         ๑.๒ อริยาบถ คือฝึกกําหนดสติในอิริยาบถอาการต่างๆเช่น เดิน นอน ยืน นั่งฯลฯ. คือมีสติรู้ในอิริยาบทต่างๆนั่นเอง         ๑.๓ สัมปชัญญะ คือปัญญาในการให้มีสติต่อเนื่องในการกระทําหรือการเคลื่อนไหว เช่นเดิน ดื่ม กิน ถ่าย วิ่ง ตื่น หลับ ฯลฯ.         ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ การพิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายว่าเป็นสิ่งปฏิกูล ไม่สะอาด โสโครก ต้องเข้าใจว่ากายตนเอง(เห็นกายในกายภายใน) และกายของบุคคลอื่น(เห็นกายในกายภายนอก)ต่างก็เป็นเฉกเช่นกัน เพื่อลดละความยึดมั่นพึงพอใจหลงไหลในกายตนและกายคนอื่นลง เห็นความตามเป็นจริงแล้วล้วนแล้วแต่เป็นของปฏิกูลโสโครก ไปหลงใหลรักใคร่ยึดมั่นมันทําไม         ๑.๕ ธาตุมนสิการ พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่ากายนี้เป็นเพียงธาตุ๔ มาประชุมกันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกายนี้ชั่วขณะ ทั้งกายตนเองและบุคคลอื่นๆเช่นกัน ดังกล่าวไว้ในไตรลักษณ์         ๑.๖ นวสีวถิกา คือพิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ เป็นระยะๆ ๙ ระยะ จนผุพังเน่าเปื่อยไปในที่สุด และต้องเข้าใจว่ากายของตนเองและผู้อื่นต่างก็ล้วนต้องเป็นเฉกเช่นนี้         ในทางปฏิบัติของ เห็นกายในกาย คือมีสติรู้อยู่เนืองๆว่า สักแต่ว่ากายตามที่ได้พิจารณาเข้าใจ แล้วไม่นึกคิดปรุงแต่งอันมักแฝงตัณหา อันทําให้เกิดทุกข์         ๒ เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน สติกําหนดพิจารณาเวทนา หรือการเสพรสอารมณ์ที่บังเกิด ให้เห็นเวทนาในเวทนาคือเห็นตามความเป็นจริงของเวทนาว่า "เวทนาเป็นสักแต่ว่าเป็นการรับรู้ การเสพรสอารมณ์ที่กระทบทางใจและกายในรูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,ธรรมารมณ์เป็นขบวนการธรรมชาติหรือสภาวะธรรมแท้อันยิ่งใหญ่ที่มีในมนุษย์ทุกผู้นาม เป็นเพียงขบวนการรับรู้ในขั้นแรกๆที่เอาข้อมูลมาจากสัญญา(ความจํา)อดีตหรืออาสวะกิเลส    ยังไม่ใช่ความทุกข์จริงๆ พิจารณาให้เห็นว่าเวทนาอันมี สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุข(ไม่สุขไม่ทุกข์) เป็นแค่เวทนาปกติหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นหลักธรรมชาติธรรมดาๆอันสูงสุด ตลอดจนเห็นการเกิดๆดับๆของเวทนา จิตจะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในเวทนาหรือการเสพรสอารมณ์ ที่บังเกิดนั้น ดังพุทธพจน์         "เมื่อเป็นสุขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นแค่สุขเวทนา เมื่อไม่เป็นก็รู้ว่าไม่เป็น         เมื่อเป็นทุกขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นแค่ทุกขเวทนา เมื่อไม่เป็นก็รู้ว่าไม่เป็น         เมื่อเป็นอทุกขมสุขก็ให้รู้ว่าเป็นแค่อทุกขมสุข เมื่อไม่เป็นก็รู้ว่าไม่เป็น "         เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดมีอามิส(เครื่องล่อใจ-เจือกิเลส)ก็รู้ว่ามี         เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดมีไม่มีอามิส(เจือกิเลส)ก็รู้ว่าไม่มี เป็นเพียงสักแต่ว่าเวทนาที่รับรู้ เกิดขึ้นตามสภาวะธรรมชาติตามเหตุปัจจัยอันมาปรุงแต่ง  เกิดๆดับๆ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทั้งในเวทนาตนเอง(เห็นเวทนาในเวทนา ภายใน)และผู้อื่น(เห็นเวทนาในเวทนาภายนอก)         ในทางปฏิบัติของ เห็นเวทนาในเวทนา คือมีสติรู้อยู่เนืองๆว่าเวทนาสักแต่ว่าเวทนาตามที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัส แล้วไม่นึกคิดปรุงแต่งอันมักแฝงตัณหา อันทําให้เกิดทุกข์                 ๓จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการเห็นจิตในจิต หรือสติพิจารณาจิต (หรือจิตสังขาร)ที่เกิดเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ คือ มีสติรู้จิตสังขารตามสภาพเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ(เห็นจิตในจิต)เช่น จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี, จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะก็รู้ว่าปราศจากราคะ โทสะ โมหะ, จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน ทั้งของตนเองและผู้อื่น และเห็นการเกิดๆดับๆ ไม่เที่ยงของจิตสังขารดังกล่าวด้วย เห็นจิตในจิต หรือ จิตเห็นจิต ถ้าเข้าใจขันธ์๕ดี จักเข้าใจได้ว่าหมายถึงมีสติเห็นจิตสังขารที่บังเกิดขึ้น (จิตสังขารหรือมโนสังขารหรือความคิดในขันธ์๕นั่นเองล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน)  อันมีตามที่ท่านตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้คือมี ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน เป็นฌาน เป็นสมาธิ จิตตั้งมั่น จิตวิมุตติหรือจิตหลุดพ้น ก็ล้วนมีสติรู้ทัน         ขอเน้นว่ามีสติรู้ "ที่บังเกิดขึ้น ณ.ขณะจิตนั้น" ไม่ใช่รู้ว่ายังคงมีอยู่ กําจัดยังไม่หมด         ใช้วิธีมีสติรู้เท่าทันเวทนาและจิต เป็นหลักปฏิบัติประจําเมื่อปฏิบัติจนชํานาญแล้ว และเห็นเวทนาในเวทนา(เวทนานุปัสสนา)เข้าใจถึงใจ และเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว จิตจักรู้สภาพจิตสังขารที่เกิดขึ้นคือเห็น ตัณหา ราคะ โมหะ โทสะ ชัดเจนขึ้น เมื่อจิตเห็นจิต หรือเห็นจิตในจิต เช่นนี้เรื่อยๆ จิตจะเห็นความคิดอารมณ์ที่ เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลาว่าไม่เที่ยง ไม่มีแก่นสาร เป็นก่อให้เกิดทุกข์อย่างชัดแจ้ง อันทําให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในสภาวะธรรม   จิตจักได้คลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาและจิตที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ และเป็นอนัตตา  และก่อให้เกิดทุกข์ คือเห็นความคิด(จิตหรือจิตสังขารนั่นเอง)และการเสวยอารมณ์ต่างๆ(เวทนา) ว่าเป็นไปตามไตรลักษณ์ อันไม่เที่ยง, ทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก, เป็นอนัตตา         ในทางปฏิบัติ ของ เห็นจิตในจิต คือสติเห็นจิตสังขาร(เช่นความคิด)ที่เกิดขึ้นสักแต่ว่าจิตสังขารตามที่พิจารณาอยู่เนืองๆ แล้วไม่นึกคิดปรุงแต่งหรือคิดเรื่อยเปื่อยอันมักแฝงตัณหา อันทําให้เกิดทุกข์         ๔ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน สติกําหนดพิจารณาธรรม(สิ่งต่างๆ)ที่บังเกิดแก่ใจเป็นอารมณ์ทั้งที่เป็นกุศลหรืออกุศล เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติและระลึกรู้เพื่อให้เกิดปัญญา เช่น พระพุทธองค์ทรงแนะในมหาสติปัฏฐานสูตรให้พิจารณาสิ่งที่บังเกิดขึ้น เนื่องในเรื่องใดก็พิจารณาในเรื่องนั้น เช่น         ๔.๑  นิวรณ์๕ เช่น ข้อพยาบาทให้พิจารณาว่า                 มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า มีอยู่ ณ ภายในจิต                 ไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต                 ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น                 ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น                 ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น                 เป็นเช่นนี้ทุกข้อใน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา             ๔.๒ อุปาทานขันธ์๕          ๔.๓ อายตนะภายใน และนอก          ๔.๔ โพชฌงค์ ๗          ๔.๕ อริยสัจ ๔ และมรรคองค์๘ พิจารณาธรรมต่างๆเหล่านี้ที่บังเกิดขึ้นในจิต เป็นธรรมวิจยะ(การพิจารณาธรรม)เพื่อเป็นเครื่องรู้, ระลึกเตือนสติเป็นแนวทาง ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นเช่นกัน เพราะธรรมทั้งหลายเหล่านี้จัดเป็นสังขารในไตรลักษณ์ คือเกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นกัน เมื่อเหตุปัจจัยของสังขารธรรมเหล่านี้แปรปรวนหรือดับ สังขารธรรมนี้ก็เช่นกัน อีกทั้งเมื่อเรารู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น เมื่อเราหยุดรู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็ดับลงเช่นกัน เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ แม้จักเป็นจริงตามธรรมชาติเช่นนี้ตลอดกาลแต่เหตุปัจจัยได้แปรปรวนและดับเสียแล้วเช่นกัน         ในทางปฏิบัติของ เห็นธรรมในธรรม คือเห็นธรรมหรือสิ่งทั้งหลายที่บังเกิดแก่จิตว่า สักแต่ว่าธรรม เป็นเครื่องเตือนสติ และระลึกรู้  แล้วไม่นึกคิดปรุงแต่งอันมักแฝงตัณหาในธรรมหรือสิ่งนั้นๆที่บังเกิดแก่จิต         สติปัฏฐาน๔ นั้นมีจุดประสงค์อยู่ที่ฝึกสติและใช้สติพิจารณาสรุปให้เข้าใจโดยถ่องแท้เพื่อให้เกิดสัมมาญาณ(ปัญญาญาณ)ว่า ธรรมทั้งหลายอันมี กาย เวทนา จิต ธรรม มีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ อาศัยระลึกเตือนสติเตือนใจไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ(หมายถึงอุปาทาน)ใดๆในโลก อีกทั้งมีพุทธประสงค์ให้ปฏิบัติในชีวิตประจําวันขนาดกล่าวได้ว่าแทบทุกลมหายใจ กล่าวคือเมื่อจิตหรือสติวนเวียนพิจารณาอยู่ในธรรมแล้ว จิตย่อมหยุดส่งจิตออกนอกไปนึกคิดปรุงแต่งต่างๆอันก่อให้เกิดทุกข์ ขณะจิตนั้นเองจิตย่อมเกิดกําลังแห่งจิตขึ้นเนื่องจากสภาวะปลอดทุกข์ขึ้นทีละเล็กทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว อันยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นทีละเล็กทีละน้อยสะสมขึ้นเช่นกัน จนในที่สุดจักเกิดสภาพ อ๋อ มันเป็นเช่นนั้นเอง มีความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นอย่างแท้จริง          สติปัฏฐาน๔ มีเจตนาต้องการให้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ไม่ใช่แต่ กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้น เพียงแต่ธรรม ๔ ข้อนี้เป็นหลักสําคัญในการดับหรือลดละตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตนหรืออุปาทาน อันก่อให้เกิด "อุปาทานขันธ์๕"อันเป็นทุกข์         ถ้านั่งปฏิบัติในรูปแแบบ ให้มีสติอย่าปล่อยให้เลื่อนไหล ผ่อนคลายกายและใจ เมื่อเริ่มต้นใช้สติดูลมหายใจ ก็จะเกิดอาการต่างๆทางวิปัสสนามาให้เห็น แต่นักปฏิบัติมักจะไม่ชอบ คิดว่าผิด อันไปคิดกันว่าไม่ดี ไม่ถูก จิตไม่สงบ เพราะไม่รู้จึงไม่แยกแยะว่านี่เป็นการฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกสมาธิไม่ได้ลิ้มรสของสมาธิหรือฌานตามที่เข้าใจหรือเคยประสบ,  โดยธรรมชาติของจิตนั้น จิตจะส่งออกไปเห็นนั่น เห็นนี่ คิดนั่น คิดนี่ เป็นปกติธรรมดาตามสภาวะธรรมชาติ เพียงให้มีสติรู้ว่านั่นแหละจิตสังขารหรือความคิดความนึกหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นโลภ โกรธ หลง หดหู่ สมาธิ ฌาน ฯ.ก็ให้มีสติรู้ตามความเป็นจริง อย่าไปกดข่ม แค่ต้องรับรู้ตามจริง แล้วเป็นอุเบกขาเป็นกลาง เป็นกลางอย่างไร? เป็นกลางโดยการวางเฉยไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในทางใดๆทั้งสิ้น อันเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาที่ถูกต้อง,  หรือเมื่อปวดเมื่อยหรือรับรู้ความรู้สึกใดๆที่กระทบทางกายหรือใจ ก็ให้รู้ว่านั่นแหละเวทนา ให้มีสติรู้ว่าเป็นความรู้สึกรับรู้ต่อกายหรือใจเยี่ยงไร มีกิเลสแฝงด้วยไหม แล้วอุเบกขาเป็นกลางวางเฉยไม่คิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในด้านใด รู้สึกอย่างไรก็รู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าอาการนั้นๆต้องหายไป แต่ต้องไม่ใส่ใจวางใจเป็นอุเบกขาไม่ปรุงแต่ง อันเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนา,  หรือธรรมใดบังเกิดต่อจิตหรือหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ก็ให้พิจารณาธรรมนั้นๆเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอันมีกําลังของสติที่ไม่ซัดส่ายมีกําลัง เป็นเครื่องช่วย อันเป็นการปฏิบัติธรรมานุปัสสนา,  หรือใช้สตินั้นพิจารณากายว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย สักแต่ว่าธาตุ๔มาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง หรืออันล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูล ฯ. เป็นการคลายลดละความยึดถือยึดมั่นในกายแห่งตน อันเป็นการปฏิบัติแบบกายานุปัสสนา         ข้อสังเกตุของผู้เขียนและความคิดเห็น ในหมวดธรรมานุปัสสนา มีกล่าวถึงสมาธิหรือองค์ฌานไว้ในหมวดของมรรค๘ ว่าเป็นสัมมาสมาธิหรือหมายถึงสมาธิที่ถูกต้อง ที่ถูกที่ควร,  ถูกต้องจริงแต่หมายถึงในแง่สมาธิเท่านั้น อันไว้เป็นกําลังแห่งจิตหรือพักผ่อนกายและจิต, ไม่ใช่ในแง่การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔อันเป็นการใช้สติปฏิบัติวิปัสสนาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงแห่งธรรม, จึงมีผู้สับสนเป็นจํานวนมากที่เข้าใจว่าปฏิบัติสมาธิหรือฌานแล้ว เป็นสติปัฏฐาน๔ที่ถูกต้อง,  แม้แต่เกิดองค์ฌานตามพระสูตรอันเป็นสัมมาสมาธิแล้วก็ตาม ก็ต้องไม่ไปยึดติดยึดมั่นในองค์ฌาน ปีติ สุข อุเบกขา นั้นด้วยจึงจะถูกต้อง มิฉนั้นก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันยังผลร้ายแก่นักปฏิบัติ           สติปัฏฐาน๔ นี้เป็นการฝึกสติ และใช้สติ แต่เราก็สามารถใช้ปัญญามาช่วยได้ในการพิจารณาโดยไม่จําเป็นต้องปฏิบัติในการนั่งสมาธิเต็มรูปแบบ สามารถทําได้ในขณะจิตตื่นสบายๆไม่เครียดหรือหงุดหงิด(ขณิกกะสมาธิ) ก็นํามาคิด ตริตรอง ตลอดจนใช้ปัญญาพิจารณาได้ในทุกอิริยาบถ ซึ่งวิปัสสนาใช้สมาธิระดับขณิกกะสมาธิ(แค่ไม่วอกแวก,อยู่กับกิจหรืองานที่ทํา) หรือเกือบเป็นอุปจารสมาธิเท่านั้นเช่น เมื่อพิจารณาจนเกิดปัญญาเข้าใจในเวทนาหรืออารมณ์จริงๆเราจะเข้าใจในเวทนานุปัสสนา โดยจะไม่ไปยึดมั่นพึงพอใจในมันมากเหมือนในอดีตอีก เนื่องจากรู้ว่าเป็นกระบวนการทางธรรม(ชาติ)ไม่สามารถไปหยุดไปห้ามได้และเป็นไตรลักษณ์ เหมือนกับห้ามหายใจไม่ได้ฉันใดก็ห้ามเวทนาไม่ได้ฉันนั้น และไม่ใช่ความทุกข์ตัวจริง         ดับความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ได้ก็คือดับอุปาทานในปฏิจจสมุปบาทได้ ผลก็คือไม่มีความทุกข์อันเกิดจาก "อุปาทานขันธ์๕ "ซึ่งเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้ดับ ผลนี้ก็ดับดังบทสรุปใน มหาสติปฏิปัฏฐาน ๔ ทุกบทของกาย, เวทนา, จิต, ธรรม ตลอดจนบทย่อยทุกๆบท แสดงถึงพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์ ในการปฏิบัติไว้เด่นชัด รวมถึง๒๑ ครั้ง คือ ดั่งนี้      ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายในบ้าง(เปลี่ยนเวทนาเป็น กาย จิต ธรรม และบทย่อยๆ)             พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง             พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเกิดในเวทนาบ้าง(เห็นธรรมคือเห็นธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ)             พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเสื่อมในเวทนาบ้าง(ดับไป)             พิจารณาเห็น ธรรมคือ ทั้งความเกิด ทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมมีอยู่             อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้             เพียงสักแต่ว่า เป็นที่อาศัยระลึกเท่านั้น(หมายถึงอาศัยรู้และพิจารณา)             เธอเป็นผู้ซึ่งตัณหาและทิฐิ ไม่ติดอยู่ด้วย และไม่ยึดถือ(หมายถึงไม่ยึดติด,ไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นอุปาทาน) อะไรๆในโลกด้วย อย่างนี้แล ชื่อว่าพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่ (เป็นเช่นนี้ในตอนท้ายของ กาย จิต ธรรม และบทย่อยๆทั้งหลาย เหมือนกันทุกประการถึง ๒๑ ครั้ง)         เวทนาในเวทนา หมายถึง เข้าใจในเวทนาจริงๆอย่างถูกต้อง เห็นเวทนาตามความเป็นจริงไม่ถูกครอบงําโดยกิเลส หรือทิฎฐุปาทาน(ยึดมั่นในความเชื่อของตนเองอย่างผิดๆ) เห็นว่าสักแต่เพียงกระบวนการทางธรรม(ชาติ)เป็นปกติอย่างนี้ตลอดกาล เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ไปยึดมั่นหรือถือมั่นให้เป็นอุปาทานในเวทนาหรือการเสพรสความรู้สึกรับรู้ในอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นนั้น         เวทนาภายใน หมายถึงเวทนาของตนเอง         เวทนาภายนอกหมายถึงเวทนาของผู้อื่น         ตลอดจนในบทสรุปของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"อันต่อจากบทธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ชัดแจ้งเช่นกันถึงการบรรลุพระอรหัตตผล กล่าวคือถ้ายังมีอุปาทิ(สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น)อันคืออุปาทานยังไม่สิ้นหมด ยังคงมีเหลืออยู่บ้างก็จักได้เป็นพระอนาคามี ดังความในพระสูตรต่อไปนี้                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้                 อย่างนั้น ตลอดเนืองๆ ๗ ปี                 ผู้นั้นพึงหวังผล ๒ ประการ อันใดอันหนึ่ง                 คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑                 หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ จักเป็นพระอนาคามี ๑                 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ ................................. (เหมือนเดิมทุกประการ เพียงเปลี่ยนเป็น ๖ ปี, ๕ ปี, ๔ปี.....๑ ปี, ๗ เดือน, ๖ เดือน...๑ เดือน, กึ่งเดือน, และสุดท้ายที่๗ วัน เป็นเช่นเดียวกันทุกประการ ถึง ๑๖ ครั้ง)         ดังนั้นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของสติปัฏฐาน๔ก็คือการดับอุปาทานนั่นเอง  ซึ่งก็จักบังเกิดผลดั่งพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)         ผู้ที่ปฏิบัติโดยยึดหลัก"มหาสติปัฏฐาน๔" ควรสํารวจการปฏิบัติของเราด้วยว่าเราปฏิบัติเพื่อฝึกสติและใช้สติเพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตัวตน,ของตัวตนของตนหรืออุปาทานในกาย เวทนา จิต ธรรม ของเราเองถูกต้องดังพุทธประสงค์หรือไม่?  หรือเรากําลังปฏิบัติโดยไม่ทราบจุดมุ่งหมายพระพุทธประสงค์ หรือกําลังปฏิบัติสมาธิอยู่? ข้อคิด         ในความเห็นของผู้เขียน การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ เป็นที่นิยมสูงสุดสําหรับนักปฏิบัติเป็นจํานวนมาก แต่มักผิดพุทธประสงค์ เพราะส่วนใหญ่มีความสับสนกันระหว่าง การฝึกและใชัสติในสติปัฏฐาน๔ กับสมาธิคือปฏิบัติคู่กันไปจนแยกแยะไม่ถูก ไม่รู้ว่าฝึกสติหรือฝึกสมาธิ คลุกเคล้ากันจนแยกไม่ออก จนไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ และเป็นเครื่องก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสได้ และบางทีก็เน้นแต่การฝึกเช่นพิจารณาลมหายใจ หรืออิริยบถ(จงกรม) แต่ไม่ใช้สติพิจารณาธรรมใดๆ หรือใช้วิธีท่องบ่นอยู่แต่อย่างเดียว อยู่แต่ขั้นฝึกนั่นแหละ ไม่ก้าวหน้าสู่วิถีวิปัสสนาเลย ที่ต้องการให้ผู้ปฏิบัติใช้สติที่ฝึกนั้นไปในการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อให้เห็นความจริงแท้ๆในสิ่งนั้นๆเพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ หรือความหลงใหลในสิ่งทั้งหลาย อันคืออุปาทานนั่นเอง        สติปัฏฐานควรให้มีสติและใจสงบ ซึ่งปกติฝึกสติและใช้สติพิจารณาลมหายใจจนแค่ใจสงบระดับขณิกสมาธิ หรือปีติ แค่มีสติ ใจไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน อยู่ในเรื่องที่จะคิดพิจารณาได้ไม่วอกแวกออกไปในเรื่องอื่นๆเท่านั้น แล้วใช้สตินั้นมาพิจารณา กาย เวทนา จิต หรือธรรมใดๆที่จะคิดพิจารณานั้น หรือที่บังเกิดขึ้นแก่จิตในขณะปฏิบัตินั้นๆ จึงจักเป็นการที่ถูกต้อง ไม่ควรปล่อยให้จิตเคลิบเคลิ้ม หรือลงภวังค์ ไปนิ่งสนิทหรือแช่นิ่งอยู่ในสมาธิหรือฌาน อันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ"สติปัฏฐาน๔"อย่างชัดแจ้ง ยกเว้นเมื่อพิจารณาไปจนพอใจ หรือจิตต้องการพัก ซึ่งก็จะเข้าไปพักในสมาธิต่อเนื่องไปก็ได้         ถ้าต้องการฝึกสมาธิ หรือเข้าสมาธิเพื่อการพักกาย พักจิต(ต้องไม่ใช่เพื่อเจตนาไปเสพสุขในปีติหรือสุขอย่างเด็ดขาด) ก็แค่ดูลมหายใจกระทบปลายจมูกให้สงบ แล้วปล่อยให้เลื่อนไหลไปตามสภาวะองค์ฌานหรือสมาธิเองตามธรรมชาติ หรือตามความชํานาญ(วสี)ในการเข้าออกสมาธิหรือองค์ฌานตามที่ปฏิบัติสั่งสมไว้แล้ว       มหาสติปัฏฐานสูตร (พระไตรปิฎก ฉบับสมาคมศิษเก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)      [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็น อนุโลมและปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:     ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.     ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:     พุทธอุทานคาถาที่ ๑ เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ [๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้: ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ (ข้อความเหมือนดังเดิม) เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้. ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ (ข้อความเหมือนดังเดิม) เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ใน เวลานั้น ว่าดังนี้:     พุทธอุทานคาถาที่ ๒ เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย. [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้: ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ (ข้อความเหมือนดังเดิม) เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้. ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ (ข้อความเหมือนดังเดิม) เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:     พุทธอุทานคาถาที่ ๓ เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด   อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม แล. ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนี้ชื่อว่าทุกขสมุทัย. การกำจัดความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ การละความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ ใน อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี พระภาค เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิต ของท่านพระสารีบุตรแล้วแล. จบ. มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘ ________________   จาก"พุทธอุทาน"ที่บังเกิดขึ้น ทรงชี้ถึงธรรมหรือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปีติในญาณหรือการหยั่งรู้ทั้ง๓ ครั้งดังนี้         "รู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ" อันคือ รู้ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุปัจจัย         "ได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย" อันคือ เหตุดับ ธรรมหรือปัจจัยทั้งหลายก็ดับ         "ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่าง"   อันคือย่อมกำจัดกิเลสตัณหา อุปาทานเสียได้ ดุจดั่งพระอาทิตย์ขับไล่ความมืดอันทำให้โลกสว่างไสว หรือพอสรุปได้ว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ      นัตถิ ปัญญาสมา อาภา แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี     ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เกิดแต่เหตุปัจจัย         หลายๆท่านคงเกิดวิจิกิจฉาขึ้นในใจมากบ้างน้อยบ้าง จนเกิดมิจฉาทิฏฐิขึ้นในใจว่าเมื่อตัวตนเราทั้งหลายล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยแล้ว ทําไมไม่ปล่อยไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆไปตามธรรมชาติ ต้องไปดิ้นรนทําไม ตามความเป็นจริงแล้วเราทั้งหลายล้วนแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยล้วนสิ้นทั้งกายและจิตตามธรรม แต่ภายหลังเกิดแล้วชีวิตจักดําเนินไปตามเหตุปัจจัยหลักใหญ่อันคือกรรมในปัจจุบัน(คือการกระทําที่มีเจตนาเป็นตัวกํากับในปัจจุบัน) อันเป็นตัวจักรใหญ่ที่ทําให้เกิดผล และสามารถควบคุมบังคับหรือปรับปรุงแต่งชีวิตให้ดีขึ้นหรือเลวลงได้ให้เป็นไปตามกรรมหรือการกระทํานั้น จึงมีส่วนสําคัญยิ่งที่ประกอบกับวิบากกรรมอันเป็นเหตุปัจจัยในอดีตเป็นตัวปัจจัยประกอบเท่านั้น ซึ่งไม่ว่าเยี่ยงไรล้วนแต่แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทั้งสิ้นเช่นรูปร่าง หน้าตา ฐานะแต่กําเนิด สุขภาพ ฯลฯ. ซึ่งในหลักธรรมแล้วถือว่าเป็นแค่ปัจจัยประกอบเพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆได้ ดังนั้นถึงแม้จักมีสิ่งที่เราๆมักเรียกกันว่าเป็นไปตามวิบากกรรมเก่าของชาตินี้บ้าง,ชาติก่อนบ้าง, เป็นไปตามดวงหรือฟ้าลิขิตบ้าง หรือพลังจากธรรมชาติเช่นดวงดาว พลังจักรวาลบ้าง, ชึ่งทั้งหลายเหล่านี้อันเกินหยั่งรู้ของปุถุชน ซึ่งล้วนแก้ไขไม่ได้อันถือว่าไร้คุณค่า ไร้แก่น ไร้สาระให้สนใจใยดี หรือไปยึดมั่นถือมั่น แต่เหตุปัจจัยหลักอันสําคัญที่สุดในขณะยังชีวิตอยู่นี้คือกรรมหรือการกระทําในปัจจุบันนั่นเอง ที่จักเป็นตัวควบคุมชีวิตหรือคุณภาพของชีวิตให้เป็นไปตามนั้นอันมีวิบากกรรมเก่าเป็นเหตุปัจจัยร่วม ดังนั้นผู้ปฏิบัติที่ปลง และปล่อยไปตามยถากรรมแต่ฝ่ายเดียวนั้นต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ด้วย ต้องกระทํากิจ(กรรม)นั้นให้ดีที่สุดแต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นจึงจักถูกต้อง อันไม่ก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้ปฏิบัติ เพราะไม่ว่ากรรมเก่าในอดีตชาติหรือกรรมในปัจจุบันชาติอันล้วนเป็นอดีตสิ้นไม่มีประยชน์ ไร้ค่า แต่จักปฏิบัติ(กรรม)เยี่ยงไรจึงจักเป็นสุขโดยเฉพาะความสุขแบบเหนือโลกคือโลกุตระอันไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัณหาอุปาทานอันต้องก่อทุกข์ขึ้นมาแล้วต้องหาทางดับมันไปจึงเป็นสุขแบบโลกๆหรือโลกียะ  ดังนั้นชีวิตย่อมต้องเป็นไปตามวิบากกรรมเก่าอันแก้ไขไม่ได้แล้ว และกรรมการกระทําอันเป็นเหตุปัจจัยหลักในปัจจุบันอย่างแน่นอน แต่ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ว่าวิบากกรรมจักเป็นเยี่ยงไรล้วนแก้ไขไม่ได้แล้วก็ตาม หากได้ปฏิบัติกรรมในปัจจุบันจนถึงแก่นพุทธธรรมอย่างแท้จริงแล้ว กรรมนี้จักพาไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกันทั้งสิ้นด้วยความเสมอภาคไม่ว่าจักรวย จักจน จักชั่ว จักดี อันคือความสุขเหนือโลกียะทั้งหลายอันเป็นสุขที่เรียกว่าเหนือโลก หรือโลกุตระด้วยความเสมอภาคถ้วนหน้า             อวิชชาคือความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวะเป็นจริงตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์และการดับทุกข์  ความไม่รู้นี้ครอบคลุมถึง "ไม่รู้เท่าทันหรือสติ" ด้วย  หรือความไม่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ๔ และปฏิจจสมุปบาท หรือ อวิชชาทั้ง๘ ตามความเป็นจริง         กล่าวอย่างง่ายๆตรงๆก็คือ ยังไม่มีวิชา อันคือไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และรู้เท่าทันในเหตุปัจจัยอันเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ และการดับทุกข์หรือพ้นทุกข์ตามความเป็นจริง  อันคือความไม่รู้  ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอด ไม่รู้เท่าทัน(สติ) ในการดับทุกข์ เพราะอวิชชา๘ อันมีดังนี้         ๑.ไม่รู้จักทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ดับสนิทอันหมายถึง ทุกข์อุปาทานหรืออุปาทานขันธ์๕ อันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่อาศัยกันจึงเกิดได้   จึงทําให้การปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเป็นจริง พยายามในสิ่งที่ยึด เข้าใจผิดๆ อันทําให้ไม่สามารถปฏิบัติได้ เช่นเข้าใจผิดว่าจักต้องไม่มีทุกข์ ไม่มีโศก ไม่มีโรค ไม่มีภัยใดๆ มีแต่โชค ลาภ วาสนา มีเทวดา บุญกุศลคอยคํ้าจุน, จริงๆแล้วกลับเป็น เหตุแห่งทุกข์นั้นยังคงมีอยู่  แต่ไม่มีผู้รับ(หมายถึงจิต)ผลทุกข์นั้น  หรือที่เรียกว่า"เหนือกรรม" จึงจักเป็นการเข้าใจที่ถูกต้อง         ๒.ไม่รู้จักสมุทัย ว่าเหตุให้เกิดทุกข์มาจาก ตัณหา๓  อย่างแจ่มแจ้งแทงตลอด  กลับไปคิดนึกค้นหาเหตุปัจจัยอื่นๆว่าเป็นเหตุ เช่น พยายามดับรูป ดับนาม ดับเวทนา กันไปต่างๆนาๆเพราะคิดว่าเป็นเหตุ,   หรือโทษกรรมเก่าในชาติก่อน(วิบากกรรม)อันแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆไม่ได้แล้ว อันไม่มีคุณประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น อันรังแต่ก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์         ๓.ไม่รู้จักนิโรธ เป็นเช่นใด ไม่เคยสัมผัสสภาวะว่างจากกิเลสตัณหาอันยังให้ใม่เกิดอุปาทานทุกข์,  หรือเข้าใจผิดคิดว่าผลอันเกิดแต่สมาธิหรือฌานเป็นสภาวะนิโรธ,  ไม่ทราบว่าดับทุกข์ได้แล้ว จักเป็นสุข(ในธรรม)เยี่ยงใด?  คุ้มค่าให้ปฏิบัติไหม?   มีจริงหรือเปล่า?   ทําให้มีความสงสัยอยู่ลึกๆตลอดมา         ๔.ไม่รู้จักมรรค ควรปฏิบัติอย่างไร?, ศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจ,  ปฏิบัติไม่ถูก, ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน?,  ทําตัวไหนก่อน?         ๕.ความไม่รู้ในส่วนอดีต การไม่รู้ระลึกขันธ์๕ที่เคยเกิด เคยเป็น  จึงไม่เห็นไม่เข้าใจขันธ์๕ที่เคยเป็นทุกข์  เคยเกิดๆดับๆในอดีตว่าเป็นเหตุมาจากอะไร?   ดังเช่นไม่ทราบทุกข์ต่างๆในอดีตนั้นล้วนเกิดแต่กิเลส ตัณหา อุปาทานอย่างชัดแจ้ง         ๖.ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ไม่รู้ว่าการเกิดและดับของขันธ์ว่าเป็นไปตามกรรมคือตามการกระทําที่มีเจตนาทั้งสิ้น เมื่อมีตัณหาอุปาทานเมื่อใดก็ย่อมเป็นทุกข์เมื่อนั้น (กรรมหมายถึงการกระทําที่มีเจตนา, ไม่ได้หมายถึงกรรมเก่าหรือวิบากกรรม)         ๗.ความไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต         ๘.ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ทราบ, ไม่รู้กระบวนการเกิดและดับของทุกข์ คือไม่รู้ในธรรมข้อที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งกัน อาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้ตามหลักอิทัปปัจจยตา เมื่อกําจัดเหตุปัจจัยบางประการเสียได้ ทําให้ธรรมนั้นไม่ครบองค์หรือขาดสมดุลย์  ธรรมนั้น(ทุกข์)ก็ย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้         วิชชานี้ไม่ใช่วิชาความรู้ทั่วๆไปในทางโลกๆที่เรา เล่าเรียนศึกษากัน เป็นวิชาทางพุทธศาสตร์ในการดับทุกข์ อันไม่เกี่ยวเนื่องใดๆกับวิชาความรู้ในทางโลกทั้งหลาย  ดังจักเห็นได้ว่าในบางคนนั้นวิชาทางโลกนั้นสูง แต่กลับเต็มไปด้วยอวิชชาและความทุกข์           หรือเราอาจจักกล่าวได้ว่า อวิชชาก็คือตัณหา,อุปาทานหลักที่นอนเนื่องอยู่ในจิต(หมายความว่ายังไม่แสดงอาการหรือฤทธิ์ออกมา) และยังไม่มีวิชชาความรู้ความเข้าใจในการดับทุกข์มากําจัดมันออกไป จึงเรียกความไม่รู้ไม่เข้าใจนี้ว่าอวิชชา (หรือเพื่อให้เห็นเป็นภาพพจน์ที่ชัดเจนขึ้นอีกอาจกล่าวได้ว่า  คือตัณหาและอุปาทานในจิตใต้สํานึกที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิต)         ผู้ที่เข้าใจปฏิจจสมุปบาท,  อาจกล่าวได้ว่า อวิชชา คือความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดในการดับทุกข์   ซึ่งฝังแน่นลงรากลึกอยู่ในจิต และไม่สามารถมองเห็นได้ในปุถุชนทั่วไปคือตัณหาและอุปาทานตัวแม่หลักที่เป็นต้นกําเนิดของความทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง(ตัณหาและอุปาทานในขบวนปฏิจจสมุปบาทกองธรรมที่ต่อจากเวทนานั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นตัณหาหรืออุปาทานเฉพาะกิจหรือจรคือเกิดขึ้นในขณะจิตนั้นๆ   หรือตัวย่อยๆที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในปัญหานั้นๆ  ซึ่งเมื่อเรานําออกและละเสียอยู่เรื่อยๆ  อวิชชาหรือตัณหาอุปาทานหลักที่นอนเนื่องก็จักอ่อนแรงลง และหมดลงเช่นกัน)            อวิชชาเกิดจากปัจจัยอันมีอาสวะกิเลสที่เกิดจากความทุกข์ทั้งหลายทิ้งผลร้ายไว้ อันทําให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมอง เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า ให้เกิดอวิชชา คือเมื่อไม่รู้ในความเป็นจริง กล่าวคือจึงไปยึดอาสวะกิเลสนั้นว่าเป็นเราของเราอยู่ลึกๆในจิต(ก็อุปาทานหลักในจิตใต้สํานึกนั่นเอง) คือไปขุ่นมัวเศร้าหมอง หรือเต้นไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ          อาสวะกิเลส  เหล่านี้อันมี     ๑. โสกะ ความโศก โศรกเศร้า แห้งใจ หดหู่ใจ โศรกเศร้าจากการเสื่อมหรือสูญเสียต่างๆเช่น โศกเศร้าของผู้ที่เสื่อมสุข เสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค เสื่อมศีล เสื่อมทิฏฐิ เสื่อมยศ ฯลฯ.     ๒. ปริเทวะ ความครํ่าครวญ โหยหา รํ่าไรรําพัน พิรี้พิไรรําพัน  อาการของความอาลัยอาวรณ์คิดคํานึงถึงในสุขหรือทุกข์ในอดีตที่เสื่อมหรือสูญเสียไปแล้ว เช่นโหยหา, อาลัย, ครํ่าครวญถึงสุข, ความสนุก, ญาติ, ทรัพย์, เกียรติ ฯลฯ.ที่เสื่อมหรือดับไปแล้วแต่อดีต อันอยากให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นอีก        ๓. ทุกข์ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สบายกายทั้งหลาย ความจดจําได้ ความกลัว ในความเจ็บปวด ความป่วยไข้ การบาดเจ็บ     ๔. โทมนัส เศร้าใจ เสียใจ ความทุกข์ทางจิต ความไม่สําราญทางจิต อารมณ์ไม่ดีเป็นทุกข์เกิดแต่ใจ ไม่ได้ดังใจ ไม่ได้ตามใจปรารถนา     ๕. อุปายาส ความขุ่นเคือง คับแค้นใจ ขุ่นข้อง เช่น ความโกรธ ความอาฆาต พยาบาท ขุ่นเคือง หรือเกิดจากความคับแค้นใจหรือถูกเบียดเบียน รังแก เอาเปรียบ         อาสวะกิเลสที่เกิดจากความทุกข์เหล่านี้ที่หมักหมม นอนเนื่อง ซึมซ่าน ย้อมจิต เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า ขับไส ผลักดันเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงถูกกระตุ้นขึ้น จนไม่สามารถหยุดเหตุปัจจัยอันก่อให้เป็นทุกข์ได้ ปล่อยให้เป็นไปจนเป็นทุกข์ตามขบวนการเกิดของทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท  อันจักหมุนดําเนินต่อไปไม่รู้จักจบ จักสิ้น เนื่องจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจจึงหยุดวงจรแห่งทุกข์นั้นไม่ได้,  และเหล่าอาสวะกิเลสเหล่านี้จะหมักหมม นอนเนื่องอยู่ในจิต ตามปกติจะมองไม่เห็นเช่น โกรธเกลียดใครอยู่คนหนึ่ง และไม่พบกันเป็นเวลานานๆ  เมื่อกาลเวลาผ่านไปเป็นเวลาหลายปีเมื่อมาเจอกันอีก อาสวะกิเลส(อุปายาส-ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ)ที่นอนเนื่องสงบอยู่ จนไม่เคยคิดว่ายังมีอยู่  จะเกิดขึ้นทันที เปรียบได้ดั่งนํ้าที่แลดูใสสะอาดแต่มีตะกอนนอนก้นอยู่ เมื่อมีสิ่งใดมากวนก็จะฟุ้งกระจายขึ้นมาแสดงความไม่บริสุทธิ์ให้เห็นทันที    แต่มันไม่จบแค่นั้น มันเป็นปัจจัยกระตุ้นอวิชชาความไม่รู้ให้ทํางานเริ่มวงจรของทุกข์...เริ่มสังขารในปฏิจจ.เช่นความคิดที่เป็นทุกข์ ก่อทุกข์ใหม่ขึ้นอีกครั้ง ให้เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทอีก,  นอกจากตกตะกอนนอนเนื่องแล้วยังมีแขวนลอยเป็นเชื้อโรคอยู่ในจิตเฉกเช่นเดียวกับนํ้า ที่มีทั้งแขวนลอยและตกตะกอน อาการพวกแขวนลอยได้แก่มีอาการหดหู่ หงุดหงิดมีโทสะกรุ่นๆโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ขุ่นมัว เศร้าหมอง   มักไม่เห็นเหตุที่เกิด นอกจากใช้ตาปัญญาเท่านั้น  อาการอย่างนี้เป็นได้นานๆมาก ล้วนเป็นผลมาจากพิษภัยอันร้ายกาจของอาสวะกิเลส  และเพราะอาสวะกิเลสนั้นก็เป็นสภาวะธรรมชาติที่เกิดจากความจํา(สัญญา)ดังนั้นจึงคงมีอยู่อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ),  เราจึงจําเป็นต้องมีวิชชาไม่ปล่อยไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ จนกว่าจักสิ้นอาสวะกิเลส(หมายถึงดับกิเลสโดยสัญญาจํายังมีอยู่  แต่ไม่มีผลใดๆต่อสภาวะจิตใจเนื่องจากเข้าใจสภาวะธรรมระดับสูงสุดแล้ว)เป็นการถาวร  ดั่งนี้ท่านคงเห็นแล้วอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ชาติ)นั้นเป็นตัวสําคัญที่สุด เข้าใจยาก กําจัดยาก  พระพุทธองค์จึงทรงจัดไว้ลําดับสุดท้ายใน สังโยชน์ ๑๐ (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์)ที่ต้องกําจัดก่อนถึงนิโรธ         แล้วธรรมอันใดเล่าที่เราจักนําไปใช้ในการปราบพญามารนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนแล้วในอริยสัจ๔ คือ มรรค๘ ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์(ดูอริยสัจ) อันจักต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดมรรค ๑๐ ในที่สุด (มรรคเพื่อการปฏิบัติมี๘ เพื่อยังให้เกิดมรรคองค์๑๐)    ซึ่งจะขอเน้นองค์ธรรมที่สําคัญที่ใช้เป็นหัวกระบวนรบนี้ "โลกุตรสัมมาทิฏฐิ หรือสัมมาญาณอันเป็นมรรคองค์ที่๙  ซึ่งจะยังให้เกิดมรรคองค์ที่๑๐ อันคือ สัมมาวิมุตติอันคือสุขจากการหลุดพ้น(นิโรธ,นิพพาน)ของเหล่าพระอริยเจ้า" นั่นเอง  ก่อนอื่นต้องขอกล่าวซํ้ากับเรื่องที่พูดในขันธ์๕เรื่องเวทนาไปแล้ว องค์ธรรมนี้ไม่ใช่องค์ธรรมในระดับศีล และธรรม หรือทางโลกทั่วๆไป(โลกียธรรม) เพราะอวิชชานั้นกล้าแกร่ง ต้องเป็นระดับโลกุตตระคือระดับเหนือโลก(มิได้หมายถึงอิทธิฤทธิ์)อันหมายถึงรู้เข้าใจตามสภาวะเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ  ชึ่งจักบังเกิดขึ้นได้โดยวิธีโยนิโสมนสิการ หรือธรรมะวิจยะเท่านั้น คือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคาย ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการอ่าน การฟัง แล้วเชื่อตามโดยศรัทธาฝ่ายเดียว ต้องเอาธรรม(ธรรมชาติ)เป็นข้อพิจารณาโดยตรงจนเชื่อมั่นชนิดถึงใจ กระแทกใจ เข้าไปอย่างลึกซึ้งที่สุดจึงจักกําหราบอวิชชาพญามารนี้ได้ เพราะในภาวะนี้เท่านั้นที่จะสามารถเปลี่ยนทัศนะคติ ความเชื่อ ความยึดถือ อุดมคติเดิมๆที่มีและสั่งสมมาตั้งแต่เกิดให้คลายไป   จึงจักสามารถปราบอวิชชานี้ได้อย่างเด็ดขาด   มิใช่ใช้การกด,ข่มไว้ อย่างการใช้สมาธิ  ซึ่งไม่เป็นการถาวร  อันอุปมาดั่งหินทับหญ้า เมื่อยกหินออกเมื่อใดก็จักงอกงามขึ้นมาใหม่ ไม่เป็นการกําจัดไปอย่างถาวร,   ดั่งนี้จึงจักเกิดความมั่นคงดุจหินผาในคุณธรรม เป็นนิรันดร์ตลอดไป         ข้าพเจ้าคงจะเขียนแนะแนวได้อย่างหยาบๆเท่าที่พอรู้อยู่บ้างเท่านั้น ข้าพเจ้าก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหาทางพ้นทุกข์เช่นกัน อาศัยครูบาอาจารย์ที่ท่านเมตตาคือท่านอาจารย์ ถาวร คงปาน,ท่านอาจารย์ณรงศักดิ์ เนียมนัด ที่เมตตาคอยสั่งสอน ช่วยเหลือเกื้อหนุนแก้ไขยามมีปัญหา และอ่านศึกษาจากหนังสือต่างๆของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล, ท่านพุทธทาส, หลวงพ่อพุธ ฐานิโย  และโดยเฉพาะหนังสือ "พุทธธรรม"ของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), ท่านหลวงปู่เทสก์เทสรังสี .....ฯลฯ  จนใคร่ขอกราบแทบเท้าของปูชนียบุคคลของข้าพเจ้าไว้ ณ.ที่นี้ด้วย ท่านทั้งหลายนี้ ได้ช่วยแนะแนวจนข้าพเจ้าเกิดปัญญาพอนําไปใช้แก้ทุกข์ทางโลกทั้งหลาย จนมีความสุขสบายใจพอสมควร ชื่นอกชื่นใจในรสพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่โปรดประทานธรรมอันยิ่งใหญ่นับแต่โลกนี้อุบัติมา เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ตกอยู่ในห้วงสมุทรแห่งทุกข์  และแก่นธรรมของพระองค์สามารถปฏิบัติได้จริง เป็นวิทยาศาสตร์ชั้นสูงโดยแท้ ไม่ใช่ของงมงาย ไสยศาตร์ เวทมนต์ อิทธิฤทธิ์ หรือล้าสมัย อย่างที่เข้าใจและคิดในตอนแรก ไม่ใช่ของเกินเอื้อมหรือเป็นแค่ทฤษฎีจนปฏิบัติไม่ได้ตามความคิดที่เคยยึดถือเคยเข้าใจ จากการฟัง จากการอ่าน จากการปรุงแต่งฟุ้งซ่านมาอย่างผิดๆงมงาย  ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดบันทึกธรรมเล่มนี้ของข้าพเจ้าขึ้นมา เพื่อเผยแผ่ธรรมบางประการที่ข้าพเจ้าพอจักเข้าใจอยู่บ้าง เพื่อเกื้อกูลกัลยาณมิตรนักปฏิบัติและผู้ใฝ่ในธรรมเพื่อการดับทุกข์  และเป็นการตอบแทนพระคุณของพระพุทธศาสนา         การปฏิบัตินี้ข้าพเจ้าเขียนตามภพภูมิความเข้าใจของข้าพเจ้าล้วนๆเป็นหลัก  อาจแปลกตาหรือแปลกใจท่านบ้าง แต่ก็ยืนอยู่ในหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมั่นคง  ท่านต้องไปแยกพินิจพิจารณาโดยวิธีโยนิโสมนสิการ ตามหลักที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะในกาลามสูตร  สิ่งใดท่านพิจารณาโดยละเอียด และแยบคาย(ฉลาดในธรรม)แล้ว เห็นว่าถูกต้องก็เก็บไว้ สิ่งใดไม่ดีขัดกับความเข้าใจของท่านก็ทิ้งไป  แต่ขอให้ทิ้ง มานะ และ ทิฏฐุปาทานลงเป็นการชั่วคราว (ท่านต้องพยายามจริงๆเพราะมานะนี้และทิฏฐุปาทานนี้ บุคคลที่จักละได้สิ้นมีแต่อริยสาวก ระดับพระอรหันต์เท่านั้นจริงๆ เพราะฉนั้นโปรดพยายามใช้สติระงับไว้ชั่วคราว) ให้พิจารณาโดยใช้ข้อธรรมในข้อ อุเบกขา (เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง โดยวางใจเป็นกลาง) ใน สัมโพชณงค์๗  วางความเชื่อ ความเข้าใจ ความรู้เดิมๆไว้ชั่วขณะ แล้วประโยชน์อันสูงสุดจักบังเกิดแก่ท่านเป็นอัศจรรย์         อนึ่งท่านที่ปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนามาจนแก่กล้าแล้ว แต่ยังมีปัญหา คือไม่คืบหน้าไปตามสมควร อย่าโกรธหรือท้อแท้ แต่สํารวจตัวท่านเองอันไม่มีใครทราบได้นอกจากท่านคนเดียว ขออย่าได้เอาความรู้สึกที่ว่าดี, ดีสุดยอดแล้ว ดีอยู่แล้ว มาร่วมด้วยโดยเด็ดขาด ขอให้ขาดจากความรู้สึกเชื่อมั่น ยึดมั่น ว่าดีแล้วดังกล่าวชั่วขณะ         จริงๆแล้วสัมมาทิฎฐิ และ สัมมาดําริ(สังกัปปะ)ในมรรคองค์๘มันทํางานสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอด ไม่สามารถแยกแยะออกจากกันโดยเด็ดขาด ถ้าเราพยายามไปแยกหรือกังวลกลัวปฏิบัติไม่ก้าวหน้าเร็วอาจจะทําให้ติดขัดได้ จะเห็นชอบก็ต้องมีดําริชอบก่อน จะมีดําริชอบก็ต้องมีเห็นชอบ จะคล้ายปัญหาไก่กับไข่อันไหนเกิดก่อนกัน ต่างทํางานประสานร่วมกัน แต่ถือว่าสัมมาทิฎฐิเป็นตัวฐานกําเนิดของมรรค๘ ตามพุทธพจน์ ดังกล่าวไว้ในเรื่องมรรคในอริยสัจ  แต่ในระดับที่ต้องการพ้นทุกข์นั้นจําเป็นต้องใช้ในระดับโลกุตตระ         โลกุตตรสัมมาทิฎฐิ หรือสัมมาญาณ คือ ปัญญาชอบ ความเห็นชอบ เข้าใจชอบอย่างถูกต้องอย่างแยบคาย เห็นตามความเป็นจริงตามสภาวะธรรม(ชาติ)แท้ๆ โดยอุเบกขา(ใจเป็นกลาง)ในระดับเหนือโลกคือพ้นจากอํานาจของกิเลส ตัณหาตลอดจนทัศนคติ ความเชื่อเดิมๆ  มาเจือปนให้เกิดอคติใดๆ,  เห็นชอบ เข้าใจชอบในอวิชชา  ต้องทราบว่าตัวอวิชชามีอยู่ในจิตแบบใด ทํางานอย่างไรดังได้อธิบายไว้โดยสังเขปเบื้องต้น  เปรียบประดุจ ช่างยนต์ต้องมีความรู้เรื่องเครื่องยนต์กลไกต่างๆอย่างดีจึงจักสามารถซ่อมเครื่องยนต์ได้  ถ้าท่านไม่รู้เรื่องเครื่องยนต์อาจจะต้องรื้อหมดยกเครื่องทั้งคัน ทั้งๆที่แค่นมหนูในคาบิวเรเตอร์ตันเพียงเอาลมเป่าก็จบแล้ว  เช่นเดียวกันท่านต้องเข้าใจในอวิชชาว่าทํางานอย่างไร(ศึกษาจากปฏิจจสมุปบาทมีกล่าวถึงกระบวนการทํางานของทุกข์ไว้) เมื่อท่านศึกษาแล้วจะรู้จะเข้าใจว่า มันเนื่องมาจากความทุกข์(อุปาทานทุกข์)ที่ก่อให้เกิดอาสวะกิเลส   อันเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา แล้วเป็นไปตามกระบวนการเกิดทุกข์ คือ เกิดตัณหา และอุปาทานตัวใหญ่สุด,ประณีตที่สุด,ละเอียดที่สุด  กล่าวได้ว่าเป็นหัวหน้าพญามารของมารทั้งหลายทั้งปวง,   เห็นและเข้าใจในโทษอันมหันต์ของอวิชชา  กล่าวได้ว่าความทุกข์ทั้งหลายทั้งมวลตั้งแต่เราอุบัติขึ้นในโลกนี้เกิดจากอวิชชาความไม่รู้และไม่รู้เท่าทันจึงปล่อยไปตามกิเลสตัณหา  มีคุณอยู่สิ่งเดียวแท้ๆคือตัณหาที่อยากพ้นทุกข์ เป็นการเอาตัณหาดับตัณหา นอกนั้นเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น มีแอบแฝงกิเลสและตัณหาอยู่ทุกขณะจิต แม้กระทั่งการทําบุญทํากุศลก็เพื่อมุ่งหวังชีวิตที่ดีขึ้นในภพนี้, ภพหน้า หรือหน้าตาในวงสังคม อยู่ลึกๆในจิต -เห็นเข้าใจอริยสัจ    กระทํากิจในอริยสัจ๔ อันมี ๑๒ ญาณทัศนะหรือ ๑๒ ข้อ (อ่านอริยสัจ) -เห็นหรือเข้าใจว่า อวิชชามันมีจริงคือความไม่รู้ และไม่รู้เท่าทัน(สติ)ตามความเป็นจริงในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ จึงแสดงผลออกมา เข้าใจให้ได้ว่ามีอยู่จริงๆ -เห็นหรือเข้าใจกระบวนการทํางานของทุกข์ว่า  เมื่อเกิดทุกข์ใน ชรา-มรณะ ก็จะเกิดอาสวะกิเลส แล้วเป็นปัจจัยให้เกิด อวิชชา โดยคิดนึกเปรียบเทียบจากอดีต ตามความเป็นจริงจนเห็นหรือเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ  ถ้าไม่เห็นเช่นนั้นท่านต้องหาคําตอบมาตอบตัวเองให้ได้ เพราะปล่อยเป็นวิจิกิจฉา(สงสัย ลังเล)ไว้ไม่ได้ เพราะเป็นการตัดทอนกําลังของปัญญาในธรรม -เห็น หรือเข้าใจ ในโทษอันมหันต์ ที่สุดของอวิชชาที่แอบแฝง ล่องหน อยู่ในจิตจนปุถุชนมองไม่เห็นตัวการใหญ่แห่งความทุกข์นอกจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกๆความคิดนึกปรุงแต่ง ที่ก่อให้เกิดทุกข์ ทุกชนิดล้วนก่อกําเนิดมาจากอวิชชาทั้งสิ้น  จึงมาเร่งเร้าผลักดันอยู่เบื้องหลังอย่างแอบแฝงและเร้นลับตลอดเวลาไม่เคยหยุดแม้ขณะหลับ ตั้งแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบันกาลนี้ในปุถุชนทุกผู้ทุกนาม ยกเว้นผู้ที่กําจัดอาสวะกิเลสและอวิชชาจนจบสิ้น         การเห็น, เข้าใจในโลกุตตรสัมมาทิฎฐินั้น ต้องเป็นการเห็นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจริง  ไม่ใช่อ่านแล้วเข้าใจก็จบ  คิดว่าเข้าใจแล้ว(เป็นเช่นนี้ส่วนใหญ่) ต้องมาจากโยนิโสมนสิการคือการพิจารณาโดยแยบคายตามความเป็นจริงของธรรมชาติ (ที่ไม่ใช่ความปรุงแต่งใดๆของเรา) มีวิจิกิจฉา(ความสงสัยใดๆ)ไม่ได้  ถ้าท่านยังรู้สึกมีวิจิกิจฉาอยู่ก็ต้องพิจารณาต่อ (ไม่ได้หมายความว่าต้องทําวันเดียวจบ) จนหายสงสัยจนหมดสิ้น เพราะสัมมาทิฎฐินี้จะต้องมั่นคงดุจภูผาใหญ่ เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างความยึดถือเข้าใจใหม่ของจิต เป็น จิตพุทธะ ผู้ไม่มีอาสวะกิเลสและอวิชชา เนื่องจากการเห็นมหันตโทษ   จิตเมื่อรู้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วก็จะค่อยๆถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นออก บางคนอาจจะถอดถอน(หรือเข้าใจ)ออกเป็นชุดใหญ่ๆในขณะจิตเดียวที่เรียกว่ามรรคสมังคี หรือ ธรรมสามัคคีขึ้นอยู่กับจริต และเหตุที่ปฏิบัติ ไม่เหมือนกันทุกคน แต่เข้าใจว่าในภาวะสุดท้ายน่าจะมีมรรคสมังคี(อย่าไปคิดบังคับให้มีให้เกิดเพราะทําเหตุปัจจัยถูกมันก็เป็นเอง ควบคุมให้เป็นไปตามใจปรารถนาไม่ได้)          สังขารเข้าใจแล้วว่ามาจากอวิชชา ต้องลดกําลังของอาสวะกิเลส......ฯลฯ.เมื่อท่านตัดการส่งกําลังบํารุงอย่างถูกต้องมีหรือที่ข้าศึกจะไม่ยอมแพ้ หมั่นปฏิบัติแบบสบายๆอยู่เป็นประจํา ไม่จําเป็นต้องนั่งสมาธิในรูปแบบ แต่จิตขณะนั้นต้องปลอดโปร่งจากสิ่งขุ่นมัวก็ใช้ได้  ทําในชีวิตประจําวันทั่วไป เห็นการเกิดขึ้นต่างๆในจิตอย่างเข้าใจว่าล้วนเป็นไปตามขบวนขันธ์๕ หรือปฏิจจสมุปบาทล้วนสิ้น         ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สรุปได้ว่าเมื่อเราเข้าใจและดับทุกข์ในปัจจุบันของเราไปอย่างสมํ่าเสมอเมื่อนั้นอวิชชาก็จะอ่อนกําลังไปตลอดเวลา  ไม่มีกําลังใหม่มาเสริม อันเนื่องมาจากอาสวะกิเลสอันเกิดจากทุกข์ลดน้อยถอยลงไปทุกขณะที่มีสติ จนในที่สุดมันไม่สามารถอยู่ได้เพราะขาดเหตุปัจจัยมาสนับสนุน  หรือเมื่อปัญญาหรือวิชชามีกําลังเหนือกว่าอวิชชา เพราะทุกขณะจิตที่ทุกข์ไม่เกิด กําลังของปัญญาหรือวิชชาก็จักเจริญเติบโตกล้าแข็งขึ้นทุกขณะจิตเช่นกัน จนเหนือกว่าอวิชชา ทําให้เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงของธรรมชาติ วันนั้นก็เป็นการสิ้นสุดการปฏิบัติของเรา สิ้นภพอันเป็นสภาวะที่เกิดใหม่ สิ้นชาติแห่งการกระทําอันเป็นทางเกิดแห่งทุกข์   จิตไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง(กิเลส) อวิชชาอันมีตัณหาและอุปาทานอันนอนเนื่องอยู่ก็ไม่ทํางาน สังขารก็ย่อมเกิดไม่ได้...........ทุกข์อุปาทานก็ย่อมเกิดไม่ได้ ถ้าลดอาสวะกิเลสยังไม่ได้ให้ปรับจิตที่ขุ่นมัวแทนคือยังมีเหลืออยู่แต่น้อยลง อวิชชาก็ย่อมเบาบางลง เป็นเหตุปัจจัยกัน อวิชชาเบาบางลง เป็นปัจจัยให้ สังขารคิดอันก่อทุกข์น้อยลง เป็นเหตุปัจจัยกัน สังขารน้อยลง เป็นปัจจัยให้ เวทนา(หรือสังขารขันธ์)น้อยลง เป็นเหตุปัจจัยกัน เวทนาน้อยลง เป็นปัจจัยให้ ตัณหาน้อยลง เป็นเหตุปัจจัยกัน ตัณหาน้อยลง เป็นปัจจัยให้ อุปาทานน้อยลง เป็นเหตุปัจจัยกัน อุปาทานน้อยลง เป็นปัจจัยให้ ทุกข์อุปาทานขันธ์๕และกิเลสขุ่นมัวพึงเกิดน้อยลงเป็นเหตุปัจจัยกัน........วนเวียนเป็นวงจรถอดถอนอย่างนี้เช่นกัน ทุกข์ก็จักน้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงสภาวะนิโรธ     ทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์๕ทั้งทางใจและกายนั้นมีเป็นปกติอันเป็นสภาวะธรรมชาติ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์   ก   กรรม การกระทําที่มีเจตนา(ทางกาย,วาจา,ใจ) กิเลส สิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัว เศร้าหมอง ทําให้รับคุณธรรมได้ยาก กามตัณหา ความทะยานอยากในกามหรือทางโลกๆ คือใน รูป,รส,กลิ่น,เสียง,สัมผัส ทั้ง ๕ กามุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในกามหรือทางโลกอันคือในรูป เสียงกลิ่น รส สัมผัส ยึดถือว่าเป็นเราหรือของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยา หรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทําผิด จัดเป็นหนึ่งใน อุปาทาน ๔ กาลามสูตร -เกสปุตตสูตร-พระสูตรหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตัดสอนชาวกาลามะในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงาย ไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ อันมี อย่าปลงใจเชื่อในสิ่งใดโดย       ๑.ด้วยการฟังตามกันมา  ๒.ด้วยการนับถือสืบๆกันมา  ๓.ด้วยการเล่าลือ  ๔.ด้วยการอ้างตําราหรือคําภีร์  ๕.ด้วยตรรก  ๖.ด้วยการอนุมาน  ๗.ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล  ๘.เพราะการเข้ากันได้กับทฤษฎืของตน  ๙.เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อถือ  ๑๐.เพราะนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูเรา;     ต่อเมื่อพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้วด้วยตนเอง จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น ข   ขันธ์๕ องค์ประกอบทั้ง๕ที่ทางพุทธศาสน์ ถือว่า เป็นปัจจัยให้มีชีวิต อันมี รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ ค   ความคิดนึก -ความคิด-ความนึก-หรือจิตสังขาร เป็นสังขารขันธ์ (ขันธ์๕)เป็นสิ่งที่ต้องมี,ต้องเป็นตามปกติธรรมชาติ ไม่เป็นโทษ คิดนึกปรุงแต่ง -หรือคิดนึกฟุ้งซ่าน คิดนึกเรื่อยเปื่อย ในที่นี้เน้นหมายถึงเป็นตัวทําให้เกิดตัณหา- เพราะคิดนึกปรุงแต่งเป็นขันธ์๕ชนิดหนึ่งและมักมีกิเลสแอบแฝง อันย่อมต้องเกิดเวทนาร่วมด้วยทุกครั้งทุกทีไป อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาจากความคิดนึกปรุงแต่งที่มีเข้ามาอย่างหลากหลาย, ความคิดหรือนึกปรุงแต่งถึงอดีตและอนาคต อันมักเจือด้วยกิเลสอันทําให้ขุ่นมัว,หรือเจือด้วยตัณหาความอยาก,ไม่อยาก อันจักก่อตัณหาต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นใหม่นั้น(เวทนา)ได้ง่ายเช่นกัน  แต่ถ้าเป็นหน้าที่หรือการงานก็ต้องควบคุมสติให้ดี      ส่วนความคิดนึก(ไม่ปรุงแต่ง)ในขันธ์๕ที่ใช้ในชีวิตเช่นการงาน โดยไม่มีกิเลส,ตัณหาเป็นสิ่งจําเป็นที่ควรจะมีอย่างยิ่งซึ่งเป็นเพียงความคิดนึกในสังขารขันธ์ของขันธ์๕ อันเป็นปกติ เป็นประโยชน์ และจําเป็นในการดํารงชีวิต  แยกแยะพิจารณาให้เข้าใจชัดเจน        การคิดพิจารณาในธรรมก็ไม่ใช่ความคิดนึกปรุงแต่ง เป็นความคิดนึกที่ควรปฏิบัติและควรทําให้เจริญยิ่งขึ้นไป จ   จิตสังขาร -จิตตสังขาร-มโนสังขาร-เป็นสังขารขันธ์ในขันธ์๕ อันคือ ความคิด ความนึก ต่างๆ เจตสิก๕๒ อาการและคุณสมบัติต่างๆของจิต  ท่านได้แบ่งออกเป็น ๕๒ ชนิดอันได้แก่ผัสสะ เวทนา  สัญญา เจตนา  เอกัคคตา(ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว)  วิตก วิจารณ์ ปีติ โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ฟุ้งซ่าน หดหู่ ง่วงเหงา เดือดร้อนใจ ศรัทธา ความริษยา ความสงสัย(วิจิกิจฉา)...ฯลฯ.  ทั้ง๕๒นี้  ยกเว้นเพียงเวทนาและสัญญาแล้ว   ที่เหลือทั้ง๕๐ ล้วนจัดเป็นสังขารขันธ์ชนิดมโนสังขารหรือจิตสังขาร ฌ   ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีตซึ่งมีสมาธิเป็นหลัก ญ   ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากําหนดรู้หรือความเข้าใจตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ) ต   ตัณหา คือตัณหา๓ อันมี       กามตัณหา ตัณหาความทะยานอยากและไม่อยากใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทั้ง๕ หรือในทางโลกๆ     ภวตัณหา ตัณหาความทะยานอยากในทางจิตหรือความนึกคิด     วิภวตัณหา ตัณหาความทะยานไม่อยาก หรือผลักไส ต่อต้าน ความไม่อยากในทางจิตหรือความนึกคิด     สรุปได้เป็นตัณหาความทะยาน อยาก และ ไม่อยาก และ ในหนังสือนี้ผู้เขียนหมายรวมความคิดปรุงแต่งหรือคิดนึกปรุงแต่งอันมักก่อกลายเป็นตัณหาว่า ทําหน้าที่เป็นตัณหาด้วย (ดูวงจรประกอบคลิ๊กที่นี่  หมายเลข 8 คือตําแหน่งที่เกิดตัณหา,  หรือหมายเลข 22 คิดนึกปรุงแต่งทําหน้าที่ก่อให้เกิดเป็นตัณหาได้ด้วยถ้าสติไม่รู้เท่าทัน) ไตรลักษณ์ กฏพระไตรลักษณ์มี๓ เป็นกฏแห่งธรรมชาติกล่าวถึง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุปัจจัย   มี ๑.ความไม่เที่ยง(อนิจจัง)  ๒.ทนอยู่ไม่ได้(ทุกขัง) ต้องเสื่อมและดับไป  ๓.ไม่มีตัวตนเป็นแก่นสาร(อนัตตา)แท้จริงเกิดแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น(รายละเอียด) ท   ทิฎฐุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี ความเชื่อ ของตน ภายใต้อํานาจของกิเลสและตัณหา เป็นหนึ่งในอุปาทาน๔ ธ   ธรรมารมณ์ สิ่งที่สัมผัส ได้ด้วยใจ หรือความคิดเช่น คิด, คิดเรื่องต่างๆ, คิดปรุงแต่ง ธัมมวิจยะ ธรรมวิจัย-การวิจัยหรือค้นคว้าพิจารณาธรรม น   นามธรรม สิ่งที่ไม่มีรูปร่างตัวตน สัมผัสได้ด้วยใจ หรือความคิด นิมิต ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน นันทิ ความเพลิดเพลิน ความติด ทําหน้าที่เป็นตัณหา ป   ปฏิฆะ ความขุ่นข้อง,หงุดหงิด,ขัดเคือง ปฏิฆานุสัย กิเลส ความขุ่นข้อง ขัดเคือง ที่นอนเนื่องในสันดาน ปฏิจจสมุปบาท สภาพที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น,  การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น,  การที่ทุกข์เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา, มีองค์หรือหัวข้อ ๑๒  รายละเอียด ปฏิจจสมุปบันธรรม ธรรมหรือสิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัย เช่น อุปาทานขันธ์๕ ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน, เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตเกิดจากสัญญา(จํา) สามารถนึกขยายหรือย่อ ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามปรารถนา ปฏิโลม ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงการพิจารณาการดับไปแห่งทุกข์เป็นลําดับ ปปัญจสัญญา สัญญาอันมีการเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่สลับซับซ้อนและมักเจือด้วยกิเลสและตัณหา  ถือว่าเป็นสัญญาชนิดทําหน้าที่เป็น "ตัณหา" ปรมัตถ์ ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง, ปรมัตถธรรม ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายที่เป็นจริงโดยความหมาย(ในระดับ หรือในขั้น)สูงสุด(แก่นแท้) ปรมัตถสัจจะ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  ตรงข้ามกับสมมติสัจจะ อันคือจริงโดยสมมติขึ้น เช่น สัตว์ บุคคล เธอ ฉัน นายแดง นายขาว รถฉัน บ้านเธอ ปริเทวะ ความครํ่าครวญ อาลัย รําพัน รําลึกถึง ดูอาสวะกิเลส ปิยรูป สาตรูป๑๐ สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา (รายละเอียด) ปัจจัย ในทางธรรมหมายถึง เหตุหรือเครื่องสนับสนุนให้ธรรม(สิ่ง)อื่นๆเกิดขึ้น ปัสสัทธิ ความสงบกาย,สงบใจ ความผ่อนคลายกายและใจ (ข้อ๕ ในสัมโพชฌงค์๗) ผ   ผัสสะ การประจวบกันของอายตนภายใน และภายนอกและวิญญาณเช่น ตา + รูป + วิญญาณ พ   พระเสขะ อริยะบุคคล ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหันต์ พระอเสขะ อีกชื่อหนึ่งของ "พระอรหันต์ " พุทธอุทาน ดู อุทาน ภ   ภวตัณหา ความอยาก-ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากเกิด อยากมีอยู่คงทนตลอดไปตามใจปรารถนา ม   มานะ ความถือตัว, ความสําคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ดีกว่าเขา เสมอเขา ด้อยกว่าเขา(ข้อ ๕ ในอนุสัย ๗, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๑๓ ในอุปกิเลส ๑๖ ย   โยนิโสมนสิการ- การพิจารณาในใจโดยละเอียดและแยบคายคือตามความเป็นจริงของสภาวะธรรม(ชาติ)นั้นๆ อย่างชาญฉลาด เช่นคิดค้นหาข้อสงสัย เปรียบเทียบสภาวะธรรมอื่นๆอันเห็นได้ชัดแจ้งกับสภาวะธรรมอื่นๆที่ติดขัด ฯลฯ.  อันสามารถทําได้ในทุกอิริยาบถ หรือทุกขณะ และดีที่สุดคือในระดับขณิกสมาธิอันคือสมาธิอ่อนๆระดับใจที่แน่วแน่ ไม่วอกแวก ไม่ซัดส่ายไปในเรื่องคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆ, ในบันทึกธรรมนี้กล่าวไว้บ่อยครั้งที่สุด เพราะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งในการเข้าใจธรรม หรือธรรมะวิจยะอันถูกต้องแท้จริง, ไม่ใช่เพราะทิฎฐิ(ความเชื่อ,ความยึด)หรือศรัทธา, อคติใดๆ มานําให้เห็นผิด ร   ราคานุสัย กิเลส อันเป็นความกําหนัดในทางโลกที่แฝงนอนเนื่องในสันดาน(ดูอนุสัย) รูป ในขันธ์๕ หมายถึง ส่วนร่างกายตัวตน,   ในอายตนะหมายถึง "ภาพ หรือรูป "ที่เห็น  ซึ่งในบางครั้งใช้ครอบคลุมถึง "สิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลาย" คือรูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัส, ความคิด(ธรรมารมณ์)ทั้ง๖, คือใช้แทนอายตนภายนอกทั้งหมด รูปธรรม สิ่งที่ถูกรู้หรือสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง๕ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ยกเว้น ใจ รู้แจ้งในอารมณ์ เวทนา-ในความหมายของผู้เขียนหมายถึง การรับรู้พร้อมทั้งความจําได้ในอารมณ์อันคือสิ่งที่มากระทบหรือสัมผัส(ผัสสะ),  ในบางทีบางท่านหมายถึงวิญญาณ รู้เท่าทัน หมายถึงรู้เท่าทันตามความเป็นจริงที่มันเกิด เช่นจิตมีโทสะ ก็รู้เท่าทันว่าจิตหรือจิตสังขารหรือความคิดนั้นเกิดขึ้น และเป็นโทสะหรือความโกรธ(ตามหลักสติปัฏฐาน๔),  แค่รู้และต้องหยุดคิดนึกปรุงแต่งต่อจากความรู้เท่าทันนั้นเพราะจะทําให้จิตมีโอกาสปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไปอีก ล   โลกิยะ -โลกียสุข-ความสุขอย่างโลกีย์หรือตามวิสัยแบบโลกๆ, ยังประกอบด้วยอาสวะคือ กิเลสหมักหมมเช่น กามสุข-ทางกาม, มนุษย์สุข-มนุษย์, ทิพยสุข-เทวดา,พรหม โลกุตระ พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลกภาวะ  ไม่เนื่องในภพทั้ง๓(กามภพ, รูปภพ, อรูปภพ) โลกุตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลกๆ,สภาวะพ้นโลกหรือเหนือโลก อันมี๙ อันมีมรรค ๔ เช่นโสดาปัตติมรรค, และ ผล ๔ เช่นโสดาปัตติผล,  และ นิพพาน ๑   รวมเป็น ๙ (รายละเอียด) ว   วิจิกิจฉา ความคลางแคลงสงสัย วิบาก ผลที่จักได้รับ วิบากกรรม ผลที่จักได้รับจากการกระทํา(กรรม) วิปัสสนูปกิเลส -อุปกิเลส๑๐ที่เกิดจากวิปัสสนา คือกิเลสที่เกิดขึ้นจากการวิปัสสนา(ดูรายละเอียดวิปัสสนูปกิเลส) วิญญาณ ในปฏิจจ.อันหมายถึงการรับรู้หรือระบบประสาทอันทําหน้าที่สื่อสาร วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่น อยากไม่เป็นนี่ หรือ อยากดับสูญ หรือสรุปเป็นความ"ไม่อยาก"นั่นเอง วิปัสสนา -วิปัสนา-ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรม(ชาติ) , ปัญญาเห็นไตรลักษณ์อันให้ถอดถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสีย วิราคะ -ความสิ้นกําหนัด, ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ,ความตลายออกไดหายติด, เป็นอีกชื่อหนึ่งของนิพพาน เวทนา การเสวยอารมณ์(ทั้งทางใจและกาย), ความรู้สึกรับรู้(รวมทั้งจําและเข้าใจ)ในสิ่งที่มากระทบสัมผัสทั้งทางใจและกาย หรือผู้เขียนเรียกอีกอย่างว่า"ความรู้แจ้งในอารมณ์"อันหมายถึงความรู้สึกรับรู้พร้อมทั้งความจําได้ในสิ่งที่มากระทบสัมผัส หรือ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)อันพร้อมด้วยความจําได้หรือมีประสบการณ์ในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆ ส   สกิทาคามี สกทาคามี-ดูบทสังโยชน์๑๐ สติ รู้-รู้เท่าทัน-ความระลึกได้ตามที่มันเกิดหรือเป็นจริง เช่นจิตมีราคะ(ความอยากในสิ่งใดๆ) ก็รู้เท่าทันราคะที่เกิดขึ้นนั้น และรู้ว่าเป็นราคะ(ตามหลักสติปัฏฐาน๔) แค่รู้และต้องหยุดคิดนึกปรุงแต่งต่อจากสติรู้เท่าทันนั้นเพราะจะทําให้จิตมีโอกาสปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป สีลัพพตุปาทาน เป็นหนึ่งในอุปาทาน๔, ความยึดมั่นในศีลและวัตร(ข้อปฏิบัติ)ด้วยอํานาจกิเลส เป็นเหตุให้งมงาย สีลัพพตปรามาส ความหมายเดียวกันกับสีลัพพตุปาทาน เพียงแต่ไม่กล่าวเกี่ยวเนื่องกับอุปาทาน สังขาร สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง  สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัย ทั้งทางรูปธรรม นามธรรม          -ในขันธ์๕หมายถึงสังขารขันธ์ที่หมายถึงสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดเจตนาหรือเจตจํานงค์ในการกระทําทางกาย,ทางวาจา,ทางใจ ต่อเวทนาหรืออารมณ์(เช่นรูป,ความคิด)ที่มากระทบสัมผัส          -สังขารในปฏิจจ.หมายถึงการปรุงแต่งความคิดหรือปรุงแต่งกรรม(การกระทําทั้งทางกายวาจาใจ)ด้วยเครื่องปรุงที่มีคุณสมบัติต่างๆที่เป็นความเคยชินที่เคยประพฤติปฏิบัติ หรือที่ได้เคยอบรมหรือสั่งสมไว้มาก่อน(มาแต่อดีต) หรือจักกล่าวว่าเป็นสังขารวิบากคือสังขารที่เกิดจากผลของการเคยกระทําหรือเคยประพฤติปฏิบัติทั้งทางกาย,วาจา,ใจ อันได้สั่งสมไว้ อบรม เก็บบ่มไว้  หรือสังขารวิบากก็คือผลที่รับจากการกระทํา(กรรม)ในอดีตนั่นเอง          -สังขารในไตรลักษณ์หมายถึงทุกๆสรรพสิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง จึงครอบคลุมทั้งรูปธรรม,นามธรรมและธรรมทุกชนิดรวมทั้งโลกุตรธรรม จึงยกเว้นเพียงอสังขตธรรมคือนิพพานเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นเนื่องเพราะไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัย, ดังนั้นจึงครอบคลุมทั้งสังขารในขันธ์๕และสังขารในปฏิจจสมุปบาท และทุกสรรพสิ่ง ยกเว้นแต่นิพพานเพียงสิ่งเดียว สังขารวิบาก เจตนาหรือเจตจํานงที่กระทํา(เช่นความคิดคือทางใจ,หรือทางกาย,วาจา) อันเป็นผลจากการที่เคยประพฤติปฏิบัติอันได้สั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติไว้ในอดีต หรือสังขารในปฏิจจสมุปบาท -ผลที่ได้รับ(วิบาก)จากการกระทําต่างๆที่ได้กระทํามาแล้ว สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดในโลกหรือภพ สังโยชน์ กิเลสอันเป็นเครื่องมัดใจสัตว์หรือธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์มี๑๐ -ดูสังโยชน์๑๐ สฬายตนะ ดู อายตนะภายใน ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ความหมายเดียวกัน สัญเจตนา ความจงใจ, เจตนาที่แต่งการกระทํา, ความคิดอ่านที่จะกระทํา เป็นขบวนการในสังขารขันธ์ มี๓ คือ กายสัญเจตนา,วจีสัญเจตนา, มโนสัญเจตนา อันคือเจตนาทางกาย วาจา ใจ สัญชาตญาณ ความรู้,หรือสัญญา อันติดตัวมาโดยเนื่องมาจากการเกิด เช่นหิว, เจ็บปวดทางกาย, อิ่ม, กระหายนํ้า ฯลฯ. สัมโพชฌงค์๗ -โพชฌงค์๗-องค์หรือธรรมที่เป็นเครื่องตรัสรู้มี ๑.สติ  ๒.ธรรมวิจัย(ธรรมะวิจยะ-การพิจารณาธรรม) ๓.วิริยะ  ๔.ปีติ  ๕.ปัสสัทธิ  ๖.สมาธิ  ๗.อุเบกขา (รายละเอียด โพชฌงค์๗)    โสกะ ดูอาสวะกิเลส (รวมปริเทวะ,ทุกข์,โทมนัส,อุปายาส) โสดาบัน ผู้เข้าถึงกระแสที่จักนําไปสู่นิพพาน,พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นเช่นเดียวกันใน พระสกิทาคามี, พระอนาคามี,พระอรหันต์  ดูบทสังโยชน์ โสดาปัตติผล เป็นผลของการถึงกระแสสู่นิพพานด้วยโสดาปัตติมรรค(การปฏิบัติ)ทําให้เป็นพระอริยะชั้นโสดาบัน  ดูโลกุตรธรรม โสดาปัตติมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลคือความเป็นพระโสดาบัน  ดูโลกุตรธรรม อ   อนาคามี อริยบุคล ดูโลกุตรธรรม อรหันต์ ผู้สําเร็จธรรมสูงสุดในพุทธศาสนาโลกุตรธรรม อนิฎฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา อนุโลม -ในปฏิจจ. หมายถึงพิจารณาการเกิดของทุกข์ตามลําดับ อริยบุคคล อภิชฌา บุคคลซึ่งเป็นอริยะมี๔  ดูโลกุตรธรรม โลภอยากได้ของเขา, ความคิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่น อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะ(คําพูด)จนเกิดยึดว่าเป็นตัวตน ของตนขึ้นในจิต  เป็นหนึ่งในอุปาทานทั้ง ๔ ชนิด (รายละเอียด) อวิชชา๘ ความไม่รู้จริง,ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริงมี๘ คือ ความไม่รู้อริยสัจทั้ง๔ และเพิ่ม  ๕.ไม่รู้อดีต  ๖.ไม่รู้อนาคต   ๗.ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต   ๘.ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท อวิชชานุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องในสันดานอันเกิดจากความไม่รู้ตามความเป็นจริง, อันจักอาจทําให้เกิด การกระทําหรือการประพฤติ,ปฏิบัติโดยไม่รู้ตามความเป็นจริงในสภาวะธรรมนั้นๆ อันอาจก่อทุกข์ อวิชชาผัสสะ ผัสสะที่ยังไม่มีวิชชาในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์  จึงไม่รู้และไม่มีสติรู้เท่าทันว่าจะมีสัญญาความจําอันแฝงไว้ด้วยกิเลส(อาสวะกิเลสนั่นเอง)เกิดขึ้นด้วยเป็นธรรมดา  จึงยอมให้อาสวะกิเลสนั้นแฝงติดมากับการกระทบผัสสะนั้น  อันพร้อมที่จะทํางานเมื่อถูกกระตุ้นเร่งเร้าจากตัณหา อายตนภายใน อวัยวะที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอันมี ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ,ทั้ง๖ อายตนภายนอก สิ่งที่ถูกรู้โดยอายตนภายในอันมี รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,ธรรมารมณ์(สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยใจหรือความคิด)ทั้ง๖เรียกทั่วๆไปอีกอย่างในทางธรรมว่าอารมณ์ ๖ อารมณ์ ในทางธรรม หมายถึง สิ่งสําหรับให้จิตยึดหน่วงหรือจับเป็นหลัก อันมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์   หรืออายตนะภายนอก๖ นั่นเอง (ในทางโลก มักหมายถึงความรู้สึกในขณะหนึ่งเช่น วันนี้อารมณ์ดี อย่าทําตามอารมณ์ อันเป็นคนละความหมาย) อาสวะ สิ่งที่หมักหมม,ซึมซ่าน ดองอยู่ในสันดาน อาสวะกิเลส สิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวที่หมักหมมหรือนอนเนื่องอยู่ในจิต หรืออาจพูดได้ว่าคือสัญญาหรือความจําเก่าอันมีกิเลสสิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัวแฝงอยู่อันเนื่องจากทุกข์และสุขในอดีต อันมี โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส โสกะ-ความโศก โศรกเศร้า แห้งใจ หดหู่ใจ โศรกเศร้าจากการเสื่อมหรือสูญเสียต่างๆเช่น โศกเศร้าของผู้ที่เสื่อมสุข เสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค เสื่อมศีล เสื่อมทิฏฐิ เสื่อมยศ ฯลฯ. ปริเทวะ-ความครํ่าครวญ โหยหา รํ่าไรรําพัน พิรี้พิไรรําพัน  อาการของความอาลัยอาวรณ์คิดคํานึงถึงในสุขหรือทุกข์ในอดีตที่เสื่อมหรือสูญเสียไปแล้ว เช่นโหยหา, อาลัย, ครํ่าครวญถึงสุข, ความสนุก, ญาติ, ทรัพย์, เกียรติ ฯลฯ.ที่เสื่อมหรือดับไปแล้วแต่อดีต อันอยากให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นอีก ทุกข์-ความทุกข์ทางกาย ความไม่สบายกายทั้งหลาย ความจดจําได้ ความกลัว ในความเจ็บปวด ความป่วยไข้ การบาดเจ็บ โทมนัส-เศร้าใจ เสียใจ ความทุกข์ทางจิต ความไม่สําราญทางจิต อารมณ์ไม่ดีเป็นทุกข์เกิดแต่ใจ ไม่ได้ดังใจ ไม่ได้ตามใจปรารถนา อุปายาส-ความขุ่นเคือง คับแค้นใจ ขุ่นข้อง เช่น ความโกรธ ความอาฆาต พยาบาท ขุ่นเคือง หรือเกิดจากความคับแค้นใจหรือถูกเบียดเบียน รังแก เอาเปรียบ อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ,ความรู้อันเป็นเหตุสิ้นอาสวะเป็นญาณสุดท้ายก่อนเป็นอรหันต์ อิทัปปัจจยตา หลักธรรมที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ อันกล่าวถึงกฏเหตุปัจจัยดังนี้                 เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี               เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น                 เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี       เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ " อุคคหนิมิต นิมิตติดตา หมายถึงนิมิต(อารมณ์กรรมฐาน) ที่นึกกําหนดจนแม่นใจ หรือเพ่งดูจนติดตา แม้หลับตาก็เห็น อุทาน วาจาที่เปล่งขึ้นโดยความเบิกบานใจ มักเป็นข้อควมสั้นๆเพียง ๑ หรือ ๒ คาถา ;ในภาษาไทย  หมายถึงเสียงหรือคําพูดที่เปล่งออกมาเวลาดีใจหรือตกใจ อุเบกขา ความรู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรมนั้นแล้ววางเฉย, วางเฉยโดยไม่คิดนึกปรุงแต่ง ไม่ว่าจะฝ่ายดีหรือชั่ว. (เพราะล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา) อุเบกขาเวทนา หรืออทุกขมสุข ชื่อเดียวกันของเวทนาชนิดความเฉยๆ แต่ไม่ประกอบด้วยการรู้เห็นตามความเป็นจริงในธรรมนั้นๆ อุปกิเลส กิเลสที่เกิดเป็นประจําจนเคยชิน(คล้ายอุปนิสัยอันหมายถึงนิสัยอันเคยชิน)(รายละเอียด) อุปาทาน-ความยึดมั่น,ถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขในตน,ของตนเป็นหลักสําคัญสูงสุด(รายละเอียด), แบ่งออกเป็น๔ อุปาทานขันธ์๕ คือขันธ์๕ที่เกิด โดยมีความยึดมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตนเองเป็นหลัก แฝงหรือนอนเนื่องอยู่ในขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ถ้ามองในมุมของปฏิจจสมุปบาท ก็คือขันธ์๕ที่เกิดใน"ชาติ-ชรามรณะ" อันผ่านการครอบงําหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลของอุปาทาน นั่นเอง อนันตจักรวาล จักรวาลทั้งหมดทั้งสิ้นที่มีอยู่  นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันกล่าวว่ามีเป็นร้อยๆล้านจักรวาล ไม่ใช่แค่สุริยจักรวาลของเราเท่านั้น  แต่สิ่งเหล่านี้และทุกๆสิ่ง ทั้งที่อยู่ในรูปธรรม,นามธรรม ล้วนอยู่ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์-ไม่เที่ยง, ทนอยู่ไม่ได้เป็นทุกข์, และเป็นอนัตตา อันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น อนุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดานอันมี๗ คือ ๑. ราคะ ความกําหนัดในทางโลก  ๒. ปฏิฆะ ความขุ่นข้อง,หงุดหงิด ๓.ทิฏฐิความเห็นผิด ๔.วิจิกิจฉาความลังเลสงสัย  ๕.มานะ ความถือตัว ๖. ภวราคะ ความกําหนัดในภพ ๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง         อานิสงส์นี้รวบรวมจากประสบการณ์ความเข้าใจโดยส่วนตัวของข้าพเจ้าเอง  (มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเช่นกัน พยายามค้นมาใส่เปรียบเทียบ แต่ยังไม่พบ)  มีดั่งนี้         ๑.รู้สภาวะธรรมของตนเอง สามารถวิเคราะห์หาเหตุและผลได้ตลอดจนเข้าใจธรรมอื่นดีขึ้น สมดังพุทธพจน์ที่กล่าวว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม"         ๒.เมื่อเข้าใจกระบวนการเกิดทุกข์แล้ว ย่อมมีความมั่นใจและรู้หนทางแก้ไขทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจะเกิดขึ้นอย่างได้ผลถูกต้องที่เหตุปัจจัยตรงจุด เหมือนดั่งมีแผนที่ในมือย่อมไม่หลงทาง หรือถ้าหลงทางก็จะตรวจสอบและ "รู้"ตัวอย่างรวดเร็ว และเดินทางกลับไปสู่จุดหมายถูก จึงเปรียบประดุจดั่งมีแผนที่ในมือ เพราะมีแก่นธรรมอันสูงสุดเป็นบันทัดฐานให้ตรวจสอบการปฏิบัติ         ๓.มีความเข้าใจในมหาสติปัฏฐาน๔ เองโดยไม่ได้พิจารณาปฏิบัติมาก(แต่ต้องฝึกสติ และต้องให้มีสติอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติในชีวิตประจําวัน ไม่ใช่เฉพาะเวลานั่งสมาธิ)โดยเฉพาะเวทนานุปัสนาเพราะเข้าใจเวทนา และที่ชัดเจนอีกสิ่งคือจิตตานุปัสสนา เกิดอาการเห็นจิตในจิตดั่งพุทธพจน์ที่กล่าวในจิตตานุปัสนาว่า"จิตมี โมหะ โทสะโลภะก็รู้ชัดว่าจิตมี, จิตไม่มี โมหะ โทสะโลภะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มี" ตลอดจนเห็น(เข้าใจ)ทั้งภายใน(ตัวเอง)และภายนอก(บุคคลอื่น)เนื่องจากเข้าใจในสภาวะธรรมต่างๆดีขึ้นทําให้รู้ถึงสภาวะตนเองและบุคคลอื่นเพราะธรรมใดเป็นเหตุ ทําให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้น         ๔.กําจัด "วิจิกิจฉา"ความสงสัยที่มีซ่อนอยู่ลึกๆ หรือความไม่เข้าใจในธรรมคําสอนให้พ้นทุกข์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมดสิ้น รู้ถึงพุทธประสงค์ในการสั่งสอนสรรพสัตว์         ๕.ได้สัมผัส นิโรธ บางส่วน มีอาการเบากายเบาใจอย่างไม่เคยประสบมาก่อนโดยไม่ได้ปฏิบัติใดๆเนื่องจากทุกข์หายไปและไม่พอกพูนหรือก่อกวนอาสวะกิเลสขึ้นมา เข้าใจคําว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตลอดจนมีความเชื่อมั่น, กําลังจิต, กําลังใจ, มองเห็นทางสู่จุดหมายปลายทางอันคือ "นิโรธ" ว่าเป็นไปได้ ไม่ใช่สิ่งเพ้อฝันอีกต่อไป และไม่ใช่เรื่องบุญบารมีเก่า แต่เกิดแต่กรรมการกระทําที่มีเจตนาในปัจจุบันเท่านั้น         ๖.ไม่เอาเวทนาทั่วๆไป มาก่อเป็นทุกข์โดยไร้สาระ เพราะไม่ทราบเหตุ และความไม่เข้าใจอย่างในอดีต(อวิชชา) เนื่องจากแยกแยะและเข้าใจเวทนาได้อย่างชัดเจนขึ้น ทุกข์เกิดจากเหตุนี้มีเป็นจํานวนมากมายจริงๆ เกิดจากความไม่เข้าใจและวาดภาพการพ้นทุกข์เป็นแบบเพ้อฝันหรือสีลัพพตปาทาน คือไม่เข้าใจคําว่า "เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น"         ๗.เข้าใจใน สีลัพพตปรามาส อย่างถูกต้อง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุปัจจัย ไม่มีสิ่งใดดลบันดาลในทุกๆสิ่ง แม้แต่ทุกข์ เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา ทําให้หมดความยึดมั่นในศีลและพรตข้อปฏิบัติที่งมงาย อันเนื่องจากไปยึดมั่นไว้เพื่อเป็นกําลังขวัญ กําลังใจ อย่างผิดๆ         ๘.ลดละสักกายทิฎฐิ จากการเห็นและเข้าใจความเห็นแก่ตัวตนของตนเองคือ อุปาทานอันยึดมั่นในความยินดีพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก อันก่อให้เกิดความเห็น,ความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เรานั่นแหละเห็นแก่ตัวตนของตนเองทั้งต่อกายและจิตมากที่สุด เหนือกว่าสิ่งใดๆ ตลอดจนความเข้าใจในเหตุปัจจัย อันยังให้ทราบถึงสภาพอันเป็นตัวตนล้วนแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่งประชุมกัน  ประดุจดั่งแสงแดด แว่นขยาย เชื้อไฟ ฯลฯ.         ข้อควรระวังในการโยนิโสมนสิการปฏิจจสมุปบาท เท่าที่สังเกตุพบเมื่อมีความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทส่วนหนึ่งแล้วจะเกิดอาการเบาสบายทั้งกายและใจ ถึงแม้เป็นแก่นธรรมแท้แต่ก็บังเกิดวิปัสสนูปกิเลสได้เช่นกัน เพราะบังเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาเป็นธรรมดาทําให้เข้าใจว่าตนเองนั้นเข้าใจธรรมนี้แทงตลอดแล้ว(ดูอาการ"ญาณ"ในวิปัสสนูปกิเลส )เพราะอาการดังกล่าวทําให้หลงหยุดการโยนิโสมนสิการหรือการปฏิบัติเสีย และเกิดอาการอื่นๆ   ดั่งที่พระอานนท์ที่ได้กราบทูลพระพุทธองค์ จนพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสแย้งข้อกราบทูลนั้น ดังความที่กล่าวมาแล้ว, ทําให้บางท่านหยุดการพิจารณาธรรมหรือปฏิบัติ และเกิดอาการอื่นๆ ทําให้ไม่แทงตลอดในธรรมนี้จริงๆอย่างน่าเสียดาย แต่ก็ไม่ร้ายแรงเท่ากับเกิดจากฌานหรือสมาธิโดยตรง   เพราะขาดนิกันติความพอใจข้อ๑๐ในวิปัสสนูปกิเลสอาการเบาสบายนี้เป็นอาการปกติเริ่มแรกเพราะใจที่เป็นทุกข์ลดน้อยลงจากปัญญาที่เกิดขึ้นในการเห็นตามความเป็นจริงในปฏิจจสมุปบาท ทําให้รู้สึกแตกต่างจากสภาพเดิมๆมาก อาจทําให้เกิดอาการญาณหรือปัสสัทธิในวิปัสสนูปกิเลสขึ้นได้จากรู้สึกสงบกาย สงบใจจนเกิดความเข้าใจผิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส หรืออาจเกิดวิปัสสนูปกิเลสตัวอื่นๆ อย่าไปหลง เป็นแต่แค่เวทนาหรือสังขารอันไม่เที่ยง, ทนอยู่ไม่ได้จักเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปอยาก และเป็นอนัตตา เท่านั้น และ อย่าได้ไปยึดติดยึดถือคอยเสพสัมผัสความเบากาย,เบาใจ เพราะยังอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์เช่นกัน จนกว่าสภาพ "นิโรธ"จักบังเกิดอย่างมั่นคงถาวร    http://www.khonnaruk.com/html/home.html  โฮมเพจสมาคมคนน่ารัก รวบรวมข้อธรรม คําสอน อันน่าศึกษาของเหล่าพระอริยเจ้า โดยเฉพาะของท่านพุทธทาสภิกขุ,  ตลอดจนคติธรรมในขําขัน "สา-ระ-ขัน" เป็นเรื่องขําขันที่แฝงคติธรรมอย่างดีเยี่ยม ตลอดจนนานาสาระต่างๆทั้งทางโลกและทางธรรม  http://www.buddhadasa.com  เป็นโฮมเพจที่รวบรวมประวัติ ตลอดจนข้อธรรม คําสอน อันล้วนเป็นแก่นธรรมของ ท่านพุทธทาสภิกขุ ไว้อย่างดีเยี่ยม และเว็บไซต์นี้ได้รับรางวัลดีเด่นจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.)  http://www.phrathai.net  ชุมนุมพระไทยในอินเทอร์เนต เป็นศูนย์ข่าวในแวดวงพระภิกษุสงฆ์  พร้อมทั้งข้อธรรม และฟังธรรม(เสียง)ได้  ตลอดจนพระไตรปิฎกไว้ให้ค้นคว้า  http://www.84000.org  เป็นที่รวบรวมหลักธรรมคําสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างมีสาระเป็นระบบ  และหลากหลาย ตลอดจนสามารถLinkไปโฮมเพจ ทางพระพุทธศาสนาอื่นๆได้อีก,  ภาพพุทธประวัติโดยจิตรกรมีชื่อเสียง  http://www.geocities.com/pic_asupa  เว็บที่รวบรวมภาพอสุภะต่างๆ เพื่อไว้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงแห่งกายนี้  มีภาพเกี่ยวกับคนตายต่างๆ เพื่อไว้พิจารณา มรณังนุสสติ, กายคตาสติ, ปลงอสุภะ เพื่อจะได้ละคลายจากความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจในกายนี้และกายผู้อื่น เหมาะสําหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติกายานุปัสสนาแบบอสุภกรรมฐาน  http://www.thai.net/patitja           http://nkgen.com  อีกโฮมเพจหนึ่งของโฮมเพจ "ปฏิจจสมุปบาท" นี้  http://www.geocities.com/Tokyo/Pagoda/3134/index3.html  "หลวงปู่ฝากไว้" คติธรรมข้อคิดสั้นๆ แต่แฝงด้วยหลักธรรมอันลึกซึ้งของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล  http://www.geocities.com/pudule  ประวัติและธรรมคําสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล  http://www.geocities.com/pudule/dharma1.htm  วิธีเจริญจิตภาวนา ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, จากWebsite ประวัติและธรรมคําสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล  http://www.rajabhat.ac.th/payutto/book.htm  รายชื่อหนังสือพร้อมรายละเอียดโดยสังเขปของท่าน พระธรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)  http://www.geocities.com/Tokyo/Gulf/4126/tesk0002.html  เป็นส่วนหนึ่งของเว็บธรรมะจากพระป่า เป็นโฮมเพจหลักธรรมคําสอนของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เรื่อง "ส่องทางสมถวิปัสสนา"  http://www.geocities.com/watpakangkung/watpa/putad/putad4.html  ธรรมคําสอน เป็นธรรมโอวาทของหลวงปู่เทศก์ เทสรังสี  เป็นส่วนหนึ่งของเว็บ วัดป่ากลางกรุง  http://wittawatpage.hypermart.net/SantiTham  เป็นโฮมเพจหนึ่งของนักปฏิบัติชอบผู้มากหลายประสบการณ์  http://www.thai.net/doctorpee          http://geocities.com/palmdhamma   เป็นโฮมเพจสําหรับเครื่องปาล์มหรือพ็อกเก็ตพีซี ที่รวบรวมหลักธรรม ตลอดจนพระไตรปิฎกไว้อย่างครบถ้วน ตลอดจนคําสอนของพระอริยะเจ้า และนักปฏิบัติ,  จุดเด่นของโฮมเพจนี้โดยคุณหมอpee ได้จัดการไว้สําหรับโหลดใส่ในคอมพิวเตอร์แบบPalm ไว้พกพาไปอ่านได้ทุกสถานที่  http://www.geocities.com/Tokyo/Pagoda/3134/link.html  ลานธรรมเสวนา กระดานธรรม ถาม-ตอบปัญหากระทู้ธรรมต่างๆหลากหลาย ตลอดจนพระไตรปิฎกOnlineไว้ค้นคว้า  http://www.geocities.com/wisuttipom/Buddhist.html  พุทธศาสนิก รวบรวมข้อธรรม ตลอดจนกระทู้ธรรมต่างๆ  http://www.geocities.com/Tokyo/Pagoda/3134/link.html  เป็นที่รวบรวมใช้ค้นหาเว็บไซต์ธรรมะ ตลอดจนประวัติพระอริยะเจ้าต่างๆ  http://www.geocities.com/piyainta  เป็นที่รวบรวมประวัติพระอนุพุทธ(พระอสีติ)ทั้ง ๘๐ พระองค์  ตลอดจนรวบรวมโฮมเพจความรู้ และหลักธรรมคําสอนทางพระพุทธศาสนา แจ้งเพิ่มเติมรายชื่อเว็บธรรมะหรือเว็บที่ส่งเสริมจริยธรรมได้ที่ patitja@hotmail.com                   รายละเอียดการทํางานของขันธ์๕                      พระพุทธองค์ ท่านได้ทรงแสดงตัวตนของเราว่า เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง อันประกอบด้วยฝ่าย รูปและนาม เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรม (บางที บางท่าน โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติสมถะแต่เพียงอย่างเดียว พยายามแยกออกมาให้ได้จริงๆทางรูปธรรม คือพยายามแยกกาย แยกจิต,  อันจักแยกได้จริงๆต่อเมื่อกายแตกดับถึงแก่ความตายเท่านั้น ที่จักเกิดขึ้นเองเป็นธรรมดา)         หรือแยกย่อยลงไปได้อีก ประกอบด้วย   ๑.รูปหรือกายหรือส่วนประกอบต่างๆของร่างกาย    ๒.เวทนา   ๓.สัญญา   ๔.สังขาร   ๕.วิญญาณ  หรือขันธ์ทั้ง ๕ นั่นเอง         เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวตนที่เรายึดมั่นอยู่นั้น เพียงเกิดแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง๕ มาปรุงแต่งกันอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และเมื่อขันธ์ทั้ง๕นี้ขณะประชุมรวมตัวเป็นเหตุปัจจัยกันอยู่(ยังให้มีชีวิต) ก็จะทํางานเป็นปัจจัยแก่กันและกันจนเกิดกระบวนการของชีวิตหรือกระบวนการของขันธ์๕ อันเป็นกระแสสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)         ที่นี้ผู้เขียนจะแสดงกระบวนการของขันธ์๕ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการทํางานของจิต เพื่อความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียดขึ้นในภายภาคหน้า         ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ(ส่วนความคิด-อันมีสมองเป็นปัจจัยหนึ่ง) ทั้ง ๖ ต่างล้วนเป็นส่วนหนึ่งของรูปหรือกาย ซึ่งจักทํางานเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันกับฝ่ายจิตอันมี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  และรวมถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เราไปกระทบสัมผัส ดังเช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส  และธรรมารมณ์(ความคิดนึก)  ดังตัวอย่างต่อไปนี้         เมื่อ ตา กระทบกับ รูป(หรือภาพที่เห็น)นั้น  ระบบประสาทสัมผัสของตา(จักขุวิญญาณ)จะนําส่งข้อมูลของภาพที่เห็นให้สมองฝ่ายความทรงจําในภาพนั้นๆ ที่บันทึกบรรจุอยู่(สัญญาจํา) อันจําได้ถึงข้อมูลในภาพนั้นๆว่ามีอะไรบ้างเช่นความชอบ ไม่ชอบ เคยมีประสบการณ์ใดๆ ที่ได้สั่งสม อบรมไว้กับสิ่งที่เห็นใดๆบ้าง  อันเป็นกระบวนการรับรู้อัตโนมัติ(ธรรมชาติ)ในสิ่งที่เห็น  อันย่อมต้องก่อให้เกิดความรู้สึกในการรับรู้ภาพที่เห็นนั้น(เวทนา)เป็นไปตามข้อมูลความจํา(สัญญาจํา)ที่มีมาแต่ก่อน  อันพอจําแนกเป็น ความรู้สึกสบายใจ ชอบใจ, ความรู้สึกไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ, หรือความรู้สึกเฉยๆ ต่อภาพหรือสิ่งที่ตาไปกระทบหรือเห็นเข้านั้น  อันพอจะเขียนเป็นกระบวนการของจิตได้ดังนี้ ตา กระทบ ภาพที่เห็น ส่งไปยัง>> ระบบประสาทตา >> สมองส่วนความจํา >> เกิดความรู้สึกต่อภาพที่เห็นอันเนื่องมาจากความจํา อันนํากระบวนการจิตนี้มาเขียนในทางพุทธศาตร์ได้ดังนี้ ตา + รูป >> จักขุวิญญาณ >> สัญญาจํา >> เวทนา           หรือเขียนอีกแบบดังนี้ ตา + รูป + วิญญาณ การกระทบสัมผัสกันหรือผัสสะ >> สัญญา >> เวทนา         เมื่อเกิดเวทนาความรู้สึกรับรู้จากการกระทบและสัญญาจําขึ้นแล้ว ก็จะนําส่งโดยระบบประสาทของความคิด(มโนวิญญาณ)ไปยังสมองส่วนความคิด(สัญญาหมายรู้)  อันหมายถึงการรวบรวมข้อมูล วินิจฉัย(ในขณะจิต เร็วกว่าสายฟ้าแลบ) เปรียบเทียบ ค้นคว้าจากความจํา,ประสบการณ์หรือสัญชาตญาณ แล้วนําข้อมูลที่รวบรวมนั้นส่งไปทางระบบประสาทของความคิด(มโนวิญญาณ)อีก ไปยังสมองส่วนสั่งการ อันเขียนเป็นกระบวนการทํางานได้ดังนี้ ตา กระทบ ภาพที่เห็น >> ระบบประสาทตา >> สมองส่วนความจํา >> มีความรู้สึกต่อภาพที่เห็นอันเนื่องมาจากความจํา >> ไปทางระบบประสาทส่วนความคิด >> สมองส่วนความคิด >> ไปทางระบบประสาทส่วนความคิด >> สมองส่วนสั่งการ >> ไปทางระบบประสาทส่วนสั่งการ >> เกิดการกระทําทางใจ(คิด) การกระทําทางวาจา การกระทําทางกายตามที่สมองสั่งการ หรือเขียนย่อลงได้ดังนี้ ตา + ภาพที่เห็น >> ระบบประสาทตา >> สมองส่วนความจํา >> มีความรู้สึกต่อภาพที่เห็นอันเนื่องมาจากความจํา >> สมองส่วนความคิด >> สมองส่วนสั่งการ >> การกระทําทางกาย วาจา ใจ อันนํามาเขียนในทางพุทธศาตร์ได้ดังนี้ ตา + รูป >> วิญญาณ การกระทบสัมผัสกันหรือผัสสะ >> สัญญาจํา >> เวทนา >> สัญญาหมายรู้ >> มโนวิญญาณ หรือ ใจ(แต่มักใช้มโนวิญญาณแทนทั้งระบบประสาทและสมองส่วนต่างๆโดยเฉพาะสมองส่วนสั่งการ) >> สังขารขันธ์ อันเขียนย่อลงได้อีกดังนี้ ตา + รูป + วิญญาณ ผัสสะ >> สัญญาจํา >> เวทนา >> สัญญาหมายรู้ >> มโนวิญญาณ >> สังขารขันธ์ การกระทําทางกาย วาจา ใจ หรือย่อลงไปอีก ก็จะได้กระบวนการขันธ์๕ แบบย่อดังนี้ ตา + รูป + วิญญาณ ผัสสะ >> เวทนา >> สัญญา >> สังขาร         เป็นเฉกเช่นนี้ในอายตนะทั้ง๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ(ความคิดต่างๆ)         ดังนั้นคงจะพอเห็นได้ว่า ขันธ์๕ที่เกิดแต่ละครั้งนั้น ไม่ว่าจะโดย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ(คิด) ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์ล้วนสิ้นที่ต้องผ่านถึงมโนวิญญาณหรือใจก่อนทั้งสิ้น  หรือกล่าวได้ว่าจิตนั้นเป็นใหญ่ หรือประธานของกระบวนการชีวิต  ดังนั้นการดับทุกข์จึงต้องขึ้นอยู่กับใจหรือจิตเป็นสําคัญ  อันมีสมองซึ่งเหตุปัจจัยหนึ่งของใจหรือจิต อันเป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง(สัมมาญาณ)อันยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ(ความสุขอันเนื่องจากการหลุดพ้น), แต่สมองก็ไม่ใช่จิต เป็นแค่เหตุปัจจัยอันหนึ่งของจิตเท่านั้น         ขอให้นักปฏิบัติลองพิจารณาธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคาย(ธรรมะวิจยะโดยการโยนิโสมนสิการ) ในทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย และความคิด(ใจ) แล้วจะเห็นกระบวนการจิตตามธรรมชาติที่ชัดเจนขึ้น  อันจะยังประโยชน์ในการเข้าใจในสภาวะธรรมของกระบวนการจิตในการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)         ในคราวหน้าจะเขียนรายละเอียดกระบวนจิตในการเกิดทุกข์ ที่เปรียบเทียบกับแนววิทยาการทางวิทยาศาตร์ในปัจจุบัน                  ลองพิจารณาประสาทสัมผัสทางหู ดูกันบ้าง         หู กระทบ เสียงจากผู้ใดหรือสิ่งใด ระบบประสาทหู(ทางพุทธศาตร์เรียกโสตวิญญาณ)นําส่งสมองส่วนความจํา(สัญญา)อันจําและเข้าใจในความหมายของเสียงนั้นอันยังผลให้เกิดความรู้สึกรับรู้ในเสียงที่มากระทบ(เวทนา)  สมมติเช่น ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจต่อเสียงนั้น หรือต่อความหมายของเสียงที่ได้ยินหรือที่กระทบสัมผัส อันคือทุกขเวทนานั่นเอง         ลองพิจารณาตรงนี้จริงๆ อย่าคิดว่าเข้าใจแล้ว อย่างโดยละเอียดและแยบคายหลายๆครั้ง จะเห็นสภาวะธรรมชาติแท้ๆของกระบวนการทางจิตช่วงนี้ ถึงความเป็นเหตุปัจจัยกัน เมื่อมีเหตุปัจจัยเช่นนั้น ย่อมยังผลให้เกิดเป็นทุกขเวทนาเช่นนั้น เป็นสภาวะธรรมตามธรรมชาติของปุถุชน อันเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตากล่าวคือ"เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี" อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงควรยอมรับด้วยใจที่เข้าใจ เพราะจริงๆแล้วทุกขเวทนานี้ยังไม่ใช่ความทุกข์หรือทุกข์อุปาทาน เป็นแค่กระบวนการจิตในความรู้สึกรับรู้ในเเบื้องต้นๆเท่านั้นเพียงแต่สามารถไปก่อทุกข์จริงๆได้ต่อไป เพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริง(อวิชชา)         เมื่อทุกขเวทนาจากเสียงนั้นเกิดขึ้นแล้ว  ณ.จุดนี้ อันเป็นจุดสําคัญในการที่กระบวนจิตจะมาถึงจุดทางแยก ที่จักเป็นไปตามกระบวนการขันธ์๕อันเป็นกระบวนการธรรมชาติของชีวิต  หรือจักแวะเวียนเข้าไปในกระบวนการการเกิดขึ้นของทุกข์                                               >> กระบวนการขันธ์๕....เป็นไปตามกระบวนการของขันธ์๕ อันเป็นไปตามธรรมชาติ   ........เวทนา >>                                               >> กระบวนการเกิดทุกข์.....เป็นไปตามกระบวนการที่ทําให้เกิดทุกข์หรือทุกข์อุปาทาน            ถ้าไปตามกระบวนการขันธ์๕    ทุกขเวทนานั้นย่อมก่อความรู้สึกกระทบกระเทือนไม่สบายใจในขณะจิตแรก แต่ถ้ามีสติรู้ทันเข้าใจในเวทนานั้น อันยังผลให้สมองส่วนความคิด(สัญญาหมายรู้)ไม่ถูกครอบงําด้วยอิทธิพลใดๆ   เป็นสัญญาหมายรู้ หรือความคิดในเรื่องที่มากระทบนั้นโดยไม่มีอิทธิพลอื่นๆมาเจือ อันทําให้เกิดสังขารขันธ์อันเป็นผล กล่าวคือไม่พอใจ โกรธ ขุ่นข้องใจ อันเป็นธรรมชาติตามกฎอิทัปปัจจยตา         หลายท่านเมื่อมาถึงตรงนี้จะเกิดความงุนงงขึ้น เช่น ถ้าเป็นไปตามธรรมชาติ  อย่างนั้นในอริยบุคลต่างๆรวมทั้งพระอรหันต์เจ้าก็ยังมีความโกรธหรือ? จริงๆแล้วท่านมี "โกรธ" แต่ท่านไม่เอา ดังได้กล่าวไว้แล้วในบท"ธรรมข้อคิด"ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล และอีกประการหนึ่งก็คือถึงมีก็เบาบางกว่าปุถุชน เหตุเพราะสัญญาจําและสัญญาหมายรู้อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความโกรธ ของท่านนั้นปราศจากอาสวะกิเลสอันขาดสูญไปเนื่องจากการปฏิบัติจนเห็นและรู้เข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในคุณและโทษของมันจนขาดความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของจิต  สัญญาจําและหมายรู้ชนิดเจือกิเลสตัณหาของท่านจึงไม่มี มีแต่สัญญาจําและหมายรู้ธรรมชาติจึงไม่ส่งผลใดๆต่อเวทนาอย่างรุนแรง ตลอดจนสติท่านมีอยู่อย่างต่อเนื่อง,  หรือกล่าวได้ว่า เวทนานั้นย่อมต้องเกิดเช่นกันแต่เป็นเวทนาตามธรรมชาติอันขาดการปรุงแต่งของกิเลสตัณหา(อันยังให้เกิดอุปาทานไม่ได้ เมื่อไม่เกิดอุปาทานก็ทําให้เกิดทุกข์ไม่ได้เช่นกัน)และสติที่เกิดจากความเพียรหรือเข้าใจอย่างลึกซึ้ง         ในปุถุชนนั้นเมื่อเกิดเวทนาขึ้น ย่อมมีสัญญาหมายรู้เกิดขึ้นเช่นกัน ดังนั้นถ้ารู้เท่าทันเวทนา สัญญาหมายรู้นั้นย่อมหมายให้เกิดสติแทนขึ้นได้ เพราะสตินั้นก็เป็นสังขารขันธ์ชนิดหนึ่งนั่นเอง  อย่างในกรณีที่เราตีตัวเอง ก็เกิดแต่เหตุปัจจัยนี้คือสัญญาหมายรู้นั้นรู้ดีอยู่ว่าเป็นเราทดสอบตีตัวเอง ดังนั้นแทนที่จะเป็นสังขารขันธ์ของความโกรธ(ปฏิฆะ)เช่นคนอื่นมาตีเรา กลับกลายเป็นสังขารขันธ์ที่ใช้ในการดับทุกข์คือสติที่รู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร  จึงไม่เกิดทุกข์  เกิดแต่เพียงทุกขเวทนาจากการกระทบสัมผัส         ดังนั้นกระบวนจิตของพระอริยเจ้า หรือปุถุชนที่มีความคิดที่ไม่ก่อทุกข์ก็จักดําเนินไปตามกระบวนการนี้ หู + เสียง + โสตวิญญาณ >> สัญญา(จํา) >> เวทนา >> สัญญา(หมายรู้) >> มโนวิญญาณ >> สังขารขันธ์อันเป็นผลที่จงใจหรือเจตนากระทํา         หรือเขียนแบบสั้นๆดังนี้ หู + เสียง + โสตวิญญาณ ผัสสะ>> เวทนา >> สัญญา >> สังขารขันธ์         คราวนี้เราลองมาพิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น แต่เป็นไปตามกระบวนการเกิดทุกข์  แทนที่จะเป็นไปตามกระบวนการขันธ์๕ คือเมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้นแล้ว เกิดความไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้เป็น มีความรู้สึกอยากผลักไสความรู้สึกที่เป็นทุกขเวทนาออกไป มีการต่อล้อต่อเถียงกับจิต(คิดปรุงแต่ง) เหล่านี้ล้วนเป็นอาการของวิภวตัณหา ตัณหาความไม่อยาก(หรืออยากที่จะไม่ให้มี ไม่ให้เป็นเช่นนั้น)  ซึ่งนักปฏิบัติหลายๆท่านมักจะลืมวิภวตัณหานี้  มัวแต่คอยสังเกตุตัณหาความอยาก(ภวตัณหา)แต่ฝ่ายเดียว   ดังนั้นเมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้นมาจึงเป็นปัจจัยให้เกิดวิภวตัณหาในเวทนานั้นทันที   ซึ่งนํามาเขียนเป็นกระบวนการของจิต ต่อจากเวทนาได้ดังนี้  หู + เสียง + โสตวิญญาณ ผัสสะ>> เวทนา >> ตัณหา(วิภวตัณหา) >> ....             เมื่อเกิดตัณหาความไม่อยากในเวทนานั้นแล้ว  จิตก็ต้องดําเนินการต่อไปให้เป็นไปตามตัณหาที่เกิดขึ้นแล้วนั้น คือความไม่อยากให้เกิดให้เป็น เพื่อให้ตัวตน,ของตนเกิดความพึงพอใจ(อุปาทาน)  จึงไปยึดมั่นในการผลักไสสิ่งที่ไม่อยากนั้น และผลลัพธ์ของอุปาทานนี้เองที่ไปยังให้เกิดภพอันคือสภาวะหรือบทบาทที่จิตตกลงใจจะกระทําใดๆลงไป กล่าวคือถ้าอุปาทานความพึงพอใจนั้นได้รับการสนองตอบก็จะเกิดภพแห่งความสุขทางโลกๆ-กามราคะ-กามภพ  ถึงจะเป็นสุขในทางโลกได้ชั่วขณะก็จริง แต่ก็จักนําพาไปสู่ทุกข์ในที่สุด เพราะสุขเหล่านี้จะเก็บจําอยู่ในรูปอาสวะกิเลสเช่นกัน อันยังให้เกิด โสกะ ปริเทวะ คือความเศร้าโศกและการครํ่าครวญอาลัยโหยหาในความสุขนั้น อันยังผลให้เกิดทุกข์ในที่สุด อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้)   แต่ถ้าอุปาทานความพึงพอใจนั้นไม่ได้รับการตอบสนองกล่าวคือยังเกาะติดทุกขเวทนานั้นอยู่ผลักไสไม่ออกเพราะเกิดวิภวตัณหาความไม่อยากนั้นมาครอบเสียแล้ว  ภพหรือสภาวะที่เกิดนั้นก็จะเป็นภพแห่งความทุกข์ เช่นขุ่นข้อง เคืองใจ (ปฏิฆะ)    อันเขียนเป็นกระบวนการของจิต ต่อได้ดังนี้ หู + เสียง + โสตวิญญาณ ผัสสะ>> เวทนา >> ตัณหา(วิภวตัณหา) >> อุปาทาน >> ภพ >> ......         เมื่อจิตได้ตกลงเลือกวิถีของจิตแล้ว(ภพ-สภาวะหรือบทบาทที่จะแสดงออก) เป็นอันว่าเกิดความทุกข์ทันที จิตเกิดมีหน้าที่หรือภพที่จะต้องกระทํา กล่าวคือ ถูกครอบงําให้เป็นไปตามบทบาทหรือสภาวะที่เลือก จิตจึงเกิดภาระหน้าที่ดิ้นรนกระทําไปตามบทบาทหรือสภาวะนั้นๆภายใต้อิทธิพลครอบงําของความพึงพอใจของตนเป็นหลัก(อุปาทาน) กล่าวคือสัญญาหมายรู้หรือความคิดอ่านที่จะเกิดต่อไปนั้น เป็นสัญญาหมายรู้หรือความคิดอ่านที่ถูกครอบงําด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทานอันซ่อนเร้น แอบแฝง เพื่อให้ตัวตนของตนได้รับความพึงพอใจ  อันทําให้สัญญาหมายรู้นั้นไม่เป็นกลาง จะเอนเอียน ไม่ว่าจะคิดอะไร หมายรู้อะไรก็จะตั้งอยู่บนบรรทัดฐานของความพึงพอใจของตนเป็นแก่นเป็นแกนใหญ่  เป็นไปโดยทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว  เรียกสัญญาชนิดนี้ว่า อุปาทานสัญญา (สัญญูปาทานขันธ์) หู + เสียง + โสตวิญญาณ ผัสสะ>> เวทนา >> ตัณหา(วิภวตัณหา) >> อุปาทาน >> ภพ >> อุปาทานสัญญา         เมื่อสัญญาหมายรู้หรือความคิดอ่านหมายรู้ที่อยู่ใต้อิทธิพลของอุปาทานเกิดขึ้นแล้ว  อันย่อมส่งต่อให้สมองส่วนสั่งการหรือมโนวิญญาณ(หมายถึงสัญเจตนาหรือเจตนา) อันจักทําการตัดสินใจ  ซึ่งย่อมแน่นอนว่าการคิดอ่านตัดสินใจย่อมไดัรับอิทธิพลจากความคิดที่ถูกครอบงําโดยอุปาทานด้วย(สัญญาหมายรู้หรือความคิดอ่าน) อันยังผลให้เกิดสังขารขันธ์(การกระทํา ความคิด)อันมีอํานาจของอุปาทานแฝงอยู่เต็มเปี่ยม อันที่เรียกว่า อุปาทานสังขาร (สังขารูปาทานขันธ์) หู + เสียง + โสตวิญญาณ ผัสสะ>> เวทนา >> ตัณหา(วิภวตัณหา) >> อุปาทาน >> ภพ >> อุปาทานสัญญา >> อุปาทานสังขาร(อันเป็นทุกข์) ต้องการดูวงจรปฏิจจสมุปบาทและอุปาทานขันธ์๕โดยละเอียด คลิกที่นี่         อุปาทานสังขารขันธ์นี้ เช่นความคิดนึก แยกดูดีๆไม่เหมือนความคิดนึกปกติของขันธ์๕ที่เกิดขึ้นเพราะมีอํานาจของความพึงพอใจเพื่อตัวตนของตนแฝงอยู่เต็มเปี่ยม(อุปาทาน) เกิดเป็นพลังขับดัน กล่าวคือเอาความคิดนึกหรืออุปาทานสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นนี้มาเป็นธรรมารมณ์ อันเป็นอายตนะภายนอกเช่นเดียวกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (และธรรมารมณ์)  มาก่อให้เกิดขันธ์๕ วนเวียนขึ้นอีกครั้งซึ่งผู้เขียนเรียกความคิดนึกที่เกิดในคราวนี้ว่าความคิดนึกปรุงแต่ง และแน่นอนความคิดนึกปรุงแต่งนี้ย่อมแฝงอุปาทานความเป็นตัวกูของกูที่เกิดขึ้นแล้วนั้นมากับธรรมารมณ์หรือความคิดนึกปรุงแต่งนี้ด้วย  ดังนั้นเมื่อต้นกระบวนการของขันธ์๕ที่เกิดสืบต่อไปนั้นมีอุปาทานแฝงทํางานอยู่ด้วยย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้กระบวนการต่างๆที่เกิดสืบเนื่องอยู่ภายใต้อิทธิพลของอุปาทานล้วนสิ้นเช่นกัน เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี ผลนี้จึงมี  ดังนั้นขันธ์๕ที่เกิดใหม่นี้จึงล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ในทุกๆขันธ์ที่เกิดทั้งสิ้นที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่าเป็นทุกข์   และถ้าสติไม่รู้ทันเวทนาหรือความคิดนึกปรุงแต่งนี้อีกก็จักเกิดอุปาทานขันธ์๕ เกิดๆดับๆ อันย่อมต้องเกิดเวทนาชนิดที่มีอุปาทานครอบงํา(เวทนูปาทานขันธ์)แล้วเกิดขึ้นวนๆเวียนๆเช่นกัน ทําให้อยู่ในความทุกข์ของเวทนูปาทานขันธ์เป็นระยะเวลานานๆ และเป็นเหตุปัจจัยเป็นพลังไปขับดันให้เกิดทุกข์อื่นๆอีกอันเนื่องมาจากจิตอันขุ่นมัว  เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการเกิดทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้         หลายท่านอาจเคยเกิดความคิดดังนี้ขึ้นมาเช่น ถ้าเช่นนั้นเราไม่เอาทุกขเวทนา  เราอยู่แต่กับสุขเวทนาหรือความสุขเราก็พ้นทุกข์แล้ว  ก็จริงอยู่  แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ มันไม่เที่ยง ต้องแปรปรวน และดับไป อย่างแน่นอน ไม่มีใครบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ตลอดไป แม้แต่ สิ่งศักสิทธิ์ เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ใดๆก็ไม่สามารถช่วยได้ เพราะเป็นกฎธรรมชาติตามพระไตรลักษณ์  และขอให้ท่านสังเกตุกระบวนการทางจิตที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบนี้ให้ดีว่าทําไมสุขนั้น หรือความสุข สมหวังทางโลกนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตั้งใจสั่งสอน และยังกล่าวว่า " เป็นทุกข์ "         เมื่อกระบวนการขันธ์๕ เกิดสุขเวทนาขึ้น และดําเนินไปจนสิ้นสุดเกิดสังขารขันธ์ทั้งทางกาย วาจา และใจอันเปี่ยมไปด้วยความสุข สนุกสนาน พึงพอใจแล้ว เหตุไฉนจึงว่ากล่าวว่าเป็นทุกข์?         เพราะสุขนั้นไม่ยั่งยืน แปรปรวน เปลี่ยนแปลง และดับไปในที่สุดดังที่กล่าวไว้แล้ว  นอกจากนั้นการที่ได้รับการตอบสนองความพึงพอใจอยู่เสมอๆย่อมทําให้กิเลสตัณหานั้นกล้าแข็ง เติบโตขึ้นทุกขณะจิตโดยไม่รู้ตัว เรามักมองไม่ค่อยออกในความกล้าแข็งขึ้นของกิเลสตัณหานี้  ลองพิจารณาดูดังนี้ ในครั้งแรกเราอยากมีรถใหม่ๆใช้สักคัน เราเลือกตามความอยากและความพอดีในทรัพย์ของเรา  เมื่อกาลเวลาผ่านไป ความยินดีในรถคันนั้นย่อมแปรปรวนไปตามกาลเวลา  เมื่อถึงคราวต้องซื้อหรือเปลี่ยนใหม่  ท่านลองพิจารณาตัวเองดูสิ ว่าท่านอยากได้รถที่ดีขึ้น สวยขึ้นเป็นธรรมดาหรือไม่  หรืออยากได้รถรุ่นพอๆกับคันเดิมหรือถูกลงกว่าเดิม หรือมีข้ออ้างใดๆให้ซื้อดีขึ้น แพงขึ้น ถูกใจขึ้นกว่าเดิม, หรือการเคยมีรถขับ ถ้าไม่มีหรือรถเสียจะหงุดหงิดเพราะอะไร ทั้งๆที่เมื่อก่อนไม่จําเป็นต้องมี นี่คือตัวอย่างอาการของกิเลสตัณหาที่กล้าแข็งขึ้นอย่างง่ายๆ,     นอกจากนั้นแล้วความสุขทางโลกๆนั้นเมื่อเกิดขึ้นอันยังให้เกิดภพแห่งความสุข หรือกามภพ รูปภพ อรูปภพใดๆแล้ว  ก็เป็นผลให้อุปาทานขันธ์๕ที่เกิดต่อนั้นเป็นสุขไปด้วย แต่เมื่ออุปาทานขันธ์๕ นั้นดับไปในที่สุด แม้จะเป็นความสุขอันเหลือล้นก็จะจัดเก็บไว้ในความทรงจําที่ท่านเรียกว่า อาสวะกิเลส อันจะยังให้เกิดทุกข์ในภายหลังเพราะโสกะ ความโศกจากการสูญเสีย หรือพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ  หรือปริเทวะ ความครํ่าครวญ อาลัยถึงสิ่งที่รักที่ชอบ ที่ได้ดับไป เสื่อมไป หรือพลัดพรากไป  ซึ่งเป็นกิเลสอันทําให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมองในกาลต่อไปข้างหน้า  อันจักทําให้เกิดวงจรของทุกข์เนื่องต่อไปไม่จบสิ้น  ดําเนินต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด  ซึ่งก็คือก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นอีกในอนาคตหรือกาลข้างหน้าอีกอย่างแน่นอน       ธรรมชาติของจิตและนํ้า       อันเป็นสภาวะโดยปกติธรรมชาติ(ปรมัตถ์)ที่เป็นจริงอยู่เช่นนี้ (เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมหรือภาพพจน์ได้ชัดเจนขึ้น)         จิตนั้นเปรียบประดุจดั่งนํ้า,         นํ้านั้นไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ,  จิตนั้นก็ไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมทุกชนิดที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ),         นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งเช่น H และ O,  จิตก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันมากหลายมาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง(มีกล่าวไว้ในบทอื่นๆแล้ว)จิตประกอบด้วยปัจจัยเช่น กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตลอดจนอารมณ์(สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวหรือกระทบสัมผัส เช่น รูป เสียง กลิ่น...)และปัจจัยต่างๆอีกมากมาย (การพยายามหาจิตอยู่ที่ใด จึงหาไม่เจอ)         นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก,  จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่า แต่ตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสมอบรมและกิเลสตัณหาแลอุปาทานนั่นเอง, อันคือหมุนไปตามภวจักรปฎิจจสมุปบาทนั่นเอง คือเป็นไปตามสังขารที่สั่งสมอบรมไว้         ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด,  จิตจักสูงขึ้นได้ ก็ย่อมต้องการ การพยายามปฏิบัติฉันนั้น,         การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องเช่นเครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง ย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด,  จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น,         ธรรมชาติของนํ้า เดือดพล่านเพราะไฟฉันใด,  จิตย่อมเดือดพล่านเพราะไฟ อันร้อนแรงของกิเลส ตัณหา อุปาทานฉันนั้น         นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน,  จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง  หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน      ข้อสังเกตุ นักปฏิบัติที่เจริญก้าวหน้าแล้วหยุดหรือพอใจแค่นั้น จึงถูกธรรมชาติของจิตเล่นงาน ไหลกลับลงสู่ความเคยชินตามที่ได้สั่งสม, อบรมไว้ หรือตามกิเลส,ตัณหา,อุปาทาน, ทําให้กลับคืนสู่สภาพเดิมๆในไม่ช้า(คือสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)   แยกแยะเวทนาและสังขารขันธ์  ของขันธ์๕ อันเป็นกระบวนการธรรมชาติของผู้ที่มีชีวิต         ท่านคงเคยถูกของร้อนๆไหม ? ไฟ+(ถูก)มือ+กายวิญญาณ...สัญญาจําประเภทสัญชาตญาณ...เวทนา...สัญญาหมายรู้ประเภทสัญชาตญาณอันมีมาแต่เกิด...มโนวิญาณ...สังขารขันธ์         เวลาเราถูกไฟ เราจะเกิดความรู้สึกรับรู้และความจําได้ในความร้อนที่เกิดแต่กายไปสัมผัสไฟ นั่นแหละเป็นเวทนา         อาการสะดุ้ง เป็นสังขารขันธ์ทางกาย         อาการอุทานใดๆออกมา เป็นสังขารขันธ์ทางวาจา         อาการคิดใดๆในใจ เป็นสังขารขันธ์ทางใจ           มีสติเห็นเวทนาที่เกิดขึ้น อันหมายถึงรู้เท่าทันว่าเวทนาเยี่ยงไร เป็น เวทนานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔ (สังเกตุว่ารู้เท่าทันแต่ก็ยังๆก็เกิดอยู่ดีคือ ยังไงๆก็เป็นทุกขเวทนา)         มีสติเห็นความคิดใดๆที่เกิดขึ้นว่าเป็นเยี่ยงไรเป็น จิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔         ลองพิจารณาดู พระอริยเจ้าและปุถุชนมีขันธ์๕เช่นกันหรือไม่         ถ้ามีขันธ์๕เฉกเช่นกัน แล้วต่างกันตรงไหน ? เหตุไฉนท่านจึงไม่เป็นทุกข์ รักษาอาการทางกายไปตามหน้าที่  ส่วนปุถุชนนั้นเล่า ส่วนใหญ่เกิดอะไร ?           เราคงจะพอเห็นแล้วว่า สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบและสั่งสอนมาเป็นเวลากว่า 2500 ปีมาแล้วนั้น จริงๆแล้วล้วนเป็นวิทยาการที่เหนือลํ้ากว่ากาลสมัย เป็นของทันสมัย ทันวิทยาการในทุกยุคสมัย เพราะตั้งอยู่บนหลักของความจริงและความถูกต้องสูงสุด(ปรมัตถ์)ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมนั่นเอง เพียงแต่ภาษาที่ใช้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และการขยายความอันสืบทอดกันมาแต่โบราณย่อมมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือผิดพลาดบ้างเป็นธรรมดาของโลก ตลอดจนความแตกต่างกันในการตีความหมายที่ใช้สื่อกันในแต่ละยุคสมัย,  แต่แก่นธรรมนั้นยังคงทันกาลสมัย ถ้าสามารถตีความเข้าใจได้  สมดังคํากล่าวที่กล่าวไว้ว่า อะกาลิโก  ให้ผลได้ไม่จํากัดกาล   เมื่อเกิดเวทนาขึ้น เรามักจะไปอยากหรือไม่อยาก  หรือไปยึด"ความรู้สึก"นั้นไว้ว่าเป็นของกู นั่นแหละที่ยังให้เกิดทุกข์อุปาทาน หรือความทุกข์จริงๆ   ข้อคิด หยุดคิดนึกปรุงแต่ง       หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวอยู่เนืองๆว่า อย่าส่งจิตออกนอก  ด้วยเหตุเพราะตัณหาที่เกิดนั้นอาจไม่ได้เกิดจากเวทนาของความคิดหรือสังขารขันธ์แรกแต่ฝ่ายเดียว  แต่เกิดตัณหาจากเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นตามหลังมาเรื่อยๆก็ได้  หลวงปู่จึงมักกล่าวอยู่เสมอๆว่าอย่าส่งจิตออกนอก(ไปคิดนึกปรุงแต่ง) เพราะจะยังให้เกิดทุกข์ขึ้นตามมาในที่สุดนั่นเอง   พุทธพจน์     ดูกรภิกษุทั้งหลาย   บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป เกิดจักษุวิญญาณ  ความประจวบกันของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ  และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา)  เป็นสุขบ้าง  เป็นทุกข์บ้าง  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง       เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้อง(กระทบ)แล้ว  ย่อมไม่เพลิดเพลิน  ไม่พูดถึง  ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ  จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่     อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว  ย่อมไม่เศร้าโศก  ไม่ลำบาก  ไม่ร่ำไห้  ไม่คร่ำครวญทุ่มอก  ไม่ถึงความหลง(โมหะ)พร้อม  จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่     อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้อง(กระทบ)แล้ว  ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น  ความดับไป  คุณ  โทษ  และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง  จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่     ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา,  ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา,  ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้  แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้  นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ     ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู,   กลิ่น-จมูก,   รส-ลิ้น,   สัมผัส-กาย,    ธรรมารมณ์-ใจ      (ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓) อันจักได้มรรคปฏิบัติจากขันธ์๕ ดังนี้ เมื่อมีสุขเวทนาเกิดขึ้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่คิดหรือพูดถึง ไม่ยึดติด(ความสุขอันเป็นแค่สุขเวทนานั้น) อันมักจะยังให้เเกิดความอยาก หรือภวตัณหา เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น ไม่เศร้าโศรก ไม่รู้สึก(คิด)ว่าลําบาก ไม่รํ่าไห้,ไม่ครํ่าครวญ ไม่หลง(โมหะ) อันมักจะยังให้เเกิดความไม่อยากหรือผลักไส หรือวิภวตัณหา เมื่อมีอทุกขมสุขหรือเฉยๆเกิดขึ้น มีสติรู้ว่า เกิดขึ้น ดับไป คุณ โทษ และการสลัดออกโดยรู้ตามความเป็นจริงสภาวะธรรม เหตุเพราะที่อทุกขมสุข มักไม่รู้สึกเพราะจับความรู้สึกรับรู้ไม่ได้ชัดเจน จึงมักปล่อยกายและใจ ไม่สังวรระวัง จึงเป็นเหตุให้ปล่อยใจไปคิดนึกปรุงแต่งจนเกิดทุกข์ในที่สุด อันมักจะยังให้เกิดได้ทั้งความอยากและความไม่อยาก อันใดก็ได้   10 / 1 / 46 การปฏิบัติวิปัสสนา การโยนิโสมนสิการ         วิปัสสนานั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริงแห่งธรรมหรือธรรมชาติของจิต ให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องถึงความเป็นจริงขั้นปรมัตถ์(ตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด) เพื่อใช้ดับทุกข์         อันจักเกิดได้ด้วยการภาวนา อันคือการพิจารณาในธรรมต่างๆที่บังเกิดขึ้นแก่จิต หรือถูกจริตแห่งตน โดยแยบคาย(ชาญฉลาด)เป็นประจําแทบทุกขณะจิตที่มีโอกาสหรือแทบจะกล่าวได้ว่าทุกลมหายใจเข้าออก ด้วยความเพียร มานะ อันเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวดในการบรรลุถึงธรรม  เหมือนดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในมรณัสสติสูตร  ซึ่งได้อุปมาเรื่องความเพียรไว้ดังนี้ ให้มีความเพียรพยายาม ดุจดั่งเพียรพยายามยิ่งในการดับไฟ ที่กําลังไหม้ศีรษะ หรือกําลังไหม้ผ้าโพกศีรษะที่เรากําลังสวมใส่อยู่  หรือดังที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กล่าวไว้ว่า "ถ้ามีเวลาสําหรับหายใจ ก็ต้องมีเวลาสําหรับภาวนา"(อตุโล ไม่มีใดเทียม หน้า๔๖๑)  กล่าวคือปฏิบัติในชีวิตประจําวันทั่วๆไปนั่นเอง อันได้แก่ เห็นเวทนา หรือจิต(คิด)ในชีวิตประจําวันที่เกิดขึ้น นั่นแหละเป็นการปฏิบัติตามแนวทางของปฏิจจสมุปบาทหรือสติปัฏฐานนั่นเองคือเวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนา(เห็นเวทนาและเห็นจิตหรือความคิด)         เหตุที่การภาวนา(ไม่ใช่การบริกรรมท่องบ่น นั่นเป็นอุบายวิธีในการรวมจิตให้ตั้งมั่นไม่ซัดส่ายอันเป็นสมาธิ)โดยการพิจารณาธรรมนั้น(ธัมมะวิจยะโดยการโยนิโสมนสิการ)นั้นเป็นสิ่งจําเป็นจนเรียกว่าขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาดนั้น ก็เพราะการที่จิตวนเวียนพิจารณาอยู่ในธรรมทุกขณะจิตที่มีโอกาส หรือมีสติ หรือทุกลมหายใจนั้น(แยกแยะให้ดีไม่ใช่ฟุ้งซ่าน) เป็นการส่งเสริมให้เกิดสัมมาปัญญาให้พ้นทุกข์ขึ้นทีละเล็กทีละน้อยทุกขณะจิตโดยไม่รู้ตัว(ทํางานคล้ายๆการเกิดของอาสวะกิเลส-อ่านรายละเอียดในปฏิจจสมุปบาท)  ในขณะเดียวกันนั้นเองจักทําให้จิตที่ซัดส่าย สอดแส่ไปคิดนึกปรุงแต่งต่อสิ่งรอบกายหรือในกาย(ความคิด)ที่กระทบสัมผัส อันก่อให้เกิดทุกข์อยู่ทุกขณะจิตโดยไม่รู้ตัวเช่นกันนั้นมีหน้าที่อันควร ตลอดจนนุ่มนวลควรแก่การใช้งาน และหยุดการส่งจิตออกไปคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ ทําให้จิตในขณะนั้นเองขาดจากตัณหาและอุปาทาน อันย่อมไม่มีความทุกข์ใดๆเกิดขึ้น ณ ขณะนั้น  อันย่อมยังให้จิตมีกําลังแห่งจิตเกิดขึ้น ขาดการครอบงําทั้งจากกิเลสตัณหา(และชีวเคมี)  ทําให้เข้าใจธรรมหรือธรรมชาติหรือสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้นไปอีก ทีละเล็กทีละน้อย  ซึ่งเมื่อเราปฏิบัติหรือภาวนาเช่นนี้เป็นประจําสมํ่าเสมอ ปัญญาญาณอันนําพาให้พ้นทุกข์ก็จักบังเกิดขึ้น จน ณ.ขณะจิตหนึ่งจะเกิดอาการดังเช่น  อ๋อ มันเป็นเช่นนี้เอง พร้อมความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในธรรมนั้นๆ  (อุปมาได้ดั่งการเกิดสังขารในวงจรปฏิจจสมุปบาท)          อันสิ่งที่เรารู้ เราเห็นด้วยใจหรือความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริงอย่างถึงแก่นถึงแกน หรือที่ผู้เขียนมักกล่าวบ่อยๆว่าเข้าใจถึงใจแล้ว ย่อมยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ผู้ปฏิบัติในที่สุด          ธรรมะของพระพุทธองค์ท่าน ล้วนแล้วแต่เพื่อให้เกิดปัญญาในอันพ้นทุกข์ ตลอดจนให้เบื่อหน่าย คลายกําหนัดในสิ่งต่างๆที่ยึด ที่หลงใหล  อันเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์หรืออุปาทานทุกข์ทั้งสิ้น          ถ้านั่งปฏิบัติในรูปแแบบ(สมถะ) ให้มีสติอย่าปล่อยให้เลื่อนไหล ผ่อนคลายกายและใจ อย่าเกร็งหรือกดข่ม เมื่อใช้สติดูลมหายใจหรือบริกรรมเช่นพุทธโธ จิตอาจส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง คิดนั่น คิดนี่ หงุดหงิด เห็นนั่น เห็นนี่ (นิมิตหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง) อันเป็นธรรมดาที่ต้องเกิด อันมักทําให้นักปฏิบัติหงุดหงิดใจ, จงอย่าหงุดหงิด จงดีใจที่ได้เห็น ให้รู้ว่านั่นแหละจิตสังขาร เป็นความคิดความนึกที่อยู่ในจิตที่ได้สั่งสมอบรมไว้, แต่อย่าตามให้มีสติละออกเสีย อันเป็นการได้ปฏิบัติจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔แล้วคือเห็นจิตในจิตหรือเห็นคิดนั่นเอง,  หรือเมื่อปวดเมื่อยก็ให้รู้ว่านั่นแหละเวทนา(ทุกขเวทนา) ก็ให้มีสติรู้ว่าเป็นเพียงการรับรู้ความรู้สึกต่อกาย เมื่อรู้แล้วก็ละออกเสีย(หยุดคิดปรุงแต่ง) อันเป็นเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔,   หรือข้อธรรมใดบังเกิดต่อจิต ก็ให้พิจารณาธรรมนั้นๆเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันมีกําลังของสมาธิเป็นเครื่องช่วย อันเป็นธรรมานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔,   หรือพิจารณากาย ว่าเป็นเพียงธาตุ๔,สิ่งปฏิกูล....เพื่อให้เบื่อหน่ายคลายกําหนัดในกายแห่งตนและบุคคลอื่น อันเป็นการปฏิบัติกายานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔ (ลมหายใจนั้นท่านจัดเป็นกายสังขารอย่างหนึ่งเช่นกัน),  อย่างนี้เป็นการปฏิบัติสมถะวิปัสสนาหรือสมาธิ อย่างถูกต้อง คือนําสมาธิหรือฌานไปเป็นกําลังหลักในการสนับสนุนการปฏิบัติวิปัสสนา          ข้อสําคัญที่สุดในการปฏิบัติสมาธิคือ เมื่อจิตหยุดการซัดส่าย เป็นสมาธิตั้งมั่นได้แล้วจะเกิดอาการขององค์ฌานต่างๆขึ้น เช่น ปีติ สุข อุเบกขา อันล้วนเป็นสุขเวทนาและสังขารขันธ์อันน่าอภิรมณ์  อันจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเป็นธรรมดา เพราะสภวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติเป็นเช่นนั้นเอง  เป็นที่พักผ่อนและให้กําลังแห่งจิตอันมีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง, แต่อย่าไปหลงยึดติดเข้าอย่างเด็ดขาด เกิดขึ้นเป็นธรรมดาเพราะอาการเหล่านี้เป็นอาการธรรมชาติของจิตที่เกิดขึ้นเมื่อเป็นจิตสมาธิ ไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น เพราะถ้าหลงไปยึดหรือเสพเสวย จักทําให้เกิดวิปัสสนูปกิเลส อันคือเกิดอาการติดปีติหรือสุขอันเป็นอุปสรรคหรือนําผลร้ายมาสู่นักปฏิบัติ,  ขอให้ทําความเข้าใจด้วยใจที่หนักแน่นว่า นั่นเป็นอาการธรรมชาติธรรมดาๆของจิต อย่าไปคิดนึกปรุงแต่งหรือเชื่อตามที่เขาเล่าลือกันมา  จงพิจารณาให้เห็นด้วยตนเองเท่านั้น เพราะไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ (และยังก่อปัญหาต่างๆตามมาอย่างรุนแรงชนิดคาดไม่ถึงโดยเฉพาะนักปฏิบัติที่มุ่งหวังสิ่งอื่นๆซ่อนเร้นอยู่ในจิต อันมักไม่ใช่การดับทุกข์อย่างแท้จริง) เพราะสมาธินั้นเป็นบาทฐานหรือขั้นบันได อันเป็นสิ่งสําคัญยิ่งอันจําเป็นในการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อให้จิตที่ซัดส่าย สอดแส่ เป็นทุกข์ ให้สงบลง อันก่อให้เกิดกําลังแห่งจิต เพื่อใช้เป็นฐานกําลังสําคัญในการพิจารณาธรรม(วิปัสสนา)  เพื่อให้เกิดปัญญาญาณ(สัมมาญาณ)ความรู้ความเข้าใจอันเป็นปัจจัยให้เกิดสัมมาวิมุตติ(สุขจากการหลุดพ้น) อันเป็นมรรคองค์ ๑๐ ของเหล่าอริยะเจ้า (อ่านมรรคองค์๑๐ในอริยสัจ)          และบางท่านอาจเข้าใจว่าถ้าปฏิบัติสมาธิดีแล้วหรือกล้าแกร่งแล้ว ปัญญาจักเกิดขึ้นเอง  ลองพิจารณาเหล่าโยคีในอินเดียแม้ในปัจจุบันนี้ ท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีสมาธิ หรือพลังสมาธิอันกล้าแข็งเหนือบุคคลธรรมดาจนสามารถแสดงบางสิ่งที่เหนือปุถุชนทั่วไป แต่ท่านเหล่านี้ไม่ได้เป็นอริยเจ้าในทางพุทธศาสนาเลย กล่าวคือไม่พ้นทุกข์อย่างแท้จริง เป็นการปฏิบัติแบบสีลัพพตุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นในศีลหรือวัตรปฏิบัติอย่างงมงายหรือไม่รู้ตามความเป็นจริงนั่นเอง อันเป็นการทรมานตนเองเพื่อไปสวรรค์โดยอาศัยฤทธิ์ของสมาธิเท่านั้น          การปฎิบัติสมถะแต่อย่างเดียวโดยขาดการพิจารณาในธรรมอย่างจริงจัง(วิปัสสนา) เป็นหนทางอันนําไปสู่การเกิดวิปัสสนูปกิเลสโดยไม่รู้ตัว  อันเกิดขึ้นเป็นธรรมดากับนักปฏิบัติ   โยนิโสมนสิการ       "เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างเดียว  ที่เป็นเหตุให้กุศลกรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น   หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนโยนิโสมนสิการเลย   เมื่อมีโยนิโสมนสิการ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป" (องฺ.เอก ๒๐/๖๘/๑๕)      โยนิโสมนสิการ การพิจารณาธรรมในใจ โดยละเอียดและแยบคาย(ชาญฉลาด) เป็นปัญหาใหญ่ที่นักปฏิบัติสงสัยกันอยู่เสมอๆว่าปฏิบัติอย่างไร  และผู้เขียนได้เขียนบ่อยครั้งมากๆในหนังสือหรือเว็บนี้จนนับครั้งไม่ถ้วน เพราะได้เห็นความสําคัญของการพิจารณาธรรม(ธรรมะวิจยะ) อันเป็นธรรมในโพชฌงค์ ๗ โดยการโยนิโสมนสิการอย่างละเอียด         ปัญหาใหญ่สุดของนักปฏิบัติคือเมื่อได้อ่าน หรือฟังธรรมอันใดแล้ว เมื่อเกิดความสนใจในธรรมนั้น ก็จะพิจารณาให้เกิดความเข้าใจแบบทางโลกๆ อันเป็นความเข้าใจอันยังให้เกิดความสบายใจในระดับหนึ่งแบบทางโลก  และเกิดความเข้าใจว่าเข้าใจธรรมนั้นๆดีแล้วจึงหยุดการพิจารณาเสีย อันเป็นธรรมชาติของจิต ซึ่งต้องเกิดเช่นนี้เป็นธรรมดา, หรือเมื่อพิจารณาก็พิจารณาแต่ตรงประเด็นที่เข้าใจหรือตามความเชื่อทิฐฏินั้นทุกครั้งทุกที หรือตรงตามคําสอนหรือคําอ่านนั้น โดยไม่ได้สนใจขยายความเข้าใจนั้นๆไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก อันจักนําไปสู่ความเข้าใจถึงขั้นปรมัตถ์ในที่สุด  ลองพิจารณาจากตัวอย่างนี้  อย่างในกรณีผู้เขียนเกิดความเข้าใจในธรรม โดยเฉพาะขันธ์๕ ขึ้นมาจากการลองตีแขนตัวเองประกอบการพิจารณา         หลายท่านพอบอกให้ตีแขนตัวเองแรงๆ หัวเราะหรือยิ้มขําทันที ไม่ค่อยอยากทําคิดว่าแลดูตลก คิดว่าผู้เขียนบอกธรรมะอะไรช่างดูตํ่าต้อยเสียเหลือเกิน ดูไม่น่าเชื่อถือ  ลองพิจารณาธรรมข้อนี้ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล "จิตพุทธะในสัตว์โลกจะตํ่าต้อยก็หาไม่  จิตพุทธะในพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะยิ่งใหญ่กว่ากันก็หาไม่" ถึงแม้จะดูตํ่าต้อยหรือตลก ปฏิบัติธรรมอะไร มานั่งตีแขนตัวเอง แต่หารู้ไม่ว่าถ้าท่านเข้าถึงสภาวะธรรมได้ก็จะเป็นเฉกเช่นที่หลวงปู่ดูลย์ได้กล่าวไว้  จะว่าตํ่าต้อยหรือตลกหาได้ไม่         นักปฏิบัติ ลองตีแขนตัวเองแรงๆ แล้วให้จับการรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น เป็นความรู้สึกจริงๆ แท้ๆ(ความรู้สึกที่ระบบประสาทสัมผัสรับรู้กับการกระทบนั้นล้วนๆ) ไม่ใช่ความคิดใดๆทั้งสิ้น  เราจะจับแต่ความรู้สึกที่เกิดจากการกระทบสัมผัสอันไม่ชอบใจนั้นได้  นั่นแหละคือเวทนาชนิดไม่ชอบ ไม่สบาย หรือทุกขเวทนา  อันเกิดแต่กายกระทบผัสสะกัน อันล้วนทํางานเฉกเช่นกันในอายตนะทั้ง๖  คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ( อันคือใจอันกระทบกับธรรมารมณ์-ความคิดนึก)         ส่วนใหญ่มักสับสนกับสังขารขันธ์คิดที่เกิดขึ้นตามมาด้วย เช่นคิดว่าเจ็บจัง ตีตัวเองบ้าหรือเปล่า อันไหนแน่ที่เป็นเวทนา  อะไรทํานองนี้อยู่ตลอดเวลา  อันล้วนเป็นสังขารขันธ์คิดทั้งสิ้น หาใช่เวทนาไม่ !         นักปฏิบัติมักจะเข้าใจจับความรู้สึกรับรู้หรือเวทนานั้นได้ในที่สุด เข้าใจแล้วเวทนาคืออะไร แต่ก็จบเพียงเท่านั้น   แต่ถ้าเราโยนิโสมนสิการจริงๆแล้ว เราอาจจักพบสัจจธรรมอันแท้จริงมากกว่าการแค่รู้จักเวทนา-การรับรู้ความรู้สึกในสิ่งที่กระทบสัมผัสพร้อมความจําได้(สัญญา)ได้ลึกซึ้งขึ้น คือพบสภาวะธรรมแท้จริงของเวทนา ขอต่อคราวหน้านะครับ         ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น ถ้าเราโยนิโสมนสิการต่อไปในเวทนานี้  เมื่อกายกระทบผัสสะเกิดความรู้สึกรับรู้ในการกระทบสัมผัสนั้น(เวทนา)อันเกิดขึ้นขณะแรกกระทบ,  สังเกตุความรู้สึกนั้นดีๆ จะเห็นว่าเกิดขึ้นเมื่อกระทบ ตั้งอยู่คือยังมีความรู้สึกรับรู้ที่กําลังจางคลายแปรปรวนอยู่, สังเกตุว่าความรู้สึกรับรู้นั้นได้ ดับไป  อันแสดงพระไตรลักษณ์ ในแบบวงจรชีวิตสั้นๆ คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วดับไป         เราลองโยนิโสมนสิการต่อไปอีกว่า การตีแรงๆแล้วเกิดทุกขเวทนาขึ้นนั้น อันคือรับรู้ความรู้สึกที่ไม่ชอบนั้น เป็นกระบวนการปกติตามธรรมชาติใช่หรือไม่?   ถ้าไม่รับรู้ เราผิดปกติไหมหนอ?   ฝืนได้ไหมหนอ? (อาจได้ แต่เป็นครั้งคราวสั้นๆ เช่น ใช้ยาชา ฤทธิ์ของสมาธิ อันล้วนไม่เที่ยง ไม่ใช่สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะสังขารขันธ์อันต้องปรุงแต่งขึ้น อย่าสับสนเอามาปนเป) เป็นจริงแท้ๆตามธรรมชาติไหมหนอ?  ตีกี่ทีกี่ครั้งก็เจ็บใช่ไหมหนอ?  เป็นระบบการทํางานทางด้านประสาทสัมผัสอันเป็นธรรมดาใช่ไหมหนอ?  ถ้าไม่มีสัญญาจําจะแยกเป็นชอบ ไม่ชอบ หรือเฉยๆได้อย่างไรหนอ?  เป็นสภาวะธรรมอันจริงแท้แน่นอนใช่ไหมหนอ?  มันเป็นเช่นนี้เองใช่ไหมหนอ?  พิจารณาหาคําตอบหรือข้อสรุปที่เห็นและเข้าใจด้วยตนเอง         ต้องการให้จับที่เวทนา ให้เข้าใจเวทนา  เห็นเวทนาชัดๆ         การตีแรงๆนั้นเป็นทุกขเวทนารับรู้ความรู้สึกที่ไม่ชอบอันเกิดแต่การกระทบสัมผัสอย่างแรง         ทําไมเราจึงไม่รู้สึกเป็นทุกข์ แค่รับรู้ความรู้สึกจริงๆเท่านั้นอันไม่ถูกใจ ไม่ชอบ?         เพราะเราตีเอง จึงไม่เป็นทุกข์ เพราะมีสัญญาจําและเข้าใจ ว่าเราตีเอง สัญญานี้จะเรียกว่าเข้าใจดีหรือหมดจดก็ได้ เปรียบเทียบได้กับไม่มีอวิชชาในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเองคือรู้ตามความเป็นจริงและรู้เท่าทัน(เพราะความตั้งใจกระทําด้วยตนเองอย่างมีสติ)  ผลที่เกิดขึ้นก็คือรับรู้แต่เวทนาที่เกิด(สังเกตุด้วยนะว่าต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา) แต่ไม่เกิดอุปาทานทุกข์,  หรือที่จะเรียกว่าเกิดเวทนาก็สักแต่เวทนา มันเป็นเช่นนั้นเอง          ดังนั้นการตัดเวทนาหรือดับเวทนาหรือเวทนาสักแต่ว่าเวทนานั้น จึงเป็นภาษาทางโลกสมมุติเท่านั้น มิได้หมายความว่าดับที่แปลว่าดับสูญ หรือตัดขาดไม่ให้เกิด ไม่ให้เป็น ไม่ให้เอา อย่างความหมายในทางโลกๆทั่วๆไป  ในทางธรรมนี้จึงหมายความถึงมีความรู้ความเข้าใจแล้วไม่ไปยึดเกาะเกี่ยวเวทนาที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดานั้น         ท่านลองโยนิโสมนสิการดู ถ้าเป็นคนอื่นมาตีท่านอะไรจะเกิดขึ้น คิดพิจารณาอย่างใจเป็นกลาง อย่าคิดอย่างฟุ้งซ่านเอาเฉพาะความเห็นความรู้สึกของตนแต่ฝ่ายเดียว เอาสิ่งที่เป็นกลางโดยธรรมชาติของปุถุชนทั่วไป         เวทนานี้เกิดกับเราก็จริง แต่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอย่างถาวรใช่ไหม?  เกิดแต่เหตุปัจจัยอันมาประชุมปรุงแต่งกันชั่วขณะ  แล้วตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วดับไปโดยพระไตรลักษณ์เช่นกัน  แต่เราขาดสติไปอยากหรือไม่อยาก(ตัณหา)ให้เวทนาที่เกิดนั้นเป็นไปตามความพึงพอใจของเรา(อุปาทาน) เมื่อมิได้ตามปรารถนาจึงเกิดทุกข์ขึ้น, อันเป็นการเริ่มต้นของทุกข์ในเรื่องนั้นครั้งแรก(เกิดมาจากทุกข์เดิมๆก็ได้เช่นกันแต่เกิดใหม่อีก)  แล้วทุกข์นั้นก็จะต้องดับไปภายใต้พระไตรลักษณ์เช่นกัน  แต่ขณะที่ตั้งอยู่นั้นเพราะอวิชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงและรู้เท่าทันเพราะไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาท(ความไม่รู้ไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทกระบวนการเกิดและดับของทุกข์เป็น ๑ในอวิชชา๘) จึงเกิดความคิดนึกปรุงแต่งขึ้นอีกทุกขณะจิต  ลองสังเกตุดูดีๆจะมีความคิดทะยอยเกิดอยู่ในหัวของท่านอยู่เป็นระยะตลอดเวลาขณะที่เกิดทุกข์นั้น มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวหรือไม่กี่ครั้งอย่างเด็ดขาด ยิ่งเกิดนานยิ่งแสดงว่ามีคิดนึกปรุงแต่งมาก เป็นเหตุปัจจัยกัน,   จึงต้องเข้าใจและฝึกสติควบคู่กันไป           ลิ้นกระทบสัมผัสรส,  เวทนาความรู้สึกรับรู้ถูกใจ(สุขเวทนา) หรือไม่ถูกใจ(ทุกขเวทนา) ในรสนั้นย่อมเกิดขึ้นตามความเป็นจริง(ตามแต่จริต-สัญญาความจํา)ตามธรรมชาติใช่ไหมหนอ?         ตากระทบรูป.......(ลองคิดถึงรูปของคนที่ไม่ชอบมากระทบ แล้วไล่ลําดับจิตดูให้เห็น)         หูกระทบเสียง.......(ลองคิดถึงเสียงของคนที่ไม่ชอบมากระทบ แล้วไล่ลําดับจิตดูให้เห็น)         จมูกกระทบกลิ่น........(ลองคิดถึงกลิ่นที่ไม่ชอบมากระทบ แล้วไล่ลําดับจิตดูให้เห็น)         ลิ้นกระทบรส.......(ลองคิดถึงรสที่ไม่ชอบมากระทบ แล้วไล่ลําดับจิตดูให้เห็น)         กายกระทบสัมผัส......(ลองคิดถึงสัมผัสที่ไม่ชอบมากระทบ แล้วไล่ลําดับจิตดูให้เห็น)         ใจกระทบคิด....... (ลองคิดถึงความคิดที่เป็นทุกข์ที่ไม่ชอบมากระทบ แล้วไล่ลําดับจิตดูให้เห็น)         แล้วลองไล่ลําดับจิตของสิ่งที่ชอบที่สบายใจ ที่มากระทบสัมผัส(ผัสสะ)ดูบ้าง         อายตนะทั้ง ๖ นี้ ต่างทํางานเฉกเช่นกัน  ดังจะเห็นจากพุทธพจน์อยู่เสมอๆว่าเมื่อท่านตรัสท่านจะตรัสถึงอายตนะทั้ง๖ ไล่เป็นลําดับเหมือนๆกัน  จริงๆแล้วเพื่อชี้ให้เห็นเป็นบันทัดฐานในการพิจารณาไล่ลําดับจิตอันยากแก่การเข้าใจจะได้ไม่หลงทาง  อันผู้เขียนเองเมื่อหัดอ่านหนังสือธรรมะใหม่ๆรู้สึกว่าช่างชักช้ายืดเยื้อจริงหนอ อันเป็นการไม่เข้าใจในอุบายวิธีของท่าน         เมื่อพิจารณาอย่างแยบคายก็จักพบสัจจธรรมว่าตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ เวทนานั้นยังคงมีอยู่เช่นนี้เป็นธรรมดา อันจักทําให้ใจนั้นคลายจากทุกข์ได้ส่วนหนึ่งจากความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องส่วนหนึ่ง  จึงเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อเวทนานั้นน้อยลงอันย่อมทําให้จางคลายจากทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาท  และต้องควรพิจารณาต่ออีกว่าควรปฏิบัติเยี่ยงไรจึงจะไม่เป็นอุปาทานทุกข์อันกัดกร่อนใจ          เวทนาสักแต่ว่าเวทนา คือความเข้าใจสภาวะธรรมนี้นี่เอง มันเป็นเช่นนี้โดยธรรม  มิใช่หมายถึงเวทนาสักแต่ว่าเวทนาอันหมายถึงมีเวทนาใดๆต้องรู้สึกเฉยๆไม่รู้สึกรู้สาต่อสิ่งใด   ต่อคราวหน้าครับ            ดังนั้น ใจกระทบคิด(ธรรมารมณ์) ก็เป็นเฉกเช่นกัน คือเกิดทุกขเวทนาไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ หรือเกิดสุขเวทนาชอบใจหรือถูกใจ เป็นไปตามสภาวะธรรม,  ดังนั้นการที่มีทุกขเวทนามากระทบแล้วมีอาการต่างๆเกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องของสภาวะธรรมแท้ๆ หรือสภาวะธรรมชาติแท้ๆนั่นเอง,  ปุถุชนจะมีความรู้สึกคิดว่าเป็นความทุกข์ จึงคิดนึกปรุงแต่งต่อเติมจนเป็น(อุปาทาน)ทุกข์จริงๆ, วิธีที่ถูกต้องคือเข้าใจและยอมรับสภาวะธรรมนั้นด้วยใจที่เข้าใจ  แลัวไม่คิดนึกปรุงแต่งต่อ เวทนานั้นก็จะดับไปในเวลาสั้นๆ,   อันความนี้ตรงกับที่มีผู้เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโลว่า "ท่านยังมีโกรธ อยู่ไหม" ท่านได้ตอบตามความสัตย์จริงดังนี้ " มีโกรธ แต่ไม่เอา " คือไม่เอาไปคิดนึกปรุงแต่งจนเกิดอุปาทานทุกข์  เพราะการโกรธนั้นเป็นสังขารขันธ์อันเกิดขึ้นแค่ชั่วขณะสั้นๆ, เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วดับไป อันเป็นสภาวะธรรมของผู้มีชีวิตทุกผู้นาม   ดังนั้นการที่เราอยากไม่รู้สึกเป็นทุกข์ใดๆเลย(แค่ทุกขเวทนาและสังขารขันธ์เท่านั้น) จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ผิดสภาวะธรรมอันไม่มีผู้ใดฝืนได้,   และถ้ามีคิดนึกปรุงแต่งไปร่วมด้วย อันหมายถึงแต่ละคิดนึกปรุงแต่งนั้นเป็นกระบวนการขันธ์๕กระบวนการหนึ่ง อันย่อมยังให้เกิดเวทนาในทุกๆแต่ละความคิดนึกปรุงแต่ง อันย่อมเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาจากเวทนาตัวใดตัวหนึ่งของความคิดนึกปรุงแต่งนั้น, อันเป็นไปตามกฎ ปฏิจจสมุปบาท เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา  ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนี้            เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไร ก็ให้หยุดอยู่แค่นั้น, อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง, อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงามให้จิตได้โอกาสก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป อย่าไปใส่ใจอีกต่อไป พอกันเพียงรู้อารมณ์เท่านี้เอง หยุดกันเพียงเท่านี้ (อตุโล ไม่มีใดเทียม  น.๒๒๐)       เมื่อเข้าใจแล้วแยกแยะให้ชัดเจน จะเห็นว่าหลวงปู่สั่งสอนให้ "หยุดคิดนึกปรุงแต่งนั่นเอง" ท่านให้ หยุดอยู่แค่นั้นเอง  เหตุผลก็เพราะแต่ละความคิด(ปรุงแต่ง)ย่อมยังให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว          ถ้าโยนิโสมนสิการต่อไปอีก อาจพบว่าผู้เขียนเน้นแยกแยะความคิดนึก และความคิดนึกปรุงแต่ง, โดยเน้นเป็นอย่างมาก  ทั้งจากขนาดอักษรและสีต่างๆ  ให้แยกแยะอย่างชัดเจน เพราะความคิดนึกนั้นเป็นกระบวนการธรรมชาติของขันธ์๕ อันยังต้องเกิด ต้องมีเป็นธรรมดา มิฉนั้นนักปฏิบัติมักจะกดข่มหรือห้ามเสียจนเกิดอาการต่างๆ,  ส่วนคิดนึกปรุงแต่งนั้นเป็นส่วนเกินอันยังให้เกิดทุกข์,  ผู้เขียนเองเคยปฏิบัติโดยการหยุดทั้งความคิดนึกและความคิดนึกปรุงแต่งมาแล้ว  อันก่อโทษโดยไม่รู้ตัว เพราะเป็นการกดข่มและก่อตัวเป็นสมาธิตลอดเวลาอันก่อผลร้ายตามมาในภายหลัง,  จงหยุดหรือตัดแต่ความคิดนึกปรุงแต่ง อันรู้เท่าทันแล้วว่าเป็นทุกข์ แล้วท่านจะพบกับความเย็นใจอันเป็นของแท้           ขอเพิ่มเติมหน่อยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนา หรือการพิจารณาธรรมโดยการโยนิโสมนสิการ ขอเน้นว่าเป็นการพิจารณาธรรมจริงๆนะครับ พิจารณาที่แก่น ที่แกน,  ไม่ใช่การพิจารณาว่าปฏิบัติอย่างนี้เพื่อให้เป็นอย่างนี้,  ปฏิบัติอย่างนี้ถูกหรือเปล่า,  พิจารณาในแก่นหรือแกนของธรรมะมิฉนั้นจะเป็นการฟุ้งซ่านหรือคิดนึกปรุงแต่งไปในเรื่องต่างๆเช่นในการปฏิบัติบ้าง ไปในทางโลกๆบ้าง,  หรือความอยากจะได้จากการปฏิบัติ,   หรือมัวแต่พิจารณาที่ผลแต่อย่างเดียวคือพิจารณาแต่ทุกข์ของตนเองจนไม่มองเหตุปัจจัยจริงๆที่ทําให้เกิดตามความเป็นจริงแห่งธรรม กลายเป็นกระตุ้นอาสวะกิเลสของตนเองขึ้นมาเสียอีกโดยไม่รู้ตัว   ลองพิจารณา ไม้หรือมือ กระทบ แขน + ประสาทรับรู้ความรู้สึก(วิญญาณ) ผัสสะกัน สัญญาจําได้ เกิดเวทนาเป็นทุกขเวทนา... ความคิด   กระทบ ใจ    + ประสาทรับรู้ความรู้สึก(วิญญาณ) ผัสสะกัน สัญญาจําได้ เกิดเวทนาเป็นทุกขเวทนา...  (ลองพิจารณาเปลี่ยนจากทุกขเวทนา เป็นสุขเวทนา เป็นอทุกขมสุข ดูบ้าง)   ต่อคราวหน้าครับ             คราวก่อนเราลองโยนิโสมนสิการ การตีแขนเพื่อให้เห็นเวทนา และเห็นไตรลักษณ์ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ระยะหนึ่ง แล้วต้องดับไป           คราวนี้ เราลองโยนิโสมนสิการ ความคิดที่เป็นทุกข์(ดังเช่นสังขารในวงจรปฏิจจสมุปบาทที่เกิดขึ้น,หรือธรรมารมณ์หรือความคิดในขันธ์๕หรืออายตนะภายนอก) อันมากระทบใจหรือจิต (อันคือสฬายตนะในปฏิจจสมุปบาท หรืออายตนะภายในของขันธ์๕) ของเราดูกันบ้าง,  ถนัดปฏิจจสมุปบาทก็พิจารณาในมุมมองของปฏิจจสมุปบาท  เข้าใจขันธ์๕ก็พิจารณาในมุมมองของขันธ์๕ เพราะเป็นเรื่องเดียวกันหรือธรรมๆเดียวกันนั่นเอง            ลองนึกถึงเรื่องที่เราเป็นทุกข์มากๆ, ถ้าไม่มีก็น้อมนึกขึ้น,  เมื่อความคิดที่เป็นทุกข์กระทบใจ อันย่อมเกิดทุกขเวทนา ความรู้สึกรับรู้ที่ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)  มีสติสนใจสังเกตุแต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากความคิดนั้นมากระทบแต่อย่างเดียว  อย่าเอาความคิดใดๆมาปรุงแต่ง เฝ้าแต่สังเกตุ (ต้องมีสติจริงๆ มิฉนั้นตัณหา หรือความคิดนึกปรุงแต่งจะร่วมเข้ามาด้วย อันจักทําให้ไม่สามารถพิจารณาเห็นได้ ,  สําหรับผู้ที่เป็นฌาน ไม่ใช่การเข้าไปส่องสํารวจภายในกายหรือจิตของท่านนะครับ แค่ความรู้สึกรับรู้ที่เกิดจากการผัสสะกับความคิดที่เป็นทุกข์)            มีสติสังเกตุอยู่ที่เวทนา พิจารณาอย่างละเอียดให้ดี  จะเห็นภาวะเช่นดังในการตีแขนอันมี เกิดขึ้น  ตั้งอยู่ระยะหนึ่งอย่างแปรปรวน แล้วดับไปให้เห็นชัดๆสําหรับผู้ที่มีสติ(อันคือไม่มีตัณหาไปร่วมด้วย หรือไม่มีความคิดอื่นๆมาแทรก)  อันเป็นสภาวะธรรมของเวทนาจริงๆ คือเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตั้งอยู่อย่างแปรปรวนไม่เที่ยง แล้วดับไปเป็นธรรมดา ตามกฎพระไตรลักษณ์  สภาวะนี้เป็นสภาวะธรรม(ชาติ)จริงๆของเวทนา            แต่เหตุที่มีอุปาทานทุกข์อันเป็นความทุกข์ที่แท้จริงเกิดขึ้นได้นั้น  เพราะเมื่อเกิดเวทนาแล้วย่อมเกิดสังขารขันธ์ความคิดขึ้นด้วยอย่างแน่นอน แล้วเอาความคิดที่เกิดขึ้นนั้นมาคิดนึกปรุงแต่ง(สังขารขันธ์จากความคิดแรกถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นรูปหรือความคิด(ปรุงแต่ง)อันใหม่ของขันธ์๕ที่จะเกิดใหม่อีกขันธ์)  อันยังให้ต้องเกิดเวทนาของความคิดปรุงแต่งนั้นเพิ่มขึ้นมาอาจจะ ๑๐ , ๒๐ , ๓๐ ครั้ง....... โดยไม่รู้ตัวหรือรู้ตัวก็ดี   อันทําให้เวทนานั้นเกิดอย่างต่อเนื่องยาวนาน อันยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ตัณหาเกิดขึ้นจากทุกขเวทนาหลายๆครั้งที่เกิดขึ้นนั้น อันย่อมทําให้เกิดสังขารขันธ์ที่เป็นทุกข์(อุปาทานสังขาร) แล้วก็เกิดอุปาทานขันธ์๕ วนเวียนอยู่ในทุกข์นั่นเอง    ขอต่อคราวหน้าครับ   วงจรปฏิจจสมุปบาท แสดงตําแหน่ง ที่ดีที่สุด ในการดับทุกข์ ในขั้นปฏิบัติ และ แสดงตําแหน่ง ที่เหตุปัจจัยภายนอก (อายตนะภายนอก) เข้ากระทบ กลับไปที่เดิม คลิก ข้างบน   กลับไปสารบัญ                                                       สัญญาหมายรู้                                                   สังขารขันธ์(คิด) ทางกาย วาจา ใจ อันเป็นขันธ์๕ สภาวะธรรมชาติ                      แล้วถืออุเบกขา   เราต้องปฏิบัติให้เป็นดังวงจรนี้  จนเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาท อันไม่เกิดแต่อวิชชา จึงเป็นการสิ้นสุดการปฏิบัติ แต่ในขั้นปฏิบัติจริงๆ เราต้องใช้สติรู้เท่าทันแล้วปฏิบัติตามภาวะที่สติรู้ทันนั้น  อันไม่ใช่ตําแหน่งนี้เสมอไป เช่นสติรู้เท่าทันที่ตัณหา, สติรู้เท่าทันที่สังขารขันธ์(คิด)ในชรา ฯ.  อ่านรายละเอียดในปฏิจจสมุปบาท     ตําแหน่งที่ดีที่สุดในวงจรปฏิจจสมุปบาทคือที่เวทนาในวงจรนี้ เมื่อกระบวนจิตดําเนินมาถึงเวทนาอันเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติ แล้วมีสติรู้เท่าทันและเข้าใจในธรรม วงจรจะหยุดหรือดับอยู่ที่นี่ แล้วเกิดเป็นกระบวนการของขันธ์ต่างๆอันเป็นธรรมชาติต่อเนื่องไป คือเกิดสัญญาหมายรู้ตามที่รู้โดยไม่ถูกครอบงําด้วยอํานาจของอุปาทานคือไม่ไปหมายรู้ตามความพึงพอใจของตนที่แอบแฝงเป็นใหญ่ แล้วเกิดสังขารขันธ์เช่นคิดอันเป็นปกติธรรมชาติของผู้มีชีวิต แล้วถืออุเบกขา เป็นกลาง วางทีเฉยดูด้วยการไม่คิดนึกปรุงแต่งเอนเอียงไปทั้งในด้านดีและด้านชั่ว เช่นเราถูก เขาผิด,เราดี เขาชั่ว ฯ. อันล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาทั้งสิ้น อันอาจก่อทุกข์ขึ้นได้อีก (ปรุงแต่งคือ22ในบทที่๙ วงจร)      เหตุที่ต้องตัดไฟแต่ต้นลมโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งเพื่อไม่ให้เกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นกระบวนการรับรู้ความรู้สึกตามธรรมชาติของชีวิตเป็นสภาวะธรรม เมื่อเกิดอย่างไรเป็นอย่างนั้น อันทําการหยุดหรือดับจริงๆโดยตรงไม่ได้,  ส่วนคิดนึกปรุงแต่งนั้นเป็นสังขารขันธ์อันเกิดจากเจตนาของตัวตนเองถึงแม้ว่าจะหยุดคิดนึกปรุงแต่งได้ยากแสนยากก็จริงแต่ก็สามารถฝึกฝนอบรมได้ในที่สุด.     ข้อสังวร เนื่องจากภาพวงจรนี้แสดงการมีสติรู้เท่าทันตามความเป็นจริงเห็นเวทนา อุปมาดั่งดับหรือตัดเวทนา อันอาจมีผู้อ่านนักปฏิบัติที่ไม่ได้อ่านรายละเอียดของปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕แล้วนําไปปฏิบัติโดยไม่รู้ไม่เข้าใจอันอาจเกิดเป็นโทษได้, จึงขอแจงไว้ที่นี้ ที่เวทนาและสังขารขันธ์(คิด)พึงใช้สติรู้เท่าทันและความรู้ความเข้าใจ(ปัญญา)อันเรียกว่าการตัดหรือการดับ คือเวทนาและสังขารขันธ์นั้นยังมีอยู่ แต่เพราะสติรู้เท่าทันและปัญญาหรือรับรู้ตามความเป็นจริง เวทนานั้นจึงไม่เจือกิเลส(อามิส)เสมือนหนึ่งดับ การพยายามทําให้ดับจริงๆเป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ในลักษณะกดข่มชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นซึ่งสามารถทําได้เช่นกันจากการฝึกฝนอบรมปฏิบัติ แต่จะมีผลร้ายกลับมาในที่สุด เพราะขันธ์๕คือกระบวนการธรรมของชีวิตในการดํารงชีวิตซึ่งจักเสียสมดุลย์ไป อันจักยังให้เกิดอาการต่างๆทั้งต่อกายและจิตในภายหลังอันเกิดขึ้นจากสังขารความเคยชินที่ได้ฝึกฝนอบรมนั้นทํางานโดยไม่รู้ตัวอันเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ดังเช่นการกดข่มหรือตัดเวทนาโดยไม่มีความรู้ความเข้าใจ ในที่สุดระบบการรับรู้ความรู้สึก(เวทนา)ในกายและจิตจะแปรปรวน ดังเช่นกินอาหารไม่รู้รสชาติและจะเกิดความเข้าใจผิดว่า ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบจึงลดละรสชาติในอาหารนั้นได้ฯ.  ในกรณีของกดข่มความคิดที่เป็นสังขารขันธ์ถ้าตัดหรือหยุดทุกๆความคิดที่คิด(เท่าที่สติเห็น)โดยไม่รู้ไม่เข้าใจ ในที่สุดจะมีอาการจําอะไรไม่ค่อยได้ หลงๆลืมๆ และค่อนข้างแข็งทื่อ คือสังขารความเคยชินของจิตจะทําหน้าที่ตัดความคิดอื่นๆอันมีคุณประโยชน์ไปด้วยโดยการทํางานเองโดยไม่รู้ตัวและแก้ไขได้ยาก, จริงๆแล้วมันเกิดอย่างไรมันก็เป็นเช่นนั้นเองอันเป็นสภาวะธรรม แต่เราต้องถืออุเบกขาเป็นกลางโดยวางทีเฉยดู โดยไม่คิดนึกปรุงแต่งไปในทั้งดีหรือร้ายอันจักยังให้เกิดเวทนาขึ้นใหม่จึงถูกต้อง, ทั้ง๒ นี้ผู้เขียนเคยปฏิบัติมาแล้ว     ส่วนตัณหาความทะยานอยากหรือไม่อยากเป็นส่วนเกินหรือไม่จําเป็นของกระบวนการแห่งชีวิตหรือขันธ์๕ ถ้ามีสติรู้เท่าทันแล้ว เราสามารถใช้กําลังของจิตเข้าตัดหรือหักหาญได้โดยตรงตามกําลังแห่งตนเท่าที่ทําได้ อันเป็นลดทอนกําลังของตัณหาไม่ให้เติบโตกล้าแข็งขึ้นทางหนึ่ง     คุณประโยชน์ของปฏิจจสมุปบาทมิใช่อยู่ที่จดจําวงจรได้  แต่อยู่ที่โยนิโสมนสิการให้มีความเข้าใจในสภาวะธรรมของทุกข์และการดับทุกข์(อันเป็นสภาวะธรรมชาติ)ว่าทุกสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย และมีสติรู้เท่ารู้ทันเหตุปัจจัยนั้น  จึงกําจัดหรือดับเหตุปัจจัยนั้นๆได้ อันทําให้ความทุกข์หรืออุปาทานทุกข์อันจักบังเกิดขึ้นแก่ใจ เกิดขึ้นไม่ได้     ถ้าเราไม่พิจารณาธรรมโดยละเอียดและแยบคายเพื่อให้เกิดสัมมาญาณขึ้นก่อน แล้วจึงปฏิบัติ จักไม่ประสบผลสําเร็จดีที่สุด เพราะขณะที่เราปฏิบัติอยู่นั้น จะมีข้อวิจิกิจฉา ข้อสงสัย ข้อผิดพลาดเกิดขึ้นตลอดเวลาในจิต อันล้วนทําให้สงสัย งงงวย ไม่แน่ใจ ไม่เชื่อมั่น ถูกหรือเปล่า? หลงทาง? ยึดมั่น? เหตุเพราะยังไม่เข้าใจจริง อันจะทําให้การปฏิบัตินั้นติดขัดและไม่ถูกต้อง หรือออกนอกลู่ผิดทางไปเลยก็ได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตอันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนที่สุดในโลก จึงจําเป็นอย่างยิ่งยวดที่ต้องมีวิชชา รู้ตามความเป็นจริงในสภาวะธรรมของทุกข์และการดับทุกข์จึงจะทําให้การปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างถูกต้องราบรื่นและปลอดภัย  ตลอดจนยังให้ไม่เกิดวิปัสสนูปกิเลส(สิ่งที่ทําให้รับธรรมได้ยาก) ตลอดจนทําให้มีความมั่นใจ มั่นคงในธรรมอันเป็นกําลังสําคัญยิ่งแก่จิตในการดับทุกข์และปฏิบัติวิปัสสนา     การพิจารณาจนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้นี้แหละที่เรียกกันว่าญาณ หรือ สัมมาญาณ อันเป็นหนทางที่จําเป็นอย่างยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ จําเป็นต้องปฏิบัติให้เกิด จึงจะยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ-สุขจากการหลุดพ้น, หรือความจางคลายจากทุกข์ตามฐานะแห่งตนขึ้นได้  อันเป็นไปตามหลักสัมมัตตะ(ภาวะที่ถูก มี๑๐ ประการ) หรือก็คือเกิด มรรคองค์๑๐ ของพระอริยะเจ้า พุทธพจน์ ที่ตรัสในเรื่องสัมมัตตะ หรือมรรคองค์๑๐ "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฎฐิเป็นหัวหน้าอย่างไร? เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้(พอเหมาะได้=ใช้งานได้ดี), เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ  สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้,      เมื่อมีสัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้,      เมื่อมีสัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้, เมื่อมีสัมมาอาชีวะ  สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้,      เมื่อมีสัมมาวายามะ  สัมมาสติจึงพอเหมาะได้,      เมื่อมีสัมมาสติ  สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้,     เมื่อมีสัมมาสมาธิ  สัมมาญาณจึงพอเหมาะได้, เมื่อมีสัมมาญาณ  สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ โดยนัยดังนี้แล พระเสขะ(อริยะผู้ยังไม่บรรลุอรหันต์)ผู้ประกอบด้วยองค์๘ จึงกลายเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐"        (ม. อุ. ๑๔/๒๕๔-๒๘๐/๑๘๐-๑๘๗) (พุทธธรรม หน้า ๗๓๔)    ไปภาพวงจร แสดงรายละเอียดอุปาทานขันธ์ที่เกิดดับ เกิดดับ จนต่อเนื่องเป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ กลับไปที่เดิมคลิก ข้างบน กลับไปสารบัญ                แนะนําหนังสือ                   ๑. พุทธธรรม                                                            เป็นหนังสือทรงคุณค่ายิ่ง ที่น่าเก็บไว้ศึกษา ค้นคว้าเป็นแนวทางปฎิบัติ  เป็นข้อเขียนที่ทรงภูมิปัญญาและเป็นกลางอย่างแท้จริง  รวบรวมแก่นธรรมสําคัญๆไว้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ตลอดจนปฏิจจสมุปบาท โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โทร. 0-2224-8214, 0-2221-8892           ๒. ปฏิจจสมุปบาท   หนังสือชุดลอยปทุม กล่าวถึง ปฏิจจสมุปบาท ในแนวทางที่ถูกต้อง เป็นพื้นฐานเพื่อการโยนิโสมนสิการ โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ  ธรรมสภา โทร. 0-2434-4267, 0-2434-3566, 0-2441-1588           ๓. ปฏิจจสมุปบาท หลักปฏิบัติอริยสัจจ์ที่สมบูรณ์แบบ     กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาทในช่วงต้นเหมือนเล่มข้างต้น พร้อมทั้งปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสโดยพระพุทธเจ้า และมีกล่าวถึงเหตุใดปฏิจจสมุปบาทจึงถูกเข้าใจกันมาอย่างผิดพุทธประสงค์เป็นเวลาพันกว่าปี โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ ธรรมสภา โทร. 0-2434-4267, 0-2434-3566, 0-2441-1588           ๔. ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร? โดย พุทธทาสภิกขุ ในตอนท้ายมีกล่าวถึงเหตุใดปฏิจจสมุปบาทจึงถูกเข้าใจกันมาอย่างผิดพุทธประสงค์เป็นเวลาพันกว่าปี สํานักพิมพ์สุขภาพใจ   โทร. 0-2415-6797, 0-2415-2621, 0-2415-6507           ๕. อิทัปปัจจยตา ฉบับย่นความจากชุด"ธรรมโฆษณ์" โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ ย่นความโดย"เช่นนั้นเอง" สํานักพิมพ์สุขภาพใจ  โทร. 0-2235-0644           ๖. พระพุทธเจ้าสอนอะไร เน้นให้เห็นและเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนอะไร เข้าใจถึงพุทธประสงค์ที่ถูกต้อง เพื่อให้รู้จุดมุ่งหมายอย่างถูกต้อง โดย WALPOLA SRI RAHULA,    แปลและเรียบเรียงโดย ชูศักดิ์ ทิพย์เกษรและคณะ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โทร. 0-2224-8214, 0-2221-8892           ๗. อตุโล ไม่มีใดเทียม ประวัติ ปฏิปทา และคําสอน ของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เป็นหนังสือทรงคุณค่าน่าอ่านที่เน้นเกี่ยวกับการปฏิบัติทางจิต หรือปัญญาเป็นสําคัญ ถ้าผู้อ่านมีพื้นความรู้ปฏิจจสมุบาท อริยสัจ๔และขันธ์๕แล้วจักเห็นสาระคุณประโยชน์ ความบันเทิงธรรมที่แอบแฝงอยู่ในคําสอน อ่านดูง่ายๆแต่ควรพิจารณาให้ลึกซึ้ง(โยนิโสมนสิการ หรือธรรมะวิจยะ) จากบันทึกความทรงจําของพระโพธินันทมุนี (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต) รวบรวมและเรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม นิคมานนท์ สนใจติดต่อ พระโพธินันทมุนี                 วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์                 โทร. 0-4451-4234 หรือที่        รศ.ดร. ปฐม นิคมานนท์                 โทร. 0-2379-7239                 (สมทบค่าจัดพิมพ์เล่มละ 400 บาท และค่าส่ง 50 บาท) หรือหาอ่านได้ใน:http://www.geocities.com/pudule/history1.htm หรือ คลิกที่นี่เพื่อบันทึกไว้ในFavorites           ๘. หลวงปู่ฝากไว้ บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนา แบบสั้นๆ เล่มเล็กๆเหมาะแก่การพกพา(แต่ใจความลึกชึ้ง)ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล(ใน อตุโล ไม่มีใดเทียม ก็มีเช่นกันในตอนท้ายเล่ม) สั่งชื้อได้ตามที่อยู่ข้างบน หรือหาอ่านได้ใน:http://www.geocities.com/Tokyo/Pagoda/3134/index3.html หรือ คลิกที่นี่เพื่อบันทึกไว้ในFavorites           ๙. ตามรอยบาทพระศาสดา  ศึกษาพุทธประวัติจากสังเวชนียสถาน เป็นหนังสือที่มีรูปเล่ม ตลอดจนภาพประกอบที่สวยงาม และให้ความรู้อย่างคาดไม่ถึง แต่ราคาค่อนข้างจะแพง(480บาท)เพราะมีภาพประกอบอย่างสวยงามสมราคา  แนะนําให้อ่านเพราะคุ้มค่าที่อ่านและเก็บรักษาไว้ โดย ไพโรจน์(ลออ)  คุ้มไพโรจน์ ธรรมสภา โทร. 0-2434-4267, 0-2434-3566, 0-2441-1588           ๑๐.กรณีเงื่อนงํา:พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยพระโรคอะไร? มีผู้กล่าวจาบจ้วงพระศาสดา ท่านพระธรรมปิฎกจึงเมตตาชี้แจงสั่งสอนแนวทางพิจารณาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง, ในหนังสือเล่มนี้ได้ชี้ให้เห็นทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์ธรรมชาติที่บังเกิดมีและไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงได้แม้พระศาสดาให้เห็นอย่างชัดแจ้ง  เพื่อความเข้าใจในเวทนาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะนักปฏิบัติจักได้ไม่ปฎิบัติออกนอกลู่นอกทาง พยายามดับเวทนา ดับความรู้สึก หรือต้องเฉยๆ(อทุกขมสุข) ไม่รู้สึกรู้สาแต่เพียงอย่างเดียวอันไปยึดถือว่าถูกต้อง เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจในเวทนาอย่างแท้จริง, อ่านแล้วควรพิจารณาทุกขเวทนาทางกายเปรียบเทียบกับทุกขเวทนาทางใจดังเช่นทางกายมี ทางใจมี?  ในเมื่อพระพุทธองค์และพระอริยสาวกล้วนมีทุกขเวทนา(ทั้งทางกายแและใจ?) แต่เหตุไฉนท่านจึงกล่าวว่าไม่เป็นทุกข์? ตลอดจนกล่าวถึงวิชชา๓ของพุทธศาสนาไว้ในแนวความเข้าใจเดียวกันกับผู้เขียน ในหน้า๔๑ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)  สํานักพิมพ์ มูลนิธิพุทธธรรม  โทร 0-2589-9012, 0-580-2719, โทรสาร 0-2954-4791            ๑๑.ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ฉบับ ๑๐๐ ปี ชาตกาล สืบสานปณิธารพุทธทาส เป็นหนังสือรวบรวมปรมัตถธรรมเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทอย่างสมบูรณ์ที่สุด หนา ๑๐๕๘ หน้า, เป็นหนังสือที่คู่ควรแก่การอ่านและค้นคว้าปฏิจจสมุปบาท (พืมพ์ครั้งที่๕ กันยายน ๒๕๔๕) แปลและรวบรวมจากพระไตรปิฏกภาษาบาลี โดยท่านพุทธทาสภิกขุ สํนักพืมพ์สุขภาพใจ  โทร 0-2415-2621,  โทรสาร 0-2416-7744                                    กลับสารบัญ                          แสดงวงจรปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียด พร้อมรายละเอียดของอุปาทานขันธ์๕ ที่เกิดดับ เกิดดับ อย่างต่อเนื่องจนเป็นความทุกข์ คลิกที่   ข้างบน เพื่อกลับไปหน้าเดิม คลิกที่นี่ กลับไปสารบัญ    วงจรที่แสดงนี้เป็นการประมวลความรู้ความเข้าใจของทั้งปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕  แสดงให้เห็นรายละเอียดทั้งหมดของกระบวนการการเกิดขึ้นแห่งทุกข์         วงจรเล็กที่กําลังเคลื่อนไหวอยู่เป็นวงจร  แสดงการเกิดของขันธ์๕ที่เป็นอุปาทานขันธ์๕แล้วคืออยู่ในสภาวะถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทานอย่างสมบูรณ์ และยังคงดําเนินต่อไปโดยการคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆโดยไม่รู้ตัว(สติ)  หรือรู้ตัวแต่สติรู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังจากการถูกครอบงําเสียแล้ว, จึงหยุดได้ยาก เพราะกําลังอันกล้าแข็งของอุปาทานอันสามารถครอบงํามวลมนุษย์ชาติ ได้เข้าครอบงําเสียแล้ว,  วงจรเล็กนี้เกิดขึ้นในกองธรรมชราอันแปรปรวน เกิด-ดับ เกิด-ดับ นั่นเอง          ณ.ที่ชรานี้ เราต้องมีสติรู้ว่าความทุกข์หรืออุปาทานขันธ์๕ได้เกิดขึ้นแล้ว ต้องใช้เวทนานุปัสสนา หรือจิตตานุปัสสนา สติเห็นเวทนาหรือเห็นจิตคิดนึกตามความเป็นจริง แล้วใช้อุเบกขาในโพชฌงค์ ไม่คิดนึกปรุงแต่งเป็นกลางวางเฉย  จึงจะทําให้วงจรเล็กนี้ดับ ทําให้เกิดความทุกข์แบบสั้นลงและเบาบางกว่าปุถุชนโดยสติ.          ดังนั้นการมีสติรู้เท่าทันในการปฏิบัติ จึงควรพิจารณาปฏิบัติให้ดับได้เสียก่อนการเกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์  (อ่านปฏิจจสมุปบาท)จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด  แต่การปฏิบัติในระยะแรกเราต้องใช้ทุกอย่างที่ถูกต้องตามความเป็นจริงตามที่สติรู้เท่าทันนั้นๆ          พิจารณาที่ชาติ อันเป็นการเริ่มเกิดขึ้นของอุปาทานขันธ์ โดยเริ่มที่อุปาทานสัญญญา อันหมายรู้ที่แอบแฝงยึดมั่นอยู่ในความพึงพอใจของตัวของตน  ความหมายรู้นั้นจึงถูกชักนําให้เห็นผิดไปหมายรู้ตามความพึงพอใจแห่งตนโดยไม่รู้ตัว จึงเกิดอุปาทานขันธ์ต่างๆอันเป็นทุกข์ตามมาในที่สุด.          พิจารณาวงจรเล็กที่เกิดในกองธรรมชรา  นั่นเป็นอาการของอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ ที่เกิดต่อเนื่องจากชาติ, เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะ และดับไป แต่การเกิดนั้นเป็นไปอย่าง เกิด-ตั้งอยู่-ดับ...เกิด-ตั้งอยู่-ดับ...เกิด-ตั้งอยู่-ดับ.....เป็นเช่นนี้อย่างต่อเนื่องกันดังวงจรอุปาทานขันธ์๕(วงจรเล็ก)ที่แสดง   ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว,ในขณะที่ตั้งอยู่และกําลังจะดับลงไปนั้นซึ่งเป็นไปในลักษณะค่อยๆมอดลงดุจดั่งกองไฟที่อันจักค่อยๆมอดดับไป, แต่ตามปกติวิถีจิตของปุถุชนขณะที่ไฟกําลังค่อยๆมอดลงนั้นได้มีการเติมฟืน(เวทนาจากคิดนึกปรุงแต่ง)เข้าไปอีกตลอดเวลา จึงเป็นเหตุทําให้กองไฟแห่งทุกข์นั้นเมื่อได้เชื้อจึงลุกกระพือขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มอดดับไป,  เพราะแต่ละเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์นั้นอยู่ในอํานาจของพระไตรลักษณ์คอยควบคุมกํากับอยู่เช่นกันจึง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วดับไป แต่เป็นเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์(อวิชชา)และความไม่รู้ตัว(สติรู้ไม่เท่าทัน) จึงทําให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้นนานๆ  อันเกิดจากการเวทนาของคิดนึกปรุงแต่งหลายสิบหลายร้อยครั้งโดยไม่รู้ตัวอย่างต่อเนื่องจนแลดูหรือรู้สึกเชื่อมต่อเป็นชิ้นหรือมวลเดียวกัน จนเกิดเป็นความทุกข์ที่กัดกร่อนใจยาวนาน  ยิ่งคิดก็ยิ่งเกิดเวทนา ก็ยิ่งกัดกร่อนใจ          อันอุปมาได้ดังการทํางานของหลอดไฟอันยังให้เกิดแสงสว่าง  ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วแสงสว่างอันเกิดแต่หลอดไฟนั้นทํางานแบบ เกิดดับ เกิดดับ อยู่ตลอดเวลาตามความถี่กระแสสลับของกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง จนเรามองเห็นเป็นแสงสว่างอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน  แต่ตามความเป็นจริงนั้นเกิดแต่ตาเราแยกจําแนกความถี่ที่เกิดๆดับๆอย่างรวดเร็วนั้นไม่ออกโดยตาธรรมชาติ จึงมองเห็นเป็นแสงสว่างต่อเนื่องกันเช่นนั้นเอง, อันเหล่ามนุษย์ผู้มีปัญญาได้รู้เห็นความจริงข้อนี้ได้ก็เพราะเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้มีตาปัญญาในเรื่องเหล่านี้ได้เห็นและทดสอบมาแล้ว   อันดุจดั่งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง, ความทุกข์ ก็เฉกเช่นเดียวกันกับหลอดไฟที่ให้กําเนิดแสงสว่าง เกิดจากความคิดนึกปรุงแต่งในรูปอุปาทานขันธ์๕ที่วนๆเวียนๆ เกิดดับ เกิดดับโดยไม่รู้ตัว(สติ)จนดูต่อเนื่องเป็นความทุกข์ที่ราวกับว่าเกิดจากความคิดครั้งเดียว  แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นดุจดั่งแสงสว่างจากหลอดไฟ         การปฏิบัติที่ดีที่สุดคือมีสติรู้เท่าทันตามความเป็นจริงเห็นเวทนาคือเวทนานุปัสสนาที่ตําแหน่งเวทนาในวงจรปฏิจจสมุปบาท  อันจะทําให้วงจรของทุกข์นั้นขาดการสืบเนื่อง ไม่เป็นทุกข์อุปาทานใดๆ  วงจรหยุดลง ณ.ที่นี้  แล้วเกิดสัญญาหมายรู้อันย่อมหมายรู้ตามความเป็นจริงไม่ถูกครอบงําด้วยอุปาทานไปให้เห็นผิดตามความพึงพอใจของตน >> สังขารขันธ์ของขันธ์๕ตามธรรมชาติ อันจักเกิดสืบเนื่องต่อจากเวทนานั้นแทนวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์,  สติรู้เท่าทันตามความเป็นจริง แล้วอุเบกขา วางเฉยโดยไม่คิดนึกปรุงแต่งเป็นกลาง ไม่เอนเอียง ไม่ฝักใฝ่ ดีก็ไม่-ชั่วก็ไม่, ถูกก็ไม่-ผิดก็ไม่ (คิดนึกปรุงแต่งไปว่าเราดีก็ไม่ คิดนึกปรุงแต่งไปว่าเขาชั่วก็ไม่, คิดนึกปรุงแต่งไปว่าเราถูกก็ไม่ คิดนึกปรุงแต่งไปว่าเขาผิดก็ไม่) อันเป็นอุบายวิธี ตัดไฟแต่ต้นลม ป้องกันการเกิดเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นมาภายหลังนั้นนั่นเอง อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ขึ้นมาอีกได้.         เหตุที่ต้องตัดไฟแต่ต้นลมโดยการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง เพื่อไม่ให้เกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นกระบวนการรับรู้ตามธรรมชาติเป็นสภาวะธรรม เมื่อเกิดอย่างไรเป็นอย่างนั้น อันทําการหยุดโดยตรงไม่ได้,  ส่วนคิดนึกปรุงแต่งนั้นเป็นสังขารขันธ์อันเกิดจากเจตนาของตัวตนเองถึงแม้ว่าจะหยุดได้ยากแสนยากแต่ก็สามารถฝึกฝนอบรมได้ในที่สุด         ท่านสามารถพิจารณาธรรมะวิจยะโดยใช้ขันธ์๕ได้เช่นกัน, ผลก็เป็นดังเช่นปฏิจจสมุปบาทนั้นนั่นเอง         หลักปฏิบัติในสติปัฏฐาน๔ ก็เป็นเช่นเดียวกันนั่นเอง แต่เน้นอยู่ที่วิธีปฏิบัติ อันจักบังเกิดปัญญาขึ้นจากการพิจารณาการปฏิบัตินั้น  อันถ้าไม่บังเกิดปัญญาขาดความเข้าใจก็จะติดขัดเป็นวิจิกิจฉาหรือเป็นมิจฉาสมาธิ         อริยสัจ ๔ ก็มีกําเนิดเฉกเช่นเดียวกัน อันเป็นผลที่เกิดจากปฏิจจสมุปบาท  เป็นการแสดงธรรมถึงเหตุและแนวการปฏิบัติของมรรค๘ ตั้งแต่ขั้นปัญญา ศีล สมาธิ เพื่อปฏิบัติให้เกิดมรรคองค์ที่๙ อันคือสัมมาญาณ(ปัญญาในขั้นดับทุกข์)อันเป็นปัจจัยก่อให้เกิดมรรคองค์ที่๑๐ สัมมาวิมุตติ สุขจากการหลุดพ้นเป็นที่สุด         เราจึงต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วยความเข้าใจในธรรมคําสอนของพระพุทธองค์จนเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาท เป็นสังขารใหม่อันมิได้เกิดแต่อวิชชา เป็นสังขารแห่งการพ้นทุกข์  วันนั้นจักเป็นวันสิ้นสุดการปฏิบัติของเรา เสวยแต่ผลคือวิมุตติ ต้องการดูภาพวงจรของทุกข์ละเอียดกว่านี้พร้อมคําอธิบาย คลิกที่นี่ ไปบทที่9 วงจรโดยพิศดาร จงมีแต่คิดของขันธ์๕โดยเฉพาะสติและปัญญา แล้วอุเบกขาเป็นกลางวางเฉย เพื่อหยุดเวทนาโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่ง กลับขึ้นไปข้างบน ไปดูภาพวงจร แสดงตําแหน่งที่ดีที่สุดในการปฏิบัติ     คลิก กลับสารบัญ  Download ใหม่เพื่อปรับปรุงข้อมูลได้ ทุกข์ ทุกข์คือดังนี้ ทุกข์นี้ควรกําหนดรู้ ทุกข์นี้ได้กําหนดรู้แล้ว? สมุทัย สมุทัยคือดังนี้ สมุทัยนี้ควรละ     สมุทัยนี้ละแล้ว? นิโรธ นิโรธคือดังนี้ นิโรธควรทําให้แจ้ง นิโรธนี้ได้แจ้งแล้ว? มรรค มรรคคือดังนี้ มรรคนี้ควรปฏิบัติ    มรรคนี้ปฏิบัติแล้ว?    เหล่านี้คือ "กิจญาณ" หรือกิจอันพึงกระทํา๓ประการในแต่ละอริยสัจ อันรวมเป็น ๑๒ ญาณทัสสนะ อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ทุกข์         ญานทัสสนะที่๑ : ทุกข์นี้คือ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก เหล่านี้เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์๕ เป็นทุกข์" เหล่านี้คือทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัส ถ้าสังเกตุตรวจสอบให้ดีจะเห็นได้ว่าทั้ง๗ ข้อนี้ อันมี         ๑. ความเกิด ทุกข์อันมีมาแต่การเกิดเช่น การเกิด สัญชาตญาณต่างๆความหิว,ความเจ็บปวด ฯลฯ.         ๒. ความแก่         ๓. ความเจ็บ         ๔. ความตาย         ๕. ความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ในสิ่งนั้น         ๖. การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก         ๗. การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ได้ครอบคลุมสรรพทุกข์ทุกอย่างประดามีในโลกนี้โดยบริบูรณ์ ครบถ้วนไม่บกพร่อง แต่ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ท่านสรุปลงที่เป็นเพียงหนึ่งเดียวที่ครอบคลุมความทุกข์ทั้ง๗นี้อันคือ "อุปาทานขันธ์ ๕เป็นทุกข์"คือทุกข์ที่เกิดจากอุปาทาน อันบังเกิดแก่ใจ,  ควรศึกษาเวทนา, อุปาทานให้เข้าใจจริงๆจากปฏิจจสมุปบาท  มิฉนั้นจักสับสนเรื่องทุกข์อุปาทาน เมื่อสับสนแล้วทําให้ไม่ก้าวหน้าในธรรม มัวแต่สาระวนวนเวียนเพียรพยายามดับเวทนา หรือสังขารคิด  หรือการปฏิบัติแต่สมาธิ  อันให้ผลเสมือนพยายามจะจับเงาตนเอง ซึ่งไม่มีทางจะประสบผลสําเร็จ         ญานทัสสนะที่๒ : ทุกข์ นี้ควรกําหนดรู้ ทุกข์ที่เกิดจากกิเลส,ตัณหา,อุปาทานคืออุปาทานขันธ์๕เป็นอุปาทานทุกข์ที่ควรกําหนดรู้ เพราะเป็นทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ดับสนิทไม่เหลือ ดังพุทธพจน์         "ภิกษุทั้งหลาย. ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราบัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องความทุกข์และความดับสนิทไม่เหลือของทุกข์ เท่านั้น"         พยายามพิจารณาให้เข้าใจในสภาวะธรรม(ชาติ) ว่าเหตุแห่งทุกข์นั้นยังคงมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น  หรือเหตุแห่งทุกข์อันเป็นสภาวะธรรมชาติเช่นกันนั้นก็ยังคงมีอยู่ แต่ไม่สามารถทําอะไรใจเราได้ อันคือไม่เป็นอุปาทานทุกข์ที่เกิดแก่ใจนั่นเอง         แยกแยะทุกข์อุปาทานหรืออุปาทานขันธ์๕ ให้ออกจากเวทนา(ทุกขเวทนาหรือทุกข์เทียม, ไม่ใช่ทุกข์จริงๆเป็นแค่การรับรู้ แต่เพราะความไม่รู้จึงกลายไปเป็นทุกข์จริงๆ) และสังขารขันธ์ในขันธ์๕ตามธรรมชาติ         ญานทัสสนะที่๓ : ทุกข์นี้ได้กําหนดรู้แล้ว? อยู่ที่อุปาทานทุกข์อันเกิดแต่ "อุปาทานขันธ์ ๕ "หรือขันธ์๕ที่มีความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวตนเองเป็นหลักสําคัญ หรือก็คือ ขันธ์๕ที่เกิดในชาติ-ชรามรณะอันมีอุปาทานความพึงพอใจหรือความเป็นตัวของกู ของของกู ร่วมด้วยแล้วนั่นเอง (ตามหลักปฏิจจสมุปบาท) นอกจากต้องรู้ว่าทุกข์ทั้งมวลคือทุกข์อุปาทานขันธ์๕แล้ว ยังต้องมีสติรู้เท่าทันทุกข์อุปาทานต่างๆที่เกิดขึ้นด้วย  สรุปรวมเป็น๒คือ         ๑.รู้อุปาทานทุกข์อันบังเกิดแก่ใจคือความทุกข์         ๒.รู้เท่าทันอุปาทานทุกข์ที่เกิด         หรือดังมีคําที่ชอบกล่าวกันอยู่เสมอๆ"เห็นทุกข์ จึงเห็นธรรม" อันมิได้หมายถึงต้องมีความทุกข์เกิดขึ้นแล้วจึงจะเห็นธรรม,   ดังนั้นหลายๆท่านเพราะยังไม่มีทุกข์(แต่จะเป็นเช่นนี้ไปตลอดกาล?)จึงยังไม่ปฏิบัติธรรม,  แต่หมายถึงรู้เข้าใจว่าทุกข์นั้นคือทุกข์อุปาทาน อันบังเกิดขึ้นแก่จิต จึงจักเข้าใจในธรรมได้ และต้องมีสติรู้เท่าทันทุกข์อุปาทานที่เกิดแก่ใจนั้นด้วย  สมุทัย          ญานทัสสนะที่๔ : สมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ ตัณหาที่ทําให้มีภพใหม่ ชาติใหม่ เพลิดเพลินและติดใจในรสอร่อยของโลกอันคือตัณหา๓ อันมี กามตัณหา (ความอยากหรือไม่อยากใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส), ภวตัณหา(ความอยากทางจิต) , วิภวตัณหา (ความไม่อยากทางจิต, ความอยากดับสูญ, หรือความอยากในความไม่อยาก) อันเป็นมูลเหตุปัจจัยโดยตรงให้เกิดอุปาทาน อันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นทุกข์อุปาทาน         ญานทัสสนะที่๕ : สมุทัยนี้ควรละ ละเหตุแห่งทุกข์ อันคือตัณหา๓นั่นเอง โดยการนําออกและละเสียซึ่งตัณหา โดยการปฏิบัติ และโดยปัญญาดังเช่นเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทแล้วว่าตัณหาเกิดแต่เหตุปัจจัยใด เราก็ปฏิบัติตามความเข้าใจนั้น         น่าสังเกตุ วิภวตัณหาความไม่อยาก ไม่อยากให้มีทุกข์ ไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เป็น ทําให้เกิดการผลักไส ต่อต้าน เป็นตัณหาตัวสําคัญที่ผู้ปฏิบัติมักจะลืม หรือ นึกไม่ถึง เพราะคิดว่าไม่เป็นตัณหา บางท่านนึกว่าเป็นสิ่งที่ดีเสียอีก ตลอดจนภวตัณหา(ความอยาก)ในการปฏิบัติธรรมจนเกินพอดีก็เป็นสิ่งที่ผิด         ถ้าพูดอย่างง่ายๆให้ครอบคลุมความหมาย "สมุทัยนี้ควรละ" โดยปริยายคือลดละความอยาก และ ไม่อยาก อันเป็นเหตุ ให้ไวที่สุดทันทีที่สติรู้เท่าทันนั่นเอง อย่าปล่อยอ้อยอิ่งอย่างเด็ดขาด เพราะตัณหามักแฝงมากับความคิดนึกปรุงแต่งอันมักไม่รู้ตัวในตอนแรกๆ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท, อย่าปล่อยให้จิตมีโอกาสหลอกล่อปรุงแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไปอันต้องเกิดเวทนา..จึงเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหามีโอกาสแทรกเข้ามา อย่าใส่ใจ อย่าวิพากษ์วิจารณ์ พอรู้แค่เวทนาหรือการรับรู้อารมณ์(อันคือ รูป เสียง กลิ่น ฯ.)ที่กระทบแล้วแล้วให้หยุดเพียงเท่านี้เอง         การละมักมีผู้เข้าใจผิดอยู่เสมอๆขอให้จําให้แม่นว่า "ละเหตุ" ไม่ใช่ละความทุกข์หรือละเวทนา เรื่องที่เกิด, เรื่องที่เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลแล้วไม่ใช่เหตุ การพยายามดับเรื่องที่ทุกข์จักเป็นการกดข่ม ต้องดับที่เหตุอันคือตัณหา, ไม่ใช่ที่ผลอันคือเรื่องที่ทุกข์ อันเป็นสิ่งที่ควรรู้เท่านั้น ดังอริยสัจข้อทุกข์ อันมีกิจอันควรกระทําคือ "รู้" เท่านั้น,  และดังคํากล่าวที่ว่า"ทุกข์ใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับทุกข์นั้นก็ดับ" ทั้งจากอริยสัจอันแสดงว่าสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์คือตัณหา๓ และจากหลักปฏิจจสมุปบาทก็แสดงให้เห็นเช่นเดียวกันว่า ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน อันยังให้เกิดทุกข์อุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ ซึ่งเหมือนกันในแก่นความของแก่นธรรมทั้งสอง         ญานทัสสนะที่๖ : สมุทัยนี้ควรละ สมุทัยนี้ละได้บางส่วนแล้วหรือ?  นิโรธ         ญานทัสสนะที่๗ : นิโรธ คือผลของการดับทุกข์ ภาวะหมดปัญหา ผลของการดับกิเลส, ตัณหา และอุปาทาน(อันล้วนเนื่องสัมพันธ์กันตามวงจรแห่งจิต)ทําให้เกิดความสุขสงบ บริสุทธิ์ ผ่องใส เบิกบาน เบากาย เบาใจ         ญานทัสสนะที่๘ : นิโรธนี้ควรทําให้แจ้ง ควรทําให้แจ้งประจักษ์ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ด้วยการคิด หรือฟังแต่เพียงอย่างเดียว เพราะมักเป็นภาวะปรุงแต่งตามที่เขากล่าวว่าหรือตามความเข้าใจของเราอย่างผิดๆเท่านั้น  อย่างน้อยให้สัมผัสได้หรือเข้าใจในสุขทางธรรมหรือนิโรธนี้อย่างถูกต้องบางส่วนก่อน เพื่อจะได้เป็นขวัญกําลังใจให้ปฏิบัติด้วยความมั่นใจในการปฏิบัติต่อๆไปจนเป็นนิโรธในที่สุด  และเพื่อป้องกันไม่ให้ไปยึดติดอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสบางข้อแล้วมีความเข้าใจว่าเป็นนิโรธ         ญานทัสสนะที่๙ : นิโรธควรทําให้แจ้ง นิโรธนี้ได้แจ้งแล้วบางส่วนถูกต้องแล้วหรือ?  มรรค        ญานทัสสนะที่๑๐ : มรรค คือ ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ หรือทางปฏิบัติเพื่อดับกิเลส,ตัณหา,อุปาทาน อันยังให้เกิดอุปาทานทุกข์        ญานทัสสนะที่๑๑ : มรรคนี้ควรปฏิบัติ ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงการดับทุกข์ คือ มรรค ๘ ที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา(ทางสายกลาง) หรือ สัมโพชฌงค์ ๗ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ อันมี ๗) มรรคแบ่งคร่าวๆเป็น         ๑. ขั้นศีล(เพื่อความสงบกายใจ)เพื่อเป็นบาทฐานให้เกิดขั้นสมาธิ เพื่อยังความแน่วแน่, จิตใจไม่ซัดส่าย ไม่วอกแวก มีสติ มีกําลังจิตในการปฏิบัติ         ๒. ขั้นสมาธิ เพื่อเป็นบาทฐานให้เกิดขั้นปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริงในการดับทุกข์ (เพื่อเป็นกําลังเป็นฐานในการก้าวหรือปฏืบัติต่อไปเท่านั้น  ไม่ใช่การปฏิบัติแต่สมาธิแล้วจะก้าวขึ้นไปเองเป็นขั้นปัญญาอันเป็นการเข้าใจผิด)         ๓. ขั้นปัญญา อันเป็นบาทฐานให้เกิดผลคือ วิมุตติ(สุขจากการหลุดพ้น)         หรือแยกเป็น มรรค ๘ ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ อันมีดั่งนี้         ๑.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ความเข้าใจชอบ ,รู้ชอบ, ปัญญาที่เข้าใจถูกต้องตามที่เป็นจริง  เห็นทุกข์มีความเห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับทุกข์ที่จะดับ, ความเข้าใจในทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ถูกต้อง เห็น(เข้าใจ)ใน"อริยสัจ" อันมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าเป็นทางดับทุกข์,  เห็น(เข้าใจ)ปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์,  เห็น(เข้าใจ)พระไตรลักษณ์ - อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ขั้นปัญญา)         ๒.สัมมาสังกัปปะ ดําริชอบ คิด ค้นคว้า ศึกษาหาทาง ดําริตริตรอง ในการปฏิบัติให้พ้นทูกข์ เช่น คิด อ่าน ศึกษา ธรรมะวิจยะ-การวิจัยพิจารณาในธรรมคําสั่งสอน, ค้นคว้าธรรม, สนทนาธรรม (ขั้นปัญญา)         ๓.สัมมาวาจา วาจาชอบ ไม่ประพฤติผิดทางวาจา ทําให้ใจกายสบาย ไม่มีศตรู ใจกายก็ผ่องใส  อันเป็นบาทฐานในการปฏิบัติขั้นสมาธิในที่สุด (ขั้นศีล)         ๔.สัมมากัมมันตะ กระทําชอบไม่ประพฤติผิดทางกายกรรม ทําให้ใจกายสบาย ไม่มีศตรู ใจและกายผ่องใส อันเป็นบาทฐานในการปฏิบัติขั้นสมาธิในที่สุด (ขั้นศีล)         ๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ไม่ประกอบอาชีพทุจริต ทําให้ใจกายสบายไม่ต้องคอยหลบๆซ่อนๆ ทั้งจากศตรูคู่อริและบ้านเมือง ใจกายก็ผ่องใส อันเป็นบาทฐานให้ขั้นสมาธินั่นเอง (ขั้นศีล)         ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ มีความเพียรในการปฏิบัติ แก้ไขข้อผิดพลาด และขอเน้นโดยเฉพาะการเพียรยกจิตไม่ให้ตกตํ่า หดหู่อันได้ทรงตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน๔ (ขั้นสมาธิ)         ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ มีสติรู้เท่าทันและเข้าใจทุกข์อุปาทานที่เกิด, ระลึกถึงการดับทุกข์ อันคือสติรู้เท่าทันเวทนา(เวทนานุปัสสนา) และความคิด(จิตตานุปัสสนา)อยู่เนืองๆ  หรือใช้สติปัฏฐาน๔เป็นการฝึกโดยตรง อันคือมีสติรู้ในกาย เวทนา จิต และธรรมว่า กายนั้นก็ไม่เที่ยง, มีสติรู้ในเวทนาและจิตสังขาร คือรู้เท่าทันในเวทนาและความคิด, ตลอดจนระลึกรู้พิจารณาในธรรม อันเป็นธรรมะวิจยะในสัมโพชฌงค์ ด้วยการพิจารณาธรรมโดยการโยนิโสมนสิการ เพื่อเป็นเครื่องรู้เครื่องระลึก ซึ่งเป็นองค์สําคัญในการตรัสรู้ (ขั้นสมาธิ)         ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ มีจิตที่สงบแน่วแน่ นุ่มนวล ไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน หรือก็คือการมีสติอยู่อย่างต่อเนื่องในการปฏิบัตินั่นเอง อันเป็นบาทฐานสําคัญในการปฏิบัติต่อไปในขั้นปัญญาที่ทําให้พ้นทุกข์(สัมมาญาณ) ไม่ใช่สมาธิชนิดนั่งแข็งทื่อ นั่งกดจิตให้นิ่งสนิท ขาดการพิจารณาในธรรมที่เรียกว่าสมาธิหัวตอ หรือสมาธิที่ติดอยู่แต่ใน ปีติ สุข อุเบกขา ที่เรียกว่าติดปีติ,ติดสุข หรือติดความสงบอุเบกขา อันล้วนแต่เป็นวิปัสสนูปกิเลส ทั้งสิ้น (ขั้นสมาธิ)         เราจําเป็นต้องปฏิบัติมรรคมีองค์๘นี้ เพื่อยังให้เกิดมรรคองค์๑๐ของเหล่าพระอริยเจ้า         แสดงขั้นตอนสัมพันธ์การทํางานของมรรค๘ อันจักก่อให้เกิดสัมมาญาณและสัมมาวิมุตติ อันเป็นมรรคองค์ที่๙และ๑๐ ที่เกิดแก่พระอรหันต์เจ้าเท่านั้น         ปัญญา(สัมมาทิฏฐิ,สัมมาดําริ) อันมีสัมมาทิฏฐิ-เห็นชอบเป็นตัวนํา เป็นปัจจัยทําให้เกิดศีล,         ศีล(สัมมาวาจา,สัมมากัมมันตะ,สัมมาอาชีวะ)เป็นปัจจัยทําให้เกิดสมาธิ,         สมาธิ(สัมมาวายามะ,สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ)เป็นปัจจัยทําให้เกิดสัมมาญาณ(สัมมาปัญญา),         สัมมาญาณเป็นปัจจัยทําให้เกิดสัมมาวิมุตติ(สุขจากการหลุดพ้น)         จากมรรค มีองค์๘ เป็น มรรคมีองค์๑๐ ของเหล่าพระอรหันต์เจ้า, ดังมีพุทธพจน์ที่ตรัสไว้เกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ และ มรรคองค์๑๐ ดังนี้             "ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์มรรคเหล่านั้น             สัมมาทิฎฐิเป็นตัวนํา,   สัมมาทิฎฐิ เป็นตัวนําอย่างไร ?             ด้วยสัมมาทิฎฐิ จึงรู้จัก มิจฉาทิฎฐิ ว่าเป็น มิจฉาทิฎฐิ,   รู้จักสัมมาทิฎฐิ ว่าเป็น สัมมาทิฎฐิ,             รู้จักมิจฉาสังกัปปะ ว่าเป็น มิจฉาสังกัปปะ,    รู้จัก สัมมาสังกัปปะ ว่าเป็น สัมมาสังกัปปะ,             รู้จักมิจฉาวาจา ว่าเป็น มิจฉาวาจา,    รู้จักสัมมาวาจา ว่าเป็น สัมมาวาจา,             รู้จัก................................................ฯลฯ"       (สํ. ม. ๑๙/๑๗๒๐/๕๕๒)                  "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฎฐิเป็นหัวหน้าอย่างไร?             เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้  (จึงพอเหมาะได้=ใช้งานได้ดี),             เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ  สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้,                  เมื่อมีสัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้,                  เมื่อมีสัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้,                  เมื่อมีสัมมาอาชีวะ  สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้,                  เมื่อมีสัมมาวายามะ  สัมมาสติจึงพอเหมาะได้,                  เมื่อมีสัมมาสติ  สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้,                 เมื่อมีสัมมาสมาธิ  สัมมาญาณจึงพอเหมาะได้,             เมื่อมีสัมมาญาณ  สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้             โดยนัยดังนี้แล พระเสขะ(อริยะผู้ยังไม่บรรลุอรหันต์)ผู้ประกอบด้วยองค์๘             จึงกลายเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐"                       (ม. อุ. ๑๔/๒๕๔-๒๘๐/๑๘๐-๑๘๗)             (พุทธธรรม หน้า ๗๓๔)                  อันแสดงอย่างย่อๆได้ดังนี้         ปัญญา >> ศีล >> สมาธิ >> สัมมาญาณ >> สัมมาวิมุตติ.           มรรคทั้ง๘นี้จะประสานทํางานร่วมกันมิใช่องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อเหตุปัจจัยทุกตัวพร้อมจะเกิดการที่เรียกว่ามรรคสมังคีหรือธรรมสามัคคี อุปมาดั่งการเล่นกีฬาเช่นฟุตบอล ต้องมีความเห็นความชอบ และรักที่จะเล่นก่อน (ขั้นปัญญา) ต้องหมั่นออกกําลังให้ร่างกายแข็งแรง อดทน รู้จักทํางานร่วมกับทีม(ขั้นศีล) ต้องหมั่นฝึกซ้อม,การเลี้ยงลูก,ส่งลูก,ยิงประตูและแทคติคต่างๆให้เชี่ยวชาญ(ขั้นสมาธิ) เมื่อทุกสิ่งชํานาญชํ่าชองก็ได้เป็นนักฟุตบอลลงแข่งขันจริงในสนาม เมื่อโอกาสอํานวย(เปรียบดั่งเหตุปัจจัยพร้อม) ก็ยิงลูกเข้าประตูได้(เกิดสัมมาญาณ) จักเห็นได้ว่าการยิงลูกนั้นเข้าเป็นการประสานการทํางานกันของทุกสิ่ง ตั้งแต่ความเห็นชอบที่จะเล่น ความตั้งใจ การออกกําลัง การฝึกซ้อม ทักษะ โอกาส ขาดตัวใดตัวหนึ่งมิได้ เป็นการประสานการทํางานของทุกๆอย่างที่ได้ฝึกสั่งสมอบรมไว้มาตลอด ในชั่วขณะจิตที่ยิงประตูลูกนั้น  มิได้เกิดแต่ตัวใดตัวหนึ่ง ล้วนแต่เป็นบาทฐานอันเป็นปัจจัยแก่กันและกัน         ญานทัสสนะที่๑๒ : มรรค๘นี้ควรปฏิบัติ มรรค๘ นี้ได้ปฏิบัติแล้วหรือ ?   ข้อคิด         ทุกข์ ให้ รู้ สมุทัยให้ ละ ในการยังชีวิตประจําวัน สมุทัยให้ "ละ" ให้ละอย่างรวดเร็วและฉับไวที่สุดเท่าที่สติรู้เท่าทันทันที  อย่าพิรี้พิไร อย่าทดสอบว่าเราจะทน, จะสู้ได้หรือเปล่า จะเป็นตัณหาซ้อนตัณหา พิจารณาดูจากปฏิจจสมุปบาท  หรือดังตัวอย่างนี้เพื่อใช้เปรียบเทียบหรือเพื่อการโยนิโสมนสิการกับสภาวะธรรมอื่นๆที่บังเกิดขึ้น         มีอาหารของโปรดอันโอชะมาวางตรงหน้า เกิดเหตุปัจจัยอันมีอาหารนั้น เกิดอวิชชาสัมผัส อันเนื่องมาจากตา, จมูก และใจ ที่ไปสัมผัสรู้, เกิดเวทนาความรู้สึกรับรู้ในอาหารนั้นพร้อมความจําได้อันยังให้เกิดตัณหาความอยากในอาหารนั้น   ถ้าเราไม่รีบ"ละ"โดยเบี่ยงเบนหรือโดยจิต อย่างฉับไวเช่น ลุกเดินออกไป หรือเบี่ยงเบนไปในสิ่งอื่น แต่กลับนั่งดู, นั่งจ้อง, นั่งพิจารณา เพื่อต่อสู้กับตัณหาความอยากในทางโลกๆนั้นเป็นการผิด เพราะจักต้องก่อตัณหาอีกตัวหนึ่งเป็นตัณหาในทางธรรมคือความไม่อยากในความอยากทานอาหารนั้น เป็นตัณหาซ้อนตัณหา ซึ่งเราในที่สุดเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าตัณหาแรกคือความอยากในอาหารชนะลงมือกิน เราก็แพ้แก่ตัณหาความอยากอาหารนั้นในที่สุด ถ้าตัณหาในธรรมคือความไม่อยากเป็นฝ่ายชนะ ไม่กินอาหารนั้น เราก็พ่ายแพ้แก่ตัณหาในทางธรรม(ใจ)นั้นเช่นกัน เราจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แน่นอนแก่ตัณหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อตัณหาเกิด ทุกข์อุปาทานย่อมบังเกิดอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงต้องรู้ตามความเป็นจริง และให้ "ละ"โดยเร็วเท่าที่สติรู้ทันทันที อย่าไปคิดสู้รบปรบมือไม่ว่ากับตัณหาฝ่ายใด กล่าวคือไม่ยึดทั้งดีไม่ยึดทั้งชั่ว ไม่ยึดทั้งถูก ไม่ยึดทั้งผิดนั่นเอง ให้ "นําออก"และ "ละ" เสียโดยเร็ว ตลอดจนให้มีสติระมัดระวัง "ตัณหาในทางธรรม " หรือ "กุศลตัณหา"ที่จักบังเกิดขึ้น ในทุกกรณี     อาการตัณหาซ้อนตัณหานี้ก่อให้เกิดภพ "โมหะหรือความหลง" นั่นเอง เกิดขึ้นเพราะอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงในสภาวะธรรม(ชาติ)นั้นๆ  นี้เป็นตัวอย่างเพื่อให้เห็น เป็นการเปรียบเทียบเท่านั้น เพื่อใช้พิจารณาในชีวิตจริง  อันตรงกับหลักธรรมคําสอนตรัสไว้ว่า เมื่อเกิดทุกขเวทนา ก็ไม่ครํ่าครวญ พิรี้พิไร รําพัน   นัตถิ ปัญญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี   ทุกข์อันเกิดแต่ขันธ์๕ทั้งทางใจและกายนั้นมีเป็นปกติอันเป็นสภาวะธรรมชาติแต่ไม่มีอุปาทานทุกข์